ปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น เรียบเรียงโดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 6 มิถุนายน 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]



    ต่อไปนี้จะเริ่มเขียนปฏิปทาเครื่องดำเนิน คือ ข้อปฏิบัติของพระกรรมฐานที่ท่านพระอาจารย์มั่นพาดำเนินมา เพื่อท่านผู้อ่านได้ทราบไว้บ้างพอเป็นแนวทาง โดยคิดว่าท่านพุทธศาสนิกชน พระเณรทั้งหลายที่มีความสนใจใคร่ธรรมและข้อปฏิบัติประจำนิสัย อาจมีความสนใจอยากทราบอยู่มาก จึงได้พยายามรวบรวมมาลงไว้เท่าที่สามารถ ผิดถูกประการใด หวังว่าคงได้รับอภัยจากท่านผู้อ่านตามเคย คราวนี้ก็ส่งมาลงทาง “ศรีสัปดาห์” ตามเคย โดยขอร้องให้ทางโรงพิมพ์ช่วยลงให้เป็นตอนๆ ไปดังที่เคยทำมา และได้เรียนกำชับขอให้ลงพอประมาณ เกรงจะเขียนส่งมาไม่ทัน ดังที่เคยเรียนเกี่ยวกับประวัติท่านพระอาจารย์มาแล้ว การส่งมา ขอความกรุณาทาง “ศรีสัปดาห์” ให้ช่วยลงให้นั้น เป็นอุบายช่วยบังคับตัวเองซึ่งมีนิสัยขี้เกียจไปในตัว เพื่อเรื่องที่เขียนจะได้สำเร็จไปด้วยดี ไม่มีข้อแก้ตัวว่ายุ่งนั้นยุ่งนี้แล้วหยุดไปเสีย ซึ่งอาจทำให้งานที่กำลังทำเสียไป ตามปกติหนังสือศรีสัปดาห์เคยออกทุกวันศุกร์ จึงพอมีทางว่าการเขียนจะมีความรู้สึกตัวพยายามทำให้ทันกับกำหนดวันเวลาที่หนังสือจะออก เรื่องที่เขียนก็พลอยมีหวังจะสำเร็จได้ จึงได้ส่งและขอร้องทางศรีสัปดาห์ให้ช่วยลงให้จนกว่าเรื่องจะยุติลง ซึ่งทางศรีสัปดาห์ก็ยินดีให้เป็นไปตามความประสงค์ทุกประการ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    คำว่า “กรรมฐาน” เป็นศัพท์พิเศษและเป็นบทธรรมพิเศษที่วงพระธุดงค์ท่านปฏิบัติกันมา แต่องค์ของกรรมฐานแท้นั้นมีอยู่กับทุกคน ทั้งหญิงทั้งชาย ทั้งนักบวชและฆราวาส ได้แก่ เกศา โลมา เป็นต้น บางท่านอาจยังไม่เข้าใจในคำว่า กรรมฐาน หรือพระธุดงคกรรมฐาน ว่าเป็นอย่างไรบ้าง แต่จะเขียนเฉพาะข้อปฏิบัติแห่งธุดงคกรรมฐานสายของท่านพระอาจารย์มั่น นอกจากนี้ผู้เขียนไม่ค่อยสันทัดจัดเจนนักว่าท่านปฏิบัติกันอย่างไรบ้าง เป็นเพียงเห็นๆ ผ่านๆ ไปบ้างเท่านั้น ไม่ค่อยมีโอกาสได้สนใจใกล้ชิดนัก เฉพาะสายของท่านอาจารย์มั่นพาดำเนินมานั้น พอเข้าใจบ้างตามที่เคยได้เห็นได้ยินและปฏิบัติมา แต่ก่อนจะเขียนเรื่องนี้ จึงขออธิบายคำว่ากรรมฐานอันเป็นทางดำเนินของท่านพอเป็นแนวทางเล็กน้อย เพื่อเข้ารูปกันกับปฏิปทาที่จะเขียนต่อไป
    <o:p></o:p>
    คำว่า กรรมฐาน นี้ เป็นคำชินปากชินใจของชาวพุทธเรามานาน เมื่อถือเอาใจความ ก็แปลว่า ที่ตั้งแห่งการงาน แต่งานในที่นี้เป็นงานสำคัญ และหมายถึงงานรื้อภพรื้อชาติรื้อกิเลสตัณหา รื้อถอนอวิชชาทั้งมวลออกจากใจ เพื่อไกลทุกข์ คือความเกิดแก่เจ็บตาย อันเป็นสะพานเกี่ยวโยงของวัฏวนที่สัตว์โลกข้ามพ้นได้โดยยาก มากกว่าจะมีความหมายไปทางอื่นแบบงานของโลกที่ทำกัน ส่วนผลที่พึงได้รับแม้ยังไม่ถึงจุดหมายปลายทาง ก็ทำให้ผู้บำเพ็ญมีความสุขในปัจจุบันและภพชาติต่อไป ฉะนั้นพระที่สนใจปฏิบัติธรรมเหล่านี้ จึงมักมีนามว่าพระธุดงคกรรมฐานเสมอ อันเป็นคำชมเชยให้เกียรติท่านผู้มุ่งต่องานนี้ด้วยใจจริงจากพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
    <o:p></o:p>
    กรรมฐาน ที่เป็นธรรมจำเป็นมาแต่พุทธกาลที่พระอุปัชฌาย์มอบให้แต่เริ่มบรรพชาอุปสมบท มี ๕ อาการด้วยกันโดยสังเขป คือ เกศาได้แก่ผม โลมาได้แก่ขน นขาได้แก่เล็บ ทันตาได้แก่ฟัน ตโจได้แก่หนัง โดยอนุโลมปฏิโลม เพื่อกุลบุตรผู้บวชแล้วได้ยึดเป็นเครื่องมือบำเพ็ญพิจารณาถอยหน้าถอยหลังซ้ำซากไปมา จนมีความชำนิชำนาญและแยบคายในอาการหนึ่งๆ หรือทั้งห้าอาการ อันเป็นชิ้นส่วนสำคัญของร่างกายชายหญิงทั่วๆ ไป แต่คำว่ากรรมฐานอันเป็นอารมณ์ของจิตนั้นมีมาก ท่านกล่าวไว้ถึง ๔๐ อาการ ซึ่งมีในตำราโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว ท่านผู้ประสงค์อยากทราบกรรมฐานใดก็ค้นหาดูได้โดยสะดวก บรรดากรรมฐานที่ท่านกล่าวไว้มากมายนั้น ข้อใหญ่ใจความก็เพื่อท่านผู้สนใจใคร่ต่อการปฏิบัติซึ่งมีจริตนิสัยต่างๆ กัน จะได้เลือกปฏิบัติเอาตามใจชอบที่เห็นว่าถูกกับจริตของตนๆ เช่นเดียวกับโรคมีชนิดต่างๆ กัน ที่ควรแก่ยาขนานต่างๆ กันฉะนั้น<o:p></o:p>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิธีทำได้แก่ การนำธรรมบทนั้นๆ มาบริกรรมภาวนาประจำอิริยาบถต่างๆ ตามแต่ถนัดและเห็นควร ว่าเกศา ๆ หรือโลมา ๆ เป็นต้น ด้วยความมีสติกำกับอยู่โดยสม่ำเสมอ ไม่ปล่อยใจส่งไปที่อื่น ทำความรู้สึกตัวอยู่กับบทธรรมที่กำลังบริกรรมภาวนา ไม่เปลี่ยนแปลงธรรมบ่อยอันเป็นนิสัยจับจด พยายามทำไปจนทราบชัดว่าเป็นผลขึ้นมาจริงๆ หรือจนทราบชัดว่าธรรมบทนั้นๆ ไม่ต้องกับจริตของตนแล้วค่อยเปลี่ยนธรรมบทใหม่ ผู้ที่ทราบชัดว่าถูกกับจริตจริงๆ แล้ว ก็ควรยึดธรรมนั้นเป็นหลักใจและปฏิบัติต่อไปไม่ลดละ จนเห็นผลเป็นลำดับและก้าวหน้าเข้าสู่ภูมิธรรมที่ควรเปลี่ยนแปลงบทธรรมตามความจำเป็น ซึ่งเจ้าตัวต้องทราบโดยลำพัง ผลที่เกิดจากการปฏิบัติบำเพ็ญด้วยธรรมเหล่านี้ หรือด้วยธรรมอย่างอื่นๆ ที่ถูกกับจริต ย่อมเป็นความสงบสุขภายในใจไปโดยลำดับที่ไม่เคยรู้เห็นมาก่อน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ความสงบจิตเริ่มแต่ชั้นต่ำ คือสงบได้ชั่วขณะ สงบได้นานพอประมาณ และสงบได้ตามต้องการที่จะให้พักและถอนขึ้นมา ทั้งเป็นความสงบละเอียดแนบแน่นกว่ากันมาก ขณะที่จิตสงบย่อมปล่อยอารมณ์ที่เคยรบกวนต่างๆ เสียได้ เหลือแต่ความรู้ความสว่างไสวประจำใจ และความสุขอันเกิดจากความสงบตามขั้นของใจเท่านั้น ไม่มีสองกับสิ่งอื่นใด เพราะขณะนั้นจิตปราศจากอารมณ์และเป็นตนของตนอยู่โดยลำพัง แม้กิเลสส่วนละเอียดยังมีอยู่ภายในก็ไม่แสดงตัว ถ้าเป็นน้ำก็กำลังนิ่งและใสสะอาดปราศจากฝุ่นละออง หากมีตะกอนก็กำลังนอนนิ่งไม่ทำน้ำให้ขุ่น ควรแก่การอาบดื่มใช้สอยทุกประการ ใจที่ปราศจากอารมณ์มีความสงบตัวอยู่โดยลำพังนานเพียงไร ย่อมแสดงความสุข ความอัศจรรย์ ความสำคัญ ความมีคุณค่ามาก ให้เจ้าของได้ชมนานและมากเพียงนั้น ทั้งเป็นความสำคัญและความอัศจรรย์ไม่มีวันเวลาจืดจางแม้เรื่องผ่านไปแล้ว
    <o:p></o:p>
    ทั้งนี้เพราะใจเป็นธรรมชาติลึกลับและอัศจรรย์ภายในตัวอยู่แล้ว เมื่อถูกชำระเข้าถึงตัวจริงเพียงขณะเดียว ก็แสดงความอัศจรรย์ให้รู้เห็นทันที และยังทำให้เกิดความอาลัยเสียดายต่อความเป็นของจิตไปนาน ถ้าปล่อยให้หลุดมือคือเสื่อมไปโดยไม่ได้กลับคืนด้วยวิธีบำเพ็ญให้ทรงตัวอยู่หรือให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป คงเป็นเพราะเหตุนี้กระมังที่ครั้งพุทธกาลมีพระสาวกบางองค์ ขณะท่านกำลังบำเพ็ญอยู่ ใจมีความเจริญขึ้นและเสื่อมลงถึงหกครั้ง จนเกิดความเสียใจมากเพราะความอาลัยเสียดาย แต่สุดท้ายท่านก็เป็นพระสาวกอรหันต์ขึ้นมาองค์หนึ่งจนได้ เพราะความเพียรพยายามเป็นสะพานเชื่อมโยงให้บรรลุถึงอมตธรรม คือแดนแห่งความเกษม โดยอาศัยกรรมฐานธรรมเป็นเครื่องดำเนิน
