บุญฤทธิ์ --ฤทธิ์ที่ทุกคนสร้างได้ง่ายๆ

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 27 ธันวาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]



    บุญฤทธิ์ --ฤทธิ์ที่ทุกคนสร้างได้ง่ายๆ

    รวมบรรยายโดย "ศิยะ ณัญฐสวามี" (อ.ไชย ณ พล)



    บุญ แปลว่าการชำระ มีอาการคือการสละ มีผลเป็นอิสรภาพ มีรสเป็นความสุข มีผลต่อเนื่องเป็นฤทธิอำนาจ

    ตามกฎธรรมชาติ ทุกสิ่งมีปฏิภาวะและมีแนวโน้มปรับสู่สมดุล ดังนั้นใครสละสิ่งใดก็จะได้สิ่งนั้น ยิ่งสละมากก็ยิ่งได้โดยง่าย เช่น ในสมัยพุทธกาลมีคหบดีคนหนึ่ง เมื่อต้องการข้าวสารก็เพียงแต่ทำการวยยกขึ้นไปบนท้องฟ้า ข้าวสารก็จะไหลมาตามกรวยลงหม้อจนพอเพียง หรือเช่น บุคคลที่จะบวชกับพระพุทธเจ้า หากบุคคลใดมีจีวรทานโดยมาก พระพุทธเจ้าก็จะหยิบจีวรจากอากาศมาประทานให้ หากใครไม่ทำบุญด้วยจีวรทานมาก่อน พระพุทธองค์ก็จะให้ไปหาผ้าจีวรมาก่อนจึงจะบวชให้ เป็นต้น

    ผู้ที่มีสิทธิ์ได้สิ่งใดโดยง่ายนั้นล้วนเป็นผู้เคยสละสิ่งนั้นมาก่อนโดยมาก นั่นเป็นไปตามกฎแนวโน้มแห่งดุลยภาพของปฏิภาวะที่ว่า การให้ย่อมก่อให้เกิดการได้

    สิ่งที่ให้และได้นั้น มิได้หมายถึงเพียงสิ่งของเท่านั้น ยังหมายรวมถึงภาวะนามธรรมที่เป็นบุญรูปแบบต่างๆ ด้วย กล่าวคือ

    1. บุญเกิดจากการให้ ทั้งให้สิ่งของ ทรัพย์ เวลา โอกาส สิทธิ การอภัย ล้วนเป็นบุญทั้งนั้น

    2. บุญเกิดจากความมีวินัยในตนเอง คนจะมีวินัยในตนเองได้นั้นต้องสละกิเลส สละความเคยชิน และสละอารมณ์ที่กำเริบได้จึงจะบริหารตนให้อยู่ในวินัยได้ ความมีวินัยในตนเองจึงเป็นภาวะแห่งบุญประการหนึ่ง

    3. บุญเกิดจากการฝึกอบรมจิตใจ คนจะฝึกอบรมจิตใจให้สงบ มั่นคง และเป็นสุขได้ ต้องกล้าสละความยึดถือ ผูกพันทางใจกับทุกสิ่งที่แปรปรวน และประคับประคองจิตด้วยสติอย่างต่อเนื่อง การภาวนาสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปจนปรากฏความสงบสุขและมั่นคงจึงเป็นบุญอย่างยิ่ง

    4. บุญเกิดจากความอ่อนโยน คนจะอ่อนโยนได้นั้นต้องสละความหยิ่งทะนง การถือตัวและความกร้าวของตัวตน ความอ่อนโยนจึงเป็นลักษณะของบุญประการหนึ่ง

    5. บุญเกิดจากการขวนขวายช่วยเหลือผู้อื่น คนจะช่วยเหลือผู้อื่นได้นั้นต้องสละความเห็นแก่ได้ ความหวงแหนในความเป็นส่วนตัว การช่วยเหลือผู้อื่นจึงเป็นไปได้ และเป็นบุญนำมาซึ่งความสุข

    6. บุญเกิดจากการอุทิศความดีให้ผู้อื่น เมื่อทำความดีมาโดยมากแล้ว ความเลวร้ายประการหนึ่งของคนดีคือการติดดี ยึดถือว่าความดีเป็นของตน ตัวเป็นคนดีอย่างโน้นอย่างนี้ จนก่อให้เกิดตัวตน ความจองหอง ความประมาทและความหายนะตามมา แท้จริงแล้วความดีนั้นดี การทำดีโดยเหมาะสมย่อมเป็นสิ่งที่ดี แต่การติดดีนั้นเลว ด้วยเหตุนี้พระพุทธบรมครูเจ้าจึงทรงสอนให้สละความดีอีกชั้นหนึ่งจึงจะโปร่งโล่งและเกิดบุญสมบูรณ์ นี่คือที่มาของธรรรมเนียมอุทิศส่วนกุศลเสมอเมื่อได้ทำความดีชุดหนึ่งๆ

    7. บุญเกิดจากการยินดีในความดีของผู้อื่น เมื่อมีคนทำความดีหรือได้ดีจากการทำดี ถ้าใครอิจฉา จิตใจของผู้นั้นจะตกต่ำ ถูกกดอยู่ในความไม่พึงใจและความไร้ ประโยชน์ทันที แต่ถ้ายินดีกับความดีและผลดีของผู้อื่น จิตใจของผู้นั้นจะอยู่ในระดับเดียวกันหรือสูงกว่าความดีนั้นๆ การที่จะยินดีในความดีของผู้อื่นได้นั้นต้องสละความอิจฉา ริษยา และนิสัยมักเปรียบเปรยตนออกให้สิ้น ในวัฒนธรรมของผู้ดีจึงมีการแสดงความยินดีกับความดีของผู้อื่นเนืองๆ เพราะเป็นบุญประการหนึ่ง

    8. บุญเกิดจากการศึกษาสัจจธรรม ชีวิตของคนจำนวนมากผิดพลาดและล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าเพราะไม่เข้าใจสัจจะ หรือเข้าใจแต่ไม่เคารพสัจจะ สร้างความปรารถนาขัดแย้งกับกฎธรรมชาติ ป่ายปีนไปในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือไม่เหมาะสมโดยโครงสร้าง การดำเนินชีวิตเช่นนี้เป็นชีวิตที่โง่ ดังนั้นการยอมสละปรารถนาแห่งความโง่และตัวโง่ออกจากชีวิต ยอมศึกษาและสำเหนียกสัจจะแท้ๆ แห่งธรรมจะทำให้สามารถบริหารชีวิตสู่ประโยชน์สูงสุดที่เป็นไปได้อย่างเป็นสุข การศึกษาสัจจธรรมให้ถ่องแท้จึงเป็นบุญประการหนึ่ง

    9. บุญเกิดจากการแสดงสัจจะ เมื่อรู้ เข้าใจ และยอมรับสัจจะแล้ว การแสดงออกซึ่งสัจจะผ่านวิถีชีวิต พฤติกรรม คำพูด และผลงานรูปแบบต่างๆ ก็เป็นบุญประการหนึ่ง เพราะทุกขณะที่แสดงธรรมผ่านกิริยาอาการต่างๆ เป็นการกำกับตนให้อยู่ในครรลองธรรมและเป็นการเหนี่ยวนำให้ผู้อื่นรู้ เข้าใจและได้ประโยชน์จากความเป็นจริงแท้ที่ล้ำค่าด้วย ด้วยเหตุนี้พระพุทธบรมครูเจ้าจึงตรัสว่า "การให้ธรรมเป็นทานย่อมชนะการให้ทั้งปวง"

    10. บุญเกิดจากการทำความรู้ความเห็นให้ตรงความเป็นจริง ในที่สุด การปรับแม้ทุกความนึกคิดให้ตรงสู่สัจจะสูงสุดได้นั่นคือบุญอันยอด เพราะเมื่อทำเช่นนั้นได้ นั่นหมายถึงการบรรลุธรรมสูงสุดด้วยปัญญาอันสมบูรณ์ ชีวิตจะไม่ผิดพลาดอีกต่อไป อยู่ในสารัตถะแท้โดยสมบูรณ์




    http://www.vimokkhadhamma.com/webboard/show.php?Category=cate004&No=152&page=1
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บุญเก่าบุญใหม่

    ตรงนี้สิ่งที่ควรเข้าใจก่อนมีสองประเด็น คือ 1) การทำบุญในปัจจุบัน 2) การเรียกบุญในอดีตมาใช้

    อย่างในกรณีที่แม่ค้าที่ขายดีกว่าเพราะทำบุญไว้ดีแล้วประการหนึ่ง และเพราะตั้งจิตไว้เป็นบุญในปัจจุบันอีกประการหนึ่ง สองสิ่งนี้จะต้องไปด้วยกันจึงจะเกิดผลขึ้นทันที

    ทำบุญปัจจุบันนั้นเราทุกคนสามารถทำได้โดยทันที เริ่มต้นด้วยเจตนาแห่งบุญ คือไมว่าเราจะทำอะไรก็ตามถ้าเราตั้งจิตเพื่อประโยชน์สุขของมหาชน มันเป็นบุญ

    เหมือนพนักงานขาย ถ้าไปขายด้วยความคิดว่าฉันจะต้องทำยอดให้ได้เยอะๆ ฉันจะต้องเป็นเซลล์ที่ยิ่งใหญ่ อันนั้นเป็นบารมี แต่ไม่เป็นบุญ

    หรือถ้าคิดว่าฉันจะต้องมีคอมมิสชั่น เท่านั้น เท่านี้ นั่นเป็นความโลภ จิตมันจะตึง

    แต่ถ้าไปขายด้วยความคิดที่ว่า เรามีสินค้าดี เรามีของดี เราจะให้เพื่อนของเราได้รับของดีนี้ ทำให้ประชาชนเข้าใจของดีและได้ประโยชน์จากของดีนี้ ทั้งสามกรณีใจมันต่างกันนะ

    +ใจคนหนึ่งทำด้วยอาการที่เป็นบารมี
    +ใจคนหนึ่งทำด้วยอาการที่เป็นกิเลส
    +ใจอีกคนหนึ่งทำด้วยอาการที่เป็นบุญ

    คนที่เขารับรู้รับฟังคนที่มาด้วยใจที่เป็นบุญ เขาจะรู้สึกสบายใจที่สุด รู้สึกอิ่มเอิบไม่ระแวงแคลงใจ และตัดสินใจซื้อง่าย ซ้ำยังมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันด้วย

    นี่คือตัวอย่างการตั้งใจให้เป็นบุญในปัจจุบันและผล

    พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า เมื่อบุคคลใดตั้งจิตไว้ดีแล้ว สิ่งที่ดีทั้งหลายย่อมตามบุคคลนั้นไป เสมือนล้อเกวียนตามรอยเท้าโคกระนั้น ดังนั้น เมื่อเราตั้งจิตไว้เป็นบุญ มันจะไปเกี่ยวเหนี่ยวนำบุญในอดีตของเรามาประกอบกับบุญปัจจุบัน ที่นี้อะไรมันก็ง่ายไปหมด แต่ถ้าจิตเราตั้งไว้เป็นบาป มันจะไปเกี่ยวเหนี่ยวนำเอาบาปที่เราสะสมไว้มาประกอบกัน อะไรมันก็ยุ่งยากไปหมดเลย เพราะในชีวิตของเราตั้งแต่สมัยเป็นสัตว์เซลล์เดียวมาเป็นสัตว์หลายเซลล์ กระทั่งมาเป็นมนุษย์ในบัดนี้ เราทำกรรมดีและกรรมชั่วมาแล้วนับไม่ถ้วน ถ้าเราตั้งจิตไว้อย่างไร เราจะไปเกี่ยวเหนี่ยวนำเอากรรมอย่างนั้นจากธนาคารกรรมของเรานั่นเองมาใช้

    การตั้งจิตไว้ดีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ไม่ว่าท่านทั้งหลายจะทำหน้าที่อะไร อาชีพอะไรก็ตาม จงตั้งใจให้เกิดประโยชน์ต่อมหาชนแล้วมันจะเป็นบุญ เช่น ถ้าท่านเป็นครู ฉันมาสอนเพราะฉันอยากได้เงิน แค่นี้มันไม่เป็นบุญ แต่ถ้าคิดว่าฉันมาสอนเพื่อที่จะสร้างอนุชนที่เป็นแบบอย่าง สร้างคนดีในสังคม เพื่อให้คนดีเหล่านั้นเกื้อกูลสังคมต่อไป อย่างนั้นเป็นบุญ

    ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา เป็นแพทย์ เป็นสื่อมวลชน เป็นอะไรก็ตาม ท่านสามารถตั้งจิตให้เป็นบุญได้ เพียงแต่ตั้งใจทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนให้กระจายกว้างออกไปสู่สังคมโลกทั้งหลาย

    เมื่อตั้งใจเป็นบุญปัจจุบันแล้ว หากรู้วิธีเรียกบุญเก่ามาใช้ด้วยก็เหมือนคนที่มีทุนเดิมและเอาทุนเดิมมาสร้างความสำเร็จใหม่ ย่อมสร้างได้เร็วและยิ่งใหญ่กว่าคนที่เริ่มใหม่หรือคนที่มีบุญเก่าแต่ไม่รู้จักวิธีเอามาใช้

    การเรียกบุญในอดีตมาใช้ก็คือการอธิษฐานใช้อำนาจบุญของตนที่สั่งสมไว้ แต่สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้คือ การใช้บุญเก่านั้นเราจะใช้เพื่อสร้างบุญใหม่คือเอาบุญมาต่อบุญให้งอกเงยเท่านั้น เช่นเดียวกันกับเอาทุนมาต่อทุนให้งอกงามดุจเดียวกัน

    เมื่อบุญเก่าและบุญใหม่ผนวกกันแล้ว ความสำเร็จต่างๆ จะง่ายกว่าไม่มีบุญเลย และเมื่อท่านประกอบกับหลักการบริหารที่เหมาะสมแห่งโลกด้วยแล้ว ความสำเร็จก็จะยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้นอีกอักโข

    บุญนั้นทำให้สำเร็จโดยง่ายแม้ในสิ่งที่ยาก การบริหารที่เหมาะสมนั้นทำให้สำเร็จยิ่งใหญ่แม้ในสิ่งเล็กน้อย

    เมื่อเข้าใจตรงนี้แล้ว ต่อไปต้องเข้าใจบุญและกระบวนการสร้างบุญแต่ละประเภท และการบริหารที่เหมาะสม

    พระพุทธเจ้าทรงให้เทคนิคหรือหลักสูตรในการสร้างบุญที่เป็นหลักใหญ่ๆ เลยมี 10 ประการ ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา ประพฤติอ่อนน้อม ขวนขวายในกิจผู้อื่น ฟังธรรม แสดงธรรม อุทิศส่วนกุศล อนุโมทนาส่วนกุศล และทำความรู้ความเห็นให้ตรงกับสัจจะ ทั้งหมดนี้คือบุญ เป็นขบวนการชำระจิตใจตนเอง

    บุญแห่งน้ำใจและการให้

    การให้ คือบุญประการแรกที่ทุกคนสามารถสร้างได้ การให้เป็นบุญใหญ่ เพราะถ้าให้ได้หมดทุกสิ่งแม้ตัวตน ก็หลุดพ้นเท่านั้นเอง

    แต่กว่าจะถึงขั้นนั้น หัดให้จากที่ง่ายๆ ไปก่อน เช่นให้สิ่งของ ให้เวลา ให้โอกาส ให้ความเข้าใจ ให้ความรู้ หรือให้วิทยาทาน กับการให้อภัย ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่เราจะต้องทำความเข้าใจกัน จากนั้นจึงให้ธรรมะสัจจะที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิต พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าในบรรดาการให้ทั้งปวง การให้ธรรมประเสริฐสุด ไม่มีอะไรอื่นแล้วที่จะยิ่งไปกว่าการให้ธรรมทาน

    การให้อื่นๆ นั้นพวกเราให้กันอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว ยิ่งให้มากโดยเหมาะสมก็ยิ่งมีบุญอันเกิดจากการให้มาก สิ่งที่ควรเข้าใจเพิ่มเติม คือ การให้อภัยและการให้ธรรม จากนั้นก็ควรเข้าใจวิธีการให้ที่เหมาะสมและอานิสงส์แห่งการให้
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การให้อภัย

    การให้อภัยเป็นการชำระที่ยอดเยี่ยม เป็นบุญที่ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยมอย่างไร

    หนึ่ง มันชำระความแค้นในใจเรา ตราบใดที่เรายังไม่ให้อภัยคนอื่น มันมีความแค้นอยู่ และตราบใดที่ความแค้นมันยังอยู่ในใจเรา มันย่อมกัดกร่อนจิตใจเราไปเรื่อยๆ โดยลำดับ ทำให้เราทุกข์ตรมเศร้าหมอง ปีติสุขเหือดแห้งหดหายไป พระพุทธเจ้าจึงบอกว่าความแค้นนั้นย่อมฆ่าผู้แค้นเสมือนขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่กระนั้น คือขุยไผ่ยิ่งโตเท่าไรต้นไผ่ก็ยิ่งตายเท่านั้น ความแค้นยิ่งใหญ่เท่าไร จิตใจเราก็ยิ่งหมองไหม้เท่านั้น ดังนั้น การให้อภัยเป็นการชำระใจของเราโดยตรง นั่นประการแรก

    สอง การให้อภัยคือการชำระกลไกกรรม กรรมไม่ดีทั้งหลายที่มันพัวพันกัน ผูกกันไว้ เหนี่ยวกันไว้ในส่วนที่ไม่ดีที่ต้องเกิดเรื่องไม่ดีกัน พออภัยให้แก่กันแล้วมันหลุดเลย กรรมนั้นกลายเป็นโมฆะ กรรมที่ไม่ดีเป็นโมฆะ ก็เหลือแต่สภาพที่เป็นกลางและดี เห็นไหม ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกลายเป็นดี เขาเรียกว่าเปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร ใจเราก็สุข มันก็เหนี่ยวนำไปในทางที่ดี ทำอะไรทำด้วยกัน ช่วยกันคนละไม้ละมือ มันก็นำไปสู่ความสำเร็จได้โดยง่าย นี่คือกลไกธรรมชาติ

    เรื่องของการอภัย มันยังมีอีกประการหนึ่งที่จะต้องระวังไว้ ใจเราจะต้องพร้อมอภัยในทุกคน ทุกเรื่องเสมอ ตลอดเวลา แต่การประกาศอโหสิกรรมจะให้ได้ผลก็ต่อเมื่อคนที่เขาทำผิดนั้นเขาได้สำนึกผิดและได้ตั้งใจว่า ต่อไปนี้จะไม่ทำผิดอย่างนั้นอีก เมื่อนั้นเราประกาศอโหสิกรรมจึงจะได้ผล แต่ถ้าเขายังไม่สำนึกผิดแล้วเราไปประกาศอโหสิกรรมเสียก่อน เขาจะรู้สึกว่าทำผิดก็ไม่เป็นไร ใครก็ไม่ว่าอะไร มันก็จะสะสมความเข้าใจผิดและความผิดไปเรื่อยๆ

    การให้ธรรมะ

    การให้ธรรมทานมีอยู่สองระดับ ระดับหนึ่งคือให้ตัวสัจจะ ให้ตัววิธีการ ให้ตัวเทคนิค ระดับที่สองคือให้ตัวสภาวะ คือทำให้เขาเข้าสู่สภาวะได้จริงๆ ทำให้เขาสงบจริงๆ ทำให้เขามีความเชื่อมั่นจริงๆ ทำให้เขาบริสุทธิ์ได้จริงๆ

    เราสามารถให้กันได้ทั้งสองส่วน ในส่วนแรกให้ด้วยการบรรยาย ด้วยการแนะนำ ส่วนที่สองให้ด้วยการนำปฏิบัติ การสร้างบรรยากาศหรือระบบระเบียบรองรับ

