ประวัติพระพุทธสาวกทั้ง 80 พระองค์

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย phuang, 22 กันยายน 2005.

  1. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    ประวัติพระพุทธสาวก


    พระกังขาเรวตะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD>ท่านพระกังขาเรวตะ เกิดในตระกูลอันบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เป็นอันมากในพระนครสาวัตถี เดิมชื่อว่า เรวตะ เป็นคนมีศรัทธา วันหนึ่งในเวลาหลังภัตตาหาร มหาชนชวนกันไปสู่พระเชตวันมหาวิหารเพื่อจะฟังพระธรรมเทศนา เรวตุนั้นก็ได้ไปกับมหาชน ครั้นถึงแล้วได้นั่งอยู่ท้ายสุดของบริษัท พระบรมศาสดาตรัสเทศนาอนุปุพพิกถา พรรณนาถึงทานการให้เป็นต้น ในเวลาจบเทศนา เรวตะบังเกิดความเลื่อมใส มีความปรารถนาจะบวชในพระธรรมวินัย ครั้นได้อุปสมบทเป็นภิกษุสมความประสงค์แล้ว ก็อุตส่าห์เรียนพระกรรมฐานในสำนักของพระบรมศาสดาเป็นผู้ไม่ประมาท บำเพ็ญเพียรในกรรมฐานจนได้สำเร็จโลกิยฌาน กระทำฌานที่ตนได้แล้วนั้นให้เป็นบาท เจริญวิปัสสนากรรมฐานสืบไปกระทั่งได้สำเร็จพระอรหัตตผลในที่สุด


    ท่านพระเรวตะนั้น มักบังเกิดความสงสัยในกัปปิยวัตถุ คือ สิ่งของที่ถูกต้องตามพระพุทธบัญญัติ เป็นของควรแก่บรรพชิตพึงบริโภคใช้สอยอยู่เนือง ๆ เมื่อท่านได้กัปปิวัตถุอันใดมาแล้ว ก็ให้คิดสงสัยอยู่ต่อเมื่อพิจารณาเห็นว่าเป็นของควรแก่บรรพชิตโดยถ่องแท้แล้วจึงบริโภคใช้สอยกัปปิยวัตถุนั้น ด้วยเหตุนี้คำว่า กังขา ซึ่งแปลว่า ความสงสัย จึงได้นำหน้าชื่อของท่านเป็น กังขาเรวตะ พระกังขาเรวตะนี้เป็นผู้ชำนาญในฌานสมาบัติอันเป็นโลกิยะ และโลกุตตระ ท่านเข้าสู่ฌานสมาบัติ อันเป็นพุทธวิสัยได้เกือบทั้งหมด ฌานสมาบัติอันเป็นพุทธวิสัยที่ท่านละเว้นเข้าไม่ได้มีน้อยยิ่งนัก

    ท่านพระกังขาเรวตเถระ ได้รับยกย่องสรรเสริญจากพระบรมศาสดา ว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ยินดีในฌานสมาบัติ เมื่อท่านดำรงอายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2005
  2. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระกัปปะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD>ท่านพระกัปปะเกิดในสกุลพราหมณ์ ในนครสาวัตถี เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาในสำนักของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ครั้นต่อมาพราหมณ์พาวรี มีความเบื่อหน่ายในฆราวาส จึงทูลลาพระเจ้าปเสนทิโกศลออกจากตำแหน่งปุโรหิต เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว ได้ออกบวชเป็นชฏิลประพฤติพรตตามลัทธิของพราหมณ์ ตั้งอาศรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี ที่พรมแดนแห่งเมืองอัสสกะ และอาฬกะต่อกัน เป็นคณาจารย์ใหญ่บอกไตรเพทแก่หมู่ศิษย์ และอยู่ในจำนวนมาณพ ๑๖ คน ที่พราหมณ์พาวรีผูกปัญหาให้ไปทูลถามพระบรมศาสดา ซึ่งประทับอยู่ที่ปาสาณเจดีย์ แคว้นมคธ ทูลขอโอกาสถามปัญหา เมื่อได้รับพุทธานุญาตแล้ว จึงทูลถามปัญหาทีละคน ๆ เมื่อโตเทยยมาณพทูลถามปัญหา ได้ฟังปัญหาพยากรณ์แล้วก็ได้บรรลุพระอรหัต ลำดับนั้นกัปปมาณพจึงทูลถามปัญหาเป็นคนที่สิบว่า


    ขอพระองค์ตรัสบอกธรรม ซึ่งจะเป็นที่พึ่งพำนักของชนผู้ตั้งชรา และมรณะมาถึงรอบข้าง ดุจเกาะอันเป็นที่พึ่งพำนักอาศัยของชนผู้ตั้งอยู่ในท่ามกลางมหาสมุทรเมื่อเกิดคลื่นใหญ่ที่น่ากลัวแก่ข้าพระองค์ อย่าให้ทุกข์นี้มีได้อีก ?

    พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ว่า เรากล่าวว่า นิพพานอันไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่มีตัณหาเครื่องถือมั่น เป็นที่สิ้นชรา และมรณะนี้แล เป็นดุจเกาะ ชนเหล่าใดรู้นิพพานนี้แล้วเป็นคนมีสติ ได้เห็นธรรมแล้วดับกิเลสได้แล้ว ชนเหล่านั้น ไม่ต้องตกอยู่ในอำนาจของมาร ไม่ต้องเดินไปในทางของมารเลย


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระกาฬุทายเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD> พระกาฬุทายีเป็นบุตรมหาอำมาตย์ในกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นสหชาติ คือ เกิดพร้อมกับพระมหาบุรุษ เดิม ชื่อว่า อุทายี ท่านกล่าวว่า อุทายีกุมารนั้นเป็นคนมีผิวพรรณค่อนข้างดำ ดังนั้น ชนทั้งหลายจึงเรียกว่า กาฬุทายี เมื่อเจริญเติบโตแล้ว ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระมหาบุรุษเจ้า ซึ่งเป็นผู้มีความคุ้นเคยสนิทสนม กับพระมหาบุรุษเป็นอย่างดี ครั้นพระมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวช ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เสด็จเทศนาสั่งสอนแก่เวไนยสัตว์ และประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์ พระเจ้าสุทธโธทนะพุทธบิดาทรงทราบ มีพระประสงค์ใคร่จะทอดพระเนตรพระราชโอรส จึงมีพระราชโองการรับสั่งใช้อำมาตย์คนหนึ่งพร้อมทั้งบริวารอีกหนึ่งพันคน ให้ไปทูลเชิญเสด็จสมเด็จพระบรมศาสดา อำมาตย์รับพระราชโองการแล้วพาบริวารไปเฝ้าพระบรมศาสดา ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาบรรลุอรหัตตผลแล้ว พร้อมทั้งบริวารก็ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย เมื่อได้อุปสมบทแล้ว ก็ไม่ได้ทูลเชิญสมเด็จพระบรมศาสดา และไม่ได้ส่งข่าวให้พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบ ส่วนพระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อไม่เห็นพระราชโอรสเสด็จมา แม้แต่ข่าวคราวก็ไม่ได้รับทราบ จึงใช้อำมาตย์พร้อมด้วยบริวารหนึ่งพันคนไปอีก อำมาตย์พร้อมทั้งบริวารเหล่านั้นก็ไปบวชเสียโดยไม่ได้ส่งข่าวให้ทราบโดยนัยก่อนถึง ๙ ครั้งแล้ว ครั้นถึงวาระที่ ๑๐ จึงตรัสสั่งให้กาฬุทายีอำมาตย์ซึ่งเป็นคนที่คุ้นเคย และ โปรดปรานของสมเด็จพระบรมศาสดาไปทูลเชิญเสด็จ กาฬุทายีอำมาตย์ทูลลาบวชด้วย ครั้นได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว ก็พาบริวารหนึ่งพันคนไปเผ้าพระบรมศาสดาที่พระเวฬุวันได้ฟังพระธรรมเทศนาจนบรรลุพระอรหัตตผลแล้ว พร้อม ด้วยบริวารก็ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธีเอหิภิกขุ

    ครั้นกาฬุทายีอำมาตย์ได้อุปสมบทแล้ว เมื่อถึงเหมันตฤดู ท่านเห็นว่าเป็นกาลสมควรที่จะทูลเชิญสมเด็จพระบรมศาสดา จึงกราบทูลพรรณนาหนทางที่จะเชิญสมเด็จพระบรมศาสดาให้เสด็จสู่พระนคร ด้วยคาถา ๖๐ บท แล้วทูลเชิญสมเด็จพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เป็นพุทธบริวาร เสด็จไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อท่านกาฬุทายีทราบว่า พระบรมศาสดาจะเสด็จไปยังพระนครกบิลพัสดุ์จึงเดินทางล่วงหน้าไปก่อนเพื่อแจ้งข้อความนั้นให้พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบ พระมหากษัตริย์พร้อมด้วยพระประยูรญาติ และประชาชนเกิดความเลื่อมใส พร้อมกับถวายอาหารบิณฑบาตแก่ท่านทุก ๆ วันที่มาแจ้งข่าว

