บุคคลโสดาบัน ตามนัยพุทธพจน์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 20 มิถุนายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสเน้นถึงคุณค่าและความสำคัญของความเป็นโสดาบันอย่างมากมาย ดังจะทรงเร่งเร้าให้เวไนยชนหันมาสนใจภูมิธรรม หรือระดับชีวิตขั้นนี้อย่างจริงจัง และยึดเอาเป็นเป้าหมายของการดำรงอยู่ในโลก เช่น ตรัสว่า การบรรลุโสดาปัตติผล ดีกว่าการได้ไปสวรรค์ ประเสริฐกว่าการได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ประเสริฐกว่าการได้ฌานสมาบัติ ศาสดาผู้นำศาสนาที่มีสาวกมากมาย เป็นผู้ปราศจากกามราคะด้วยกำลังเจโตวิมุตติ ประกอบด้วยกรุณาคุณ สั่งสอนลัทธิเพื่อเข้ารวมกับพรหม ทำให้สาวกไปสวรรค์ได้มากมาย นับว่าเป็นผู้ประเสริฐมากอยู่แล้ว แต่บุคคลผู้โสดาบัน แม้มีกามราคะอยู่ ก็ประเสริฐยิ่งกว่าศาสดาเหล่านั้น * (ดู องฺ.ฉกฺก.22/325/415-418)

    ขอยกพุทธพจน์ในธรรมบทมาอ้าง เป็นตัวอย่าง

    เลิศล้ำ เหนือความเป็นเอกราชบนผืนปฐพี ดีกว่าการไปสู่สรวงสวรรค์ ประเสริฐกว่าสรรพโลกาธิปัตย์ คือ ผลการตัดถึงกระแสแห่งโพธิธรรม (โสดาปัตติผล) (ขุ.ธ.25/23/39)


    บุคคลโสดาบันนี้ มีความมั่นคงในคุณธรรมโดยสมบูรณ์ แม้จะประสบสภาพไม่เกื้อกูลทางวัตถุมากสักเท่าใด ความมั่นใจในคุณธรรมก็ไม่มีทางเสื่อมถอย เมื่อได้มองเห็นเหตุผลแห่งธรรมประจักษ์แล้ว เมื่อเดินอยู่ในทางแห่งความดีงามถูกต้องแล้ว ก็ไม่อาจมีผู้ใด แม้แต่เทวดา จะมาชักจูงให้เขวออกไปได้ และไม่ว่าจะด้วยเครื่องล่ออย่างใด เรียกอย่างสมัยใหม่ก็คงว่า มีความเข้มแข็งทางจริยธรรมเต็มที่

    ในหลักการนี้ พระอรรถกถาจารย์ ยกเรื่องอนาถบิณฑิกเศรษฐีขึ้นเป็นตัวอย่าง (ธ.อ.5/9 ชา.อ. 1/338) ให้เห็นว่า บุคคลโสดาระดับนี้ จะเดินแน่วอยู่ในทางของความดีงาม ไม่ยอมอยู่ใต้อิทธิพลแม้ของเทวดา เป็นผู้ที่เทพเจ้าไม่อาจล่อ หรือบังคับข่มขี่ได้ แต่ตรงข้าม กลับเป็นผู้ที่เทพทั่วไปจะต้องยอมปราชัย และเคารพบูชา
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    บุคคลโสดาบันตามนัยพุทธพจน์

    เพื่อเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับบุคคลโสดาบันที่ถือว่าสำคัญ ขอนำบาลีที่น่าสนใจเกี่ยวกับพระโสดาบันมาแสดงไว้บางส่วน ดังนี้

    ก) คำเรียก คำแสดงคุณลักษณะ และไวพจน์ต่างๆ ของบุคคลโสดาบัน

    - พระพุทธเจ้า : สารีบุตร พูดกันว่า โสดา โสดา (กระแส) โสดาเป็นอย่างไร ?

    พระสารีบุตร: พระองค์ผู้เจริญ มรรค มีองค์ ๘ อันอริยนี้แล เป็นโสดา กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

    พระพุทธเจ้า: ถูกละๆ สารีบุตร ฯลฯ พูดกันว่า โสดาบัน โสดาบัน โสดาบันเป็นอย่างไร ?

    พระสารีบุตร: พระองค์ผู้เจริญ ผู้ใดประกอบด้วยมรรค มีองค์ ๘ อันอริยนี้ ผู้นี้เรียกว่า เป็นโสดาบัน โสดาบันนั้น (เรียกขานกันได้ว่า) ท่านที่ชื่อนี้ โคตรนี้ (นามสกุลนี้)

    พระพุทธเจ้า : ถูกละๆ สารีบุตร ฯลฯ (สํ.ม.19/1930-1933/434-5)

    ......