    การให้ธรรมะนั้น ต้องให้ทั้งสองส่วนแล้วจะสมบูรณ์
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การให้ที่เหมาะสม

    การให้จะมีผลเป็นบุญกุศลยิ่งใหญ่ เมื่อ

    1) ให้สิ่งที่ควรให้

    2) ให้แก่ผู้ควรได้รับ คือผู้ที่เขาสามารถได้ประโยชน์จากการให้นั้นจริง

    3) ให้ในเวลาที่เหมาะสม คือเวลาที่เขาต้องการจริงๆ ถ้าเวลาที่เขาไม่ต้องการ เราไปยัดเยียดให้ ของเราจะไม่มีค่า เขาไม่นำไปใช้และไม่ได้อานิสงส์

    4) ให้ในปริมาณที่เหมาะสม คือ ไม่มากไป ไม่น้อยไป ไม่เบียดเบียนตนไม่กระทบคนอื่น การให้ทุกชนิด ถ้ามากไป น้อยไป ส่วนที่เกินไปนั้นไม่เกิดประโยชน์และมักเกิดโทษด้วยซ้ำ

    5) ให้โดยเจตนาที่เหมาะสม คือ ถ้าให้เพราะจำใจ ผลบุญจะน้อยที่สุด ถ้าให้เพราะเกรงใจ ผลบุญน้อยมาก ถ้าให้เพราะทำตามๆ กันไป ผลบุญจะน้อย ถ้าให้เพราะเห็นว่าดี ผลบุญ ปานกลาง ถ้าให้เพราะยินดีและมีความสุขที่จะให้ ผลบุญมาก ถ้าให้เพราะสละ ละวาง ผลบุญมากที่สุด ดังนั้น จะให้ทั้งทีก็ควรให้บุญมากเข้าไว้เท่าที่จะตั้งเจตนารมณ์ได้ จะได้คุ้มแก่การให้

    6) ให้โดยเคารพ คือโดยมีจรรยามรรยาท มิใช่โดยการดูหมิ่นดูแคลน หาเราให้โดยเคารพ เราก็จะได้รับโดยเรียบร้อยเช่นกัน

    นั่นคือการให้ที่เหมาะสม

    อานิสงส์แห่งการให้

    การให้แต่ละชนิดมีอานิสงส์ต่างกัน เช่น

    การให้ทรัพย์ จะทำให้หาทรัพย์โดยง่าย
    กานให้อาหาร จะทำให้อุดมสมบูรณ์
    การให้ผ้า จะทำให้ผิวพรรณงาม
    การให้การรักษาพยาบาล จะทำให้สุขภาพดี
    การให้ยานพาหนะหรือการเดินทาง จะทำให้ราบรื่น
    การให้ความเข้าใจ จะทำให้ได้มิตรมาก
    การให้อภัย จะทำให้ได้อิสรภาพ
    การให้สรรเสริญ จะทำให้ได้ชื่อเสียง
    การให้ความรู้ จะทำให้ได้ปัญญา
    การให้ธรรมะ จะทำให้ได้ระดับวิวัฒนาการสูงขึ้น
    การให้ชีวิต จะทำให้ได้บารมี เป็นต้น

    เมื่อชีวิตต้องการหลายๆ อย่าง ก็ควรให้หลายๆ อย่างไปตามความเหมาะสมแก่บุคคล สถานการณ์และเป้าหมาย

    นี่เป็นบุญแรกที่เราหมั่นสร้างสมให้กลายเป็นฤทธิ์ได้

    บุญแห่งระเบียบวินัย

    ระเบียบวินัยก็คือสิ่งที่เราเรียกว่า กฎ กติกา มารยาท หรือ ศีล นั่นเอง
    ศีล มาจากคำว่า ศิลา ศิลาแปลว่ามั่นคง คำว่าศีลหมายถึงสิ่งที่เราจะต้องทำให้มันมั่นคงในชีวิตของเรา ในความเป็นเราในตัวเรา

    ก็อะไรบ้างที่เราจะต้องทำให้มั่นคง ก็คือสิ่งที่พระศาสดาของศาสนาทั้งหลายท่านแนะนำ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า พระอัลเลาะห์ พระจีซัสไคร้ส และมหาบุรุษมากมายที่แนะนำกันไว้ แม้ท่านฤๅษีชีไพรทั้งหลายท่านก็แนะนำศีลและจริยธรรมในระดับของท่าน ทุกท่านทุกระดับก็จะมีศีล ซึ่งศีลทั้งหลายที่เราจะต้องทำให้มั่นคงคือสิ่งที่ท่านได้วิเคราะห์วิจัยและทดลองกันแล้วว่า สิ่งเหล่านั้นมีประโยชน์ที่จะทำให้ชีวิตของเรามีพลังมากขึ้น หรือทำให้ชีวิตของเราราบรื่นมากขึ้น และป้องกันโทษไม่ให้เราไหลไปสู่สิ่งที่ชั่ว สิ่งเหล่านั้นทั้งหมดคือศีล เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่โกหกมดเท็จ ไม่ส่อเสียด ไม่ติดฉินนินทา ไม่เสพสิ่งมึนเมาเพื่อนความมึนเมา นอกจากเสพเพื่อเป็นยา เป็นต้น

    สิ่งที่เราควรเข้าใจในการสร้างฤทธิ์แห่งศีลคือ ขบวนการประพฤติศีล พลังแห่งศีล ศีลในฐานะมาตรฐานแห่งชีวิต ศีลคือกติกาการดำรงอยู่ร่วมกัน และอานิสงส์ของศีล
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขบวนการประพฤติศีล

    เมื่อเราทราบแล้วว่าศีลมีประโยชน์จริง ทำอย่างไรจึงจะทำให้เกิดศีลได้ ขบวนการที่ทำให้เกิดศีล คือ

    1) เราจะต้องเข้าใจด้วยปัญญา สามารถจำแนกสิ่งที่มีคุณมี่โทษในทุกระดับได้ว่าสิ่งใดมีค่าของความเป็นคุณประโยชน์เท่าไร มีค่าความเป็นโทษเท่าไร หรือผสมผสานกันอยู่ในอัตราส่วนเท่าไร เราจะดึงคุณจากสิ่งนั้นมาใช้ได้อย่างไร จะควบคุมโทษได้อย่างไร

    2) เมื่อเราเข้าใจอย่างนี้แล้ว เราจะต้องตั้งใจเป็นแม่นมั่นว่า เราจะประพฤติเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์และละสิ่งที่เป็นโทษโดยประการทั้งปวง ตั้งแต่เรื่องหยาบๆ พอละเรื่องหยาบๆ ได้ก็ทำให้ละเอียดยิ่งขึ้น แม้กระทั่งความคิด พอละเอียดถึงที่สุด แม้แต่ดำรินิดเดียวก็ไม่ผิดเลย นั่นคือ ความตั้งใจที่จะประพฤติจริงๆ ในทุกระดับ ทั้งในระดับกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

    3) พอไม่ผิดเลย มันก็กลายเป็นปกติของเรา พอเป็นปกติของเรามันคือนิสัย พอเป็นนิสัย โบราณกาลท่านบอกว่าผู้ประพฤติธรรม ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม พอเป็นนิสัย สภาวะธรรมคือสภาวะแห่งศีลมันจะคุ้มครองเราเองไม่ให้เราตกไปสู่สิ่งที่ชั่ว เพราะแม้คิดชั่วเราก็ไม่มีแล้ว ดังนั้น การไหลไปในสิ่งที่ชั่วมันจะไม่มีเป็นอันขาด

    จากนั้นศีลจะเป็นระเบียบวินัยแห่งชีวิต

    พลังแห่งศีล

    ระเบียบวินัยนี้เป็นเรื่องง่ายๆ แต่ยิ่งใหญ่มหาศาล เหมือนเหล็กตอนที่มันเป็นเหล็กธรรมดาโมเลกุลมันไม่เป็นระเบียบ อีออนก็กระจัดกระจาย กระแสไฟฟ้าก็ไหลผ่านได้ พอเราทำโมเลกุลของมันให้เป็นระเบียบ ผ่านขบวนการกลั่นตัวตามธรรมชาติ ขจัดเสี้ยนแร่อื่นๆ ออกเหลือแต่โมเลกุลเหล็กล้วนๆ โมเลกุลมันจะจัดเรียงตัวกันเป็นระเบียบ สมบูรณ์ พอเป็นระเบียบเสร็จแล้วพลังของแต่ละโมเลกุลมันจะเสริมผสานกัน จนกระทั่งกลายเป็นสนามแม่เหล็กแผ่ออกมารอบตัว มีอำนาจในการดึงดูด มีอำนาจในการเหนี่ยวนำ มีอำนาจในการปกป้องตัวเอง กระแสไฟฟ้าเข้าไม่ได้ คนเราก็เช่นกัน ถ้าประพฤติศีลจนเป็นปกติเป็นนิสัยจนมีระเบียบวินัยในตัวเอง เป็นมาตรฐานแห่งชีวิต พอมีระเบียบวินัยในตัวเองจะมีพลังในตัวเอง

    ศีล จึงเป็นบุญ เป็นแหล่งพลังที่นำมาซึ่งความสำเร็จโดยง่าย หรือที่เรียกว่าบุญฤทธิ์ ที่พวกเราทุกคนฝึกและสร้างได้แน่นอน
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ศีล คือ มาตรฐานแห่งชีวิต

    โดยความเป็นจริง ศีลเป็นมาตรฐานของความเป็นมนุษย์ที่แตกต่างจากมาตรฐานของสัตว์ มาตรฐานของมนุษย์จะต้องมีศีลรองรับจึงสามารถเกิดมาเป็นมนุษย์ได้ ใครที่เกิดมาเป็นมนุษย์มีมาตรฐานของศีลอยู่แล้วระดับหนึ่ง อย่างเช่น ตอนเกิดแสดงให้เห็นชัดแล้วว่ามีมาตรฐานของศีล แต่พอโตๆ ไปถูกความคิดเห็นที่ผิดเข้ามายั่วเย้าดึงไปในอารมณ์ด้วยเหตุต่างๆ มากมาย ความผิดศีลจึงเกิดขึ้น อย่างเช่นข้อลักทรัพย์

    นิสัยลักทรัพย์จริงๆ แล้วไม่ใช่นิสัยของมนุษย์ เป็นนิสัยของแมว จึงเรียกว่าแมวขโมย แมวมันชอบขโมย ส่วนการจี้ปล้นเป็นนิสัยของเสือ เขาจึงเรียกโจรว่าไอ้เสือ ดังนั้น นิสัยลักทรัพย์จี้ปล้นจึงเป็นนิสัยของแมวของเสือ ไม่ใช่นิสัยของคน เป็นคนแล้วจะต้องมีมาตรฐานไม่ลักทรัพย์

    หรือนิสัยพูดปดไม่ใช่นิสัยของคน คนคิดก่อนพูด แต่ถ้าพูดโดยไม่คิด ส่อเสียดนินทาเจื้อยแจ้วเรื่อยไปเป็นนิสัยของนก ไม่ใช่ของคน ถ้าคนไปทำนิสัยนกแสดงว่าเพิ่งพัฒนามาเป็นคนใหม่ๆ หรือกำลังจะตกวิวัฒนาการกลับไปเป็นนกอีก อย่างนี้เป็นต้น

    ดังนั้น ศีลเป็นมาตรฐานขั้นต่ำของความเป็นมนุษย์เลยทีเดียว

    ศีล คือ กติกาการดำรงอยู่ร่วมกัน

    อีกประการหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ลนั้นช่วยสร้างสังคมได้ นอกจากสร้างตัวเองแล้วยังสร้างสังคมได้ด้วย

    ท่านทั้งหลายลองนึกถึงสภาพสังคมที่ทุกคนเป็นคนดีหมด มันจะมีความสงบ แต่ถ้ามีคนไม่ดีขึ้นมา มันต้องมีปืน เริ่มใช้อาวุธขึ้นมา คนดีก็ต้องหาอาวุธป้องกัน พอหาอาวุธป้องกัน ความคึกคะนองในการมีอาวุธและในความได้เปรียบมันก็กำเริบขึ้น อย่างเช่นเราโกรธเมื่อเวลามีคนขับรถปาดหน้า ทั้งๆ ที่ปกติเราเป็นคนดีแต่พอเจอสิ่งที่ไม่สมควรหรือไม่เป็นธรรมหรือทรามยิ่งๆ ความติดดีอาจทำให้เราฉุนเฉียวขึ้นมาคว้าปืนออกมายิงเลย จากความติดดีเลยทำให้ความไม่ดีมันกำเริบขึ้นมา ดังนั้น ศีลนั่นแหละที่จะเป็นมาตรฐานกำกับพฤติกรรมของท่านไม่ให้ตกไปสู่สิ่งที่ชั่ว ไมให้เรื่องเลวร้ายเกิดจขึ้นในสังคม และถ้าทุกคนมีศีลในระดับเดียวกันก็จะอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข

    นอกจากสังคมจะสงบ มีสวัสดิภาพดี ท่านทั้งหลายลองคิดดู ถ้าทุกคนมีศีลหมด ไม่โกหกเลย ทุกคนเชื่อถือได้หมดไม่ต้องมีสัญญาเพราะทุกคนพูดความจริงหมด ดังนั้นความเชื่อถือได้คือเครดิต นั่นคือศีลสร้างเครดิต แล้วเครดิตก็ก่อให้เกิดสิทธิประโยชน์มากมาย สิทธิประโยชน์ทำให้เกิดภาวะง่ายที่จะทำอะไรต่างๆ นานา นี่คือประโยชน์ของสัจจะที่เป็นข้อหนึ่งของศีล

    เต๋า จึงบอกว่า ถ้าธรรมะยังอยู่ ทุกคนจะสงบสุขและสร้างสรรค์แต่ถ้าธรรมะสูญหายไป จึงเกิดจารีตประเพณีขึ้น เมื่อจารีตประเพณีหายไป จึงเกิดวัฒนธรรมมาเป็นตัวกำกับ เมื่อวัฒนธรรมหายไป กฎหมายจึงเกิดขึ้น กฎหมายเมื่อเกิดขึ้นใหม่ๆ ก็เป็นแบบไม่มีลายลักษณ์อักษร พอกฎหมายหายไป พันธสัญญาจึงเกิดขึ้น แม้ปฏิบัติตามกฎหมายก็ปฏิบัติไม่ได้ จึงต้องมีพันธสัญญากัน เมื่อสัญญาก็เชื่อถือไม่ได้ จึงมีบทลงโทษและการบังคับควบคุมขู่เข็ญขึ้น เมื่อความละเอียดปกระณีตลึกซึ้งคือศีลธรรมค่อยๆ เสื่อมไป ความหยาบที่จะต้องมาบังคับกำกับกัน เช่น บทลงโทษพันธสัญญา หลักประกันมันจึงเกิดขึ้น

    ดังนั้น สังคมที่มีศีลจริงๆ จะเป็นสังคมที่อ่อนสลวย เป็นสังคมที่สงบสุข เป็นสังคมที่สร้างสรรค์ นั่นเชิงสังคมที่ปกติ

    ถ้าทุกคนมีศีล ในความมีศีลมันจะทำให้ลงกัน แต่กิเลสมันทำให้ไม่ลงกัน

    พอทุกคนมาอยู่บนบรรทัดฐานของมาตรฐานเดียวกัน มันก็ลงกัน ไม่มีปัญหาขัดแย้งกัน พอลงกันไม่มีปัญหาขัดแย้งกันก็เกิดระเบียบวินัยของกลุ่มขึ้น พอเกิดระเบียบวินัยของกลุ่มมันเกิดการรวมพลังกันภายในกลุ่ม พอเกิดการรวมพลังภายในกลุ่มก็เกิดความสมานสามัคคี ความสมานสามัคคีเกิดพลังชั้นที่สอง ชั้นที่สาม กลายเป็นเทีมเวิร์คที่มีประสิทธิภาพ ในกลุ่มคนที่ไม่มีศีลที่ไหนมีทีมเวิร์คที่ดีบ้าง ทีมเวิร์คที่ดีจะต้องมาจากกลุ่มคนที่มีศีลมีจรรยามารยาทงามเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำของหัวหน้ากลุ่ม

    เคยวิจัยเกี่ยวกับเรื่องจรรยาบรรณของธุรกิจ โดยถามไปว่าเหตุที่ท่านไม่มีจรรยาบรรณในขณะที่ท่านอยู่ในที่ทำงาน มีอะไรเป็นเหตุใหญ่ที่สุด ประมาณ 50% บอกว่าเพราะผู้นำไม่มีจรรยาบรรณ ฉันจึงไม่มีจรรยาบรรณด้วย

    พระพุทธเจ้าก็บอกไว้ว่า ถ้าในยุคใดสมัยใดก็ตามที่ผู้นำสังคมมีจรรยาบรรณดี ข้าราชการ คหบดีในสังคมทุกคนจะดี แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ผู้นำไม่ดี ข้าราชการ คหบดีในสังคมทุกคนจะไม่ดีไปด้วย ภาวะการนำของขบวนการกลุ่มต้องอาศัยศีลธรรมเป็นตัวนำ สังคมจึงจะสมานสามัคคี สังคมจึงจะมีพลังสร้างสรรค์ นี่จากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ กลายเป็นสร้างสังคมทั้งสังคม

    เพื่อนชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งเคยบอกกับผมว่า จริงๆ คนไทยกับคนญี่ปุ่นระดับความสามารถไม่แตกต่างกันเลย สิ่งเดียวที่แตกต่างกันคือระเบียบวินัย คนญี่ปุ่นเป็นคนมีระเบียบวินัยไม่ว่าจะมีระเบียบวินัยในตนเองหรือในกลุ่ม แต่คนไทยเป็นคนทีทำอะไรตามใจฉัน แล้วใจของใครมันเหมือนกันบ้าง ใจของแต่ละคนมันก็ไปคนละทิศทาง มันจึงไม่มีระเบียบวินัยของกลุ่ม จึงไม่มีการรวมพลังกันอย่างแท้จริง

    ฉะนั้น ศีล นอกจากจะสร้างตัวคนแล้วยังสร้างกลุ่มสังคมสร้างประเทศชาติได้ด้วย ควรเคารพกติการ่วมกันให้เป็นกฎในใจ ให้เป็นมโนสำนึกประจำตัวคนจริงๆ

    กฎหมายนั้นให้พิสดารขนาดไหนก็ไม่มีทางจะมาควบคุมมนุษย์ได้ดีเท่ากับตัวเขาควบคุมตัวเขาเอง ด้วยสำนึกของเขาเอง

    ก็ถ้ามนุษย์ควบคุมตัวเขาเองได้ด้วยมโนธรรม จะต้องมีกฎหมายอะไรอีก ไม่จำเป็นเลย แต่ถ้าจะมีบ้างก็เพื่อเป็นหลักประกันเป็นกรอบแนวคิดเฉยๆ
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อานิสงส์แห่งศีล

    ศีลแต่ละข้อนั้นมีอานิสงส์ต่างกัน เช่น

    การไม่ฆ่าสัตว์จะทำให้ท่านมีสุขภาพปกติ ไม่พลัดพราก

    การไม่ลักทรัพย์จะทำให้ท่านสามารถรักษาทรัพย์ได้ ไม่สูญหายหรือสูญเสียในภัยต่างๆ คือโจรภัย วาตภัย อัคคีภัย และอุบัติภัย เป็นต้น

    การไม่ประพฤติผิดในกามจะทำให้ครอบครัวของท่านมั่นคงและบริวารว่านอนสอนง่าย

    การไม่โกหกจะทำให้ท่านได้รับความเชื่อถือ มีเครดิตและสิทธิพิเศษ ถ้าสามารถรักษาสัจจะได้ด้วยชีวิต หลังจากนั้นท่านจะเป็นคนมีวาจาสิทธิ์พูดอย่างไรเป็นอย่างนั้นเสมอ

    การไม่มึนเมาจะทำให้ท่านมีสติสัมปชัญญะดี ไม่พลั้งเผลอ ควบคุมตนเองได้ บริหารสถานการณ์ได้ และเข้าสมาธิได้โดยง่าย เป็นต้น

    บุญแห่งการภาวนา

    บุญประการที่สามคือการภาวนา ภาวนาคือการทำให้เกิดขึ้น ภาวนานี้จะเชื่อมโยงกับตบะ ตบะแปลว่าการทำให้ตั้งมั่น

    ตัวภาวนาเองคือทำให้เกิดขึ้น ทำอะไรให้เกิดขึ้น ทำสมาธิทำปัญญาให้เกิดขึ้น เราจะได้ยินอยู่สองคำก็คือสมถะภาวนากับวิปัสสนาภาวนา ทั้งสองมีจุดมุ่งหมายอันเดียวกันคือต้องการให้เกิดสมาธิและปัญญา สมาธิและปัญญามันจะเชื่อมต่อกัน

    ในขั้นนี้จะต้องมี...

