ประทีปส่องธรรม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 18 ตุลาคม 2008.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    o บุญเน้นที่ตัวกิจกรรมที่ว่าทำอะไรแล้วดี กุศลเน้นที่จิตใจอันเป็นต้นเหตุให้เกิดการกระทำความดีงามหรือละเว้นความชั่ว


    o ขณิกสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิตอยู่ในอารมณ์รูปนามอันเดียวที่กำลังปรากฎอย่างสบายๆ ไม่ซัดส่ายหลงไปหาอารมณ์อื่น



    o การจงใจจดจ่อหรือเพ่งจ้องอยู่ในอารมณ์อันเดียวด้วยอำนาจของตัณหาคือความอยากจะปฎิบัติธรรม น่าจะจัดว่าเป็นมิจฉาสมาธิมากกว่าสัมมาสมาธิ เช่นการเอาความรู้สึกไปเพ่งจ้องแนบแน่นจมแช่อยู่กับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง มีเท้า ท้อง มือ และลมหายใจ เป็นต้น


    o ไม่ตั้งมั่นด้วยสติปัญญา แต่ตั้งอยู่ด้วยการกดข่มบังคับด้วยอำนาจขอตัณหาคือความอยากจะปฎิบัติธรรม และไม่รู้อารมณ์อย่างซื่อตรงแต่รู้ไปตามความอยากรู้ จิตที่มีสมาธิแบบนี้เอาไปทำวิปัสสนาไม่ได้จริง เพราะเป็นอกุศลจิต


    o ถ้าเมื่อใด ผู้ปฎิบัติมีสติระลึกรู้สภาวธรรม หรือรูปนามที่กำลังปรากฎ ตรงตามความเป็นจริง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ารู้ทันสภาวะความหลงของจิตที่หลงไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) โดยไม่ได้ตั้งใจหรือมีตัณหาที่จะรู้สภาวธรรมนั้นๆ เมื่อนั้นขณิกสมาธิจะเกิดขึ้นเอง


    o สมถะจำเป็นสำหรับผู้ปฎิบัติบางคน แต่มีประโยชน์กับผู้ปฎิบัติทุกคน


    o พระพุทธเจ้า ท่านเน้นว่าควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ไม่ใช่เจริญแบบไร้สติไร้ปัญญา หมายความว่าเราจะทำสมถะหรือวิปัสสนาก็ตาม เราต้องรู้ว่า (๑) เราจะทำอะไร (สมถะ/วิปัสสนา) (๒) จะทำเพื่ออะไร (สงบ/พ้นทุกข์) (๓) จะทำอย่างไร (มีสติรู้อารมณ์อันดียวอย่างต่อเนื่อง/มีสติสัมปชัญญะรู้รูปนามตามความเป็นจริง) และ (๔) ระหว่างทำก็ต้องมีสติปัญญารู้ชัดว่าทำอะไรอยู่ด้วย


    o หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านสอนไว้ชัดเจนน่าฟังมาก ว่า "ทำสมาธิมากก็เนิ่นช้า คิดพิจารณามากก็ฟุ้งซ่าน หัวใจสำคัญของการปฎิบัติคือการมีสติในชีวิตประจำวัน จะเดิน(รวมทั้งเดินจงกรม) ก็ต้องเดินด้วยความมีสติ จะนั่ง (รวมทั้งนั่งสมาธิ) ก็ต้องนั่งด้วยความมีสติ เพราะมีสติก็คือมีความเพียร ขาดสติก็คือขาดความเพียร"


    o การเจริญวิปัสสนานั้น ต้องมีสติรู้รูปนาม และมีปัญญาหรือสัมปชัญญะรู้ความเป็นจริงของรูปนามนั้นๆตรงตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ด้วย


    o (๑) หมั่นสังเกตหรือเรียนจนรู้จักสภาวะของรูปนาม (๒) เมื่อเข้าใจสภาวะของรูปนามถูกต้องและทันท่วงทีแล้ว ความรู้สึกตัว จะเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องกำหนดหรือจงใจสร้าง คือพอกระทบอารมณ์ปั๊บ จิตจะเกิดสติรู้ทันอารมณ์ ด้วยความตั้งมั่นและเป็นกลางขึ้นเอง และ (๓) เมื่อสติรู้อารมณ์รูปนาม (จิต เจตสิก รูป) ที่กำลังปรากฎโดนไม่เข้าไปแทรกแซงและไม่เติมความคิดลงไป ก็จะเกิดปัญญาเข้าใจความจริงของอารมณ์รูปนามได้ถูกต้องไปตามลำดับ จนจิตปล่อยวางความยึดถือรูปนามและสิ่งทั้งปวงเสียได้


    o ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ


    o ตามรู้ -> รู้ทัน -> รู้ถูก -> รู้ทุกข์


    o อย่าส่งจิตออกนอก หมายความว่าในเวลาที่รู้อารมณ์นั้นให้สักว่ารู้ อย่าให้จิตหลงกระโจนเข้าไปรู้แล้วหลงจมแช่ยึดถือหรือหมุนเหวี่ยงไปตามอารมณ์


