บทสวดมนต์พระปริตร เหมาะสมที่จะนำมาสวดในบ้านมั้ยครับ

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย McCoy, 18 มีนาคม 2009.

  1. McCoy

    McCoy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +2
    เคยอ่านเจอว่า บทสวดมนต์พระปริตรไม่เหมาะจะสวดในบ้าน เพราะจะมีผลกระทบต่อสิ่งที่มองไม่เห็นในบ้านของเรา (ประมาณว่าไปเบียดเบียนเค้า) ไม่ทราบว่าจริงเท็จเป็นอย่างไรบ้างครับ ขอผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ
    ขอบคุณครับ
     
  2. เกรสคับ

    เกรสคับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    163
    ค่าพลัง:
    +174
    เค้าว่ากันว่า ของดี ทำอะไรก็ดีคับ
    ถ้าคิดว่าไปเบียดเบียนเค้า เราก็อธิฐานบอกเขาก่อนก็ได้นะครับว่าเราจะสวดมนต์ ถ้าท่านร้อน หรือ เดือดร้อนเพราะเหตุแห่งการสวดมนต์ของเรา ก็ขอให้ท่านเหล่านั้นหลีกไปก่อน ถ้าไม่เดือดร้อน ขอจงโมทนาบุญของเรา และ ร่วมฟังหรือสวดไปกับเราด้วย จะดีกว่านะคับ
    ( ปล.ผมสวดทุกวันนี้ สวดในใจนะคับ เวลาสวดเหมือนมี 2 เสียง เหมือนผู้หญิงมาสวดด้วยกับเรา แปลกดีนะคับ แล้วพอผมแกล้งสวดผิด เสียงผู้หญิงนั้น จะบังคับเสียงเราให้สวดได้อย่างถูกต้อง แปลกดีมั้ยหล่ะคับ ^_^ )

    ไม่งั้น บทสวด คงสวดในบ้านไม่ได้เลยมั้งครับ เช่นพระคาถาชินบัญชร ก็มีพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แก่กล้าในบทสวดเช่นกัน
     
  3. pop024

    pop024 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +529
    อนุโมทนาสาธุ กับคำตอบของผู้รู้ครับ ได้ความรู้ใหม่เพิ่มเติมอีกแล้ว

    ผมเองก็สวดพระปริตรทุกวันครับ แต่สวดในใจ

    รู้สึกว่าสวดแล้วทำให้เรามีสมาธิดีขึ้น

    และมีสิ่งดีๆเข้ามาใกล้มากขึ้น สงสัยคงเป็นไปตามกฏแห่งการดึงดูด
     
  4. azalia

    azalia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +579
    เคยได้ยินแต่ว่าบทเมตตาปริตรเป็นการผูกมิตรค่ะ แต่ถ้าสวดชินบัญชรเป็นการแสดงฤทธิ์อำนาจเหมือนไปไล่เค้า.. แต่เมตตาปริตรเหมือนไปอวยพรให้เค้าเป็นสุขทำนองนี้แหละค่ะ (พระอาจารย์สายปริยัติบอกมาค่ะ)
     
  5. McCoy

    McCoy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +2
    ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ ผมคิดว่าคงจะตั้งจิตบอกกล่าวกันก่อนว่าจะสวดแล้ว จะได้สบายใจขึ้น...
     
  6. รังสิโก

    รังสิโก สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +3
    คำแปล พระคาถาชินบัญชร
    พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลายผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราช ผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ อริยสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์​
    มี 28 พระองค์ คือพระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นอาทิพระพุทธเจ้าจอมมุนีทั้งหมดนั้น.

    ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะพระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณ อยู่ที่อก.

    พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง

    พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่หูซ้าย

    มุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ ดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง

    พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ

    พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง 5 นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก

    ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรสเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ๋

    พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง

    พระขันธปริตร พระโมรปริตรและพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ

    อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลายนอกที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิดมีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือสัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

    ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ

    ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้นท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดี ฉะนี้แล

    ข้าพระพุทธเจ้า ได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวะอันตรายใด ๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติและรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดร เทอญ.