    - ความเข้าใจที่ถูกต้อง
    - ผลานิสงส์ของการภาวนา
    - วิธีภาวนา
    - ธรรมชาติของจิตกับความบ้า และ
    - การฝึกจิตให้สัมฤทธิ์ผล

    ความเข้าใจที่ถูกต้อง

    สติเป็นพื้นฐานของสมาธิ
    สมาธิเป็นพื้นฐานของปัญญา
    สติสัมปชัญญะ คือทำความรู้ตัวทั่วพร้อมให้ปรากฏ เป็นพื้นฐานของทุกสิ่งรวมกัน สติสัมปชัญญะจะทำให้เกิดสติ สมาธิ ปัญญา โดยธรรมชาติ

    สติสัมปชัญญะจะทำให้กลับมารู้จักตนเอง ส่วนสติปัญญาจะทำให้เข้าใจความเป็นจริง

    สมาธิกับปัญญานั้นมันเป็นตัวเสริมซึ่งกันและกัน หมายความว่าถ้าเรามีสมาธิมาก ปัญญาของเราก็จะยิ่งกว้างใหญ่ไพศาล พอเรามีปัญญามากเราก็จะยิ่งเข้าสมาธิได้ลึกซึ้ง

    สมถะกับวิปัสสนาคือสองสิ่งที่จะต้องไปด้วยกันตลอด เหมือนคนละด้านของเหรียญเดียวกัน คือด้านหัวกับด้านก้อย ในขณะที่เราหงายด้านหัวขึ้นก็ต้องมีด้านก้อยรองรับ ขณะที่หงายด้านก้อยขึ้นก็ต้องมีด้านหัวรองรตับ หมายความว่าในขณะที่เราจะเจริญวิปัสสนาให้ได้ผลเราจะต้องมีสมถะรองรับเสมอ

    ถ้าจะเปรียบอีกอย่างได้อย่างนี้ วิธีการปฏิบัติทางจิตใจ สมถะเหมือนการเดินหน้าเข้า คือดำดิ่งจิตไปเลย ทำจิตให้สงบ ดิ่งมุ่งมั่นลงไปสู่ความสงล ความเวิ้งว้าง ความบริสุทธิ์ เรียกว่าเดินหน้าเข้า ส่วนวิปัสสนาเหมือนถอยหลังเขามองข้างนอกก่อน เช่น

    มองโลกเป็นของไม่เที่ยง ปล่อยวางโลก
    มองสังคมเป็นของไม่เที่ยง ปล่อยวางสังคม
    มองร่างกายเป็นของไม่เที่ยง ปลบ่อยวางร่างกาย
    มองความคิดก็ไม่เที่ยง ปล่อยวางความคิด
    มองความรู้สึก ความรู้สึกก็ไม่เที่ยง ปล่อยวางความรู้สึก

    พอปล่อยไปเรื่อยๆ มันก็เข้าไปสู่ความสงบล้ำลึกเหมือนกัน พอเข้าไปสู่ความสงบล้ำลึกก็ได้ปัญญาญาณอันยิ่งใหญ่เช่นกัน ฉะนั้น สมถะเหมือนเดินหน้าเข้า วิปัสสนาเหมือนถอยหลังเข้า แต่มันเข้าไปสู่ที่เดียวกัน คือมันเข้าไปสู่ความสงบ ความสะอาดหมดจด พอมันสะอาดหมดจดมันจึงเป็นบุญ เพราะบุญคือการชำระให้บริสุทธิ์

    กระนั้นสมถะกับวิปัสสนาต้องไปด้วยกันและอาศัยกันเสมอ เพราะข้างหน้าข้างหลังเป็นอยู่ด้วยกันตลอด เพราะมันเป็นสองด้านของสิ่งเดียวกัน คือมันไปด้วยกันเพียงแต่จะเอาด้านไหนเป็นตัวนำ ด้านไหนเป็นตัวตามเท่านั้น แต่มันต้องติดกันไปตลอดไม่อาจพรากจากกัน ถ้าพรากจากกันเมื่อไรก็หลุดจากกรรมฐาน
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผลานิสงส์ของการภาวนา

    เมื่อภาวนาคือการทำให้เกิดขึ้น ทีนี้อะไรที่เราต้องทำให้เกิดขึ้น พระพุทธเจ้าบอกว่าเมื่อเราภาวนาแล้ว เราสามารถทำสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ให้เกิดขึ้นได้ คือ

    1) ความสุข ความสุขเกิดขึ้นแน่ๆ จากการภาวนา
    2) ปัญญา ปัญญาเกิดขึ้นแน่ๆ จากการภาวนา
    3) อำนาจ มันจะมีพลังอำนาจเกิดขึ้นจากการภาวนา
    4) ความบริสุทธิ์ ถ้าเราภาวนาไปเรื่อยๆ จะเต็มรอบโดยลำดับขึ้น

    ทั้งหมดนี้คือขบวนการแห่งบุญอันเกิดจากการภาวนา

    คิดดู ความสุขใครไม่ต้องการ ปัญญาใครไม่ต้องการ อำนาจในตนเองใครไม่ต้องการ ความบริสุทธิ์ใครไม่ต้องการ ทั้งหมดนี้คือสุดยอดของคุณค่าของชีวิตเลยทีเดียว เราสามารถทำให้เกิดขึ้นได้โดยการภาวนา

    วิธีการภาวนา

    ทำอย่างไรล่ะเราจึงจะภาวนาให้ได้ผล และภาวนาวิธีไหนดีที่สุด ถ้าภาวนาหลายๆ วิธีตีกันไหม อันนี้เป็นคำถามที่ได้ยินได้ฟังมามาก

    เคยตั้งใจไว้ว่าจะฝึกภาวนาทุกวิธีที่มีอยู่อยู่ในโลกนี้ ก็ไปฝึกมาเกือบหมดเกือบทุกศาสนา ไปฝึกจากหลายๆ อาจารย์ กับฤๅษีหลายท่าน กับพระหลายท่าน ฝึกตามคัมภีร์หลายคัมภีร์ในหลายศาสนา และตามเทคนิคในศาสตร์สมัยใหม่ต่างๆ มากมายจึงได้พบความจริงว่าเทคนิคต่างๆ ของการฝึกจิตมันเหมือนอาหารต่างๆ แต่ละประเภท พอเรากินหลายๆ อย่างๆ ถามว่าอาหารมันตีกันไหม มันก็ไม่ได้ตีกัน มันกลับไปผสานสร้างคุณสมบัติของเราให้เข้มแข็ง แข็งแกร่งและพร้อมรับทุกสภาพ เพราะในเทคนิคการฝึกแต่ละวิธีมันให้ผลไม่เหมือนกัน

    สารแต่ละประเภทมันทำงานไม่เหมือนกัน การฝึกจิตก็เช่นกัน เทคนิคการฝึกแต่ละวิธีทำงานไม่เหมือนกัน เช่น

    กสิณ เป็นตัวรวมศูนย์ การรวมศูนย์ทำให้เกิดพลังอำนาจ
    อัปปนาสมาธิ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นการกระจายออกจากศูนย์กลาง เพื่อทำให้จิตใจยิ่งใหญ่ ทำให้มีความสุข
    อนัตตาญาณ ทำให้มันมองอะไรทะลุปรุโปร่ง ทำให้ปัญญาไร้ขอบเขต
    การพิจารณาอสุภะสิ่งไม่สวยไม่งามทั้งหลาย มันจะตรงข้ามกับเมตตา ถ้าเราแผ่เมตตามากๆ มันจะไปรักคนง่าย พอรักคนง่ายมันจะหลงอีกแล้ว เมตตามากก็อาจจะหลงได้อีกเพราะมันรักคนง่าย แล้วคนก็มารักเรามากเหลือเกินเพราะเมตตามันฉ่ำ ใครอยู่ใกล้ก็สบายใจ จึงควรเจริญอสุภะควบคู่ไปด้วย อสุภะจะเป็นตัวล้างฉันทะทำให้มีเมตตาในอุเบกขาได้

    แต่ละเทคนิคมันทำหน้าที่กันคนละหน้าที่ ดังนั้น จิตใจที่สมบูรณ์มันจะต้องมีกรรมฐานทุกอย่าง จะต้องมีวิธีการฝึกทุกๆ วิธีและพร้อมที่จะใช้เทคนิคที่เหมาะสมเสมอในทุกๆ ขณะ ในทุกๆ ปรากฏการณ์แหงชีวิต แล้วมันจะได้จิตใจที่สมบูรณ์

    ถ้าไปฝึกอย่างเดียว ฉันจะต้องฝึกกสิณอย่างเดียว อย่างอื่นฉันไม่สนก็ได้ ก็อาจจะเก่งมากในเรื่องกสิณ แต่คุณสมบัติอื่นๆ จะไม่ค่อยได้ จะเก่งในการรวมศูนย์ พวกนี้จะไม่ชอบพูด พวกกสิณจะบรรยายธรรมไม่ค่อยเก่ง จะชอบรวมศูนย์ จะชอบอยู่นิ่งๆ มีอะไรมาไหวนิดหนึ่งรู้สึกมันสั่นคลอน เสียสมาธิ แต่ถ้าแผ่เมตตาอย่างเดียวก็เพลิดเพลินกับมหาชน มันเพลิดเพลินกับหมู่คณะไปหมด เสียศูนย์ง่ายอีกเช่นกัน มันจะต้องมีทุกอย่างผสมผสานกัน

    ดังนั้น จากประสบการณ์แห่งชีวิต รับรองว่าสมาธิไม่ตีกันแน่นอน แต่ที่ตีกันนั้นคือทิฐิมานะอันเกิดจากการยึดถือ

    สมาธิคือสภาวะจิตใจ วิธีการฝึกหลายวิธีก็เพื่อตะล่อมใจให้เข้าสมาธิได้ทุกด้าน เพียงแต่เราจะต้องรู้จักการประกอบให้ถูกส่วนและการใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์

    และแม้เราฝึกด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งจนชำนาญ เวลาเราไปฝึกวิธีอื่นจะง่ายเลย เช่น ถ้าเราฝึกอานาปานมาแล้วจนได้ฌาน เพียงฝึกกสิณทีเดียวก็ได้สมาธิเลย หรือฝึกกสิณเข้าสมาธิแล้ว ฝึกอสุภะทีเดียวก็ได้เลยเช่นกัน ถ้าได้สมาธิโดยวิธีใดวิธีหนึ่งแล้วไปฝึกวิธีอื่นยิ่งง่ายใหญ่เลย

    ดังนั้น จงเรียนรู้ จงฝึกฝน อาจารย์ท่านใดสอนฝึกไปให้หมด วิธีไหนเหมาะกับภาวะใดเอามาให้ให้ถูกภาวะ แล้วท่านจะได้ประโยชน์ยิ่งใหญ่จากการภาวนา
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธรรมชาติของจิตกับความบ้า

    จิตเป็นภาวะธรรมชาติ จิตเป็นตัวธรรมชาติ และการฝึกจิตก็เป็นขบวนการสากล จิตไม่ได้สังกัดศาสนา ดังนั้น เราจะใช้ศาสตร์หรือศิลป์อะไรก็ได้ที่มาสร้างเสริมจิตใจของเราไห้มีพลังอำนาจมากขึ้น ศาสนาทั้งหลายเสนอหลักสูตรการพัฒนาตนเองไปตามระดับวิวัฒนาการ

    อีกประการหนึ่งที่หลายคนถามว่า ฝึกจิตแล้วจะบ้าไหม จริงๆ แล้วคนไม่ฝึกจิตน่ะบ้าอยู่แล้ว อาการบ้าเราดูจากอะไร ดูจากการติดยึดในสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ยอมปล่อย อย่างเช่น

    ฉันจะต้องรวย ฉันจะต้องมีเงิน นั่นเรียกว่า บ้าเงิน
    หรือฉันมีตำแหน่งนี้ ฉันจะเสียตำแหน่งนี้ไม่ได้นะ นี่บ้าตำแหน่ง
    หรือบางคนคิดว่า ฉันจะต้องเป็นคนดีนะ ใครมองฉันในแง่ไม่ดีไม่ได้ อันนี้บ้าดี
    บางคนยึดว่าฉันยิ่งใหญ่นะ ถ้าเธอไม่เห็นความยิ่งใหญ่ของฉัน เธอไม่มีปัญญา นี่บ้าตัวเอง

    ทุกคนเป็นบ้าอยู่แล้วโดยธรรมชาติ แต่การฝึกจิตจะเป็นตัวละลายความบ้า เป็นตัวแก้ความบ้าเหล่านี้ ดังนั้น การฝึกจิตจึงเป็นการขจัดความบ้าโดยตรง แต่กระนั้นถ้าไปบ้าจิตเสียอีกก็กลายเป็นบ้านามธรรมอันประณีต คือไปบ้าอรูป อย่างเช่นบางคนพอไปเข้าสู่ความว่างแล้วจะต้องอยู่ในความว่างนะ ใครมาคุยไม่ได้เลย มันเหนื่อย มันหยาบเหลือเกิน ฉันอยากจะอยู่กับจิตตัวเองคนเดียวไม่อยากเจอใคร ไม่อยากข้องเกี่ยวใคร ไปจมอยู่ในจิตก็มี มันเลยไป พระพุทธเจ้าเรียกว่า เลยไป

    อย่างไรก็ดี พอเราฝึกจิต เจริญสมถะและวิปัสสนา มันจะล้างตัวนั้นได้อย่างเช่น คนที่เข้าความว่าง พระพุทธเจ้าทรงบอกว่าเมื่อเข้าความว่างแล้วพิจารณาเพียงแค่ว่าความว่างก็ไม่เป็นตนหนอ แล้วก็ปล่อยวางความว่างเสียก็จะหลุดพ้นได้โดยง่าย ดังนั้นการฝึกจิตเป็นวิธีที่จะปล่อยวางเพื่อลดความบ้าทั้งหลาย แม้กระทั่งบ้าจิตเอง

    ปล่อยวางอย่างเดียวมันได้หมดเลย ได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา ได้ทุกอย่างหมด แต่ทีนี้ในการที่จะปล่อยวางได้ต้องมีกำลังพอ มันจะต้องเสริมกำลังด้วยทั้งสมถะและวิปัสสนา

    ที่จริงทุกคนรู้หมดว่าไม่ควรไปยึดถือหนอๆ แต่มันก็ยังปล่อยไม่ลงสักทีหนอ วางแล้วมันยังไม่ยอมปล่อย หรือปล่อยแล้วมันยังไม่ยอมวางหนอ มันยังติดค้างๆ คาๆ อยู่ทุกวันนี้หนอ

    ที่วางไม่ได้เพราะกำลังไม่พอ จึงต้องเสริมกำลังกัน

    เมื่อปล่อยวางได้มันก็หายบ้า แต่ถ้าปล่อยวางยังไม่ลงมันก็ยังบ้าอยู่ แต่ในขณะที่เราปล่อยวางแล้ว เราไปมุ่งมั่นอยู่กับการฝึกจิตชาวโลกเขาอาจไม่เข้าใจ เพราะเขาไม่ค่อยฝึกกัน เขาก็จะมองว่าเราบ้า เพราะเบี่ยงเบนไปจากพฤติกรรมของสังคม คือคนส่วนใหญ่เขาจะทำมาหากิน เขาไม่ฝึกจิตกันแต่เราดันไปฝึกจิต เขาอาจจะมองว่าเรามีพฤติกรรมเบี่ยงเบนจากสังคม เขาจะมองว่าบ้า

    สมัยเด็กเคยถูกพี่ชายคิดว่าบ้า เพราะฝึกจิตตั้งแต่เด็ก แต่ก็มีความสุข ฝึกจิตแล้วมีความสุข มีปัญญา ฝึกแล้วเราได้ประโยชน์มากมาย ก็บอกตัวเองว่าบ้าก็บ้าวะ เป็นการเอาบ้าหนึ่งไปล้างบ้าอื่นๆ เป็นร้อยคุ้ม

    ดังนั้น เราต้องเชื่อมั่นในตนเอง

    การฝึกจิตให้สัมฤทธิ์ผล

    พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า จะฝึกจิตให้ได้ผล
    1) จะต้องมีศรัทธา
    2) จะต้องมีวิริยะความพากเพียรอย่างต่อเนื่อง
    3) จะต้องมีสติ
    4) จะต้องมีสมาธิ
    5) จะต้องมีปัญญา

    เจริญให้ครบทั้ง 5 ประการนี้แล้วมันจะได้ผล

    หากอยากให้ได้กำลังสมาธิชัดเจนต้อง...

    1) ฉลาดในการเข้าสมาธิ
    2) ฉลาดในการตั้งอยู่ ประคับประคองสมาธิไว้ด้วยการกำหนดจิตให้ประณีตละเอียดอ่อน
    3) ฉลาดในการออก คือเวลาออกจากสมาธิ ประคับประคองสภาวะสมาธิมาใช้ในการงานจริงๆ
    4) ฝึกให้เป็นที่สบาย ถ้าฝึกให้เป็นที่สบายจะไม่มีคำว่าบ้า มันจะปล่อยวาง มันจะโปร่ง มันจะโล่ง มันจะเป็นสุขตลอด
    5) ฝึกโดยเคารพ ตั้งใจฝึกจริงๆ ฝึกด้วยความเคารพ ไม่ใช่ฝึกเล่นๆ
    6) ฝึกให้สม่ำเสมอ อันนี้สำคัญ เรากินข้าวทุกวัน วันละสามมื้อบ้าง สี่มื้อบ้าง แล้วเราให้อาหารใจวันละกี่ครั้ง เราอาบน้ำชำระร่างกายวันละ 2 ครั้ง โดยประมาณ จิตใจล่ะเราชำระวันละกี่ครั้ง ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องมาดูแลจิตใจของตัวเราเอง ให้อาหารมันด้วยสมถะวิปัสสนา สติ สมาธิ ปัญญา ต่างๆ นานา แล้วชำระมันด้วยการปล่อยวางๆ จนกระทั่งหายบ้าในที่สุด แล้วท่านก็จะได้บุญภาวนาที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งเป็นฐานของฤทธิ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บุญแห่งความสุภาพอ่อนโยน

    พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า การที่คนเราจะบริสุทธิ์ได้นั้น นอกจาก ทาน ศีล ภาวนาแล้ว จะต้องประพฤติตนอ่อนน้อมอีก

    การประพฤติอ่อนน้อมเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งในการที่จะทำให้เราสะอาดบริสุทธิ์

    ความอ่อนน้อมอ่อนโยนเป็นธรรมชาติของชีวิตทุกชนิด ในขณะที่มีชีวิตอยู่ ร่างกายจะอ่อนสลวยมากทีเดียว ยืดหยุ่น เหยียดแข้งเหยียดขาเดินไปมาได้ เคลื่อนไหวได้ตลอด แต่พอตายไปแล้วจะแข็งไปหมด จับแขนงอก็ไม่ได้ มันแข็งกระด้าง

    ดังนั้น ความแข็งกระด้างคือสัญลักษณ์ของความตาย ความอ่อนสลวยคือสัญลักษณ์ของความมีชีวิตชีวา

    ด้วยเหตุนี้ พระกุมารกัสปะจึงบอกว่า มนุษย์เมื่อตายแล้วจะแข็ง น้ำหนักจะเพิ่มมากขึ้น แต่คนเราเมื่อยังมีชีวิตอยู่จะอ่อนโยนอ่อนสลวย

    มีสามสิ่งที่เราควรเข้าใจในเรื่องของความอ่อนโยน คือ...