    สัมมา โดยชอบ, ดี, ถูกต้อง, ถูกถ้วน สมบูรณ์, จริง, แท้ ตรงข้ามกับ มิจฉา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2017
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    - “อริยสาวกผู้นี้ จะเรียกว่า ทิฏฐิสัมบัน (ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ มีสัมมาทิฏฐิสมบูรณ์) ก็ได้ ทัสสนสัมบัน (ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะ คือ มีสัมมาทิฏฐิสมบูรณ์) ก็ได้ ผู้มาถึงสัทธรรมนี้แล้ว ก็ได้ ผู้เห็นสัทธรรมนี้ ก็ได้ ผู้ประกอบด้วยเสขญาณ ก็ได้ ผู้ประกอบด้วยเสขวิชชา ก็ได้ ผู้ลุธรรมโสต (ถึงกระแสธรรม) ก็ได้ อริยชนผู้มีปัญญาที่จะเจาะสัจธรรมได้ ก็ได้ ผู้ยืนชิดอมฤตทวาร (อยู่ติดประตูอมตะ) ก็ได้ (สํ.นิ.16/90/51; 122/69 ; 182,187/94-95)

    “อริยสาวกผู้มีสุตะ ผู้ได้พบเห็นอริยชน ผู้ฉลาดในอริยธรรม ฝึกดีแล้ว (สุวินิต) ในอริยธรรม ผู้ได้พบเห็นสัตบุรุษ ฉลาดในสัปปุริสธรรม ฝึกดีแล้วในสัปปุริสธรรม (ม.มู.12/12/15; 281/271; 507/548; 522/563)

    “ผู้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งธรรมทั่วหมดแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว หมดข้อที่จะต้องถาม (หรือปราศจากข้อเคลือบแคลง) ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อคนอื่นในคำสอนของพระศาสดา” (มักกล่าวต่อจากผู้นั้น ได้ธรรมจักษุ เช่น วินย.4/18/23;27/32...)

    บางแห่งข้อความต่างไปจากนี้เล็กน้อย เป็น

    “ผู้ทำตามคำสอน (สาสนกร คือทำถูกต้องตามคำสอนแท้จริง) ปฏิบัติตรงต่อโอวาท ข้ามความสงสัยได้แล้ว...ในคำสอนของพระศาสดา” (ม.มู.12/401/433..(รวมถึงพระสกทาคามีด้วย)

    และบางแห่งยังต่างไปจากเล็กน้อย เป็น

    “ผู้ได้ที่หยั่ง ได้ที่ตั้งตัว ได้ความโล่งใจ (หรือเบาใจ หายทุกข์ร้อนกังวล) ในธรรมวินัยนี้ ข้ามความสงสัยได้...ในคำสอนของพระศาสดา” (องฺ.ฉกฺก. 22/287/332)

    “อริยสาวก ผู้มีผลมาแล้ว (ผู้บรรลุธรรม) ผู้รู้ศาสนาแจ้งชัด” (วินย.1/634/434...)

    “ผู้ถึงความแน่ใจในตถาคต เป็นผู้เห็นอมตะ ประจักษ์แจ้งอมตธรรม” (องฺ.ฉกฺก.22/395-6/501)

    “เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา (ไม่มีทางตกต่ำ) เป็นผู้แน่นอนแล้ว เดินหน้าสู่ความตรัสรู้” (วินย.1/8/17 ฯลฯ)
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ข) คุณสมบัติทั่วไป

    (ตรัสกะอนาถบิณฑิกคฤหบดี) : ดูกรคฤหบดี เมื่อใด อริยสาวกมีภัย ๕ ประการระงับแล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ และได้เห็น ได้เข้าใจปรุโปร่งเป็นอย่างดีด้วยปัญญา ซึ่งอริยญายธรรม, อริยสาวกนั้น เมื่อประสงค์ ก็พึงพยากรณ์ตนด้วยตัวเองว่า เราเป็นผู้สิ้นนรก สิ้นกำเนิดดิรัจฉาน สิ้นเปรตวิสัย สิ้นอบายทุคติวินบาตแล้ว เราเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้แน่นอนแล้ว เดินหน้าสู่การตรัสรู้

    ๑. ระงับภัยเวร ๕ ประการ เป็นไฉน ?