    ส่วนสมเด็จพระบรมศาสดา ซึ่งมีภิกษุสงฆ์สองหมื่นรูปเป็นพุทธบริวาร เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ ในขณะที่กำลังเสด็จมาตามหนทางอยู่นั้น ท่านกาฬุทายีได้มาสู่สำนักของพระเจ้าสุทโธทนะ เพื่อแจ้งระยะทางที่พระพุทธองค์เสด็จมาถึงให้ทรงทราบ พระมหากษัตริย์ได้ถวายอาหาร บิณฑบาตแก่ท่านแล้ว ท่านก็ได้นำไปถวายแก่สมเด็จพระบรมศาสดาทุก ๆ วัน เมื่อเสด็จมาตามหนทาง วันละโยชน์มีกำหนด ๖๐ วัน จึงถึงกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จประทับอยู่ ณ นิโครธาราม

    ท่านพระกาฬุทายีเถระได้เป็นกำลังสำคัญของพระบรมศาสดาในการประกาศพระศาสนา โดยได้เทศนาสั่งสอนให้มหาชนเกิดความเชื่อ ความเลื่อมใส ด้วยความสามารถของท่านในเรื่องนี้ ดังนั้น ท่านพระกาฬุทายี จึงได้รับยกย่องจากสมเด็จพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ยังสกุลที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระกิมพิละเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระกิมพิละ ถือกำเนิดในตระกูลศากยวงศ์ในกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อเจริญเติบโตแล้ว อนุรุทธศากยกุมารได้มาชักชวนให้ออกบวชในพระพุทธศาสนา กิมพิลศากยกุมารมีความพอใจตกลงจะออกบวชด้วย จึงพร้อมด้วยศากยกุมารอีก ๔ พระองค์ คือ ภัททิยะ,อนุรุทธะ,อานันทะ,ภคุ, และโกลิยกุมารอีกหนึ่งองค์ คือ เทวทัต รวมทั้งอุบาลีผู้เป็นนายภูษามาลาด้วยก็เป็น ๗ พากันเสด็จออกจากพระนครพร้อมด้วยจาตุรงคเสนา เมื่อเสด็จถึงพรมแดนแห่งพระนครแล้วจึงให้พวกจาตุรงค์เสนากลับคืนพระนคร และเปลื้องเครื่องประดับสำหรับทรงมอบให้แก่อุบาลีภูษามาลา แล้วสั่งให้กลับพระนครเพื่อจำหน่ายเครื่องประดับนั้นเลี้ยงชีพ แต่อุบาลีหามีความพอใจไม่ใคร่จะออกบวชด้วย จึงได้แขวนเครื่องประดับสำหรับทรงนั้นไว้ที่ต้นไม้ และทูลความประสงค์ของตนให้ศากยกุมารเหล่านั้นได้ทราบ กิมพิละพร้อมด้วยศากยกุมารเหล่านั้นได้พาอุบาลีตามเสด็จไปด้วย ครั้นถึงอนุปิยนิคม แคว้นมัลละซึ่งเป็นที่ ๆ พระบรมศาสดาประทับอยู่แล้วเข้าไปทูลขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา พระบรมศาสดาก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุ เมื่อกิมพิละได้อุปสมบทแล้วเป็นผู้ไม่ประมาท ตั้งใจบำเพ็ญความเพียรในวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ช้าไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตตผลเป็นอเสขบุคคลในพระพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อท่านดำรงเบญจขันธ์อยู่โดยสมควรแก่อายุขัยแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระกุมารกัสสปะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระกุมารกัสสปะ เป็นบุตรของธิดาแห่งเศรษฐี ในพระนครราชคฤห์ เดิมชื่อว่า กัสสปะ ภายหลังชนทั้งหลายจึงเรียกว่า กุมารกัสสปะ เพราะบริบูรณ์ด้วยเครื่องบำรุงเลี้ยงเช่นเดียวกับ ราชกุมาร ได้ทราบว่า มารดาของท่านปรารถนาจะบวชตั้งแต่ยังแรกรุ่นสาว ได้อ้อนวอนขออนุญาตมารดาบิดาอยู่บ่อย ๆ แต่ไม่ได้รับอนุญาต ต่อมานางมีสามีตั้งครรภ์ขึ้นยังมิทันรู้ตัว อุตส่าห์ปฏิบัติสามีให้มีความยินดีแล้วก็อ้อนวอนขอบรรพชา เมื่อสามีอนุญาต แล้วได้ไปบวชในสำนักของนางภิกษุณี ซึ่งเป็นฝักฝ่ายของพระเทวทัต ภายหลังนางมีครรภ์แก่ปรากฏขึ้น พวกนางภิกษุณีเกิดความรังเกียจ จึงได้นำนางไปหาพระเทวทัตให้ตัดสิตชำระอธิกรณ์ พระเทวทัตตัดสินว่าภิกษุณีนี้ไม่เป็นสมณะ ให้สึกไปเสีย นางได้ฟังคำของพระเทวทัตแล้วเกิดความเสียใจจึงพูดว่า พวกท่านอย่าให้ดิฉันฉิบหายเลยดิฉันมิได้บวชมุ่งหมายพระเทวทัต แต่ดิฉันบวชมุ่งหมายเฉพระพระบรมศาสดาเท่านั้น ขอพวกท่านจงพรดิฉันไปสู่สำนักของพระบรมศาสดาที่พระเชตวันมหาวิหารเถิด พวกนางภิกษุณีจึงได้พานางไปสู่สำนักของพระบรมศาสดา กราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบ แม้พระบรมศาสดาก็ทรงทราบว่า นางภิกษุณีตั้งครรภ์แต่เมื่อยังไม่บวช แต่เพ่อจะเปลื้องความสงสัย ของชนเหล่าอื่นจึงรับสั่งให้พระอุบาลีชำระอธิกรณ์ในเรื่องนั้นและให้ไปเชิญตระกูลใหญ่ๆ ในพระนครสาวัตถีมีนางวิสาขามหาอุบาสิกาและอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นต้น ให้มาพร้อมกันแล้วพิสูจน์ จึงได้รู้ชัดว่านางมีครรภ์ตั้งแต่ครั้งยังไม่ได้บวช จึงได้ตัดสินในท่ามกล่างแห่งบริษัท ๔ ว่า นางภิกษุณีนี้ยังมีศีลบริสุทธิ์อยู่ พระบรมศาสดาจึงตรัสอนุโมทนาสาธุการว่า อุบาลีตัดสินอธิกรณ์ถูกต้องแล้ว


    ครั้นกาลต่อมา เมื่อนางภิกษุณีนั้นมีครรภ์แก่ครบกำหนดแล้ว ก็คลอดบุตรออกมาเป็นชาย เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบก็ได้ทรงรับเอาไปเลี้ยงไว้เป็นบุตรบุตรธรรม และให้นามว่า กัสสปะ

    ทารกนั้นเจริญเติบโตด้วยเครื่องบำรุงเลี้ยงอย่างราชกุมาร ดังนั้นชนทั้งหลายจึงได้เรียกว่า กุมารกัสสปะ ต่อมาวันหนึ่ง กุมารกัสสปะลงไปเล่นกับพวกเด็กๆ ที่สนามได้ตีเด็กที่เล่นด้วยกัน ถูกเขาด่าเอาว่า เด็กไม่มีพ่อแม่ตีพวกเราเข้าแล้ว กุมารกัสสปะได้ฟังดังนั้นจึงเข้าไปกราบทูลพระราชา ตอนแรกพระองค์ตรัสบอกว่าแม่นมเป็นมารดกของเขา แต่เขาก็ไม่เชื่อและอ้อนวอนถามอยู่บ่อยๆ พระอิงค์จึงตรัสบอกความจริงกุมารกัสสปะเกิดความสลดใจ จึงขอพระบรมราชานุญาตออกบวช พระองค์ก็ทรงอนุญาตแล้วได้พรไปบวชในสำนักของพระบรมศาสดา เมื่อมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ก็ได้อุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาตั้งใจเรียนพระกรรมฐานในสำนักของพระบรมศาสดาเข้าไปสู่ป่า บำเพ็ญความเพียรด้วยความมุ่งมั่นก็ไม่ได้บรรลุคุณวิเศษจึงได้กลับมาเรียนพระกรรมฐานให้ดีขึ้นอีก แล้วไปอยู่ที่อันธวันวิหาร

    ครั้งนั้น สหายของท่านซึ่งเป็นภิกษุเคยบำเพ็ญสมณธรรม ร่วมกันในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ได้บรรลุอนาคามิผลตายแวไปบังเกิอในพรหมโลกชั้นสุทธาวาสได้ลงมาหาท่านแล้วผูกปํญหาให้ ๑๕ ข้อ แล้วสั่งว่า คนอื่นนอกจากพระบรมศาสดาแล้วไม่มีใครสามารถจะแก้ปัญหานี้ได้ ท่านจงไปสู่สำนักของพระบรมศาสดา เรียนเอาเนื้อความแห่งปัญหาเหล่านี้เถิดจึงลากลับ ท่านพระกุมารกัสสปะก็ไปทำเหมือนอย่างนั้น ครั้นได้ฟังปัญหาพยากรณ์ ๑๕ ข้อแล้ว ในที่สุดแห่งการพยากรณ์ ก็ได้บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา

