ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่จาม มหาปุญโญ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 18 มกราคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    241.
    ตั้งใจอย่าให้ได้เดือดร้อนใจในต่อไป
    ให้รู้จักใจของตน
    ใจพาทุกข์ ใจพาสุข ใจพาพ้นไปได้

    242.
    เจตนาความตั้งใจจนใจตั้งได้ ปิติก็เกิดขึ้น
    สุขก็เกิดขึ้น
    สงบก็เกิดขึ้น
    วิชชาก็เกิดขึ้น
    วิเวกก็เกิดขึ้น
    คำว่า " วิเวก " คือ จิตปลดเปลื้องเครื่องย้อมทาใจ
    ปลดเครื่องข้องในทุกข์ใดๆได้
    เป็นระดับ ต่อไป
    กายวิเวก ใจหลุดจากกาย
    วจีวิเวก ใจหลุดจากคำวาจา
    มโนวิเวก ใจหลุดจากความนึกคิด
    อุปธิวิเวก ใจหลุดจากใจที่หมักหมมทุกข์สุขอยู่

    243.
    อริยธรรม
    ธรรมะอันแท้จริง
    จะเกิดขึ้นได้เพราะความบริสุทธิ์ความบริบรูณ์
    เพราะว่าหมดแล้ว - เชื้อของความทุกข์
    - เชื้อของความสุข
    - เชื้อของอุเบกขา
    เป็นองค์พระธรรมอยู่ตลอดเวลา

    244.
    เกิด - ตาย มันเป็นของแน่นอนทุกชีวิต
    สูง - สูง ต่ำ - ต่ำ เกิด - ตาย ไปมา
    หมุนไปมาอยู่ในโลกอันนี้
    เป็นเพราะเหตุใด ได้คิดอ่านบ้างหรือ

    245.
    จนที่สุดหมดในความยึดถือใดๆแล้ว
    ก็บริสุทธิ์ หมดจด เป็นธรรม
    คำว่า " เป็นธรรม " คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกแล้ว
    ทรงอยู่เป็นธรรม ทรงอยู่อย่างนั้น
    สุขํ - เป็นธรรม
    นิจํ - เป็นธรรม
    อนัตตา - เป็นธรรม

    246.
    ให้เข้าใจไว้เถิดว่า สุขทุกข์ ดีชั่ว ไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่ดีไม่ชั่ว
    มันเป็นโลก - โลกีย์
    คำว่า " โลกีย์ " เป็นทุกข์
    ไม่เที่ยง
    ไม่อยู่ในบังคับ
    มีเกิดมีดับ มียึดมีถืออยู่
    เราทำดีใดๆก็เพื่อเอาความดีเป็นธรรม คือ ธรรมะอันพาให้
    ละได้จากอุปาทานใดๆนั้นเอง

    247.
    ใจตั้งอยู่ขั้นแรกๆนั้นมีลักษณะ สุขสบาย สุขสงบ
    เยือกเย็น เย็นกายเย็นใจ
    ไม่อิด ไม่เหนื่อย
    จนในที่สุดใจอยู่ส่วนใจ กายอยู่ส่วนกาย
    อย่ามาบวชแค่จะตดใส่ผ้าเหลือง
    บวชมาแล้วให้ตั้งใจของตน

    248.
    การถือกายถือใจอยู่ในขณะนี้มันเป็นทุกข์ ให้ทุกข์
    เป็นทุกข์เพราะวางไม่เป็น
    กายก็ทุกข์ของกาย
    ใจก็ทุกข์ของใจ
    อันใจที่ไม่ตั้งนี้แหละมันพาให้เกิดให้ตายในโลก
    มันจึงเป็นตัวบาปคอยบังคับใจ
    เดี๋ยวชั่วพาไปเกิด
    เดี๋ยวดีพาไปเกิด
    เป็นอยู่เช่นนี้ เมารูปเมาใจอยู่ตลอดไป

    249.
    ตัวเราเมาวุ่นวายอยู่กับ เกิดของเก่า ตายของเก่า
    บุญน้อย บาปมากในใจ
    ใจห่วงตาย ใจห่วงบาป
    ใจมันจึงห่วงโลก
    อย่าไปตายเมื่อน้ำหนองแดง
    อย่าไปตายเมื่อข้าวแพงค่า
    อย่าไปตายเมื่อห่าลงเมือง
    อย่าไปตายเมื่อข้าวเหลืองเต็มทุ่ง
    อย่าไปตายเมื่อจิกุ่งร้องฉี่ๆ

