บันทึก ๖๐ เรื่องน่ารู้ในหลวงของเรา..

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย ลุงไชย, 12 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. ลุงไชย

    ลุงไชย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +2,436
    [​IMG]
    (ภาพจาห้องแกลอรี่ เวปพลังจิต)


    บันทึก ๖๐ เรื่องน่ารู้ในหลวงของเรา

    ..วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ เป็นอีกหนึ่งวาระสำคัญของพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ เพราะเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จะทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก

    และเพื่อร่วมเฉลิมฉลองวโรกาสสำคัญยิ่งนี้ ทีมข่าวสตรีไทยรัฐ ได้ทำการรวบรวม “๖๐ เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับในหลวงของเรา” นำมาถ่ายทอดสู่สาธารณชน โดยครอบคลุมทั่วทุกด้าน ตั้งแต่พระราชประวัติ, พระราชกรณียกิจสำคัญๆ รวมถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยส่วนพระองค์

    ๑) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
    <O:p
    ๒) เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๘๙ รัตนโกสินทร์ศก ๑๔๖ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น (Mount Auburn) เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเสตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนกทรงศึกษาวิชาแพทย์อยู่

    ๓) ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่สาม ทรงมีพระเชษฐภคินี ๑ พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ๑ พระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทุกพระองค์ประสูติในต่างประเทศ
    <O:p
    ๔) เสด็จกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกพร้อมสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี เมื่อพระชนม์ได้ ๑ ชันษา ในเดือนธันวาคม ๒๔๗๑

    <O:p๕) ทรงสูญเสียทูลกระหม่อมพ่อตั้งแต่พระชนม์ไม่ถึง ๒ พรรษา โดยสมเด็จพระบรมราชชนกทรงพระประชวร และเสด็จสวรรคต ในวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๗๒

    <O:p๖) ทรงศึกษาเล่าเรียนในต่างประเทศตลอดพระชนม์ชีพ เว้นแต่ในช่วงพระชนมพรรษา ๕ พรรษา ได้เสด็จเข้าศึกษาในโรงเรียนมาแตร์เดอี ๑ ปี ก่อนเสด็จไปประทับที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

    <O:p๗) ทรงจบการศึกษาชั้นประถมจากโรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซานน์, ชั้นมัธยมจากโรงเรียนเอกอล นูแวล เดอ ลา ซืออิส โรมองด์ เมืองแชลลี ซูร โลซานน์ ต่อมาในปี ๒๔๘๑ ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนยิมนาส คลาสสิค กังโตนาล เมืองโลซานน์ ทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากนั้น จึงทรงเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ โดยทรงเลือกแผนกวิทยาศาสตร์

    <O:p๘) เสด็จนิวัติประเทศไทยครั้งที่สอง วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๘๘ ขณะมีพระชนมพรรษา ๑๘ พรรษา

    ) เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคต ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ คณะรัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ สืบสันตติวงศ์แทน แต่เนื่องจากยังทรงมีพระราชภารกิจด้านการศึกษา จึงเสด็จฯ กลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อด้านรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์

    <O:p๑๐) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่สอง หลังประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข

    ๑๑) ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๙๒

    <O:p๑๒) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ที่วังสระปทุม ในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนา ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในเดือนต่อมา

    <O:p๑๓) พระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีขึ้นเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง ได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

    <O:p๑๔) ทรงมีพระราชธิดา ๓ พระองค์ และพระราชโอรส ๑ พระองค์ โดยทุกพระองค์ประสูติที่เมืองไทย ยกเว้นพระราชธิดาองค์โต คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

    <O:p๑๕) ทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙ และประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๑๕ วัน โดยทรงมีพระบรม ราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และต่อมาได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    <O:p
    ๑๖) เสด็จเยือนต่างประเทศเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีเป็นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๐๒ โดยเสด็จเยือนเวียดนามเป็นประเทศแรก และเสด็จเยือนแคนาดาเป็นประเทศสุดท้าย ในปี ๒๕๑๐ รวมทั้งสิ้น ๓๑ ครั้ง ๒๘ ประเทศ และนับแต่นั้นมามิได้เสด็จออกนอกพระราชอาณาจักรอีกเลย
    <O:p
    ๑๗) การเสด็จเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการยาวนานที่สุดกินเวลา ๗ เดือนเต็ม มีขึ้นเมื่อปี ๒๕๐๓ โดยเสด็จเยือน ๑๔ ประเทศในภูมิภาคยุโรป และอเมริกา