    ตามประวัติท่านมีความสามารถเสดงธรรมแก่บริษัท ๔ ได้อย่างวิจิตรพิสดาร สมบูรณ์ด้วยข้ออุปมาอุปไมยพร้อมทั้งเหตุผล ให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย ฉลาดในวิธีการสั่งสอน เพราะเหตุที่ท่านประกอบด้วยคุรสมบัติเช่นนี้จึงได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในจิตรกถา คือแสดงธรรมเทศนาได้อย่างวิจิตร ครั้นท่านพระกุมารกัสสปะดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระโกณฑธานะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระโกณฑธานะ ถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี เดิมชื่อว่า ธานมาณพ เมื่อเจริญเติบโตแล้ว ได้เข้าศึกษาวิทยาตามธรรมเนียมของพวกพราหมณ์จนจบไตรเพท


    ต่อมาได้รับการบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่วันที่ท่านได้อุปสมบท ก็ปรากฏว่ามีมหาชนได้พบเห็นรูปหญิงสาวรูปหนึ่งเที่ยวติดตามไปข้างหลังของท่าน แต่ตัวท่านเองมองไม่เห็นรูปนั้น ครั้นท่านเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน ชาวบ้านได้ถวายภิกษาแก่ท่านสองส่วนแล้วพูดว่า ส่วนนี้ถวายท่าน สำหรับส่วนนี้ให้หญิงสาวสหายของท่าน ตั้งแต่นั้นมาพวกมนุษย์จึงพากันเรียกท่านว่า โกณฑธานะ ส่วนพวกภิกษุผู้ไม่รู้ความจริงเมื่อเห็นอาการเช่นนั้นก็เกิดความรังเกียจ กลัวความเสียหายจะเกิดแก่พวกตนด้วย จึงบอกให้อนาถปิณฑิกเศรษฐีขับไล่ท่านออกจากวัดไปเสีย อนาถปิณฑิกเศรษฐีก็ไม่ขับ จึงบอกแก่นางวิสาขา มหาอุบาสิกา แม้นางวิสาขาก็ไม่ขับไล่เช่นกัน พวกภิกษุเหล่านั้นจึงถวายพระพระทูลแด่พระเจ้าปเสนทิโกศล เพื่อให้พระองค์ทรงขับไล่ท่านออกไปเสียจากแว่นแคว้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปสู่พระวิหารด้วยพระองค์เองทรงพิสูจน์จนทราบว่า หญิงสาวที่มองเห็นนั้นเป็นเพียงภาพลวงตาเท่านั้น ไม่ใช่คน จึงเกิดความเลื่อมใส รับสั่งให้ท่านเข้าไปบิณฑบาตในพระราชวัง และบำรุงด้วยปัจจัยสี่ ครั้นพวกภิกษุเห็นดังนั้นก็กลับซ้ำติเตียน ว่าคนชั่วช้าทั้งพระราชา ทั้งพระโกณฑธานะ ท่านพระโกณฑธานะโกรธจึงกล่าวโต้ตอบ พวกภิกษุเหล่านั้นบ้าง ความทราบถึงพระบรมศาสดา พระองค์จึงทรงตำหนิแล้ว ทรงห้ามมิให้พวกภิกษุกล่าวตอบโต้กันและกัน และทรงแสดงเรื่องรูปของหญิงสาวนั้นให้พวกภิกษุได้ทราบความจริง แล้วได้แสดงพระธรรมเทศนาสั่งสอนด้วยคาถาสองคาถา ในเวลาจบเทศนาท่านพระโกณฑธานะตั้งอยู่ในโอวาทที่พระบรมศาสดาตรัสสอน ตั้งใจบำเพ็ญความเพียรจนได้บรรลุพระอรหัตตผล เป็นอเสขบุคคลในพระพุทธศาสนา

    ต่อมาพระบรมศาสดาทรงยกย่องท่านว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้จับสลากเป็นปฐม ครั้นท่านพระโกณฑธานเถระดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแลวก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระขทิรวนิยเรวตเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระเรวตเถระเป็นบุตรของวังคันตพราหมณ์ และนางสารีพราหมณี ในตำบลบ้านชื่อว่านาลันทะ เป็นบุตรคนสุดท้อง น้องชายของพระสารีบุตร เดิมชื่อว่า เรวตมาณพ เมื่อบวชแล้ว ท่านได้พำนักอาศัยอยู่ในป่าไม้ตะเคียนด้วยเหตุนั้นท่านจึงยึดเอาชื่อของป่านั้นนำหน้าชื่อตนว่า ขทิรวนิยเรวตะ (ใช้ตามหลังชื่อก็มี เช่น เรวตขทิรวนิยเถระ) ในตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อเรวตมาณพเติบโตแล้วมีอายุ ๘ ขวบ มารดาบิดาจึงปรึกษากันว่า บุตรของเราบวชหมดทุกคนแล้ว เหลือแต่เรวตคนเดียว ถ้าเขาจะบวชเสียก็ไม่มีใครสืบวงศ์ตระกูล เราควรผูกพันเรวตะบุตรเราไว้ด้วยการให้มีเหย้าเรือนเสียแต่ยังเด็กยังหนุ่มอยู่ อย่าให้สมณะศากยบุตรมาพาไปบวชอีก ครั้นปรึกษากันอย่างนั้นแล้วจึงพาไปขอหมั้นนางกุมาริกาผู้มีชาติตระกูลเสมอกัน และได้กำหนดวันอาวาหมงคลด้วย ก็ได้บรรลุอรหัตตผล เป็นพระอรหันต์ ในตำนานกล่าวว่า ท่านได้เป็นอุปัชฌาย์บวชกุลบุตร จนมีสัทธิวิหาริกประมาณ ๕๐๐ องค์ เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร ท่านได้พาสัทธิวิหาริกไปเข้าเฝ้าอีก ในครั้งนี้พระบรมศาสดาได้ประทานสาธุการแก่ท่านว่า สาธุ สาธุ อุปเสนะ (ดูก่อนอุปเสนะ ดีละ ๆ) ฉะนี้ สมตามความที่ท่านได้คิดไว้แล้ว


    ครั้นถึงวันกำหนด จึงประดับประดาเรวตมารพพาไปเรือนของนางกุมาริกาพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก ในขณะทำการมงคล เรวตมาณพเกิดเบื่อหน่ายในการอยู่ครองเรือน เมื่อเสร็จการมงคลแล้วก็จัดแจงกลับบ้าน เรวตมาณพกับนางกุมาริกานั่งมาในรถคันเดียวกัน ในระหว่างทางเรวตมาณพหาอุบายหลีกหนีไปเสีย เข้าไปหาภิกษุผู้อยู่ในป่าประมาณ ๓๐ รูป ณ ประเทศนั้นแล้วขอบรรพชา ภิกษุเหล่านั้นทราบว่าเป็นน้องชายของพระสารีบุตรเถระ จึงให้บรรพชาโดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากมารดาบิดา เพราะท่านพระสารีบุตรได้สั่งแกมบังคับภิกษุทั้งหลายไว้ว่า ถ้าเรวตะน้องชายของผลเข้ามาขอบวชในสำนักของพวกท่าน ท่านทั้งหลาย จงบวชให้เธอด้วย โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากมารดบิดา เพราะมารดาบิดาของผมเป็นมิทฉาทิฏฐิ

    ครั้นภิกษุเหล่านั้นให้เรวตะบวชเป็นสามเณร แล้วก็ส่งข่าวไปให้พระสารีบุตรทราบ พระเถระมีความประสงค์จะมาเยี่ยมเยียน จึงได้ทูลลาพระบรมศาสดาถึงสองครั้ง พระองค์ตรัสห้ามถึงสองครั้งจึงได้ยับยั้งอยู่ (เรวตสามเณร เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา) พระเรวตุนั้น เมื่อบวชแล้วคิดว่า ถ้าเราจักอยู่ที่นี่ พวกญาติก็จักติดตามมาพบ จึงเรียนกรรมฐานในสำนักของภิกษุเหล่านั้นแล้วถือบาตรและจีวรเที่ยวจาริกไปยังป่าไม้ตะเคียนไหลประมาณ ๓๐ โยชน์ ได้พักอาศัยอยู่ ณ ที่นั้น ทำความเพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐานในสำนักของภิกษุเหล่านั้น ต่อไม่นานก็ได้สำเร็จพระอรหัตตผลภายในพรรษานั้น เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้วท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลลาพระบรมศาสดา เพื่อจะไปเยี่ยมพระเรวตะ พระบรมศาสดารับสั่งให้รอก่อน เพราะพระองค์จะเสด็จไปด้วย และรับสั่งให้บอกภิกษุผู้จะตามเสด็จตระเตรียมตัว ได้เสด็จไปพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ เป็นบริวาร ท่านพระเรวตะทำการต้อนรับอย่างดี ในตำนานกล่าวไว้ว่า ท่านพระเรวตะได้เนรมิตพระคันธกุฎี เพื่อเป็นที่ประทับของพระบรมศาสดา เนรมิตเรือนยอด ๕๐๐ เป็นที่พักของภิกษุบริวาร เนรมิตที่จงกรม ๕๐๐ และที่พักกลางคืนและกลางวันอย่างละ ๕๐๐ พระบรมศาสดาเสด็จประทับค้างแรมอยู่ ณ ที่นั้นถึงหนึ่งเดือนแล้วจึงเสด็จกลับ

