บุคคลตัวอย่างในสมัยพุทธกาล โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 16 พฤษภาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คัดลอกมาจาก


    [​IMG]

    พระนางมัลลิกาเทวี


    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน<O:p></O:p>

    <O:p></O:p>
    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย และบรรดาเพื่อนพระภิกษุสามเณร สำหรับตอนนี้ก็เป็นเรื่องพระสูตร ถือว่าเป็นการอ่านพระสูตรก่อนหลับหรือว่าก่อนนิทรา เห็นใครเขาเขียนว่า เป็นพระสูตรก่อนนิทราหรือนิทานก่อนหลับ เนื้อความก็มีอยู่ว่า เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระเชตวัน ทรงปรารภอทิสทาน เนื้อความมีอยู่ว่า
    <O:p></O:p>
    สมัยหนึ่งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงจาริกไปหรือเที่ยวไป มีภิกษุ 500 รูป เป็นบริวาร เสด็จเข้าไปถึงพระเชตวัน พระราชาเสด็จไปที่วิหาร คำว่าพระราชานี้หมายถึงพระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จไปที่วิหารที่พระเชตวันแล้วกราบทูลองค์สมด็จพระภควันต์ ทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าว่า ในวันรุ่งขึ้นจะทรงเตรียมอาคันตุกะทาน หรือในวันรุ่งขึ้นจะถวายทานแก่พระพุทธเจ้า พร้อมไปด้วยพระสงฆ์ที่เรียกว่า อาคันตุกะ หมายถึง ผู้มา คือว่า พระที่มาทั้งหมดนี้พระองค์จะถวาย แล้วจึงได้ตรัสเรียกชาวพระนครว่า “จงมาดูทานของเรา”
    <O:p></O:p>
    นี่เป็นอันว่า เมืองนี้เขาแข่งขันกันทำความดี เขาไม่ได้แข่งขันกันโกง แข่งขันกันให้ว่า “ท่านทั้งหลายจดูทานของเรา” ชาวพระนครมาเห็นทานของพระราชาแล้ว วันรุ่งขึ้นจึงนิมนต์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมพระสงฆ์ทั้งหมด เตรียมจะถวายทานบ้าง และส่งข่าวไปกราบทูลพระราชา คือพระเจ้าปเสนทิโกศล “ขอพระองค์ผู้สมมุติเทพจงมาทอดพระเนตรทานข้าพระองค์ทั้งหลาย” เขาก็พยายามจัดทานให้ยิ่งกว่าพระราชาที่ถวาย
    <O:p></O:p>
    เมื่อพระราชาได้ทอดพระเนตรแล้ว ก็กราบทูลองค์สมเด็จพระประทีปแก้วอีก ทรงดำริว่าทานอันยิ่งกว่า เราจะยอมแพ้ชาวบ้านไม่ได้ จึงทรงรับสั่งให้เตรียมทานเสร็จเรียบร้อยในวันรุ่งขึ้น แล้วก็บอกให้ชาวพระนครมาดู ชาวพระนครมาดูแล้วเห็นว่า ทานของพระราชายิ่งใหญ่กว่าของพวกตนมาก จึงมีการเตรียมตัวถวายทานกันอีก และก็กราบทูลให้พระราชาทรงทราบว่า วันพรุ่งนี้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอพระองค์เสด็จมาดูทานของข้าพระพุทธเจ้า เป็นอันว่าทานของชาวบ้านนี่เขารวมกันเต็มอัตรา และมีจิตใจเสมอกันเป็นคนดี ทานเขาก็มากกว่าพระราชา พระราชาองค์เดียวสู้เขาไม่ได้
    <O:p></O:p>
    นี่ก็เป็นอันว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลท่านเป็นพระราชาที่ไม่ยอมแพ้คนในด้านทำความดี ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าท่านเองปรารถนาพุทธภูมิ ต้องการจะป็นพระพุทธเจ้าในวันข้างหน้า และขอบรรดาท่านทั้งหลายโปรดทราบว่า ในเมืองพาราณสีนี้ พระราชาทุกองค์มีนามว่าปเสนทิโกศลเหมือนกันหมด และพระบรมราชินีก็มีนามว่าพระนางมัลลิกาเหมือนกันหมด ในเมื่อเหมือนกันอย่างนี้โดยชื่อ แต่ว่าจริยาก็ดี ความคิดเห็นก็ดี ความประพฤติก็ดีจะไม่เหมือนกัน ฉะนั้น ถ้าหากว่าไปอ่านพบว่าเมืองพาราณสีมีพระเจ้าปเสนทิโกศล หรือว่าพระนางมัลลิกาที่ประพฤติตัวไม่ดี ให้ทราบว่าเป็นองค์ไหนกันแน่ไม่ใช่องค์นี้
    <O:p></O:p>
    ก็เป็นอันว่า พระราชาไม่สามารถเอาชนะชาวบ้านได้ จึงคิดในใจว่าจะไม่ยอมแพ้ ต่อมาในวาระที่ 6 คือว่ากันไปว่ากันมาถึงวาระที่ 6 ชาวพระนครก็เพิ่มขึ้นร้อยเท่าพันเท่า พระราชาให้เท่าไร ฉันให้เท่านั้น เพิ่มเตรียมให้สูงขึ้น ตระเตรียมทานโดยที่คิดว่าอะไรที่ไม่ดี จะต้องไม่มีในทานอันนี้ ทานคราวนี้ต้องมีทุกอย่างเพราะเรามากด้วยกัน เราจะต้องเอาชนะพระราชาของเราให้ได้ ท่านเป็นพระราชาก็จริงแหล่ แต่ทว่ากำลังของท่านน้อยกว่าเรา เราชาวพระนครทั้งหมดช่วยกัน เพราะถือว่าไม่เฉพาะแต่ชาวพระนคร ชาวบ้านทั้งหมดช่วยกัน เขาป่าวประกาศ พระราชาคือพระเจ้าปเสนทิโกศลไปทอดพระเนตรทานนั้น แล้วทรงดำริว่า
    <O:p></O:p>
    “ถ้าเราจักไม่อาจทำทานให้ยิ่งกว่าของชาวพระนครทั้งหมดนี้ ให้สูงกว่าเขาแล้วก็ ชีวิตของเราจะอยู่เพื่ออะไร คนอย่างเราจะยอมแพ้ไม่ได้ ถ้าเราไม่สามารถชนะทานของชาวบ้านได้ เราตายดีกว่า” เมื่อคิดแบบนี้แล้วทำอย่างไรก็คิดไม่ตก ปลงใจว่าจะหาอะไรมาบ้าง ไปดูแล้วชาวบ้านแกมีทุกอย่าง ขึ้นชื่อว่าอะไรไม่มี ไม่มีในทานนั้น มีทุกอย่างครบถ้วน ในที่สุดก็หาอุบายไม่ได้ ทำอย่างไร ก็นอนบรรทม นอนดำริถึงอุบายที่จะต้องทำอยู่ นอนอย่างที่เขานอนผึ่ง ตอนนั้นรู้สึกว่าไม่ค่อยอยากจะกินข้าวกินปลา ใครมาพูดก็ไม่ค่อยอยากจะพูดด้วย นั่งคิดอย่างเดียวว่าเราจะเอาอะไรมาให้ทานดีหนอจะยิ่งกว่า ชาวบ้านเขาไม่ยอมแพ้เรา เราก็ยอมแพ้ไม่ได้ (นี่ทุกคนอ่านแล้ว มาแข่งขันกันทำความดีอย่างนี้จะมีประโยชน์มาก)
    <O:p></O:p>
    ต่อมาพระนางมัลลิกาก็เข้ามาเฝ้าท้าวเธอ พระนางมัลลิกาเทวีนี่ชื่ออย่างนี้มันเหมือนกัน จะต้องวงเล็บว่าพระนางมัลลิกาเทวีโดยตำแหน่งพระราชินี แต่ชื่อจริง ๆ ที่ยังไม่มาเป็นพระราชินีชื่อว่า “ศรีรจิตร” เข้าไปเฝ้าท้าวเธอแล้วทูลถามว่า
    <O:p></O:p>
    “ข้าแต่มหาราชเจ้า เพราะเหตุใดพระองค์จึงเป็นผู้บรรทม คือนอนแบบนี้และทำไมร่างกายของพระองค์นี้ ดูเหมือนกับคนที่มีความเหนื่อยมาก นอนถอนใจ บรรทมถอนใจ ร่างกายก็ซูบซีดตาก็เหม่อลอย พระองค์ทรงคิดถึงเรื่องใดหรือพระเจ้าข้า หรือว่าจะไปเจอะเทวีที่ดีกว่านี้อีก หม่อมฉันจะไปติดตามให้”<O:p></O:p>
    พระราชาก็ตรัสว่า “พระเทวี นี่น้องหญิงเธอยังไม่เข้าใจ เวลานี้น่ะฉันแพ้ชาวบ้านเขารู้ไหม ฉันให้ทานเท่าไร ชาวบ้านแกก็รวมใจกันให้มากกว่านั้นเป็นร้อยเท่าพันเท่า แต่ฉันจะเอาอะไรดีไปชนะชาวบ้านเขา เออ..น้องหญิง ทราบว่าน้องหญิงเป็นคนมีปัญญาดี มีความละเอียดรอบคอบและก็สุขุม มีความรู้จักประโยชน์และสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์ จะมีอะไรช่วยฉันคิดได้บ้างไหม”
    <O:p></O:p>
    เวลานั้นพระนางมัลลิกาก็กราบทูลว่า “ข้าแต่สมมุติเทพ พระองค์อย่าทรงคิดมากไปเลย เรื่องทานไม่ใช่ของหนัก พระราชาน่ะเป็นผู้ใหญ่ในแผ่นดิน อันชาวพระนครทั้งหลายจะให้แพ้นั้นไม่ได้ พระองค์เคยทอดพระเนตรหรือว่าเคยสดับแล้วที่ไหน หม่อมฉันจะจัดแจงทานแทนพระองค์” นั่นก็หมายความว่า เคยเห็นไหมที่พระราชายอมแพ้ชาวบ้าน พระราชานี่ความจริงไม่ใช่มีมานะหนัก แต่ก็ต้องทำความดีให้เหนือ เพื่อเป็นการจูงใจคนที่มีความดีให้ปฏิบัติความดีตาม ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะเด็กย่อมเห็นว่าผู้ใหญ่ทำดีก็อยากจะดีบ้าง ทำอย่างไรก็ชอบทำตามนั้น ในเมื่อพระราชาชอบให้ทาน ชาวบ้านก็ต้องให้ทาน
    <O:p></O:p>
    พระนางจึงได้กราบทูลท้าวเธออย่างนี้ว่า ความที่พระนางเป็นผู้ใคร่จะจัดแจง คือหมายความว่าตั้งใจไว้แล้วว่า จะถวายอทิสทานมานานแล้ว แต่โอกาสมันยังไม่มี “ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงรับสั่งให้เขาทำดังนี้ คือ<O:p></O:p>
    “หนึ่ง ทำมณฑปสำหรับนั่งในวงเวียน คือทำวงเวียนแล้วก็ทำมณฑปสำหรับนั่ง ให้ใช้ไม้เรียบ ๆ ที่ทำด้วยไม้สาละ และก็ใช้ไม้ขานาง (ขานางหมายควาว่าไม้ถ่างขา) ทำเป็นโต๊ะเพื่อบรรดาพระสง์ทั้งหลาย 500 รูป ให้พระ 500 รูป นั่ง สำหรับพระที่เกิน 500 รูป จักนั่งภายนอกวงเวียน นี่ในวงเวียนน่ะ 500 ทำตั่งทำโต๊ะตั้งสบาย ๆ และขอทรงรับสั่งให้ทำเศวตฉัตร 500 คัน และช้างประมาณ 500 เชือก ช้างนี่จะถือเศวตฉัตรทั้งหลายเหล่านั้น กั้นอยู่เบื้องหลังให้ภิกษุ 500 รูป งานมันใหญ่มาก และขอทรงสั่งให้ทำเรือสำเร็จด้วยทองคำ มันมีสีสุก (คือว่าสำเร็จนี่หมายความว่า สั่งทำเรือทองคำ ทองคำแท้ ๆ ที่มีสีสุก) สัก 8 ลำ หรือ 10 ลำ และเรือเหล่านั้นจะมีท่ามกลางมณฑป จะมีเจ้าหญิงองค์หนึ่งจักนั่งบดของหอมอยู่ในระหว่างภิกษุ 2 รูป คือพระสององค์มีเจ้าหญิงหนึ่งองค์นั่งบดของหอมถวาย แล้วเจ้าหญิงอีกองค์หนึ่งจะถือพัดถวายแก่ภิกษุสองรูป เป็นอันว่าพระ 500 นี่ เจ้าหญิง 500 เข้าไปแล้วนะ เจ้าหญิงที่เหลือจะนำของหอมที่บดแล้วมาใส่ในเรือทองคำทุก ๆ ลำ และบรรดาเจ้าหญิงทั้งหมดเหล่านั้น เจ้าหญิงบางพวกจะถือดอกอุบลเขียว (ดอกบัวเขียว) เคล้าของหอมที่ใส่ไว้ในเรือทองคำ จะให้ภิกษุรับเอากลิ่นหอม
    <O:p></O:p>
    เพราะว่าที่ทำอย่างนี้น่ะ จะชนะชาวบ้าน เพราะว่าชาวบ้านเขาจะไม่มีเจ้าหญิงใช้ คือเจ้าจะมีเฉพาะกลุ่มเจ้า ชาวบ้านจะมีเจ้าหญิงไม่ได้ อีกประการหนึ่งชาวบ้านก็ไม่มีเศวตฉัตร และชาวบ้านนั้นจะมีช้างก็ไม่มากเท่าช้างของพระราชา นี่ถือเอาชนะกันตอนนี้ และชาวบ้านจะแพ้ด้วยเหตุผลเหล่านี้ พระเจ้าข้า”
    <O:p></O:p>
    แล้วกราบทูลต่อไปว่า “ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์ทรงรับสั่งทำอย่างนี้เถิด”<O:p></O:p>
    พระเจ้าปเสนทิโกศลฟังแล้วก็ดีใจหายเหนื่อยลุกผลุบผลับมาทันทีว่า “ดีแล้วน้องหญิง เรื่องใดงามเจ้าบอกพี่แล้ว” จึงได้ทรงรับสั่งให้ทำกิจทั้งสิ้น โดยทำนองที่พระนางกราบทูลนั้นแล้ว ช้างเชือกหนึ่งยังไม่พอแก่ภิกษุรูปหนึ่ง นั่นหมายความว่า ภิกษุแต่ละองค์ พระแต่ละองค์ต้องใช้แต่ละเชือก แต่นับไปนับมาแล้วช้างมันไม่พอ ไม่ใช่อะไร ช้างน่ะมีมาก แต่ไม่พอ ฟังเหตุผลไปก่อน ท่านบอกว่า ช้างเชือกหนึ่งเฉพาะพระภิกษุรูปหนึ่ง 500 รูปนั้นไม่พอ จะทำอย่างไร
    <O:p></O:p>
    พระนางมัลลิกาจึงได้กราบทูลถามว่า “ช้าง 500 เชือกน่ะของเรามีไม่พอ หรือมีไม่ถึงหรือ” พระนางทราบว่ามีมาก
    <O:p></O:p>
    พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ตรัสว่า “มีน้องหญิง แต่ว่าช้างไอ้ที่ว่าไม่พอน่ะ มันเหลือแต่ช้างตัวดุร้ายน่ะสิ เพราะช้างทั้งหลายเหล่านั้น ถ้าได้เห็นพระเข้าละก็มันจะทำร้ายพระ เพราะว่าช้างเห็นพระ จะไม่เชื่องกับพระ ก็เหมือนกับควายที่ไม่เชื่องกับพระ ไล่ขวิดพระนั่นเอง เหมือนลมพายุไล่พระ”
    <O:p></O:p>
    พระนางจึงได้กราบทูลให้ทรงทราบว่า “ข้าแต่สมมุติเทพ หม่อมฉันทราบที่เป็นที่ยืนถือฉัตรของลูกช้างซึ่งดุร้ายเชือกหนึ่ง” หมายความว่า มีลูกช้างเชือกหนึ่งพร้อมที่จะถือฉัตรได้ ถึงแม้มันจะดุร้ายก็สามารถปราบได้ด้วยกำลังใจ<O:p></O:p>
    พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ถามว่า “เราจักเอาช้างมายืนที่ตรงไหนล่ะ”
    <O:p></O:p>
    พระเทวีก็กราบทูลว่า (พระนางมัลลิกาน่ะ) “ยืนใกล้ ๆ พระผู้เป็นเจ้า ชื่อว่า องคุลีมาร” หมายความว่าลูกช้างตัวที่มันดุ เอามายืนใกล้ ๆ องคุลีมาร องคุลีมารไม่ใช่ก้อยนะ แต่ว่าเวลานี้ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว
    <O:p></O:p>
    พระราชารับสั่งให้ราชบุรุษทำอย่างนั้น คือว่าพระราชารับสั่งให้ราชบุรุษเอาช้างตัวนั้นมายืนใกล้องคุลีมาร ถือฉัตร พอเข้ามาใกล้ท่านองคุลีมาร เพราะอาศัยบารมีความดีของท่าน ลูกช้างก็สอดหางเข้าไปในระหว่างขา ได้ปกหูทั้งสองคือตั้งหูทั้งสองขึ้น หลับตายืนอยู่ มหาชนแลดูช้างซึ่งทรงเศวตฉัตรเพื่อพระเถระ คือพระองคุลีมารนั้น จึงพากันคิดว่า นี่เป็นอาการของช้างที่ดุร้าย ชื่อว่าเห็นปานนี้ ท่านองคุลีมารพระเถระย่อมทำได้ (หมายความว่าปราบพยศของช้างได้)
    <O:p></O:p>
    พระราชาทรงถวายพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยอาหารอันประณีตแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิ่งใดที่เป็นกัปปิยะ (คือเป็นของสมควร) หรือเป็นกัปปิยภัณฑ์ ของสมควรที่เป็นของใช้ในโรงทานนี้ทั้งหมด หม่อมฉันถวายทุกสิ่งทุกอย่างแด่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหมด” คือถวายกันหมด เอาของนะ ไม่ใช่คน สิ่งที่เป็นวัตถุทั้งหมด เรือทองคำก็ดี อะไรก็ดี เตียงตั่งทั้งหมดถวายหมด
    <O:p></O:p>
    เป็นอันว่าพระราชาทรงถวายเสร็จ ท่านกล่าวต่อไป (เอาอีกนิดหนึ่ง มันไม่จบนะเรื่องนี้) ท่านกล่าวว่า ในทานทั้งหลายเหล่านั้น ทรัพย์มีประมาณ 14 โกฎิ อันพระราชาทรงบริจาคในวันเดียวนั้น และของสี่อย่างก็คือ เศวตฉัตรหนึ่ง บรรลังก์สำหรับนั่งหนึ่ง เชิงบาตรหนึ่ง ตั่งสำหรับเช็ดเท้าหนึ่ง เป็นของที่หาค่ามิได้ เป็นของมีราคาสูง
    <O:p></O:p>
    เมื่อพระศาสดา คือสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ารับทราบแล้ว ท่านกล่าวว่า “ใคร ๆ ผู้สามารถที่จะทำทานเห็นปานนี้แล้ว ไม่มี” ไม่สามารถที่จะทำได้ ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลายในครั้งใหม่อีกก็ไม่ได้ เพราะทานประเภทนี้เขาถวายกันคราวเดียว เพราะเหตุว่า อทิสทานประภทนี้ จะปรากฎแก่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหนึ่งองค์ต่อหนึ่งครั้ง คือถวายกันครั้งเดียว ของมันหนัก ปริมาณมันสูง และผู้ที่จะถวายทานประเภทนี้ได้ก็เป็นผู้หญิง ไม่ใช่ผู้ชาย
    <O:p></O:p>
    ก็เรื่องราวมันก็มีมากมันก็จบไม่ได้สิ จะลัดก็ลัดไม่ได้ ทั้งนี้พราะอะไร ก็เพราะว่าต้องเอาหนังสือมากาง แล้วก็เล่าสู่กัน เพราะเรื่องของท่านมีความละเอียด ขอบรรดาท่านพุทธบริษัท วันนี้ก็ขอหยุดกันแค่นี้นะสำหรับท้องเรื่อง
    <O:p></O:p>
    ก็มานั่งคิดกันว่า ในเมืองพาราณสีน่ะ พระเจ้าปเสนทิโกศล ความจริงก็เป็นสหายกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่กล่าวว่าเป็นพระสหายคือเป็นลูกกษัตริย์เหมือนกัน อายุรุ่นราวคราวเดียวกัน และก็มีศรัทธาในองค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดามาก และการทำทานคือ พระโพธิสัตว์น่ะไม่ยั้งในการทำทาน และก็แถมมีพระมเหสีคือ พระนางมัลลิกาเทวี อย่าลืมนะ มัลลิกาเทวีองค์นี้ท่านชื่อเดิมของท่านคือ ศรีรจิตร เป็นผู้ที่ทรงทานมาก มีศรัทธามาก จริยาของท่านยังมีมากไปกว่านี้ และก็จะคุยกันในวันหน้า
    <O:p></O:p>
    ก็รวมความว่า ทานที่ท่านให้อาศัยบุญบารมีเดิม คือว่าถอยหลังในชาติต่อ ๆ ไป ก็ปรากฎว่าทั้งสองท่านนี่ ท่านผู้รู้ท่านบอกให้ฟัง ในธรรมบทอาจจะไม่ได้บอกไว้ ท่านบอกว่าทั้งสองท่าน นับแต่อดีตตั้งแต่ปรารถนาพระโพธิญาณมาตั้งแต่แรกเริ่ม ก็เป็นผู้หนักในทาน บางครั้งบางคราวท่านเกิดในสภาวะของคนยากจน ผ้านุ่งก็เก่าแสนเก่า จะต้องประกอบอาชีพด้วยแรงงาน คือทำไร่ ทำผัก ฐานะสมบัติก็ไม่ค่อยจะมีกิน แต่ว่าปรากฎว่ามีคนยากจนเข็ญใจมาเมื่อไร อาหารของท่านแม้จะเกือบไม่อิ่ม ท่านก็พยายามแบ่งให้ แบ่งให้ไม่มากก็แบ่งให้น้อย ๆ พอที่จะประทังชีวิตไปได้ชั่วคราว นี่กำลังใจของท่านเป็นอย่างนี้เนื่องในทาน<O:p></O:p>
    โดยเฉพาะพระนางมัลลิกาเทวี ท่านผู้รู้นั้นบอกให้ทราบว่า พระนางมัลลิกาเทวีนี่นะถวายทานหนักเป็นพิเศษ ในอดีตที่ผ่านมาหรือว่าชาตินี้ก็ตาม จะเป็นคู่ปรับกับนางวิสาขามหาอุบาสิกา คือ
    <O:p></O:p>
    หนึ่ง จริยามีความนุ่มนวล
    <O:p></O:p>
    สอง การสละทานก็หนักมาก ในชาติก่อน ๆ มา อันนี้จะอ้างถึงองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้นะ ท่านผู้รู้บอกว่าในชาติก่อน ๆ ท่านขอบบูชาธรรมด้วยเครื่องประดับ
    <O:p></O:p>
    ในบางคราวท่านเกิดเป็นพระราชินีของพระมหากษัตริย์ในชาติ ๆ นั้น เมื่อฟังเทศน์จากองค์สมเด็จพระภควันต์ คือพระพุทธเจ้าก็ดี ฟังเทศน์จากพระอรหันต์ก็ดี พอใจในธรรมะ ถอดเครื่องประดับที่มีราคาสูงที่ชาวบ้านไม่สามารถมีถวายบูชาะรรมแล้วก็ตีราคาเป็นเงิน ตีราคาเป็นเงินให้มันสูงกว่าราคาปกติ แล้วก็ประกาศขายเพราะพระใช้เครื่องประดับไม่ได้ ท่านทราบ เมื่อไม่มีใครซื้อท่านก็ซื้อเอง เอาเงินจำนวนนั้นบำรุงพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เพราะอานิสงส์อย่างนี้ก็ให้ทานหนักมาในกาลก่อน
    <O:p></O:p>
    ต่อมาสมัยเมื่อพบองค์สมเด็จพระชินวร พระราชสวามีในสมัยนั้นก็มาเกิดเป็น พระเจ้าปเสนทิโกศล พระนางศรีรจิตรในขณะนั้น ก็มาเกิดเป็นพระนางมัลลิกาเทวี นี่ชื่อสำหรับพระราชินีน่ะชื่อโดยตำแหน่ง แต่ชื่อจริงชื่อ ศรีรจิตร ท่านว่าอย่างนั้น ผิดถูกก็เป็นเรื่องของท่าน ฉะนั้น การถวายทานครั้งนี้จึงเป็นของไม่หนัก เพราะว่าสมัยนั้นมีมหาเศรษฐีมีเงินนับเป็น 80 โกฏิบ้าง 160 โกฏิบ้าง ยิ่งไปกว่านั้นบ้าง คนที่มีมากหนักจริง ๆ คือนางวิสาขามหาอุบาสิกา ในเมื่อชาวบ้านมีทรัพย์อย่างนั้นมาก พระราชาก็ต้องมีทรัพย์มากยิ่งขึ้น
    <O:p></O:p>
    ฉะนั้น จึงพระราชทานการบำเพ็ญกุศลได้ถึงวันละ 14 โกฏิ นี่หมายความว่า แม้แต่พระนางมัลลิกาเทวีก็มีสิทธิจะใช้เงินนี้ คือวันหนึ่ง ๆ พระราชาสามารถให้พระเทวีจับจ่ายใช้สอย บำรุงคนภายในได้ถึงวันละ 14 โกฏิ และก็มีผู้สงสัยว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลสมัยนั้นมีลูกเท่าไร ภรรยาไม่ใช่คนเดียว พระนางมัลลิกานี่ถือว่าป็นภรรยาเอก เอกอัครมเหสี นอกนั้นจะมีเท่าไรก็ดูลูก ๆ สังเกตุตามเรื่องนี้จริง ๆ ปาเข้าไปเลยพันคน ถ้าลูกเกินพันคน ก็เจ้าหญิงเกินพันคน อาจจะเป็นลูกบ้าง เป็นหลานบ้าง เป็นเหลนบ้าง แต่จริง ๆ แล้ว คำว่าเจ้าหญิงส่วนใหญ่จะเป็นลูกกษัตริย์ แต่ว่าเป็นลูกของกษัตริย์ข้างเคียง คือน้อง ๆ รองลงไป ก็รวมความว่า พระราชาท่านมีทรัพย์ก็ใหญ่ ฐานะก็ใหญ่ มีลูกก็มากตามฐานะ เรื่องราวตอนนี้ยังไม่ได้สรุปธรรมะ
    <O:p></O:p>
    เอาละ บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายโดยทั่วหน้า หน้ากระดาษหมดเสียแล้ว ขอลาก่อน ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแก่บรรดาท่านผู้อ่านทุกท่าน