    <o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่นับจำนวนไม่ได้ และพระสาวกอรหันต์ทั้งหลายของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ที่เสด็จปรินิพพานผ่านไปแล้วจนประมาณกาลไม่ได้ก็ดี พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย ที่เสด็จปรินิพพานและนิพพานไปพอประมาณกาลได้ก็ดี พระพุทธเจ้าสมณโคดมกับพระสาวกท่านที่เพิ่งเสด็จผ่านไปไม่กี่พันปีก็ดี ล้วนทรงอุบัติและอุบัติขึ้นเป็นพระพุทธเจ้า และเป็นพระอรหันต์จากกรรมฐานทั้งหลาย มีกรรมฐานห้าเป็นต้นทั้งสิ้น ไม่มีแม้พระองค์หรือองค์เดียวที่ผ่านการรู้ธรรมมาโดยมิได้ผ่านกรรมฐานเลย<o:p></o:p>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แม้จะพูดว่ากรรมฐานเป็นสถานที่อุบัติขึ้นแห่งท่านผู้วิเศษทั้งหลายก็ไม่ควรจะผิด เพราะก่อนจะทรงถ่ายพระรูปพระนามและรูปนามจากความเป็นปุถุชน ขึ้นมาเป็นพระอริยะบุคคลเป็นขั้นๆ จนถึงขั้นสูงสุด ต้องมีกรรมฐานธรรมเป็นเครื่องซักฟอก เป็นเครื่องถ่ายถอนความคิดความเห็นความเป็นต่างๆ อันเป็นพื้นเพของจิตที่มีเชื้อวัฏฏะจมอยู่ภายในให้กระจายหายสูญไปโดยสิ้นเชิง กลายเป็นพระทัยและใจดวงใหม่ขึ้นมาเป็นความบริสุทธิ์ล้วนๆ ดังนั้นพระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงทรงถือกรรมฐานว่าเป็นธรรมทั้งสำคัญและจำเป็น และยกย่องในวงพระศาสนาประจำศาสดาแต่ละพระองค์ตลอดมาถึงปัจจุบัน แม้ในศาสนาแห่งพระสมณโคดมของพวกเรา ก็ทรงถือกรรมฐานเป็นแบบฉบับและจารีตประเพณีตายตัวมาเป็นพระองค์แรก ว่าได้ทรงเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมาเพราะกรรมฐาน ๔๐ มีอานาปานสติเป็นต้น และทรงสั่งสอนพุทธบริษัทตลอดมาจนปัจจุบันทุกวันนี้ ทั้งยังจะเป็นสะพานเชื่อมโยงให้สัตว์โลกได้ถึงพระนิพพานตลอดไป จนกว่าจะสิ้นอำนาจวาสนาของมวลสัตว์ที่จะตามเสด็จพระองค์ได้นั่นแล
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ฉะนั้น คำว่า “กรรมฐาน” จึงเป็นธรรมพิเศษในวงพระศาสนาตลอดมาและตลอดไป ผู้นับถือพระพุทธศาสนาที่ยังมิได้ปฏิบัติบำเพ็ญตามทางกรรมฐาน พอทราบเรื่องความลี้ลับที่มีอยู่ในตนทั้งฝ่ายชั่วฝ่ายดีบ้างพอควร จึงไม่ควรคิดว่าตนรู้ตนฉลาดโดยถ่ายเดียว แม้จำได้จากพระไตรปิฎกโดยตลอดทั่วถึง เพราะนั่นเป็นเพียงบัญชีดีชั่วของสิ่งหรือธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวเท่านั้น ยังไม่ได้รับการเลือกเฟ้นจากการปฏิบัติอันมีกรรมฐานเป็นเครื่องส่องทางให้ถึงความจริง ตามพระประสงค์ที่ทรงประกาศธรรมสอนโลก พระกรรมฐาน ๔๐ ห้องนี่แลคือตู้พระไตรปิฎก คือเครื่องมือทำลายภพชาติ เครื่องมือทำลายกงจักรที่พาให้สัตว์โลกหมุนเวียนเกิดตายจนไม่ทราบภพเก่าภพใหม่ และทุกข์เก่าทุกข์ใหม่ที่สลับซับซ้อนมากับภพชาตินั้นๆ ให้ขาดสะบั้นลงโดยสิ้นเชิง
    <o:p></o:p>
    การปฏิบัติใดก็ตามที่ปราศจากธรรมเหล่านี้ส่วนใดส่วนหนึ่งเข้าสนับสนุน การปฏิบัตินั้นจะไม่เป็นไปเพื่อการทำลายสังหารกิเลสกองทุกข์มากน้อยที่มีอยู่ภายใน ให้เบาบางและสิ้นสูญไปได้เลย การปฏิบัติที่มีธรรมเหล่านี้เข้าสนับสนุนอยู่มากน้อยเท่านั้น จะทำลายกองทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง ไม่มีทางสงสัย ด้วยเหตุนี้ผู้ปฏิบัติเพื่อความสงบสุขและความรู้แจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งหลาย จำต้องยึดถือธรรมเหล่านี้เป็นเส้นชีวิตจิตใจของการดำเนินปฏิปทาไปตลอดสาย นับแต่ธรรมขั้นต่ำจนถึงขั้นสูงสุดคือ วิมุตติพระนิพพาน ใครจะปฏิบัติบำเพ็ญความดีงามด้วยวิธีการใดๆ ก็ตาม เมื่อถึงขั้นจะเข้าด้ายเข้าเข็มจริงๆ คือการก้าวขึ้นสู่ภูมิจิตภูมิธรรมเป็นขั้นๆ จำต้องหวนกลับมายึดธรรมเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเครื่องดำเนิน จึงจะผ่านพ้นไปได้โดยสวัสดีปลอดภัย
    <o:p></o:p>
    เพราะธรรมเหล่านี้เป็นที่ประมวลมาแห่งสัจธรรมทั้งหลาย ที่มีมรรคผลนิพพานเป็นจุดสุดยอด ธรรมเหล่านี้รวมอยู่ในวงพระพุทธศาสนา มีศาสดาองค์เอกแต่ละพระองค์ทรงประกาศสอนไว้เป็นแบบเดียวกันและสืบทอดกันมาเป็นลำดับ ท่านที่ยังสงสัยพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ที่ทรงประกาศสอนธรรมมาเป็นยุคๆ จนถึงศาสดาองค์ปัจจุบันคือพระพุทธเจ้าของเรา จึงควรปฏิบัติพิจารณาตามธรรมกรรมฐานที่ทรงแสดงไว้ ด้วยความพิสูจน์จริงๆ ทางปัญญาจนเกิดผลตามพระประสงค์ ก็จะทราบจากความรู้ความเห็นอันเกิดจากการปฏิบัติของตนเองอย่างประจักษ์ใจว่า ศาสดากับธรรมมิได้แตกต่างกัน แต่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังแก่นธรรมที่ทรงแสดงไว้ย่อๆ ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเราตถาคต” ดังนี้<o:p></o:p>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธรรมบทนี้เป็นธรรมประกาศองค์พระตถาคตทั้งหลาย ให้เราทราบอย่างชัดเจนว่าพระตถาคตมีอยู่กับธรรมตลอดเวลา มิได้ขึ้นอยู่กับกาลสถานที่ แม้แต่ละพระองค์จะเสด็จปรินิพพานไปนานตามสมมุตินิยมกันก็จริง แต่ความจริงขององค์พระตถาคตแล้วคือธรรมนี้เท่านั้น บรรดาท่านที่เห็นธรรมภายในใจอย่างแจ้งประจักษ์แล้ว ท่านมิได้สงสัยในองค์พระตถาคตเลยว่าประทับอยู่ในที่เช่นไร ซึ่งโลกเข้าใจว่าท่านเสด็จเข้าสู่นิพพานหายเงียบไปแล้ว ไม่มีศาสดาผู้คอยเมตตาสั่งสอนต่อไป ความจริงธรรมที่ทรงประสิทธิ์ประสาทไว้แล้วแก่หมู่ชนก็คือองค์ศาสดาเราดีๆ นั่นแล ถ้าสนใจอยากมีศาสดาภายในใจ ก็มีได้ทุกเวลาเช่นเดียวกับที่ยังทรงพระชนม์อยู่
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำใจที่จะเคารพนับถือ และเชื่อฟังธรรมที่เป็นองค์แทนท่านเป็นสำคัญกว่าอื่น แม้ท่านยังทรงพระชนม์อยู่ ถ้าขาดความสนใจเสียเพียงอย่างเดียว ท่านก็ช่วยอะไรไม่ได้ คงเป็นประเภทอนาถาอยู่ตามเคย ไม่มีอะไรดีขึ้น เพื่อความไม่เดือดร้อนในภายหลัง และเพื่อความอบอุ่นใจทั้งปัจจุบันและอนาคต จึงควรปฏิบัติบำเพ็ญตนด้วยธรรมที่ประทานให้เป็นมรดกแทนพระองค์ ผลจะเป็นเช่นเดียวกับที่ยังทรงพระชนม์อยู่ทุกประการ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง คือจะมีธรรมคือศาสดาประจำใจอยู่ตลอดเวลา
    <o:p></o:p>
    ได้พร่ำกรรมฐานมายืดยาวจนท่านผู้อ่านเอือมไปตามๆ กัน จึงขออภัยอีกครั้งในความไม่พอดีของตนที่พร่ำไปบ้าง ก็คิดว่าท่านที่ยังไม่เข้าใจในคำว่ากรรมฐานเท่าที่ควรก็อาจมี และอาจจะเข้าใจและทราบวิธีปฏิบัติไว้บ้าง เมื่อถึงวาระที่คิดอยากบำเพ็ญจะได้สะดวก
    <o:p></o:p>
    บัดนี้จะเริ่มเรื่องปฏิปทาคือข้อปฏิบัติ ที่ท่านอาจารย์มั่นพาคณะลูกศิษย์ดำเนินมาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน การปฏิบัติตามปฏิปทานี้รู้สึกลำบากเพราะเป็นการทวนกระแสโลกทั้งทางกายทางวาจาและทางใจ หลักปฏิปทาก็มีธุดงค์ ๑๓ ขันธวัตร ๑๔ มีอาคันตุกวัตรเป็นต้น เป็นเครื่องบำเพ็ญทางกายโดยมาก และมีกรรมฐาน ๔๐ เป็นเครื่องบำเพ็ญทางใจ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันไปในอิริยาบถต่างๆ ของความเพียร ท่านที่สมัครใจเป็นพระธุดงคกรรมฐาน จำต้องเป็นผู้อดทนต่อสิ่งขัดขวางต้านทานต่างๆ ที่เคยฝังกายฝังใจจนเป็นนิสัยมานาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ละได้ยาก แต่ก็จำต้องพยายามละไม่หยุดหย่อนอ่อนกำลัง เพราะเพศของนักบวชกับเพศฆราวาส มีความเป็นอยู่ต่างกัน ตลอดความประพฤติมรรยาท ความสำรวมระวังต่างๆ ต้องเป็นไปตามแบบหรือประเพณีของพระซึ่งเป็นเพศที่สงบงามตา<o:p></o:p>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผู้เป็นพระธุดงค์จึงควรมีความเข้มงวดกวดขันในข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ให้เป็นที่อบอุ่นเย็นใจแก่ตนและเป็นที่น่าชื่นชมเลื่อมใสแก่ผู้อื่น เพราะธุดงควัตร ๑๓ และวัตรต่างๆ ตลอดกรรมฐานทั้งมวล ล้วนเป็นธรรมเครื่องดัดนิสัยความดื้อด้านของคนเราโดยตรง พระก็ออกมาจากฆราวาส นิสัยนั้นต้องติดตัวมาด้วย ถ้าไม่มีเครื่องดัดแปลงหรือทรมานกันบ้าง ก็คงไม่พ้นการบวชมาทำลายตัวและวัดวาศาสนาให้ฉิบหายล่มจมลงอย่างไม่มีปัญหา เพราะปกตินิสัยของมนุษย์เราโดยมาก ชอบเบียดเบียนและทำลายตนและผู้อื่นด้วยวิธีต่างๆ อยู่เสมอ โดยไม่จำต้องอาศัยเจตนาเสมอไป เนื่องจากความชินต่อนิสัย เพราะความทะเยอทะยานอยากต่าง ๆ พาให้เป็นไป หรือเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็สุดจะคาดเดาถูก จึงพลอยมีความทุกข์เดือดร้อนติดตัวประจำอิริยาบถอยู่เสมอ ไม่ค่อยมีความสุขกายสุขใจได้นานเท่าที่อยากมี