    ส่วนท่านพระเรวตะ ชอบพำนักอาศัยอยู่ในป่าไม้ตะเคียน เพราะเหตุนั้น พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่ป่า ท่านพระเรวตะนั้น ดำรงชีพอยู่โดยสมควรแก่กาลสมัยแล้วจึงได้ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระคยากัสสปเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระคยากัสสปเถระ เกิดในสกุลพราหมณ์กัสสปโคตรเดิมชื่อว่า กัสสปะ ตามโคตร มีพี่ชาย ๒ คน ได้แก่ อุรุเวลกัสสปะ และนทีกัสสปะ เมื่อเจริญวัยขึ้นแล้ว ได้เรียนจบไตรเพทตามลัทธิของพวกพราหมณ์จนมีความชำนาญ มีชื่อเสียงโด่งดัง มีบริวารมากถึง ๒๐๐ คน ครั้นต่อมาพิจารณา เห็นลัทธิของตนไม่มีแก่นสารจึงได้ออกบวชเป็นชฎิล บำเพ็ญพรตด้วยการบูชาไฟพร้อมกับพี่ชาย ๒ คน ท่านได้ตั้งอาศรมอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะ ทางตอนใต้ของพี่ชายทั้ง ๒ คนนั้น จึงได้นามว่า คยากัสสปะ เมื่อพี่ชายทั้งสองพร้อมด้วย บริวารลอยบริขารของชฎิลในแม่น้ำ แล้วพากันอุปสมบทในพระพุทธศาสนา เมื่อเห็นบริขารชฎิลของพี่ชายลอยมาตามกระแสน้ำ ก็คิดว่าได้เกิดอันตรายแก่พี่ชายทั้งสอง เป็นแน่ จึงได้พาบริวารรีบมาดู ก็ได้เห็นพี่ชายทั้งสองของตนพร้อมกับบริวารถือเพศเป็นภิกษุแล้ว พอสอบถามก็ได้ทราบว่า พรหมจรรย์นี้ประเสริฐ พี่ชายทั้งสองจึงยอมสละลัทธิเดิม จึงได้พาบริวารของตนลอยบริขารในแม่น้ำแล้วเข้า ไปเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลขออุปสมบท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทาเช่นเดียวกับพี่ชายทั้งสอง เมื่อพระบรมศาสดา เสด็จประทับอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะ ได้ตรัสเทศนาชื่อ อาทิตตปริยายสูตร ในเวลาจบพระธรรมเทศนาท่านพร้อมด้วย พี่ชายทั้งสอง และบริวารรวมเป็น ๑,๐๐๓ องค์ ได้บรรลุพระอรหัตตผลด้วยกัน ท่านคยากัสสปะได้ช่วยทำกิจพระศาสนาตามกำลัง สติปัญญา ของท่าน เมื่อดำรงอายุสังขารโดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระควัมปติชิเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระควัมปติชิเถระ เป็นบุตรของเศรษฐีในเมืองพาราณสี เป็นสหายที่รักใคร่สนิทสนมกับท่านพระยสะ เมื่อยสกุลบุตรออกแล้ว ได้ทราบข่าวจึงคิดว่า ธรรมวินัยที่ยสกุลบุตรสหายของตนออกบวชนั้นจักไม่เป็นของเลวทราม ต้องเป็นของดีแน่นอน ควรที่เราจะเข้า ไปหาแล้วบวช บวชตามบ้าง เมื่อคิดอย่างนั้นแล้วจึงพร้อมด้วยสหาย ๓ คน ได้แก่ วมละ สุพาหุ ปุณณชิ ได้พากันไปหาท่านพระยสะ หลังจากนั้น ท่านพระยสะก็พาเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และทูลขอให้พระองค์ทรงสั่งสอน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส อนุปุพพิกถา และ อริยสัจ ๔ ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ควัมปติและสหายก็ได้ธรรมจักษุ คือดวงตาคือปัญญาอันเห็นธรรมได้เกิดขึ้นว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดก็มีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อท่านได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วจึงทูลขออุปสมบท ใน พระธรรม วินัย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่อมีอินทรีย์แก่กล้าแล้ว ได้ฟังธรรม มีกถาที่พระองค์ ตรัสสอนในภายหลัง จิตของท่านก็หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน ท่านได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ที่นับเข้าในจำพวก พระสาวกผู้ใหญ่ ในคราวที่พระพุทธเจ้าส่งสาวกออกไปประกาศพระศาสนา ท่านก็ได้รับอนุมัติให้ไปประกาศ พระศาสนาในชนบท ช่วยสั่งสอนให้กุลบุตรเกิดความเลื่อมใสได้มาก เมื่อดำรงอยู่ถึงกาลอายุขัยแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระจุนทะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระจุนทะ เป็นบุตรของพราหมณ์นายบ้านชื่อว่า วังคันตะ และนางพราหมณีชื่อว่า สารี เกิดในหมู่บ้านชื่อนาลกะ หรือนาลันทะแคว้นมคธ กรุงราชคฤห์ เดิมท่านชื่อว่าจุนทะ


    เมื่อท่านเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ภิกษุทั้งหลาย มักจะเรียกท่านว่า มหาจุนทะ ถึงแม้เรื่องราวของท่านที่มีปรากฏในปกรณ์นั้น ๆ โดยมากใช้คำว่า อายสฺมา มหาจุนฺโท แปลว่า ท่านมหาจุนทะ แต่ที่เรียกว่า จุนทสมณุทเทศก็มี ท่านเป็นน้องชายของท่านพระสารีบุตร และท่านได้เคยเป็นพุทธอุปัฏฐากองค์หนึ่งเหมือนกัน เมื่อครั้งพระบรมศาสดาเสด็จไปปรินิพพานที่เมืองกุสินารา ท่านก็เป็นอุปัฏฐากติดตามเสด็จไปด้วยเรื่องราวของท่านมีปรากฏในปกรณ์หลายแห่ง เมื่อพิจารณาตามประวัติของท่านแล้ว สันนิษฐานได้ว่า คงเป็นพระธรรมกถึกองค์หนึ่ง เช่นสัลเลขสูตร ในมัชฌิมนิกาย หน้า ๖๖ มีความย่อว่า เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ใกล้พระนครสาวัตถี ท่านเข้าไปกราบทูลถามถึงทิฏฐิที่ประกอบด้วยคำของตน เช่น เห็นรูป เป็นตน เป็นต้น และถ้อยคำของโลก เช่น เห็นตนและโลกเที่ยง เป็นต้นว่า ภิกษุจะพึงทำอย่างไรดี จึงจะละทิฏฐินั้นได้เด็ดขาด พระบรมศาสดาทรงแสดงวิธีขัดเกลากิเลสให้ท่านฟังโดยสิ้นเชิง ท่านพระมหาจุนทะมีความปลาบปลื้มใจ อนุโมทนารับภาษิตของพระพุทธองค์ไปประพฤติปฏิบัติ เรื่องที่ท่านให้โอวาทแก่ภิกษุโดยตรงก็มี เช่นที่มาในฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย หน้า ๒๑ โดยความก็ คือ สั่งสอนไม่ให้ภิกษุถือพวกถือเหล่ากันยกภิกษุสองพวกนี้ขึ้นเป็นตัวอย่าง คือ พวกภิกษุผู้เรียนคันถธุระฝ่ายหนึ่ง พวกภิกษุผู้เรียนวิปัสสนาธุระฝ่ายหนึ่ง ตามปกติภิกษุย่อมจะสรรเสริญ แต่ฝ่ายของตน ติเตือนอีกฝ่ายหนึ่ง ท่านสอนไม่ให้ทำเช่นนั้น สอนให้สำเหนียกศึกษาว่า ตนจะเป็นฝ่ายไหนก็ตาม พึงทำความพอใจในอีกฝ่ายหนึ่ง สามารถสรรเสริญคุณความดีของกันและกัน ทั้งสองฝ่าย

    ท่านพระมหาจุนทะนั้น เมื่อครั้งพระสารีบุตรเถระ ผู้พี่ชาย ไปนิพพานที่บ้านเดิมเพื่อโปรดมารดา ท่านได้ติดตามไปด้วย และได้รวบรวมบาตร และจีวรพร้อมทั้งอัฐิธาตุ ของท่านพระสารีบุตร นำมาถวายพระบรมศาสดาด้วย เมื่อท่านดำรงชนมายุอยู่โดยกาลสมควรแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระจูฬปันถกเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top> พระจูฬปันถก เป็นบุตรของธิดาแห่งเศรษฐี ในเมืองราชคฤห์ ชื่อว่า ปันถก เพราะเป็นน้องชายพระมหาปันถก จึงเติมคำว่า จูฬ ข้างหน้าเป็น จูฬปันถก ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในประวัติของพระมหาปันถกนั้นประวัติของพระจูฬปันถกในตอนต้น พึงทราบความตามนัยที่กล่าวแล้วในประวัติของพระมหาปันถกนั้นเถิดในที่นี้จักกล่าวแต่ตอนที่มาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความว่าเมื่อพระท่านมหาปันถกได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วเสวยวิมุตติสุขอยู่ใคร่จะให้ความสุขเช่นนั้นเกิดแก่จูฬปันถกบ้าง จึงไปขออนุญาตจากตา เพื่อขอให้จูฬปันถกบวช ตาก็อนุญาตให้ตามความประสงค์ พระมหาปันถกจึงให้จูฬปันถกบวช.

