บาลีปรารภพระนิพพาน ๘ พระนิพพานไม่สูญ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย อภิราม, 30 ตุลาคม 2010.

  1. อภิราม

    อภิราม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    532
    ค่าพลัง:
    +9,005
    [​IMG]

    <TABLE border=0 width="100%" align=left><TBODY><TR><TD vAlign=top>รูปสดับสุรสรรพพร้อม</TD><TD vAlign=top>คำขาน</TD></TR><TR><TD vAlign=top>พอกล่าวว่านฤพาน</TD><TD vAlign=top>สุขแท้</TD></TR><TR><TD vAlign=top>เป็นศิวาลัยสถาน</TD><TD vAlign=top>เลอเลิศ</TD></TR><TR><TD vAlign=top>หายากจะเปรียบแม้</TD><TD vAlign=top>พิลาสด้าว แดนใด</TD></TR></TBODY></TABLE>



    จากหนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

    คำว่า นิพพาน คืออะไร นิพพะ แปลว่าดับ ดับอะไร ก็ดับกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม รวมความว่าดับอารมณ์ความชั่วทั้งหมด

    ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านเป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ ท่านอธิบายถึงการระลึกถึงคุณพระนิพพาน โดยท่านยกบาลี ๘ ข้อไว้เป็นแนวเครื่องระลึก ดังจะนำมาเขียนไว้เพื่อเป็นเครื่องอุปกรณ์ในการระลึกดังต่อไปนี้

    บาลีปรารภพระนิพพาน ๘

    ๑.มทนิมฺมทโน แปลว่า พระนิพพานย่ำยีเสียซึ่งความเมา มีความเมาในความเป็นคนหนุ่ม และเมาในชีวิต โดยคิดว่าตนจะไม่ตายเป็นต้น ให้สิ้นไปจากอารมณ์ คือ คิดเป็นปกติเสมอว่า ชีวิตนี้ไม่มีอะไรแน่นอน โลกนี้ทั้งสิ้นมีความฉิบหายเป็นที่สุด

    ๒.ปิปาสวินโย แปลว่า พระนิพพาน บรรเทาซึ่งความกระหาย คือความใคร่กำหนัดยินดีในกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และการถูกต้องสัมผัส

    ๓.อาลยสมุคฺฆาโต แปลว่า พระนิพพาน ถอนเสียซึ่งอาลัยในกามคุณ ๕ หมายความว่า ท่านที่เข้าถึงพระนิพพาน คือมีกิเลสสิ้นแล้ว ย่อมไม่ผูกพันในกามคุณ ๕ เห็นกามคุณ ๕ เสมือนเห็นซากศพ

    ๔.วัฏฏปัจเฉโท แปลว่า พระนิพพาน ตัดเสียซึ่งวัฏสาม คือ กิเลสวัฏ ได้แก่ตัดกิเลสได้สิ้นเชิง ไม่มีความมัวเมาในกิเลสเหลืออยู่แม้แต่น้อย กรรมวัฏ ตัดกรรมอันเป็นบาปอกุศล วิปากวัฏ คือตัดผลกรรมที่เป็นอกุศลได้สิ้นเชิง

    ๕.ตัณหักขโย,วิราโค,นิโรโธ แปลว่า นิพพานธรรมนั้น ถึงความสิ้นไปแห่งตัณหา ตัณหาไม่กำเริบอีก มีความหน่ายในตัณหา ไม่มีความพอใจในตัณหาอีก ดับตัณหาเสียได้สนิท ตัณหาไม่กำเริบขึ้นอีกได้แม้แต่น้อย

    ๖.นิพพานัง แปลว่า ดับสนิทแห่ง กิเลส ตัณหา อุปาทาน กรรม อำนาจทั้ง ๔ นี้ ไม่มีโอกาสจะให้ผลแก่ท่านที่มีจิตเข้าถึงพระนิพพานแล้วได้อีก

    ตามข้อปรากฏว่ามีเพียง ๖ ข้อ ความจริงข้อที่ ๕ ท่านรวมไว้ ๓ อย่าง คือตัณหักขโย ๑ วิราโค ๑ นิโรโธ ๑ ข้อนี้รวมกันไว้เสีย ๓ ข้อแล้ว ทั้งหมดจึงเป็น ๘ ข้อพอดี ท่านลงในแบบว่า ๘ ก็เขียนว่า ๘ ตามท่าน ความจริงเมื่อท่านจะรวมกัน ท่านน่าจะเขียน ๖ ข้อก็สิ้นเรื่อง เมื่อท่านเขียนแบบมาอย่างนี้ ก็เขียนตามท่าน

    ท่านสอนให้ตั้งจิตกำหนดความดีของพระนิพพานตามในบาลีทั้ง ๘ แม้ข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ตามความพอใจ แต่ท่านก็แนะไว้ในทีเดียวกันว่า บริกรรมภาวนาว่า "นิพพานัง" นั่นแหละดีอย่างยิ่ง ภาวนาไปจนกว่าจิตจะเข้าสู่อุปจารฌาน โดยที่จิตระงับนิวรณ์ ๕ ได้สงบแล้วเข้าถึง อุปจารฌาน เป็นที่สุด กรรมฐานนี้ที่ท่านกล่าวว่าได้ถึงที่สุดเพียง อุปจารฌาน ก็เพราะว่าเป็นกรรมฐานที่ละเอียดสุขุม และใช้อารมณ์ใคร่ครวญเป็นปกติ กรรมฐานนี้จึงมีกำลังไม่ถึงฌาน

    อานิสงส์

    อานิสงส์ที่ใช้อารมณ์ใคร่ครวญถึงพระนิพพานนี้มีผลมาก เป็นปัจจัยให้ละอารมณ์ที่คลุกเคล้าด้วยอำนาจกิเลสและตัณหา เห็นโทษในวัฏฏะ เป็นปัจจัยให้แสวงหาทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ อันเป็นปฏิปทาไปสู่พระนิพพาน เป็นกรรมฐานที่นักปฏิบัติได้ผลเป็นกำไร เพราะเป็นปัจจัยให้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้อย่างสบาย

    ขอท่านนักปฏิบัติจงสนใจในกรรมฐานกองนี้ให้มากๆ และแสวงหาแนวทางปฏิบัติ ที่เข้าตรงต่อพระนิพพานมาปฏิบัติ ท่านมีโอกาสจะเข้าสู่พระนิพพานได้อย่างไม่ยากนัก เพราะระลึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์นี้ เป็นองค์หนึ่งในองค์สามของพระโสดาบัน ชื่อว่าท่านเข้าไปเป็นพระโสดาบันหนึ่งในสามขององค์พระโสดาบันแล้ว เหลืออีกสองต้องควรแสวงหาให้ครบถ้วน


    ขอขอบพระคุณ
    แหล่งที่มา : �ػ��ҹ��ʵԡ����ҹ
     
  2. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p

    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา </O:p>
    *
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ตุลาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...