    ผมดูแล้วว่าไม่มีข้อไหนที่จะไปเบียดเบียนผู้อื่นเลย นอกซะจากผู้ที่จะทำร้ายคนสวดเท่านั้นแหละ ที่จะเดือดร้อนครับ เพราะเป็นบทสวดอันเชิญพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังหคุณ มาปกป้องคนสวดครับ
     
  7. (JD)

    (JD) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2007
    โพสต์:
    92
    ค่าพลัง:
    +270
    อยู่ที่จิตและเจตนา
     
  8. Pariyawit

    Pariyawit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2008
    โพสต์:
    229
    ค่าพลัง:
    +777
    โดยปกติ
    ก่อนที่เราจะสวดพระปริตรนั้น
    เราจะขึ้นบทอัญเชิญเทพยาดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ทั้งภายในบ้านและสถานที่อื่น ๆ
    เพื่อมาร่วมฟังการสวดพระปริตรของเรานะครับ

    โดยส่วนตัว ผมว่า เมื่อเราขึ้นบทนี้แล้ว ทุกรูปทุกนาม ก็คงจะทราบแล้วครับว่า
    เราจะสวดพระปริตร ผู้ที่ชอบก็คงมาร่วมกันฟัง
    ผู้ที่ไม่ชอบก็คงหลบไปที่อื่นเองก่อนครับ

    ซึ่งตาม พระสูตร อาฏานาฏิยปริตร ก็เป็นพระสูตรหนึ่งที่
    1. มีอานุภาพในการทำให้อมนุษย์ผู้ไม่เลื่อมใส ให้เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้
    2. มีอานุภาพในการคุ้มครองป้องกันไม่ให้อมนุษย์ที่ไม่เลื่อมใสจับต้องสิงสู่ เบียดเบียน ประทุษร้าย ทำให้ได้รับความลำบากเดือดร้อน

    ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องกังวลเลยครับว่า การสวดพระปริตร จะไปทำร้ายใคร
    ขอเพียงตั้งใจสวดเพื่อบูชา พระรัตนตรัย
    และมีความปรารถนาดีและแผ่เมตตาให้ รูปนาม (สิ่งที่เรามองไม่เห็น)
    ให้สามารถรับฟังพระปริตรได้ ให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้ ครับ