    ครั้นจูฬปันถกบวชแล้วเป็นคนหัวทึบมาก พระมหาปันถก สอนให้เรียนคาถาพรรณนาพระพุทธคุณเพียงคาถาเดียว เรียนอยู่ถึงสี่เดือนก็ยังจำไม่ได้ คาถานั้นว่า
    ปทุมํ ยถา โกกนุทํ สุคนฺธํ
    ปาโต สิยา ผุลฺลมวีตคนฺธํ
    องฺคีรสํ ปสฺส วิโรจมานํ
    ตปนฺตมาทิจฺจมิวนฺตลิกฺเข ฯ
    แปลว่า เธอจงดูพระสักยมุนีอังคีรส ผุ้มีพระรัศมีแผ่ซ่าน ออกจากพระบวรกาย มีพระบวรพักตร์อันเบิกบาน ปานหนึ่งว่า ดอกบัวชื่อ โกกนุทมีกลิ่นหอม ย่อมขยายกลีบแล้วบานในตอนเช้า มีกลิ่นเรณูไม่จางหาย ท่านย่อมรุ่งเรืองไพโรจน์ดุจดวงอาทิตย์อันส่องสว่างแผดแสงอยู่กลางท้องฟ้า ฉะนั้น.


    ท่านพระมหาปันถก ทราบว่าท่านจูฬปันถกโง่เขลามาก จึงประณามขับไล่ออกจากสำนักของท่าน ในขณะที่ท่านเป็นภัตตุเทศก์ หมอชีวกโกมารภัจจ์มานิมนต์ภิกษุไปฉันในวันรุ่งขึ้น ท่านก็ไม่นับพระจูฬปันถกเข้าด้วย พระจูฬปันถกเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจคิดจะไปสึกเสีย จึงออกไปแต่เช้าตรู่ ได้พบพระศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ที่ซุ้มประตู พระองค์จึงตรัสถามว่า จูฬปันถก เธอจะไปไหนในเวลานี้ พระจูฬปันถกกราบทูลว่า ข้าพระองค์จะไปสึก เพราะพี่ชายขับไล่ข้าพระองค์ พระศาสดาจึงตรัสเตือนสติท่านว่า จูฬปันถก เธอบวชเพื่อพี่ชายเมื่อไหร่ บวชเพื่อเราต่างหาก เมื่อพี่ชายขับไล่ ทำไมไม่มาหาเรา มานี่ ประโยชน์อะไรด้วยฆราวาสมาอยู่กับเราดีกว่า พระจูฬปันถกเข้าไปเฝ้าแล้วพระองค์ทรงลูบศีรษะด้วยฝ่าพระหัตถ์ แล้วพาไปให้นั่งที่หน้ามุขพระคันธกุฎี ประทานผ้าขาวอันบริสุทธิ์ให้นั่งลูบคลำทำบริกรรมว่า รโชหรณํ รโชหรณํ เมื่อท่านลูบคลำทำบริกรรมไม่นาน ผ้านั้นก็เศร้าหมองเหมือนผ้าเช็ดมือ จึงคิดว่าผ้านี้เป็นของขาวบริสุทธิ์อย่างเหลือเกิน พอมาถูกอัตภาพนี้จึงละภาวะเดิมเสีย กลายเป็นผ้าที่เศร้าหมองไป สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ เจริญวิปัสสนาพระศาสดาทรงทราบจึงตรัสสั่งสอนด้วยพระคาถา ในเวลาจบพระคาถา พระจูฬปันถกได้บรรลุพระอรหัตตผล ขณะลูบคลำผ้าบริกรรมอยู่นั้นพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป หย่อนอยู่หนึ่งรูป เสด็จไปยังบ้านของหมอชีวก ครั้นพอเข้าไปถวาย พระองค์ทรงปิดบาตรเสียพร้อมกับตรัสว่า ภิกษุยังมาไม่หมด ยังเหลืออยู่ที่วิหารอีก ๑ รูป หมอชีวกจึงใช้ให้คนไปตาม ในเวลานั้นพระจูฬปันถกเนรมิตพระภิกษุหนึ่งพันรูปจนเต็มวิหาร เมื่อคนใช้ไปถึง เห็นมีพระมากมายถึงพันรูปจึงรีบกลับไปบอกหมอชีวกโกมารภัจจ์ ลำดับนั้นพระศาสดาได้ตรัสกะบุรุษนั้นว่าเจ้าจงไปแล้วบอกว่า พระศาสดา ตรัสเรียกพระจูฬปันถก บุรุษ นั้นก็กลับไปวิหารอีกแล้วบอกตามคำสั่ง ภิกษุทั้งหมดพูดขึ้นว่า ฉันชื่อจูฬปันถก บุรุษคนนั้นก็กลับมาอีก กราบทูลว่า ภิกษุเหล่านั้น ชื่อจูฬปันถกทั้งนั้น พระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุรูปใด พูดขึ้นก่อน จงจับมือภิกษุรูปนั้นไว้ ภิกษุรูปที่เหลือจักอันตรธานหายไป บุรุษนั้นไปถึงวิหารแล้วทำอย่างนั้น จึงได้พาพระจูฬปันถก ไปสู่ที่นิมนต์ ในที่สุดแห่งภัตกิจ ท่านพระจูฬปันถกได้ทำภัตตานุโมทนา อาศันที่ท่านประกอบด้วยมโนมยิทธิ เช่นนี้ จึงได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ* ครั้นดำรงชนมายุสังขารอยู่โดย สมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน.

    *มโนมยิทธิ : ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ คือ เนรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ ดุจชักดาบจากฝัก

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระชตุกัณณีเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระชตุกัณณี เป็นบุตรพราหมณ์ ในนครสาวัตถี เมื่อเจริญวัยแล้วได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยา ในสำนักของ พราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ครั้นต่ามาพราหมณ์พาวรี มีความเบื่อหน่ายในฆราวาส จึงทูลลา พระเจ้าปเสนทิโกศลออกจากตำแหน่งปุโรหิต เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว ได้ออกบวชเป็นชฏิลประพฤติพรตตาม ลัทธิของพราหมณ์ ตั้งอาศรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี ที่พรมแดนแห่งเมืองอัสสกะ และอาฬกะต่อกัน เป็นคณาจารย์ใหญ่บอกไตรเพท แก่หมู่ศิษย์ และอยู่ในจำนวนมาณพ ๑๖ คน ที่พราหมณ์พาวรีผูกปัญหาให้ไปทูลถามพระบรมศาสดา ซึ่งประทับอยู่ที่ปาสาณเจดีย์ แคว้นมคธ ทูลขอโอกาสถามปัญหา ครั้นพระบรมศาสดาศาสดาทรงอนุญาตแล้ว อชิตมาณพได้ทูลถามปัญหาเป็นคนแรก เพราะเป็นหัวหน้า ส่วนชตุกัณณีมาณพ เมื่อกัปปมาณพทูลถามปัญหา ได้ฟังปัญหาพยากรณ์แล้วบรรลุพระอรหัตตผล


    ลำดับนั้น ชตุกัณณีมาณพ ได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่สิบเอ็ดว่า

    ข้าพระองค์ได้ทราบว่า พระองค์ไม่ใช่ผู้ใคร่กาม ข้ามพ้นห้วงกิเลสเสียแล้ว จึงมาเฝ้าเพื่อจะทูลถามพระองค์ผู้หากิเลสกามมิได้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญาดุจดวงตาอันเกิดพร้อมกับตรัสรู้ จงแสดงธรรมสำหรับระงับกิเลสแก่ข้าพระพุทธเจ้า เหตุว่า พระองค์ทรงผจญกิเลสกามให้แห้งหายได้ ดุจพระอาทิตย์อันส่องแผ่นดินให้แห้งด้วยรัศมี ขอพระองค์ผู้มีปัญญากว้างขวางราวกับแผ่นดิน ตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องละชาติชราในอัตภาพนี้ แก่ข้าพระองค์ผู้มีปัญญาน้อยด้วยเถิด

    พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ว่า ท่านจงกำจัดความกำหนัดในกามให้หมดสิ้นไป เห็นความหมดไปแห่งกามเป็นความเกษมเถิด กิเลสเครื่องกังวลที่ท่านยึดถือไว้ด้วย ตัณหา และทิฏฐิซึ่งควรจะละเสีย อย่าเสียดแทงใจของท่านได้ กังวลใดได้มีแล้วในปางก่อน ท่านจงให้กังวลนั้นเหือดแห้งเสีย กังวลในภายหลังอย่าได้มีแก่ท่าน ถ้าท่านจักไม่ถือเอากังวลในท่ามกลางท่านจักเป็นคนสงบระงับ กังวลได้ อาสวะ(กิเลส) ซึ่งเป็นเหตุถึงอำนาจมัจจุราชของชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกามโดยอาการทั้งปวงก็มีไม่ได้

    พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ปัญหาจบลง ชตุกัณณีมาณพ ได้บรรลุพระอรหัตนผล เมื่อจบโสฬสปัญหาพยากรณ์ ชตุกัณณีมาณพ พร้อมด้วยมาณพสิบห้าคน ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา ท่านพระชตุกัณณี ได้ช่วยทำกิจพระพุทธศาสนา ทั้งคันถธุระ และวิปัสสนาธุระแล้วดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาล ก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระติสสเตยยะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top> ท่านพระติสสเตยยะ เป็นบุตรพราหมณ์ ในกรุงสาวัตถี เดิมชื่อ ติสสะ มีนามโคตรว่า เมตเตยยะ รวมเป็นนามเดียวกันว่า ติสสเมตเตยยะ เมื่ออายุควรแก่การเล่าเรียนแล้ว ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์เล่าเรียนศิลปวิทยาในสำนักของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิต ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ครั้นพราหมณ์พาวรีมีความเบื่อหน่ายในฆารวาสวิสัย จึงได้กราบทูลลาออกจากตำแหน่งปุโรหิต ออกบวชเป็น ชฎิลประพฤติพรตตามลัทธิของพราหมณ์พาวรี ที่พรมแดนแห่งเมืองอัสสกะและเมืองอาฬกะต่อกัน เป็นอาจารย์ใหญ่บอกไตรเพท แก่หมู่ศิษย์ ติสสเมตเตยยมาณพพร้อมกับมาณพอื่น ๆ ได้ติดตามออกบวช และศึกษาศิลปวิทยาอยู่ในสำนักของพราหมณ์พาวรีนั้น ครั้นต่อมาพราหมณ์พาวรีได้ทราบข่าวว่าพระโอรสของพระเจ้าศากยะเสด็จออกทรงผนวช ปฏิญาณพระองค์ว่าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ แสดงธรรมสั่งสอนประชาชน มีคนนับถือและเลื่อมใส ยอมตนเป็นสาวกปฏิบัติตามคำสั่งสอนเป็นจำนวนมาก พราหมณืพาวรีประสงค์ จะสืบสวนให้ได้ความจริง จึงเรียกมาณพผู้เป็นศิษย์ ๑๖ คน มีอชิตมาณพเป็นหัวหน้า ผูกปัญหาให้คนละหมวด ให้ไปทูลถามลองดู มาณพทั้ง ๑๖ คน ลาอาจารย์แล้วไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่ปาสาณเจดีย์ แคว้นมคธ ทูลขอโอกาสถามปัญหาคนละหมวด

    ครั้นพระบรมศาสดาทรงอนุญาตแล้ว อชิตมาณพได้ทูลถามเป็นคนแรก ๔ ข้อ เมื่อจบการพยากรณ์ปัญหาของอชิตมาณพแล้ว ติสสเมตเตยยมาณพจึงทูลถามปัญหาเป็นคนที่สองว่า ใครชื่อว่าเป็คนสันโดษ คือมีความประสงค์เต็มบริบูรณ์ในโลกนี้ ใครไม่มีความ อยากซึ่งเป็นเหตุดิ้นรนทะเยอทะยาน ใครรู้ส่วนข้างปลายทั้งสอง (อดีตกับอนาคต) ด้วยปัญญาแล้ว ไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง (ปัจจุบัน) พระองค์ตรัสว่าใครเป็นมหาบุรุษ ใครล่วงความตาย อันผูกใจสัตว์ไว้ในโลกนี้ดุจด้ายเป็นเครื่องเย็บให้ติดกันไว้

    พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ว่า ภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ สำรวมในกามทั้งหลาย ปราศจากความอยากแล้ว มีสติระลึกได้ทุกเมื่อ พิจารณาเห็นโดยชอบ ดับเครื่องร้อนกระวนกระวายเสียได้แล้ว ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ คือมีความประสงค์เต็มสมบูรณ์ในโลกนี้ ความอยาก ซึ่งเป็นเหตุดิ้นรนทะเยอทะยานของภิกษุนั้นไม่มี ภิกษุนั้นแลรู้ส่วนข้างปลายทั้งสองด้วยปัญญาแล้วไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง เรากล่าวว่า ภิกษุนั้นแหละ เป็นมหาบุรุษ ภิกษุนั้นแลล่วงความอยากอันผูกใจสัตว์ไว้ในโลกนี้ ดุจด้ายเป็นเครื่องเย็บผ้าให้ติดกันไว้

    ในที่สุดแห่งการพยากรณ์ปัญหา ติสสเมตเตยยมาณพได้สำเร็จพระอรหัตตผล (ก่อนอุปสมบท) เมื่อมาณพที่เหลือทูลถามปัญหาของ ตน ๆ และพระบรมศาสดาทรงพยากรณ์แล้ว ติสสเมตเตยยมาณพพร้อมด้วยมาณพเหล่านั้นทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ก็ ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยงิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่อท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระโตเทยยะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระโตเทยยะ เป็นบุตรของพราหมณ์ ในนครสาวัตถี เมื่อเจริญวัยแล้วได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาในสำนักของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ครั้นต่ามาพราหมณ์พาวรี มีความเบื่อหน่ายในฆราวาส จึงทูลลาพระเจ้าปเสนทิโกศลออกจากตำแหน่งปุโรหิต เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว ได้ออกบวชเป็นชฏิลประพฤติพรตตามลัทธิของพราหมณ์ ตั้งอาศรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี ที่พรมแดนแห่งเมืองอัสสกะ และอาฬกะต่อกัน เป็นคณาจารย์ให้ญ่บอกไตรเพทแก่หมู่ศิษย์ และอยู่ในจำนวนมาณพ ๑๖ คน ที่พราหมณ์พาวรีผูกปัญหาให้ไปทูลถามพระบรมศาสดา ซึ่งประทับอยู่ที่ปาสาณเจดีย์ แคว้นมคธ


    โตเทยยมาณพทูลขอโอกาสถามปัญหา ครั้นพระบรมศาสดาทรงอนุญาตแล้ว ได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่เก้าว่า

    โตเทยยมาณพ : กามทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในผู้ใด ตัณหาของผู้ใดไม่มี และผู้ใดข้ามล่วงความสงสัยเสียได้ ความพ้นของผู้นั้นเป็นเช่นไร ?

    พระบรมศาสดา : ความพ้นของผู้นั้นจะไม่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นอีก (อธิบาย ผู้นั้นพ้นจากกาม ตัณหา และความสงสัยแล้ว กามก็ดี ตัณหาก็ดี จะกลับเจริญขึ้น ผู้นั้นไม่ต้องพากเพียรพยายามเพื่อจะทำตนให้พ้นไปอีก ความพ้นของผู้นั้นเป็นอันคงที่ ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่น) .

    โตเทยยมาณพ : ผู้นั้นเป็นคนมีความทะเยอทะยาน หรือไม่มี เป็นคนมีปัญญาแท้ หรือเป็นแต่ใช้ปัญญาทำให้ตัณหา และทิฎฐิเกิดขึ้น ข้าพระองค์จะรู้จักท่านผู้เป็นมุนีนั้นได้อย่างไร ของพระองค์ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์เถิด ?

    พระบรมศาสดา : ผู้นั้นเป็นคนไม่มีความทะเยอทะยาน จะเป็นคนมีความหวังทะเยอทะยานก็หาไม่ เป็นคนมีปัญญาแท้ จะไม่ใช้ปัญญา ก่อให้เกิดตัณหาทิฏฐิ ท่านจงรู้จักมุนีว่า คนไม่มีกังวล ไม่ติดอยู่ในกามภพอย่างนี้เถิด.

    พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ปัญหาจบลง โตเทยยมาณพได้สำเร็จพระอรหัตตผล เมื่อจบโสฬสปัญหาพยากรณ์แล้ว โตเทยยมาณพพร้อมด้วยมาณพสิบห้าคนทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา ท่านพระโตเทยยะดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระทัพพมัลลบุตรเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระทัพพมัลลบุตร เป็นพระราชโอรสของพระอัครมเหสีของพระเจ้ามัลละ เดิมมีนามว่า ทัพพราชกุมาร อาศัยที่ท่านเป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามัลละ เมื่อได้คำว่า มัลลบุตร ผสมเข้ากับพระนามเดิม จึงได้พระนามใหม่ว่า ทัพพมัลลบุตร เมื่อทัพพมัลลบุตรราชกุมารนั้นมีพระชนมายุ ๗ พรรษา ได้เข้าไปเฝ้าพระมารดา ทูลอ้อนวอนขออนุญาตจากพระมารดา เพื่อจะบรรพชาในพระพุทธศาสนา เมื่อได้รับอนุญาตจากพระมารดาแล้ว จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ในสำนักของพระบรมศาสดา


    เมื่อได้สดับพระโอวาทของพระองค์แล้ว เป็นผู้ไม่ประมาท เพียรพยายามบำเพ็ญสมณธรรมในส่วนวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ และอภิญญา ๖ ตาม ประวัติปรากฏว่า ท่านได้บรรลุพระอรหัต เมื่อเวลามีดโกนจรดลงที่พระเศียร พอท่านมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ตามพระวินัยแล้ว ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเพราะท่านเป็นผู้ขวนขวายในกิจของสงฆ์เป็นอย่างดี ในครั้นหนึ่ง ท่านได้มีความดำริว่า เราอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว สมควรจะรับภาระธุระสงฆ์จึงได้กราบทูลให้พระบรมศาสดาทรงทราบความดำรินั้น เมื่อพระองค์ทรงทราบแล้วได้ประทานสาธุการว่าดีละ ๆ ทัพพมัลลบุตร แล้วตรัสให้สงฆ์สมมติท่านเป็นเจ้าหน้าที่จัดแจกภัต (ภัตตุทเทศก์) และเจ้าหน้าที่จัดแจกเสนาสนะของสงฆ์ (เสนาสนคาหาปกะ)

