เสียงธรรม บทสวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุงมหากาฯ และบทมหาเมตตาครอบจักรวาล

ในห้อง 'บทสวดมนต์' ตั้งกระทู้โดย Kob, 26 เมษายน 2008.

  1. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,159
    ค่าพลัง:
    +19,883
    บทสวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุงมหากาฯ (เสียงหลวงพ่อจรัญ)

    [​IMG]

    บทสวดเมตตาพรหมวิหารภาวนา หรือ เมตตาใหญ่ (เสียงแม่ชีวัดร่ำเปิง เชียงใหม่) หรือ มหาเมตตาครอบจักรวาล(เสียงพระ) ชวนเชิญเปิดเพื่อเป็นสิริมงคลค่ะ บทสวดอยู่โพสที่ 6 ค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2008
  2. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,159
    ค่าพลัง:
    +19,883
    [​IMG]


    หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม
    วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี




    สวดมนต์เป็นยาทา วิปัสสนาเป็นยากิน
    “ถ้าคนไหนเคราะห์ร้าย หรือดวงไม่ดี
    ให้สร้างพระเข้าตัว ( นำธรรมะเข้าตัว ) คือ สวดมนต์ภาวนา”






    วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น
    (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี)


    ๑. การเดินจงกรม ก่อนเดินให้ยกมือไขว้หลัง มือขวาจับข้อมือซ้าย วางไว้ตรงกระเบนเหน็บ ยืนตัวตรง เงยหน้า หลับตา ให้สติจับอยู่ที่กลางกระหม่อม กำหนดว่า ยืนหนอ ช้า ๆ ๕ ครั้ง เริ่มจากศีรษะลงมาปลายเท้าและจากปลายเท้าขึ้นไปบนศีรษะ กลับขึ้นกลับลงจนครบ ๕ ครั้ง แต่ละครั้งแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกคำว่า ยืน จิตวาดมโนภาพร่างกายจากศีรษะ (กลางกระหม่อม) ลงมาหยุดที่สะดือ ช่วงที่สอง คำว่า หนอ จากสะดือลงไปปลายเท้า นับเป็นครั้งที่ ๑ กำหนดขึ้น ช่วงแรก คำว่า ยืน จากปลายเท้ามาหยุดที่สะดือ ช่วงที่สอง คำว่า หนอ จากสะดือไปกลางกระหม่อม นับเป็น ครั้งที่ ๒ กำหนด กลับขึ้น , กลับลง จนครบ ๕ ครั้ง ขณะนั้น ให้สติอยู่ที่ร่างกาย อย่าให้ออกไปนอกกาย เสร็จแล้วลืมตาขึ้นก้มหน้า ตามองที่ปลายเท้าข้างที่กำหนดสติคุมจิตอยู่ที่เท้า การเดิน กำหนดว่า ขวา ย่าง หนอ กำหนดในใจ คำว่า ขวา ต้องยกส้นเท้าขวาขึ้นจากพื้นประมาณ ๒ นิ้ว เท้ากับใจนึกต้องให้พร้อมกัน ย่าง ต้องก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าช้าที่สุด เท้ายังไม่เหยียบพื้น คำว่า หนอ เท้าลงถึงพื้นพร้อมกัน เวลายกเท้าซ้ายก็เหมือนกัน กำหนดว่า ซ้าย ย่าง หนอ คงปฏิบัติเช่นเดียวกันกับ ขวา ย่าง หนอ ระยะก้าวในการเดินห่างกันประมาณ ๑ คืบ เป็นอย่างมาก เพื่อการทรงตัวขณะก้าวจะได้ดีขึ้น เมื่อเดินสุดสถานที่ที่ใช้แล้วให้นำเท้ามาเคียงกัน เงยหน้า หลับตา กำหนด ยืน หนอ ช้า ๆ อีก ๕ ครั้ง เหมือนกับที่อธิบายมาแล้ว ลืมตา ก้มหน้า
    ท่ากลับ การกลับกำหนดว่า กลับหนอ ๔ ครั้ง คำว่า กลับหนอ ครั้งที่หนึ่ง ยกปลายเท้าขวา ใช้ส้นเท้าขวาหมุนตัวไปทางขวา ๙๐ องศา ครั้งที่ ๒ ลากเท้าซ้ายมาติดกับเท้าขวา ครั้งที่ ๓ ทำเหมือนครั้งที่หนึ่ง ครั้งที่ ๔ ทำเหมือนครั้งที่ ๒ ขณะนี้จะอยู่ในท่ากลับหลังแล้ว ต่อไปกำหนด ยืน หนอ ช้า ๆ อีก ๕ ครั้ง ลืมตา ก้มหน้าแล้วกำหนดเดินต่อไป กระทำเช่นนี้ จนหมดเวลาที่ต้องการ