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    คำว่าเบียดเบียนหรือทำลายตนนั้น ได้แก่ความคิดนึกต่างๆ ที่เป็นภัยแก่ตนโดยเจ้าตัวไม่รู้ว่าผิดก็มี ที่รู้ว่าผิดก็มี และเป็นชนวนให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น จนถึงระบาดออกทางกายวาจา เรียกว่าความเบียดเบียนทำลายทั้งสิ้น
    <o:p></o:p>
    จะเขียนเรื่องพระปฏิบัติที่กำลังอยู่อบรมกับท่านก่อน แล้วจึงจะเขียนเรื่องการแยกย้ายของท่านที่ออกไปปฏิบัติอยู่โดยลำพังต่อไปตามลำดับ<o:p></o:p>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านที่เริ่มมาศึกษาและปฏิบัติกรรมฐานในสำนักท่านอาจารย์มั่น ตามปกติท่านสอนให้เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียรในทุกกรณีที่เป็นหน้าที่ของพระจะพึงทำ สอนให้เป็นคนหูไวตาไวก้นเบาลุกง่ายไปเร็วไม่อืดอาดเนือยนาย สอนให้เป็นคนฉลาดช่างคิดในกิจนอกการในเพื่ออรรถธรรมในแง่ต่างๆ ไม่อยู่เฉยๆ เหมือนคนสิ้นท่า ความเคลื่อนไหวไปมามีสติอยู่กับตัว สอนให้เป็นคนละเอียดลออในทุกกรณี การภาวนาท่านเริ่มสอนแต่กรรมฐานห้าเป็นต้นไป ตลอดถึงกรรมฐานอื่นๆ ตามแต่อาการใดจะเหมาะกับจริตนิสัยของผู้มาอบรมศึกษาเป็นรายๆ ไป ขณะฟังการอบรมก็ทำสมาธิภาวนาไปด้วยในตัว บางรายขณะนั่งฟังการอบรม จิตเกิดความสงบเย็นเป็นสมาธิขึ้นมาทั้งที่ยังไม่เคยปรากฏมาก่อนนับแต่เริ่มฝึกหัด เพิ่งมาเป็นในขณะนั้นก็มี
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    พระเณรมีจำนวนมากที่เข้าไปรับการอบรม ต่างเกิดผลจากสมาธิภาวนาขณะที่นั่งฟังการอบรมในแง่ต่าง ๆ กันขึ้นมาตามจริตนิสัย ไม่ค่อยตรงกันไปทีเดียว ความรับการอบรมจากท่านเป็นอุบายกล่อมเกลาจิตใจของผู้ฟังได้ดี ทั้งด้านสมาธิและด้านปัญญาเป็นขั้นๆ ผู้ที่ยังไม่เคยมีความสงบก็เริ่มสงบ ผู้เคยสงบบ้างแล้วก็เพิ่มความสงบไปทุกระยะที่ฟัง ผู้มีสมาธิเป็นพื้นฐานแล้วก็ทำให้ฐานนั้นมั่นคงขึ้นโดยลำดับ ผู้เริ่มใช้ปัญญาการอบรมก็เป็นอุบายปัญญาช่วยไปด้วยเป็นระยะ ผู้มีภูมิปัญญาเป็นพื้นอยู่แล้ว ขณะฟังการอบรมก็เท่ากับท่านช่วยบุกเบิกอุบายสติปัญญา ให้กว้างขวางลึกซึ้งลงไปทุกระยะเวลา ออกจากที่อบรมแล้วต่างองค์ต่างปลีกตัวออกบำเพ็ญอยู่ในสถานที่และอิริยาบถต่างๆ กัน
    <o:p></o:p>
    การพักผ่อนหลับนอนไม่มีกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับใดๆ จากท่าน ปล่อยให้เป็นความสะดวกเหมาะสมของแต่ละรายจะปฏิบัติต่อตัวเอง ทั้งนี้เพราะธาตุขันธ์และความเพียร ตลอดความหมายมั่นปั้นมือต่อธรรมในแง่ต่างๆ มีหนักเบามากน้อยต่างกัน บางรายกลางคืนมีเวลาพัก บางรายพักนอนบ้างตอนกลางวัน แต่กลางคืนเร่ง พักหลับนอนน้อยหรือไม่พักหลับเลยในบางคืนความเพียรมาก จึงปล่อยให้เป็นความสะดวกสำหรับตัวเองแต่ละรายไป ที่จะพักผ่อนหลับนอนหรือประกอบความเพียรในเวลาใด
    <o:p></o:p>
    แนวทางดำเนินในสายท่านอาจารย์มั่น กรรมฐาน ๕ และธุดงค์ ๑๓ ท่านถือเป็นสำคัญมาก จะเรียกว่าเป็นเส้นชีวิตของพระธุดงค์สายของท่านก็ไม่ผิด ใครเข้าไปรับการอบรมกับท่าน ท่านต้องสอนกรรมฐานและธุดงควัตรให้ในเวลาไม่นานเลย ถ้าเป็นหน้าแล้งท่านมักจะสอนให้ไปอยู่รุกขมูลร่มไม้เสมอ ว่าโน้นต้นไม้ใหญ่มีใบดกหนา น่าร่มเย็นสบาย ภาวนาสะดวก อากาศก็ดี ปราศจากความพลุกพล่านวุ่นวายจากสิ่งภายนอก โน้นภูเขาเป็นที่เปิดหูเปิดตาเพื่อร่าเริงในธรรม โน้นถ้ำ โน้นเงื้อมผา เป็นที่น่าอยู่น่าบำเพ็ญเพียรหาความสงบสุขทางใจ โน้นป่าชัฏ เป็นที่กำจัดความเกียจคร้านและความหวาดกลัวต่างๆ ได้ดี คนเกียจคร้านหรือคนขี้ขลาดควรไปอยู่ในที่เช่นนั้น จะได้ช่วยพยุงความเพียรให้ขยันเสียบ้าง และช่วยกำจัดความกลัวเพื่อความกล้าหาญขึ้นบ้าง ไม่หนักและกดถ่วงจิตใจจนเกินไป<o:p></o:p>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ภูเขาลูกโน้น ถ้ำโน้น เงื้อมผาโน้น อากาศดี ภาวนาสะดวก จิตรวมลงสู่ความสงบได้ง่าย เมื่อจิตสงบแล้ว มองเห็นสิ่งต่างๆ ที่แปลกๆ ลึกลับได้ดีเกินกว่าสายตาสามัญจะรู้เห็นได้ ภูเขาลูกนั้น ถ้ำนั้น เงื้อมผานั้น มีสิ่งนั้นๆ อยู่ทางทิศนั้นๆ ผู้ไปอยู่ควรระวังสำรวม ไม่ควรประมาทว่าปราศจากผู้คนและสิ่งต่างๆ ที่เห็นๆ และได้ยินแล้ว จะไม่มีอะไรอื่นอีก สิ่งลึกลับเกินกว่าสามัญจิตจะรู้เห็นได้ยังมีอีกมากมาย และมากกว่าวัตถุที่มีเกลื่อนอยู่ในโลกนี้เป็นไหนๆ เป็นเพียงไม่มีสิ่งที่ควรแก่สิ่งเหล่านั้นจะแสดงความมีออกมาอย่างเปิดเผยเหมือนสิ่งอื่นๆ เท่านั้น จึงแม้มีอยู่มากน้อยเพียงไรก็เป็นเหมือนไม่มี ผู้ปฏิบัติจึงควรสำรวมระวังในอิริยาบถต่างๆ อย่างน้อยก็เป็นผู้สงบเย็นใจ ยิ่งกว่านั้นก็เป็นที่ชื่นชมยินดีของพวกกายทิพย์ทั้งหลายที่มีภพภูมิต่างๆ กัน อาศัยอยู่ในแถบนั้นและที่อื่นๆ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เพราะโลกไม่ว่างจากมวลสัตว์ชนิดต่างๆ ทั้งหยาบและละเอียด แม้ในกายคนกายสัตว์ก็ยังมีสัตว์ชนิดต่างๆ อาศัยอยู่ นักปฏิบัติเพื่อเสรีภาพแก่สภาวธรรมทั้งหลายทั่วไตรภพ จึงไม่ควรรับรองและปฏิเสธในสิ่งที่ตนรู้ตนเห็นว่ามีว่าจริง และว่าไม่มีไม่จริงเพียงเท่านั้น แม้แต่วัตถุทั้งหยาบทั้งละเอียดซึ่งมีอยู่ เรายังไม่สามารถรู้เห็นโดยทั่วถึง บางทียังโดนสิ่งต่างๆ จนตกบ้านตกเรือนแตกยับไปหมดก็ยังมีประจำนิสัยมนุษย์ผู้ชอบหยิ่งในตัว ขณะที่เดินซุ่มซ่ามเซอะซะไปโดนสิ่งของด้วยความไม่มีสตินั้น เจ้าตัวต้องเข้าใจว่าอะไรไม่มีอยู่ในที่นั้น แต่สิ่งที่ถูกปฏิเสธว่าไม่มีอยู่ในที่นั้นและในขณะนั้น ทำไมจึงถึงกับแตกฉิบหายไปได้ เพียงเท่านี้ก็พอพิสูจน์ตัวเองได้ดีว่ามีนิสัยสะเพร่าเพียงไรถ้าจะพิสูจน์ นอกจากจะไม่ยอมพิสูจน์และปล่อยให้เรื้อรังไปตลอดกาลเท่านั้น ก็หมดหนทางที่จะทราบความจริงที่มีอยู่ในโลกและธรรมทั่วๆ ไป
    <o:p></o:p>
    ภูเขาลูกโน้น ถ้ำโน้น และเงื้อมผาโน้น ผมเคยพักบำเพ็ญมาแล้ว เป็นที่จับใจไร้กังวลกับเรื่องเกลื่อนกล่นวุ่นวายทั้งหลาย ถ้าพวกท่านมุ่งต่อแดนพ้นทุกข์อย่างถึงใจ ก็ควรแสวงหาที่เช่นนั้นเป็นที่อยู่ที่บำเพ็ญ และที่ฝากเป็นฝากตายกับธรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นดังองค์ของศาสดาเสด็จมาประทับอยู่ในที่เฉพาะหน้าทุกอิริยาบถ หลับและตื่นจะเป็นสุข ความเพียรทางใจก็ก้าวหน้า ไม่ชักช้าล่าถอยเหมือนที่เกลื่อนกล่นวุ่นวายทั้งหลาย พระพุทธเจ้าก็ดี พระสาวกอรหันต์ทั้งหลายก็ดี ท่านทรงพลีและพลีชีพเพื่อธรรมในสถานที่ดังกล่าวนั่นแล นอกจากผู้ไม่เห็นโทษของกิเลสตัณหาวัฏสงสาร เพลินเที่ยวจับจองป่าช้าความเกิด–ตายแบบไม่มีจุดหมายปลายทางเท่านั้น จะไม่ยินดีในสถานที่ที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ท่านทรงยินดี<o:p></o:p>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    โน้นป่าช้าป่าชัฏ ไปอยู่ในป่าเช่นนั้นกับพวกชาวป่าชาวเขาโน้น เป็นสถานที่อำนวยความเพียรทุกด้าน เพื่อตัดกระแสวัฏฏะภายในใจให้น้อยลงทุกประโยคแห่งความเพียร การทำความเพียรในที่เหมาะสม กับผู้ต้องการความไม่หวังมาเกิดตายอีกหลายชาติหลายภพ ผิดกับที่ทั่วๆ ไปอยู่มาก สถานที่ไม่เหมาะ แม้เดินจงกรมหรือนั่งสมาธิภาวนาเป็นเวลานานเท่ากัน แต่ผลที่ได้รับย่อมผิดกันอยู่มาก เพราะความเอาใจใส่และความสืบต่อแห่งสติปัญญา ตลอดความรู้สึกเกี่ยวกับสิ่งที่มีอยู่รอบตัวนั้นต่างกัน ผลที่ได้รับจากเหตุที่ไม่สืบต่อกันจึงต่างกัน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    นักปฏิบัติที่ยึดศาสดาเป็นสรณะจริงๆ ควรระลึกถึงธรรมที่ประทานไว้ให้มากกว่าคิดถึงความลำบากต่างๆ มีความกลัวตายเป็นตัวการสำคัญ เช่น ความลำบากเพราะขาดแคลนกันดารในปัจจัยสี่ มีอาหารบิณฑบาตเป็นต้น ความลำบากในการประกอบความเพียร คือการฝึกทรมานจิตที่แสนคะนองโลดโผนประจำนิสัยมาดั้งเดิม ความลำบากเพราะเดินจงกรมนาน เพราะนั่งภาวนานาน เกิดทุกขเวทนาขึ้นมาทรมานกายทรมานใจ ความลำบากเพราะจิตไม่ยอมอยู่ในขอบเขตร่องรอยที่ต้องการ ความลำบากเพราะความหิวโหยโรยแรงเนื่องจากอาหารน้อย เพราะฉันแต่น้อย เพราะหยุดพักไม่ฉันบ้างเป็นวันๆ หยุดไปหลายๆ วัน เพื่อความเพียรทางใจจะได้ดำเนินสะดวกตามจริตเป็นรายๆ