    ภัยเวรปัจจุบัน ก็ดี เบื้องหน้า ก็ดี ที่นักทำลายชีวิตจะได้ประสบ ทุกข์โทมนัสทางใจ ที่เขาจะได้เสวยเพราะการทำลายชีวิตเป็นปัจจัย ภัยเวรนั้น เป็นอันระงับแล้ว สำหรับผู้งดเว้นจากปาณาติบาต

    ภัยเวรปัจจุบัน ก็ดี เบื้องหน้า ก็ดี ที่นักลักทรัพย์จะได้ประสบ ....เป็นอันระงับแล้ว สำหรับผู้งดเว้นจากอทินนาทาน

    ภัยเวรปัจจุบัน ก็ดี เบื้องหน้า ก็ดี ที่นักประพฤติผิดในกามจะได้ประสบ ....เป็นอันระงับแล้ว สำหรับผู้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร

    ภัยเวรปัจจุบัน ก็ดี เบื้องหน้า ก็ดี ที่นักพูดเท็จจะได้ประสบ ....เป็นอันระงับแล้ว สำหรับผู้งดเว้นจากมุสาวาท

    ภัยเวรปัจจุบัน ก็ดี เบื้องหน้า ก็ดี ที่นักดื่มสุราและเมรัยฯ จะได้ประสบ ....เป็นอันระงับแล้ว สำหรับผู้งดเว้นจากสุราเมรัย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2017
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ๒. ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ เป็นไฉน ?

    อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญา ในพระพุทธเจ้าว่า โดยเหตุผลดังนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระอรหันต์ เป็นสัมมาสัมพุทธะ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นนักฝึกคนที่ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวะและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เบิกบานแล้ว เป็นพระผู้ทรงเจริญ

    เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญา ในพระธรรมว่า ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะเห็นชัดได้ด้วยตนเอง ไม่ขึ้นกับกาล ชวนเชิญให้มาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว วิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน

    เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญา ในพระสงฆ์ว่า สงฆ์หมู่สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ คู่แห่งบุรุษ ๔ นับเรียงตัวบุคคลเป็น ๘ สงฆ์หมู่สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาถวาย เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขาอุทิศบูชา เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก

    เป็นผู้ประกอบด้วยด้วยศีลทั้งหลาย ที่อริยชนชื่นชม (อริยกันตศีล) ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท วิญญูชนสรรเสริญ ไม่มีอะไรเคลือบแฝง * เป็นไปเพื่อสมาธิ
    .......


    ที่อ้างอิง *
    *คำบาลีว่า อปรามฏฺฐ ว่าตาม ที.อ.2/177 องฺ.อ. 3/114 วินย.ฎีกา.4/473 ฯลฯ แปลได้ ๒ อย่าง นัยหนึ่งว่า ใครๆปรามาสมิได้ คือ ไม่มีข้อผิดพลาดบกพร่องที่ใครจะดูถูกหรือเอาเรื่องได้ อีกนัยหนึ่ง แปลว่า ไม่ถูกลูบคลำ คือไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิจับฉวยลูบคลำ ให้มัวหมองไปเสีย คงบริสุทธิ์อยู่ ประพฤติไปตามหลักการและความมุ่งหมายของศีลนั้นๆ ไม่ประพฤติอย่างเคลือบแฝง หรือมีเบื้องหลัง เช่น หวังจะได้ผลประโยชน์ จะได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นต้น ; ศีลที่ประพฤติได้อย่างนี้ เป็นศีลที่พระอริยะชื่นชม หรืออริยชนยอมรับ คือเป็นอริยกันตศีล ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นเลิศ หรือสูงสุดกว่าศีลทั้งปวง (องฺ.ปญฺจก.22/32/38)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2017
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ๓. ได้เห็นได้เข้าใจปรุโปร่งเป็นอย่างดีด้วยปัญญา ซึ่งอริยญายธรรม เป็นไฉน ?

    อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ ย่อมโยนิโสมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างดี ดังนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ กล่าวคือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีได้ด้วยประการฉะนี้ เพราะอวิชชานั่นเอง สำรอกดับไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้


    เมื่อใด อริยสาวกมีภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ ระงับแล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้ และได้เห็นได้เข้าใจปรุโปร่งเป็นอย่างดีด้วยปัญญา ซึ่งอริยญายธรรมนี้ อริยสาวกนั้น เมื่อประสงค์ พึงพยากรณ์ตนได้ด้วยตัวเองว่า ... เราเป็นโสดาบัน ... เดินหน้าสู่การตรัสรู้


    บรรดาเครื่องวัดตัว ๓ หมวดนี้ โสตาปัตติยังคะ (เรียกง่ายๆว่า องค์ของโสดาบัน) เป็นคุณสมบัติโดยตรงของบุคคลโสดาบัน