    <O:p></O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 พฤษภาคม 2012
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านโกมารภัจจ์<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>


    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน<o:p></o:p>

    <o:p></o:p>
    เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ในตอนนั้นก็มีท่านผู้หนึ่งที่เราได้ยินชื่อกันอยู่เสมอ คือ ท่านหมอโกมารภัจจ์ ซึ่งเป็นหมอสำคัญขององค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ คอยรักษาโรคและก็เป็นหมอที่มีความรู้เป็นพิเศษจริง การไปศึกษาของท่านนั้นปรากฎว่า ไศึกษาวิชาเวชศาสตร์ มีความฉลาดสามารถมากยิ่งกว่าลูกศิษย์ใด ๆ จากสำนักตักศิลา
    <o:p></o:p>
    ท่านโกมารภัจจ์ประวัติก็มีอยู่ว่า เป็นลูกพิเศษของเจ้าในกรุงราชคฤห์ คำว่าเป็นลูกพิเศษนี่ก็หมายความว่า อาจจะเป็นลูกจากเมียพิเศษที่เจ้าย่องไปเจ้าชู้นอกเขตพระราชฐาน ผู้หญิงคนนั้นก็เลยมีลูกขึ้นมาสองคน คนแรกชื่อว่า โกมารภัจจ์ เป็นลูกคนหัวปี คนที่สองมีนามว่าสิริมา เป็นคนที่สวยที่สุดในสมัยนั้น
    <o:p></o:p>
    เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว เจ้าก็ไม่ได้รับว่าเป็นลูกโดยตรง แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธในด้านจิตใจ คือคอยสงเคราะห์ตลอดเวลา แต่เป็นการสงเคราะห์แบบลับ ๆ
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้น ชื่อของท่านโกมารภัจจ์ก็ดี สิริมาก็ดี ไม่ได้ชื่อเป็นเจ้า แต่ว่าเขาให้ฐานะดีมาก และก็เป็นคนใกล้กับพระราชฐานอยู่ตลอดเวลา เพราะเจ้าก็รู้ว่าเป็นลูกแต่ยอมรับไม่ได้ ประกาศเปิดเผยไม่ได้ แต่ก็เลี้ยงอย่างลูก สงเคราะห์อย่างลูกเหมือนกัน
    <o:p></o:p>
    เมื่ออายุได้ 16 ปี ก็ส่งไปสู่เมืองตักศิลา ท่านตั้งหน้าตั้งใจศึกษาวิชาเวชศาสตร์อย่างเดียว เมื่อเวลาเรียนจบก็ลาอาจารย์กลับบ้าน อาจารย์อยากจะทดลองความสามารถ จึงได้บอกให้ท่านโกมารภัจจ์จัดกระจาดเข้าสองลูก ทำเป็นหาบใส่สาแหรกหาบไป และมีมีด 1 เล่ม มีเสียม 1 เล่ม มีค้อน 1 อัน บอกว่า<o:p></o:p>
    “เจ้าจงเดินไปได้สี่ทิศ ๆ ละหนึ่งโยชน์ ดูผักหญ้า ต้นไม้ พืชพันธุ์ธัญญาาร ดิน ทราย แม้แต่แร่ต่าง ๆ ดูว่าถ้าสิ่งไหนมันไม่เป็นยาละก็ ตัดมาให้ครูดูหรือขุดมาให้ครูดู”
    <o:p></o:p>
    ท่านโกมารภัจจ์ใช้เวลาแบบนี้ประมาณเดือนเศษ พอเดินไปหนึ่งโยชน์ กว่าจะถึงหนึ่งโยชน์ก็ต้องเดินดูไปตลอดทุกอย่าง ตามทิศทางที่อาจารย์บอก เมื่อไปครบทุกทิศทุกทาง ด้านละหนึ่งโยชน์ ก็ปรากฎว่ากลับมาหาบเปล่า หาอะไรที่ไม่เป็นยาไม่ได้เลย พอมาถึงก็รายงานอาจารย์บอกว่า “ไม่มีละ สิ่งที่ไม่เป็นยานะ เป็นดิน เป็นทราย เป็นหิน เป็นกรวด เป็นต้นไม้ เป็นต้นหญ้า ไม่ว่าอะไรทั้งหมดมันเป็นยาทั้งหมด”
    <o:p></o:p>
    ปรากฎว่าท่านอาจารย์ก็ชมเชยบอกว่า “ดีแล้ว ถ้าอย่างนั้นกลับบ้านได้ ถ้ายังหาว่าทุกสิ่งทุกอย่าง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ไม่เป็นยาละก็ กลับบ้านไม่ได้ ถือว่ายังเรียนไม่จบ” แล้วท่านก็ลากลับ
    <o:p></o:p>
    ตอนกลับก็เดินมาในระหว่างทาง ไม่ทันถึงกรุงราชคฤห์มหานคร เวลาตอนเย็นวันหนึ่งมันใกล้ค่ำ ท่านพักอยู่โคนไม้ใกล้บ้านเศรษฐี พอดีท่านมหาเศรษฐีเดินออกไปพบเข้าถามว่า “ไปไหนมา”
    <o:p></o:p>
    ท่านก็บอกว่า “ไปเรียนวิชาเวชศาสตร์ คือวิชาหมอที่เมืองตักศิลา”
    <o:p></o:p>
    ก็บังเอิญภรรยาของท่านเป็นโรคปวดศรีษะมา 3 ปี ทำงานไม่ได้ ใช้สมองไม่ได้

    ท่านมหาเศรษฐีถามว่า “จะรักษาหายไหม เห็นว่าเป็นหมอ”
    <o:p></o:p>
    ท่านก็บอกว่า “ต้องดูอาการก่อน” พอเข้าไปดูอาการก็บอกว่า “จะทดลองดู เพราะว่าเพิ่งเรียนหมอมาใหม่ ๆ ยังไม่มั่นใจว่าจะรักษาหายหรือไม่หาย แต่ว่ายาไม่ได้มีติดมือมาเลย”
    <o:p></o:p>
    ท่านมหาเศรษฐีก็ถามว่า “ต้องการอะไรบ้าง” ท่านถามว่า “มีเนยใสไหม”