    ๒. การนั่ง กระทำต่อจากการเดินจงกรม อย่าให้ขาดตอนลง เมื่อเดินจงกรมถึงที่จะนั่ง ให้กำหนด ยืนหนอ อีก ๕ ครั้ง ตามที่กระทำมาแล้วเสียก่อน แล้วกำหนดปล่อยมือลงข้างตัวว่า ปล่อยมือหนอ ๆๆ ช้าๆ จนกว่าจะลงสุด เวลานั่ง ค่อย ๆ ย่อตัวลง พร้อมกับกำหนดตามอาการที่ทำไปจริง ๆ เช่น ย่อตัวหนอๆๆ เท้าพื้นหนอๆๆ คุกเข่าหนอๆๆ นั่งหนอๆๆ เป็นต้น
    วิธีนั่ง ให้นั่งขัดสมาธิ คือขาขวาทับขาซ้าย นั่งตัวตรง หลับตา เอาสติมาจับอยู่ที่สะดือที่ท้องพองยุบ เวลาหายใจเข้าท้องพอง กำหนดว่า พอง หนอ ใจนึกกับท้องที่พองต้องให้ทันกันอย่าให้ก่อนหรือหลังกัน หายใจออกท้องยุบ กำหนดว่า ยุบ หนอ ใจนึกกับท้องที่ยุบต้องทัน อย่าให้ก่อนหรือหลังกัน ข้อสำคัญให้สติจับอยู่ที่พองยุบเท่านั้น อย่าดูลมที่จมูก อย่าตะเบ็งท้อง ให้มีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่า ท้องพองไปข้างหน้า ท้องยุบมาทางหลัง อย่าให้เห็นเป็นไปว่า ท้องพองขึ้นข้างบน ท้องยุบลงไปข้างล่าง ให้กำหนดเช่นนี้ตลอดไปจนกว่าจะหมดเวลา
    เมื่อมีเวทนา เวทนาเป็นเรื่องสำคัญที่สุด จะต้องบังเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติแน่นอน ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความอดทน เพื่อเป็นการสร้างขันติบารมีไปด้วย ถ้าผู้ปฏิบัติขาดความอดทนเสียแล้ว การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นก็ล้มเหลว ในขณะที่นั่งหรือเดินจงกรมอยู่นั้น ถ้ามีเวทนาความเจ็บปวด เมื่อย คัน เกิดขึ้น ให้หยุดเดิน หรือหยุดกำหนดพองยุบ ให้เอาสติไปตั้งไว้ที่เวทนาเกิด และกำหนดไปตามความเป็นจริงว่า ปวดหนอๆๆ เจ็บหนอๆๆ เมื่อยหนอๆๆ คันหนอๆๆ เป็นต้น ให้กำหนดไปเรื่อยๆ จนกว่าเวทนาจะหายไป เมื่อเวทนาหายไปแล้วก็ให้กำหนดนั่งหรือเดินต่อไป