    - ภาวะควรแก่การงาน
    - อานิสงส์ต่อเนื่องและ
    - การสร้างสมความอ่อนโยนอย่างมั่นคงและทรงพลัง

    ความอ่อนโยนควรแก่งาน

    พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ชีวิตที่พร้อมแก่การทำงานนั้นจะต้องมีจิตมุทิตากับกายมุทิตา

    จิตมุทิตา หมายความว่า จิตที่อ่อนโยนพร้อมแก่การงาน คือต้องอ่อนโยนจึงจะพร้อมแก่การทำงาน ถ้าแข็งกระด้างอยู่ เช่น โกรธอยู่ มันทำอะไรไม่ได้ ถ้าความคั่งแค้นมันยังไม่หายไป มันยังไม่พร้อมจะทำงาน จิตมันจะวนเวียนอยู่กับความพยาบาทนั่นแหละ

    กายมุทิตา คือ กายจะต้องอ่อนสลวยจึงจะควรแก่การงาน ถ้าใจกระด้างแข็ง กายก็แข็งกระด้าง มันไม่ไปไหนหรอก มันก็อยู่ตรงนั้นเขาเรียกว่าคนเอากรอบมาครอบตัวเอง มากๆ เข้าก็จะยึดถือโน้นยึดถือนี้ ยิ่งยึดมากก็ยิ่งแข็งกระด้าง เช่น ยึดถือตัวตน ข้าคือคนเก่ง ฉันคือคนดี ฉันมีตำแหน่งสูง ฉันจะต้องเป็นอย่างนั้น ฉันจะต้องเป็นอย่างนี้ คนอื่นจะต้องเข้าใจฉันอย่างนั้น ใครมาทำไม่ดีกับฉันไม่ได้ ถ้าอย่างนี้เขาเรียกว่ายึดองค์ประกอบโลกมาเป็นตัวตน พอยึดมากๆ ก็จะเกร็ง แล้วก็เลยกระด้างเข้าทุกทีๆ พอกระด้างก็ไม่ควรแก่การงานคือทำอะไรก็ไม่สะดวก มันติดยึดไปหมด ทำอะไรมันก็ไม่ขยับ เหมือนถูกตรึงไปหลายทิศพร้อมๆ กัน ขยับไปทางไหนก็ขยับไม่ได้ เมื่อขยับไม่ได้ก็อึดอัดก็ยิ่งมีปฏิกิริยาที่หยาบกระด้าง เมื่อหยาบกระด้างก็จะเปราะบางมากแตกง่ายมาก

    แต่เมื่อใดที่เขาเป็นอิสระ เขาจะขยับไปทางไหนเขาก็ขยับไปได้สะดวก ใช้ความยืดหยุ่น ใช้ความอ่อนโยนของชีวิตสร้างชีวาได้จริงๆ ด้วยความสงบมั่นคงทรงพลังกว่ามากนัก

    ดังนั้น กายมุทิตากับจิตมุทิตาจึงทำให้พร้อมควรแก่การงาน และความสัมพันธ์อันละเอียดลึกซึ้ง

    ความพร้อมที่ควรแก่การงานแล้วปฏิบัติงานได้ด้วยดีนั้นจะทำให้เกิดการพัฒนาเหมือนยอดไม้ ยอดไม้เป็นส่วนที่อ่อนที่สุดของต้นไม้ เพราะมันเป็นส่วนที่อ่อนมันจึงเจริญงอกงามไปสู่เบื้องสูง ขณะที่ส่วนที่หยาบกระด้างที่สุดของต้นไม้คือเปลือก และแน่นที่สุดคือแก่น แต่แก่นในขณะที่มันมีชีวิตอยู่มันก็มีของเหลวอยู่เยอะในตัวแก่น ส่วนที่กระด้างที่สุดของต้นไม้คือเปลือก อนาคตของเปลือกคือร่วงหล่นสู่ดิน ด้วยเหตุนี้จึงบอกว่าความแข็งกระด้างเป็นสัญลักษณ์ของความตาย ส่วนความอ่อนโยนคือความอ่อนสลวยคือสัญลักษณ์ของความเจริญงอกงาม

    จิตของเราก็ดี ร่างกายของเราก็ดี ถ้าจะมีความเจริญงอกงามจะต้องมีความอ่อนสวลวย ถ้าเด็กเกร็งอยู่ตลอดเวลาก็จะแกร็นไม่เจริญเติบโต แต่เด็กที่มีความยืดหยุ่นอ่อนสลวยจะเจริญเติบโตไว

    วัฒนธรรมไทยของเราจึงเป็นวัฒนธรรมที่ละเอียดอ่อนลึกซึ้งมาก สอนให้คนอ่อนโยนแต่อย่าอ่อนโยนจนกระทั่งอ่อนแอ ให้อ่อนโยนอย่างพร้อมควรแก่การงาน นั่นคือประโยชน์ของความอ่อนโยน
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อานิสงส์ของความอ่อนโยน

    ดังทราบแล้วว่า ความอ่อนโยนทำให้ควรแก่การงาน สามารถทำงานได้อย่างยืดหยุ่นและมีชีวิตชีวา ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของภาวะสร้างสรรค์

    นอกจากนั้น การประพฤติอ่อนน้อมทำให้เรารู้สึกสบาย ผ่อนคลาย ควรแก่การงาน เป็นประโยชน์ต่อความสัมพันธ์ ใครเห็นใครก็รัก ใครก็ยกย่อง ใครก็เชิดชู เพราะยอมรับได้โดยง่าย แต่ถ้าไปอวดตัวโด่เด่ทำเป็นอวดเก่ง คนจะหมั่นไส้แล้วจะเหยียบย่ำ หากเราประพฤติอ่อนน้อมคนกลับส่งเสริมเรา เป็นประโยชน์ต่อความสัมพันธ์ความเจริญก้าวหน้าของชีวิตของสังคม

    ยิ่งกว่านั้น พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า บุคคลใดประพฤติอ่อนน้อมแก่บุคคลที่ควรอ่อนน้อมแล้วไซร้ บุคคลนั้นเมื่อเกิดในชาติใดๆ ย่อมเกิดในตระกูลสูง การประพฤติอ่อนน้อมทำให้เกิดในตระกูลสูง ดูอย่างนักการเมืองแค่ในชาติเดียวอยากจะไต่ระดับจากคนธรรมดาขึ้นไปอยู่ในฐานะสูงๆ ของสังคม เวลาเจอใครก็ยกมือไหว้หมดเป็นพระเจ้าสิบทิศเลย

    ในเมื่อมีประโยชน์อย่างนี้ต้องพยายามประพฤติอ่อนน้อมให้ได้ น้อมพิจารณาปรับปรุงแก้ไขตนเนืองๆ อย่ามัวเพ่งโทษผู้อื่น มันทำให้กระด้าง ต้องกลับมาดูและแก้ตัวเองจะอ่อนโยน

    พระพุทธองค์ทรงบอกว่า คนพาลเท่านั้นมัวเพ่งโทษผู้อื่นอยู่ บัณฑิตย่อมพิจารณาปรับปรุงแก้ไขตนเอง
    ความอ่อนโยนอย่างมั่นคงทรงพลัง

    ทีนี้ทำอย่างไรล่ะเราจึงจะมีความอ่อนน้อม อ่อนโยน อ่อนสลวย ละเอียดอ่อนโดยไม่อ่อนแออยู่ในตัวเองพอสมควร อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ

    ประการแรกเลย ต้องหมั่นพิจารณาตัวเองเนืองๆ การหมั่นพิจารณาตัวเองเนืองๆ มันจะทำให้เห็นทั้งข้อดีและข้อบกพร่องของตนเองอยู่เสมอ จำไว้ว่าคนที่เห็นความผิดพลาดของตนเองเป็นคนที่มีปัญญญาอันยิ่งใหญ่ เพราะคนที่มีปัญญาธรรมดาจะเห็นแต่ค่วามผิดของคนอื่น ไม่ค่อยเห็นความผิดของตนเอง

    คนปัญญาน้อยจะเห็นแก่ตัว แต่ไม่เห็นตนเอง

    คนที่มีปัญญาอันยิ่งใหญ่ จะเห็นตัวเองยิ่งใหญ่ และเริ่มเห็นข้อบกพร่องในตนเอง

    การเห็นข้อบกพร่องในตนเองแสดงว่าปัญญาใหญ่เหนือความผิดพลาดนั้น ซึ่งเห็นได้ยาก เพราะมันใกล้ตัวที่สุด และมนุษย์ทุกคนสามารถหาเหตุผลเข้าข้างตนเองได้ตลอดเวลา จึงเข้าข้างตัวเองอยู่เสมอ มันก็เลยกลบข้อบกพร่องกันมาตลอด

    ถ้าใครไปคุ้ยเห็นข้อบกพร่องในตนได้ คนนั้นมีโอกาสเจริญก้าวหน้า เพราะเมื่อเห็นความผิดของตนเอง เราสามารถสั่งตัวเองไม่ให้พลาดในสิ่งที่ผิดนั้นอีกได้ นั่นหมายความว่ามีขบวนการปรับปรุงแก้ไขตนเอง เมื่อมีขบวนการปรับปรุงแก้ไข ตนเองก็เจริญขึ้นเรื่อยๆ

    ฉะนั้น การค้นพบความผิดของตนเองจึงเป็นปัญญาอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ การกล้ายอมรับความผิดและแก้ไขปัญหาของตนเองก็เป็นความสามารถอันยิ่งใหญ่เช่นกัน

    ประการที่สองในการสร้างความอ่อนโยน คือไม่ย่ำซ้ำเติมความผิดพลาดความบกพร่องของตนเอง ให้ก้าวล่วงออกเสีย เพราะถ้ามองแต่ความผิดพลาดแล้วไม่ก้าวล่วงออกมา ใจมันจะจมอยู่กับความล้มเหลว ใจมันจะเศร้า

    พระพุทธเจ้าจึงบอกว่า เมื่อพบความผิดให้รีบก้าวล่วงออกจากความผิดเสียโดย...
    1) สำนึกว่านั่นเป็นความผิด และ
    2) ตั้งใจว่าต่อไปนี้ตลอดนิรันดร เราจะไม่พลาดในสิ่งที่ผิดนั่นอีกแม้เล็กน้อย
    เมื่อทำทั้งสองขั้นตอนแล้ว เราจะปลอดโปร่งขึ้น พอปลอดโปร่งขึ้น--
    3) ขออโหสิกรรมเลย กรรมไม่ดีใดๆ ที่เรากระทำแล้วต่อใครๆ ก็ตาม ขอให้เจ้ากรรมทั้งหลายอโหสิกรรมให้เราด้วย ส่วนกรรมที่ไม่ดีใดๆ ก็ตามที่ใครกระทำต่อเรา ต่อหน้าก็ดี ลับหล้งก็ดี ตั้งใจก็ดี ไม่ตั้งใจก็ดี เราขออโหสิกรรมให้ท่านทั้งหลายทั้งหมด เพื่อให้ใจเราหลุดออกมาจากสิ่งเหล่านั้น
    พอใจเราหลุดออกมาจากพยาบาทและบ่วงกรรมอันนั้น ใจเราก็จะเป็นอิสระ พอเป็นอิสะใจมันก็จะค่อยๆ อ่อนสลวยตามธรรมชาติของมัน

    ประการที่สามที่จะทำให้เราอ่อนโยนได้ คือ การปล่อยวางการยึดถือตัวตน ปล่อยวางความหมายมั่น หรือปล่อยวางนิยามแห่งตัวตนซะ

    พอปล่อยวางได้เราก็จะโล่ง พอโล่ง โดยธรรมชาติจิตใจมันอ่อนโยนอยู่แล้ว ใจมันจะว่างๆ สบายๆ ในขณะที่ใจที่ไปยึดถือความเป็นตนเป็นตัวต่างๆ นั้นม้นกระด้าง ดังนั้น ต้องหมั่นปล่อยวาง

    // ถ้าทำทั้งสามประการด้วยตนเองไม่ได้...

    ถ้าทำทั้งสามประการด้วยตนเองไม่ได้ ประการที่สี่ให้ไปหากัลยาณมิตร ให้กัลยาณมิตรได้วิเคราะห์หรือแนะนำตักเตือนด้วยเมตตาจริงๆ กัลยาณมิตรที่มีเมตตามีปัญญาจริงนะ อย่าไปหาคนที่พูดมากหรือพูดจาไม่ดี เดี๋ยวท่านจะเจ็บใจกลับมา แต่ถ้ามั่นใจว่าเป็นคนที่มีปัญญาพอที่จะเข้าใจเรา เป็นคนมีความหวังดีแท้จริงกับเราก็เปิดโอกาสให้ท่านแนะนำ

    มีอยู่ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านทรงทำให้ดูเป็นตัวอย่าง พระองค์ทรงจีวรผ้าเฉวียงบ่า เสร็จแล้วทรงหันไปทางพระสารีบุตร ตรัสว่า "สารีบุตรตั้งแต่เธอรู้จักเรามา เธอมีอะไรที่จะตำหนิติเตียนตถาคตหรือไม่" หมายความว่าทรงเปิดใจยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ของพระสารีบุตรซึ่งเป็นลูกศิษย์ของตนเอง

    พระสารีบุตก็บอกว่า "ตั้งแต่พระตถาคตบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วข้าพระพุทธเจ้าได้รู้จักนี้ ไม่มีสิ่งใดแม้แต่น้อยที่จะพึงติเตียนได้"

    นั่นแสดงว่าพระองค์ประพฤติตนโดยสมบูรณ์ ก็ทั้งๆ ที่พระองค์สมบูรณ์ขนาดนั้น พระองค์ยังน้อมรับคำติเตียนของเพื่อนพรหมจรรย์

    ดังนั้น การที่เราหันไปหาคนที่มีปัญญามาก หันไปหาคนที่มีเมตตาต่อเราอย่างแท้จริง เราจะได้รับคำแนะนำที่ดีๆ มา สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราอ่อนโยนได้โดยสมควร

    ประการที่ห้าที่ทำให้อ่อนโยนคือปัญญาเข้าใจธรรมชาติแห่งชีวิตอย่างถ่องแท้ การพิจารณาขันธ์นั้นจะทำให้เกิดปัญญา ปัญญาจะทำให้เราเข้าใจความเป็นจริง พอเข้าใจความเป็นจริงก็จะเกิดสิ่งต่างๆ ต่อเนื่องมา ดังนี้
    ๑) การเคารพซึ่งกันและกัน
    ๒) การปล่อยวาง
    ทั้งการเคารพซึ่งกันและกันและการปล่อยวาง เป็นตัวนำมาซึ่งความอ่อนน้อม

    เราจะพิจารณาธรรมชาติแห่งชีวิตได้อย่างไร พิจารณาได้จากรูปและนามที่เรามีจะง่ายที่สุด

    รูปก็คือกาย กายจริงๆ แล้วก็สักแต่ว่าเป็นธาตุ มาจากข้าว แป้ง น้ำตาล นม เนย หมู หรืออะไรก็ตามที่เราบริโภคเข้าไป มันก็คือสารอาหารทั้งนั้นเลย สารอาหารเหล่านั้นก็คือธาตุทางเคมี ไม่ว่าจะเป็นโปแตสเซียม แคลเซียม คาร์โบไฮเดคต ไฮโดรเจน ออกซิเจน มันเป็นธาตุทางเคมีที่อยู่ในอากาศในน้ำทั้งสิ้น โดยมันมาประกอบกันเป็นรูป ดังนั้น รูปก็สักแต่ว่าเป็นธาตุ

    เวทนาก็เป็นความรู้สึก ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการกระทบกันของธาตุแล้วเกิดกระแสแล่นไปมาตามเซลล์ประสาทที่จิตรับรู้ได้ นั่นคือเวทนา ทั้งความปวดเมื่อย ความรู้สึกสบาย แม้แต่ความรู้สึกทางใจ เช่น คับข้องใจ ดีใจ เสียใจ

    ทีนึ้เมื่อรู้สึกอะไรแล้ว ทั้งการรับรู้ที่เป็นข้อมูลกลางๆ ก็ดี หรือความรู้สึกชอบชังในการรับรู้นั้นๆ ก็ดี มันจะถูกบันทึกไว้ทั้งหมด ชุดการบันทึกเราเรียกว่าสัญญาหรือความทรงจำนั่นเอง

    พอบันทึกไว้แล้วมันไม่ได้จบแค่นั้น ตัวความทรงจำหรือสัญญามันจะพลิ้วออกมาอยู่ตลอดเวลา พระพุทธเจ้าทรงบอกว่ามันพลิ้วออกมาเหมือนพยัพแดด เมื่อมันพลิ้วออกมามันก็จะประกอบกันเป็นโครงร่างเป็นเรื่องราวอย่างโน้นอย่างนี้ เป็นอะไรไปต่างๆ นานาที่เราเรียกกันว่าความนึกกับความคิด พอมันมาปรุงกันเป็นความนึกคิดแล้ว เราเรียกมันว่าสังขาร แล้วสังขารตัวนี้มันร้ายยิ่งกว่านั้นอีก คือเมื่อปรุงแล้วมันจะผลักดันชีวิตให้ไปตามที่มันนึกคิด อย่างเช่น บางคนในสมัยพุทธกาลคิดว่าความเป็นหมาสบายจริงๆ ไม่ต้องไปทำมาหากินอะไร เจ้านายก็เลี้ยง พอนายกินข้าวเสร็จก็เอาข้าวมาให้กิน ครั้นนึกคิดอยู่อย่างนั้น พอตายก็ไปเกิดเป็นลูกหมาในบ้านที่ตนเองอยู่ อย่างนี้เป็นต้น ความคิดมันพาไปสู่ความเป็นภพ เป็นชาติ เราจึงเรียกว่าสังขาร อภิสังขารต่างๆ นานา

    และทุกการไปเกิดหรือแม้แต่การนึกคิดแต่ละครั้งก็มีวิญญาณมาเกาะรู้ตลอดเวลา วิญญาณเกาะรู้ทั้งในรูปและนาม ก่อให้เกิดอภิสังขารคือชีวิตขึ้นมา

    // นี่คือขบวนการ แต่...
    นี่คือขบวนการ แต่ทั้งหมดนั้นมันสักแต่ว่าเป็นกลไกธรรมชาติ มันมีธรรมชาติสามประการในทั้งห้าขันธ์ก็คือ
    1) ขันธ์ทั้งหลายมันไม่เที่ยง
    2) ขันธ์ทั้งหลายมันบีบเค้นกันอยู่โดยองค์ประกอบสิ่งเร้า การกระตุ้นทั้งของเก่าของใหม่ และทั้งความวาดหวังในอนาคต
    3) ทั้งหมดนั้นมันไม่เป็นตัวเป็นตนของใครแท้จริง

    สมัยหนึ่ง เราอาจจะเคยคิดว่าฉันมีความคิดอย่างนี้ ฉันเป็นอย่างนี้ พออีกสองสามวันได้ข้อมูลใหม่ เกิดความอยากใหม่ เกิดค่านิยมใหม่ๆ ความนึกคิดของเราเปลี่ยนอีกแล้ว ความเป็นตนที่แท้จริงมันไม่มี พอปัญญาเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้ก็เปลี่ยน ในที่สุดสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นเพียงการประกอบกันขององค์ประกอบในธรรมชาติ แล้วก็กำลังเลื่อนไหลไปตามขบวนการธรรมชาติ มีกลไกที่ชัดเจน