    ท่านมหาเศรษฐีก็บอกว่ามี
    <o:p></o:p>
    และก็ถามท่านมหาเศรษฐีว่า “ไอ้หญ้าประเภทนี้มีไหม”
    <o:p></o:p>
    อาตมาก็ลืมชื่อหญ้าเสียแล้ว ท่านก็บอกว่ามี (ถ้าบอกชื่อก็หาไม่ได้ เพราะไม่รู้จักกัน) ให้เอาของทั้งสองอย่าง คือเอาหญ้ามาโขลกเข้า แล้วเอาเนยใสเข้าไปละลาย แล้วคั้นเอาน้ำออกมากรองให้ดี แล้วก็หยอดเข้าไปในจมูกของภรรยาท่านเศรษฐี พอหยอดเข้าไปเท่านั้น ก็ปรากฎว่าภรรยาของท่านมหาเศรษฐีมีทั้งน้ำมูกมีทั้งเสลดออกมาทั้งทางจมูกทางปาก ออกมาอย่างมาก ในที่สุดในขณะเดียวก็ปรากฎว่าหายปวดทันที
    <o:p></o:p>
    ท่านมหาเศรษฐีก็จัดรางวัลเป็นการใหญ่ ท่านโกมารภัจจ์ท่านก็รับ เวลาจะกลับท่านก็มอบคืน ท่านไม่บอกว่าคืน “มอบของทั้งหลายเหล่านี้ไว้เพื่อได้สงเคราะห์คนจนต่อไป”
    <o:p></o:p>
    นี่เป็นประวัติตอนต้น แล้วท่านก็เดินทางต่อไป
    <o:p></o:p>
    ต่อมา ท่านโกมารภัจจ์ก็ได้เป็นหมอประจำองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจะทรงประชวรด้วยเรื่องอะไรก็ตาม ท่านโกมารภัจจ์ประกอบยาแค่เม็ดเดียว เสวยครั้งเดียวหายทันที
    <o:p></o:p>
    นี่จะเห็นว่า แม้องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาเป็นพระอรหันต์ และเป็นยอดอรหันต์ เป็นจอมอรหันต์ ก็ยังป่วยไข้ไม่สบาย ก็ยังแก่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายก็อย่าคิดว่าพระอรหันต์ไม่ป่วย
    <o:p></o:p>
    ต่อมาในกาลครั้งหนึ่ง เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถูกพระเทวทัตกลิ้งหินลงมา มีความปรารถนาจะให้ทับสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ตาย จากยอดเขาคิชฌกูฎ (พระพุทธเจ้านั่งอยู่เชิงเขา เทวทัตขึ้นไปยอดเขาก็กลิ้งหินให้ทับ) แต่เป็นการบังเอิญมีหินก้อนใหญ่มหึมาก้อนหนึ่ง ปรากฎโผล่ขึ้นมากันหินที่พระเทวทัตกลิ้งมาแตกกระจัดกระจาย เศษหินถูกพระบาทของสมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา ที่นิ้วพระบาทห้อพระโลหิต
    <o:p></o:p>
    เมื่อพระองค์พระธรรมสามิสรมีอาการอย่างนั้น ท่านโกมารภัจจ์ก็ประกอบยาถวายปิดลงไปที่ห้อพระโลหิตแล้วเอาผ้าผูกไว้ว พอเสร็จแล้วก็ลาสมเด็จพระจอมไตรไปภายนอกกำแพงวัง คุยกับเพื่อนเพลินไป โอกาสนั้นประตูเมืองเขาปิด 6 โมงเย็น ท่านเลยเข้าประตูเมืองไม่ได้ ก็ร้อนใจคิดว่า โอหนอ ยาที่ถวายองค์สมเด็จพระจอมไตรเป็นยาแรง เวลานี้แผลก็คงหายแล้ว อีกประการหนึ่งเมื่อแผลหาย ยาที่ยังอยู่ที่นิ้วพระบาทขององค์สมเด็จพระจอมไตร จะทำให้พระองค์ทรงมีความลำบาก เพราะยามีความร้อน
    <o:p></o:p>
    ตอนนั้นเองเวลาเดียวกัน สมเด็จพระชินวรทรงทราบวาระจิตของท่าน
    โกมารภัจจ์ว่ามีความลำบากใจ คิดว่ายาจะเป็นโทษแก่เรา จึงได้เรียกพระอานนท์เข้ามา ตรัสว่า “อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เธอจงแก้ผ้ามัดนิ้วฉันออกไป แล้วจงเอายาออก”
    <o:p></o:p>
    เมื่อแก้ผ้าออกแล้ว พระอานนท์ก็เอาน้ำที่สะอาดมาล้างให้
    <o:p></o:p>
    ตอนวันรุ่งขึ้น ท่านโกมารภัจจ์เข้าเมืองได้ ก็รีบมาเฝ้าสมเด็จพระจอมไตร ถามว่า “ยามีอันตรายแก่พระองค์ไหม”
    <o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าก็เลยบอกว่า “ไม่มี เวลานี้ฉันให้พระอานนท์แก้ออกมาแล้ว”
    <o:p></o:p>
    ท่านถามว่า “แก้เวลาไหน”
    <o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าก็ตอบว่า “แก้เวลาเมื่อเธอลำบากใจ คิดว่ายาจะมีอันตรายกับฉัน”<o:p></o:p>
    นี่เป็นตอนหนึ่ง ต่อมาเมื่อองค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาป่วยเป็นอะไร ท่านโกมารภัจจ์ก็รักษาหายทันทีทันใด
    <o:p></o:p>
    ตอนนี้จะขอพูดเรื่องของท่านเหมือนกัน แยกออกไปสักนิดหนึ่งจากการรักษา ในสมัยหนึ่งเมื่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาทรงประทับสำราญอิริยาบท ท่านโกมารภัจจ์ได้ยินข่าวว่า ชาวเมืองทวาราวดีเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรือง มีขนบธรรมเนียมประเพณีดี มีภาษาพูดเพราะ ก็อยากจะมาเที่ยวเมืองทวาราวดี (คือเขตไทยทางด้านของนครปฐม) แต่ว่าทวาราวดีเวลานั้นก็กินเขตเอาเกือบทั้งหมด ก็เมืองไทยนั่นเอง แต่เวลานั้นเขาไม่เรียกเมืองไทย เขาเรียกตามชื่อเมืองว่า เมืองทวาราวดี ท่านจึงไปลาสมเด็จพระชินสีห์ จะมาเที่ยวเมืองทวาราวดีสัก 2 ปี แต่ควาจริงอรรถกถาจารย์เขียนไว้ 12 ปี นี่เห็นว่าจะไม่ถูก ต้อง 2 ปี เพราะท่านโกมารภัจจ์ไม่สามารถจะทิ้งพระพุทธเจ้าได้ ในตอนนั้นท่านเป็นพระโสดาบันแล้ว การเป็นพระโสดาบันนี่เป็นไม่ยาก คือ
    <o:p></o:p>
    1. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ จริง<o:p></o:p>
    2. มีศีล 5 บริสุทธิ์ จริง<o:p></o:p>
    3. จิตใจต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์
    <o:p></o:p>
    พระโสดาบันเขาเป็นแค่นี้นะ ทุกคนก็เป็นได้<o:p></o:p>
    เมื่อท่านมาถึงทวาราวดี อยู่ครบประมาณ 2 ปี ท่านก็กลับ กลับแล้วก็ไปเฝ้าองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าบอกว่า ชาวเมืองทวาราวดีนี่มีภาษาพูดที่เพราะมาก เป็นภาษาโดด หรือพูดเป็นคำ ๆ คำว่า ไปก็ไป กินก็กิน อย่างเวลานั้นภาษาแขกคือ ชาวมคธ คำว่าไป เขาพูดว่า “คัตวา” เป็นคำคู่ กินก็ “ภุนชติ”
    <o:p></o:p>
    ท่านโกมารภัจจ์กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ภาษาทวาราวดีเขาพูดเพราะ พูดช้า ๆ ฟังสบาย ๆ และก็เป็นภาษาโดด”
    <o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าจึงถามว่า “ทวาราวดีพูดกันอย่างไร ลองพูดให้ฟังซิ”
    <o:p></o:p>
    ท่านโกมารภัจจ์ก็พูดให้ฟัง เมื่อพูดให้ฟังแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็พูดภาษาทวาราวดีคุยกับท่านโกมารภัจจ์อยู่พักหนึ่ง รู้สึกว่าสนุกสนานมาก ท่านโกมารภัจจ์ก็สนุก แต่ว่าพระพุทธเจ้าท่านสนุกหรือไม่สนุกก็ไม่ทราบ แต่ว่าเวลาคุยกับท่านโกมารภัจจ์ท่านคุยเป็นกันเอง คงจะสนุกเป็นพิเศษ คุยกันไปคุยกันมา ท่านโกมารภัจจ์นึกขึ้นได้ว่า สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาเป็นลูกชาวกบิลพัสดุ์อยู่อินเดีย ที่พูดภาษาทวาราวดีนี่ได้เพราะอาศัยปฏิสัมภิทาญาณหรือความรู้เดิมกันแน่ (ความจริงปฏิสัมภิทาญาณนี่รู้ภาษาทุกภาษ สัตว์ทุกประเภท) จึงได้กราบทูลพระบรมโลกเชษฐ์ว่า “ที่พระองค์ตรัสภาษาทวาราวดีนี่ รู้ได้ด้วยอำนาจปฏิสัมพิทาญาณ หรือว่ารู้ด้วยการพูดได้เป็นภาษาเดิม หรือว่าเรียนมาจากไหน”
    <o:p></o:p>
    องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาจึงได้ตรัสว่า “โกมารภัจจ์ ภาษาทวาราวดีนี่เป็นภาษาเดียวกับชาวกรุงกบิลพัสดุ์ ใช้เป็นภาษาพื้นเมือง”
    <o:p></o:p>
    ท่านโกมารภัจจ์ก็ถามว่า “ถ้าเช่นนั้นชาวกรุงกบิลพัสดุ์ก็เป็นเชื้อสายเดียวกับทวาราวดีใช่ไหม”
    <o:p></o:p>
    องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาตรัสว่า “ใช่ คือชาวกบิลพัสดิ์ก็ดี ชาวทวาราวดีก็ดี เป็นเชื้อสายเดียวกัน คือพูดภาษาไทยเหมือนกัน”
    <o:p></o:p>
    นี่ขอบรรดาพุทธบริษัททั้งหลายโปรดทราบว่า พระพุทธเจ้าความจริงเป็นคนไทยที่เขาเรียกว่า ไทยอาหม ตอนนี้ก็รู้ไว้
    <o:p></o:p>
    ต่อมา เมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาประกาศศาสนาได้ครบ 45 ปี มีอายุ 80 พอดี ตาอายุขัยของพระองค์ เวลานั้นพระองค์ทรงประทับอยู่ที่ปาวาลเจดีย์ ท่านโกมารภัจจ์ไม่ได้อยู่ด้วย ไปธุระเสียอีก เป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร คือกำหนดว่า “นับตั้งแต่เวลานี้ไปอีก 3 เดือน เราจะนิพพานในระหว่างนางรังทั้งคู่ แห่งเมืองกุสินารามหานคร”
    <o:p></o:p>
    เมื่อสมเด็จพระชินวรทรงปลงอายุสังขาร ตัดสินพระทัยว่าจะปรินิพพานแน่ เวลานั้นก็เกิดเหตุอัศจรรย์แผ่นดินไหว พระอานนท์เข้าไเฝ้าสมเด็จพระจอมไตร ถามเหตุแผ่นดินไหว ก็ตรัสว่า
    <o:p></o:p>
    “เพราะตถาคตปลงอายุสังขาร ตั้งใจว่าอีก 3 เดือนข้างหน้าจะปรินิพพาน คือ วันวิสาขบูชา ที่ระหว่างนางรังทั้งคู่แห่งเมืองกุสินารามหานคร”
    <o:p></o:p>
    พระอานนท์ก็อาราธนาองค์สมเด็จพระชินวรให้อยู่ต่อ ท่านก็บอกไม่ได้ ต้องปรินิพพานแน่
    <o:p></o:p>
    ตอนนั้นปรากฎว่าท่านโกมารภัจจ์ก็กลับมา เห็นสมเด็จพระบรมศาสดาเศร้าหมองลงไปมาก ซูบซีด ผอม ฉันอาหารก็ไม่ได้ แสดงว่าโรคภัยไข้เจ็บรบกวนมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทนพระวรกายฝืนการเจ็บปวดทุกขเวทนาทั้งหมด การสอนเวลานั้น สอนคนก็ดีสอนพระก็ดี สมเด็จพระชินสีห์ไม่ทรงเทศน์เรื่องพระสูตรเลย เทศน์เฉพาะศีล สมาธิ ปัญญา เพราะจะเป็นการตัดฉากใกล้ปรินิพพาน
    <o:p></o:p>
    ท่านโกมารภัจจ์ก็ไปถามองค์สมเด็จพระพิชิตมารถึงโรค ท่านก็ไม่ตอบ ท่านโกมารภัจจ์ก็เสียใจว่า ถ้ารู้ชื่อโรค รู้อาการนิดเดียว จะรักษาด้วยยาเม็ดเดียวให้หาย
    <o:p></o:p>
    ต่อมาจึงได้ปรุงยาขึ้นเม็ดหนึ่ง เพื่อถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าพระองค์ทรงเสวยยาเม็ดนั้น ท่านจะรู้อาการของโรคทันที เป็นยาพิสูจน์โรค พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงรับเสียอีก ถวาย 3 ครั้ง ท่านก็คว่ำมือทั้ง 3 ครั้ง ท่านโกมารภัจจ์ก็เสียใจ จึงเอายาไปใส่ในบ่อน้ำคิดว่า จะให้ใครกินก็ไม่สมควร เพราะยานี้เป็นยาถวายพระพุทธเจ้า จึงเอายาไปใส่ในบ่อน้ำ
    <o:p></o:p>
    พระอรรถกถาจารย์หรือฎีกาจารย์แก้อธิบายว่า น้ำในบ่อน่ะมันลึกอยู่แล้ว มันฟูขึ้นไปเลยปากบ่อถึงเจ็ดชั่วลำตาลอัศจรรย์มาก ต่อเมื่อมีโอกาสได้พบท่านโกมารภัจจ์จึงถามท่าน ท่านบอกว่า “นาน ๆ เข้ามันก็ยาวเหมือนกัน เหมือนต้นไม้ ปลูกนาน ๆ มันก็ยาว”
    <o:p></o:p>
    แต่ความจริงมันฟูขึ้นมาถึงปากบ่อ ไม่ได้เลยปากบ่อถึงเจ็ดชั่วลำตาล นี่เป็นอันว่า ถรรถกถาจารย์หรือฎีกาจารย์เขาก็เขียนยาวมากไป ทำให้คนไม่เชื่อ
    <o:p></o:p>
    หลังจากนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานแล้ว เมื่อเขาเก็บกระดูกเสร็จ ท่านโกมารภัจจ์ก็ไปงานองค์สมเด็จพระประทีปแก้วเหมือนกัน เวลานั้นท่านก็คิดว่า “เราคิดว่าจะตายก่อนพระพุทธเจ้า จะถือพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง เวลานี้ พระพุทธเจ้ามาปรินิพพานเสียก่อน เราก็หมดที่พึ่ง เวลานี้เราเป็นคนไม่มีอะไรแล้ว ลูกก็ดี เมียก็ดี ทรัพย์สมบัติทั้งหลายก็ดี ข้าทาสหญิงชายก็ดี เราไม่มี เพราะเราสิ้นหวัง เราหมดที่พึ่ง ไอ้ร่างกายของเรานี้มันก็ใช้อะไรไม่ได้ ไม่ต้องการมันต่อไป”
    <o:p></o:p>
    ท่านออกจากงานศพแทนที่จะกลับเข้าบ้าน ก็เปิดเข้าป่าไปเลย ไปนอนอยู่ในถ้ำ นั่ง นอน คิดว่า “เวลานี้สมเด็จพระธรรมสามิสรเป็นที่พึ่งใหญ่ของเราถึงนิพพานแล้ว เราก็ไม่เอาอะไรทั้งหมด นอนให้มันตายอยู่อย่างนี้ ข้าวปลาก็ไม่กิน”
    <o:p></o:p>
    และท่านก็เล่าต่อไปว่า ถึงแม้จะหลบเขาไปแบบนั้น คนก็เห็นแก่ตัวเข้าไปรบกวนท่าน เข้าไปขอยาท่าน ก็เลยเข้าป่าลึก เข้าถ้ำให้มันลึกเข้าไปอีก แล้วก็ไปนอน นอนเฉย ๆ คิดว่าเราเป็นคนหมดที่พึ่ง เราเป็นคนไม่มีอะไร ร่างกายเราก็ไม่ต้องการมัน ให้มันตายไปแบบนี้แหละ มันอยากจะตายเมื่อไรก็ให้มันตาย ถ้ามันไม่ตายก็ไม่ควร จะอยู่มันที่นี้ตลอดไป
    <o:p></o:p>
    พอตัดสินใจแบบนี้ ก็ได้ยินเสียงเหมือนฟ้าผ่าลงมา 3 ครั้ง ครั้งแรกก็เรียกว่า “โกมารภัจจ์ เธอเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช่ไหม”
    <o:p></o:p>
    ท่านก็บอกว่า “ใช่” แต่ไม่เห็นตัว ใกล้เข้าาก็มีเสียงเหมือนฟ้าผ่าอีก ก็บอกอย่างนั้นอีก ท่านก็ตอบอย่างนั้น แล้วในที่สุดเสียงนั้นก็หายไป สายฟ้าก็หายไป<o:p></o:p>
    ท่านก็เลยบอกว่า “หลังจากนั้น เสร็จแล้วผมก็เลยนอนหลับ หลับแล้วผมก็เลยหลับไม่ตื่น”
    <o:p></o:p>
    รวมความว่าเวลานั้นท่านเป็นอรหันต์แล้วก็นิพพานทันที
    <o:p></o:p>
    ที่เอาเรื่องนี้มาเล่าให้ฟังก็เพื่อให้เห็นว่า ความกตัญญูกตเวทีของท่านโกมารภัจจ์เป็นของดี และท่านโกมารภัจจ์นี้ไปนิพพานได้ เป็นอรหันต์ได้ เพราะมีความรู้สึกอะไร
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้น ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ทั้งภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา จงจำไว้ว่า คำว่าถึงอรหันต์น่ะมันมีอยู่คำเดียว หรืออย่างเดียวคือ เราไม่ติดอะไรทั้งหมด อีกกำหนดรู้ว่าวัตถุธาตุต่าง ๆ คนก็ดี ใครก็ตาม ไม่ได้เนื่องถึงเราจริง เราสงเคราะห์หรือทำงานสงเคราะห์ให้ตามหน้าที่ทุกอย่าง แต่เราไม่ผูกพัน คิดว่าชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย แม้แต่ร่างกายเราก็ไม่ต้องการ ถ้าคิดอย่างนี้ก็ตรงกับคำที่องค์สมเด็จพระพิาชิตมารทรงตรัสไว้ในท้ายมหาสติปัฏฐานสูตรว่า<o:p></o:p>
    เธอจงอย่าสนใจกายภายใน คือ กายตัวเอง อย่าติดในกายภายนอก คือ กายคนอื่น และก็จงอย่าติดในวัตถุธาตุใด ๆ จงปลงกำลังใจว่า แม้แต่ร่างกายนี้มันก็ไม่ใช่เป็นของเรา เพียงแค่นี้ ทุกคนก็จะเป็นพระอรหันต์<o:p></o:p>
    ฉะนั้น ท่านโกมารภัจจ์ท่านเป็นคนผิดหวังในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คิดว่าท่านจะตายก่อน แต่ว่าองค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาปรินิพพานแล้ว ท่านก็ตัดสินใจว่า เราเป็นคนไม่มีอะไร ลูกไม่มี เมียไม่มี ทรัพย์สมบัติไม่มี ร่างกายนี้ไม่มีความหมาย เมื่อมันอยากจะตายทีหลังพระพุทธเจ้า ก็ปล่อยให้มันตายด้วยความอดอยากก็ช่างมันปะไร เราไม่ต้องการมันต่อไป
    <o:p></o:p>
    อันนี้เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์ เมื่อท่านคิดอย่างนี้แล้วท่านก็เป็นอรหันต์ทันที ฆราวาสถ้าเป็นอรหันต์วันนี้ วันรุ่งขึ้นก็ต้องนิพพาน แล้วท่านก็นิพพานจนกระทั่งบัดนี้ เรื่องนี้ก็จงจับเอาว่า ท่านโกมารภัจจ์
    <o:p></o:p>
    1. เป็นคนดีมีความกตัญญูดี<o:p></o:p>
    2. เวลาศึกษาตั้งใจศีกษาดี<o:p></o:p>
    3. ใช้ปัญญาพิจารณาตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ดี<o:p></o:p>
    4. มีความเคารพในพระพุทธเจ้าจริง พระธรรมจริง และพระอริยสงฆ์จริง มีศีล 5 บริสุทธิ์จริง จิตใจตั้งไว้เพื่อพระนิพพานจริง ในตอนต้นจึงเป็นพระโสดาบัน ต่อมาในขั้นสุดท้ายนั้น ท่านก็ตัดสินใจว่า เราเป็นคนไม่มีอะไร ก็เลยเป็นอรหันต์ ฉะนั้น หากว่าบรรดาพุทธบริษัททุกท่านคิดอย่างนี้บ้างก็มีประโยชน์ อย่างน้อยที่สุดก็ควรคิดในแง่ต้น คือว่าในแง่ของพระโสดาบันก่อน เพื่อความสบายใจ
    <o:p></o:p>
    เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย จะว่ากันไปเรื่องนี้มันยาวมาก ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้
    <o:p></o:p>
    ในที่สุดนี้ อาตมาภาพขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างคุณพระศรีรัตนตรัย มีพระพุทธรัตนะ และสังฆรัตนะทั้ง 3 ประการ ขอจงอภิบาลบรรดาพุทธบริษัททุกท่านให้มีความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล สมบูรณ์พูนผล และจงเจริญไปด้วยจตุรพิธพรชัยทั้ง 4 ประการ มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ หากทุกท่านมีความประสงค์สิ่งใด ขอให้ได้สิ่งนั้นดังความปรารถนาจงทุกประการ<o:p></o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2009
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระขานุโกณฑัญญะ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>