    <o:p></o:p>
    ความลำบากเพราะความเปลี่ยวกายเปลี่ยวใจไร้เพื่อนฝูงครูอาจารย์ ผู้เคยอบรมสั่งสอนและแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นต่อกัน ความลำบากเพราะคิดถึงบ้านถึงเรือน คิดถึงเพื่อนฝูงญาติมิตรที่เคยให้ความอบอุ่นทางกายทางใจ ความลำบากเพราะเปียกฝนทนทุกข์ไม่มีที่มุงที่บังกันแดดกันฝน ความลำบากเพราะความหนาวเหน็บเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเพราะเหตุต่างๆ ความลำบากเพราะเป็นไข้ ความเจ็บหัวตัวร้อนปวดอวัยวะส่วนต่างๆ ไม่มีหยูกยาเครื่องบำบัดรักษา ความลำบากเพราะกลัวตายอยู่ในป่าในเขาคนเดียวไม่มีผู้ปรนนิบัติรักษา เวลาตายไม่มีผู้เก็บซากศพ มีแต่แร้งกาหมากินและแมลงวันมายื้อแย่งแข่งกันกิน
    <o:p></o:p>
    ความคิดเหล่านี้เป็นเครื่องกีดขวางทางดำเนินเพื่อพระนิพพาน อย่าปล่อยให้เข้ามารบกวนใจได้ จะเสียคนไปไม่ตลอด ควรทราบทันทีว่า ความคิดนี้คือกองสมุทัย ซึ่งเป็นกุญแจเปิดทุกข์ขึ้นทับถมจิตใจ จนหาทางออกมิได้ ผู้ปฏิบัติต้องเป็นคนกล้าหาญอดทน คือทนต่อแดดต่อฝน ทนต่อความหิวโหย ทนต่อความทุกข์ทรมานต่างๆ ที่เกิดขึ้นทางกายทางใจ ทนต่อความเจ็บปวดแสบร้อนต่างๆ ที่มาสัมผัสทั้งภายในภายนอกซึ่งโลกทั้งหลายก็ยอมรับว่ามีว่าเป็นโดยทั่วกัน<o:p></o:p>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นักปฏิบัติต้องฝึกหัดใจให้กล้าแข็ง ต่อแรงพายุที่คอยจะเกิดขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งโดยมากก็มักเกิดจากใจตัวเอง และคอยหักรานตัวเองให้ทุพพลภาพทางความเพียรกลายเป็นคนอ่อนแอ ที่เคยเข้มแข็งอดทนก็ลดวาราศอกลงโดยลำดับ และลดลงจนก้าวไม่ออก สุดท้ายก็จอดจมงมทุกข์ไปตามเคย ศาสดาก็นับวันห่างไกลจิตใจไปทุกที พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ก็เป็นเพียงลมปากแสดงออกมา ซึ่งเด็กก็ว่าได้ แต่ส่วนใหญ่ที่แท้จริงของคำว่า พุทฺธํ เลยจืดจางว่างเปล่าไปจากใจ นี่ท่านเรียกว่าผู้ท้อถอยพ่ายแพ้กิเลสมาร คือสู้ความคิดฝ่ายต่ำภายในใจของตนไม่ได้ ผู้พ่ายแพ้ขันธมารคือปล่อยให้กองทุกข์ในสังขารเหยียบย่ำทำลายอยู่เปล่าๆ ไม่สามารถหาทางคิดค้นแก้ไขด้วยสติปัญญาที่มีอยู่ พอมีทางหลบหลีกปลีกตัวออกได้ด้วยอุบายอันแยบคายของนักต่อสู้เพื่อกู้ตนจากหล่มลึก
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ข้าศึกใดก็ตามในแหล่งโลกธาตุ ไม่มีอำนาจอันลึกลับแหลมคมเหมือนข้าศึกภายในใจ คือกิเลสตัณหานี่เลย ข้าศึกนี้น่าหนักใจมากสำหรับผู้มีนิสัยอ่อนแอและขี้เกียจ ไม่เป็นคนช่างคิด มีอะไรนิดมาสัมผัสคอยแต่จะยอมแพ้ ไม่คิดหาอุบายต่อสู้เพื่อตัวเองบ้างเลย นิสัยชนิดนี้กิเลสมารชอบมากเป็นพิเศษ ใครอยากเป็นคนพิเศษของมันก็ต้องฝึกและสั่งสมนิสัยนี้ขึ้นให้มาก จะได้เป็นผู้รับใช้ที่โปรดปรานของมันชนิดไม่มีวันโผล่หน้าขึ้นมาเห็นแสงอรรถแสงธรรมเครื่องนำให้พ้นทุกข์ได้เลย เกิดมาภพใดชาติใดก็มอบดวงใจที่มีคุณค่า เป็นเครื่องสังเวยเซ่นสรวงแต่กิเลสตัวมีอำนาจยิ่งกว่าธรรมภายในใจตลอดไป
    <o:p></o:p>
    คิดแล้วก็น่าสลดสังเวชที่พระเราขนาดเป็นนักปฏิบัติ ยังยอมตัวลงตามความรู้สึกฝ่ายต่ำ โดยไม่ใช้สติปัญญาเป็นเครื่องฉุดลากขึ้นมาบ้าง พอได้หายใจอยู่กับความสงบแห่งธรรม สมกับเป็นนักพรตแบกกลดสะพายบาตรขึ้นเขาเข้าถ้ำอยู่ป่าภาวนา แต่ท่านที่มุ่งหน้ามาอบรมศึกษาและปฏิบัติถึงขนาดนี้ ยังจะยอมตนให้กิเลสตัณหาเหยียบย่ำทำลายและมาติกาบังสุกุลเอาตามชอบใจละหรือ ถ้าเป็นได้อย่างนั้น ผู้สั่งสอนก็อกแตกตายก่อนผู้มาศึกษาอบรมโดยไม่ต้องสงสัยดังนี้
    <o:p></o:p>
    อุบายวิธีสอนของท่านอาจารย์มั่น ยากที่จะจับนิสัยท่านได้ เพราะเป็นอุบายของปราชญ์ผู้ฉลาดแหลมคมในสมัยปัจจุบัน จึงรู้สึกเสียใจที่ผู้เขียนประวัติท่านและปฏิปทาพระธุดงค์สายของท่าน ไม่มีความจดจำและความฉลาดสมศักดิ์ศรีท่าน จึงไม่อาจขุดค้นเนื้ออรรถเนื้อธรรมที่สำคัญในการสั่งสอนของท่านออกมาให้ท่านได้อ่านอย่างสมใจ สมกับท่านเป็นพระในนาม “ธรรมทั้งองค์” ตามความรู้สึกของผู้เขียน ถ้าผิดก็ขออภัยด้วย<o:p></o:p>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การสั่งสอนพระ ท่านหนักไปในธุดงควัตร เฉพาะอย่างยิ่งการอยู่ในป่าในเขาในถ้ำและเงื้อมผาที่เปลี่ยวๆ รู้สึกว่าท่านเน้นหนักลงเป็นพิเศษ แทบทุกครั้งที่อบรม ไม่แสดงขึ้นต้นด้วยสถานที่ดังกล่าว ก็ตอนสุดท้ายเป็นต้องนำมาสรุปจนได้ สมกับท่านเป็นนักพรตและชอบอยู่ในป่าในเขาประจำชีวิตนิสัยของนักบวชจริงๆ การอบรมไม่ยอมให้เนื้อธรรมห่างจากธุดงควัตรเลย พอจบจากการนำพระเที่ยวชมป่าชมเขาชมถ้ำและเงื้อมผาต่างๆ อันเป็นสถานที่รื่นเริงแล้ว ก็นำพระเข้าบิณฑบาตในหมู่บ้านด้วยบทธรรมหมวดต่างๆ คือสอนวิธีครองผ้าและท่าสำรวมในเวลาเข้าบิณฑบาต ไม่ให้มองโน้นมองนี้อันเป็นกิริยาของคนไม่มีสติอยู่กับตัว แต่ให้มองในท่าสำรวมและสงบเสงี่ยมมีสติทุกระยะที่ก้าวไปและถอยกลับ ใจรำพึงในธรรมที่เคยบำเพ็ญมาประจำนิสัย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การบิณฑบาต ถือเป็นกิจวัตรสำคัญประจำพระธุดงค์ในสายของท่านไม่ให้ขาดได้ เว้นแต่ไม่ฉันก็ไม่จำเป็นต้องไป ขณะไปก็สอนให้มีความเพียรทางภายในไม่ลดละทั้งไปและกลับจนมาถึงที่พัก ตลอดการจัดอาหารใส่บาตรและลงมือฉัน ก่อนฉันก็สอนให้พิจารณาปัจจเวกขณะ คือ ปฏิสังขา โยนิโสฯ โดยแยบคายตามภูมิสติปัญญาของแต่ละราย อย่างน้อยเป็นเวลาราวหนึ่งนาทีก่อน แล้วจึงลงมือฉันด้วยความสำรวมและมีสติอยู่กับตัวและในบาตร อาหารที่รวมอยู่ในบาตรมีหลายชนิดและมีรูปลักษณะสีสันต่างๆ กัน เมื่อรวมกันอยู่ในบาตร ใจมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง คอยดูมารยาของใจจะแสดงท่าต่างๆ ออกมาในเวลาฉัน กำหนดสติปัญญาคอยสังเกตตรวจตราทั้งความหิวที่อาจออกนอกลู่นอกทาง อันเป็นทางเดินของตัณหา ตาเป็นไฟใจเป็นวานร (ลิง) ทั้งมารยาของใจที่อาจคิดว่าอาหารที่ผสมกันอยู่มีรสชาติแปรไปต่างๆ ใจเกิดความสะอิดสะเอียนเบื่อหน่ายไม่อยากรับประทาน อันผิดวิสัยของผู้บำเพ็ญพรตเพื่อความรอบคอบและความหมดจดของใจ
    <o:p></o:p>
    อุบายการพิจารณาของแต่ละรายนั้น แล้วแต่ใครจะแยบคายในทางใด ทางปฏิกูล ทางธาตุ หรือทางใด ที่เป็นเครื่องบรรเทาและกำจัดกิเลสตัณหาความลืมตัว ย่อมถือเป็นความถูกต้องดีงามในการฉันเป็นรายๆ ที่มีความแยบคายต่างกัน ขณะฉันก็ให้มีสติเป็นความเพียรไปทุกประโยค โดยสังเกตระหว่างจิตกับอาหารที่เข้าไปสัมผัสกับชิวหาประสาทและธาตุขันธ์ในเวลากำลังเคี้ยวกลืน ไม่ให้จิตกำเริบลำพองไปตามรสอาหารชนิดต่างๆ อันเป็นความลืมตนเพราะความหิวโหยที่เป็นไปด้วยอำนาจของธาตุขันธ์ที่กำลังบกพร่องและต้องการสิ่งเยียวยาก็มี ที่เป็นไปด้วยอำนาจตัณหาความดิ้นรนของใจก็มี อย่างต้นถือเป็นธรรมดาของขันธ์ แม้พระอรหันต์ท่านก็มีได้เช่นสามัญธาตุทั่วๆ ไป แต่อย่างหลังต้องคอยระวังสังเกตและปราบปราม ขืนปล่อยไว้ไม่สนใจนำพา ต้องทำคนให้เสียได้ เพราะเป็นประเภทความอยากที่เป็นไปด้วยอำนาจตัณหาน้ำไหลนองล้นฝั่ง ไม่มีเมืองพอดี<o:p></o:p>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผู้ปฏิบัติจำต้องมีสติปัญญาใกล้ชิดกับใจอยู่เสมอ เกี่ยวกับการขบฉันทุกๆ ครั้งไป เพื่อใจจะได้มีความเคยชินต่อการพิจารณาและการรักษาตนในท่าต่างๆ คือ ท่ายืน ท่าเดิน ท่านั่ง ท่านอน ท่าขบฉัน ตลอดการทำข้อวัตรปฏิบัติปัดกวาดต่างๆ อันเป็นกิจของพระจะพึงทำ ไม่ปล่อยสติปัญญาอันเป็นประโยคแห่งความเพียรปราศจากใจ การกระทำทุกอย่างจะกลายเป็นเครื่องเชิดหุ่นที่ไม่มีความหมายของงานไปโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันเสร็จแล้วนำบาตรไปล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้งกับมือ ถ้ามีแดดก็ผึ่งแดดสักครู่ แล้วนำไปเก็บไว้ในสถานที่ควร เสร็จแล้วทำธุระอื่นต่อไป เช่น เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา หรือทำกิจอย่างอื่น