    ๑๘) จตุรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตั้งอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเสตต์ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ และสะท้อนความภาคภูมิใจของชาวเมืองเคมบริดจ์ ในฐานะที่เป็นเมืองเดียวของสหรัฐอเมริกาที่เคยมีพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชสมภพ
    <O:p
    ๑๙) ทรงขึ้นชื่อว่าเป็นอัครศิลปิน เพราะทรงเปี่ยมด้วยพระอัฉริยภาพหลายด้าน โดยทรงศึกษาด้วยพระองค์เองจากตำราต่างๆ ในด้านจิตรกรรม ทรงเริ่มสนพระทัยวาดภาพ เมื่อพระชนมพรรษาได้ ๑๐ พรรษา และทรงวาดภาพอย่างจริงจัง เมื่อปี ๒๕๐๒ โดยมักจะทรงใช้เวลาในตอนค่ำหลังว่างจากพระราชภารกิจ แต่นับจากปี ๒๕๑๐ เป็นต้นมา ก็มิได้ทรงเขียนภาพอีกเลย

    <O:p๒๐) เมื่อปี ๒๕๒๕ ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เชิญภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ จำนวน ๔๗ ภาพ ไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่พระมหากษัตริย์ ซึ่งยังทรงดำรงสิริราชสมบัติอยู่ ทรงแสดงภาพจิตรกรรมในฐานะศิลปินเดี่ยว

    <O:p๒๑) ด้านประติมากรรม ทรงศึกษาค้นคว้าเทคนิควิธีการต่างๆ ทั้งงานปั้น, หล่อ และทำแม่พิมพ์ งานประติมากรรมฝีพระหัตถ์แบบลอยตัว เก็บรักษาที่ตู้บนพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มี ๒ ชิ้นคือ รูปปั้นผู้หญิงเปลือยนั่งคุกเข่า ปั้นด้วยดินน้ำมัน และพระรูปปั้นครึ่งพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ

    <O:p๒๒) โปรดการถ่ายรูปและถ่ายภาพยนตร์ เช่นเดียวกับสมเด็จพระบรมราชชนนี โดยทรงเป็นนักถ่ายรูปที่มีพระปรีชาสามารถยิ่ง ทรงจัดทำห้องมืดขึ้นที่ชั้นล่างตึกทำการสถานีวิทยุ อ.ส. ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ส่วนใหญ่เป็นแบบฉับพลันทันเหตุการณ์ ซึ่งทรงบันทึกไว้ระหว่างเสด็จฯ ไปตามสถานที่ต่างๆ

    <O:p๒๓) ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ทุกภาพ จะทรงจัดให้มีหมายเลขประจำภาพ เช่น ภาพครอบครัว, พระราชพิธี, ภาพราษฎรที่มาเฝ้า รวมถึง ภูมิประเทศต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

    <O:p๒๔) ทุกครั้งที่เสด็จฯไปยังสถานที่ใด จะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์อยู่ ๓ สิ่ง คือ แผนที่ ซึ่งทรงทำขึ้นเอง, กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบ โดยเวลาทรงงานจะทรงใช้ยางลบเสมอ เมื่อทรงพบเห็นอะไรก็จะทรงขีดเขียนลงบนแผนที่ เช่นเดียวกับที่สมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงกระทำมาก่อน

    <O:p๒๕) ทรงเคยประดิษฐ์ของเล่นด้วยพระองค์เอง เป็นเครื่องร่อน และเรือรบจำลอง

    <O:p๒๖) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์แรกของโลกที่ทรงได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ์ คิด ค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย หรือกังหันน้ำชัยพัฒนา เมื่อปี ๒๕๓๖