    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน<o:p></o:p>


    <o:p></o:p>

    ต่อไปนี้ ก็จะนำบุคคลตัวอย่างมาเล่าสู่กันฟัง เพราะว่าเรื่องราวของบุคคลตัวอย่างนี้ ความจริงมีความสำคัญมาก การนำตัวอย่างมาเล่าให้ฟังนี้ หลายเรื่อง ๆ ด้วยกัน ถ้าทางที่ดีขอบรรดาท่านทั้งหลาย จงเลือกเอาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็นที่ถูกใจและพอใจในการปฏิบัติ เมื่อเป็นที่ถูกใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็จับเรื่องนั้นเป็นสำคัญ ปฎิบัติตามท่าน อย่างนี้จะมีผลได้เร็วกว่า คือว่าเร็วกว่าการที่จะปฏิบัติแบบล้วน ๆ โดยไม่มีตัวอย่าง เพราะว่าเรื่องบุคคลตัวอย่างนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านิยมใช้มาก จึงได้มีเรื่องราวในพระสูตรถึง 21,000 พระธรรมขันธ์ เป็นอันว่าพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้ากล่าวไว้ถึง 21,000 เรื่อง
    <o:p></o:p>
    เรื่องที่จะพูดให้ฟังต่อไปนี้ มีหัวข้อเรื่องชื่อว่า พระขานุโกณฑะ หรือว่าในที่บางแห่งในเมื่อท่านได้บริษัทบริวารแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และภิกษุทั้งหลายเรียกว่า ขานุโกณฑัญญะ แต่คำว่า โกณฑัญญะมีอยู่ ก็เกรงว่าจะไปชนกับท่านอัญญาโกณฑัญญะเข้า ฉะนั้น บรรดาท่านพระภิกษุทั้งหลายในสมัยนั้น จึงนิยมเรียกท่านว่า ขานุโกณฑะเถระ สำหรับชื่อนี่มีความสำคัญ อย่าปล่อยให้เป็นเรื่องเถียงกัน ประเดี๋ยวจะยุ่ง
    <o:p></o:p>
    เป็นอันว่าพระขานุโกณฑะ หรือว่าขานุโกณฑัญญะ ตามที่นิยมเรียกกันตามภาษาบาลี แต่นิยมกันจริง ๆ เรียกว่าพระขานุโกณฑะ นี้ เรื่องราวมีอยู่ว่า เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จประทับยับยั้งสำราญอิริยาบถ ปรากฎว่าทรงประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ในเวลานั้น องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงปรารภพระขานุโกณฑะเถระ หรือว่าพระขานุโกณฑัญญะเถระ องค์สมเด็จพระทศพลจึงมีพระธรรมเทศนาตรัสว่า โย จะ วัสสะตัง ชีเว เป็นต้น (คือหัวข้อบาลีคาถานี้ รู้สึกว่าจะซ้ำกันหลายเรื่อง แต่ตอนท้ายคล้ายคลึงกันบ้าง ไม่คล้ายคลึงกันบ้าง แต่ต้น ๆ เหมือนกัน)
    <o:p></o:p>
    ความมีอยู่ว่า ได้ยินว่าเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงให้พระขานุโกณฑะ หรือว่าขานุโกณฑัญญะ เรียนพระกรรมฐานจากสำนักขององค์สมเด็จพระพิชิตมารแล้ว สำหรับพระกรรมฐานนี้ องค์สมเด็จพระประทีปแก้วสอนตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถึงอรหัตถผล
    <o:p></o:p>
    นี่บรรดาท่านทั้งหลายอาจจะคิดว่าสอนกันแบบไหน ใช้เวลากันกี่วัน วิธีสอนตั้งแต่ต้นนั่นก็คือว่า องค์สมเด็จพระภควันต์ทรงแนะนำให้รักษาอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง โดยเฉพาะ เหมือนกับพระลูกชายนายช่างทอง ในอันดับแรก ให้ดูสีแดงเป็นสำคัญ แล้วจับสีแดงให้มั่น ต่อนั้นไปก็ให้พิจารณาขันธ์ 5 ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ว่าอย่างนี้ท่านว่าอ่อนไปหน่อย ตามแบบท่านถือว่า จงอย่ายึดร่างกายของเรา อย่ายึดถือร่างกายของบุคคลอื่น และจงอย่ายึดถืออะไรต่ออะไรทั้งหมดในโลกนี้ เป็นอันว่า เห็นร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี ร่างกายหรือวัตถุทั้งหลายในโลกก็ดี ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา นี่คำสรุปขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สรุปตรงนี้ หรือเหมือนกับเรื่องที่แล้วมา บอกว่า เธอเห็นรูปแล้ว จงมีความรู้สึกว่า สักแต่ว่าเห็น ไม่สนใจในรูป หรือว่าไม่ติดอะไร ๆ ทั้งหมดในโลก
    <o:p></o:p>
    เมื่อพระเถระได้เรียนพระกรรมฐานในสำนักขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เวลานั้นท่านอยู่ในป่า เรียนแล้วก็เข้าป่า ตั้งหน้าตั้งตาเจริญพระกรรมฐานโดยมีจิตตั้งมั่นว่า ถ้าเราไม่ได้บรรลุอรหัตผลเพียงใด เราจะไม่ยอมกลับเข้าไปสู่เขตคามวาสี คือเขตบ้าน คามวาสี แปลว่า อยู่ในเขตของชาวบ้าน ไม่ช้าไม่นานก็ปรากฎว่า ท่านได้บรรลุอรหัตผล
    <o:p></o:p>
    ข้อนี้ ขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชน หรือบรรดาภิกษุสามเณรทั้งหลาย อ่านแล้วจงระลึกตามไปด้วยว่า สมัยนั้นท่านเรียนกันไม่นานนัก และก็เรียนกันเป็นเพียงหัวข้อย่อ ๆ ท่านก็ได้บรรลุอรหันต์ ทำยังไงจึงเป็นอย่างนั้น ก็เพราะกำลังใจเป็นสำคัญ ตามที่เราศึกษากันมาแล้วว่า เขาตัดสินใจแบบไหนจึงได้บรรลุอรหัตผลเร็ว
    <o:p></o:p>
    จึงได้มีความคิดว่า เราจะกลับไปทูลองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ทรงทราบว่า เวลานี้ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสอนมา ธรรมนั้นเราได้รับผลแล้ว
    <o:p></o:p>
    ขณะที่ท่านตั้งใจว่าจะมาเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วก็เตรียมของเท่าที่มีอยู่ เพราะท่านอยู่ในป่าไม่มีอะไรมาก ก็เดินมาในระหว่างทาง กว่าจะถึงที่พระพุทธเจ้าทรงประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ก็ต้องใช้เวลาค้างคืนค้างวัน เพราะเข้าไปอยู่ในป่าลึก ขณะที่เหนื่อยอ่อนในระหว่างทาง จึงได้แวะเข้าไปนั่งข้าง ๆ ทาง ที่ข้างทางนั้นก็มีศิลาดาดอยู่แห่งหนึ่ง ศิลาดาด หมายความว่ามีก้อนหิน แต่ว่าหลังก้อนหินนั้นเรียบ ก้อนหินนั้นก็เป็นก้อนหินไม่โต อาจจะเป็นแผ่นหินก็ได้ เมื่อนั่งที่นั้น ในเมื่อร่างกายมันเหนื่อย จึงได้ระงับความเหนื่อยด้วยการเข้าฌานสมาบัติ อ่านแล้วก็จำไว้ด้วยนะว่า ความเหน็ดเหนื่อยก็ดี ความเมื่อยล้า ความร้อนรุ่ม ร้อนจัด หนาวจัดก็ดี เราใช้หลบด้วยฌานได้ ถ้ามีฌานสมาบัติมีอารมณ์เป็นสมาธิ ถ้ามีฌานถึงฌาน 4 ก็ยิ่งดีใหญ่ เอาจิตกับกายมันแยกออกจากกัน ก็เลยไม่รู้สึกว่ามันเหนื่อยหรือว่าร้อนหรือหนาว
    <o:p></o:p>
    ท่านกล่าวว่าในครั้งนั้น ปรากฎว่ามีโจร 500 คน ปล้นชาวบ้านแห่งหนึ่ง แล้วก็เอาทรัพย์สินชาวบ้านที่ตนขโมยมาได้ ปล้นมาได้นั้น ขนของมาตามกำลังที่ตนจะพึงขนมาได้ บางคนก็เอาเทินศรีษะเดินไปบ้าง บางคนก็หิ้วไปบ้าง หอบไปบ้าง หาบไปบ้าง ว่ากันตามอัธยาศัย ในขณะที่เดินมามันไกลแสนไกล คิดว่าพ้นภัยที่ชาวบ้านจะติดตามมาแล้ว จึงมารวมกัน คิดว่าเรามาไกลแล้ว จะพักให้มันหายเหนื่อยสักครู่หนึ่งที่ศิลาดาดนี้ จึงได้แวะเข้าไปที่ศิลาดาด
    <o:p></o:p>
    เวลานั้นเป็นเวลากลางคืน เขาเห็นพระเถระนั่งเข้าฌานสมาบัติดำตะคุ่ม ๆ เธอจึงมีความสำคัญว่าพระเถระเป็นตอไม้ บรรดาโจรทั้งหลายเหล่านั้นจึงได้เอาห่อของที่ถือมาวางลงไปบนศรีษะพระเถระบ้าง แต่ความจริงเขาไม่รู้ว่าเป็นพระ เขามีความสำคัญว่าพระเถระเป็นตอไม้ บรรดาโจรทั้ง 500 คนนั้น เมื่อเอาห่อสิ่งของทั้ง 500 ห่อ ล้อมรอบพระเถระ คือพิงไว้แล้วตนเองก็นอนหลับ
    <o:p></o:p>
    ตอนนี้ สำหรับบรรดาท่านผู้อ่านทั้งหลาย คงจะหนักใจสักนิดหนึ่ง ที่ว่าพระเถระนั่งเข้าฌานสมาบัติ เขาเอาของไปวางไว้บนศรีษะบ้าง พิงบ้าง เสียงเอะอะโวยวาย ทำไมพระเถระไม่รู้ ถ้าหากว่าท่านมีความสงสัย ก็ควรจะทราบว่า ฌานสมาบัติอันนี้เป็น นิโรธสมาบัติ ไม่ใช่โลกียฌาน หรือว่าไม่ใช่ผลสมาบัติ เป็นนิโรธสมาบัติ เพราะว่านิโรธสมาบัตินี้ดับการสัมผัสภายนอกทั้งหมด ถ้าจะต่ำกว่านั้นอีกนิดหนึ่ง ถ้าเป็นผลสมาบัติก็ต้องเป็นฌาน 4 เมื่อได้ฌาน 4 ก็ต้องเป็นผู้ชำนาญในการเข้าฌานออกฌานตามเวลาขณะที่ตั้งเวลาไว้ ถ้ายังไม่ถึงเวลานั้น ใครจะมาจับยกหรือใครจะเอาช้างมาไสก็ไม่มีความรู้สึกตัว นี่เข้าใจไว้ด้วยประเดี๋ยวจะสงสัย
    <o:p></o:p>
    ทีนี้ เมื่อเวลาตอนเช้าเป็นเวลาได้อรุณ บรรดาโจรทั้งหลายเหล่านั้นตื่นขึ้นจากหลับ ได้เห็นพระเถระ บอกเอ๊ะ นี่ไม่ใช่ตอไม้นี่ เป็นคน แต่ว่าความรู้สึกของเขาไม่ได้นึกว่าเป็นคน คิดว่าเป็นผี จึงได้พากันจะหนี ขณะที่พวกโจรนั้นทำท่าจะหนีนั้นเอง พระเถระท่านจึงได้กล่าวว่า “อุบาสกทั้งหลาย ท่านจะมีความกลัวอาตมาเพื่อประโยชน์อะไร อาตมานี่เป็นบรรพชิต อาตมาไม่ใช่อมนุษย์ คือไม่ใช่ผี ไม่ใช่เปรต ไม่ใช่อสุรกาย”
    <o:p></o:p>
    เมื่อโจรทั้งหลายเหล่านั้นได้ฟังถ้อยคำของพระเถระ มีความแจ่มใสและก็พูดเพราะ มีจิตใจชุ่มชื่น ก็รู้สึกแปลกใจว่า พระเถระนี่แปลก หรือว่าบรรพชิตองค์นี้แปลก เราเอาของไปวางบนศรีษะบ้าง พิงท่านไว้บ้างจนรอบตัว เมื่อเห็นท่าว่าเราจะหนี แทนที่ท่านจะโกรธ ท่านกลับกล่าวด้วยความเมตตาปรานี ก็คิดว่าบรรพชิตองค์นี้น่าเคารพน่าเลื่อมใส น่าไหว้น่าบูชา ฉะนั้น บรรดาโจรทั้งหลายเหล่านั้นจึงได้หมอบลงในที่ใกล้เท้าของท่าน นมัสการ คือกราบ แล้วขอขมาโทษด้วยคำว่า “ขอพระคุณเจ้าได้อดโทษให้กระผมด้วยเถิดขอรับ เพราะพวกผมเองไม่ได้คิดว่าพระคุณเจ้าเป็นพระหรือเป็นคน เข้าใจว่าเป็นตอไม้ จึงได้นำของทั้งหลายเหล่านั้นไปวางไว้ ขอประทานอภัยด้วย”
    <o:p></o:p>
    ในขณะนั้นเอง พระเถระก็บอกว่า “อุบาสก เรื่องการให้อภัยย่อมไม่มีแก่อาตมา อาตมาไม่ได้ถือโทษโกรธท่าน โทษของท่านย่อมไม่มี”
    <o:p></o:p>
    เมื่อหัวหน้าโจรได้ฟังคำนี้เข้าแล้วก็ชื่นใจใหญ่ มีความเคารพจึงได้กล่าวกับบรรดาพวกลูกน้องทั้งหลายว่า “ถ้าอย่างนั้นเราจะบวชในสำนักของพระผู้เป็นเจ้า เรามีความเลื่อมใสในพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ไม่ได้เคยคิดว่าคนในโลกจะมีอย่างนี้” สำหรับโจรลูกน้องที่เหลือก็กล่าวว่า “ถ้าอย่างนั้น พวกผมก็จะบวชเหมือนกัน”
    <o:p></o:p>
    เป็นอันว่าโจรทั้ง 500 คน มีความพอใจเหมือนกันหมด อยากจะบวชด้วยกัน อยากจะเป็นพระด้วย น่ากลัวเขาจะเห็นว่าอีตอนนั่งแบบตอไม้นี่มันสบายดี เอาของไปวางบนศรีษะ เอาของมาพิง เอะอะโวยวาย ท่านยังไม่รู้สึก และก็พระก็ไม่รู้จักโกรธเสียด้วย เลยคิดว่าเป็นของดี ต่างคนต่างขอบรรพชากับพระเถระ<o:p></o:p>
    ในเวลานั้นองค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดา ทรงอนุญาตให้บรรดาพระสงฆ์ให้การอุปสมบทบรรพชา ในครั้งนั้นยังไม่ใช่ญัตติจตุตถกรรม เป็นติสรณคมนู อุปสัมปทา คือว่าการบวชนี้มี 3 แบบ
    <o:p></o:p>
    เอหิภิกขุอุปสัมปทา พระพุทธเจ้าทรงบวชให้เอง และติสรณคมนูอุปสัมปทา พระพุทธเจ้าอนุญาตให้บรรดาพระสงฆ์ให้การอุปสมบทได้ แต่การอุปสมบทนั้นไม่ต้องว่ามาก ไม่ต้องมีอุปัชฌาย์ ไม่ต้องมีคู่สวด ไม่ต้องมีพระอันดับ เมื่อใครต้องการจะบวชขอให้กล่าวคำนมัสการพระรัตนตรัย คือ นะโม ตัสสะ อย่างนี้เป็นต้น แล้วก็ว่า
    <o:p></o:p>
    พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง <o:p></o:p>
    ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง<o:p></o:p>
    สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
    <o:p></o:p>
    เพียงเท่านี้ ก็ถือว่าสำเร็จกิจในการอุปสมบท
    <o:p></o:p>
    เมื่อพระเถระให้โจรทั้งหลายเหล่านั้นบวชหมดแล้ว จึงได้มีชื่อภายหลังว่า ขานุโกณฑัญญะ เดิมน่ะชื่อว่า ขานุโกณฑะ เมื่อมีลูกน้อง คือมีบริษัทบริวาร ให้โจรบวชหมด จึงมีนามใหม่ว่า ขานุโกณฑัญญะ ท่านได้ไปสำนักขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระ 500 รูป นั้นซึ่งเป็นบริวาร<o:p></o:p>
    เมื่อองค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดา ตรัสว่า “โกณฑัญญะ เธอได้อันเตวาสิกแล้วหรือ” จึงกราบทูลเรื่องนั้น คือเรื่องเดิมให้ทรงทราบเหตุที่มา<o:p></o:p>
    ในขณะนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงถามพวกเขาว่า “เธอเป็นโจรปล้นเขามาอย่างนั้น ใช่หรือไม่ เขาตอบว่า “ใช่พระพุทธเจ้าข้า”
    <o:p></o:p>
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงถามต่อไปว่า “เธอทำไมจึงมีศรัทธาเพื่อจะบวช”
    <o:p></o:p>
    เขาบอกว่า “เห็นอัศจรรย์ที่พระเถระองค์นี้ ที่ข้าพระพุทธเจ้าเอาหีบเอาห่อของทั้งหลายซึ่งมีของหนักไปเทินบนศรีษะท่านก็ดี วางพิงท่านก็ดี ท่านนี้ไม่เคยแสดงความโกรธ จึงได้มีศรัทธาปรารถนาใคร่จะบวช และก็ได้ขออุปสมบทบรรพชา ท่านก็ให้อุปสมบท”
    <o:p></o:p>
    องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า<o:p></o:p>
    “ภิกขเว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอยู่แม้วันเดียวของพวกเธอในปัญญาสัมปทา”
    <o:p></o:p>
    คำว่าปัญญาสัมปทา นี่แปลว่า ถึงพร้อมไปด้วยปัญญา รู้ว่าอะไรมันดีอะไรมันชั่ว สิ่งใดที่เป็นของชั่วก็หลีกเร้นของสิ่งนั้น ของสิ่งใดดีก็ไปทำสิ่งนั้นให้เกิดขึ้น ก็สร้างปัญญาให้เกิดขึ้นในด้านของความดี ท่านกล่าวว่า “ผู้ประพฤติในปัญญาสัมปทาบัดนี้ ประเสริฐกว่าความตั้งอยู่ในกรรมของบุคคลผู้มีปัญญาทรามเห็นปานนั้น”
    <o:p></o:p>
    นี่หมายความว่า เวลานี้น่ะ เธอเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เพราะอาศัยมีปัญญา คือถึงพร้อมด้วยปัญญาแล้วว่าเห็นว่าเป็นของดี มีความเป็นอยู่เพียงแค่วันเดียว ยังดีกว่าในฐานะที่อยู่ในความเป็นโจรร้อยปี
    <o:p></o:p>
    และองค์สมเด็จพระชินสีห์จึงได้ตรัสพระธรรมเทศนาว่า “ก็ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่ตั้งมั่น มีชีวิตอยู่ถึงร้อยปี มีความเป็นอยู่สู้มีชีวิตอยู่วันเดียวของบุคคลผู้มีฌาน ประเสริฐกว่า”
    <o:p></o:p>
    เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบ เพียงเท่านี้ บรรดาภิกษุทั้ง 500 รูป ก็บรรลุอรหันต์พร้อมไปด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระพิชิตมาร มีประโยชน์แก่บรรดามหาชนผู้ประชุมกันในที่นั้น
    <o:p></o:p>
    เป็นอันว่าเรื่องของพระขานุโกณฑะ หรือขานุโกณฑัญญะ ตามที่เรียกกันมา ในพระบาลีก็จบลงเพียงเท่านี้
    <o:p></o:p>
    ความจริงเรื่องนี้ก็รู้สึกว่าขาดความเข้มข้นไปนิดหนึ่ง สำหรับบรรดาท่านพุทธบริษัท แต่ว่าถ้าจะว่ากันจริง ๆ เมื่อพิจารณากันแล้ว ที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วตรัสว่า “ความมีชีวิตอยู่ของบุคคลผู้มีฌาน แต่ว่ามีความเป็นอยู่คือมีชีวิตอยู่แค่วันเดียว ยังดีกว่าการมีชีวิตอยู่หรือทรงชีวิตอยู่ของบุคคลผู้มีปัญญาทรามตั้งร้อยปี” ข้อนี้ ทำไมพระพุทธเจ้าเทศน์เท่านี้ พวกนั้นจึงได้สำเร็จอรหัตผล
    <o:p></o:p>
    เราก็มานั่งพิจารณากัน ก็จะเห็นได้ว่า ก่อนที่เขาจะมาพบองค์สมเด็จพระทศพล ก็ได้พบพระเถระก่อน พบท่านแล้ว เห็นท่านใจดี เวลาเข้าฌานสมาบัติ เอาของหนักไปวางบนศรีษะ วางพิงข้าง ๆ แสดงความเอะอะโวยวาย ตามสภาพของโจร โดยที่เขาคิดว่าพระเถระเป็นตอไม้ จึงไม่ได้แสดงอาการเกรงใจอย่างใดอย่างหนึ่ง พระเถระเองก็ไม่ได้แสดงอาการให้ปรากฎว่าเป็นที่ไม่พอใจเขา กลับมีความเมตตาปรานี นี่จุดหนึ่ง บรรดาท่านทั้งหลาย ที่จะเป็นการสร้างกำลังใจของบรรดาโจรทั้งหลายเหล่านั้นให้มีความเลื่อมใส มีความเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา
    <o:p></o:p>
    หลังจากนั้นเขาได้อุปสมบทบรรพชา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งอยู่กับพระอรหันต์ พระอรหันต์ก็เป็นพระที่ไม่มีเวร ไม่มีภัย มีแต่ความเมตตาปรานี แต่ก็อย่าลืมนะพระอรหันต์จะมีเมตตาปรานี คือหวังดีเฉพาะคนที่รักธรรมวินัยเท่านั้น ถ้าคนที่ปราศจากปัญญา ไม่ปรารถนา ไม่อยู่ในระเบียบวินัย ดูตัวอย่างองค์สมเด็จพระจอมไตร ยังทรงไล่พระวักกลิและก็ลงโทษพระฉันนะ ให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์ คือไม่มีใครคบหาสมาคม ไม่ให้ใครพูดด้วย จงมีความเข้าใจว่าพระอรหันต์ย่อมมีความเคารพในคำสั่งและคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    <o:p></o:p>
    เมื่อโจรพวกนั้นมีความเลื่อมใส เขาก็เชื่อท่านทุกอย่าง ท่านให้เขาทำอะไร เขาก็ทำตามทุกอย่าง ในเมื่อเขาก็ดี ท่านก็ดีด้วย ช่วยสงเคราะห์ให้มีความดียิ่งขึ้น ในเมื่อเขาเห็นว่าดี ธรรมปีติมันก็เกิด ฉะนั้น เมื่อไปพบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ากลับชมเชยว่า เธอเป็นผู้ถึงพร้อมไปด้วยปัญญา เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา มีชีวิตอยู่อย่างนี้วันเดียว ดีกว่ามีชีวิตอยู่ในความเป็นโจรถึงร้อยปี เพราะว่าความเป็นโจรร้อยปีนั้นก็มีแต่ความเดือดร้อนทั้งร้อยปี หาความสุขอะไรก็ไม่ได้ เพราะว่าขึ้นชื่อว่าโจรย่อมมีการระแวงสงสัยอยู่เป็นปกติ คำว่าไว้วางใจย่อมไม่มีในโจร เพราะเกรงว่าอันตรายจะเกิดกับตน ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าตนไปสร้างความเดือดร้อนให้แก่คนอื่นไว้มาก
    <o:p></o:p>
    เมื่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคสะกิดใจตรงนี้ ก็มีความรู้สึกตัว ว่าเรานี้ประเสริฐแล้ว ต่อมาอาจจะได้ฟังกระแสพระสัทธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วมาก่อน นั่นก็คือพระเถระคงจะสอนมาระหว่างทาง ว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนแบบไหน ท่านเรียนอะไรบ้าง และก็ท่านเข้าไปอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ปฏิบัติไม่นานนักก็ได้บรรลุอรหัตผล เข้าใจว่าบรรดาพระที่เป็นอดีตโจรคงจะศึกษามาแล้ว ครั้นมาพบองค์สมเด็จพระประทีปแก้วชมเชยเข้า ธรรมปีติก็เกิด เป็นเหตุให้เขาทั้งหลายเหล่านั้นได้บรรลุอรหัตผล
    <o:p></o:p>
    สำหรับเรื่องนี้ บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนอ่านแล้ว แต่ท้องเรื่องจะรู้สึกว่าจืดไปนิดหนึ่ง แต่ทว่าให้มีความรู้สึกไว้ว่า ถ้าขณะใดจิตใจของเราพร้อมไปด้วยปัญญา ในข้อนี้ก็หมายความว่า ปัญญาที่เป็นไปด้วยดีในด้านธรรม ถ้าเราตั้งใจปฏิบัติพระสัทธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้อใดข้อหนึ่งที่เราพอใจ และมีกำลังใจทรงไว้ซึ่งฌานสมาบัติ ตามที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์กล่าวว่า ผู้ทรงฌาน มีความเป็นอยู่วันเดียว ดีกว่าบุคคลผู้มีปัญญาทราบ ซึ่งมีความเป็นอยู่ถึงร้อยปี
    <o:p></o:p>
    เอาละ สำหรับเรื่องนี้ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้<o:p></o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2009
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านสุปพุทธกุฏฐิ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>