    จิต เวลานั่งอยู่หรือเดินอยู่ ถ้าจิตคิดถึงบ้าน คิดถึงทรัพย์สิน หรือคิดฟุ้งซ่านต่างๆ นานา ก็ให้เอาสติปักลงที่ลิ้นปี่พร้อมกับกำหนดว่า คิดหนอๆๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าจิตจะหยุดคิด แม้ดีใจ เสียใจ หรือโกรธ ก็กำหนดเช่นกันว่า ดีใจหนอๆๆ เสียใจหนอๆๆ โกรธหนอๆๆ เป็นต้น

    เวลานอน เวลานอนค่อยๆ เอนตัวนอนพร้อมกับกำหนดตามไปว่า นอนหนอๆๆ จนกว่าจะนอนเรียบร้อย ขณะนั้น ให้เอาสติจับอยู่กับอาการเคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อนอนเรียบร้อยแล้ว ให้เอาสติมาจับที่ท้องแล้วกำหนดว่า พอง หนอ ยุบ หนอ ต่อไปเรื่อยๆ ให้คอยสังเกตให้ดีว่าจะหลับไป ตอนพอง หรือตอนยุบ
    อิริยาบถต่างๆ การเดินไปในที่ต่างๆ การเข้าห้องน้ำ การเข้าห้องส้วม การรับประทานอาหาร และการกระทำกิจการงาน ทั้งปวง ผู้ปฏิบัติต้องมีสติกำหนดอยู่ทุกขณะในอาการเหล่านี้ ตามความเป็นจริง คือ มีสติสัมปชัญญะ เป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา

    สรุปการกำหนดต่างๆ พอสังเขปดังนี้
    ๑. ตาเห็นรูป จะหลับตา หรือลืมตาก็แล้วแต่ ให้ตั้งสติไว้ที่ตา กำหนดว่า เห็นหนอๆๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะรู้สึกว่าเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้ ถ้าหลับตาอยู่ ก็กำหนดไปจนกว่าภาพนั้นจะหายไป
    ๒. หูได้ยินเสียง ให้ตั้งสติไว้ที่หู กำหนดว่า เสียงหนอๆๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะรู้สึกว่า เสียงก็สักแต่ว่าเสียง ละความพอใจและความไม่พอใจออกเสียได้
    ๓. จมูกได้กลิ่น ตั้งสติไว้ที่จมูก กำหนดว่า กลิ่นหนอๆๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะรู้สึกว่า กลิ่นก็สักแต่ว่ากลิ่น ละความพอใจ และความไม่พอใจออกเสียได้
    ๔. ลิ้นได้รส ตั้งสติไว้ที่ลิ้น กำหนดว่า รสหนอๆๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะรู้สึกว่า รสก็สักแต่ว่ารส ละความพอใจและความไม่พอใจ ออกเสียได้
    ๕. กายถูกต้องสัมผัส ตั้งสติไว้ตรงที่สัมผัส กำหนดตามความเป็นจริงที่ เกิดขึ้น ละความพอใจและความไม่พอใจ ออกเสียได้
    ๖. ใจนึกคิดอารมณ์ ตั้งสติไว้ที่ลิ้นปี่ กำหนดว่า คิดหนอๆๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าความนึกคิดจะหายไป
    ๗. อาการบางอย่างเกิดขึ้นกำหนดไม่ทัน หรือกำหนดไม่ถูกว่า จะกำหนดอย่างไร ตั้งสติไว้ที่ลิ้นปี่ กำหนดว่า รู้หนอๆๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการนั้นจะหายไป