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    หลังจากฉันเสร็จแล้ว โดยมากมีการเดินจงกรมมากกว่าการนั่งทำความเพียร เพราะเป็นท่าที่ระงับความโงกง่วงได้ดีกว่าท่าอื่นๆ แต่ถ้าไม่ได้ฉันจังหันในวันใด วันนั้นแม้จะนั่งในเวลาใดก็ได้ ไม่ค่อยมีความง่วงเหงาหาวนอนมารบกวน ประกอบความเพียรได้สะดวกทุกอิริยาบถไป ฉะนั้นท่านที่มีนิสัยชอบในทางนี้ จึงชอบอดอาหารกันบ่อยๆ บางครั้งอดแต่น้อยวัน ไปจนถึงทีละหลายๆ วัน คือครั้งละ ๒-๓ วันบ้าง ครั้งละ ๔-๕ วันบ้าง ๕-๖ วันบ้าง ๙-๑๐ วันบ้าง ๑๔-๑๕ วันบ้าง ๑๙-๒๐ วันบ้าง บางรายอดได้เป็นเดือนไม่ฉันอะไรเลยก็ยังมี ฉันเฉพาะน้ำธรรมดา ในระหว่างที่อดไปหลายๆ วัน บางวันก็มีฉันโอวัลตินบ้างเล็กน้อย (ถ้ามี) พอบรรเทาความอิดโรย แต่มิได้ฉันทุกวันไป คือฉันเฉพาะวันที่อ่อนเพลียมากเท่านั้น
    <o:p></o:p>
    แต่สมัยท่านอาจารย์มั่นพาพระบำเพ็ญโน้น เรื่องนม โอวัลติน น้ำตาลทราย โกโก้ กาแฟ หรืออะไรเหล่านี้ไม่ควรถามถึงเลย แม้แต่จะหาถ่ายเอารูปไว้ เวลาเกิดความหิวโหยขึ้นมาจะได้ดูแม้ไม่ได้ฉัน ก็ยังไม่มีให้ถ่ายเลย ไม่เหมือนปัจจุบันที่มีหรูหราเสียทุกอย่าง จนกลายเป็นความฟุ่มเฟือยมากกว่าอดอยากขาดแคลน คงจะเป็นเพราะเหตุนี้กระมัง ที่พระธุดงคกรรมฐานเราภาวนาตามท่านไปอย่างลำบากลำบน และบ่นกันอู้ว่าจิตไม่รวมไม่สงบ แย่จริงๆ แทบทุกแห่งทุกหน ความจริงก็จะให้สงบได้อย่างไรกัน ต้องขออภัยเขียนตามความจริง ตอนเช้าไปบิณฑบาตก็เต็มบาตรกลับมาทั้งหวานทั้งคาว แถมบางครั้งมือหนึ่งยังหิ้วปิ่นโต พอมาถึงศาลา ปิ่นโตก็วางเป็นแถวๆ ไม่ชนะที่จะรับประเคน ซึ่งล้วนแต่ท่านศรัทธาที่มุ่งต่อบุญกุศล อุตส่าห์แหวกว่ายมาจากที่ต่างๆ ทั้งใกล้ทั้งไกลทุกทิศทุกทาง มาขอแบ่งบุญจากพระธุดงคกรรมฐานด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส ให้ทานเท่าไรไม่กลัวหมดกลัวสิ้น เพราะแรงศรัทธาพาขวนขวาย เพียงเท่านี้ก็แย่อยู่แล้ว
    <o:p></o:p>
    พอกลางวันหรือตอนบ่ายตอนเย็นๆ น้ำแข็ง น้ำส้ม น้ำหวาน โกโก้ กาแฟ น้ำอ้อย น้ำตาล อะไรเต็มไปหมด ก็มาอีกแล้วจนไม่ชนะจะฉัน และนอนแช่กันอยู่แบบนั้น พระธุดงค์จึงรวยใหญ่ แต่ภาวนาไม่เป็นท่า มีแต่ความอืดอาดเนือยนายเหมือนเรือบรรทุกของหนัก คอยแต่จะจมน้ำทั้งที่ยังไม่ได้ออกจากท่า ดังนั้น ท่านผู้มุ่งต่อฝั่งแห่งพระนิพพาน ท่านจึงระมัดระวังตัวอย่างเข้มงวดกวดขัน ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ความลำบากอิดโรยต่างๆ พยายามบากบั่นฟันฝ่าสิ่งกีดขวางต่อทางดำเนินมิได้นอนใจ สิ่งของหรืออาหารปัจจัยแม้มีมากท่านก็รับแต่น้อย ด้วยความรู้จักประมาณ<o:p></o:p>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านที่อดนอนผ่อนอาหารหรืออดอาหารก็เช่นกัน เป็นวิธีหนึ่งที่จะพาให้ท่านถึงความสงบสุขทางใจ รายที่ถูกจริตกับการอดอาหาร อดไปหลายวันเท่าไร ใจยิ่งสงบผ่องใสและเขยิบฐานะขึ้นสู่ความละเอียดโดยลำดับ ความสงบก็สงบได้ง่ายและเร็วกว่าธรรมดา เวลาออกคิดค้นทางปัญญา ใจก็คล่องแคล่วแกล้วกล้า พิจารณาอะไรก็ทะลุปรุโปร่งโล่งไปได้ดังใจหวัง ความหิวโหยโรยแรง แทนที่จะเป็นความลำบากทรมานทางกายทางใจ แต่กลับกลายเป็นเส้นทางอันราบรื่นชื่นใจต่อการดำเนินของท่าน ไปทุกระยะที่ผ่อนและอดอาหารเป็นคราวๆ ไป ท่านที่มีนิสัยในทางนี้ ท่านก็พยายามตะเกียกตะกายบำเพ็ญไปด้วยความอดอยากขาดแคลนแบบนี้ตลอดไป ในท่ามกลางแห่งความสมบูรณ์ด้วยปัจจัยสี่ เพราะถือเป็นเครื่องอาศัยพอยังความเป็นอยู่ให้เป็นไปเป็นวันๆ เท่านั้น สาระสำคัญคือธรรมภายในใจ ท่านถืออย่างเอาจริงเอาจัง เอาเป็นเอาตายเข้าประกัน ไม่ยอมลดละปล่อยวางตลอดไป
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    นักภาวนาที่กล้าตายเพื่ออรรถเพื่อธรรมต่อมรรคผลนิพพานจริงๆ ที่ไหนสะดวกในการบำเพ็ญเพียรทางภาวนา ท่านมุ่งต่อที่นั้นโดยมิได้คำนึงถึงความทุกข์ลำบาก เพราะอะไรจะบกพร่องขาดเขินบ้าง ใจน้อมต่อธรรมอันเป็นทางพ้นทุกข์ล้วนๆ ไม่มีอะไรมาแอบแฝงแปลงปลอมได้เลย อิริยาบถทั้งสี่เป็นความเพียรล้วนๆ ประหนึ่งท่านเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์อยู่ทุกอิริยาบถ เว้นแต่ขณะหลับเท่านั้น นอกนั้นเป็นเวลาที่ท่านปลดเปลื้องกิเลสเครื่องผูกพันต่างๆ ออกจากใจอย่างไม่ลดละท้อถอย ราวกับจะให้กิเลสพินาศขาดสูญออกจากใจในเวลานั้น ไม่มีอะไรเหลืออยู่เพื่อก่อกรรมทำเข็ญแก่ท่านอีกต่อไป ผู้มีนิสัยถูกกับวิธีนี้ ท่านก็เร่งปฏิปทาไปในทางนี้ ไม่ลดหย่อนอ่อนกำลังให้กิเลสในบรรดาที่ละได้แล้วได้ใจหัวเราะเยาะ และเรืองอำนาจบนหัวใจได้อีกต่อไป ส่วนที่ยังเหลือก็พยายามต่อสู้กันต่อไปจนกว่าจะถึงแดนชัย
    <o:p></o:p>
    ท่านที่มีนิสัยในทางใด ซึ่งเป็นผู้มุ่งต่อธรรมอย่างเต็มใจแล้ว ย่อมจะเร่งความเพียรในทางนั้น เช่น ผู้ผ่อนอาหารเป็นการถูกกับจริต ก็พยายามผ่อนให้กลมกลืนกับปฏิปทาเรื่อยไป ไม่ยอมลดละไปตลอดสาย จนสุดทางเดินหรือก้าวเข้าวัยที่อ่อนกำลังทางกาย ท่านอาจลดหย่อนผ่อนผันไปตามวัยบ้าง ผ่อนอาหารตามเคยบ้าง สลับกันไปตามเหตุการณ์ที่เห็นว่าควร ท่านที่เดินจงกรมมากถูกกับจริต ก็พยายามทำความเพียรในท่าเดินมากกว่าท่าอื่นๆ ตลอดไป แม้จะมีท่าอื่นๆ เข้าแทรกบ้างก็เพียงเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถไปด้วยในตัว แล้วกลับมาท่าเดิมที่เคยเห็นว่าได้ผลมากกว่าท่าอื่นๆ ท่านที่ถูกกับการนั่งมากกว่าท่าอื่น ก็พยายามทำความเพียรในท่านั่งให้มากกว่าท่าอื่น หากมีการเปลี่ยนบ้างก็เป็นคราวๆ เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถไปด้วย ท่านที่ถูกจริตกับท่านอนมากหรือท่ายืนมากกว่าท่าอื่น ก็ย่อมประกอบความเพียรให้หนักไปในท่านั้นๆ ตามความถนัดของแต่ละราย
    <o:p></o:p>
    แม้สถานที่ทำความเพียรก็เช่นกัน ย่อมเหมาะกับจริตเป็นรายๆ ไป บางท่านชอบได้กำลังใจจากที่โล่งๆ อากาศโปร่งๆ เช่นอยู่กลางแจ้งในเวลาเย็นหรือกลางคืนก็มี บางท่านชอบได้กำลังใจเพราะการทำความเพียรอยู่ในถ้ำก็มี บางท่านชอบได้กำลังใจเพราะอยู่บนหลังเขาไหล่เขาก็มี บางท่านชอบได้กำลังใจเพราะอยู่ป่าราบๆ ธรรมดาก็มี บางท่านชอบอยู่ริมน้ำริมสระว่าได้กำลังใจดีก็มี ต่างๆ กัน อย่างไรก็ตาม ท่านนักปฏิบัติที่มุ่งความเจริญแก่ตน ย่อมทราบจริตนิสัยของตนได้ดีและพยายามประกอบความเพียรตามอิริยาบถและสถานที่ที่เห็นว่าเหมาะสมกับจริตจิตใจไปโดยสม่ำเสมอ ไม่ให้ขัดต่อนิสัยที่เห็นว่าชอบกับอิริยาบถและสถานที่ดีแล้ว<o:p></o:p>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านอาจารย์มั่นท่านสั่งสอนปฏิปทาเครื่องดำเนินแก่บรรดาศิษย์ ทั้งภายในภายนอกละเอียดลออมาก และสั่งสอนอย่างมีเหตุผลซาบซึ้งจับใจในธรรมทุกขั้นและเครื่องดำเนินทุกแขนง ผู้ได้รับการอบรมจากท่านพอสมควร ต้องการจะเร่งความเพียรจำเพาะตน ก็นมัสการกราบลาท่านออกแสวงหาที่วิเวกสงัดเป็นแห่งๆ ไป ตามนิสัยที่ชอบในสถานที่ใดก็ไปยังสถานที่นั้น คือ ท่านที่ชอบภูเขาก็มุ่งหน้าขึ้นเขา หาเลือกสถานที่ที่จะพักบำเพ็ญเอาตามชอบใจ แต่น้ำสำหรับอาบดื่มใช้สอยมีความสำคัญอย่างยิ่ง จะขาดไปไม่ได้ อาหารยังพออดได้ทนได้ทีละหลายๆ วัน แต่น้ำอดไม่ได้และไม่ค่อยมีส่วนทับถมร่างกายให้เป็นข้าศึกต่อความเพียรทางใจเหมือนอาหาร จึงไม่จำเป็นต้องอดให้ลำบาก ทั้งน้ำมีความจำเป็นต่อร่างกายอยู่มาก ฉะนั้นการแสวงหาที่บำเพ็ญต้องขึ้นอยู่กับน้ำเป็นสำคัญส่วนหนึ่ง แม้จะมีอยู่ในที่ห่างไกลบ้างประมาณกิโลเมตรก็ยังนับว่าดี ไม่ลำบากในการหิ้วขนนัก