    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน<o:p></o:p>

    <o:p></o:p>
    บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายเคยปรารภกันว่า ในสมัยองค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดา เขาฟังเทศน์กันอย่างง่าย ๆ แล้วก็ปฏิบัติกันแบบง่าย ๆ พระพุทธเจ้าเทศน์จบเมื่อไร ก็ปรากฎว่าบางท่านได้เป็นพระอรหันต์บ้าง บางท่านได้เป็นพระอนาคามีบ้าง เป็นพระสกิทาคามีบ้าง เป็นพระโสดาบันกันบ้าง อย่างนี้รู้สึกว่าง่ายมากเกินไป แต่ว่าในสมัยนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเทศน์ เหตุที่เขาจะได้เป็นอริยเจ้าอย่างนั้น เขาตั้งใจยังไง บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายจะทราบได้จากเรื่องนี้
    <o:p></o:p>
    ความมีอยู่ว่า เมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์อยู่ ในวันหนึ่งองค์สมเด็จพระบรมครูทรงเสด็จไปในภาคพื้นปกติ เวลาที่พระพุทธเจ้าเทศน์น่ะ บรรดาท่านพุทธบริษัท หาธรรมาสน์เทศน์นี่ยากเต็มที เพราะว่าองค์สมเด็จพระชินสีห์มักจะเทศน์กลางป่าบ้าง กลางทุ่งนาบ้าง เอาสังฆาฏิปูบ้าง นั่งบนตอไม้บ้าง นาน ๆ องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาจึงจะเทศน์ในพระมหาวิหาร ในวันนั้น องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาทรงเสด็จประทับอยู่ที่ตอไม้ มีคนทั้งหลายแวดล้อมนั่งฟังกันอยู่เป็นอันมาก<o:p></o:p>
    ขณะที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจะแสดงพระสัทธรรมเทศนา เวลานั้นก็ปรากฎว่ามีกระทาชายนายหนึ่ง มีนามว่าสุปพุทธกุฏฐิ คำว่า “สุปพุทธะ” เป็นชื่อ กุฏฐิ นี่เป็นฉายา ที่มีฉายาอย่างนี้เพราะว่าแกเป็นโรคเรื้อนทั้งตัว ชาวบ้านจึงให้นามว่า สุปพุทธะ แล้วก็ลงท้ายว่า กุฏฐิ ซึ่งแปลเป็นใจควาว่า นายสุปพุทธะผู้เป็นโรคเรื้อน แล้วท่านผู้นี้ก็มีอาชีพเป็นขอทานด้วย
    <o:p></o:p>
    บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย เวลาที่เธอเข้ามาเห็นองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาประทับนั่งอยู่บนตอไม้ มีบรรดาประชาชนทั้งหลายแวดล้อมอยู่เป็นส่วนมาก สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังจะแสดงพระสัทธรรมเทศนา ท่านสุปพุทธกุฏฐิก็บังเกิดมีความเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้นั่งลงตั้งใจจะฟังองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์แสดงธรรม แต่ทว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ควรจะนึกถึงความเป็นจริง เขาทั้งหลายเหล่านั้นทั้งชายและหญิง เป็นคนที่มีรูปร่างหน้าตาปกติ มีฐานะดี แต่ทว่าชายผู้เป็นโรคเรื้อนคนนี้เป็นโรคเรื้อนด้วยแล้วก็เป็นขอทาน ไม่กล้าที่จะเข้าไปนั่งปะปนกับชาวบ้านเพราะเกรงว่าเขาจะรังเกียจ จึงได้นั่งอยู่ท้ายปลายสุดของบรรดาบริษัทที่รับฟังพระธรรมเทศนา นั่งห่าง ๆ เขา
    <o:p></o:p>
    เวลานั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงธรรมกล่าวถึงโทษของการละเมิดศีล 5 กล่าวถึงคุณการปฏิบัติในศีล 5 เป็นต้น โดยองค์สมเด็จพระทศพลเทศน์มีใจความว่า บุคคลที่จะมีความสุขได้ ก็ต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีใจร้าย นั่นก็คือ
    <o:p></o:p>
    1. ไม่ทำลายชีวิตสัตว์และไม่ทำลายชีวิตคน เพราะสัตว์ก็ดี คนก็ดี ย่อมมีการรักชีวิตรักร่างกายของตน มีสภาวะเสมอกัน เหตุฉะนั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรม์จึงทรงแนะนำให้ทุกคนมีเมตตาความรักซึ่งกันและกัน มีกรุณาความสงสารซึ่งกันและกัน ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน
    <o:p></o:p>
    และประการที่ 2 ไม่ยื้อแย่งทรัพย์ของบุคคลอื่นมาเป็นของตนโดยไม่ชอบธรรม
    <o:p></o:p>
    และก็ประการที่ 3 ไม่ยื้อแย่งคนรักของบุคคลอื่นมาครอบครอง โดยที่เจ้าของไม่ได้อนุญาต
    <o:p></o:p>
    ประการที่ 4 องค์สมเด็จพระโลกนาถตรัสว่า ควรจะพูดแต่ความจริง เพราะคนทุกคนรักความจริง
    <o:p></o:p>
    ประการที่ 5 สมเด็จพระบรมศาสดาทรงตรัสว่า ไม่ควรดื่มสุราและเมรัย เพราะเป็นฐานะที่ตั้งแห่งความประมาท
    <o:p></o:p>
    แล้วองค์สมเด็จพระโลกนาถก็ทรงกล่าวแสดงถึงโทษของการละเมิดศีล 5 ว่า บุคคลใดทำปาณาติบาฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ประทุษร้างร่างกายเขา ตายจากความเป็นคนก็ไปเกิดเป็นสัตว์นรก แล้วก็มาเป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดมาภายหลังก็มาเป็นคน กรรมที่เป็นอกุศลให้ผลยังไม่ถึงที่สุด ก็ตามมาให้ผลในสมัยที่เป็นมนุษย์ นั่นก็คือมีร่างกายมีการป่วยไข้ไม่สบายบ้าง มีร่างกายทุพลภาพบ้าง มีชีวิตสั้นพลันตายบ้าง เป็นต้น
    <o:p></o:p>
    หลังจากนั้น องค์สมเด็จพระทศพลก็ทรงตรัสโทษของอทินนาทานว่า คนที่ทำอทินนาทาน คนประเภทนี้เกิดมาเป็นคนก็จะพบกับการถูกล้างผลาญทรัพย์สมบัติ คือไฟไหม้ทรัพย์สมบัติบ้าง น้ำท่วมบ้าง ลมพัดให้สมบัติสลายตัวบ้าง ถูกโจรลักบ้าง
    <o:p></o:p>
    โทษของกาเมสุมิจฉาจาร ก็เป็นปัจจัยให้คนทั้งหลายเหล่านั้นมีชีวิตไม่เป็นสุข คือคนในครอบครัวหรือในบังคับบัญชาว่ายากสอนยาก เป็นการขื่นขมระทมใจ
    <o:p></o:p>
    โทษมุสาวาท เป็นปัจจัยให้ไม่มีใครเชื่อฟัง ถึงแม้จะพูดวาจาจริง<o:p></o:p>
    ข้อที่ 5 องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงตรัสว่า ถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว คือผ่านนรก เปรต อสุรกาย มาแล้วอย่างนี้ องค์สมเด็จพระประทีปแก้วกล่าวว่า โทษการดื่มสุราและเมรัย จะต้องกลายเป็นคนเป็นโรคเส้นประสาทบ้าง เป็นคนบ้าบ้าง
    <o:p></o:p>
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวถึงโทษการละเมิดศีล 5 คือปัญจเวร แล้วต่อไปสมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาก็กล่าวถึง คุณการปฏิบัติในศีล 5 ประการครบถ้วนว่า
    <o:p></o:p>
    ศีลข้อที่ 1 คนรักษาได้ด้วยเมตตา ถ้าเกิดมาภายหลังจะมีโรคภัยไข้เจ็บเล็กน้อย มีชีวิตมีอายุขัย ร่างกายสะสวยงดงาม ร่างกายดีเป็นปกติ
    <o:p></o:p>
    ศีลข้อที่ 2 ถ้ารักษาได้ ทรัพย์สมบัติทั้งหลายที่มีอยู่จะไม่สลายตัว เพราะไฟไหม้ 1 น้ำท่วม 1 ลมพัด 1 โจรผู้ร้ายไม่รบกวน 1
    <o:p></o:p>
    ศีลข้อที่ 3 พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า ถ้าทรงไว้ได้ คนใต้บังคับบัญชาจะว่านอนสอนง่าย อยู่ในโอวาท
    <o:p></o:p>
    ศีลข้อที่ 4 องค์สมเด็จพระโลกนาถกล่าวว่า สัจวาจาที่กล่าวไว้ในชาติก่อน ๆ นั้นไซร้ จะเป็นปัจจัยให้เกิดมาในชาติหลัง มีวาจาเป็นที่รักของบุคคลผู้รับฟัง
    <o:p></o:p>
    ศีลข้อที่ 5 องค์สมเด็จพระศาสดากล่าวว่า ถ้ารักษาได้ เกิดมาภายหลังจะเป็นคนมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีปัญญาดี
    <o:p></o:p>
    เมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ ก็ลงท้ายศีลว่า สีเลน สุคติง ยันติ บุคคลใดมีศีลบริสุทธิ์ เกิดในสมัยที่เป็นมนุษย์ก็มีความสุข ตายไปแล้วก็มีความสุข มีสวรรค์เป็นที่ไป
    <o:p></o:p>
    ข้อที่ 2 องค์สมเด็จพระจอมไตรกล่าวว่า สีเลน โภคสัมปทา บุคคลใดปฏิบัติในศีลได้นี้ ในขณะที่มีชีวิตอยู่นี้ สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า มีทรัพย์สมบูรณ์แบบ คือการจับจ่ายใช้สอยทรัพย์จะมีตามปกติ ทรัพย์ไม่สิ้นเปลือง จะมีความสุขเพราะการปกครองทรัพย์ ตายไปเป็นเทวดาก็มีทิพยสมบัติ มาเป็นคนก็จะเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี เพราะความดีในข้อนี้
    <o:p></o:p>
    ข้อสุดท้ายองค์สมเด็จพระชินสีห์กล่วว่า สีเลน นิพพุติง ยันติ บุคคลใดมีศีลครบถ้วนบริบูรณ์ จะเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย
    <o:p></o:p>
    ครั้นเมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาตรัสจบ ก็ปรากฎว่าบุคคลผู้รับฟังได้เป็นพระอริยเจ้า เป็นพระโสดาบันบ้าง สกิทาคามีบ้าง อนาคามีบ้าง เป็นพระอรหันต์บ้าง สำหรับท่านที่เป็นอรหันต์ก็ขออุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนาทันที แต่ทว่า สุปพุทธะ ผู้เป็นโรคเรื้อนและเป็นยาจกคนนี้ ปรากฎว่าเธอได้เป็นพระโสดาบัน มีความปลื้มใจเป็นอันมาก
    <o:p></o:p>
    เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสจบคนทั้งหลายก็พากันลาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็เสด็จกลับพระวิหาร สำหรับท่านสุปพุทธกุฏฐิ ซึ่งเป็นพระโสดาบัน ก็กลับกระท่อมของตน ในตอนกลางคืนได้มาปรารภพระธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระทศพลว่า
    <o:p></o:p>
    “โอหนอ พระธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงไพเราะอย่างยิ่ง ทำให้ท่านบรรดาพุทธบริษัทชายหญิงเข้าถึงความเป็นคนดี แต่ว่าพระธรรมเทศนาที่เราฟังแล้วนี้จับใจมาก เป็นจิตใจให้คิดเห็นว่า ชีวิตของบุคคลเราเกิดมามันต้องตาย เมื่อตายแล้ว ความตายไม่ได้ทำให้จิตใจสลายไปด้วย ช่วยให้คนมีความสุข อาศัยตัวเราที่เป็นโรคเรื้อนและเป็นขอทานในชาตินี้ เห็นจะเป็นเพราะที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงกล่าวว่า เคยทำปาณาติบาตฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ทำร้ายร่างกายเขา ร่างกายเราจึงไม่เป็นปกติ มีเชื้อโรคเรื้อนประจำกาย ที่มีทรัพย์สินไม่พอกินไม่พอใช้ต้องขอทานเขากิน เห็นจะเป็นโทษอทินนาทาน แต่ทว่าเวลานี้ สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสอนเราให้เข้าใจถึงความเป็นจริง ฉะนั้น พระพุทธศาสนา มีพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ ทั้ง 3 ประการ เป็นที่เคารพสักการะของจิตใจของเราเป็นอย่างยิ่ง”<o:p></o:p>
    เป็นอันว่าสุปพุทธกุฏฐิฟังเทศน์แล้ว ก็เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าด้วย เลื่อมใสในพระธรรมด้วย เลื่อมใสในบรรดาพระอริยสงฆ์ทั้งหลายด้วย และจิตใจของเธอคิดไว้ว่า นับตั้งแต่บัดนี้ไปจนกว่าจะตาย จะมีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นก็ตามที เรานี้จะไม่ยอมละเมิดศีล 5 เป็นอันขาด องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถกล่าวในข้อท้ายว่า สีเลน นิพพุติง ยันติ คือกล่าวว่า การทรงศีลบริสุทธิ์เป็นปัจจัยให้เข้าถึงนิพพานโดยง่าย ฉะนั้น ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสแล้ว เราจะรักษาด้วยดี เราต้องการพระนิพพาน
    <o:p></o:p>
    รวมความว่า ท่านมีความรู้ตัวว่าท่านนี้ต้องการพระนิพพาน ท่านเองท่านเป็นพระโสดาบัน ท่านก็ทราบ
    <o:p></o:p>
    นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท จงจำให้ดีว่า การฟังเทศน์จากองค์สมเด็จพระชินสีห์นั้น เขาก็คิดไปด้วย หาเหตุหาผล เมื่อได้เหตุได้ผลก็ตั้งใจของตนให้ตรงตามความเป็นจริง ตามธรรม ปฏิบัติตามนั้น ทรงอารมณ์ตามนั้น
    <o:p></o:p>
    สำหรับท่านสุปพุทธกุฏฐินี่ท่านเป็นขอทาน ก็คิดว่าเป็นคนที่ชาวบ้านเขาเหยียดหยามว่าเป็นคนชั้นต่ำ เป็นคนมีทรัพย์สินน้อย แล้วประการที่สอง ท่านเป็นโรคเรื้อน เป็นโรคที่น่ารังเกียจ แต่ทว่าความเป็นพระอริยเจ้าไม่ได้เลือกบุคคล ไม่ใช่ว่าต้องเป็นบุคคลที่มีฐานะดี มีร่างกายดี มีความรู้ดี มีความสามารถดีเป็นพิเศษ มีศักดิ์ศรีดี จึงจะเป็นพระอริยเจ้าได้ ความเป็นพระอริยเจ้าไม่ได้เลือกบุคคล เลือกใจคน
    <o:p></o:p>
    รวมความว่า ท่านสุปพุทธกุฏฐิท่านถึงความเป็นคนทรงคุณธรรม 3 ประการได้ครบถ้วน ก็คือ
    <o:p></o:p>
    ในข้อแรก มีความเคารพในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระอริยสงฆ์ นี่เป็นปัจจัยตัวที่หนึ่งให้เป็นพระโสดาบัน หรือพระสกิทาคามี