    ใครเห็นสิ่งเหล่านี้ได้ก็จะรู้ว่าทั้งหมดเหล่านี้มันไม่เป็นตนของใคร มันกำลังถูกปรุงแต่งไปเรื่อยๆ ตามเหตุตามปัจจัยในเงื่อนไขต่างๆ แล้วมันก็ไม่เที่ยง เพราะมันต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ดังนั้นถ้าเราไม่ยึดถือสิ่งเหล่านี้เลย เพราะเราเข้าใจสิ่งเหล่านี้อย่างชัดเจนเราก็จะเคารพความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกันได้ดี มนุษย์คนนี้ก็คือธาตุนะ เขากำลังมีขบวนการพัฒนาของเขาไปอย่างนั้น กำลังไต่ระดับวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ ไปสู่ที่สุดของวิวัฒนาการ คนนี้ก็ไต่ระดับวิวัฒนาการ คนนั้นก็ไต่ระดับวิวัฒนาการ เราจะเคารพการพัฒนาของกันและกันประการหนึ่ง

    อีกประการหนึ่ง เราจะเกิดการปล่อยวาง ใครจะเป็นอย่างไรมันก็ตามระดับการเรียนรู้และการฝึกฝน ตอนนี้เขาไม่ดีมันก็เป็นโอกาสของเขาที่จะเรียนรู้ความไม่ดีและความเจ็บปวดจากความไม่ดีนั้น เมื่อเขาเห็นทุกข์เดี๋ยวเขาก็เห็นธรรม

    คนที่กำลังดีๆ อยู่ถ้าไม่ประมาทแล้วพัฒนาตนไปเรื่อยๆ ก็ยิ่งดีใหญ่เลย แต่ถ้าดีๆ อยู่ สบายๆ อยู่ แล้วประมาทว่าชีวิตไม่เป็นไรหรอก จงอย่าคิดว่าชีวิตฉันอยู่สบายแล้ว เพราะดีแค่ไหนเดี๋ยวก็เสื่อมได้อีกตามเหตุปัจจัย ทั้งภายใน ภายนอก และในระหว่าง

    สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมันก็ไม่มีอะไรเป็นตนของใครเลย มันก็สักแต่ว่าเป็นธาตุตามธรรมชาติเท่านั้นเอง ไหลเลื่อนไปตามขบวนการของธรรมชาติ เราจะไปยึดถือมาเป็นตัวตนก็ไม่ใช่ จะไปยึดตัวตนคนอื่นก็ยิ่งไม่ใช่ใหญ่เลย เพราะเขาก็ไม่ใช่ตัวเขา เขาเองก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้นตลอด จึงเขียนบทกลอนไว้เตือนตัวเองอยู่เสมอๆ ว่า "เมื่อใดใครเห็นตนไม่เป็นตน เมื่อนั้นย่อมเข้าใจตนโดยแทงตลอด" ฝากท่านทั้งหลายเอาไปคิดด้วย

    เมื่อเราเห็นกลไกเหล่านี้ก็จะปล่อยวางได้ พอเกิดการปล่อยวางได้ เราก็ไม่กระด้างกับใคร เราก็อ่อนโยนไปโดยธรรมชาติ

    และถ้าเราจะเร่งให้เร็ว เราทำได้ไหม ก็ได้เช่นกัน ประการที่หก ผ่อนคลายและกำหนดสติสัมปชัญญะรู้ภายในให้ล้ำลึก ถ้าเราผ่อนคลายไปเรื่อยๆ ร่างกายของเราก็จะอ่อนสลวย จิตใจของเราก็จะอ่อนโยนพร้อมควรแก่การงานอยู่เสมอ นั่นคือการกำหนดตัวเองได้ด้วยกำลังของสติและสมาธิ

    นี่คือขบวนการของการสร้างบุญ ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมอ่อนโยน
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บุญแห่งการสงเคราะห์เกื้อกูล

    เป็นความจริงประการหนึ่ง มหาบุรุษของโลกทุกยุคทุกสมัยทุกชนชาติล้วเกิดมาเพื่อเกื้อกูลแก่ผู้อื่น และใครก็ตามที่ฝึกหรือเจริญการเกื้อกูลช่วยเหลือผู้อื่นโดยมาก เขาเหล่านี้ก็จะเป็นบุคคลสำคัญยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ และก็จะมีผู้ที่อาสาช่วยงานช่วยภารกิจมากมาย ไม่ว่าจะเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาตมะคานธี ศาสดาของทุกศาสนา หรือเจ้าลัทธิทั้งหลาย ล้วนเกิดมาเพื่อเกื้อกูลแก่มนุษยชาติทั้งสิ้น บุญตัวนี้จะทำให้ได้บริวารและบารมี

    ในเรื่องนี้ สิ่งที่ต้องเข้าใจก็คือ...

    - การสร้างบุญแห่งการเกื้อกูล
    - ผลแห่งการเกื้อกูล
    - การปลูกฝังนิสัยแห่งการเกื้อกูล และ
    - การเกื้อกูลอย่างคุ้มค่า

    การสร้างบุญแห่งการเกื้อกูล

    แล้วถ้าเราอยากสร้างบุญแห่งการเกื้อกูล จะทำได้ไหม คำตอบคือ ทุกคนทำได้ เพราะบุญทุกประเภทเป็นหลักสูตรสำหรับมนุษย์ทุกคน ไม่ได้เฉพาะใครบางคน แล้วเราจะทำอย่างไร?

    ในขั้นแรก เราหมั่นเกื้อกูลกันด้วยทรัพย์ก่อน ถ้าใครเขาเดือดร้อนเรื่องทรัพย์ ถ้าเราพอเกื้อกูลได้โดยสมควร คือเมื่อเกื้อกูลไปแล้วเขาไปเป็นประโยชน์จริงๆ ไม่ใช่เอาไปดื่มเหล้า เกื้อกูลไปแล้วเขาเอาไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อชีวิต เอาไปเรียนหนังสือ เอาไปหางานทำ เอาไปพัฒนาตัวเองหรืออาไปรักษาตัวเองให้พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บอะไรก็ตาม เหล่านี้สมควรแก่การเกื้อกูลด้วยทรัพย์

    พอเกื้อกูลด้วยทรัพย์มากๆ คนก็จะยอมรับเรา นับถือเราเป็นญาติ ยอมรับเราเป็นเพื่อนแท้ที่เกื้อกูลเขาในยามยาก พอยอมรับเรามากๆ เขาก็จะยกยศให้กับเรา ยกตำแหน่งให้กับเรา การยอมรับเป็นที่มาของตำแหน่ง พอเราได้ตำแหน่งมากขึ้นสูงขึ้นในสังคม ทรัพย์ก็ยิ่งมามาก

    เห็นไหมว่าเราเกื้อกูลเขาด้วยทรัพย์ เราได้ตำแหน่ง พอได้ตำแหน่ง ทรัพย์ก็ยิ่งมาใหญ่เลย เหมือนคนที่มีตำแหน่งสูงในสังคม ใครๆ ก็อยากบริจาคให้ เช่น นักการเมือง จริงๆ แล้วนักการเมืองหลายคนไม่ได้เรียกเงินจากพ่อค้า แต่ประประชาชนเอาไปประเคนให้เขาเอง พอมีตำแหน่งแล้วคนอยากจะให้ แม้กระทั่งพระซึ่งสละทรัพย์สละบ้านเรือนไปหมด คนก็ยังเอาบ้านเอาเรือนไปให้สร้างกุฏิ วิหารให้มากมาย เอาเงินทองไปให้อีก ดูซีธรรมชาตินี้ยิ่งสละก็ยิ่งได้

    ในขั้นที่สอง พอมียศเราก็สามารถเกื้อกูลคนด้วยยศ เมื่อเรามีตำแหน่ง เราก็สามารถใช้หน้าที่ของเราดำเนินการเพื่อการเกื้อกูลแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในความรับผิดชอบของเรา หรือสร้างคนอื่นให้มีฐานะเช่นเรา หรือสละฐานะของเราให้คนอื่น พอเราสละให้คนอื่นก็ดี หรือเราสร้างให้คนอื่นเป็นเหมือนเราก็ดี เราจะได้เกียรติ แต่ถ้าคนติดยศ มีตำแหน่งอะไรแล้วกอดตำแหน่งไว้ ใครอย่ามาแย่งฉันนะ ถ้าคนมันอยากได้ขึ้นมาก็จะทำลาย เกิดการเลื่อยขา การแซะเก้าอี้ เกิดการปฏิวัติล้างผลาญกัน แต่ถ้าสละตำแหน่งกลับได้เกียรติ เหมือนท่านองคมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ พอท่านถึงเวลาควรจะสละท่านสละเลย พอสละแล้วท่านได้เกียรติ คนยกย่องให้เกียรติท่านมาก

    แล้วโดยธรรมชาติเช่นกัน พอท่านมีเกียรติที่สูงส่งยิ่งขึ้น ตำแหน่งกลับมากขึ้น เป็นทั้งองคมนตรี เป็นทั้งรัฐบุรุษ เป็นทั้งผู้อาวุโสแห่งสังคม เป็นคนที่ใครๆ ก็เกรงใจ เป็นป๋าของคนทั้งประเทศ พอสละยศกลับได้ยศเพิ่มมากขึ้น แต่ที่ได้มากกว่าคือได้เกียรติ

    อีกขั้นหนึ่ง เมื่อเราอยากจะมีความสุขความสะอาดยิ่งขึ้น เราต้องสละเกียรติ พอเราสละเกียรติออกไปเราจึงจะได้ความสุขเหมือนพระทั้งหลายที่ท่านมีชื่อเสียงมากมายแต่ท่านก็สละไปอยู่ป่า ไปปฏิบัติบำเพ็ญธรรมอยู่จนกระทั่งจิตใจสะอาดบริสุทธิ์ ท่านไม่ได้ติดแม้กระทั่งเกียรติเหล่านั้น พอสละเกียรติจึงได้ความสุข พอได้ความสุขคนกลับยิ่งให้เกียรติ ดูซียิ่งสละสิ่งใดก็จะยิ่งได้สิ่งนั้น

    ดังนั้น ไหนๆ ขบวนการพัฒนาจะต้องเป็นอย่างนี้โดยธรรมชาต เราก็ควรจะใช้สิ่งที่เรามีเกื้อกูลแก่คนอื่นซะ เกื้อกูลผู้อื่นด้วยทรัพย์ เกื้อกูลด้วยโอกาส ด้วยฐานะ ด้วยตำแหน่ง ยกย่องเขาให้มีฐานะมีตำแหน่งโดยสมควร และในที่สุดก็สละตำแหน่งให้เขา เราก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ

    ยอดผู้นำคือผู้ที่สร้างผู้นำได้โดยมาก พอคนอื่นเขาได้ตำแหน่งได้ฐานะ ได้หน้าที่พอสมควร เขาก็จะเป็นหนี้บุญคุณเรา เขาก็จะหนุนเราให้สูงขึ้น เราก็จะมีเกียรติมากขึ้น เราก็สามารถสละแม้เกียรตินั้นให้คนอื่นด้วยการชื่นชมคนอื่น ไม่ใช่อวดเก่งอยู่คนเดียว ต้องชื่นชมยกย่องสรรเสริญคนอื่นโดยสมควร

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า ตูกรภิษุทั้งหลาย ใครสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญย่อมประสบความเจริญเป็นอันมาก ส่วนคนที่สรรเสริญคนที่ควรตำหนิและตำหนิคนที่ควรสรรเสริญย่อมประสบภัยเป็นอันมาก

    ดังนั้น ใครที่ดีจริง บริสุทธิ์จริง เราต้องสรรเสริญ เคารพซึ่งกันและกัน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน นี่เป็นการเกื้อกูลกันโดยฐานะ ด้วยการยังเกียรติให้ปรากฏ เราก็จะมีความสุข คนรอบๆ ตัวเราก็มีความสุข เป็นการแบ่งปันความสุขให้แก่กัน

    การเกื้อกูลกันนั้นสามารถเกื้อกูลกันได้ทุกระดับ

    พอสุขมากขึ้นก็เกื้อกูลกันด้วยความสุขได้อีก พอมอบความสุขแก่กันและกัน ทีนี้ความสุขยิ่งใหญ่ไพศาลเลย

    ผลของการเกื้อกูล

    การขวนขวายในกิจผู้อื่นจึงเป็นบุญอันยอดอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการเกื้อกูลแก่ผู้อื่น เป็นการขยายผลคุณค่าของชีวิตเราให้กระจายกว้างออกไป แทนที่มันจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเราคนเดียว ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นต่อสังคมด้วย แล้วการที่ไปสร้างประโยชน์ให้ยิ่งใหญ่กระจายออกไป มันทำให้เรายิ่งสูงส่งในสังคม ทำให้มีมิตรมาก มีบริวารดี บุญตัวนี้จะทำให้เป็นคนมีมิตรมากมีบริวารดี

    เมื่อเราทราบว่ามันมีประโยชน์ แต่ทีนี้ทำอย่างไรเราจึงจะปลูกสร้างนิสัยเกื้อกูลให้เกิดขึ้นในใจของเราได้จนเป็นนิสัยประจำตัว
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การปลูกฝังนิสัยเกื้อกูล

    ประการแรกเลยจะต้องทำใจให้เป็นอิสระจากความหมายมั่นคาดหวัง ตัวหนึ่งที่เป็นปัญหาในความสัมพันธ์ของผู้คนทั้งหลายก็คือความคาดหวังว่าเขาน่าจะเป็นอย่างนั้น เขาน่าจะรู้เรื่องอย่างนี้ เขาน่าจะทำตนอย่างนั้น ทำไมจะต้องทำตนอย่างนี้ ถ้าไปคาดหวังแล้วมันก็จะเกิดความไม่สมหวังขึ้นมาทันที มนุษย์ทุกคนมีสิทธิจะเป็นอย่งที่เขาเป็น เขามีสิทธิที่จะเรียนรู้แม้กระทั่งความผิดพลาดเอง หน้าที่ของเราก็คือเราควรเกื้อกูลเขาด้วยเมตตาในช่วงเวลาที่เหมาะสม

    แต่เราจะเมตตาได้เราจะต้องไม่คาดหวังเสียก่อนว่าเขาจะต้องเป็นอย่างนั้น เขาจะต้องเป็นอย่างนี้ อย่าเอาความอยากของตัวเองไปครอบงำผู้อื่น ควรเตือนสติตัวเองอยู่เสมอว่าตราบใดที่เราก็ยังไม่อาจเป็นไปตามที่ตนปรารถนาแล้วไซร้ อย่าหมายให้คนอื่นเป็นไปตามปรารถนาของตน เราจะต้องทำตัวเองให้เป็นไปตามปรารถนาของตนให้ได้เสียก่อน เช่น อยากเข้าสมาธิญาณที่เท่าไหร่ต้องเข้าได้ อยากจะมีปัญญาแค่ไหนต้องได้ อยากจะมีสติอันละเอียดอ่อนอย่างไรต้องทำได้ อยากจะมีความสัมพันธ์หรือวิถีชีวิตอย่างไรต้องได้ ถ้าได้แล้วค่อยไปทำคนอื่น ถ้าไม่ได้จริงอย่าอุตริไปทำคนอื่น

    นั่นคือประการแรก เราจะต้องเป็นอิสระจากความคาดหวังสิ่งต่างๆ จากผู้อื่น

    พอเราเป็นอิสระเราจะไม่หมายมั่น พอเราไม่หมายมั่นเราก็จะเห็นเขาเป็นจริงอย่างที่เขาเป็น พอเห็นเขาเป็นอย่างที่เขาเป็นจริงถ้าเราอยู่สูงกว่าเขา เราเข้าใจเรื่องนั้นดีแล้ว เราพัฒนาเรื่องนั้นผ่านมาแล้ว เราก็จะเมตตาเขาได้

    ประการที่สองคือ เมตตาอย่างเหมาะสม หากพบว่าเขากำลังเรียนรู้อยู่นะ ถ้าเขายังต้องการเรียนรู้อยู่ เขายังคิดว่าเขาเก่งเขาดีแล้วให้เขาเรียนรู้ไปก่อน แต่ถ้าเขาต้องการความช่วยเหลือจากเราเมื่อไหร่ เราพร้อมที่จะให้เขาทันที เมตตามันหลั่งไหลออกไปยินดีช่วยเหลือเขา นี่เป็นเมตตา

    เมตตาเป็นที่มาของกรุณา กรุณาคือการเกื้อกูลนั่นเอง ถ้าไม่มีความเมตตาต่อกันมันไม่กรุณากัน ฉะนั้นเมตตาจึงเป็นที่มาของการเกื้อกูล

    ในช่วงนี้ต้องหมั่นปลูกฝังเมตตา ปลูกฝังอย่างไร ทำใจตัวเองให้เป็นสุข ชื่นชมยินดีในคุณค่าของตัวเอง จากนั้นแผ่ความชื่นชมยินดีความปรารถนาดีให้แผ่กระจายออกไปรอบๆ กระจายออกไปทั่วๆ เห็นใครก็มองกันด้วยแววตาแห่งความเมตตาปรารถนาดีจริง ที่พระพุทธเจ้าบอกว่าจงมองกันด้วยแววตาอันเป็นที่รัก พอมองกันอย่างนี้จริงๆ ความรู้สึกความสัมพันธ์ก็จะดี พอเราเมตตาต่อเขาจริงๆ เขาก็จะยอมรับเราได้ง่ายขึ้น เราพูดจาอะไรเขาก็จะรับฟัง จะยอมรับความช่วยเหลือจากเรา เราก็จะให้ความกรุณาเข้าไปได้ง่ายขึ้น นั่นประการที่สอง

    ประการที่สาม ไม่ว่าจะทำกิจอะไรในชีวิต ให้มีเจตนาที่ยิ่งใหญ่เพื่อมหาชนเสมอ สมมติว่าถ้าเราเป็นครู ถ้าเราสอนหนังสือเพราะไม่รู้จะไปทำอะไรถึงมาสอน มันก็ไม่ได้อะไรเท่าไหร่ ถ้าเราเป็นครูเพราะอยากแต่จะได้เงิน เราก็จะได้แต่เงิน แต่ถ้าเราเป็นครูเพราะอยากจะสร้างเด็กให้เป็นคนที่สมบูรณ์ เพื่อเด็กที่สมบูรณ์จะไปสร้างชาติที่สมบูรณ์ขึ้นมา ชาติที่สมบูรณ์จะไปเป็นแบบอย่างให้มนุษยชาติทั้งโลก ถ้าตั้งใจอย่างนั้นใจมันขยายออกไปสร้างกุศลยิ่งใหญ่ด้วยกิจที่เราทำ

    คนที่เป็นเซลส์ก็เหมือนกัน ถ้าเป็นเซลส์แมนเซลส์เกร์ลเพราะอยากได้เงินมันก็ได้แต่เงิน ถ้าไม่รู้จะทำอะไรก็ยิ่งเซ็งกันไปใหญ่ แต่ถ้าเป็นเซสล์แมนเพราะเราพบสินค้าที่ดีมาก สินค้านี้มีประโยชน์ต่อประชาชน มีเจตนาดีว่าทำอย่างไรจึงจะให้ประชาชนได้รับประโยชน์อันนี้ ทันทีที่คิดอย่างนั้น ใจจะขยายไพศาล แล้วความเบิกบานจะเกิด ความกล้าหาญจะเกิด แล้วบุญจะเกิดทุกขณะที่เขาทำ แม้เป็นเซลส์แมนก็ทำบุญได้ เป็นครูก็ทำบุญได้ เป็นทหาร เป็นตำรวจหรืออาชีพใดๆ ก็ทำบุญได้หมด เพียงแต่มีจิตเจตนาต่อมหาชนเสมอเท่านั้น