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ที่โคจรบิณฑบาตถ้ามีหมู่บ้านราว ๔-๕ หลังคาเรือน หรือ ๘-๙ หลังคา ก็พอเป็นไปสำหรับพระธุดงค์เพียงองค์เดียวไม่ลำบากอะไรเลย ตามปกติพระธุดงคกรรมฐานไม่ค่อยกังวลกับอาหารคาวหวานอะไรนัก บิณฑบาตได้อะไรมาท่านก็สะดวกไปเลย แม้ได้เฉพาะข้าวเปล่าๆ ไม่มีกับเลย ท่านยังสะดวกไปเป็นวันๆ เพราะเคยอดเคยอิ่มมาแล้วจนเคยชิน ถ้าไม่เป็นการอวดแม้เขียนตามความจริงที่เคยประสบมาเป็นประจำในชีวิตกรรมฐาน ผู้เขียนเคยประสบมาเสียจนเคยตัว แต่ก็ไม่ปรากฏว่าเข็ดหลาบอะไรเลย บางเวลามีโอกาสยังคุยโม้เรื่องความอดอยากของตัวให้หมู่เพื่อนฟังอย่างไม่อาย ทั้งที่คนทั้งโลกเขาอายกัน ไม่อยากพูดถึงเรื่องความอดอยากขาดแคลนของตัวเองและครอบครัวให้เพื่อนฝูงฟัง เพราะเป็นความอับอายมาก ส่วนพระกรรมฐานยังคุยโม้ได้ไม่นึกกระดากใครว่าจะหัวเราะเยาะเอา
    <o:p></o:p>
    ที่เขียนอย่างไม่อายก็เพราะ ชีวิตของพระกรรมฐานเป็นชีวิตที่แร้นแค้นกันดารมาแต่ครูอาจารย์ผู้เป็นต้นตระกูล มีท่านอาจารย์มั่นเป็นต้นในสายนี้พาดำเนินมาก่อน ตกมาถึงลูกๆ หลานๆ จึงมักเป็นลูกหลานที่มีปฏิปทาอดๆ อยากๆ ที่จำต้องยอมทนอดทนหิวบ้างด้วยความสมัครใจนั้น เนื่องจากการบำเพ็ญทางใจได้รับความสะดวกต่างกันกับที่ฉันตามปกติ ร่างกายจิตใจไม่ค่อยอุ้ยอ้ายอืดอาด อันเป็นลักษณะขี้เกียจอย่างเต็มตัวไม่อยากทำความเพียรทางใจ ยิ่งปล่อยตามใจคือฉันให้มากตามอำนาจตัณหาบงการด้วยแล้ว วันนั้นตาและจิตไม่อยากมองทางจงกรมเอาเลย มีแต่จับจ้องอยู่ที่หมอนเท่านั้น ให้นอนทั้งวันยิ่งถูกใจเจ้า…ใหญ่ ขืนเขียนไปมากก็เป็นการขายตัวมากซึ่งเป็นกรรมฐานองค์สำคัญในเรื่องนั้นองค์หนึ่ง จึงควรยุติเสียบ้าง<o:p></o:p>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เมื่อคิดดูแล้ว ใจพระกรรมฐาน ใจท่านใจเรา คงคล้ายคลึงกัน อนุโลมตามเท่าไรยิ่งได้ใจ สนุกคิดไปร้อยแปด แบบไม่มีขอบเขตต้นฉบับคัมภีร์ใบลานอะไรเลย มีแต่เรื่องนรกอเวจีเสียทั้งสิ้น และพอใจเปิดอ่านทั้งวันทั้งคืนไม่มีวันเบื่อหน่ายอิ่มพอ มิหนำยังหาญยึดอำนาจเอานรกอเวจีมาเป็นที่สนุกสนานเฮฮา โดยไม่หวั่นเกรงยมบาลบ้างเลย เวลากิเลสเรืองอำนาจบนหัวใจเป็นอย่างนี้แล
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    พระกรรมฐานท่านทรมานใจตัวเก่งกาจด้วยวิธีต่างๆ โดยพาอดอาหารบ้าง อดนอนบ้าง พาขึ้นบนภูเขาบ้าง พาเข้าถ้ำและเงื้อมผาบ้าง พานั่งสมาธิทรมานความอยากคิดอยากปรุงของมันบ้าง ตามแต่จะมีอุบายทรมานได้ เพื่อใจหายพยศไปเป็นพักๆ พอได้หายใจอยู่สบายไปเป็นวันๆ เวลาที่ยังไม่ได้ฐานของจิตไว้ชม โดยมากท่านมักฝึกจิตตามที่เขียนมานี้ เฉพาะสายของท่านอาจารย์มั่นเคยเห็นท่านพาดำเนินมาอย่างนี้ พระที่ออกจากท่านไปขึ้นเขาเข้าถ้ำก็เพื่อฝึกฝนใจดังที่เล่ามานี่แล บางคืนไม่ได้หลับนอนเพื่อพักผ่อนร่างกายบ้างเลยก็เพราะจิตมันชอบเที่ยว ต้องใช้วิธีผูกมัดกันด้วยการทำสมาธิภาวนา
    <o:p></o:p>
    เวลาขึ้นไปอยู่บนเขาด้วยแล้ว ต้องอาศัยสิ่งที่มันกลัวช่วยปราบปรามทรมานด้วย เช่น เสือ เป็นต้น สัตว์ชนิดนี้นับว่าทรมานจิตพระกรรมฐานได้ดีมาก เพียงได้ยินแต่เสียงกระหึ่มๆ ฟากภูเขาทางโน้น ใจก็เตรียมหมอบราบอยู่ทางนี้แล้ว ไม่กล้าแสดงความคึกคะนองใดๆ ตามใจเลยเวลานั้น บางครั้งเสียงอาจารย์ใหญ่ตัวทรงอำนาจกระหึ่มขึ้นใกล้ๆ ปรากฏว่าลืมหายใจไปก็มี ขณะนั้นลืมเพลงกิเลสที่เคยร่ายคิดด้วยความคะนองไปหมด เหลือแต่ความกลัวตัวสั่นอยู่เท่านั้น บางครั้งเหมือนลมหายใจจะขาดไปในขณะนั้นจริงๆ เพราะกลัวมาก อากาศหนาวๆ แต่ร่างกายกลับร้อนเหงื่อแตกโชกไปทั้งตัวเพราะความกลัวบังคับ นับว่าพอเหมาะพอดีกันเหลือเกินกับจิตตัวเก่งกล้า ไม่ยอมฟังเสียงอรรถเสียงธรรมรบเร้าสั่งสอน ตอนนั้น จิตยอมเชื่อพระพุทธเจ้าและน้อมเอาพระองค์เข้ามายึดฝากชีวิตทันที ไม่ยอมคิดออกไปหาเสืออีกเลย เพราะฝืนคิดเท่าไรความกลัวยิ่งทวีรุนแรงจะเป็นบ้าไปให้ได้<o:p></o:p>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ความกลัวเป็นบ้ากับความกลัวตายมีกำลังมาก ก็จำต้องนึกถึง พุทโธ ๆ อยู่ภายใน นึกไปนานๆ คำว่าพุทโธกับใจก็กลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ จากนั้นใจก็เริ่มสงบนิ่ง เหลือแต่ความรู้เพียงอันเดียว ความกลัวหายไปหมดราวกับปลิดทิ้ง ความกล้าหาญเกิดขึ้นแทนที่ ไม่นึกกลัวอะไรในไตรโลกธาตุ ขณะนั้นแลจิตเห็นโทษความกลัวเสือและเห็นคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์อย่างถึงใจ ไม่เอนเอียงหวั่นไหวไปมากับอารมณ์ใดๆ มีแต่ความสงบสุขและความกล้าหาญเต็มดวงใจ จิตกลับเป็นมิตรต่อศัตรูคือเสือได้อย่างสนิท มิหนำยังอยากโดดขึ้นนั่งเล่นบนหลังเสือตัวเป็นมิตรได้อย่างสนิทใจ มิได้นึกว่ามันจะทำอะไรได้เหมือนที่เคยนึกกลัวมาก่อนเลย ปรากฏว่าใจผูกมิตรได้กับทุกตัวสัตว์ที่มีอยู่ในป่า ไม่นึกว่าสัตว์ตัวใดและสิ่งลึกลับจะกล้ามาทำอันตรายได้ ตามความจริงแล้ว คิดว่าสัตว์ร้ายต่างๆ จะทำอะไรไม่ได้จริงๆ เพราะผู้จะทำก็คือใจเป็นผู้คิดพาริเริ่ม แต่ใจอีกฝ่ายหนึ่งมีอำนาจเหนือกว่าอยู่แล้ว ย่อมทำให้อีกฝ่ายหนึ่งอ่อนอำนาจและความตั้งใจลงไปเอง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การอยู่ในป่าก็ดี ในภูเขาก็ดี ในเงื้อมผาป่าไม้ชายเขาลำเนาไพรต่างๆ ก็ดี โดยมากท่านแสวงหาที่น่ากลัวช่วยพยุงความเพียรให้สะดวกยิ่งขึ้น จำพวกสัตว์ร้ายมีเสือเป็นต้น ช่วยพยุงความเพียรได้ดี พระกรรมฐานจึงชอบมันทั้งที่กลัวมันมาก ที่ชอบก็ชอบที่มันช่วยให้เกิดความกลัวได้อย่างรวดเร็วทันใจ เพียงมองเห็นรอยของมันที่เหยียบไว้ตามทางหน้าถ้ำ หรือสถานที่ต่างๆ เท่านั้น ความหวาดกลัวแม้กำลังหลับสนิทอยู่ก็เริ่มตื่นขึ้นทันที และทำให้ระแวงกับมันอยู่นั่นแล ไม่ว่าจะอยู่ในท่าอิริยาบถใด ความรู้สึกเหมือนมันจะมาเยี่ยมอยู่เสมอ ใจก็มีทีท่าระวังอยู่ทำนองนั้น ขณะที่เกิดความรู้สึกระวังขึ้นมาก็เป็นท่าความเพียรไปในตัว เพราะขณะกลัว ใจต้องระลึกถึงธรรมเป็นที่พึ่งหรือที่ต้านทานขึ้นมาพร้อมๆ กัน การระลึกธรรมนานเพียงไรย่อมเป็นการเสริมกำลังสติปัญญาและความเพียรทุกด้านให้ดีขึ้นเพียงนั้น ผลคือความสงบก็เริ่มเกิดขึ้นตามส่วนแห่งความเพียรจนสงบลงได้อย่างสนิท
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้น ความชอบเสือก็ดี ความกลัวเสือก็ดี สำหรับผู้มุ่งต่ออรรถต่อธรรมจากสิ่งทั้งสองเป็นเครื่องสนับสนุน จึงได้กำลังใจขึ้นมาในทันทีทันใด โดยมิได้คาดฝันว่าจะเป็นไปได้ แต่ความจริงเรื่องทำนองนี้ก็เคยปรากฏผลในวงพระธุดงคกรรมฐานมาแล้วเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพราะความกล้าเสียสละ จะตายก็ยอมตายไม่เสียดายชีวิตในขณะนั้น คนเราเมื่อจนมุมเข้าจริงๆ หาที่พึ่งอื่นไม่ได้ ก็จำต้องพยายามคิดช่วยตัวเอง ธรรมยิ่งเป็นองค์สรณะอันอุดมอยู่แล้วโดยธรรมชาติ เมื่อน้อมเข้ามาเป็นที่พึ่งของใจในขณะที่กำลังต้องการที่พึ่งอย่างเต็มที่ ธรรมก็ย่อมแสดงผลให้เห็นทันตาทันใจไม่มีทางสงสัย แม้ผู้ที่ไม่เคยทำ และไม่เคยประสบมาบ้างจะสงสัย และปฏิเสธว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ผู้ทำก็ได้ประสบผลอย่างประจักษ์ใจตัวเองมาแล้ว ทั้งที่ผู้อื่นไม่รู้ด้วยเห็นด้วย สุดท้ายความจริงจะตกเป็นของฝ่ายใดก็สุดแต่นักวิพากษ์วิจารณ์จะวินิจฉัยกันไป เฉพาะผู้ประสบเหตุการณ์ด้วยใจตัวเองมาแล้วคงไม่วิจารณ์<o:p></o:p>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นี่แลสิ่งที่ได้รู้เห็นด้วยตัวเองอย่างประจักษ์แล้ว สิ่งนั้นก็หมดปัญหาสำหรับผู้นั้น ดังธรรมพระพุทธเจ้า