    ส่วนอีก ๒ หมวด เป็นเหตุเป็นผลของคุณสมบัตินั้น กล่าวคือ อริยญายธรรม (ปฏิจจสมุปบาท) เป็นเหตุของ โสตาปัตติยังคะ เพราะเมื่อมีปัญญาใจกฎธรรมดาแล้ว ก็ทำให้ศรัทธามีเหตุผลแน่นแฟ้น ทำให้ศีลบริสุทธิ์ตรงหลักการและความมุ่งหมายของมัน

    ส่วนหมวดแรก คือการระงับภัยเวรทั้ง ๕ นับว่าเป็นผล เพราะเมื่อมีศรัทธา มีศีลถึงขั้นนี้แล้ว ภัยเวรเหล่านั้นก็เป็นอันหมดไป

    ด้วยเหตุนี้ โดยทั่วไป ในบาลีส่วนมาก จะกล่าวถึงโสตาปัตติยังคะแต่ลำพังหมวดเดียว โดยฐานเป็นคุณสมบัติประจำตัวของบุคคลโสดาบัน เช่น ตรัสว่า

    “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ประกอบด้วยธรรม ๔ อย่าง ย่อมเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา คือ อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสหยั่งลงมั่นด้วยปัญญา ในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม...ในพระสงฆ์...ประกอบด้วยศีลทั้งหลายที่อริยชนชื่นชม...เป็นไปเพื่อสมาธิ” (สํ.ม.19/1414/429...)


    โสตาปัตติยังคะ ๔ นี้ บางแห่งเรียกว่า ธัมมาทาส แปลว่า แว่นส่องธรรม หรือกระจกเงาสำหรับส่องสำรวจคุณสมบัติตนเองของบุคคลโสดาบัน (ที.ม.10/89/110...)
    บางแห่งเรียกว่า เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล และอาหารของความสุข (สํ.ม.19/1584-6/493-4 ฯลฯ)
    บางแห่งเรียกว่า ทิฏฐธรรมสุขวิหาร (ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน หรือธรรมเป็นที่พักใจให้เป็นสุขทันตาเห็น) ทางจิตอย่างสูง (องฺ.ปญฺจก.22/179/236)
    บางแห่งกระจายศีลออกเป็น กายสุจริต ๓ วิจีสุจริต ๔ รวมเรียกว่าสัทธรรม ๗ และเรียกโสตาปัตติยังคะว่า อากังขิยฐาน ๔ (สํ.ม.19/1459-1467/443-6)
    บางแห่งแยกแยะละเอียดออกไปเป็น ๑๐ ข้อ คือกระจายออกในรูปของสัมมัตตะ ๑๐ (ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ กับ สัมมาญาณ และสัมมาวิมุตติ) (สํ.ม.19/1554-1567/481-484)

    โสตาปัตติยังคะ ๔ ที่เป็นคุณสมบัติของบุคคลโสดาบันนี้ ท่านแสดงไว้อีกชุดหนึ่ง สามข้อแรกเหมือนกับชุดที่แสดงมาแล้ว เปลี่ยนแต่ข้อที่ ๔ คือ ศีล เป็นจาคะ ดังนี้

    “อริยสาวก ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นโสดาบัน...คือ...เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสหยั่งลงมั่นด้วยปัญญา ในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม...ในพระสงฆ์...อยู่ครองเรือนด้วยใจปราศจากมลทิน คือมัจฉริยะ มีจาคะอย่างเปิดใจ มือสะอาด ยินดีในการสละ ใส่ใจในคำร้องขอ ยินดีในการให้การแบ่งปัน” และมีข้อความเสริม ซึ่งอาจใช้แทนข้อความข้างต้นนั้นได้ว่า “สิ่งของที่ควรจะให้ได้ ไม่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใด เท่าที่มีในสกุล อริยสาวกนั้น เฉลี่ยแบ่งปันกับคนมีศีลมีกัลยาณธรรม ได้ทั้งหมด” (สํ.ม.19/1452/440 ฯลฯ)
     
  7. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ถ้ามองการปฏิบัติเปรียบเป็นฐานข้อมูลหนึ่ง
    คล้ายๆบทความข้างบนที่นำมาลงนะครับ...
    บุคคลที่จะเป็นระดับนี้ได้จะต้องมีนิสัย
    เริ่มจากการเป็นผู้ฟังที่ดีก่อนครับ...
    ชื่อของระดับนี้ มีนัยยะซ่อนเร้นในทางปฏิบัติอยู่ครับ
    ลองสังเกตุให้ดีๆ..จะเข้าใจครับ..
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สรุปคุณสมบัติทั้งหมดเท่าที่แสดงมา รวมอยู่ใน ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา

    ดังนั้น จึงมีพุทธพจน์ตรัสแนะนำอยู่เสมอ ให้อริยสาวก และอริยสาวิกาสร้างเสริมคุณธรรม ๕ ประการนี้ และใช้ธรรมเหล่านี้เป็นหลักวัดความเจริญของอริยสาวก ทั้งนี้ มิใช่เฉพาะอริยสาวกและอริยสาวิกาที่เป็นโสดาบันขึ้นไปเท่านั้น แม้ผู้ที่เป็นปุถุชนที่จะก้าวหน้าไปเป็นอริยชน ก็ได้รับคำแนะนำ และใช้เป็นหลักวัดอย่างเดียวกัน ดังพุทธพจน์ว่า

    “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเจริญด้วยความเจริญ ๕ ประการ ชื่อว่าเจริญด้วยอารยวัฒิ เป็นผู้ถือเอาสาระ ยึดเอาส่วนประเสริฐของร่างกายไว้ได้ กล่าวคือ เจริญด้วยศรัทธา...ศีล...สุตะ...จาคะ...ปัญญา


    ผู้ใดเจริญด้วยศรัทธา และศีล กับทั้งสุตะ จาคะ และปัญญา ผู้เช่นนั้น นับเป็นสัตบุรุษผู้ปรีชา ย่อมถือเอาสาระในโลกนี้ไว้แก่ตนได้


    “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวิกา เจริญด้วยความเจริญ ๕ ประการ ชื่อว่าเจริญด้วยอารยวัฒิ เป็นผู้ถือเอาสาระ ยึดเอาส่วนประเสริฐของร่างกายไว้ได้ กล่าวคือ เจริญด้วยศรัทธา...ศีล...สุตะ...จาคะ...ปัญญา


    สตรีใดเจริญด้วยศรัทธา และศีล กับทั้งสุตะ จาคะ และปัญญา สตรีเช่นนั้น เป็นอุบาสิกาผู้มีศีล ย่อมถือเอาสาระในโลกนี้ไว้แก่ตนได้” (องฺ.ปญฺจก.22/63-64/91-92 ฯลฯ)


    - “ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา และศีล กับทั้งสุตะ จาคะ และปัญญา เธอมีความคิดว่า ถ้ากระไร โดยทำอาสวะทั้งหลายให้สิ้นไป เราพึงประจักษ์แจ้ง แล้วเข้าถึงด้วยความรู้ยิ่งเองในปัจจุบันนี้ทีเดียว ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ ภิกษุนั้น โดยทำอาสวะทั้งหลายให้สิ้นไป ก็จะประจักษ์แจ้ง เข้าถึงอยู่ ด้วยความรู้ยิ่งเอง ในปัจจุบันนี้ทีเดียว ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้” (ม.อุ.14/332/225 – ความตอนต้นของสูตรนี้ คือ 319-331/216-224 บรรยายว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างนี้ หากปรารถนาจะไปเกิดในสวรรค์ หรือพรหมภพชั้นใด ก็สำเร็จได้ทั้งสิ้น )


    ถึงจะยังไม่บรรลุเอง เพียงรำลึกถึงคุณธรรมเหล่านี้ของท่านผู้อื่น ก็ทำให้สุขสบายใจ และจูงใจตนให้มีกำลังใจปฏิบัติต่อไป ดังบาลีว่า

    “ภิกษุณีสดับข่าว่า ภิกษุณีชื่อนี้ ถึงมรณภาพแล้ว พระผู้มีพระภาคพยากรณ์เธอว่า ดำรงแล้วในอัญญา (คืออรหัตผล) ภิกษุณี (ผู้สดับข่าว) ได้เห็นเอง หรือได้ยินต่อกันมาก็ตามว่า ภคินีท่านนั้น เป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ มีวิหารธรรม (คุณธรรมที่เป็นความประพฤติประจำตัว) อย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นอย่างนี้ ภิกษุณีนั้น เมื่อรำลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของภคินีท่านนั้นอยู่ ก็จะน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น แม้โดยวิธีนี้ ผาสุวิหาร (ความอยู่สำราญ) ก็จะมีแก่ภิกษุณีได้” (ม.ม.13/200/209 – ในสูตรนี้ กล่าวครบหมดทั้ง ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ตั้งแต่สดับของพระอรหันต์ ลงมาจนถึงพระโสดาบัน ในที่นี้ ยกมาแสดงเป็นตัวอย่าง ดู 13/199-202/207-213)