    การที่เรากำหนดจิต และตั้งสติไว้เช่นนี้ เพราะเหตุว่าจิตของเรา อยู่ใต้บังคับของความโลภ ความโกรธ ความหลง เช่น ตาเห็นรูป การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยเอาสติเข้าไปตั้งกำกับตามอายตนะนั้น เมื่อปฏิบัติได้ผลแก่กล้าแล้ว ก็จะเข้าตัดที่ต่อของอายตนะต่างๆ เหล่านั้น มิให้ติดต่อกันได้ คือว่าเมื่อเห็นรูป ก็สักแต่ว่าเห็น เมื่อได้ยินเสียงก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่ทำความรู้นึกคิด ปรุงแต่งให้เกิดความพอใจ หรือความไม่พอใจ ในสิ่งที่ปรากฏให้เห็น และได้ยินนั้น รูป และเสียง ที่ได้เห็นและได้ยินนั้นก็จะดับไป เกิดและดับอยู่ที่นั้นเอง ไม่ไหลเข้ามาภายใน อกุศลธรรม ความทุกข์ร้อนใจที่คอยจะติดตาม รูป เสียง และอายตนะภายนอกอื่นๆ จะเข้ามาก็เข้าไม่ได้
    สติที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น นอกจากจะคอยสกัดกั้นอกุศลธรรม และความทุกข์ร้อนใจ ที่จะเข้ามาทางอายตนะแล้ว สติเพ่งอยู่ที่ รูป นาม เมื่อเพ่งเล็งเห็นอยู่ ก็ย่อมเห็น ความเกิดดับของ รูป นาม ที่ดำเนินไปตามอายตนะต่างๆ อย่างไม่ขาดสาย การเห็นการเกิดดับของรูปนามนั้น จะนำไปสู่การเห็นพระไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง ความทุกข์ และความไม่มีตัวตนของสังขาร หรือ อัตภาพอย่างแจ่มแจ้งฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 136.jpg
      136.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.2 KB
      เปิดดู:
      85,141
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2008
  3. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,159
    ค่าพลัง:
    +19,883
    การสวดพระพุทธคุณ

    การสวดพระพุทธคุณ อาตมาสังเกตมาว่า บางคนเขาไปหาหมอดู เคราะห์ร้ายก็ต้องสะเดาะเคราะห์ อาตมาก็มาดูเหตุการณ์โชคลางไม่ดีก็เป็นความจริงของหมอดู อาตมาก็ตั้งตำราขึ้นมาด้วยสติบอกว่า โยมไปสวดพุทธคุณเท่าอายุให้เกินกว่า ๑ ให้ได้เพื่อให้สติดี เท่าที่ใช้ได้ผลเริ่มสวดตั้งแต่ บทบูชาพระรัตนตรัย นะโม พุทธัง ธัมมัง สังฆัง พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุง มหากาฯ จบแล้วย้อนกลับมาข้างต้นเอา พุทธคุณ ห้องเดียว ห้องละ ๑ จบ ต่อ ๑ อายุ อายุ ๔๐ สวด ๔๑ จบ อายุ ๓๕ สวด ๓๖ จบ ก็ได้ผล

    การสวดบทพาหุง มหากาฯ
    อาตมาสอนการสวดพาหุงมหากาฯให้แก่ญาติโยมเพราะอะไร เพราะพาหุง มหากาฯนั้นเป็นบทสวดมนต์ที่มีค่าที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดาจากพญาวัสวดีมาร จากอาฬาวกะยักษ์ จากช้างนาฬาคิรี จากองคุลีมาล จากนางจิญมานวิกา จากสัจจะกะนิครนธ์ จากพญานันโทปนันทนาคราช และท่านท้าวผกาพรหม เป็นชัยชนะที่พระพุทธองค์ทรงได้มาด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ และด้วยอำนาจแห่งบารมีธรรมโดยแท้ ผู้ใดได้สวดไว้เป็นประจำทุกวัน จะมีชัยชนะ มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนานมีสติระลึกได้ จะตายไปสู่สุคติภูมิไม่ใช่แต่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้นที่พบความมหัศจรรย์ของบทพาหุงมหากาฯ แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงพบเช่นกัน โดยมีบันทึกโบราณบอกไว้ว่าดังนี้ “เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้ว ก็ทรงเห็นว่าสงคราม กู้ชาติต่อจากนี้ไปจะต้องหนักหนาและยืดยาวจึงทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้น แล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลายมาสวดบทพาหุงมหากาฯบรรจุไว้ในองค์พระ และพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วยการเจริญ พาหุงมหากาฯ จึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ” ขอให้ญาติโยมสวดพาหุงมหากาฯกันให้ทั่วหน้า นอกจากจะคุ้มตัวแล้ว ยังคุ้มครองครอบครัวได้ สวดมากๆ เข้า สวดกันทั้งประเทศก็ทำให้ประเทศ มีแต่ความรุ่งเรือง พวกคนพาลสันดานหยาบก็แพ้ภัยไปถ้วนหน้า.