จะเป็นส่วนใหญ่หรือส่วนย่อยก็ตาม สำหรับพระองค์กับพระสาวกท่าน ไม่มีอะไรสงสัยในแง่ใดๆ ทั้งสิ้น แต่ผู้ที่ยังไม่รู้เห็นตามก็อดเกิดความสงสัยไม่ได้ เช่น ธรรมว่าไว้ว่า สัจจะมีจริง บาปมีจริง บุญมีจริง นรกมีจริง สวรรค์มีจริง นิพพานมีจริง เป็นต้นดังนี้ เฉพาะพระองค์และพระสาวกท่านไม่มีปัญหาอะไรเลย เพราะทรงรู้เห็นและตรัสไว้เอง แต่ผู้ที่ยังไม่รู้เห็นด้วยก็ย่อมเกิดปัญหาสงสัยและถกเถียงกันไป ผู้ที่รู้เห็นด้วยตัวเองปัญหาก็ยุติลงเอง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    สรุปแล้วธรรมทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ด้วยความจริงล้วนๆ ย่อมมีทั้งผู้รู้เห็นตาม เชื่อถือและฝากชีวิตจิตใจต่อธรรม ทั้งผู้ไม่รู้ไม่เห็น ไม่เชื่อถือและปฏิเสธว่าธรรมไม่เป็นความจริงตลอดมาจนปัจจุบัน ไม่มีใครมาตัดสินให้สงบลงได้ เพราะธรรมมิใช่ด้านวัตถุที่พอจะหยิบยกมายืนยันได้เหมือนโลก นอกจากจะรู้เห็นด้วย สนฺทิฏฺฐิโก ไปตามวิสัยความสามารถของผู้ปฏิบัติไตร่ตรองเป็นราย ๆ ไปเท่านั้น ดังนั้นผลที่เกิดจากอุบายฝึกฝนทรมานของแต่ละราย จึงไม่สาธารณะแก่ผู้หนึ่งผู้ใดที่มิได้ทำการพิสูจน์จากความจริงที่เป็นวิสัยของมนุษย์จะพึงทำได้ด้วยกันเป็นรายๆ ไป
    <o:p></o:p>
    พระธุดงคกรรมฐานที่ฝึกตนแบบเอาชีวิตเข้าไปเสี่ยงต่อความเป็นความตาย จึงควรจัดเป็นวิธีพิสูจน์ตนและธรรมเพื่อความจริงวิธีหนึ่ง ซึ่งไม่นอกเหนือไปจากวงแห่งศาสนธรรมที่ประทานไว้ เรื่องที่เขียนลงเหล่านี้ เป็นวิธีที่พระธุดงคกรรมฐานท่านเคยฝึกตนมาประจำนิสัยและปฏิปทาที่เห็นว่าเหมาะกับจริตของตนเป็นรายๆ ไปอยู่แล้ว และมีผลเป็นคู่เคียงกันมา มิได้ทำแบบสุ่มๆ และนำมาเขียนแบบเดาๆ แม้ผู้เขียนเองก็เคยตะเกียกตะกายตามวิธีที่กล่าวเหล่านี้มาแล้ว ท่านที่เป็นนักปฏิบัติตามสายนี้ด้วยกัน ต่างก็เคยได้ดำเนินและเห็นผลมาตามกำลัง พอเป็นเครื่องพิสูจน์ยืนยันได้ว่า การฝึกทรมานตนด้วยวิธีต่างๆ ดังกล่าวมา จึงมิได้เป็นโมฆะไปแบบมีเหตุแต่ไม่มีผลเป็นเครื่องตอบสนองแต่อย่างใด แต่เป็นปฏิปทาที่เต็มไปด้วยความหมายคือผลอันพึงหวัง จะเป็นที่ยอมรับในวงปฏิบัติของท่านผู้มีปฏิปทาอันดีงามตลอดไป
    <o:p></o:p>
    คำว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว มรรคผลนิพพานเกิดความกระทบกระเทือนไปตาม ไม่สามารถทรงดอกทรงผลสมบูรณ์แก่ท่านผู้ปฏิบัติเป็น ธมฺมานุธมฺม ปฏิปนฺโน ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมชื่อว่าผู้บูชาเราตถาคตดังนี้ ไม่มีอยู่ในวงสวากขาตธรรม และจะไม่มีอยู่ในธรรมของพระองค์ตลอดไปด้วย เพราะอำนาจความศักดิ์สิทธิ์เด็ดขาดใดๆ ย่อมไม่มี นอกเหนือไปจากธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้ว และเป็นธรรมชาติที่ให้ความเสมอภาคแก่สิ่งทั้งปวง ดังนั้นผู้เชื่อในธรรมเป็นต้น จึงไม่นิ่งนอนใจที่จะตะเกียกตะกายเพื่อแสวงหาความดีงามใส่ตน นับแต่เบื้องต้นจนถึงที่สุดแห่งทุกข์ ด้วยความพากเพียรโดยวิธีต่างๆ ตามแต่กำลังและความถนัดในทางใด<o:p></o:p>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระธุดงค์ท่านถนัดทางใด ในบรรดาวิธีแก้ไขหรือปราบปรามกิเลสภายในให้สิ้นไปเป็นพักๆ ท่านย่อมแสวงในทางนั้น เช่น ผู้มีนิสัยขี้กลัว ก็หาอุบายเอาเสือเป็นอาจารย์ช่วยฝึกทรมาน ตั้งความพยายามเข้าสู่ป่าสู่เขาอันเป็นที่น่ากลัวและเป็นสมรภูมิที่เหมาะแก่การกำจัดความกลัว อันเป็นกิเลสตัวสำคัญชนิดหนึ่งออกจากใจ ตามธรรมดาจิตย่อมเปลี่ยนความรู้สึกไปกับสิ่งเกี่ยวข้องเป็นอย่างๆ ไปไม่มีสิ้นสุด คืออยู่ในบ้านในเมืองกับผู้คนหญิงชายมากๆ จิตมีความรู้สึกอย่างหนึ่ง เข้าไปอยู่ในป่าในเขาอันรกชัฏหรือในที่เปลี่ยวๆ เช่นป่าช้าป่าที่มีเสือชุกชุม มีความรู้สึกอีกอย่างหนึ่ง เป็นต้น อุบายวิธีฝึกทรมานจิตจำต้องมีหลายวิธี เพื่อให้ทันกับกลมารยาของกิเลสหลายชนิดที่มีอยู่กับจิตซึ่งแสดงตัวออกอยู่ทุกระยะตามชนิดของมัน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ถ้าเป็นนักสังเกตอยู่บ้างจะเห็นว่า จิตเป็นสถานที่ชุมนุมแห่งเรื่องทั้งปวง และก่อกวนตัวเองไม่มีเวลาสงบอยู่เฉยๆ ได้แม้เวลาหนึ่งเลย ซึ่งโดยมากก็เป็นเรื่องต่ำทรามที่จะคอยฉุดลากความประพฤติให้เป็นไปตามทั้งนั้น ไม่ค่อยมีเรื่องอรรถธรรมแฝงอยู่พอให้เกิดความสงบเย็นใจได้บ้าง ผู้ประสงค์ทราบข้อเท็จจริงทั้งหลายจำต้องเป็นนักสังเกตจิตและฝึกฝนทรมานจิตด้วยวิธีต่างๆ ดังพระพุทธเจ้าและสาวกท่านเป็นตัวอย่างอันดีเลิศแก่หมู่ชน
    <o:p></o:p>
    ท่านที่ชอบอยู่ในป่าจนเป็นนิสัยนั้น ความจริงแล้ว ความรู้สึกของคนเราย่อมเหมือนๆ กัน ไม่มีใครคิดชอบขึ้นมาโดยลำพังว่าอยากอยู่ในป่าในเขาในที่เปลี่ยวๆ อันใครๆ ไม่พึงปรารถนาในโลก แต่ที่จำต้องคิดต้องทำอย่างนั้น ก็เพื่อความเป็นคนดีมีคุณค่าเป็นสง่าราศีแก่ตัวเอง ด้วยการคิดและทำที่เห็นว่าจะเกิดประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น จึงได้ฝืนใจทำ ดังงานต่างๆ ที่ชาวโลกทำกันมาประจำแผ่นดิน ความจริงไม่มีใครอยากทำให้ลำบากกายลำบากใจเลย ที่ต้องทำก็เพราะความจำเป็นบังคับ จึงต้องวิ่งวุ่นกันทั่วไปในโลกที่มีการกินอยู่หลับนอนเป็นนิสัย ยิ่งการฝึกจิตใจด้วยแล้ว ถ้าท่านที่ยังไม่เคยทดลองดู จึงไม่ควรยกงานอื่นใดในโลกมาพูดว่าเป็นงานยาก เผื่อเวลามาเจองานฝึกจิตเข้าแล้วจะฝืนทำงานนี้ต่อไปไม่ได้ และอาจพูดว่าเป็นงานเพชฌฆาตหรืองานดัดสันดานไปก็ได้ แล้วไม่อยากสนใจคิดจะทำงานนี้ต่อไป โดยไม่คำนึงผลที่จะเกิดจากงานนี้ว่าเป็นความวิเศษอัศจรรย์เพียงไร
    <o:p></o:p>
    เมื่อพูดตอนนี้ เราพอจะเห็นความรุนแรงเหนียวแน่นของกิเลสที่เป็นเจ้าอำนาจบนหัวใจว่า มีความเหนียวแน่นแก่นนักสู้นักทรมานสัตว์โลกเพียงไรขึ้นมาบ้าง เพราะการฝึกจิตก็คือการกำจัดหรือขับไล่กิเลสออกจากใจนั่นเอง ผู้ขับไล่ก็ไม่อยากขับไล่ ผู้เคยเป็นเจ้าอำนาจบนหัวใจคนและสัตว์มานานก็ไม่อยากออก เพราะไปอยู่ที่อื่นมันไม่สบายเหมือนอยู่บนหัวใจคน ซึ่งได้รับความทะนุถนอมปรนปรืออยู่ตลอดเวลา ไม่ยอมให้อดอยากขาดแคลนอะไรได้ ต้องการชมรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสและอารมณ์ชนิดใด ผู้รับใช้เป็นวิ่งเต้นหามาให้ชมทันทีไม่ชักช้า ราคาค่างวดเท่าไร เสวยสุขเป็นที่พอกับความต้องการแล้วค่อยคิดบัญชีกัน การคิดและการจ่ายค่าอะไรเท่าไร ก็เป็นธุระหน้าที่ของผู้รับรองทั้งสิ้น เจ้าอำนาจมิได้อุทธรณ์ร้อนใจอะไรเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครจะเป็นคนใจเหล็กเพชรมาจากไหนที่จะมีแก่ใจฝึกจิต คิดขับไล่กิเลสเจ้าแสนคารมให้ออกจากใจได้<o:p></o:p>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ฉะนั้นการฝึกจิตเพื่อความรู้ความเห็นด้วยสติปัญญาอย่างแท้จริง ว่ากิเลสเป็นข้าศึกแก่ใจ จึงเป็นการฝึกยากเห็นได้ยากอย่างยิ่ง ควรเรียกว่างานฝึกจิตทรมานกิเลสเป็นงานยากฝากตายจริงๆ มิใช่งานทำเล่นอย่างสนุกสนานดังเขาเล่นกีฬากันตามสนาม บรรดาท่านที่สามารถรู้หน้าฆ่ากิเลสให้ตายจากใจ มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น จึงเป็นบุคคลพิเศษ ถ้าเป็นสามัญเราเกิดมีความสามารถฆ่ากิเลสให้ตายจากใจได้ แม้จะไม่เป็นบุคคลพิเศษดังพระองค์ ก็ต้องเป็นบุคคลพิเศษในวงกิเลสทั้งมวล ความอัศจรรย์แห่งความสามารถฆ่ากิเลสให้ตาย และความอัศจรรย์ของจิตที่อยู่เหนืออำนาจของกิเลสแล้ว มีอยู่ในท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นคือผู้เหนือโลก ฉะนั้นการทำความพยายามทุกประโยคเพื่อการคว่ำวัฏฏะบนหัวใจจึงเป็นงานที่เต็มไปด้วยความลำบากทรมานทุกด้าน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    พระกรรมฐานที่ท่านฝืนใจอยู่ในที่ทรมาน เช่น ในป่าในเขา เป็นต้น จึงเป็นเหมือนอยู่ในที่คุมขัง กว่าจะพ้นโทษเครื่องจำจองจากกิเลสออกมาได้แต่ละรายก็แทบไปแทบอยู่ นี่แลการฝึกจิตเพื่ออรรถธรรมจริงๆ เป็นของยากอย่างนี้ นอกจากอยู่ด้วยการทรมานตนแล้ว การขบฉันก็ทรมานไปตามๆ กัน เพราะเป็นประโยคแห่งความเพียรด้วยกัน ที่ผู้หวังผ่านพ้นดงหนาป่าทึบคือความมืดมน จะขวนขวายทรมานเพื่อเป็นความดีอีกทางหนึ่ง