    - “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญ แม้แต่ความคงอยู่กับที่ ในกุศลธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปใย ถึงความเสื่อมถอย ในกุศลธรรมทั้งหลาย เราสรรเสริญแต่ความก้าวหน้า ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่สรรเสริญความคงอยู่กับที่ ไม่สรรเสริญความเสื่อมถอย


    อย่างไร เป็นความเสื่อมถอย ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เป็นความคงที่ ไม่เป็นความก้าวหน้า ? ภิกษุมีคุณธรรมเท่าใด โดยศรัทธา โดยศีล โดยสุตะ โดยจาคะ โดยปัญญา โดยปฏิภาณ ธรรมเหล่านั้น ของเธอ ไม่คงอยู่ ไม่เจริญขึ้น นี้เราเรียกว่าความเสื่อมถอย ในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความคงอยู่ มิใช่ความเจริญก้าวหน้า...

    อย่างไร เป็นความคงอยู่กับที่ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ? ภิกษุมีคุณธรรมเท่าใด โดยศรัทธา ... โดยปฏิภาณ ธรรมเหล่านั้นของเธอ ไม่ลด ไม่เพิ่ม...

    อย่างไร เป็นความก้าวหน้า ในกุศลธรรมทั้งหลาย ? ภิกษุมีคุณธรรมเท่าใด โดยศรัทธา ... โดยปฏิภาณ คุณธรรมเหล่านั้นของเธอ ไม่หยุดอยู่ ไม่ลดลง...(องฺ.ทสก.24/53/101)
    ……

    อริยสาวก แปลว่า สาวกของพระพุทธเจ้าผู้เป็นอริยะ มิใช่แปลว่า สาวกผู้เป็นอริยะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2017
  9. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035

    ตัวสีน้ำเงินขีดเส้นใต้ข้างบนนี้
    ถ้าใครได้เข้ามาอ่าน ให้ท่านลืมการแปลแบบนี้
    การตีความหมายแบบนี้ ให้ท่านลืมไปเลยว่า
    เคยมีอยู่ระบบสุริยะจักรวาลนี้ครับ


    แล้วให้มาอ่านข้างล่างก่อน
    แล้วให้ท่าน พึ่งใช้ปัญญาในการ
    พิจารณาให้ดีๆ




    อริ แปลว่า ศัตรู

    ยะ แปลว่า ห่างไกลจากกิเลส..

    ลาภ ยศ สุข สรรเสริญไม่ใช่กิเลสนะครับ

    เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วภายนอกเป็นปกติ

    โลภะ โทสะ โมหะ ในจิตเรา

    ที่มันไปดึง ลาภ ยศ สุข สรรเสริญเข้ามา

    จนเป็นตัวเราเองตรงนี้ คือ กิเลสครับ....


    ส่วนจะไปต่อคำอย่างไร....

    ควรดูที่ประเด็นทางด้านกิริยาทางจิตเป็นหลัก
    ถึงจะพอเรียกได้ว่า เป็นนักปฏิบัติได้บ้าง...



    อริยะสาวก แปลแบบบ้านๆทางกิริยา

    ก็คือ สาวกของผู้เป็นเลิศทั้ง ๓ ภพนั่นหละครับ

    แต่ที่เรียกว่า อริยะก็เพราะตัวจิตท่าน ห่างไกล

    จากกิเลสนั่นเองครับ..


    ส่วนสาวกผู้เป็นอิรยะ ทางกิริยาก็คือ สาวกที่จิตท่าน

    ห่างไกลจากกิเลสเช่นกันนั้นหละครับ


    ทางกิริยามันคือ ตัวจิตแบบเดียวกัน...


    ส่วน พระพุทธเจ้าฯ ไม่ว่าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งก็ตาม

    ทางกิริยา เราจะไม่เรียกว่า จิตท่านห่างไกลจากกิเลสครับ

    และจะไม่มีใครเรียกว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นอริยะครับ

    มันห่างไกลกันหลายล้านปีแสงทางด้านกิริยาครับ



    ในทางปฏิบัติ หรือแม้แต่ภาคส่วนภพภูมิ

    จะเรียกดวงจิต ระดับพระพุทธเจ้าว่า

    '' ผู้ไม่มีกิเลสครับ ''

    ไม่ใช่ผู้ห่างไกลจากกิเลสนะครับ

    มันคนระดับกัน แตกต่างๆกันอย่างมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


    โปรดเข้าใจเอาไว้ด้วย


    เพราะระดับสูงๆ ที่อยู่ชั้นสูงๆ ก็เรียกว่า

    ห่างไกลกิเลสได้หมดนั้นหละครับ

    ระดับพระพุทธเจ้าฯ คือ ไม่มีกิเลสครับ...