    การมีจิตใจเจตนาดีต่อมหาชนนั้นยังเป็นอนุอนันตริยกรรม เป็นกรรมที่ยิ่งใหญ่ ให้ผลที่เป็นอนันต์เป็นบุญมหาศาล

    ดังนั้น การเกื้อกูลมหาชนจึงนำมาซึ่งผลบุญมหาศาล ถ้าเกื้อกูลต่อมนุษยชาติจริงๆ สามารถเปลี่ยนชะตาชีวิตเราได้ทันที นั่นคือประการที่สาม คือจะต้องปลูกเจตนาต่อมหาชนเสมอในทุกกิจที่เรากระทำ

    การเกื้อกูลอย่างคุ้มค่า

    การเกื้อกูลคนให้ได้ผลดีนั้นจะต้องเกื้อกูลด้วยปัญญา คือเกื้อกูลโดยควรซึ่งคาดผลได้ชัดว่า เมื่อช่วยไปแล้วจะเกิดผลอันนี้ต่อเขา แล้วผลอันนี้จะไปเกิดผลต่อเนื่องต่อสังคมอย่างนี้ มันจะต้องมีขบวนการที่ครบถ้วนด้วยปัญญา ไม่ใช่ช่วยไปโดยที่สักแต่ว่าช่วย หรือว่าฉันอยากจะช่วยโดยไม่ดูผลต่อเนื่อง

    บางทีเขาไม่ทันอยากจะรับ เราก็อยากจะช่วย การช่วยเช่นนั้นจะไม่มีคุณค่า บางทีถูกมองแง่ร้ายไปเลย ถึงเขาเข้าใจได้ ผลก็จะไม่ยิ่งใหญ่ จะต้องช่วยในสิ่งที่ควรแก่บุคคลที่ควรรับการช่วยด้วยวิธีการที่เหมาะสม และซึ่งทราบผลชัดเจน คือสามารถประเมินผลได้ชัดว่าช่วยไปแล้วจะเกิดผลอย่างไร

    บุญแห่งการฟังและการสาธยายธรรม

    ในหัวข้อนี้ สิ่งที่เราพึงทราบคือ...
    - การฟังธรรมตามโอกาสอันเหมาะสม
    - การแสดงธรรมที่ตนทราบชัดแล้ว และ
    - อานิสงส์สำคัญของการแสดงธรรม
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การฟังธรรมตามโอกาสอันควร

    พระพุทธเจ้าบอกว่า การฟังธรรมเป็นการเจริญบุญอย่างหนึ่ง เพราะว่าการฟังให้มากจะทำให้เราได้สิ่งเหล่านี้...
    1) จะทำให้ได้ฟังในสิ่งที่เราไม่เคยฟังมาก่อน
    2) สิ่งใดที่เคยฟังแล้ว ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น สิ่งที่เข้าใจลึกซึ้งก็จะเกิดการจดจำที่มากยิ่งขึ้น สิ่งที่จดจำได้มากยิ่งขึ้นก็จะนำไปสู่การปฏิบัติได้เป็นปกติและถูกต้องมากยิ่งขึ้น

    และธรรมะก็เป็นสิ่งประเสริฐที่มีประโยชน์ยิ่งต่อชีวิต ดังนั้นการฟังธรรมจึงเป็นบุญอย่างหนึ่ง เพราะธรรมะมีอำนาจในการชำระสิ่งสกปรกและธรรมเป็นสิ่งที่ 1) ทำให้เราสงบ 2) ทำให้เราปล่อยวาง 3) ทำให้เราเป็นอิสระ 4) ทำให้เรามีปัญญา 5) ทำให้เรามีความสุข นี่คือผลของธรรมะ

    เมื่อฟังธรรมะทีไร เราก็จะเกิดการชำระ ชำระความทุกข์ ชำระความเศร้าหมอง ชำระการยึดถือ ชำระการหลงผิดไปได้ พระอานนท์จึงตรัสว่า บุคคลจะบรรลุธรรมได้ด้วยอาการอย่างนี้คือ 1) ในขณะพิจารณาธรรม 2) ในขณะฟังธรรม 3) ในขณะแสดงธรรม 4) ในขณะที่รวมจิตใจให้เป็นหนึ่งจึงเกิดมัคคสมังคีขึ้น เข้าเขตอริยะทันที

    คนจะบรรลุธรรมได้ด้วยอาการสี่ประการนี้

    ในขณะที่ฟังธรรม ถ้าผู้แสดงธรรมมีธรรมะที่ลึกซึ้งชัดเจนและมีอานุภาพเหนี่ยวนำและรู้วาระจิตของคนฟังธรรม สามารถพูดและเคลียร์ปัญหาในใจของคนฟังนั้นได้ คนนั้นจะหลุดจากปัญหาชีวิตประเด็นนั้นๆ เลย ด้วยเหตุนี้ ในสมัยพุทธกาลหลายต่อหลายคนฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วสำเร็จเป็นพระอริยะ เป็นพระโสดา บางคนเป็นพระอรหันต์เลยในทันทีก็มี

    การฟังธรรมมีพลังมากเลยทีเดียว เป็นบุญอย่างหนึ่ง ซึ่งยกระดับชีวิตได้

    แต่ที่สำคัญเพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากการฟังธรรม พึงเลือกธรรมะที่เหมาะสม ธรรมะใดครอบงำปัญญาว่าอย่างนี้เท่านั้นถูกอย่างอื่นของคนอื่นผิด อย่าฟังธรรมนั้น นั่นเป็นสัจจะคับแคบในกะลาครอบ เป็นธรรมะเทียม ธรรมะแท้ย่อมเป็นสัจจะในทุกสถานกาลเวลาและครอบงำความมีอยู่เป็นอยู่ทั้งปวงโดยไม่ครอบงำปัญญาของผู้ฟัง

    การแสดงธรรมที่ตนทราบชัดแล้ว

    การแสดงธรรมเป็นบุญที่สำคัญอีกประการหนึ่ง เพราะนอกจากจะเป็นการเกื้อกูลผู้อื่นด้วยปัญญาแล้ว ยังเป็นการกำกับตัวเองด้วย

    ขั้นตอนในการเกื้อกูลผู้อื่นด้วยปัญญา คือเมื่อเราไปรู้อะไรมาแล้วเราไปเกื้อกูลทำให้ผู้อื่นเขาหลุดออกไปจากปัญหาชีวิตไปเป็นเปราะๆ ด้วยธรรมะที่เราให้ มันก็เป็นการเกื้อกูลที่ยิ่งใหญ่ พระพุทธเจ้าจึงบอกว่า ในบรรดาการให้ทั้งปวงนั้น การให้ธรรมนั่นสูงสุด ไม่มีอะไรประเสริฐกว่าการให้ธรรมอีกแล้ว เพราะการให้อย่างอื่นก็อาจจะเป็นการประคับประคองชีวิตไว้ในความทุกข์เฉยๆ แต่การให้ธรรมเป็นการสลายความทุกข์ เป็นการล้างความทุกข์ของชีวิตได้

    เป็นธรรมชาติอีกอย่างหนึ่ง มีหลายสิ่งหลายอย่างในปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ยิ่งเอาออกมาให้ก็ยิ่งได้ เช่น ยิ่งออกกำลังก็ยิ่งได้กำลัง ปัญญาก็เช่นกัน ยิ่งให้ปัญญาก็ยิ่งได้ปัญญา ธรรมะก็เช่นกัน ยิ่งให้ก็ยิ่งได้

    ดังนั้น อย่าหวงธรรมะเลย มีวิชาอย่าไปหวงวิชา วิชาจะหดหาย จงอนุเคราะห์ผู้อื่นไปเถิด เกื้อกูลเขาตามกำลัง แต่ควรให้อย่างเหมาะสมแก่ผู้รับ จำแนกธรรมให้แก่ผู้ควรรับ

    ดังนั้น ถ้าแสดงธรรมด้วยขบวนการเหล่านี้ ท่านก็จะได้ ผู้ฟังก็จะได้ สังคมก็จะได้ ทุกฝ่ายก็จะได้หมด เป็นการเกื้อกูลที่ยิ่งใหญ่อีกประการหนึ่งในโลก และดีไม่ดีจะหลุดพ้นทั้งผู้แสดงและผู้ฟัง ก็ยิ่งได้กุศลมหาศาล และที่สำคัญเพื่อป้องกันผลข้างเคียงอันเกิดจากการแสดงธรรม จงเลือกเฉพาะธรรมะที่เราทราบชัดแล้ว ปฏิบัติได้แล้วจึงมาแสดง หาแสดงธรรมที่ตนไม่ทราบชัด จะพากันหลง เป็นบาปกรรมกันไปเปล่าๆ ไม่คุ้ม

    อานิสงส์ของการฟังธรรมและการแสดงธรรม

    อานิสงส์ของการฟังธรรมและการแสดงธรรมคือ ทำให้ธรรมะงอกงามไพบูลย์ยิ่งขึ้นจนบรรลุธรรม คือได้สภาวะนั้นๆ ในที่สุด นี่คืออานิสงส์สูงสุด

    บุญแห่งการให้บุญ

    การให้บุญหรือการอุทิศส่วนกุศลให้คนอื่น หรือการเผื่อแผ่สิ่งที่ดีงามให้แก่ผู้อื่นนั้น หมายถึงว่าเวลาเรามีความดีความชอบใดๆ แล้วเราก็ควรจะเผื่อแผ่ความชอบนั้นให้แก่ผู้อื่น

    ในเรื่องนี้สิ่งที่ต้องเข้าใจคือ ...
    - บุญยกกำลังสอง
    - การทำดีโดยไม่ติดดี
    - การอุทิศส่วนบุญกุศล และ
    - คำอธิษฐาน
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บุญยกกำลังสอง

    มีหลายสิ่งหลายอย่างทีเดียวในธรรมชาติที่เรายิ่งเอาออกมาใช้เผื่อแผ่มากเท่าใดเรายิ่งได้มากเท่านั้น เช่น ไมตรี เรายิ่งแผ่ไมตรีเรายิ่งได้มิตรไมตรี บุญก็เช่นกัน เมื่อเราทำบุญหรือเราทำความดีใดๆไว้แล้ว เราได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ ถ้าเราแผ่บุญแผ่กุศลให้กับผู้อื่นอีกเรายิ่งได้บุญยกกำลังสอง เพราะบุญตามรากศัพท์จริงมันก็คือการชำระ ในขณะที่เราเป็นคนที่ทำดี มีบุญ บุญเป็นของเรา มีการครอบครองบุญอยู่ พอเราสละการครอบครองในบุญก็เกิดบุญอีกชั้น เพราะการสละให้คือบุญอยู่แล้ว บุญเกิดบุญยกกำลังสอง เกิดการชำระที่ล้ำลึกยิ่งขึ้น

    ไม่ต้องห่วงว่าเมื่ออุทิศบุญกุศลให้คนอื่นแล้วจะหมด ตรงกันข้ามกลับยิ่งได้มากขึ้น เหมือนแสงสว่าง ถ้าเรามีเทียนอยู่แท่งเดียวแล้วเราเอาแสงเทียนของเราไปจุดให้เทียนของคนอื่น จะเกิดความสว่างขึ้น ต่างคนต่างไปช่วยกันจุด ขยายไปเรือยๆ เกิดกำลังเทียนมากขึ้น ส่องสว่างเปล่งประกายมากขึ้น การเผื่อแผ่บุญก็เช่นกันจะทำให้บุญเบ่งบานงอกงามขึ้นในสังคม ความดีของเรานิดเดียวเอาไปต่อเทียนแล้วก็ต่อเทียนกันไปเรื่อยๆ เกิดความดีมหาศาลในสังคมได้

    ดังนั้น เราจึงควรอุทิศส่วนกุศล อุทิศความดีงาม มอบความดีความชอบ หรือมีสิ่งดีงามใดๆ ก็ตาม มีบุญบารมีใดๆ ก็ตาม ก็เผื่อแผ่ให้คนอื่นไม่ว่าจะเป็นคนที่รักก็ดี ไม่ว่าจะเป็นคนที่เขาชังเราก็ดี หรือคนที่เราเคยชังเขา ต้องแผ่ให้หมด คนที่รักกันก็จะรักกันมากยิ่งขึ้น คนที่เราชังเขา เมื่อเราแผ่สิ่งดีๆ ให้ ความรู้สึกเกลียดชังก็จะลดลงและหายไป ซึ่งต้องใช้เวลามากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่กรณี

    เมื่อมีความปรารถนาดีเข้ามาแทนที่ ความสว่างแข้ามาแทนที่ ความมืดก็หายไป คนที่เขาเกลียดชังเราอยู่พอเราให้ความดี ให้สิ่งดีกับเขามากๆ เขาได้รับสิ่งที่ดีจากเรา ทัศนคติของเขาที่มีต่อเราก็จะเปลี่ยนไป เราก็จะเปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตรได้ เหตุนี้จึงเกิดธรรมเนียมในการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บิดามารดา เจ้ากรรมนายเวร สรรพสัตว์ใหญ่น้อยทั้งหลาย นั่นคือที่มาของธรรมเนียม

    การทำดีโดยไม่ติดดี

    เราจะเห็นว่าในสังคมทั่วโลก คนดีๆ ไม่น้อยทำไมจึงทะเลาะกัน นี่เป็นปัญหาใหญ่มากเลย ต่างคนก็ต่างปรารถนาดีแล้วตีกันจนโลกยับเยิน เช่น คอมมิวนิสต์กับทุนนิยม่ต่างก็หวังดีต่อโลก ทำสงครามเย็นกันจนโลกพินาศไปไม่น้อย หรือการที่ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านทะเลาะกันอยู่ทุกวันด้วยต่างก็คิดว่าตนทำเพื่อประชาชน ก็สร้างความเสียหายไม่น้อยในสังคม

    ความพินาศอย่างหนึ่งของโลกมาจากการติดดี คิดว่าฉันดี อย่างน้อยก็หวังดีล่ะ แต่ลืมทำดีระหว่างกัน จึงไม่เคารพกันและกันแต่ยึดเฉพาะความดีของตน วิธีของฉันน่ะถูก ฉันเป็นคนดี เธอจะต้องเข้าใจฉันนะ เธอจะต้องมองฉันในแง่ดีนะ ฉันทำดีแล้วทำไมเธอไม่เข้าใจ ทำไมไม่เชื่อฟัง เหล่านี้คืออาการของการติดดี เป็น side effect ของความดี

    โศกนาฏกรรมของคนดีทั้งหลายมักจะเกิดมาจากความติดดี

    ความดีนั้นควรจะทำเป็นนิสัย แต่ไม่ควรติดดี เพราะว่าความดีไม่ได้มีไว้แบก แต่ความดีมีไว้ปูทางเดิน

    ่พอเราทำความดีมากๆ ก็จะทำให้วิถีชีวิตของเราราบรื่นอะไรมันก็สะดวกไปหมด แต่ถ้าไปแบกความดีแล้วจะหนักมากเลย ฉันเป็นคนดี ทุกคนจะต้องเข้าใจฉันในแง่ดีนะ ถ้าใครมองไม่ดีก็โกรธคนนั้น เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกัน

    ส่วนใหญ่คนที่ติดดีนั้นจะมีปัญหาเรื่องวาจาวิพากษ์วิจารณ์นินทาหรือกระทบกระเทียบกันเล็กๆ น้อยๆ พอกระทบกระเทียบวิพากษ์วิจารณ์นินทากัน ความดีมันก็หายไปเพราะผิดกุศลกรรมบท อาการติดดีมักจะเป็นตัวทำลายความดีในที่สุด

    คนที่สละเผื่อแผ่บุญได้จะไม่ติดดี คนที่ไม่สละเผื่อแผ่ความดีให้คนอื่นจะติดดีและจะเป็นทุกข์เพราะการติดดีนั้น

    จำไว้ว่าความดีนั้นดี แต่การติดดีนั้นชั่ว

    ด้วยเหตุนี้ เมื่อเรามีความดีอย่าไปติดดี อุทิศดีไปอีกชั้นหนึ่ง อุทิศไปซะ ให้ความดีแก่คนอื่นไปซะ เมื่อเราอุทิศความดีแล้วเราไม่ใช่เจ้าของความดีแล้ว สิ่งเหลืออยู่คือความบริสุทธิ์ ยอดเยี่ยมยิ่งกว่าความดีอีก

    พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราลอยบุญและบาป สิ้นแล้วจักปรินิพพาน" เห็นไหม แม้แต่บุญก็ต้องสละ บาปก็ต้องสละ จึงจะเข้าสู่ความบริสุทธิ์ได้

    ความบริสุทธิ์ไม่ช่ความดี ความดีไม่ใช่ความบริสุทธิ์ แต่ความดีจะอยู่กับความบริสุทธิ์เสมอ โดยที่มันก็ไม่ใช่ของกันและกัน อย่างเช่นในอะตอมหนึ่งๆ มีนิวตรอนคือความเป็นกลาง โดยที่โปรตรอนหรือส่วนที่เป็นบวกมันจะอยู่ในนิวตรอนเสมอ ทั้งๆ ที่โปรตรอนก็ไม่ใช่นิวตรอน นิวตรอนก็ไม่ใช่โปรตรอน ความดีจะอยู่ในความเป็นกลางหรือความบริสุทธิ์เสมอ ในขณะที่อิเล็กตรอนมันวิ่งวนอยู่รอบๆ อยู่ภายนอนก

    ฉะนั้น ท่านจงเป็นคนบริสุทธิ์เถิด อย่าไปแบกดีเลย แล้วความดีจะอยู่กับท่านเองโดยธรรมชาติ

    การอุทิศส่วนบุญกุศล

    การอุทิศส่วนกุศลสามารถทำได้เลยด้วยกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งดังต่อไปนี้

    วิธีที่หนึ่ง บอกแก่คนที่เราต้องการมอบส่วนกุศลแก่เขา ว่าเราได้ทำบุญกุศลมาแล้วดังนี้ ให้เขาอนุโมทนา เมื่อเขาอนุโมทนายินดีเขาก็จะมีส่วนในบุญกุศลนั้นด้วยทันที

    วิธีที่สอง ถ้าต้องการให้แก่คนที่ตายไปแล้ว ก็แผ่จิตไปบอกเขา เขาอยู่ที่ไหนก็ตามเมื่อได้เห็นแสงจิตของเราที่แผ่ออกไปและอนุโมทนา ก็จะได้บุญนั้นๆ เช่นกัน

    วิธีที่สาม ถ้าเราแผ่จิตได้ไม่กว้างไกลในมิติอื่น ให้ใช้อีกระบบหนึ่งก็คือระบบไปรษณีย์ โดยการกรวดน้ำ เป็นธรรมเนียมในการมอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถยกมอบให้ได้ด้วยมือตนเอง เราจะใช้สื่อ สื่อที่นิยมใช้กันมากที่สุดก็คือน้ำ อย่างเช่นสมัยก่อนพระนเรศวรมหาราชหลั่งน้ำสิโนทกครองแผ่นดิน ก็ต้องหลั่งน้ำรดลงไปในแผ่นดิน เป็นการจะยกแผ่นดินให้แก่กัน สมัยก่อนไม่มีโฉนดก็ใช้น้ำนี่แหละรดลงไปบนแผ่นดิน หรือเราจะยกลูกสาวให้แก่ชายหนุ่ม เราไม่สามารถอุ้มลูกสาวแล้วบอกว่าฉันให้เธอนะ เราก็ให้เขายื่นมือแล้วประนมมือแล้วรดน้ำ บุญก็เช่นกัน บุญเราไม่สามารถเอามาห่อแล้วบอกฉันให้นะ บุญมันสิ่งที่มองด้วยตาไม่เห็นและก็จับต้องด้วยมือไม่ได้ แต่มีอยู่ เราก็ใช้น้ำเป็นสื่อแทนแล้วแผ่จิตไป เราขออุทิศส่วนกุศลของเรานี้ให้แก่บิดามารดา ครูบาบาอาจารย์ ญาติมิตร เจ้ากรรม นายเวร สรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย ขอให้ท่านทั้งหลายจงมีความสุข มีความเจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปเถิด แผ่ออกไปเรื่อยๆ