    อนุโมทนา สาธุ ครับ
     
  9. Pariyawit

    Pariyawit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2008
    โพสต์:
    229
    ค่าพลัง:
    +777
    อานุภาพของพระปริตร อ.ทวี สุขสมโภชน์<o:p></o:p>
    ทำไมพระสงฆ์สามเณรจึงลงโบสถ์ สวด มนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็นทุกวัน? เมืองไทยเรายังมีวัตถุมงคลของขลังต่าง ๆ มากมาย แม้งานศพก็ยังมีการแจกพระกันอยู่ แต่ละบ้านจะมีพระทั้งที่เป็นเนื้อผง และเหรียญหลวงพ่อต่าง ๆ มากมาย แต่ละบ้านจะมีไม่ต่ำกว่า ๕๐ องค์หรือ ๕๐ เหรียญ ถ้าเป็นนักเล่นหรือนักสะสมพระ จะ มีเป็นจำนวนร้อย ๆ องค์ขึ้นไป ก็ ยังดีกว่าไปสะสมอย่างอื่น ถ้าได้ใช้วิจารณญาณให้ดี แล้ว ก็จะไม่เกิดโทษกับตนเอง หรือ ไปกระทบกระเทือนผู้อื่นที่อยู่ใกล้ตัว<o:p></o:p>
    การ สวดมนต์ สวดพระปริตร ถ้าได้ ทำเป็นประจำจะเกิดอานุภาพปรากฎให้เห็นกับผู้ที่ปฏิบัติอยู่มากราย ที่ได้เล่าสู่กันฟัง<o:p></o:p>
    การ สวดมนต์เป็นการอบรมจิตด้วยการระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยคือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ พร้อมทั้งแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ เป็น กิจของชาวพุทธที่ทำกันอยู่เป็นประจำ เพื่อเพิ่ม พูนภาวนาบารมี และขัดเกลากิเลสให้ลดน้อยลงเท่าที่จะ กระทำได้<o:p></o:p>
    อัญมณี ย่อมมีคุณค่าเหมาะแก่ผู้มีฐานะ พระรัตนตรัยก็เช่นเดียวกัน ย่อมเหมาะแก่ผู้ที่มีใจอันประเสริฐ บุคคลผู้สวดมนต์ เป็นนิตย์จะมีใจเบิกบาน ใบหน้าผ่องใส อดกลั้นต่อ สิ่งยั่วยุจิตใจได้ดี และมีสง่าราศรี เป็นที่เคารพนับถือของปวงชน<o:p></o:p>
    วิธี สวดพระปริตรนั้น ต้องสวดคำบาลีมิให้เพี้ยน สวดคำแปลควบคู่กับคำบาลีไปด้วย เพื่อน้อมใจไปในความหมายแห่งพระพุทธพจน์<o:p></o:p>
    การ สวดมนต์เป็นประเพณีที่สืบเนื่องกันมาช้านานของชาวพุทธในหลายประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย และเจริญเมตตา จัดได้ว่าเป็นพื้นฐานของการเจริญวิปัสสนาอันเป็นแก่นสารของพระพุทธศาสนา ดังคำกล่าวว่า สวดมนต์ เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน คนสมัยก่อนนิยมสวดมนต์ด้วยบทสวดที่เรียกว่า เจ็ดตำนาน และสิบสองตำนาน แต่ในปัจจุบัน นิยมสวดมนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔<o:p></o:p>
    บท สวดมนต์เจ็ดตำนานและสิบสองตำนานมีชื่อเดิมว่า พระปริตรร แปลว่า เครื่อง คุ้มครอง เป็นที่นิยมสาธยายในหมู่ชาวพุทธตั้งแต่สมัยพุทธกาลจวบจนถึงปัจจุบัน เพื่อความมีสิริมงคล และเพิ่มพูนภาวนาบารมี<o:p></o:p>
    พระปริตรมีปรากฏในพระไตรปิฏกคือ<o:p></o:p>
    ๑. เมตตปริตร มีในขุททกปาฐะ และสุตตนิบาต <o:p></o:p>
    ๒. ขันธปริตร มีในอังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต วินัยปิฏก จุฬ วรรค และชาดก ทุกนิบาต<o:p></o:p>
    ๓. โมรปริตร มีในชาดก ทุกนิบาต <o:p></o:p>
    ๔. อาฏานาฏิยปริตร มีในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค <o:p></o:p>
    ๕. โพชฌังคปริตร มีในสังยุตตนิกาย มหาวรรค <o:p></o:p>
    ๖. รัตนปริตร มีในขุททกปาฐะ และ สุตตนิบาต <o:p></o:p>
    ๗. วัฏฏกปริตร มีในชาดก เอกนิบาต และจริยาปิฏก <o:p></o:p>
    ๘. มังคลปริตร มีในขุททก ปาฐะ และสุตตนิบาต <o:p></o:p>
    ๙. ธชัคคปริตร มีในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค <o:p></o:p>
    ๑๐. อังคุลิมาลปริตร มี ในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์<o:p></o:p>
    คุ้มครองผู้สวด<o:p></o:p>