    o การปฎิบัติวิปัสสนาจะต้องใช้สภาวะของจิตที่ธรรมดาๆไปรู้อารมณ์ที่ธรรมดาๆ


    o จิตที่เป็นปกติธรรมดาคือจิตที่ปลอดจากตัณหาและทิฎฐิ คืออย่าอยากปฎิบัติแล้วลงมือปฎิบัติไปตามความอยากนั้น


    o เราสัมผัสกับอารมณ์ปรมัตถ์อยู่แล้วทั้งวัน แต่ความคิดของเราเองปิดกั้นไว้ไม่ให้เรารู้จักอารมณ์ปรมัตถ์นั้น (บัญญัติปิดบังปรมัตถ์)


    o การรู้รูปนามต้องรู้ในปัจจุบัน เพราะรูปนามในอดีตเป็นแค่ความจำ และรูปนามในอนาคตเป็นแค่ความคิด ส่วนรูปนามในปัจจุบันคือความจริง และเมื่อรู้แล้วก็อย่าหลงเติมสมมุติบัญญัติลงไปในการรับรู้นั้น


    o สติ สมาธิ ปัญญา

    o สติ คือ การระลึกได้/การระลึกรู้ ไม่ใช่ การกำหนดรู้

    o สมาธิ คือ การตั้งมั่น ไม่ใช่ ความสงบ - ในขณะที่จิตฟุ้งซ่านหรือไม่สงบนั้น จิตยังสามารถตั้งมั่นรู้ความฟุ้งซ่านได้อย่างเป็นกลาง ไม่ควรมุ่งทำความสงบที่จะพาไปสู่การติดความสงบ ติดปีติ และติดนิมิต

    o วิปัสสนา คือ การตามรู้รูปนามได้ตรงตามความเป็นจริง ไม่ใช่ คิด


    o ผู้ปฎิบัติพึงทำความรู้จักสภาวะของความรู้สึกตัว โดยการหัดสังเกตความแตกต่างระหว่างความหลงกับความรู้สึกตัวซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน


    o เมื่อรู้สึกตัวเป็นแล้วก็ต้องเจริญสติปัฎฐาน จึงจะสามารถละความเห็นผิดว่ารูปนามคือตัวตนในเบื้องต้น และสามารถทำลายความยึดถือรูปนามลงได้ในที่สุด


    o หมั่นรู้สึกถึงอาการปรากฎของกายและของจิตใจอยู่เนืองๆ แต่ไม่จำเป็นจะต้องรู้แบบไม่ให้คลาดสายตา เพราะจะกลายเป็นการกำหนด เพ่งจ้องหรือดักดูกายและใจ ด้วยอำนาจบงการของตัณหา ให้รู้ไปอย่างสบายๆ รู้บ้าง เผลอบ้างก็ยังดี


    o ไม่ต้องพยายามห้ามไม่ให้จิตหลง เพราะจิตเป็นอนัตตา คือห้ามไม่ได้ บังคับไม่ได้ เพียงทำความรู้จักสภาวะของความหลงให้ดี และเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ แล้วความหลงจะสั้นลงได้


    o สติเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นตามใจไม่ได้ หากแต่เกิดขึ้นเพราะจิตจดจำสภาวธรรมได้แม่นยำ เช่นผู้ที่เคยฝึกมีสติตามรู้รูปยีนเดินนั่งนอนอยู่เนืองๆ ต่อมาเมื่อเผลอขาดสติแล้วเกิดการเคลื่อนไหวกายขึ้น สติก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ


    o ในเบื้องต้นจึงต้องหมั่นตามระลึกรู้อาการปรากฎทางกายและอาการหรืออารมณ์ที่ปรากฎทางใจไว้เป็นระยะๆ พอถึงเบื้องปลายสติจะเกิดระลึกรู้ได้เองเมื่อสภาวธรรมที่จิตรู้จักแล้วปรากฎขึ้นมา


    o จุดสำคัญอยู่ที่การมีสติรู้ทุกข์คือรู้กายรู้ใจ และรู้ในลักษณะของการตามรู้ไปเนืองๆ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลาง ส่วนผลจะปรากฎเป็นความพ้นทุกข์อย่างไรก็จะสัมผัสได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆไป


    ที่มา ประทีปส่องธรรม โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    http://board.agalico.com/showthread.php?t=13999
     
  2. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,662
    ค่าพลัง:
    +9,236
    "สติเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นตามใจไม่ได้ หากแต่เกิดขึ้นเพราะจิตจดจำสภาวธรรมได้แม่นยำ เช่นผู้ที่เคยฝึกมีสติตามรู้รูปยีนเดินนั่งนอนอยู่เนืองๆ ต่อมาเมื่อเผลอขาดสติแล้วเกิดการเคลื่อนไหวกายขึ้น สติก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ"

    ขออนุโมทนาค่ะ



     
  3. TUK2800

    TUK2800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    1,766
    ค่าพลัง:
    +1,161
    <TABLE class=tborder id=post1587569 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt1 id=td_post_1587569 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid">" จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ "
    หลวงปู่ดุลย์ อตุโล

    ขออนุโมทนาค่ะ
    สาธุ สาธุ สาธุ

    <!-- / sig -->
    </TD></TR><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid"> <SCRIPT type=text/javascript> vbrep_register("1587569")</SCRIPT> </TD><TD class=alt1 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right><!-- controls --></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...