    ห่างไกลจากกิเลส
    กลับ ไม่มีกิเลส...

    มันคนละระดับกัน
    แตกต่างกันมากๆๆๆๆๆๆ นะครับ...
    ไม่งั้น พระพุทธเจ้าฯ
    ท่านจะได้รับการยอมรับจาก
    ทั้ง ๓ ภพได้อย่างไร
    หรือได้รับ การยกย่องว่า
    ผู้เป็นเลิศทั้ง ๓ ภพได้อย่างไร
    ถ้าเป็นเพียงแค่ พระพุทธเจ้าผู้เป็นอริยะ

    เข้าใจตรงกันนะครับ...
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เป็นพระคุณอย่างสูง สุดยอดขอรับ เข้าใจตรงกันแล้วครับ :p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2017
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    นำศัพท์ตระกูลอริยะพร้อมความหมายเทียบให้พินา


    อริ ข้าศึก, ศัตรู, คนที่ไม่ชอบกัน


    อริยะ เจริญ, ประเสริฐ, ผู้ไกลจากข้าศึกคือกิเลส, บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น


    อริยกะ คนเจริญ, คนประเสริฐ, คนได้รับการศึกษาอบรมดี, เป็นชื่อเรียกชนชาติหนึ่งที่อพยพจากทางเหนือเข้าไปในอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาล ถือตัวว่าเป็นพวกเจริญ และเหยียดพวกเจ้าถิ่นเดิมลงว่าเป็นมิลักขะ คือพวกคนป่าคนดอย, พวกอริยกะอพยพเข้าไปในยุโรปด้วย คือ พวกที่เรียกว่า อารยัน

    อริยกชาติ หมู่คนที่ได้รับการศึกษาอบรมดี, พวกที่มีความเจริญ, พวกชนชาติอริยกะ

    อริยชาติ "เกิดเป็นอริยะ" คือ บรรลุมรรคผล กลายเป็นอริยบุคคล เปรียบเหมือนเกิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการเปลี่ยนจากปุถุชนเป็นพระอริยะ, อีกอย่างหนึ่งว่า ชาติอริยะ หรือชาวอริยะ ซึ่งเป็นผู้เจริญในทางพระพุทธศาสนา หมายถึงถึงผู้กำจัดกิเลสได้ ซึ่งชนวรรณะไหน เผ่าไหน ก็อาจเป็นได้ ต่างจากอริยชาติ หรืออริยกชาติที่มีมาแต่เดิม ซึ่งจำกัดด้วยชาติ คือ กำเนิด

    อริยสาวก 1. สาวกผู้เป็นพระอริยะ, สาวกผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น 2. สาวกของพระอริยะ (คือของพระพุทธเจ้าผู้เป็นอริยะ)


    อริยสัจ, อริยสัจจ์ ความจริงอย่างประเสริฐ, ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำคนให้เป็นพระอริยะ มี ๔ อย่าง ฯลฯ

    อริยมรรค ทางอันประเสริฐ, ทางดำเนินของพระอริยะ, ญาณอันให้สำเร็จความเป็นพระอริยะ มี ๔ ฯลฯ


    อริยผล ผลอันประเสริฐ มี ๔ ขั้น ฯลฯ


    อริยทรัพย์ ทรัพย์อันประเสริฐเป็นของติดตัว อยู่ภายในจิตใจ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เช่น เงินทอง เป็นต้น เพราะโจรหรือใครๆ แย่งชิงไม่ได้ และทำให้เป็นคนประเสริฐอย่างแท้จริง มี ๗ คือ ๑. ศรัทธา ๒. ศีล ๓ หิริ ๔. โอตัปปะ ๕. พาหุสัจจะ ๖. จาคะ ๗. ปัญญา


    อริยวัฑฒิ, อริยาวัฒิ, อารยวัฒิ ความเจริญอย่างประเสริฐ, หลักความเจริญของอารยชน, ความเจริญงอกงามที่ได้สาระสมเป็นอริยสาวก อริยสาวิกา มี ๕ คือ

    ๑. ศรัทธา ความเชื่อมีเหตุผล ความมั่นใจในพระรัตนตรัย ในหลักแห่งความจริงความดีงาม และในการที่จะทำกรรมดี

    ๒. ศีล ความประพฤติดี มีวินัย เลี่้ยงชีพสุจริต

    ๓. สุตะ ความรู้หลักธรรมคำสอนและใฝ่ใจเล่าเรียนสดับฟังศึกษาหาความรู้

    ๔. จาคะ ความเผื่อแผ่เสียสละ มีน้ำใจและใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังและร่วมมือ ไม่คับแคบเอาแต่ตัว