     
  4. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,159
    ค่าพลัง:
    +19,883
    บูชาพระรัตนตรัย
    อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อภิปูชะยามิ
    อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อภิปูชะยามิ
    อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อภิปูชะยามิ

    บทกราบพระรัตนตรัย
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ)
    สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

    นมัสการพระรัตนตรัย

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด ๓ จบ)

    ขอขมาพระรัตนตรัย

    วันทามิ พุทธัง, สัพพะ เมโทสัง , ขะมะถะเม ภันเต ,
    วันทามิ ธัมมัง , สัพพะ เมโทสัง , ขะมะถะเม ภันเต ,
    วันทามิ สังฆัง , สัพพะ เมโทสัง , ขะมะถะเม ภันเต.

    ไตรสรณาคมน์

    พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

    คำสมาทานศีล ๕

    ๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาประทัง สะมาทิยามิ
    ๒. อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาประทัง สะมาทิยามิ
    ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาประทัง สะมาทิยามิ
    ๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาประทัง สะมาทิยามิ
    ๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาประทัง สะมาทิยามิ

    บทพระพุทธคุณ

    อิติปิโสภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

    บทพระธรรมคุณ

    สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ

    บทพระสังฆคุณ

    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุไนยโย ปาหุไนยโย ทักขิไนยโย อัญชลี กะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

    ชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)

    ๑. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๒. มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจัก กะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถัง คุลิมาละวันตัง อิทถีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๕. กัตะวานะ กัฎฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฎฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๖. สัจจัง วิหายะมะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโร ปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๘. ทุคคาหะทิฎฐิภุชะเคนะ สุทัฎฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิ ชุติมิทธิ พะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ


    เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฎฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิตวานะ เนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขังสุขัง อะธิคะเมยยะนะโรสะปัญโญ.

    ชัยปริตร (มหากาฯ)

    มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตะวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ โหตุ เต* ชะยะมังคะลัง ฯ

    ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ( ถ้าสวดให้ตัวเองให้เปลี่ยนจากคำว่า ตวัง วิชะโย โหหิ เป็น อะหัง วิชะโย โหมิ ) ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะ ปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฎฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฎฐัง พรัหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ

    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*ฯ

    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*ฯ

    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*ฯ

    หมายเหตุ ถ้าสวดให้ตัวเองให้เปลี่ยนจากคำว่า เต* เป็น เม ทุกแห่ง

    สวดพระพุทธคุณเท่าอายุ
    อิติปิโสภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
    ( ให้สวดเกินอายุ ๑ จบ เช่น อายุ ๔๒ ปี ต้องสวด ๔๓ จบ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2008
  5. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,159
    ค่าพลัง:
    +19,883
    อธิษฐานขออโหสิกรรม


    กัมมะโน กัตถาโน กัมมะปัจเจกะพุทโธ พุทธังทั่วจักกะวาฬัง ธัมมังทั่วจักกะวาฬัง สังฆังทั่วจักกะวาฬัง อโหสิกัมมัง ด้วยกายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ กรรมอันหนึ่งอันใดที่ข้าพเจ้าได้สบประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกินต่อคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณมารดาบิดา คุณครูบาอาจารย์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่มีจิต มีชีวิต มีวิญญาณ มีขันธสันดาน มีวิบากแห่งกรรม มีการกระทำ เจ้ากรรมนายเวร เจ้าการบัญชี จตุโลกบาลทั้งสี่ มนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖ พรหม ๒๐ อบายภูมิทั้ง ๔ บัดนี้ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญแล้วซึ่งกองการกุศล ผลทาน ผลศีล ผลภาวนา ผลแผ่เมตตา ขอให้ถึงท่านทั้งหลาย ขอให้ท่านทั้งหลายจงอโหสิให้แก่ข้าพเจ้าผู้ล่วงเกินแล้ว ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี รู้ก็ดี เจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี ต่อหน้ากันก็ดี ลับหลังกันก็ดี ขอให้ท่านทั้งหลายจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปอย่ามีเวรมี ภัย เกิดชาติหนึ่งภพใด ขอให้ได้สร้างแต่กรรมดี สร้างบารมีของตน ให้พ้นภัยภาร ลุล่วงบ่วงมาร ในปัจจุบันกาลจนถึงอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นเทอญฯ