    ในคัมภีร์ อรรถกถามีเรื่องอานุภาพพระปริตรสามารถคุ้มครองผู้สวดได้ เช่น เรื่องพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกยูงทอง พระองค์ได้หมั่นสาธยายโมรปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระพุทธเจ้า ทำให้แคล้วคลาดจากบ่วงที่นายพรานดักไว้ และเรื่องในสมัยพุทธกาล มีภิกษุห้าร้อยรูปไปเจริญภาวนาในป่าได้ถูกเทวดารบกวน จนกระทั่งปฏิบัติธรรมไม่ได้ ต้องเดินทางกลับ เมืองสาวัตถี ใน ขณะนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนเมตตปริตรที่กล่าวถึง การเจริญเมตตา ครั้นภิกษุเหล่านั้นจึงปฏิบัติธรรม ได้โดยสะดวก<o:p></o:p>
    โบราณจารย์ได้รวบรวมอานิสงส์ของพระปริตรไว้ถึง ๑๒ ประการคือ<o:p></o:p>
    ๑. เมตตปริตร ทำให้หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์ และอมนุษย์ทั้งหลาย เทพพิทักษ์รักษา ไม่มีภยันตราย จิตเป็นสมาธิง่าย ใบหน้าผ่องใส มีสิริมงคล ไม่หลงสติในเวลาเสียชีวิต และ เป็นพรหมเมื่อบรรลุเมตตาฌาน<o:p></o:p>
    ๒. ขันธปริตร ป้องกันภัยจากอสรพิษ และสัตว์ร้ายอื่นๆ <o:p></o:p>
    ๓. โมรปริตร ป้องกันภัยจากผู้คิดร้าย<o:p></o:p>
    ๔. อาฏานาฏิยปริตร ป้องกันภัยจากอมนุษย์ ทำให้มี สุขภาพดี และมีความสุข<o:p></o:p>
    ๕. โพชฌังคปริตร ทำให้มี สุขภาพดี มีอายุยืน และพ้นจากอุปสรรคทั้งปวง<o:p></o:p>
    ๖. ชัยปริตร ทำให้ประสบชัยชนะ และมีความสุขสวัสดี<o:p></o:p>
    ๗. รัตนปริตร ทำให้ได้รับความสวัสดี และพ้นจากอุปสรรคอันตราย<o:p></o:p>
    ๘. วัฏฏกปริตร ทำให้พ้นจากอัคคีภัย<o:p></o:p>
    ๙. มังคลปริตร ทำให้เกิดสิริมงคล และปราศจากอันตราย<o:p></o:p>
    ๑๐. ธชัคคปริตร ทำให้พ้นจากอุปสรรคอันตราย การตกจากที่สูง<o:p></o:p>
    ๑๑. อังคุลิมาลปริตร ทำให้คลอดบุตรง่าย และป้องกันอุปสรรคอันตราย<o:p></o:p>
    ๑๒. อภยปริตร ทำให้พ้นจากภัยพิบัติ และไม่ฝันร้าย<o:p></o:p>
    คุ้มครองผู้ฟัง<o:p></o:p>
    อานุภาพ ของพระปริตรยังสามารถคุ้มครองผู้ฟังได้อีกด้วย คัมภีร์อรรถกถากล่าวไว้ว่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อเมืองเวสาลีประสบภัย ๓ อย่างคือ ความอดอยากแร้นแค้น การเบียดเบียนจากอมนุษย์ และการแพร่ของโรคระบาด พระพุทธเจ้าได้รับสั่งให้พระอานนท์สวดรัตนปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระรัตน ตรัย ภัยดังกล่าวในเมืองนั้นจึงสงบลง<o:p></o:p>
    ในคัมภีร์ยังกล่าว ไว้ว่า เด็กคนหนึ่งจะถูกยักษ์จับกินภายใน ๗ วัน พระพุทธเจ้าจึงทรงแนะนำให้ภิกษุสวดพระปริตรตลอดเจ็ดคืน และพระองค์ได้เสร็จไปสวดด้วยพระองค์เอง พอคืนที่แปด เด็กนั้นก็สามารถรอดพ้นจากภัยพิบัติของอมนุษย์นั้นได้ มีอายุถึง ๑๒๐ ปีมารดาจึงตั้งชื่อว่า อายุวัฑฒนกุมาร แปลว่า เด็กผู้มีอายุยืน เพราะรอดพ้นจากอันตรายดังกล่าว <o:p></o:p>
    การสวดพระปริตรต้อง ปฏิบัติอย่างไร?<o:p></o:p>
    พระปริตรจะมีอนุภาพมาก เมื่อผู้สวดพระปริตรเพียบพร้อมด้วยหลัก ๓ ประการคือ<o:p></o:p>
    ๑. ต้องตั้ง จิตใจให้มีเตตา โดยมุ่งประโยชน์แก่ผู้ฟัง<o:p></o:p>
    ๒. ต้องสวด ไม่ผิด ออกเสียงพยัญชนะ สระ ตัวสะกดไม่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม และรู้ความหมายของบทสวด<o:p></o:p>
    ๓. ไม่เคยทำ อนันตริยกรรม คือ ฆ่ามารดา บิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต และทำสังฆเภท <o:p></o:p>
    นองจากนี้แล้ว ยังต้องไม่มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดว่ากรรมและผลของกรรมไม่มี มีความเชื่อมั่นในอานุภาพพระปริตรจริง สามารถคุ้มครองผู้ฟังได้<o:p></o:p>
    บท สวดพระปริตรมีอะไรบ้าง?<o:p></o:p>
    โบรา ณจารย์ได้จำแนกพระปริตรออกเป็น ๒ ประเภทคือ<o:p></o:p>
    - เจ็ดตำนาน มี ๗ พระปริตรคือ