    <o:p></o:p>
    จำไว้ให้ดีนะว่า คนที่จะเป็นพระโสดาบันหรือพระสกิทาคามีน่ะ เขาทรงคุณธรรมตามนี้ ที่เรียกกันว่าองค์ของพระโสดาบัน ท่านที่เป็นพระโสดาบันนั้น มีความเคารพในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม พระสงฆ์ ด้วยจริงใจ
    <o:p></o:p>
    ประการที่สอง ทรงศีล 5 บริสุทธิ์
    <o:p></o:p>
    แล้วก็ประการที่สาม จิตต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์ นึกอย่างเดียวว่า เราตายชาตินี้ขอไปนิพพาน การทำความดีทุกอย่างเราทำเพื่อพระนิพพานอย่างเดียว อย่างนี้พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่าพระโสดาบัน หรือพระสกิทาคามี<o:p></o:p>
    ถ้าใครทำใจได้อย่างนี้ ปฏิบัติได้ตามนี้ละก็ ทุกคนเป็นพระโสดาบันก็ได้ เป็นพระสกิทาคามีก็ได้ ใจความสำคัญในตอนนี้มีเท่านี้
    <o:p></o:p>
    ต่อไปตอนกลางคืน ท่านสุปพุทธะได้มาพิจารณาความดีที่ท่านได้ในคราวนี้ว่า ท่านเป็นพระโสดาบันเพราะพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมา-สัมพุทธเจ้าแท้ ๆ ขึ้นชื่อว่าพระพุทธเจ้า ทรงมีคุณแก่ท่านอย่างยิ่ง แต่ก็คิดในใจว่า เวลานี้ สมเด็จพระชินสีห์ทรงทราบหรือเปล่าว่าท่านเป็นพระโสดาบัน
    <o:p></o:p>
    แต่ความจริงใครจะเป็นอะไร พระพุทธเจ้าทรงทราบเสมอ ทราบด้วยอำนาจพระพุทธญาณ แต่ทว่า ท่านสุปพุทธกุฏฐิ ท่านเพิ่งจะเป็นพระโสดาบัน ท่านเพิ่งจะพบพระพุทธเจ้าใหม่ ๆ จึงไม่มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า พระพุทธเจ้าจะทราบหรือไม่ทราบ จึงได้นอนคำนึง คืนนั้นทั้งคืนท่านนอนไม่หลับ เพราะความปลื้มใจ มีความอิ่มใจในความเป็นพระโสดาบัน ท่านจึงได้คิดในใจว่า 1. เราเป็นขอทานด้วย แล้วก็ประการที่ 2. เราก็เป็นคนเป็นโรคเรื้อน ถ้าสมเด็จพระมหามุนีทรงทราบว่าเราเป็นพระโสดาบันจะทรงดีพระทัยมาก จึงอยากจะไปเฝ้าองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จะทูลให้ทรงทราบว่า ท่านเองได้เป็นพระโสดาบัน คืนนั้นจึงนอนไม่หลับ
    <o:p></o:p>
    ตอนเช้ารีบกินข้าวแต่เช้า หุงข้าวกิน กับข้าวก็ไม่มีอะไรมาก จัดแจงแต่งกายอย่างดีที่สุดของขอทาน ออกจากบ้านตั้งใจจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า จะกราบทูลให้ทรงทราบว่าตัวเองเป็นพระโสดาบัน ทั้งนี้เพราะอาศัยธรรมปีติล้นกำลังใจ<o:p></o:p>
    เวลานั้น ท้าวโกสีย์สักกเทวราช คือพระอินทร์อยู่บนวิมาน นั่งอยู่ที่บนบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ทรงทราบว่า เวลานี้สุปพุทธกุฏฐิจะไปเฝ้าองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ ตั้งใจจะกราบทูลให้ทรงทราบว่าเป็นพระโสดาบัน ถ้ากระไรก็ดี วันนี้เราจะลองใจสุปพุทธกุฏฐิดู ว่ามีความเคารพในองค์พระบรมครู จะเป็นพระโสดาบันจริงหรือเปล่า คิดแล้วท่านจึงได้เหาะมาลอยอยู่ในอากาศ ใกล้ข้างหน้า คือไม่สูงกว่าศรีษะของสุปพุทธกุฏฐิเท่าไร จึงได้ตรัสถามว่า “สุปพุทธกุฏฐิ เธอจะไปไหน”
    <o:p></o:p>
    ท่านสุปพุทธกุฏฐิ เห็นท้าวโกสีย์สักกเทวราชลอยอยู่ใกล้ ๆ จึงได้กล่าวว่า “ท้าวโกสีย์ เวลานี้เราจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า”
    <o:p></o:p>
    พระอินทร์ท่านจึงได้ถามว่า “ไปเฝ้าทำไม”
    <o:p></o:p>
    ท่านสุปพุทธะก็ตอบว่า “ฉันจะไปกราบทูลองค์สมเด็จพระจอมไตรว่า เวลานี้
    ฉันเป็นพระโสดาบันแล้ว”
    <o:p></o:p>
    พระอินทร์ก็เลยแกล้งพูดว่า “เธอน่ะรึ คนอย่างเธอเป็นโรคเรื้อนอย่างนี้ เป็นขอทานอย่างนี้น่ะรึ จะเป็นพระโสดาบัน ฉันไม่เชื่อ” และพระอินทร์ก็กล่าวต่อไปว่า “เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน มาพิสูจน์กัน ไม่ใช่ว่าพิสูจน์ผิดพิสูจน์ถูก เธอทราบไหมว่า เวลานี้เธอเป็นขอทาน”
    <o:p></o:p>
    ท่านสุปพุทธกุฏฐิก็บอกว่า “ฉันเป็นขอทานอาชีพจ้ะ ทำไมฉันจะไม่รู้ ตั้งแต่ออกจากท้องพ่อท้องแม่ฉันก็ขอทานตลอดมา”
    <o:p></o:p>
    พระอินทร์ก็ถามต่อไปว่า “ท่านทราบหรือเปล่าว่า ตัวเองเป็นโรคเรื้อน เป็นโรคที่ชาวบ้านเขารังเกียจ”
    <o:p></o:p>
    สุปพุทธะก็บอกว่า “ไม่น่าจะถาม ไม่น่าจะโง่ ฉันรู้”
    <o:p></o:p>
    แล้วพระอินทร์ก็เลยบอกว่า “สุปพุทธะ ความเป็นคนจนเป็นของไม่ดี ไม่มีความสุขในชีวิต และร่างกายที่ประกอบไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บอย่างนี้ ก็จะมีความทุกข์หนัก เอาอย่างนี้นะ ถ้าหากว่าท่านพูดตามคำเราพูด 3 คำ จะตั้งใจพูดหรือว่าสักแต่ว่าพูดก็ได้ พูดเฉย ๆ เล่น ๆ ก็ได้ ถ้าหากท่านพูดตามคำเราแนะ 3 คำ ละก็ ประการที่ 1 เราจะบันดาลทรัพย์ให้มากมายให้กลายเป็นมหาเศรษฐี ประการที่ 2 โรคเรื้อนนี้ในร่างกายของท่านจะหมดไป จะกลายเป็นคนมีร่างกายสมบูรณ์ และจะมีความสวยสดงดงามมาก”
    <o:p></o:p>
    ท่านสุปพุทธกุฏฐิก็ดีใจ ถามว่า “จะให้ว่ายังไงล่ะ พระอินทร์ ว่ามาเถอะ ถ้าไม่เกินวิสัยที่ฉันจะพูดได้ ฉันจะพูด”
    <o:p></o:p>
    พระอินทร์ก็บอกว่า “เธอพูดเล่น ๆ ก็ได้นะ ไม่ต้องตั้งใจว่าหรอก ไม่ต้องตั้งใจเอาจริงเอาจัง แค่ว่าตามเรา พูดเล่น ๆ ก็พอ”
    <o:p></o:p>
    ท่านสุปพุทธะก็พร้อมรับ ท่านจึงกล่าวว่า “เธอจงพูดอย่างนี้นะ ว่าพระพุทธเจ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้า พระธรรมไม่ใช่พระธรรม พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์ เอาแค่นี้ก็แล้วกัน พูดเล่น ๆ ก็ได้ไม่ต้องตั้งใจ”
    <o:p></o:p>
    สุปพุทธะพอฟังเท่านั้นเกิดความไม่พอใจ ชี้หน้าด่าพระอินทร์ทันทีว่า “พระอินทร์ถ่อยจงถอยไป เจ้ามาพูดอะไรตามนั้น สำหรับพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ เป็นจิตใจที่เราเคารพอย่างยิ่ง เวลานี้กล่าวว่าเราเป็นคนจนนั่นเราจนจริงสำหรับโลกียทรัพย์ แต่อริยทรัพย์ของเราสมบูรณ์บริบูรณ์ เราเป็นพระโสดาบัน ท่านจงถอยไป ไอ้โรคเรื้อนจังไรอย่างนี้ไซร้ มันเป็นกับเรามาตลอดกาลตลอดสมัย เราไม่มีทุกข์ใจ เจ้าสรรหาอะไรมาพูดตามถ้อยคำเลว ๆ ของท่าน จงหลีกไปเดี๋ยวนี้”
    <o:p></o:p>
    รวมความว่า ท่านสุปพุทธะจึงได้ไล่พระอินทร์ไป แต่พระอินทร์ท่านหลีกไปแล้วท่านก็ไม่ไปไหน ท่านย่องไปบ้านสุปพุทธกุฏฐิ
    <o:p></o:p>
    ท่านสุปพุทธกุฏฐิก็หลีกจากพระอินทร์ไป แล้วก็ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่ตอนนี้ตามพระบาลีท่านไม่ได้บอก เข้าใจว่าจะไปพบพระพุทธเจ้าจริง ๆ แล้วกราบทูลจริง ๆ
    <o:p></o:p>
    สำหรับพระอินทร์ ท่านก็ย้อนหลังมาที่บ้านของสุปพุทธกุฏฐิ มาถึงก็บันดาลแก้วเจ็ดประการให้ตกจากอากาศเต็มบริเวณบ้านสุปพุทธกุฏฐิ เต็มเลยหลังคากระท่อมไป แล้วบันดาลให้ร่างกายของสุปพุทธกุฏฐิหมดจากความเป็นโรคเรื้อน เป็นคนที่มีความสวยสดงดงามตามที่ท่านให้สัญญา แต่ความจริงไม่พูดท่านก็ไม่ว่า ท่านทราบว่าสุปพุทธกุฏฐิเป็นพระโสดาบันจริง ที่ท่านสอบอย่างนี้เพราะว่าพระอินทร์ท่านเป็นพระโสดาบัน ท่านรู้กำลังใจของสุปพุทธกุฏฐิและรู้กำลังใจของบุคคลผู้เป็นพระโสดาบัน
    <o:p></o:p>
    เมื่อท่านสุปพุทธกุฏฐิกลับมาบ้าน เห็นบ้านหาย บริเวณลานบ้านทั้งหมดสูงกว่าหลังคาเป็นไหน ๆ เต็มไปด้วยแก้วเจ็ดประการ ร่างกายของตนนั้นก็กลายเป็นร่างกายของบุคคลที่มีความสวยสดงดงามอย่างยิ่ง และโรคเรื้อนก็หายไป จึงตกใจคิดว่าไอ้ทรัพย์นี่มันมาจากไหน จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลบรมกษัตริย์ พระบาทท้าวเธอเป็นพระราชาเวลานั้น กราบทูลว่า “เวลานี้ทรัพย์ของพระองค์ ทรัพย์ของแผ่นดินเกิดขึ้นในบ้านของข้าพระพุทธเจ้า พระเจ้าข้า”<o:p></o:p>
    พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ถามว่า “มีอะไรบ้าง”
    <o:p></o:p>
    ท่านสุปพุทธกุฏฐิก็บอกว่า “มีแก้วเจ็ดประการ มันเต็มไปหมดเต็มบริเวณพื้นที่บ้านทั้งหมด สูงเกือบจะเท่ายอดตาล”
    <o:p></o:p>
    พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ถามว่า “ต้องการภาชนะเท่าไรจึงจะขนพอ”
    <o:p></o:p>
    ท่านสุปพุทธกุฏฐิก็บอกว่า “ประมาณ 500 เล่มเกวียน จึงจะขนพอพระเจ้าข้า”<o:p></o:p>
    พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงได้ให้คนนำเกวียนประมาณ 500 เล่มเกวียนเศษ ขนแก้วเจ็ดประการมากองที่พระลานหลวง แล้วประกาศให้คนมาดูกัน ถามว่า “เวลานี้ทรัพย์ใหญ่เกิดขึ้นแล้วแก่หลวง ใครมีสมบัติเท่านี้บ้าง”
    <o:p></o:p>
    เศรษฐีทั้งหลายก็บอกว่า “แก้วเจ็ดประการ อย่าว่าแต่มีเท่านี้เลย 1 ทะนานมันยังหาได้ยาก”
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงแต่งตั้งให้สุปพุทธเป็นมหาเศรษฐี ให้เศวตฉัตร 3 ชั้น ให้ข้าทาสหญิงชาย 100 ให้ช้าง 100 ม้า 100 โค 100 กระบือ 100 ข้าทาสหญิง 100 ชาย 100 มีบ้านส่วยสำหรับเก็บภาษี 100 หลัง
    <o:p></o:p>
    นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ที่เล่ามานี้ต้องการให้บรรดาท่านพุทธบริษัททราบว่า การฟังเทศน์นะอย่าฟังกันเฉย ๆ ในสมัยโบราณน่ะท่านไม่ได้ฟังเฉย ๆ ท่านฟังแล้วต้องคิด ต้องตั้งใจปฏิบัติตามไปด้วย จึงช่วยให้คนเป็นพระอริยเจ้ากันง่าย ๆ
    <o:p></o:p>
    สำหรับการเป็นพระโสดาบันก็ดี พระสกิทาคามีก็ดี ทั้งสองประการนี้ไม่ใช่ของสูงของเลิศประเสริฐ คิดว่าเราจะทำไม่ได้ ถ้าจะเรียกกันไป พระโสดาบันกับพระสกิทาคามีก็เป็นเรื่องของชาวบ้านชั้นดีนั่นเอง ไม่มีอะไรมาก แต่ว่าพระพุทธเจ้าท่านทรงเรียกพระแล้วนะ ผู้หญิงก็ตาม ผู้ชายก็ตามที่ไม่ได้บวชพระ ไม่ได้บวชเณร ถ้าเป็นพระโสดาบัน พระพุทธเจ้าท่านทรงเรียกว่าพระ เพราะว่าเป็นพระแท้<o:p></o:p>
    สำหรับคนที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ที่ยังไม่ได้เป็นพระโสดาบัน ท่านเรียกว่าสมมุติสงฆ์ เพราะว่าเป็นสงฆ์สมมุติ ไม่ใช่สงฆ์แท้ ความเป็นพระแท้ของความเป็นพระ ก็เริ่มต้นตั้งแต่พระโสดาบัน อย่างที่ท่านเรียกนางวิสาขา หรืออนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านเรียกนางวิสาขาว่าพระโสดาบัน เรียกอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่าพระโสดาบัน อันนี้เป็นพระแท้ ๆ
    <o:p></o:p>
    นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท จงจำไว้ว่า ความเป็นพระโสดาบันเขาเรียกว่า องค์ของพระโสดาบัน เราไม่ต้องพูดถึงสังโยชน์ สังโยชน์ฟังกันแล้วลำบากใจ จำไว้แต่เพียงว่า ความเป็นพระโสดาบันมีทรงคุณธรรม 3 ประการ จำไว้ให้ดี เป็นของไม่ยาก คือ
    <o:p></o:p>
    1. มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์จริง พระสงฆ์นี่เลือกเอาพระอริยสงฆ์นะ เพราะถ้าไม่ใช่พระอริยะ แกก็ไม่ค่อยแน่นักหรอก ดีไม่ดีแกก็เลวกว่าชาวบ้านเขาก็มี
    <o:p></o:p>
    2. งดการละเมิดศีล 5 โดยเด็ดขาด เรียกว่า รักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต ศีล 5 ประการนี้ รักษาโดยเด็ดขาด
    <o:p></o:p>
    3. จิตใจของพระโสดาบันมุ่งอย่างเดียวคือนิพพาน ขึ้นชื่อว่าทำความดีตั้งแต่ฟังเทศน์ปฎิบัติธรรม ลงไปถึงเทกระโถน ล้างส้วม ตั้งใจอย่างเดียว เราทำเพราะเมตตาปราณีแก่บุคคลทั้งหลาย ความดีนี่ไม่ต้องการตอบแทนจากบุคคลผู้ใด เราต้องการอย่างเดียว ทำเพื่อผลของพระนิพพาน เพียงเท่านี้เขาเรียกกันว่า พระโสดาบัน
    <o:p></o:p>
    เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ตามที่เล่ามาในเรื่องสุปพุทธกุฏฐิ ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้<o:p></o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2009
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พหุปุตติกาเถรี<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>