    <o:p></o:p>
    การฉัน แม้หิวมากอยากฉันให้มากๆ ตามใจชอบ แต่เมื่อคำนึงถึงธรรมแล้วก็จำต้องอดต้องทน ฉันแต่น้อยเพื่อแบ่งให้ทางธาตุขันธ์บ้าง แบ่งให้ทางจิตใจบ้าง พอพยุงกันไปตามสมควร พยายามฉันแต่น้อยอันเป็นปฏิปทาที่เหมาะสมกับจริตของตนไปโดยสม่ำเสมอ หากจะเพิ่มให้ยิ่งกว่านั้นในบางกาล ก็ต้องทำความรู้สึกไว้เสมอไม่ลืมตัว มีการผ่อนสั้นผ่อนยาวสลับกันไป ธาตุขันธ์ก็ทรงตัวไปได้ ไม่อ่อนเพลียจนเกินไป และไม่ถึงกับเกิดโรคภัยไข้เจ็บทำให้เสียการ จิตอย่างน้อยก็ทรงตัวและเจริญขึ้นตามลำดับแห่งความเพียรที่สนับสนุนอยู่โดยสม่ำเสมอ ถ้าความสามารถพอ วาสนาบารมีสมบูรณ์ ก็ผ่านพ้นไปได้ดังใจหมาย เพราะอุบายวิธีทางความเพียรแต่ละประเภทช่วยส่งเสริม
    <o:p></o:p>
    ท่านที่ชอบอดอาหารตามนิสัย ก็พยายามอดบ้าง อิ่มบ้าง ผ่อนไปบ้าง ระยะสั้นบ้าง ระยะยาวบ้างตามแต่เห็นควร ทางจิตก็ขยับความเพียรเข้าทุกทีเวลามีโอกาส ทางธาตุขันธ์ก็ผ่อนลงเพื่อความเพียรได้ดำเนินโดยสะดวก จิตจะได้ราบรื่นแจ่มใสขึ้นไปเป็นระยะ ทางสมาธิก็เร่งในเวลาที่ควร ทางปัญญาก็ขวนขวายไปตามโอกาสสลับกันไป ท่านที่อยู่ในป่าในเขาในเงื้อมผาหรือในสถานที่ต่างๆ ก็ดี ท่านที่ผ่อนอาหารก็ดี ที่อดอาหารก็ดี ซึ่งมีจิตมุ่งมั่นต่อธรรมด้วยกัน ต่างก็อยู่ด้วยความเพียรทางสมาธิภาวนาในอิริยาบถต่างๆ กัน คอยสังเกตความเคลื่อนไหวของใจที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ต่างๆ อยู่โดยสม่ำเสมอ<o:p></o:p>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ใจเมื่อได้รับการบำรุงรักษาโดยถูกทางและสม่ำเสมอ ย่อมเจริญขึ้นโดยลำดับ สมาธิก็เจริญมั่นคง ปัญญาก็แยบคายกว้างขวางออกไปทุกระยะ สิ่งที่ไม่เคยรู้ก็รู้ ไม่เคยเห็นก็เห็น ไม่เคยเป็นก็เป็นขึ้นมาที่ใจดวงกำลังแสวงหาความจริงอยู่อย่างเต็มใจ ความเกียจคร้านอ่อนแอ ความวอกแวกคลอนแคลน ความวุ่นวายส่ายแส่ ความมืดมนอนธการที่เคยมีประจำสามัญจิตก็ค่อยๆ จางหายไปวันละเล็กละน้อย จนเห็นได้ชัดว่าหายไปมากเพียงไร เฉพาะผู้ทรมานใจเกี่ยวกับความกลัว กับผู้อดอาหารไปหลายๆ วันตามจริตชอบ และการทรมานตนด้วยการนั่งนานๆ โดยพิจารณาทุกขเวทนาเป็นอารมณ์ ทั้งสามอย่างนี้ ผลรู้สึกอัศจรรย์ผิดกับการทรมานอย่างอื่นๆ อยู่มาก แต่จะอธิบายข้างหน้าเมื่อมีโอกาส
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ตอนนี้จะอธิบายไปตามแนวที่ส่วนมากท่านดำเนินกัน วิธีท่านฝึกทรมานใจด้วยอุบายต่างๆ กันนั้น เป็นเทคนิคของแต่ละท่านที่จะคิดหาอุบายฝึกฝนตัวเองซึ่งแปลกต่างกันไปเป็นรายๆ บางท่านนอกจากไปอยู่ในป่าในเขาเป็นที่น่ากลัวแล้ว ท่านยังคิดอุบายพิเศษเพื่อเหมาะแก่กาลสถานที่และเหตุการณ์ยิ่งขึ้นไปอีก เช่น ขณะไปอยู่ในที่เช่นนั้นแล้ว เวลาจิตเกิดความกลัวขึ้นมาในเวลากลางคืน ท่านยังออกเดินเข้าไปในป่าอื่นๆ ได้อีก เพื่อทรมานความกลัวที่กำลังกำเริบ โดยไปเที่ยวนั่งสมาธิภาวนาอยู่ตามก้อนหินบนเขาบ้าง นั่งอยู่หินดานกลางแจ้งบ้าง เที่ยวเดินจงกรมไปตามที่ต่างๆ อันเป็นทำเลที่เสือโคร่งใหญ่เคยเดินผ่านไปมาบ้างเป็นเวลานานๆ ส่วนจิตก็พิจารณาความกลัวความตาย และพิจารณาเสือที่จิตสำคัญว่าเป็นของน่ากลัวบ้าง พิจารณาตัวเองบ้างว่ามีอะไรแตกต่างกันถึงได้กลัวกัน
    <o:p></o:p>
    พิจารณาแยกขยายไปตามส่วนที่จิตสำคัญไปต่างๆ เช่น เสือมีอะไรน่ากลัวบ้าง ถ้าพูดถึงฟันเสือ ฟันเราก็มี พูดถึงเล็บเสือ เล็บเราก็มี พูดถึงขนเสือ ขนเราก็มี พูดถึงหัวเสือ หัวเราก็มี พูดถึงตัวเสือ ตัวเราก็มี พูดถึงตาเสือ ตาเราก็มี พูดถึงลายเสือ ลายที่สักตามแขนขาหรือฝีไฝเราก็ยังมี พูดถึงหางเสือ แม้ตัวมันเองมันยังไม่เห็นกลัว ส่วนเราจะกลัวหาประโยชน์อะไร พูดถึงใจเสือกับใจเราก็เป็นใจเหมือนกัน ยิ่งใจเราเป็นใจของคนของพระ ก็ยิ่งมีคุณภาพสูงกว่ามันเป็นไหนๆ แม้อวัยวะส่วนต่างๆ ของเสือกับของเราก็มีสิ่งต่างๆ แห่งธาตุเป็นส่วนผสมเหมือนกัน ไม่มีอะไรผิดแปลกและยิ่งหย่อนกว่ากันพอจะให้กลัวกันเลย ใจเสือเป็นใจสัตว์ ส่วนใจเราเป็นใจพระและมีธรรมในใจ จึงมีคุณภาพและอำนาจสูงกว่าเสือจนเทียบกันไม่ได้ แต่เหตุไฉนจึงกลับลดคุณภาพและศักดิ์ศรีของพระลงไปกลัวเสือ ซึ่งเป็นเพียงสัตว์เดียรัจฉานตัวหนึ่งเท่านั้นได้ มิเป็นการขายตัวซึ่งเป็นพระทั้งองค์ไปละหรือ<o:p></o:p>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อีกประการหนึ่ง พระศาสนาซึ่งมีความวิเศษอัศจรรย์ครอบโลกทั้งสาม แต่อาศัยพระขี้ขลาดหวาดกลัวพาให้เกิดมลทิน ก็จะพลอยมัวหมองและเสื่อมเสียไปด้วย ความเสื่อมเสียพระศาสนาอันเป็นสมบัติล้นค่าของโลกทั้งสาม เพราะความเห็นแก่ชีวิตมากกว่าธรรมนั้น ไม่เป็นการสมควรเลย ถ้าตายก็จัดว่าตายด้วยความอับเฉาเขลาปัญญา ไม่มีความสง่างามในตัวและวงพระศาสนาเลยแม้แต่น้อย พระกรรมฐานตายแบบนี้เรียกว่าตายแบบขายตัว และขายพระศาสนาตลอดวงปฏิบัติทั่วๆ ไป มิใช่ตายแบบนักรบในสงครามซึ่งเต็มไปด้วยความเชื่อกรรม และอาจหาญต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เราเป็นพระกรรมฐานทั้งองค์จึงไม่ควรตายแบบนี้ แต่ควรตายแบบนักรบ จบชีวิตในสงครามด้วยความกล้าหาญชาญชัย จะเป็นการทรงเกียรติของตัวและพระศาสนาไว้ประดับโลกให้รับสืบทอดต่อไปตลอดกาลนาน เราจงพิจารณาให้เห็นแจ้งทั้งตัวเสือตัวเรา ทั้งอวัยวะทุกส่วนของเสือของเรา ทั้งความกลัวตายที่แทรกสิงอยู่ภายในอย่างชัดเจนด้วยปัญญา ไม่ยอมให้ความกลัวเหยียบย่ำลูบคลำจมูกเล่นและผ่านไปเปล่าๆ จะเสียลวดลายของลูกผู้ชายที่เป็นพระกรรมฐานทั้งองค์ อย่างไรต้องรบให้ถึงที่ถึงฐาน จนเห็นความแพ้ความชนะและความเป็นความตายกันวันนี้ ฝ่ายไหนจะเป็นฝ่ายที่มีอำนาจเทิดเกียรติตนและพระศาสนาให้มีความสง่างามต่อไป หรือฝ่ายไหนจะเป็นผู้ทำลายตนและพระศาสนาเพราะความกลัว ก็ทราบกันในคืนวันนี้และเดี๋ยวนี้ จงพิจารณาจนถึงขั้นแตกหักกัน ณ บัดนี้
    <o:p></o:p>
    ขณะที่พิจารณาวินิจฉัยกันอยู่อย่างวุ่นวาย และแยกธาตุแยกขันธ์ แยกความกล้าความกลัวออกหามูลความจริงอยู่ด้วยความพิถีพิถันมั่นใจนั้น ใจเกิดความรู้ความเห็นไปตามปัญญาที่พร่ำสอนไม่ขาดวรรคขาดตอน จนเกิดความสงบเย็นใจและหายกังวลในเวลานั้น ผลเป็นความสงบสุขขึ้นมา สัญญาอารมณ์ที่เคยสำคัญมั่นหมายไปต่างๆ ได้หายไปหมด มีแต่ความสงบสุขของจิตปรากฏอยู่อย่างสง่าผ่าเผย จิตเกิดความเชื่อในเหตุคือการพิจารณา ว่าเป็นทางให้หายความวุ่นวายส่ายแส่และความหวาดกลัวได้จริงและเชื่อต่อผลที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ว่าเป็นความสงบสุขอย่างแปลกประหลาดที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนที่ยังไม่เคยพิจารณา โดยถือเอาความกลัวเป็นสาเหตุ
    <o:p></o:p>
    นี่เป็นวิธีหนึ่งที่ท่านใช้กำจัดความหวาดกลัวจนเห็นผลประจักษ์ แต่ในขั้นเริ่มแรกหัดทำกรรมฐาน ท่านใช้บริกรรมภาวนาด้วยธรรมบทใดบทหนึ่ง เช่น พุทโธ เป็นต้น เวลาที่ความกลัวเกิดขึ้นมากกว่าใช้วิธีพิจารณา และได้ผลเป็นความสงบหายกลัวได้เช่นกัน เป็นแต่ไม่ได้อุบายแยบคายต่างๆ จากการพิจารณาเท่านั้น บางท่านเวลาเกิดความกลัวขึ้นมา ทั้งที่กำลังนั่งอยู่ในมุ้ง ท่านก็เลิกมุ้งขึ้นเสีย แล้วนั่งอยู่เพียงตัวเปล่า แม้มีเหลือบยุงมากัดบ้างก็ทนเอา มีแต่ตั้งหน้าภาวนาด้วยวิธีต่างๆ ที่จะเอาชนะความกลัวในเวลานั้นให้ได้ จนชนะได้จริงๆ ถึงจะหยุดพักผ่อน<o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...