    ๑. มังคลปริตร

    ๒. รัตนปริตร

    ๓. เมตตปริตร

    ๔. ขันธปริตร

    ๕. โมรปริตร

    ๖.ธชัค คปริตร

    ๗. อา ฏานาฏิยปริตร<o:p></o:p>
    - สิบสอง ตำนาน มี ๑๒ พระปริตร โดยเพิ่มจากเจ็ดตำนานอีก ๕ พระปริตรคือ<o:p></o:p>
    ๑. วัฏ ฏกปริตร

    ๒. อังคุลิมาลปริตร

    ๓. โพชฌังคปริตร
    ๔. อภยปริตร

    ๕.ชัย ปริตร<o:p></o:p>
    พระปริตร ยังปรากฏอยู่ในคัมภีร์มิลินทปัญหา วิสุทธิมรรค และอรรถกถาต่าง ๆ โดยเพิ่ม อิสิคิลิปริตร เป็นอีกหนึ่งปริตรด้วย<o:p></o:p>
    พระปริตรที่ปรากฏในบทสวด มนต์ไทย ฉบับปัจจุบันมี ๑๒ ปริตร อิสิคิลิปริตรไม่ได้จัดไว้ในบทสวดมนต์ เพราะเป็นพระปริตรที่กล่าวถึงชื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่เหมือนพระปริตรอื่นที่แสดงคุณของพระรัตนตรัย หรือเมตตาภาวนา<o:p></o:p>
    พระปริตร ที่ควรสวดเสมอ ๆ<o:p></o:p>
    ผู้มีเวลาน้อย ควรสวดพระปริตรที่สั้นและสำคัญ จึงควรสวดพระปริตร ๔ บทแรก คือ เมตตปริตร ขันธปริตร โมร ปริตร และอาฏานาฏิยปริตร<o:p></o:p>
    เมตตปริตร และขัน ธปริตร เน้นการเจริญเมตตาภาวนา<o:p></o:p>
    โมรปริตร และอาฏา นาฏิยปริตร เน้นการเจริญพระพุทธคุณ<o:p></o:p>
    ผู้มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ ควร สวดโพชฌังคปริตร


    ขอบคุณข้อมูล: MAI95.net
     
  10. ลายฟ้า

    ลายฟ้า สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    การสวดมนต์

    การสวดมนต์ เป็นการระลึกถึงพระคุณพระรัตนะตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถือเป็นสิ่งมงคล ไม่ว่าจะเป็นวิญญาณ เทวดา สรรพสัตว์ทั้งหลายหากมีจิตเป็นกุศลเมื่อได้ฟังบทสวดมนต์ย่อมเกิดอานิสงส์

    กระผมเองก็สวดที่บ้านเป็นประจำนะครับ
     
  11. Unlimited Indy

    Unlimited Indy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,228
    ค่าพลัง:
    +803
    ทำจิตใจให้ผ่องใส ตั้งมั่นให้ถึงพร้อมก่อนสวดมนต์อย่างมีสติ
     

แชร์หน้านี้

Loading...