    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง<o:p></o:p>

    <o:p></o:p>
    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับตอนนี้ก็จะขอนำบุคคลตัวอย่างที่ประพฤติปฏิบัติเนื่องในการเจริญพระกรรมฐาน และบรรลุมรรคผล มาเล่าให้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายได้รับทราบ
    <o:p></o:p>
    เพราะว่าการปฏิบัติพระกรรมฐาน เรามักจะมีความเข้าใจกันว่า ต้องทำอย่างนั้นบ้าง ต้องทำอย่างนี้บ้าง จึงจะบรรลุมรรคผล บางทีก็มีความรู้สึกว่าคำสอนที่ผมสอนไปมาก ๆ และดูเหมือนว่าคำสอนมันจะล้น เราก็จะต้องปฏิบัติตามเสียทุก ๆ อย่าง จึงจะบรรลุมรรคผล ถ้ามีความรู้สึกอย่างนี้ ก็รู้สึกว่าจะหนักใจสำหรับบรรดาท่านนักปฏิบัติ
    <o:p></o:p>
    แต่ความจริงการปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้า ถ้าหากเรามีใจจริงแล้ว ก็สามารถจะจับพระธรรมหมวดใดหมวดหนึ่งมาประพฤติปฏิบัติ ก็มีโอกาสจะบรรลุมรรคผลเหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติทุกอย่าง แต่ว่าที่พระพุทธเจ้าทรงเทศน์ไว้มาก ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามอัธยาศัยของบุคคลผู้ปฏิบัติ เพราะว่ามีอัธยาศัยมีกำลังใจไม่เสมอกัน ถ้ามีกำลังใจดี ๆ ตั้งใจจริง พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีอะไรยากเลย ที่เข้าใจว่ายากและรู้สึกว่ายากเพราะว่าตนเองสร้างความยากให้เกิดขึ้นในจิต
    <o:p></o:p>
    ต่อนี้ไป เราก็มาดูตัวอย่างถึงบุคคลที่เขาปฏิบัติได้ดี ชั่วเวลาคืนเดียวก็สามารถทำได้ และท่านผู้นี้มีความรู้สึกอย่างไร มีการปฏิบัติแบบไหน เรื่องราวมีอยู่ว่า<o:p></o:p>
    ในสมัยเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับยับยั้งสำราญอิริยาบถในพระเชตวันมหาวิหาร ในครั้งนั้นองค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงปรารภ ท่านพหุปุตติกาเถรี
    <o:p></o:p>
    ตอนนี้ท่านอาจจะแปลกใจว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้หญิง ผมใช้คำว่าท่านพหุปุตติกาเถรี เพราะว่าท่านเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว จะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายไม่สำคัญ ถ้าเป็นอรหันต์แล้ว ผมถือว่า ท่านผู้นั้นเป็นผู้เลิศทั้งนั้น เลิศสำหรับผม แต่คนอื่นจะมีความรู้สึกอย่างไรผมไม่ทราบ
    <o:p></o:p>
    องค์สมเด็จพระมหามุนีจึงได้ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า โย จวสฺสสตํ ชีเว เป็นต้น เนื้อความโดยย่อมีอยู่ว่า พระอานนท์ได้กล่าวว่า
    <o:p></o:p>
    ได้ยินว่า ในตระกูล ๆ หนึ่งในเมืองสาวัตถี ตระกูลนี้มีบุตร 7 คน และมีธิดา 7 คน บุตรชายและหญิงทั้งหมดนั้นก็เจริญวัยโตเป็นหนุ่มสาวแต่งงานไปแล้ว แต่ทว่ายังอยู่ในบ้านรวมกัน ยังไม่มีใครแยก ทั้งนี้เพราะว่าท่านพ่อมีนโยบายที่ยังจะไม่ยอมให้บุตรแยกออกไปจากเรือน ให้ประกอบกิจการงานร่วมกัน แบ่งสรรปันส่วน ถ้าว่ากันอย่างปัจจุบันก็ว่าเป็นสหกรณ์ สหกรณ์แปลว่า ทำงานร่วมกัน แบ่งผลประโยชน์ให้สม่ำเสมอกัน สำหรับท่านพ่อ ได้ให้ความสุขแก่บรรดาลูก ๆ ทั้งหลายตามสมควรที่จะพึงมี ท่านกล่าวว่า ในสมัยต่อมา ท่านพ่อของชนทั้งหลายเหล่านี้ก็ตาย
    <o:p></o:p>
    จำไว้ให้ดีว่า คนเราเกิดมาแล้วมันต้องตาย ไม่ใช่จะตายแต่เฉพาะคนที่เล่าเรื่องให้ฟัง ถึงแม้เราเองกำลังอ่านกันอยู่ก็รู้จักตายเป็นเหมือนกัน ให้มีความรู้สึกไว้อย่างนั้น ถ้ามีความรู้สึกอย่างนี้เสมอ ๆ ละก็ดีทุกคน
    <o:p></o:p>
    แต่คนที่ไม่นึกถึงความตายนี้ไม่ดี จิตก็หนักไปด้วยความโลภ ความดกรธ ความหลง ไม่รู้จักประมาณตัว หรือไม่รู้จักหาความสุขที่จะพึงมีมาข้างหน้า ในสมัยเมื่อตายไปแล้ว เพราะว่าความสุขที่จะพึงได้ข้างหน้าได้แก่
    <o:p></o:p>
    ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน<o:p></o:p>
    สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล<o:p></o:p>
    ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
    <o:p></o:p>
    สามประการนี้ จัดว่าเป็นมหาสมบัติของบุคคลผู้ล่วงลับไปจากโลกนี้ จะมีสมบัติใหญ่
    <o:p></o:p>
    ตามพระบาลีท่านกล่าวว่า ท่านมหาอุบาสิกา เมื่อสามีตายไปแล้ว ท่านแม่ก็ยังไม่ยอมแบ่งทรัพย์สมบัติให้แก่บรรดาลูกหญิงและลูกชายทั้งหลายก่อน ยังให้ลูกหญิงและลูกชายอยู่ร่วมกัน อยู่ร่วมบ้าน ทำกินร่วมกัน แบ่งกันกินไปพลาง ๆ ก่อน
    <o:p></o:p>
    ในครั้งนั้น บรรดาลูกหญิงและลูกชายทั้งหลาย เขาก็พากันพูดพากันบ่นบอกว่า เมื่อบิดาตายไปแล้ว ท่านแม่ยังไม่ตาย ท่านแม่จะมาหวงทรัพย์สินไว้เพื่อประโยชน์อะไร เพราะกองทรัพย์มรดกมีมาก แม่คิดว่าถ้าแบ่งให้พวกฉันไปแล้ว แม่คิดว่าพวกฉันจะไม่อาจที่จะเลี้ยงแม่ได้หรืออย่างไร นี่เป็นวาทะของลูก ตามพระบาลีท่านว่าอยางนี้ แต่ว่าผมแก้มาเป็นภาษาไทยล้วน ๆ
    <o:p></o:p>
    สำหรับท่านแม่ เมื่อฟังคำของลูกทั้งหลายเหล่านั้นก็นิ่งเสีย จะพูดในตอนแรกท่านก็นิ่ง ต่อมา บรรดาบุตรทั้งหลายเหล่านั้นก็พูดกันบ่อย ๆ พากันคิดว่า พวกเราต้องเร่งรัดให้ท่านแม่แบ่งทรัพย์สินให้เสียก่อน เพราะว่าท่านก็แก่แล้ว เวลานี้ท่านพ่อตาย ถ้าท่านแม่ตายไปเสียอีก เรื่องทรัพย์สมบัติมันจะยุ่ง
    <o:p></o:p>
    เป็นเรื่องของคนเลวมีความรู้สึกอย่างนั้น แต่ความจริงถ้าพวกลูกหญิงชายรวมทั้งหมด 14 คน ถ้าหากว่าพวกแก่จะไม่ยุ่งเสียอย่างเดียว ก็จะไม่มีใครมายุ่ง เมื่อทรัพย์สินของพ่อแม่มีเท่าไร ก็พากันแบ่งสรรปันส่วน เท่า ๆ กัน ก็หมดเรื่อง แต่นี่พวกแกไม่ได้คิดอย่างนั้น คิดว่าจะให้แม่แบ่งให้เสียก่อน ก่อนที่แม่จะตาย แล้วท่านแม่ก็ได้ยินพวกลูก ๆ พูดกันบ่อย ๆ ว่า แม่คนเดียวลูกเลี้ยงได้ คุณแม่ไม่ต้องห่วง ลูก 14 คน พ่อกับแม่ 2 คน เลี้ยงลูกมาได้ แต่ว่าลูก 14 คน จะเลี้ยงแม่ไม่ได้เชียวหรือ แม่คนเดียวเท่านั้น
    <o:p></o:p>
    เมื่อพวกลูก ๆ พูดกันแบบนี้บ่อย ๆ ท่านแม่ก็ใจอ่อน คิดว่าอย่างไร ๆ ลูกก็คงจะเป็นลูก คงจะไม่ทิ้งให้แม่ตาย จึงได้แบ่งทรัพย์ปันส่วนด้วยความยุติธรรม แบ่งกันคนละส่วน ๆ เป็นคนมีสมบัติมาก อยู่ในฐานะขั้นเศรษฐี ทรัพย์ก็มาก
    <o:p></o:p>
    หลังจากแบ่งทรัพย์ไปแล้ว เวลาก็ล่วงไปสักสองสามวัน ในระหว่างตอนต้น แม่ก็อยู่กับลูกชายคนโต ลูกสะใภ้ก็นั่งบ่นกับสามีว่า คุณแม่มาอยู่กับเราในเรือนเท่านั้น เหมือนกับว่าท่านแบ่งทรัพย์ให้เรานี้สองส่วน แต่ความจริงทรัพย์ที่ท่านมีอยู่ ท่านก็แบ่งให้คนอื่นไปคนละส่วน ๆ มี 14 คน ก็ได้ไปคนละเท่า ๆ กัน แต่คุณแม่ท่านก็มานั่งกินอยู่ที่บ้านเราบ้านเดียว ท่านไม่ได้แบ่งให้เราสองส่วน ถ้าให้เราสองส่วนเกินกว่าชาวบ้านเขาหนึ่งส่วน อีกส่วนหนึ่งก็ถือว่าเป็นส่วนของท่าน ท่านจะมานั่งกิน นั่งใช้อยู่กับเรา อันเป็นส่วนของท่าน ก็เป็นของไม่แปลก แต่นี่แม่แบ่งให้เราส่วนเดียวเท่าคนอื่น แต่มานั่งกินนั่งใช้กับเรา เราก็แย่ เห็นไหม แม่คนเดียวเลี้ยงลูกได้ 14 คน แต่ลูก 14 คน เลี้ยงแม่ไม่ได้
    <o:p></o:p>
    สำหรับท่านแม่ เมื่อถูกลูกสะใภ้ก็ดี ลูกชายก็ดี นั่งบ่นในทำนองเดียวกันว่า แม่ทำไมไม่ไปบ้านอื่นบ้างจ๊ะ มากินข้าวกินปลา มาใช้เงินใช้ทองที่บ้านนี้บ้านเดียว ผมก็แย่สิขอรับ ส่วนน้อง ๆ อีก 13 คนก็ได้กำไร เพราะทรัพย์สินก็ได้เท่ากัน ท่านแม่ทนเขาบ่นไม่ไหว ก็ไปบ้านลูกคนอื่น ๆ เมื่อบ้านลูกคนที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ถึงคนที่ 14 ก็พูดแบบเดียวกัน หาว่าแม่ไปเบียดเบียน
    <o:p></o:p>
    ดูเอาเถิด ท่านที่มีลูกทั้งหลายจำไว้ให้ดี คนไม่มีลูกก็อยากจะมีลูก มีลูกผู้หญิงแล้วก็อยากมีลูกผู้ชาย มีลูกผู้ชาย ก็อยากมีลูกผู้หญิง พอมีลูกขึ้นมาแล้ว ถ้าลูกดีก็เป็นบุญตัว ถึงอย่างไรพ่อแม่ก็ไม่เคยได้ทุนคืน มีแต่จะหมดไป ถ้าแกมีน้ำใจดีก็น่าคิด ถ้าไปโดยลูกอกตัญญูไม่รู้คุณแบบนี้เข้า ก็เป็นแบบนี้แหละ
    <o:p></o:p>
    เป็นอันว่า ท่านแม่ถูกดูหมิ่นจากลูกหญิงและลูกชายทั้ง 14 คน ไม่มีใครเขาต้องการท่าน ท่านจึงมานั่งคิดว่า มีประโยชน์อะไรที่เราจะมานั่งอยู่ในสำนักของคนทั้งหลายเหล่านี้ ความจริงลูกพวกนี้มันเป็นลูกอกตัญญูไม่รู้คุณเรา ก่อนที่พวกมันเกิด เราอุ้มท้องมันมาแสนที่จะยากลำบาก การคลอดทั้งทีก็เต็มไปด้วยทุกขเวทนาอย่างหนัก เวลาที่มันเป็นเด็กยังช่วยตัวมันไม่ได้ เราก็ทำทุกสิ่งทุกอย่าง นอนก็ไม่เต็มตื่น กินก็ไม่เต็มอิ่ม แสนลำบากด้วยประการทั้งปวง ด้วยความรักลูก แต่ทว่าลูกกลับสนองความรักด้วยความอกตัญญู ทรัพย์สินทั้งหลายเหล่านี้ เราสามีภรรยาสองคนหามา เจ้าพวกนี้เมื่อครองทรัพย์เข้าแล้วกลับไม่รู้คุณเรา สำหรับคนที่ไม่รู้จักคุณคน ไม่รู้จักคุณพ่อ คุณแม่ คนเนรคุณแบบนี้ เราก็ไม่น่าจะอยู่ที่นี่ จึงตัดสินใจว่า นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราจะไปบวชเป็นนางภิกษุณี
    <o:p></o:p>
    วัดเขารับของที่คนไม่ต้องการ เรียกว่าวัดไม่มีจัญไร แมว 5 หมา 6 เขาบอกว่าชาวบ้านเขาเลี้ยงมันมีจัญไร เขาก็มาปล่อยวัด คนที่เขาไม่ต้องการ ให้เข้าวัดวัดก็ไม่รังเกียจ เพราะวัดเป็นเขตอุดมมงคล
    <o:p></o:p>
    เมื่อนางคิดอย่างนี้แล้ว ก็ไปสู่สำนักของนางภิกษุณี ขอบรรพชา นางภิกษุณีทั้งหลายเหล่านั้นให้บรรพชาแล้ว นางได้อุปสมบท ปรากฎได้ชื่อว่า พหุปุตติกาเถรี แปลว่า พระเถระผู้หญิงผู้มีบุตรมาก
    <o:p></o:p>
    นางคิดว่า เราบวชในเวลาเมื่อแก่ เราก็ไม่ควรจะประมาทในชีวิต จึงทำวัตรปฏิบัติแก่นางภิกษุณีทั้งหลาย แล้วคิดว่า จักทำสมณธรรมตลอดคืน หมายความว่า เธอตั้งใจไว้ว่า ในฐานะที่เราเป็นนางภิกษุณี เมื่อเวลาบวชเข้ามาทีแรก ท่านพระอุปัชฌาย์ก็ให้กรรมฐานว่า เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ แต่สมัยนั้นเขาไม่ได้ให้กันแบบนี้ แบบนี้ สมัยนี้เขาให้กัน
    <o:p></o:p>
    เวลานั้น เวลาบวชเข้ามา พระอุปัชฌาย์ก็สอน อุปัชฌาย์ใหญ่ คือ พระพุทธเจ้า สอนให้เห็นว่า โลกเต็มไปด้วยความทุกข์ ร่างกายนี้เป็นปัจจัยของความทุกข์ คนเราทุกคนในโลกไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งแน่นอน สภาวะของโลกทั้งหมด จะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม มันมีความเกิดาขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง มีการสลายตัวไปในที่สุด