    250.
    เราภาวนาอยู่นี้ บุญกุศลได้แน่นอน
    แต่ที่ให้ทำก็เพื่อให้เข้าใจให้รู้จักใจของตน
    มีสติ มีอนุสติ มาปลุกเสกกายใจให้มี พระพุทธคุณ
    พระธรรมคุณ
    พระสังฆคุณ
    จึงว่า ให้ตั้งใจทำทำให้จริง
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    251.
    ตัวเราคนเดียวนี้เอง
    หน้าที่ให้ตั้งใจของตน
    อย่าไปห่วงคนอื่น โลภโกรธ หลง อย่าให้มี
    ยินดี ยินร้าย อย่าให้มี
    ทุกข์กาย ทุกข์ใจ อย่าให้มี
    ยึดมั่น ถือเอาใดๆ อย่าให้มี
    คำว่า " อย่าให้มี " คือ ให้อุตสาหะพยายามดับให้มอดหมด
    ไปจากใจของตน จะได้ไม่ไหลหลงอีกต่อไป

    252.
    เจริญภาวนารักษาใจ ให้ทำไป ให้ยินดีพอใจ ตั้งใจไปอยู่เสมอ เพราะว่า
    ความดีอันเราเก็บมาตลอดนั้นไม่หายไปไหน
    อย่าเอาชั่วเพิ่มเข้าหาใจ
    บุญมันแรงขึ้นมา ใจก็ละหนีจากบุญ
    จึงเป็นแต่ความบริสุทธิ์หมดจด
    ไม่เกี่ยวข้อง ในบุญ ในบาป ในสุข ในทุกข์ อีกต่อไป

    253.
    ให้พยายามตั้งใจในการภาวนาของตน
    ให้มีขันติ ความอดทน
    ให้มีวิริยะ ความเพียร
    ให้มีศรัทธา ความเชื่อ
    ให้เอาสติ ปัญญารักษาไว้
    อันนี้เป็นฐานของใจ อันนี้เป็นฐานของธรรมทั้งหลาย

    254.
    องค์พระพุทธเจ้าสอนให้รู้จักใจ
    ผู้รู้จักใจก็แก้ไขตนเองได้ทั้งหมด
    ปลดละทิ้งได้หมด ละตัวยึดตัวถือใดๆ
    จึงเหลือไว้เป็นธรรม
    " ให้รู้จักใจ - ใจมีอยู่ "

    255.
    กายมันเป็นก้อนธาตุทั้ง 4
    ส่วนใจมันอยู่กับกายจึงแตกเป็นจิต
    ตัวจิตมัน ถือสัญญา ถือเวทนา ถือสังขาร ถือวิญญาณ
    มันจึงเป็นรูป เป็นนาม
    หาก ดับรูป ดับนาม ดับจิต ดับเจตสิก เครื่องพาให้ทุกข์
    เครื่องพาให้เกิด แก่ เจ็บ ตาย วายวุ่น อยู่ในโลกนี้ได้ก็จึงจะเป็นนิพพาน

    256.
    " ไปอยู่เมืองเหนือ รู้จักจากครูบาอาจารย์ว่า เพิ่นครูอาจารย์มั่นเคยไปหลบภาวนาอยู่ที่ใด เราก็ไปเสาะหาภาวนา แม่กอย ดอยแม่กะตำ ถ้ำดอกคำ
    ป่าฮิ้น ผายอง ห้วยงู ปู่จองน้อย ทุ่งบวกข้าว ขึ้นไปจนแม่สรวย ฝาง แม่สาย แม่ทองทิพย์ ไปเสาะภาวนาจนหมด แต่ภาวนาดี ทำไปแล้วได้ความ คือ แถบอำเภอพร้าว จนสูงขึ้นไป เวียงป่าเป้า "


    257.
    ความโง่ไม่ใช่บุญไม่ใช่บาป
    แต่…ไม่รู้จักบุญไม่รู้จักบาปต่างหาก
    หากฉลาดขึ้นมา ก็รู้จักบุญ-บาป ตัวสังขารได้
    รู้จักคือ รู้ตัวสังขาร
    ดับสังขาร ดับอวิชชา
    อวิชชาดับ สังขารก็ดับ
    บุญบาปก็ดับ เพราะฉลาดไม่ถือ