    ท่านได้เอาใจใส่ในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ทำกิจให้สำเร็จเรียบร้อยด้วยดี และเพราะท่านเป็นผู้ฉลาดในเรื่องนี้ด้วย จึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายข้างเป็นผู้แต่งตั้งปูลาดเสนาสนะ

    ครั้นกาลต่อมา ท่านได้พิจารณาอายุสังขาร เห็นว่าสมควรจะนิพพานได้แล้ว จึงได้ไปกราบทูลลาพระบรมศาสดาเพื่อนิพพาน เมื่อจะนิพพานท่านก็ได้ไปทำประทักษิณเวียนรอบพระองค์หนึ่งรอบ แล้วจึงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ โดยเหาะขึ้นสู่อากาศ นั่งขัดบัลลังก์ (ขัดสมาธิ) บนอากาศแล้วเข้าเตโชสมาบัติ ครั้นออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ก็นิพพานบนอากาศนั้นเอง การที่ท่านพระทัพพมัลลบุตรนิพพานเสียแต่ยังไม่ถึงเวลาอันสมควรนั้น ได้มีอาจารย์บางท่านกล่าวไว้ว่า เพราะท่านถูกพวกภิกษุชาวเมติยภูมิหาเลศโจทย์ด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ครั้นเมื่ออธิกรณ์นั้นได้วินิจฉัยเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ยังพากันแช่งด่าท่านอีก ภิกษุที่เป็นปุถุชนไม่รุ้ความจริงก็พากันเชื่อถือ พากันรังเกียจท่านแสดงอาหารดูหมิ่นดูแคลนไม่มีความเคารพนับถือในท่าน ท่านจึงเกิดความระอาใจในเรื่องนี้ จึงได้ถวายบังคมลาพระบรมศาสดานิพพานเสีย แต่บางอาจารย์ก็คัดค้านว่า ไม่มีเหตุผลเพียงพอที่ควรจะเชื่อได้เช่นนั้น เพราะว่าพระขีณาสพทั้งหลายย่อไม่มีความหวั่นไหวในโลกธรรม ละความยินดียินร้าย และเป็นผู้อดทนต่อคำเสียดสีว่าร้ายต่าง ๆ เสียได้ การที่ท่านนิพพานเสียแต่ยังหนุ่มก็ เพราะท่านมีอายุขัยเพียงเท่านั้นเอง


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระโธตกะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระโธตกะ เกิดในสกุลพราหมณ์ในกรุงสาวัตถี เมื่อเจริญวัยพอที่จะศึกษาเล่าเรียนได้แล้ว ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของพราหมณ์ พาวรีผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล เพื่อศึกษาศิลปวิทยา คั้นต่อมาพราหมณ์พาวรีมีความเบื่อหน่ายในฆราวาสวิสัยได้ทูลลา พระเจ้าปเสนทิโกศลออกจากตำแหน่งปุโรหิต เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว ออกบวชเป็นชฏิลประพฤติพรตตามลัทธิของพราหมณ์ ตั้งอาศรมอยู่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี ที่พรมแดนแห่งเมืองอัสสกะ และเมืองอาฬกะต่อกันเป็นอาจารย์ใหญ่บอกไตรเพทแก่หมู่ศิษย์ โธตกมาณพได้ออกบวชติดตามไปศึกษาศิลปวิทยาอยู่ด้วย และอยู่ในจำนวนมาณพ ๑๖ คนที่พราหมณ์พาวรีผูกปัญหาให้ไปทูลถาม พระบรมศาสดา


    ท่านได้ทูลขอโอกาสถามปัญหาครั้นพระบรมศาสดาทรงอนุญาตแล้วจึงทูลถามปัญหาเป็นคนที่ห้าว่าข้าพระพุทธเจ้าทูลถามพระองค์ ขอจงตรัสบอกแก่ข้าพระพุทธเจ้า ๆ อยากจะฟังพระวาจาของพระองค์ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังพระสุรเสียงของพระองค์แล้ว จะศึกษา ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นเครื่องดับกิเลสของตน

    พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ว่า ถ้าอย่างนั้นท่านจงเป็นคนมีปัญญา มีสติ ทำความเพียรในพระศาสนานี้เถิด

    พระบรมศาสดา : เราเปลื้อง ใคร ๆ ในโลกนี้ ผู้ยังมีความสงสัยอยู่ไม่ได้ เมื่อท่านรู้ธรรมอันประเสริฐ ก็จะข้ามห้วงทะเลใหญ่ คือ กิเลสอันนี้เสียได้เอง

    โธตกะ : ถ้าพระองค์จะทรงพระกรุณาก็ควรแสดงธรรมอันทำให้กิเลสดับที่ข้าพระพุทธเจ้าควรจะรู้สั่งสอนข้าพระพุทธเจ้าให้เป็นคนโปร่ง ไม่ขัดข้องดุจอาการตอนกิเลสดับเสียได้ ไม่อาศัยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เที่ยวอยู่ในโลกนี้

    พระบรมศาสดา : เราจักบอกอุบายดับกิเลส ซึ่งจะเห็นได้เอง ไม่ต้องเชื่อตามข่าวที่บุคคลได้ทราบแล้ว จักมีสติข้ามพ้นความอยาก ที่ตรึงใจไว้ในโลกเสียได้แก่ท่าน

    โธตกะ : ข้าพระพุทธเจ้าชอบใจอุบายดับกิเลสอันสูงสุดนั้นเป็น อย่างยิ่ง

    พระบรมศาสดา : ถ้าท่านรู้ว่า ความทะยานอยากทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ และท่ามกลางเป็นเหตุให้ติดข้องอยู่ในโลก ท่านอย่าทำความ ทะยานอยากเพื่อจะเกิดในภพน้อยใหญ่

    ในที่สุดแห่งการพยากรณ์ปัญหา โธตกมาณพส่งใจไปตามธรรมเทศนาจิตก็หลุดพ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน บรรลุ เป็นพระอรหันต์ (ก่อนอุปสมบท) เมื่อการพยากรณ์ปัญหาเสร็จแล้ว โธตกมาณพ พร้อมด้วยมาณพอีกสิบห้าคนขออุปสมบท ในพระธรรม วินัย พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่อท่านพระโธตกดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยกาลอันสมควรแล้ว ก็ได้ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระนทีกัสสปเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top> ท่านพระนทีกัสสปเถระ เกิดในสกุลพราหมณ์กัสสปโคตร มีพี่ชายชื่ออุรุเวลกัสสปะ มีน้องชายชื่อคยากัสสปะ เมื่อเจริญวัยได้เรียนจบไตรเพทด้วยกันทั้งสามคน มีมาณพเป็นบริวาร ๓๐๐ คน มีสาเหตุการออกบวชเหมือนกับพี่ชาย คืออุรุเวลกัสสปะ สมัยเป็นชฎิลได้ตั้งอาศรมอยู่ที่ลำน้ำอ้อมตอนใต้ ของพี่ชาย จึงได้ชื่อว่า นทีกัสสปะ เมื่อพี่ชายคืออุรุเวลกัสสปะถูกพระศาสดาทรมานจนเลิกละลัทธิเดิมของตน พาบริวารลอยบริขารชฎิล ในแม่น้ำและอุปสมบทแล้ว ก็สำคัญว่าเกิดอันตรายแก่พี่ชายของตน จึงพาบริวารรีบขึ้นไปดู ก็พบพี่ชายพร้อมบริวารถือเพศเป็นภิกษุแล้ว สอบถามจนได้ความว่า พรหมจรรย์นี้ประเสริฐ จึงพากันลอยบริขารเสียในแม่น้ำ พร้อมด้วยบริวารพากันออกไปเฝ้าพระศาสดาทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ก็ปรนะทานอุปสมบทให้ด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา เหมือนอย่างท่านพระอุรุเวลกัสสปะผู้พี่ชาย เมื่อมีอินทรีย์แก่กล้าแล้วได้เทศนา ชื่อ อาทิตตปริยายสูตร ก็ได้สำเร็จพระอรหัตตผลพร้อมด้วยบริวาร ท่านได้ช่วยทำกิจพระศาสนาตามสมควรแก่หน้าที่ มีการสั่งสอนให้กุลบุตร กุลธิดาเกิดความเลื่อมใสในพระธรรมวินัยเป็นต้น เมื่อท่านดำรงอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระนันทกะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระนันทกะ ถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์ ในเมืองสาวัตถี เมื่อเติบใหญ่แล้วได้สดับพระธรรมเทศนาในสำนักของพระบรมศาสดา บังเกิดความเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา จึงได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบท ครั้นได้อุปสมบทแล้ว ไม่ประมาท บำเพ็ญเพียร เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ต่อไม่นานก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนา เป็นผู้มีความชำนาญในการระลึกซึ่งปุพเพสันนิวาสขันธสันดาน ที่ท่านและสัตว์อื่นเคยอยู่อาศัยบังเกิดในชาติก่อน ๆ (เป็นผู้ชำนาญในการระลึกชาติหนหลัง) ท่านเป็นผู้ฉลาดรอบรู้ในการแสดงธรรมแก่บริษัทสี่ให้เป็นที่พอใจ และเข้าใจได้โดยง่ายในตำนานปรากฏว่าท่านแสดงพระธรรมเทศนา ว่าด้วยเรื่องอายตนะ ๖ ประการ แก่นางภิกษุณีประมาณ ๕๐๐ ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา นางภิกษุณีเหล่านั้นได้บรรลุโสดาปัตติผล และพากันชื่นชมยินดีในพระธรรมเทศนาของท่าน พระบรมศาสดาทรงทราบ ในวันรุ่งขึ้นรับสั่งให้ไปแสดงธรรมสั่งสอนภิกษุณีอีก ท่านก็ได้ไปแสดงธรรมสั่งสอนนางภิกษุณีตามพระพุทธประสงค์ ยังนางภิกษุณีเหล่านั้นให้ดำรงอยู่ในอรหัตตผล พร้อมกันทั้ง ๕๐๐ องค์