    <o:p></o:p>
    ชาติปิ ทุกฺขา ความเกิดเป็นทุกข์
    <o:p></o:p>
    ชราปิ ทุกฺขา ความแก่เป็นทุกข์
    <o:p></o:p>
    มรณมฺปิ ทุกฺขํ ความตายเป็นทุกข์
    <o:p></o:p>
    โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสาปิ ทุกฺขา ความเศร้าโศกเสียใจจากสิ่งที่เรารักเป็นทุกข์
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้น ขอให้เธอทั้งหลายจงตัดอาลัยในชีวิต คือร่างกายเสีย จงตัดความอาลัยในทุกสิ่งทุกอย่าในโลกเสียให้หมด เห็นว่า โลกเป็นปัจจัยของความทุกข์ การเกิดเป็นปัจจัยของความทุกข์ เราจะไม่เกิดต่อไป ขึ้นชื่อว่า ขันธ์ 5 มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา เราจงวางภาระขันธ์ 5 ของเราเสีย จงวางภาระขันธ์ 5 ของบุคคลอื่นเสีย จงวางวัตถุทั้งหมดเสียจากจิตใจ ถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา จงอย่ามีความผูกพันในขันธ์ 5
    <o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าเทศน์เพียงเท่านี้ นางตั้งใจฟัง และก็คิดว่า เออจริงหนอ ผัวเรารักกันจะตายก็ตายไปเสียแล้ว ลูกที่เรารักยิ่งกว่าชีวิต มันก็อกตัญญู ไม่รู้คุณเรา ทรัพย์สินที่เราหามาได้ พอแบ่งให้มันไป มันก็ถือว่าเป็นทรัพย์ของมัน ไปอยู่บ้านมัน มันก็หาว่า แย่งกินแย่งใช้ พระพุทธเจ้าท่านเทศน์จริง
    <o:p></o:p>
    เธอจึงตั้งใจว่า เราจะทำวัตรปฏิบัติกับนางภิกษุณีให้ถึงที่สุดด้วย ความกตัญญูรู้คุณที่ท่านให้อุปสมบทบรรพชา และคิดต่อไปว่า คืนนี้ทั้งคืน เราจักทำสมณธรรมตลอดคืนยังรุ่ง ถ้าไม่ได้ก็ให้มันตายไปเสีย ร่างกายจัญไรนี้ เราไม่ต้องการ เพราะเวลานี้ผัวก็ตาย ลูกก็อกตัญญูไม่รู้คุณ เราไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง ขึ้นชื่อว่าโลก ที่จะมาเป็นที่พึ่งไม่มีสำหรับเรา ขันธ์ 5 ของเราหรือร่างกายของเรามันก็กำลังจะพัง เวลานี้เราต้องการอย่างเดียว คือ ธรรมะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอน เราจะทำจิตตัดกังวลทั้งหมด คือ ไม่มีความเยื่อใยในร่างกาย ไม่มีความเยื่อใยในบุตร และธิดา ไม่มีความเยื่อใยในทรัพย์สิน ไม่มีความเยื่อใยในทุกสิ่งทุกอย่างในโลก
    <o:p></o:p>
    เมื่อเธอตัดสินใจอย่างนี้แล้ว จึงเอามือจับเสาต้นหนึ่งภายใต้ถุนกุฏิ (เขาเรียกว่าปราสาท) เดินเวียนไปตามเสา ทำสมณธรรมแบบจงกรม เพราะเป็นคนแก่ มันมืด ไม่มีแสงสว่าง ก็เอามือจับเสา คือแตะเสา แล้วเดินวนเสา เมื่อเวลาจะเดินจงกรม ก็เอามือไปจับต้นไม้ ก็คิดว่าศีรษะของเราอาจกระทบต้นไม้นี้ก็ได้ เพราะมันมืด จึงแตะต้นไม้ต้นโน้นบ้าง แตะเสาต้นนี้บ้างกัน เพราะว่าในป่าจะชนต้นไม้ตาย เดินวนไปเวียนมาอยู่อย่างนั้น ทำสมณธรรม นึกถึงพระธรรมคำสั่งสอน ด้วยคิดว่าเราจักทำตามธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว เมื่อเธอตามระลึกถึงธรรมนั้นอยู่ในขณะนั้นเอง
    <o:p></o:p>
    ลำดับนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระคันธกุฎี ทรงแผ่ฉัพพรรณรังสี รัศมี 6 ประการ มาเฉพาะหน้า เมื่อตรัสกับนางว่า พหุปุตติกา พระองค์ทรงเรียกชื่อ ความเป็นอยู่แม้ครู่เดียว ของบุคคลที่เห็นธรรมที่เราแสดงแล้ว ย่อมประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ร้อยปีของบุคคลที่ไม่นึกถึงธรรม และไม่เห็นธรรมที่เราแสดง
    <o:p></o:p>
    เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม พระองค์จึงตรัสเป็นพุทธภาษิตว่า ผู้ใดไม่เห็นธรรมอันยอดเยี่ยม พึงเป็นอยู่ร้อยปี ความเป็นอยู่เพียงวันเดียวของผู้เห็นธรรมอันยอดเยี่ยม ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของผู้นั้นเป็นไหน ๆ องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาตรัสเพียงเท่านี้ ปรากฎว่า ท่านพหุปุตติกาบรรลุพระอรหัตผล
    <o:p></o:p>
    ที่นำเรื่องนี้มาแสดงให้แก่บรรดาท่านพุทธบริษัท ก็เพื่อให้เป็นตัวอย่าง เป็นกำลังใจของท่าน เวลาที่ท่านจะเจริญสมณธรรม ประพฤติปฏิบัติในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ให้มีกำลังใจยอดเยี่ยมแบบนี้ เอาจริงเอาจัง ไม่ใช่สักแต่ว่า ทำตนเป็นผู้รู้ ทำตนเป็นนักปฏิบัติสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน แต่ว่าจิตใจของเรานั้นยังมีความผูกพันในร่างกายบ้าง มีความผูกพันในทรัพย์สินบ้าง มีความผูกพันอยู่ในคนที่เรารักบ้าง ไม่ได้หมายความว่าคู่รักเสมอไป หมายถึงคนที่เนื่องถึงกัน
    <o:p></o:p>
    ถ้าจิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทเป็นอย่างนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้ที่ไม่เข้าถึงธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนแล้ว ทังนี้ ต้องดูตัวอย่าง พหุปุตติกาเถรี ท่านผู้นี้ท่านวางทุกอย่างเอาจริงเอาจัง ที่ตัดสินใจว่า เราจะทำสมณธรรมนี้ตลอดคืนยังรุ่ง มันจะตายเสียก็ตามใจ
    <o:p></o:p>
    กำลังใจตอนนี้ ตรงกับกำลังใจขององค์สมเด็จพระชินสีห์เมื่อวันที่จะบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงตัดสินใจว่า ถ้าเราไม่บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณเพียงใด เราจะไม่ลุกจากที่นี้ เลือดและเนื้อจะเหือดแห้งไปก็ตามที ชีวิตินทรีย์จะตายไปอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นอารมณ์ตัดขันธ์ 5 ไม่มีความเยื่อใยอยู่ในขันธ์ 5
    <o:p></o:p>
    ท่านพหุปุตติกานี้ก็มีคติเช่นเดียวกัน เมื่อท่านมีคติอย่างนี้และมีอารมณ์เป็นอย่างนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงชมเชย ท่านพหุปุตติกาก็ได้บรรลุอรหัตผล<o:p></o:p>
    ฉะนั้น ขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนผู้สดับแล้วทุกท่าน ถ้าท่านคิดว่าท่านจะเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริง ๆ ให้สมกับคำว่า ท่านเป็นภิกษุ ท่านเป็นสามเณร ท่านเป็นอุบาสก ท่านเป็นอุบาสิกา ก็ขอให้ตั้งกำลังใจของท่านให้เหมือนพระพหุปุตติกาเถรีท่านนี้ ตัดความห่วงกังวล ตัดความห่วงใยใด ๆ เสียสิ้น ตัดกังวลแม้แต่ชีวิตของท่าน คิดว่าเราต้องการธรรม ธรรมเท่านั้นที่จะเป็นเหตุบันดาลความสุขให้แก่เรา
    <o:p></o:p>
    เอาละท่านทั้งหลาย สำหรับตอนนี้ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนผู้นำไปปฏิบัติทุกท่าน สวัสดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2009
  6. sean2738

    sean2738 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2008
    โพสต์:
    797
    ค่าพลัง:
    +1,754
    สร้างสมเด็จองค์ปฐมหน้าตัก 10 วา
    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=65729


    ร่วมสร้างพระชำระหนี้สงฆ์ "สมเด็จองค์ปฐม" ก้บวัดธรรมยาน

    http://palungjit.org/showthread.php?t=119095
    <!-- google_ad_section_end -->
    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนาย<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>เวรทั้งหลาย จงโมทนา ส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้า จะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด หากท่านทั้งหลายยังไม่มีโอกาสได้อนุโมทนาเพียงใด ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงเป็นสักขีพยานให้แก่ข้าพเจ้าด้วย เจอเธอเมื่อใด ขอให้เธอได้อนุโมทนาส่วนกุศลนี้ด้วยเถิด ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาตินี้ ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้า ได้เข้าถึง ซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด หากแม้นยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ขอคำว่าไม่รู้ ไม่มี ในสิ่งที่ดี จงอย่าได้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าเลย ขอผลบุญทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้า ได้กระทำแล้ว จงบังเกิดผล ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด<O:p</O:p<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
  7. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    ขออนุโมทนาสาธุธรรม เป็นอย่างสูง ครับ<O:p</O:p
     
  8. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ

    เชิญแวะอ่านธรรมะของหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ที่
    เฟสบุ๊ค ศูนย์พุทธศรัทธา
    และร่วมกันแบ่งปันธรรมะของหลวงพ่อฯ ไปยังกระดานของท่านเพื่อเป็นธรรมทาน

    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O[​IMG]
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O[​IMG]
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่www.tangnipparn.com<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p>
     
  9. Chang_oncb

    Chang_oncb ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    12,276
    ค่าพลัง:
    +80,019
    [​IMG]

    กราบโมทนา สาธุ ท่านผู้มีใจบุญใจกุศล เสียสละเวลาหาบทความ นำบทความที่ดี มีสาระประโยชน์ ให้ผู้อ่านได้ศึกษา อันก่อให้เกิดปัญญาในการพิจารณา เมื่อปัญญาพิจารณาแล้ว จิตจะเป็นผู้กำหนด เป็นผู้เลือกความถูกต้อง ถือว่าเป็น จาคะ คือการให้และการให้นั้น ให้ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน อีกทั้ง ถือว่าการให้นั้น เป็นธรรมทาน เป็นบุญใหญ่ สมดั่งพระธรรมคำสั่งสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตอบปัญหาท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพยดา ปรากฏใน ตัณหาวรรค ธรรมบท ว่า “การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง ผู้ใดให้ธรรมะเป็นทาน ผู้นั้นชื่อว่าให้พระนิพพานแก่คนทั้งหลาย“ ขอโมทนาสาธุ
     
  10. kunchan

    kunchan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2011
    โพสต์:
    130
    ค่าพลัง:
    +163
    กราบอนุโมทนาด้วยความเคารพเป็นอย่างสูงยิ่งด้วยคนครับ.
     

แชร์หน้านี้

Loading...