บารมี ๑๐ และสังโยชน์ ๑๐

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย Scorpius, 30 มีนาคม 2012.

  1. Scorpius

    Scorpius เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +647
    [​IMG]

    การจะไปนิพพานได้ ต้องขอให้บรรดาพุทธบริษัททุกท่านสนใจกับ บารมี ๑๐

    บารมี ๑๐ อย่างนี้ ควรจะจดเอาไว้ให้มองให้เห็นทุกวัน เช้าขึ้นมาเราก็นั่งไล่เบี้ย บารมี ๑๐ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี ว่าจิตใจของเราบกพร่องในบารมีข้อไหนบ้าง เราทำข้อนั้นให้เต็ม

    แล้วก็ประการที่ ๒ บรรดาท่านพุทธบริษัทต้องสนใจในสังโยชน์ ๑๐

    สังโยชน์ ๑๐ กับบารมี ๑๐ นี่ต้องสนใจทำให้คล่อง

    สำหรับบารมี ๑๐ ตั้งใจให้เกิดขึ้น

    สังโยชน์ ๑๐ ตัดให้หมดไป

    ถ้าบารมี ๑๐ มีความเข้มข้นมากเท่าไร สังโยชน์ ๑๐ มันก็จะจางตัวไปมากเท่านั้น

    บารมีทั้งหมดนี้ให้ใช้กำลังใจ สร้างกำลังใจให้มันทรงอยู่ในใจทั้งหมด ให้มันเต็มครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่มีอะไรบกพร่อง คือ


    • จิตของเราพร้อมที่จะให้ทานเป็นปกติ

    • จิตพร้อมในการทรงศีล นี่ซิบรรดาพุทธบริษัท พร้อมในการทรงศีลเป็นปกติ ไม่ใช่ปล่อยให้ศีลมันหล่นไป

    • จิตพร้อมในการทรงเนกขัมมะเป็นปกติ เนกขัมมะก็แปลว่าการถือบวช บวชผมยาว บวชผมสั้น บวชโกนหัว ไม่โกนหัว ได้ทั้งนั้น

    • จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหัตประหารอุปาทานให้พินาศไป

    • วิริยะ มีความเพียรทุกขณะ ควบคุมใจไว้เสมอ

    • ขันติ มีทั้งอดทั้งทน อดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์

    • สัจจะ ทรงตัวไว้ตลอดเวลาว่าเราจะจริงทุกอย่าง ไม่มีอะไรในคำว่าไม่จริงสำหรับใจเรา ในด้านของการทำความดี

    • อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ

    • เมตตาบารมี สร้างอารมณ์ความดีไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น

    • อุเบกขาบารมี วางเฉยเข้าไว้ ในเมื่อร่างกายมันไม่ทรงตัว อย่างที่เธอเป็นวันนี้ อุเบกขาบารมีตัวนี้ พระองค์ทรงตรัสว่า ตรงกับภาษาไทยที่ใช้กันเป็นปกติว่า ช่างมัน ขันติบารมีนี่ก็เหมือนกันใช้คำว่าช่างมัน ตรงตัวดี
    คนที่มีบารมีต้นนี่นะ เขาเก่งแค่ทานกับศีลอย่างเก่ง ถ้าอุปบารมี ก็เก่งแค่ฌานสมาบัติ จิตใจพอใจมาก แต่พูดเรื่องนิพพานไม่เอาด้วย คนที่มีบารมีเข้าถึง ปรมัตถบารมีเท่านั้น จึงจะพอใจในนิพพาน.

    - อ้างอิงจาก : หนังสือ พ่อรักลูก ๒ หน้าที่ ๔๘-๕๑ หัวข้อ บารมี ๑๐
     

แชร์หน้านี้

Loading...