    ๕. ปัญญา ความรอบรู้ รู้คิด รู้พิจารณา เข้าใจเหตุผล มองเห็นโลกและชีวิตตามเป็นจริง


    อารยะ คนเจริญ, คนมีอารยธรรม, พวกชนชาติอริยกะ (ตรงกับบาลีว่า อริยะ แต่ในภาษาไทยใช้ในความหมายต่างกัน)

    อารยชน คนที่เจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดีงาม, คนมีอารยธรรม


    อารยธรรม ธรรมอันดีงาม, ธรรมของอารยชน, ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดีงาม, ในทางธรรม หมายถึง กุศลกรรมบถ ๑๐


    อริยบุคคล บุคคลผู้เป็นอริยะ ท่านผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น

    อริยปริเยสนา การแสวงหาที่ประเสริฐ คือ แสวงหาสิ่งที่ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งชาติชรามรณะ หรือกองทุกข์ โดยความได้แก่แสวงหาโมกขธรรมเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์, ความหมายอย่างง่าย ได้แก่ การแสวงหาในทางสัมมาชีพ

    อริยวงศ์ ปฏิปทาที่พระอริยบุคคลผู้เป็นสมณะ ปฏิบัติสืบกันมาไม่ขาดสาย, อริยประเพณี มี ๔ ฯลฯ
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อริยทรัพย์ ๗ อย่าง

    สทฺธาธนํ สีลธนํ - หิรี โอตฺตปฺปิยํ ธนํ
    สุตธนญฺจ จาโค จ - ปญฺญา เว สตฺตธนํ
    ยสฺส เอตา ธนา อตฺถิ - อิตฺถิยา ปุริสฺส วา
    อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ - อโมฆํ ตสฺส ชีวิตํ.



    ทรัพย์เหล่านี้ คือ ทรัพย์ คือ ศรัทธา ๑ ทรัพย์ คือ ศีล ๑ ทรัพย์ คือ หิริ ๑ ทรัพย์ คือ โอตตัปปะ ๑ ทรัพย์ คือ สุตะ ๑ ทรัพย์ คือ จาคะ ๑ ปัญญาแลเป็นทรัพย์ที่ ๗ ย่อมมีแก่ผู้ใด จะเป็นหญิงก็ตาม เป็นชายก็ตาม บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลนั้นว่า เป็นผู้ไม่ขัดสน ชีวิตของเขาไม่ว่างเปล่า.
     
  13. เราโตมาคนละแบบ

    เราโตมาคนละแบบ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2017
    โพสต์:
    729
    ค่าพลัง:
    +197
    ไอ้เพ้อเจ้อ..ไม่ยอมเรียนรู้ตำราที่ถูกต้อง - เอาแต่ตำราพระไตรปิฏก ฉบับที่ผิดๆมาเสนอ ขนาดพระสูตรมันยังแต่งเองขึ้นใหม่เลย ในพระไตรปิฏกฉบับปัจจุบันนี่ ..
    อย่ามาถามนะพระสูตรไหน เล่มไหน ไปหาดูเอาเอง เรื่อง..การทำน้ำมนต์นะใบ้ให้..มาจากดินเมื่อไหร่จะหายบ้า เพ้อเจ้อ ..ตั้งกะทู้คนเดียวทั้งบอร์ดแล้ว ไปพบจิตแพทย์มั่งนะ ระวัง การถ่ายโอนทางอารมณ์ให้ดี.. โรคนี้รักษายากส์์ อิอิ
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    หวัดดีเราจะโต หายไปไหนตั้งนาน เพิ่งโผล่มาเนี่ย

    การทำน้ำมนต์นะใบ้ให้

    น้ำมนต์ เป็นไงอ่ะ เวลาทำบุญ ก็เห็นเขาตั้งบาตรทำน้ำมนต์อ่ะนะ

    มาจากดินเมื่อไหร่จะหายบ้า เพ้อเจ้อ ..ตั้งกะทู้คนเดียวทั้งบอร์ดแล้ว ไปพบจิตแพทย์มั่งนะ ระวัง การถ่ายโอนทางอารมณ์ให้ดี.. โรคนี้รักษายากส์์ อิอิ

    วางตัวลำบากจริงๆตั้งกท.ก็ว่าบ้า ก็ตั้งๆกันมาสิครับ สมช.เยอะแยะ เออ จะได้มีหลายๆคน จะบ้ากันหรือยังไง ปล่อยให้ มจด. ตั้งอยู่คนเดียว



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มิถุนายน 2017

แชร์หน้านี้

Loading...