    การกรวดน้ำจึงเป็นเหมือนระบบไปรษณีย์ ในขณะที่การแผ่จิตโดยตรงเหมือนระบบดาวเทียม แผ่ออกไปได้เลย ยิงออกไปเหมือนคลื่นเหมือนดาวเทียมไปถึงไหนก็ถึงกัน แต่บางทีการแผ่จิตอย่างนั้นเราไม่มั่นใจก็ใช้ระบบกรวดน้ำได้

    พอกรวดน้ำเสร็จก็เอาน้ำไปเทราดที่ต้นไม้ก็ได้ แผ่นดินก็ได้ แล้วจะมีรุกขเทวดาภูมิเทวดาที่เขาอยู่แถวนั้น เขาก็จะรับรู้แล้วก็จะบอกต่อๆ กันไป เหมือนระบบไปรษณีย์ ถ้าจะให้ปลอดภัยให้ทั่วถึงจริงๆ ก็ใช้สองระบบเลยก็ได้ ยิงผ่านดาวเทียมด้วย ใช้ระบบไปรษณีย์ด้วยก็ได้

    คำอธิษฐาน

    เวลาอุทิศส่วนกุศล ถ้าเราจะให้ได้ผลจริงๆ ของการอุทิศ ให้ได้บุญจริงๆ ให้อธิษฐานกำกับด้วย "เจ้าประคุณด้วยบุญนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงมีความสุข ขอให้ท่านทั้งหลายจงมีอายุ วรรณะ สุขะ พละ ทำประโยชน์ให้มหาชนยิ่งๆ ใหญ่ขึ้นไปด้วยเทอญ" กระจายออกไป

    แต่บางคนไม่อย่างนั้น ด้วยบุญกุศลนี้ ขออุทิศให้แก่เจ้ากรรมนายเวร เจ้าประคุณด้วยการทำบุญนี้ขอให้ฉันถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ ๑ ขอให้ฉันอย่างนั้นอย่างนี้ พอสละให้แล้วก็หวนกลับ ถ้าอย่างนั้นถามว่าได้ผลไหม มันก็จะเป็นการสะสมบุญไปเพื่อสิ่งที่เราอธิษฐานแต่มันจะไม่กระจายใหญ่ออกไป บุญจะไม่เท่ากับการที่สละออกไปในสังคมในธรรมชาติ บุญสละมันจะมหาศาลที่สุด แล้วท่านจะได้ในสิ่งเหล่านั้นเองเมื่อมาอธิษฐานใช้บุญในภายหลัง

    แต่หากอธิษฐานใช้เลยทันทีก็คือการสะสมบุญไปเพื่อวัตถุประสงค์หนึ่งๆ เหมือนกับการเก็บเงินเพื่อประกันภัย เก็บเงินเพื่อประกันชีวิต เก็บเงินเพื่อประกันสุขภาพ นั้นเป็นการสะสมเพื่อวัตถุประสงค์อันจำเพาะ แต่บุญจะไม่ใหญ่

    นั่นคือ เทคนิคในการอุทิศส่วนกุศล ในการเผื่อแผ่ความดีงามต่างๆ ซึ่งท่านสามารถใช้ได้ในชีวิตจริงในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับของนามธรรม ไม่ว่าจะเป็นระดับของจิตวิญญาณ ไม่ว่าจะเป็นระดับของการขอบคุณในความดีงาม เผื่อแผ่ความสำเร็จในผลงานหรือความดีความชอบให้แก่เพื่อนร่วมงานต่างๆ ใช้ได้หมด

    นี่เป็นบุญฤทธิ์ชนิดหนึ่ง เพราะพอท่านทำเช่นนั้นเสร็จ เพื่อนร่วมงานก็จะยิ่งร่วมแรงร่วมใจกันสู้ตายเลย ถ้ารักกันจริง แบ่งความดีกันอย่างนี้ ไมใช่ตู่หรือหวงว่าอันนี้ผลงานฉันนะ ไม่ใช่ของเธอ อย่างนี้ไม่มีใครร่วมมือด้วยแน่นอน

    แต่ถ้ามีความดีความชอบใดแล้วเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น จิตวิญญาณทั้งหลายก็จะรักเรา หรือเจ้ากรรมนายเวรที่เคยผูกอาฆาตพยาบาทเปลี่ยนมาเป็นเมตตา เปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร เปลี่ยนชะตาชีวิตได้อีก นี่เป็นผลจากการอุทิศความดี ผลจากการเผื่อแผ่ผลงานจากสิ่งที่ดีงามทั้งหลาย
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บุญแห่งความยินดีในความดีสากล

    เมื่อมีคนอุทิศส่วนกุศลแล้ว ถ้าเราอยากได้ส่วนกุศลเราก็ต้องรับ สมมติมีคนให้ของ ถ้าเราไม่รับ ของอันนั้นจะเป็นของใคร ก็ยังคงเป็นของผู้ให้อยู่ ในทำนองเดียวกัน เวลามีคนอุทิศส่วนกุศล ถ้าเราหยิ่งบอกว่าฉันเป็นคนมีบุญอยู่แล้ว ฉันไม่สนบุญของเธอ บุญนั้นก็ไม่เข้ามาเสริมชีวิตเรา แต่ถ้าเราบอกว่า ดีจังเลยหนอเธอทำบุญดีแล้ว ฉันยินดีด้วยนะ ดีใจด้วยจริงๆ ชื่นชมด้วยจริงๆ ขอแสดงความยินดีด้วยจริงๆ ฉันรู้สึกปลื้มไปกับเธอด้วยจัง เราก็จะมีความสุขทันที มีความสุขเท่ากับความจริงใจต่อสิ่งที่เขาทำเลย ยิ่งเรายินดีต่อเขามากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งมีความสุขมากเท่านั้น

    การยินดีในความดีของคนอื่นจะทำให้เราสามารถดูดซับพลังความดีงามของเขาเข้ามาเป็นของเราด้วยทันที แต่ถ่ามว่า ของเขาหมดไหม ก็ไม่หมด เสมือนกับการที่มีเทียนแล้วไปจุดเทียนอีกแท่งหนึ่ง เราก็ได้เปลวไฟ ได้แสงสว่างเท่ากับที่เขามี แต่ของเขาก็ยังอยู่ของเราก็เกิดขึ้นอยู่ ถ้าเราไปอุทิศต่อแล้วมีคนยอมรับคือเขาอนุโมทนายินดีรับจากเรา เขาก็ได้ ทุกคนก็ได้หมด โดยที่ไม่มีใครเสียเลย และมันจะกระจายใหญ่ไปเรื่อยๆ

    ดังนั้น ในการสร้างบุญชุดนี้ เราควรเข้าใจสิ่งที่เราควรยินดี

    สิ่งที่เราควรยินดี

    ดังนั้น เมื่อเราเห็นใครทำความดี เราจะต้องยินดีต่อเขาจริงๆ ยินดีในความดีของเขาจริงๆ ชื่นชมด้วยความจริงใจ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ เราจะได้คุณค่าอย่างที่เขาได้ทันที ก็ในเมื่อในเมืองเรา ประเทศเรา โลกเรา มีคนทำความดีเยอะแยะ ทั้งความดีในระดับทำบุญทำกุศล บรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอริยะก็เยอะแยะแล้ว หรือคนไปถวายสังฆทานก็มีเป็นประจำทุกวัน อุทิศส่วนกุศลกันทุกวัน หรือคนทำความดีในระดับช่วยสังคมก็มีทุกวัน NGO องค์กรต่างๆ ที่ทำเพื่อประโยชน์ของสังคมก็มีทุกวัน จิตใจของคนเหล่านี้ก็แผ่กระจายออกไปอยู่ในบรรยากาศมากมายมหาศาล ถ้าเราเพียงแค่นึกถึงคนเหล่านี้แล้วยินดีกับเขา เราก็จะชื่นชมแล้วได้สิ่งที่ดีๆ จากการกระทำของทุกคนทุกฝ่าย
    อนุสสติมาตรฐาน

    ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงบอกว่า ให้นึกถึงและอนุโมทนายินดีในสิ่งประเสริฐเข้าไว้ คือ

    พุทธานุสติ ให้นึกถึงพระธรรมของพระพุทธเจ้าไว้นะ
    ธรรมานุสติ ให้นึกถึงหลักธรรมไว้นะ
    สังฆานุสติ ให้นึกถึงพระสงฆ์ที่ท่านปฏิบัติได้แล้วไว้นะ
    จาคานุสติ ให้นึกถึงการสละของเราของคนอื่นไว้นะ
    เทวตานุสติ คือธรรมะที่ทำให้คนเป็นเทวดา สภาวะดีๆ ที่ทำให้คนได้เป็นเทวดา
    สีลานุสติ ให้นึกถึงการประพฤติดี ประพฤติชอบ ของคนทั้งหลายไว้

    ทันทีที่เรานึกถึงสิ่งดีๆ เหล่านี้แล้วก็อนุโมทนายินดีกับเขา ใจของเราจะดูดซับคุณค่าของสภาวะนั้นทันที

    แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราอิจฉาล่ะ เธอนะทำความดีล้ำหน้าฉัน คอยดูฉันจะทำมั่ง เธอไม่ได้ดีอะไรเท่าไหร่หรอก ถ้าเราไปอิจฉาหรือกระแนะกระแหนเขาทำนองนั้น แสดงว่าใจอยู่ต่ำกว่าสภาวะนั้นทันทีเลย

    สมมติว่า คุณรวยมีเงินหนึ่งล้านบาท แล้วมีเพื่อนคุณบอกว่า โธ่! ทำเป็นรวยไปได้กะอีแค่เงินหนึ่งล้านบาท อย่าให้ฉันมีบ้างก็แล้วกัน คนเช่นนี้เขาจะได้อะไรจากสิ่งเหล่านั้นบ้าง 1) ใจเขาต่ำกว่าสภาวะเงินหนึ่งล้าน เงินหนึ่งล้านมันยิ่งใหญ่กว่าใจเขา 2) เขากระแนะกระแหน แสดงความไม่จริงใจออกมาจะได้รับการสนองตอบอย่างไร คิดกันเอาเอง

    อย่างน้อย ความรู้สึกที่มีต่อกันมันไม่ดีแล้วใช่ไหม เพราะความจริงใจไม่มี แต่ถ้าเพื่อนอีกคนบอกว่ายินดีด้วยนะครับ คุณได้เงินมาด้วยปัญญา ด้วยความขยันหมั่นเพียร ด้วยความฉลาดของคุณจริงๆ คุณเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้อื่นนะ ผมอยากจะยกย่องคุณให้เป็นแบบอย่างให้กับอนุชนรุ่นต่อๆ ไป ยินดีด้วยครับ ยินดีด้วยความจริงใจ คนเช่นนี้จะได้รับการสนองตอบอย่างไร

    ทันทีที่เรายินดีกับความดีของคนอื่น 1) ใจเราจะอยู่ในระดับนั้นหรือสูงกว่า 2) เราจะได้ดูดซับคามสุขอย่างที่เขาได้ด้วย 3) เราจะได้เรียนรู้กลไกของความสำเร็จจากเขา 4) เขาก็จะเอื้อเฟื้อกับเราโดยธรรมชาติ

    เมื่อมีคนอุทิศส่วนกุศลบอกบุญเราแล้ว ฉันไปทำบุญมานะ ถ้าเราทำเป็นไม่สนใจ อีกหน่อยเขาก็ไม่บอกเรา แต่ถ้าเขาบอกแล้วเราอนุโมทนาด้วยยินดีด้วยจริงๆ เขาก็จะบอกเราเรื่อยๆ

    ไม่ว่าจะความดีในระดับโลก ในระดับธรรมหรือในระดับใดๆ ก็ตาม เราจึงควรยินดีกับความดีของคนอื่น ซึ่งหมายถึงการอนุโมทนาส่วนกุศลนั้นเอง เขาจะยอมรับเราเพราะเขาคิดว่าเราเข้าใจเขา เห็นถึงส่วนดีของเขา เขาก็จะหันส่วนดีๆ ของเขามาหาเรา

    นี่คือในส่วนของอนุโมทนาส่วนกุศล
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บุญแห่งปัญญาเที่ยงตรง

    เรื่องต่อไปที่เราจะต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้ก็คือ การทำความเห็นให้ตรงสัจจะ ซึ่งเป็นประการสุดท้ายและเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะเป็นเรื่องของปัญญา เป็นการปรับวิถีชีวิตเข้าสู่เป้าหมาย เป็นการสร้างประโยน์สูงสุดแก่ชีวิต

    ทำได้อย่างไร

    ประการแรกเลย จะต้องมีปัญญาเห็นให้ตรงกับสัจจะจริงๆ ความเห็นของมนุษย์จำนวนมาทีเดียวที่อาจจะไม่ตรงกับสัจจะจริงๆ เป็นเพียงความเห็นแบบหลอนๆ หลอกๆ

    ความเห็นขั้นต้น

    ความเห็นมีอยู่หลายระดับด้วยกัน อย่างเราเห็นด้วยตา มันไม่ค่อยตรงกับสัจจะจริงๆ ท่านลองสังเกตเวลาเราอยู่กลางถนน ถนนที่อยู่รอบๆ ตัวเรากว้าง แต่พอมองไปสุดสายตาถนนนั้นเล็กนิดเดียว แล้วถามว่า จรbงๆ ถนนมันเล็กอย่างที่เห็นไหม มันไม่เล็กอย่างที่ตาเห็น มันใหญ่เท่ากันเสมอ แต่ตาเราเห็นไม่ตรงความจริง เห็นด้วยตาก็เห็นได้แต่ไม่ตรง

    ความเห็นขั้นกลาง

    เห็นระดับที่สอง เกิดจากการเอาข้อมูลที่ได้มาประกอบกันเป็นความคิดตามโครงสร้างของเหตุผล เกิดจินตนาการต่อเนื่องเห็นเป็นมโนภาพ เห็นด้วยจินตภาพขึ้นมา อันนี้ก็คือความเห็นอีกแบบหนึ่ง ความเห็นระดับที่สองนี้กว้างไกลกว่าความเห็นด้วยตานอก แต่ความเห็นระดับนี้ก็อาจจะบิดเบือนได้เพราะว่ามนุษย์สามารถหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองได้เสมอ ความคิดของมนุษย์หรือเหตุผลของมนุษย์แต่ละคนเอง จึงเชื่อถือไม่ได้โดยทันทีว่าจะเป็นจริงสูงสุดหรือคือสัจจะแท้ๆ เพราะมันมีข้อจำกัดด้วยข้อมูลบางออย่างเขาไม่รู้หรือเขาอาจจะคิดไม่ได้ และมีข้อจำกัดด้วยทักษะในการใช้เหตุผล ถhาเขาไม่ชำนาญในระบบเหตุผล เขาอาจจะคำนึงถึงเหตุผลบางอย่างไม่รอบคอบไม่ละเอียดเพียงพอ แล้วยังมีข้อจำกัดด้วยการกระชากลากจูงไปของความอยากและไม่อยาก อะไรที่ไม่อยากความคิดก็ไม่ค่อยจะไปทางนั้น มันจะถูกดึงไปทางที่อยากทั้งๆ ที่มันอาจจะไม่จริงก็ได้ หรือจริงแต่อาจจะไม่เกิดประโยชน์สูงสุดก็ได้ ดังนั้น การเห็นในระดับที่สองคือเห็นด้วยความคิดนั้นมันก็เห็นอยู่ แต่สิ่งที่เห็นอยู่อาจจะไม่จริง มันยังเชื่อถือไม่ได้ แม้จะได้ประโยชน์อยู่ระดับหนึ่ง

    ความเห็นขั้นสูง

    จึงมีความเห็นระดับที่สาม พระพุทธเจข้าบอกว่า ไหนๆ การเห็นทั้งหมดจะต้องใช้จิตเห็น ดังนั้น ทำไมเราไม่รวมจิตให้เป็นหนึ่งให้เป็นเอกภาพแล้วใช้จิตเห็นโดยตรงโดยไม่ต้องผ่านตา โดยไม่ต้องผ่านความคิด ไม่ต้องผ่านข้อมูล อยากรู้อะไรก็เอาจิตส่องรู้โดยตรง สัมผัสโดยตรง ตรงนี้เองที่เกิดจากการฝึกสมาธิ ทำให้เกิดญาณทัศนะใช้สมาธิจิตไปรู้สึกงต่างๆ ให้ตรงความเป็นจริงซึ่งมีประสิทธภาพเที่ยงตรงกว่าความเห็นทั้งสองระดับแรก

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เป็นสมาธิย่อมรู้ทุกสิ่งตามเป็นจริง

    นั่นหมายความว่า การเห็นด้วยสมาธิจิตนั้นมีคุณภาพคือ 1) รู้ทุกสิ่งด้วย 2) รู้ตามความเป็นจริงด้วย

    พอรู้ตรงตามความเป็นจริง ข้อมูลเท็จ ข้อมูลบิดเบือน ข้อมูลหลอก ความรู้เทียม ความรู้เท็จทั้งหลายจะไม่เกิด มันจะเกิดแต่ความรู้แท้ๆ ตัวอย่างง่ายๆ ที่เปรียบเทียบให้เห็น ถ้าเราดูด้วยตาเราจะเห็นว่านั้นคือนาย ก นี่คือนาย ข แต่พอดูด้วยความคิด นาย ก อาจจะไม่ใช่นาย ก นะ นาย ก ไม่ใช่ตัวกายอย่างนี้แล้ว นาย ก เป็นองค์ประกอบเล็กๆ คืออวัยวะจากเนื้อเยื่อแห่งเซลล์ นั่นเห็นด้วยความคิด แต่พอเห็นด้วยปัญญาเห็นด้วยญาณทัศนะ มองนาย ก ไม่มี นี่มีแต่ความว่างเปล่า พอลอกออกไปเรื่อยๆ ไม่เหลืออะไรเลย มันมีแต่ความว่างเปล่า เหมือนเราลอกกาบกล้วย ลอกเรื่อยๆ ไม่เหลืออะไร มันมีแต่ความว่างเปล่า สิ่งที่มันมาประกอบกันกลายเป็นการปรุงชั่วคราวเท่านั้น

    ดังนั้น พอเรามองเห็นด้วยปัญญา เราก็จะมองเห็นตนโดยความไม่เป็นตน เห็นทุกอย่งโดยความเป็นของว่างเปล่า นี่เป็นความจริงที่ลึกที่สุด เห็นด้วยความคิดก็ลึกแต่ยังไม่สุดเท่ากับเห็นด้วยปัญญาญาณ

    ดังนั้น ประการแรกเลยก็คือ จะต้องทำความเห็นให้ตรงกับความเป็นจริง

    ประการที่สอง จะต้องทำความตั้งใจให้ตรงกับเป้าหมายสูงสุด คนจำนวนมากทีเดียวทำงานไป ใช้ชีวิตไป ประสบความสำเร็จทางโลกมากมาย แต่ในที่สุดก็ยังสงสัยในชีวิต ต้องถามตัวเองว่าแล้วชีวิตฉันได้อะไร บางทียิ่งใหญ่มากแต่ก็เจ็บป่วยอยู่โรงพยาบาล บางทียิ่งใหญ่แล้วก็ถูกขับไล่ออกจากตำแหน่ง สูญเสียเกียรติยศมาก บางคนร่ำรวยแล้วก็เกิดล้มละลาย หรือร่ำรวยแล้วแต่ไม่มีเกียรติเมียด่าทุกวัน หรือยิ่งใหญ่มากแต่ปกครองลูกไม่ได้ อะไรทำนองนี้ เกิดคำถามต่อตัวเองขึ้นมาว่า เราทำไปทั้งหลายนี้แล้วมันได้อะไร มันคุ้มไหมกับการใช้ชีวิตทั้งชีวิตถมเขาไปเพื่อสิ่งเหล่านี้