    258.
    ปี 2501 ท่านอาจารย์ ลี ส่งพระมานิมนต์ให้ลงไป แม่ทะพระสะบาย ท่านได้พระธาตุมาจะบรรจุในเจดีย์ในถ้ำใส่ 4 ด้าน ท่านอาจารย์ลีกับพระธาตุพระพุทธเจ้า ถูกกันดีเพราะอานิสงส์การใส่ใจต่อพระศาสนา เสร็จงานแล้วเคี่ยวเข็นอยากให้ลงไปอโศการาม พอดีท่านอาจารย์ชอบบอกว่า “ ติดกิจนิมนต์อยู่ฝาง พระสงฆ์รับทานไม่พอ จะเอาท่านจามขึ้นไปด้วยจะให้ไปเทศน์ไม่มีผู้เทศน์ให้ศรัทธาเขาฟัง ” เลยมิได้ลงไปอโศการาม

    ท่านอาจารย์ลีอยากให้ลงไปช่วยสร้างวัดบ่นอยู่ว่างานกึ่งพุทธกาลก็ไม่ลงไปร่วม จะอยู่ดงอยู่ป่า ไม่เห็นเมืองเห็นนา ก็หรืออย่างไร
    วันบรรจุพระธาตุท่านอาจารย์ลีเทศน์เรื่อง การบูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การบำรุงศาสนา การเสาะหาทรัพย์ ภายนอก ภายใน

    259.
    วัดเกาะคาลำปาง เริ่มแรกท่านอาจารย์ลีไปอยู่ ไปอยู่ไปสร้างจนได้เสนาสนะพออยู่ได้แล้ว จึงได้บอกต่อหมู่พระเณรให้ไปอยู่มาสุดท้ายก็มอบให้ท่านอาจารย์น้อย สุภโร เป็นคนมาอยู่บริหาร จนสืบต่อมาท่านหลวง อยู่ต่อมาเกาะคาลำปางเคยเป็นบ้านใหญ่เมืองโตมาก่อนเก่าแต่บรมโบราณ ตามตำนานพระเจ้าเลียบโลก ก็เกิดมาแต่ยุคสมัยของเจ้าแม่จามเทวี เดี๋ยวนี้เขาเรียกวัดป่าสำราญนิวาส
    ผู้ข้าเคยไปอยู่หลายครั้ง ภาวนาดี จิตสบาย กายสบายแต่ไม่ได้อยู่จำพรรษา หมู่พระเณรมากหลายองค์เลยหนีไปจำพรรษาอยู่ผู้เดียว วัดร้างบ้านลำปางหลวงเก่า พ.ศ. 2501

    260.
    วัดถ้ำพระสบาย ท่านอาจารย์น้อย ท่านอาจารย์สิม พากันธุดงค์ไปอยู่เสาะหาถ้ำจึงพากันสร้างวัด มาทีหลังท่านอาจารย์ลี เข้าไปเห็นเข้าก็ชอบใจ จึงสร้างเจดีย์ขึ้นไว้ในถ้ำองค์หนึ่ง บรรจุพระธาตุขององค์พุทธะเอาไว้
    แม่ศรีอรุณออกเงินช่วยกันกับแม่จำปา แม่เลี้ยงเต่า ได้สล่ากองแก้วมาเป็นช่างสร้าง ปี 2500 ก็บรรจุ พระธาตุแล้วพระธาตุเสด็จหายไป มาปี 2501 ก็บรรจุใหม่ ผู้ข้ายังได้ไปสวดชยันโตให้อยู่ตั้งหลายรอบ ตั้งสุดตั้งสวดๆ อยู่จนเสร็จพิธี
    ผู้หญิงหาผัว เจ้าหัวหาเงิน (พระหาเงิน)
    ผู้หญิงหาผัว จัวหาเมีย (จัว - เณร)
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    261.
    เดี๋ยวนี้ ชั่วปรุงแต่ง
    ดีปรุงแต่ง
    ชั่วไม่มาก ดีไม่มาก
    จึงได้มาทำความดี และยังมีชั่วเกิดขึ้น
    หากดีมากพอ ชั่วไม่เกิด ใจก็บริสุทธิ์ขึ้นได้
    ไม่มีเกิดตายอีกต่อไป

    262.
    คำว่า " มรรค ผล นิพพาน " คือ ไม่มีการหมุน เกิด ตาย ว่ายวนอีกต่อไป
    ดับวัฏฏะ ดับตัณหา
    ดับทุกข์ สุข อุเบกขาใดๆ
    จิตเป็นธรรม นามเป็นธรรม

    263.
    คนไม่ใส่ใจ - คนใส่ใจ มีอยู่ทุกที่ ทุกยุคทุกสมัย
    นับแต่พุทธกาลมาจนวันนี้
    ผู้ใส่ใจก็ได้รับผลอันดี
    ผู้ไม่ใส่ใจก็ไม่ได้ผลอันใด ต้องทุกข์ต่อไป
    ตัวเราคนนี้อย่างไร
    ให้ถามตัวเองบ้าง