    เพราะอาศัยคุณสมบัติเช่นนี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายข้างให้โอวาทแก่นางภิกษุณี ท่านดำรงเบญจขันธ์อยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระนันทกะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระนันทกะ เป็นบุตรของพราหมณ์ในพระนครสาวัตถี เมื่อเจริญวัยพอจะศึกษาเล่าเรียนได้แล้ว ก็ไปศึกษาศิลปวิทยาตามลัทธิของพราหมณ์อยู่ในสำนักของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ต่อมาพราหมณ์ พราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ออกไปบวชเป็นชฎิล ประพฤติพรตตามลัทธิของพราหมณ์ ตั้งอาศรมอยู่ที่ฝั่งน้ำโคธาวารี ที่พรมแดนเมืองอัสสกะ และเมืองอาฬกะติดต่อกัน เป็นอาจารย์ใหญ่บอกไตรเพทแก่หมู่ศิษย์นันทกมาณพพร้อมด้วยมาณพอื่นอีกออกบวชติดตามไปศึกษาศิลปวิทยาอยู่ด้วย และอยู่ในมาณพ ๑๖ คน ที่พราหมณ์พาวรีได้ผูกปัญหาให้ไปทูลถามพระบรมศาสดาที่ปาสาณเจดีย์ ท่านได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่เจ็ด


    นันทกะ : ชนทั้งหลายกล่าวว่า มุนีมีอยู่ในโลก ข้อนี้เป็นอย่างไร เขาเรียกคนที่ถึงพร้อมด้วยฌาน หรือถึงพร้อมด้วยการเลี้ยงชีวิต ว่า เป็นมุนี ?

    พระบรมศาสดา : ผู้ฉลาดในโลกนี้ ไม่กล่าวคนว่า เป็นมุนี ด้วยได้เห็น ด้วยได้สดับ หรือด้วยได้รู้มา เรากล่าวว่า คนใดทำตนให้ปราศจากกองกิเลส เป็นคนหากิเลสมิได้ ไม่มีความกังวลทะยานอยาก คนผู้นั้นแล ชื่อว่า มุนี

    นันทกะ : สมณพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง กล่าวความบริสุทธิ์ด้วยได้เห็น ด้วยได้ฟัง ด้วยศีลและพรต และด้วยวิธีเป็นอันมาก สมณพราหมณ์เหล่านั้นประพฤติในวิธีเหล่านั้น ตามที่ตนเห็นว่า เป็นเครื่องบริสุทธิ์ ข้ามพ้นชาติชราได้มีอยู่บ้าง หรือไม่ ข้าพระองค์ทูลถาม ขอพระองค์ตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด ?

    พระบรมศาสดา : สมณพราหมณ์เหล่านั้น แม้ถึงประพฤติอย่างนั้น เรากล่าวว่า พ้นชาติชราไม่ได้แล้ว

    นันทกะะ : ถ้าพระองค์ตรัสว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น พ้นชาติชราไม่ได้แล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครเล่าในเทวโลก หรือในมนุษยโลกจะข้ามพ้นชาติชราได้ ?

    พระบรมศาสดา : เราไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์อันชาติชราครอบงำแล้วหมดทุกคน แต่เรากล่าวว่า สมณพราหมณ์เหล่าใดในโลกนี้ ละอารมณ์ที่ตนได้เห็น ได้ฟัง ได้รู้และศีลพรตกับวิธีเป็นอันมากเสียทั้งหมด ละอารมณ์ที่ตนได้เห็น ได้ฟัง ได้รู้และศีลพรตกับวิธีเป็นอันมากเสียทั้งหมด กำหนดรู้ตัณหาว่าเป็นโทษควรละแล้วเป็นผู้หาอาสวะมิได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นแล ข้ามพ้นชาติชราได้

    ในเมื่อจบเทศนาพยากรณ์ นันทกมาณพได้บรรลุพระอรหัตตผล เมื่อพระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ปัญหามาณพนอกนี้เสร็จแล้ว นันทกมาณพพร้อมด้วยมาณพอีกสิบห้าคนทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา ท่านพระนันทกะดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยกาลอันสมควรแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระนันทะเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระนันทะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กับพระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์ เมื่ออยู่ในครรภ์พระมารดา ทำให้บรรดาประยูรญาติมีความยินดีร่าเริงใจใคร่จะเห็น ด้วยเหตุนั้น เมื่อพระราชกุมารประสูติแล้ว บรรดาประยูรญาติ จึงได้ถือเอานิมิต นั้นไปถวายพระนามว่า นันทกุมาร


    เมื่อพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้แล้วเสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์ ประทับอยู่ที่นิโครธาราม ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรด พระราชบิดา และพระนางปชาบดีโคตมี พระน้านาง ประกาศสุจริตธรรม เพื่อให้เกิดความเชื่อ ความเลื่อมใส

    วันหนึ่ง ได้มีการอาวาหมังคลาภิเษก ระหว่างนันทกุมาร และพระนางชนบทกัลยาณี เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปเสวยที่พระตำหนัก ของนันทกุมารเสร็จแล้ว ทรงส่งบาตรให้นันทกุมารถือไว้ แล้วตรัสประทานพร เพื่อเป็นมงคลแล้วเสด็จกลับ ส่วนนันทกุมารใน ขณะถือบาตรตามเสด็จไปพลางนึกรำพึงในใจว่า ถ้าพระองค์ทรงรับบาตรในที่แห่งใดก็จะรีบกลับมา แต่ก็ไม่สามารถ จะทูลเตือน พระพุทธองค์ได้ เพราะมีความเคารพในพระองค์ ส่วนพระนางชนบทกัลยาณีที่เตรียมจะเป็นเทวีของนันทกุมาร ได้เห็นอาการอย่างนั้น จึงร้องสั่งว่า ขอพระลูกเจ้าจงรีบเสด็จกลับมา ครั้นพระบรมศาสดาเสด็จถึงที่ประทับแล้ว จึงตรัสถามนันทกุมารว่า นันทะ ฌะอจักบวช หรือ แม้นันทกุมารไม่สมัครใจจะบวช แต่ก็ไม่สามารถขัดพระหฤทัยได้ เพราะมีความเคารพมาก จึงทูลยอมรับด้วยความจำใจว่า จะบวช ครั้นบวชแล้วหวนระลึ่กถึงแต่คำพูดที่นางชนบทกัลยาณีร้องรับสั่งไว้อยู่เสมอ มีความกระสัน ไม่มีความผาสุกในอันที่จะประพฤติ พรหมจรรย์ต่อไป คิดจะสึกออกมา พระบรมศาสดาทรงทราบเรื่องจึงได้พาเที่ยวจาริกไปในที่ต่าง ๆ เพื่อให้พระนันทะได้พบเห็น หญิงสาวที่มีรูปร่างสวยงามกว่านางชนบทกัลยาณีนั้น แล้วละความรักในรูปของนางชนบทกัลยาณีเสีย และมุ่งหมายอยากได้ รูปหญิงสาวที่สวยงามยิ่งกว่านั้นต่อไป ในที่สุดพระบรมศาสดาต้องเป็นผู้รับประกันว่า ถ้าพระนันทะตั้งใจจะประพฤติพรหมจรรย์แล้ว พระองค์ทรงรับรองที่จะหาหญิงสาวที่สวย ๆ งาม ๆ ให้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พระนันทะก็ตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อจะได้หญิงสาว ที่สวย ๆ งาม ๆ จนเรื่องนั้นแผ่กระจายไปทั่วพวกภิกษุก็พากันล้อเลียนท่านว่า พระนันทะเป็นลูกจ้าง พระนันทะเกิดความละอายหลีก ไปอยู่แต่เพียงผู้เดียว เกิดความดำริขึ้นในใจว่า ความรักไม่มีที่สิ้นสุด เกิดความสลดใจจนบรรเทาความรักเสียได้ เป็นผู้ไม่ประมาท ตั้งใจบำเพ็ญความเพียรจนได้บรรลุพระอรหัตผล

    เมื่อพระนันทะได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ปรากฎว่าท่านเป็นผู้ที่สำรวมระวังอินทรีย์ ด้วยเหตุนี้จึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดา ว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายฝ่ายข้างสำรวมระวังอินทรีย์ ๖ ไม่ให้เกิดความยินดียินร้ายด้วยอำนาจของโลกธรรม และเป็นผู้มีความ เกื้อกูลในปฏิภาณ ต่อมาท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...