    <O:p๒๗) กีฬาโปรดของพระองค์คือ แบดมินตัน, สกี และเรือใบ

    <O:p๒๘) เมื่อปี ๒๕๐๗ ทรงต่อเรือใบที่ใช้งานได้จริงลำแรก เป็นเรือมาตรฐานสากลประเภท เอ็นเตอร์ไพรส์ คลาส พระราชทานชื่อว่า “ราชปะแตน” และปล่อยเป็นปฐมฤกษ์ในคูน้ำรอบสวนจิตรลดา

    <O:p๒๙) ทรงต่อเรือใบพระที่นั่งด้วยพระองค์เองมาแล้วหลายลำ รวมถึงเรือชื่อ มด, ซุปเปอร์มด และไมโครมด ซึ่งจดทะเบียนระดับนานาชาติประเภท Moth Class ที่ประเทศอังกฤษ

    <O:p๓๐) นอกจากจะทรงโปรดเครื่องดนตรีเป่าทุกชนิดแล้ว ยังทรงกีตาร์และเปียโนด้วย ทรงเป็นผู้นำด้านการประพันธ์เพลงสากลของเมืองไทย โดยใส่คอร์ดดนตรีแปลกใหม่และซับซ้อน ทำให้เกิดเสียงประสานที่เข้มข้น
    <O:p
    ๓๑) เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงซื้อคือ คลาริเน็ต เมื่อพระชนมพรรษา ๑๐ พรรษา

    <O:p๓๒) ทรงพระราชนิพนธ์เพลงครั้งแรก เมื่อพระชนมพรรษา ๑๘ พรรษา โดยเพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ “แสงเทียน” และจนถึงขณะนี้ พระราชนิพนธ์เพลงไว้แล้ว ๔๗ เพลง

    ๓๓) เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๒๙ ทรงเริ่มใช้คอมพิวเตอร์พระราชนิพนธ์คำร้อง และโน้ตเพลงครั้งแรก

    <O:p๓๔) ทรงพระราชนิพนธ์เพลงประจำมหาวิทยาลัยหลายแห่ง อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    <O:p๓๕) ทรงตั้งวงดนตรี “อ.ส.วันศุกร์” ย่อมาจากชื่อพระที่นั่งอัมพรสถาน สถานที่ทรงก่อตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง ส่วนวันศุกร์คือ วันที่ทรงดนตรีเป็นประจำ

    <O:p๓๖) ทรงมีพระปรีชาสามารถโดดเด่นด้านภาษา โดยทรงถนัดทั้งภาษาฝรั่งเศส, เยอรมัน และอังกฤษ

    ๗) นอกจากจะทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไว้หลายเรื่อง อาทิ พระราชนิพนธ์เรื่อง “พระราชกิจรายวันของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล” และเรื่อง “เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์” ยังทรงอุทิศเวลาให้กับพระราชนิพนธ์แปลด้วย เช่น นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ, ติโต และพระมหาชนก ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษจากพระไตรปิฎก

    <O:p๓๘) พระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี ๒๕๓๑ ทรงมีพระราชประสงค์ให้จัดพิมพ์ในโอกาสพระราชพิธีฉลองปีกาญจนาภิเษก เมื่อปี ๒๕๓๙

    <O:p๓๙) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก ที่ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งด้วยพระองค์เอง โดยเป็นระยะทางไกลจากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดเชียงใหม่

    <O:p๔๐) เมื่อวันเสาร์ที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดของประเทศไทย
    <O:p
    ๔๑) เสด็จฯทรงเปิดโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคลสายแรกของประเทศ และประทับรถไฟใต้ดิน เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗

    <O:p๔๒) ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตร เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์, ดีโซฮอล์ และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า ๒๐ ปี

    <O:p๔๓) ทรงมีสุนัขทรงเลี้ยง ๓๔ ตัว มีคุณทองแดง สุวรรณชาด เป็นสุนัขทรงโปรด ได้รับฉายาว่า สุนัขประจำรัชกาล

    ๔๔) ทรงช่วยเหลือประชาชนให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ด้วยการสนับสนุนให้เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่เกษตรกร ทำให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างยั่งยืน

    <O:p๔๕) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการแรกคือ โครงการสร้างถนนเข้าสู่หมู่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน

    <O:p๔๖) ทรงริเริ่มโครงการนาข้าวทดลองในบริเวณสวนจิตรลดา จากนั้นทรงริเริ่มโครงการโรงโคนม จัดตั้งเป็นโรงโคนมสวนจิตรลดา เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่การเลี้ยงโคนมอย่างถูกวิธี

    ๔๗) จนถึงปัจจุบัน มีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแล้วเกือบ ๓ พันโครงการ มีทั้งเรื่องการศึกษา, สิ่งแวดล้อม, สาธารณสุข, สวัสดิการสังคม และชลประทาน

    <O:p๔๘) โครงการหลวง เป็นโครงการที่ทรงริเริ่มขึ้น เมื่อปี ๒๕๑๒ เพื่อช่วยเหลือชาวเขาทางภาคเหนือให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เลิกปลูกฝิ่นและหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจแทน

    <O:p๔๙) เนื่องจากทรงห่วงใยพสกนิกรที่ต้องทนทุกข์จากการอาศัยในถิ่นทุรกันดาร ขาดแคลนน้ำ จึงทรงริเริ่มโครงการฝนหลวง โดยทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าครั้งแรก ที่บริเวณวนอุทยานเขาใหญ่ เมื่อปี ๒๕๑๒

    <O:p๕๐) ทรงริเริ่มโครงการเพื่อการศึกษาไว้มากมาย โดยทรงตั้งทุนภูมิพลพระราชทานทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ส่วนทุนเล่าเรียนหลวง ริเริ่มขึ้นในสมัย ร.๕ และยกเลิกไปเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ภายหลังทรงรื้อฟื้นขึ้นใหม่ ในปี ๒๕๐๘ เพื่อส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในต่างประเทศ นำความรู้กลับมาพัฒนาบ้านเมือง

    <O:p๕๑) โรงเรียนร่มเกล้าแห่งแรกตั้งขึ้น เมื่อปี ๒๕๑๕ ณ บ้านหนองแคน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

    ๒) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามภูมิภาคต่างๆ รวม ๖ แห่ง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาชนบท

    <O:p๕๓) โครงการพระดาบส เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จัดตั้งขึ้นปี ๒๕๑๙ เพื่อให้การศึกษาแก่บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดเพศ วัย และวุฒิการศึกษา

    <O:p๕๔) ในปี ๒๕๓๕ องค์การอนามัยโลก ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญเทิดพระเกียรติ ในฐานะที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้านสุขภาพอนามัย เพื่อปวงชนชาวไทยอย่างกว้างขวาง

    <O:p๕๕) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหน่วยรักษาพยาบาล ที่ปากทางเข้าเขตพระราชฐานเกือบทุกแห่ง โดยไม่คิดค่ารักษา

    <O:p๕๖) ชาวบ้านจำนวนมากทุกข์ทรมานจากโรคฟัน จึงทรงให้จัดตั้งหน่วยทันตแพทย์เคลื่อนที่

    <O:p๕๗) ทรงก่อตั้งมูลนิธิเพื่อการพัฒนาประเทศไว้หลายแห่ง รวมถึง มูลนิธิชัยพัฒนา เน้นช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาเร่งด่วน ซึ่งทางราชการไม่สามารถดำเนินการพัฒนาได้ทันที

    <O:p๕๘) โครงการแก้มลิง เป็นโครงการที่ทรงคิดค้นเพื่อระบายน้ำท่วมขัง และกักน้ำไว้ใช้ในยามแห้งแล้ง

    <O:p๕๙) ในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ทรงพระราชทานปรัชญาสำคัญแก่ประชาชนชาวไทย นั่นคือ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดำรงชีพอย่างพอเพียง โดยยึดหลักทางสายกลาง

    ๖๐) ล่าสุด ทางสหประชาชาติ นำโดย “โคฟี อันนัน” ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล “ความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก ที่ยูเอ็นยกย่องว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา ซึ่งทรงริเริ่มปรัชญาสำคัญๆ ไว้มากมาย โดยเฉพาะเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการชื่นชมไปทั่วโลก และมีหลายประเทศนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการพัฒนา …
    <O:p
    ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..<O:p></O:p>
    ที่มา :: �ҹ�����ѡ� :: :: ��ҹ - �ѹ�֡ 60 ����ͧ����������ǧ�ͧ���
     

แชร์หน้านี้

Loading...