    อะไรล่ะคือเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต หลายต่อหลายคนจะมีคำถามนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า อะไรล่ะคือสิ่งที่ดีที่สุดที่ควรจะเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีต

    จากการสังเกตธรรมชาติเราพบว่าธรรมชาติทั้งหลายมีพัฒนาการไต่ไปตามระดับวิวัฒนาการ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุสิ่งของหรือสิ่งมีชีวิตก็ตาม อย่างเช่น วัตถุสิ่งของ เราจะเห็นได้ว่าคาร์บอนขณะที่มันเริ่มเกิดใหม่ๆ มันไม่ค่อยสะอาด มันจะผสมเสี้ยนแร่เศษแร่อื่นๆ เยอะแยะไปหมด ดำเขรอะไปหมด แต่พอเราปล่อยมันไว้ตามธรรมชาตินานๆ มันก็กลั่นตัวมันเองไปเรื่อยๆ ในขณะที่มันกลั่นตัวมันเองมันจะขจัดเสี้ยนแร่อื่นๆ ออก แล้วมันจะชำระตัวมันเองจนกระทั้งสะอาดหมดจด เป็นคาร์บอนที่สมบูรณ์จริงๆ คือเนื้อในมันละเอียดมีแต่เนื้อคาร์บอนล้วนๆ เรียนกว่าคาร์บอนอันบริสุทธิ์ มันกลายเป็นเพชร มีคุณสมบัติสูงสุดของคาร์บอนทั้งหลาย คือแข็งแกร่งมาก มีแสงประกายออกมา ถ้ายิ่งเจียระไนเป็นเหลี่ยมเงาก็ยิ่งมีประกายจ้าออกมา นั้นคือ เพชร และหลังจากนั้นไม่ปรากฎว่ามันมีพัฒนาการใดอีกเลย

    คนเราก็เช่นกัน สิ่งมีชีวิตทั้งหลายก็เช่นกัน เรากำลังไต่ระดับวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ จนไปถึงความบริสุทธิ์ พระพุทธเจ้าจึงบอกว่าบุคคลที่ถึงความบริสุทธิ์แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจอื่นที่ควรทำยิ่งกว่านี้อีกไม่มี

    หมายความว่า หมดแล้ว มันถึงที่สุดของวิวัฒนาการแล้ว ดังนั้น เป้าหมายสูงสุดของทุกชีวิตไม่ว่าใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ก็คือความบริสุทธิ์ ทุกคนกำลังไต่ระดับวิวัฒนาการไปสู่ความบริสุทธิ์ทั้งสิ้น

    ถ้าใครรู้ เขาก็เห็นเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วก็สามารถปรับวิถีชีวิตให้ตรงเป้าหมายสูงสุดได้ พอปรับวิถีชีวิตให้ตรงเป้าหมายสูงสุด มีหนทางอันตรงที่สุดก็จะถึงเป้าหมายเร็วที่สุด

    คนที่ไม่เห็นเป้าหมายก็ต้องคลำหาไป...

    แต่คนเห็นเป้าหมายชีวิตแล้วไม่ปรับวิถีชีวิตให้ตรงเป้าหมายก็ต้องเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ตกร่องตกรู แล้วปีนขึ้นมาใหม่อย่างนี้เรื่อยๆ ฉะนั้น เราจะต้องทำความเห็นให้ตรง คือปรับวิถีชีวิตให้ตรงเป้าหมายให้ได้

    กว่าจะไปถึงที่สุดของเป้าหมายคือความบริสุทธิ์ได้จะต้องผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านแรงกดดัน ผ่านปัญหา ผ่านอะไรสารพัดอย่าง

    ประการที่สาม ท่านจะต้องทำความเห็นให้ตรงกับประโยชน์สูงสุด ในทุกย่างก้าวเราสามารถจะสร้างประโยชน์สูงสุดได้ถ้าเราตั้งใจ ถ้าเรารอบคอบ ถ้าเราคำนึงถึงเป้าหมายของเราอยู่เสมอ อย่างเช่นในการทำงานแต่ละอย่าง
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การทำบุญในงานและการทำงานให้เป็นบุญ

    ท่านสามารถทำงานให้เป็นบุญได้เลยหรือทำบุญในงานได้เลย

    ทำบุญในงานที่ทำได้อย่างไร?
    ทานทำได้ในงาน
    ศีลก็ทำได้
    สติ สมาธิ ภาวนา ต้องทำอยู่แล้ว
    การขวนขวายในกิจผู้อื่นต้องทำอยู่แล้ว
    คนที่จะเจริญในงานต้องประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่อยู่แล้ว
    การฟังธรรมของเราก็มีโอกาสที่จะฟังธรรมได้ แม้ในขณะทำงาน การเรียนรู้จากของจริง เรียนรู้จากคำสอนคำแนะนำของคนอื่น
    การแสดงธรรม การสอนสัจจะให้แก่ผู้ร่วมงาน ให้แก่ใครก็ตาม นั่นก็เป็นบุญ
    การอุทิศส่วนกุศล เมื่อมีความดีความชอบใดๆ ก็เอื้อเฟื้อเจือจานให้แก่ผู้ร่วมงาน
    การอนุโมทนาส่วนกุศล เพื่อนคนไหนดีก็ยกย่องชมเชย
    การทำความเห็นให้ตรง นี่ก็ทำได้ในวิสัยของความเป็นพุทธ

    เห็นไหม ในทุกอาชีพสามารถทำงานให้เป็นบุญได้ ทำบุญในงานก็ได้

    ถ้าท่านฉลาดที่จะดำเนินชีวิต ท่านสามารถจะทำงานให้เป็นบุญได้ แม้แต่อาชีพธุรกิจ การที่ท่านทำอาชีพธุรกิจท่านต้องหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขึ้นมาที่จะสนองความต้องการของเพื่อนมนุษย์ที่จะช่วยทำให้ชีวิตของเขาสะดวกสบายมากขึ้น เพื่อให้เขาจะได้มีเวลาพัฒนาตนมากขึ้น เมื่อท่านคิดอย่างนี้ท่านก็ได้บุญแล้ว งานท่านเป็นบุญแล้ว ท่านจะแนะนำสิ่งดีๆ ใหม่ๆ หใก่เขาเหรือท่านจะสร้างงานสร้างเงินให้แก่เขาเพื่อให้ชีวิตของเขาได้สลายในขั้นพื้นฐาน นี่ก็เป็นบุญอีกแล้ว

    ทุกท่านสามารถทำบุญในงานให้ครบทั้ง 10 ประการอย่างที่กล่าวมาในทุกอาชีพ ในทุกการงาน ท่านสามารถทำงานในบุญหรือทำบุญในงานได้ตลอดเวลา

    ถ้าท่านทำเช่นนี้ ท่านจะได้ประโยชน์สูงสุดทุกย่างก้าวของชีวิต ไม่จำเป็นเลยที่ท่านจะต้องไปต่อสู้เอารัดเอาเปรียบกันหน้าดำคร่ำเครียดเพื่อที่จะหาเงินมา พอหาเงินมาได้เยอะๆ รู้สึกมีความผิดบาปตราติดอยู่ในดวงใจ จะต้องหาทางไปทำบุญ หาทางไปช่วยสังคมเพื่อไถ่บาปตัวเอง ทำอย่างนั้นมันก็ไม่คุ้มค่า

    ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ท่าน่จะต้องไปเจ็บปวดก่อนแล้วไปคลายความเจ็บปวดนั้น ถ้าอย่างนั้นชีวิตมันจะทุกข์ซ้ำซากไม่รู้จบ ท่านสามารถเป็นสุขไปด้วยแม้ในขณะทำงานเลย เพียงแต่ทำงานด้วยบุญ แล้วทำบุญให้ครบถ้วน

    ต่อไปนี้ ไม่ว่าท่านจะทำหน้าที่อะไร เป็นเกษตรกร เป็นนักธุรกิจ เป็นครูบาอาจารย์ เป็นแพทย์ เป็นนักบวช เป็นนักการเมือง ท่านลองคิดเพื่อประโยชน์สุขของสังคม นั้นเป็นการขวนขวายเพื่อกิจของผู้อื่น นั่นเป็นบุญแล้ว งานของท่านก็จะเป็นบุญไปด้วยในขณะเดียวกัน แล้วพยายามใส่จิตแห่งบุญเข้าไปในงานให้ครบถ้าวนท่านก็จะทำงานอย่างมีความสุข องค์กรของท่านก็จะมีความสุข กิจการของท่านก็จะเจิรญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    องค์กรแห่งบุญ

    เคยทำวิจัยองค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จสูงสุดและยั่งยืนล้วนเป็นองค์กรที่มีจรรยาบรรณสูงมาก ส่นองค์กรที่มีจรรยาบรรณต่ำจะไม่ยั่งยืน หรืออยู่ได้ก็ไม่เจริญเติบโต เต็มไปด้วยปัญหามากมาย

    นั่นคือ การทำความเห็นให้ตรงสามระดับ คือ
    ระดับแรก จะต้องทำความเห็นให้ตรงสัจจะ ให้ลึกที่สุด ให้ถึงแก่นสัจจะ
    ระดับที่สอง จะต้องทำความเห็นให้ตรงกับเป้าหมายสูงสุดของชีวิต คือ ความบริสุทธิ์
    ระดับที่สาม คือ จะต้องทำความเห็นให้ตรงกับประโยชน์สูงสุดในทุกย่างก้าว ทุกภารกิจของชีวิต

    ถ้าท่านทำได้เช่นนี้ ชีวิตของท่านไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงแล้ว บุญทั้งหลายที่ท่านทำนั้นจะก่อให้เกิดความสำเร็จในทุกระดับของชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรม

    บุญแบบสมบูรณ์

    เมื่อทราบแล้วว่าโครงสร้างของบุญที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จมีมากมายหลายระดับ หลายแง่มุม และหลากหลายมาก ดังนั้น ถ้าท่านอย่ากจะประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบ ท่านควรจะทำบุญในทุกๆ ด้าน

    ทุกวันนี้เวลาเราพูดกันถึงเรื่องทำบุญทีไร คนมักจะนึกถึงการให้ทาน การไปใส่บาตร ไปถวายของพระ นั่นเป็นเพียงเสี้ยวเดียวของบุญเท่านั้น นอกจากให้ทานแล้วเราต้องรักษาศีล ต้องภาวนา ต้องประพฤติอ่อนน้อม ต้องขวนขวายในกิจผู้อื่น ต้องฟังธรรม ต้องแสดงธรรม ต้องอุทิศส่วนกุศล ต้องเผื่อแผ่ความดีความชอบในผลงานให้ผู้อื่น ต้องอนุโมทนาหรือยินดีในความดีของผู้อื่น แล้วต้องทำความเห็นให้ตรงด้วย ถ้าเราทำครบถ้วนเราจะประสบความสำเร็จรอบด้าน

    แต่ถ้าเราไห้ทานอย่างเดียว เรารวย แต่ถ้าไม่มีศีลเลยก็ไม่หล่อไม่สวย เอาไหม รวยแต่ขี้เหร่เอาไหม?

    หรือทำแต่ศีลอย่างเดียว เคร่งครัดในศีลมาก แต่ไม่เจริญภาวนาเลย ก็หล่อมากสวยมาก รูปร่างก็ดี สมาร์ทมาดแมน สวยก็สวยหวานหยาดเยิ้มเลย แต่โง่เพราะไม่ได้ภาวนา เอาไหม ท่านคงไม่อยากเป็นคนหล่อคนสวยที่โง่ที่ถูกใครหลอกเอาง่ายๆ

    หรือถ้าหล่อสวยและภาวนาแล้วฉลาดปราดเปรื่องมาก แต่ท่านเป็นคนกระด้างกระเดื่องมาก ท่านก็จะเกิดอยู่ในตระกูลต่ำ อยู่ในสังคมต่ำๆ แต่ถ้าท่านประพฤติอ่อนน้อมด้วย ท่านก็จะเกิดในตระกูลสูง หรือแม้เกิดมาแล้วในตระกูลใดก็ตาม ถ้าท่านเริ่มประพฤติอ่อนน้อมเดี๋ยวนี้ ท่านจะยกระดับชีวิตของท่านไปสู่ระดับสังคมชั้นสูงๆ ยิ่งขึ้น

    บุญไม่ใช่สิ่งที่ต้องรอชาติหน้าเลย ท่านทำเมื่อไหร่ได้เมื่อนั้น อย่งเช่น ท่านเจริญสติ เจริญสมาธิ จนกระทั่งเกิดมีปัญญาแก่กล้าท่านก็จะได้ความสุขทันที โครงสร้างชีวิตและจิตใจของท่านจะเปลี่ยน สุขภาพจะเปลี่ยน ทุกอย่างเปลี่ยนหมดเลย

    หรือท่านประพฤติอ่อนน้อม ไม่ว่าท่านจะเกิดในตระกูลอย่างไรท่านก็จะค่อยๆ ไต่ระดับขึ้นสู่สังคมชั้นสูงได้โดยลำดับ เหมือนนักการเมือง ก่อนที่จะไปเป็นผู้นำของประเทศนได้จะต้องอ่อนน้อม ประพฤติอ่อนน้อมจึงก้าวไปสู่ระดับสูงของสังคมได้
    ดังนั้นทุกคนควรทำบุญให้ครบทุกอย่างทั้ง 10 ประการคือ

    ประการแรก บุญเกิดจากการให้ทาน หมั่นให้เนืองๆ ซึ่งจะส่งผลให้เราเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก

    ประการที่สอง บุญเกิดจากการหมั่นรักษาศีลให้เคร่งครัดโดยลำดับ ซึ่งจะส่งผลให้เรามีสุขภาพดี ชีวิตมีสวัสดิภาพและสวยงาม

    ประการที่สาม บุญเกิดจากการภาวนา จงหมั่นภาวนาอยู่เสมอทุกวันๆ เจริญสติ ฝึกสมาธิอยู่ทุกขณะ อย่าให้ขาด ซึ่งจะส่งผลให้เราเป็นคนมีพลังอำนาจในตนและมีสติปัญญาล้ำลึก

    ประการที่สี่ บุญเกิดจากการประพฤติอ่อนน้อมแก่ผู้ที่ควรอ่อนน้อมคือผู้ประเสริฐ ผู้ที่มีความบริสุทธิ์ใจ และผู้มีใจบริสุทธิ์ทั้งหลาย เราจะต้องประพฤติอ่อนน้อมอยู่เสมอ ซึ่งจะส่งผลให้เราเป็นที่รักที่เมตตา และอยู่ในสังคมอันสูง

    ประการที่ห้า บุญเกิดจากการขวนขวายในกิจของผู้อื่น ใครก็ตามที่ควรได้รับการช่วยเหลือ เราจะช่วยเขาตามสมควรแก่ฐานะ และตามโอกาสให้ได้วัตถุประสงค์คือ ทุกคนดีขึ้นจริงๆ ซึ่งจะส่งผลให้เรามีบริวารมาก มีคนอาสาช่วยกิจการงานมาก ยามเดือดร้อนมีคนยื่นมือมาช่วย

    ประการที่หก บุญเกิดจากการฟังธรรม จงศึกษาสัจจะอยู่เสมอ ไม่ว่าจะด้วยการอ่านหนังสือ ฟังเทปหรือฟังเทศน์ หรืออะไรก็ตามที่เป็นการศึกษาสัจจะ ที่จะให้เราเห็นแง่มุมของสัจจะครบถ้วนขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้วิสัยทัศน์ของเรากว้างขวางล้ำลึกถูกต้องยิ่งขึ้น

    ประการที่เจ็ด บุญเกิดจากการแสดงธรรม เมื่อรู้อะไรแล้วใครที่เขายังด้อยกว่าเรา เราก็แนะนำสั่งสอนตักเตือนเขาด้วยใจเมตตาด้วยใจปรารถนาดีจริงๆ เป็นการแสดงธรรม ซึ่งจะส่งผลให้เราแตกฉานและมั่นคงในความดีงามยิ่งขึ้น ถ้าเรายังไม่มีธรรมะมากนักก็อาจซื้อหนังสือธรรมะหรือเทปธรรมะไปแจกก็ได้

    ประการที่แปด บุญเกิดจากการอุทิศบุญ เมื่อทำความดีใดๆ แล้ว ก็หมั่นเผื่อแผ่ความดีให้แก่คนอื่น เจือจานความดีและความชอบในผลงานให้แก่คนอื่น อย่าไปหวงความดี อย่าไปติดดี ซึ่งจะส่งผลให้จิตใจเราสะอาดและอิสระยิ่งใหญ่ขึ้น

    ประการที่เก้า บุญเกิดจากการอนุโมทนาส่วนกุศล เมื่อใครเขาทำความดีแล้วเราหมั่นยินดีในความดีของเขา ชื่นชมยินดี สรรเสริญยกย่องเขา จะทำให้จิตใจเราสูงส่งยิ่งขึ้น สะอาดหมดจด ไม่อิจฉาริษยา ซึ่งจะส่งผลให้เรามีมิตรมาก มีความสัมพันธ์อันมั่นคง

    ประการที่สิบ บุญเกิดจากการทำความเห็นให้ตรงสัจจะ คือทำปัญญาให้ตรงกับสัจจะอันล้ำลึกแทงตลอด ทำปัญญาให้ตรงกับเป้าหมายสูงสุดของชีวิตและของทุกสิ่งของขบวนการวิวัฒนาการ แล้วทำปัญญาให้เห็นประโยชน์สูงสุด ปรับวิถีชีวิต ทำกิจการงานทุกอย่างให้ได้ประโยชน์สูงสุดสำหรับทุกฝ่ายไป ทุกขณะคือทำบุญในงาน แล้วทำงานให้เป็นบุญโดยลำดับ ซึ่งจะส่งผลให้เราแจ่มแจ้งในความเป็นจริงทุกระดับและนำปัญญามาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตได้จริง

    บุญทุกประการที่กล่าวมาแล้วจักชำระจิตใจ ทำให้ชีวิตเราหมดจดมากขึ้น
    เมื่อบริสุทธิ์มากขึ้น พลังอำนาจอันเป็นฐานแห่งความสำเร็จก็ยิ่งใหญ่ขึ้น

    ดังนั้น ถ้าทำได้อย่างนี้ ท่านจะประสบความสำเร็จในชีวิตทุกๆ ด้าน ไม่ใช่ด้านใดด้านเดียว ซึ่งเป็นชีวิตแบบอย่างเลยทีเดียว

    และความบริสุทธิ์สมบูรณ์คือที่สุดของวิวัฒนาการ และนั่นเป็นที่นัดหมายนิรันดรของพวกเรา...

    อานุภาพแห่งบุญฤทธิ์

    การที่เราจะประสบความสำเร็จได้ด้วยบุญ นั่นหมายความว่าเราประสบความสำเร็จได้ด้วยอำนาจแห่งความบริสุทธิ์

    บุญ คือความบริสุทธิ์ บุญเป็นผลของการชำระ
    ขบวนการบุญ ก็คือขบวนการชำระ ชำระแล้วก็บริสุทธิ์
    พอ บริสุทธิ์ แล้วก็มี อำนาจแห่งความสำเร็จ ก็คือมี ฤทธิ์
    ซึ่งเราเรียกรวมว่า บุญฤทธิ์
     
  20. motivegirl

    motivegirl Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +50
    ขออนุโมทนาค่ะ ชอบมากๆเลยค่ะ จะขอนำไปปฏิบัตินะคะ ขอบคุณค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...