    บทแผ่เมตตาแก่ตนเอง


    อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
    นิททุกโข โหมิ ปราศจากความทุกข์
    อะเวโร โหมิ ปราศจากเวร
    อัพยาปัชโฌ โหมิ ปราศจากอุปสรรค อันตรายทั้งปวง
    อะนีโฆ โหมิ ปราศจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ มีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด


    แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
    (กำหนดจิตไว้ที่ลิ้นปี่ แล้วสวดบทนี้ พร้อมคำแปล)


    สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
    อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
    อัพะยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
    อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความ ทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตน ให้พ้นจากทุกข์ภัย ทั้งสิ้น เถิด ฯ

    บทแผ่ส่วนกุศล
    (พนมมือ กำหนดจิตไว้ที่หน้าผาก(อุณาโลม) แล้วสวดบทนี้ พร้อมคำแปลด้วย)

    อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า
    ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้ามีความสุข

    อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า
    ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข

    อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตาโหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า
    ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข

    อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง
    ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

    อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเปตา
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง
    ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

    อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง
    ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

    อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพสัตตา
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
    ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

    คำกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล

    ข้าพเจ้าขออุทิศบุญกุศลจากการเจริญภาวนานี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม ขอให้ท่านได้รับผลบุญนี้ แล้วโปรดอโหสิกรรมและอนุโมทนาบุญแก่ข้าพเจ้าด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ

    คำอธิษฐานอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล

    อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศล ที่ได้สะสมอบรมมา ตั้งแต่ในอดีตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ได้แก่การรักษาศีล บริจาคทาน บำเพ็ญภาวนา สวดมนต์บูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และการสงเคราะห์โดยทั่วไป บุญกุศลทั้งหลายแหล่ ขออุทิศให้แก่บิดา มารดา ญาติกา ครูบาอาจารย์ ผู้มีอุปการคุณ บุตร ภรรยา สามี มิตรสหาย บริวาร สรรพสัตว์ทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวร พระยายมราช พระยามัจจุราช นายนิริยบาล ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ พระภูมิเจ้าที่ แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระเพลิง แม่พระพาย แม่พระโพสพ แม่ซื้อผู้เรืองฤทธิ์ เทพยดา ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกาเบื้องบน จนถึงที่สุด ชั้นพรหม เบื้องล่างตั้งแต่ชั้นอเวจีจนถึงโลกมนุษย์ โดยรอบสุดขอบจักรวาล อนันตจักรวาล ขอให้ท่านทั้งหลายจงได้รับส่วนบุญส่วนกุศลโดยทั่วกัน ท่านที่มีทุกข์ขอให้พ้นทุกข์ ท่านที่มีสุขขอให้สุขยิ่งๆ ขึ้นไป ด้วยอำนาจกุศลผลบุญนี้ จงเป็นพละปัจจัยนิสัยนำส่ง ให้ข้าพเจ้ามีสติรู้ตัว มีปัญญารู้คิด มีปฏิภาณไหวพริบ เฉียบแหลมว่องไว พิจารณาเห็นแจ้ง ในสัจธรรมจนถึงที่สุดของความพ้นทุกข์ คือพระนิพพานในชาติปัจจุบันอย่างยิ่งเทอญ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2008
  6. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,159
    ค่าพลัง:
    +19,883
    บทสวดเมตตาพรหมวิหารภาวนา หรือเมตตาใหญ่
    (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี)

    บทสวดมนต์มหาเมตตาครอบจักรวาลนี้ มีต้นเรื่องมาจากแม่ชีก้อนทอง คือ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ แม่ชีก้อนทอง ปานเณร มาอยู่ที่วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี ในสมัยนั้นไม่มีสำนักแม่ชี อาตมาจึงจัดให้พักบนศาลาการเปรียญ ซึ่งมีห้องพักอาศัยอยู่ ๒ ห้อง แม่ชีก้อนทองตั้งใจเจริญวิปัสสนากรรมฐานใช้เวลา ๑ ปี มีเทวดาจากต้นพิกุลที่ถูกสาปจากสวรรค์มาสถิตอยู่ที่ต้นพิกุล เป็นเวลา ๑๐๐ ปี มาสอนบทสวดมนต์มหาเมตตาใหญ่ หรือมหาเมตตาครอบจักรวาลในเวลา ๒๔.๐๐ น. ทุกคืน จนแม่ชีซึ่งอ่านหนังสือไม่ออกจำได้หมด อาตมาได้หาตำรามาตรวจสอบการสวดมนต์ มหาเมตตาใหญ่ว่ามีอยู่ที่ไหนบ้าง จึงทราบว่าบทสวดมนต์นี้อยู่ท้ายบทมหาพุทธาภิเษก ไม่มีในหนังสือสวดมนต์ธรรมดา และปัจจุบันใช้สวดในงานมหาพุทธาภิเษกเท่านั้น เวลาต่อมาอาตมาต้องการพิสูจน์ความจริงว่าบทสวดมนต์ที่มีอยู่กับการสวดมนต์ของแม่ชีก้อนทองจะตรงกันอย่างไรบ้าง ได้ทราบว่ามีตำราพุทธาภิเษกของสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสส เทโว) วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร จึงไปขอยืมตำรา ให้แม่ชีก้อนทองสวดมนต์เมตตาใหญ่ตั้งแต่ต้นจนจบไม่มีผิดแม้แต่ตัวเดียว อาตมาจึงเชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์
    อานิสงส์ของการสวดมนต์เมตตาใหญ่ การสวดมนต์นี้มีอานิสงส์มาก ผู้ใดสวดทุกคืนก่อนนอนแล้วจะเกิดมงคลกับทุกคนในบ้านนั้น ศัตรูจะแพ้ภัย จะมีแต่เมตตาธรรมทำให้คนร้ายกลายเป็นคนดีได้ บุตรธิดามีแต่เมตตากันจิตใจย่อมเป็นกุศลตลอดกาล อยู่เย็น เป็นสุขตลอดกาลไม่มีอบายภูมิ แน่นอน คิดอะไรสมความปรารถนาทุกประการ


    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ฯ ( ๓ จบ )

    เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฎฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฎิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะฯ

    (๑) สุขัง สุปะติ (๒) สุขัง ปฎิพุชฌะติ (๓) นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ (๔) มะนุสสานัง ปิโย โหติ (๕) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ (๖) เทวะตา รักขันติ (๗) นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วากะมะติ (๘) ตุวะฎัง จิตตัง สะมาธิยะติ (๙) มุขะ วัณโณ วิปปะสีทะติ (๑๐) อะสัมมุฬโห กาลัง กะโรติ (๑๑) อุตตะริง อัปปะฎิวิชฌันโต พรหมะโลกูปะโค โหติฯ

    เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฎิฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิ สังสา ปาฎิกังขาฯ

    อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ

    กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ กะตีหา กาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโต วิมุตติฯ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ ทะสะหา กาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
    (๑) สัพเพ สัตตา (สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง) อะเวรา (อย่ามีเวรแก่กันและกันเลย) อัพยาปัชฌา (อย่าผูกพยาบาทอาฆาตกัน อย่าเบียดเบียนกัน อย่าข่มเหงรังแกกัน) อะนีฆา (อย่ามีความทุกข์กายทุกข์ใจ) สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ (จงรักษาตนให้เป็นสุขเป็นสุขเถิด)
    (๒) สัพเพ ปาณา (สัตว์มีลมปราณทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๓) สัพเพ ภูตา (ภูตผีทั้งปวง) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๔) สัพเพ ปุคคะลา (บุคคลทั้งปวง) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๕) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา (สัตว์ในร่างกายเราทั้งปวง) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ

    อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    (๑) สัพพา อิตถิโย (สัตว์เพศหญิงทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๒) สัพเพ ปุริสา (สัตว์เพศชายทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๓) สัพเพ อะริยา (สัตว์เจริญทั้งปวง) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๔) สัพเพ อะนะริยา (สัตว์ไม่เจริญทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ เทวา (เทวดาทั้งปวง) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๖) สัพเพ มะนุสสา (สัตว์มีใจสูงทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ วินิปาติกา (สัตว์นรกทั้งปวง) อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ

    อิเมหิ สัตตะหา กาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯ ในทิศตะวันออก) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯ ในทิศตะวันตก) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯ ในทิศเหนือ) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯ ในทิศใต้) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศตะวันออกเฉียงใต้) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศตะวันตกเฉียงใต้) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศเบื้องต่ำ) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สัตตา (สัตว์ฯในทิศเบื้องบน) อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยา ปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา อะปีฬะนายะ อุปะฆาตังวัชเชตวา อะนุปะฆาเตนะ สันตาปัง วัชเชตวา อะสันตาเปนะ ปะริยาทานัง วัชเชตวา อะปะริยาทาเนนะ วิเหสัง วัชเชตวา
    อะวิเหสายะ สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุ มา ทุกขิตตาติ อิเมหิ อัฏฐะ หากาเรหิ สัพเพ สัตเต เมตตายะตีติ เมตตา ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ เจโต สัพพะพยาปาทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ เมตตา จ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    เมตตา พรหมะวิหาระภาวะนา นิฏฐิตา.
     
  7. kosabunyo

    kosabunyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,045
    โมทนาสาธุ
     
  8. elm

    elm สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +37
    โมทนาสาธุ โมทนาสาธุ โมทนาสาธุ
     
  9. oxozia

    oxozia สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2007
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +3
    _อนุโมทนา สาธุ ด้วยคนคะ_
     
  10. oyoyo554

    oyoyo554 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +9,199
    อนุโมทนาค่ะ
     
  11. ผู้หญิงธรรมดา

    ผู้หญิงธรรมดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2008
    โพสต์:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +535
    อนุโมทนา สาธุจ้า
     
  12. Hanashi

    Hanashi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    796
    ค่าพลัง:
    +354
  13. kosabunyo

    kosabunyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,045
    [FONT=&quot]อนุโมทนาสาธุการในผลบุญแห่งทานในครั้งนี้และครั้งต่อ[/FONT] [FONT=&quot]ไปสืบทางข้างหน้าด้วยเน้อ สาธุ<o:p></o:p>[/FONT]
     
  14. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    ขออนุโมทนาสาธุด้วยคะพี่กบ ขอบคุณมากๆคะ
     
  15. อรวี จุฑากรณ์

    อรวี จุฑากรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +188
    ขออนุโมทนาสาธุ
     
  16. p_pand_j

    p_pand_j Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    126
    ค่าพลัง:
    +71
    อนุโมทนา สาธุ
     
  17. Creya

    Creya สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +4
    อะนุโมทามิ
     
  18. Doremonjung

    Doremonjung Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +49
    อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
     
  19. narapat

    narapat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    150
    ค่าพลัง:
    +718
    อนุโมทนาบุญครับ
     
  20. บัวใต้น้ำ1

    บัวใต้น้ำ1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +32
    อนุโมทนาบุญด้วยครับ...(ping)
     

แชร์หน้านี้

Loading...