    264.
    บัณฑิต คือผู้ฉลาด ผู้รักษาหมู่ชนทั้งหลาย
    รักษาด้วยธรรมะ รักษาด้วยคุณธรรม
    พาล เป็นผู้อ่อนแอ ทำอันตรายให้ผู้อื่น
    เบียดเบียนผู้อื่น ตนของตนก็เมา
    จะเพิ่มความเมาเข้าหาใจอยู่เสมอ มืดเมา
    ไม่รักษาตนเอง

    265.
    การเกิดมามันต้อง เมาในโลก
    เมาในชีวิต
    เมาในวัย
    เมาในความเป็นอยู่สบาย
    เมาในความทุกข์ยากลำบาก
    เมาการงานการหาเลี้ยงครอบครัวตัวญาติ

    266.
    เราเกิดมาเพื่อจะมาทำตนให้พ้นจากเกิดจากตาย
    เพื่อไม่ให้ตนข้องอยู่ในทุกข์อีกต่อไป
    267.
    เดี๋ยวก็สุขเดี๋ยวก็ทุกข์
    ทุกข์มากกว่าสุข สุขก็สุขในทุกข์
    เป็นเช่นนี้เพราะ ถือสุข ถือทุกข์
    ถือจิต ถือใจ
    ถือบุญ ถือบาป
    นี่เองเรียกว่า ปุถุชน คนมืดคนหนา
    ไม่มีปัญญาที่จะละจะวาง
    เอาทองแต่งลิง
    อวดจริงแก่บ้า
    เป็นข้าตัณหา

    268.
    ตัวเรานี้จะไปสูง หรือไปต่ำ
    จะได้ใจรักษาตนเอง หรือจะละเลยเฉยห่าง
    ให้คิดอ่านให้ดี บุญเป็นของโลก
    บาปเป็นของโลก
    ธรรมะเป็นของธรรม
    เป็นธรรมเพราะไม่เกี่ยวแก่ บุญ และบาป

    269.
    ตั้งใจให้ดีนะ
    เราจะกลับไปกลับมา หมุนไปหมุนมา อยู่เช่นนี้อีกนาน
    ดีพาหมุน ชั่วพาหมุน กรรมเป็นเครื่องหมุน
    รู้จักบุญ ก็รู้จักตนเองได้
    สามารถเอาชนะได้
    ชนะใคร ก็ชนะตนเองนี้เอง
    ชนะเพราะรู้ทันตัวเอง
    ฝนมิตกมิฮู้เฮินโฮ้ (ฝนไม่ตกไม่รู้เรือนที่)
    ดังไฟไม้โบ้ได้ทั้งควันทั้งไฟ (จุดไฟด้วยไม้ไผ่แห้สได้ทั้งไฟทั้งต้น)
    พริกอยู่บ้านเหน๋อ เก๋ออยู่บ้านเต้อ (เหน๋อ-เหนือ, เก๋อ-เกลือ)
    เป็นลูกเพ้อ เห้อฮู้จักปันแบ่ง (เต้อ-ใต้, เห้อ-ให้, ลูกเพ้อ-สะใภ้)

    270.
    ให้สามัคคีกัน นับถือกัน เคารพกัน
    รักษาศีล ฟังธรรม ถือครูบาอาจารย์ร่วมกัน
    อยู่วัดร่วมกันจึงจักเป็นสุขอยู่ได้
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    271.
    - ปุถุชน - กัลยาณชน ทำทั้งบุญทั้งบาป
    อันธชน ทำบาปล้วนๆ
    อริยะ ละความชั่วใดๆได้หมด
    ธรรมวินัยของพระพุทธองค์เป็นเครื่องวัดใจคน

    272.
    อย่าไปลงที่ผู้อื่น ให้ลงที่ตนของตน
    ทำความดีใส่ตนไว้ให้มาก
    ประเมินตนเองด้วยธรรมขององค์พุทธะ
    จึงจักรู้ได้ว่าตนดีเท่าใด
    ตนไม่ดีเท่าใด

    273.
    เราภาวนาเพื่อแก้มิให้ใจมัวเมา
    มิให้เมาโง่เมาฉลาดนั่นเอง
    ฉลาด อยาก ก็เมา อยาก
    ฉลาด โกรธ ก็เมา โกรธ
    ฉลาด หลง ก็เมา หลง
    ฉลาด มานะ ก็เมา มานะ
    ฉลาด ทิฐิ ก็เมา ทิฐิ

    274.
    เกิดกับตายมันเท่ากัน สำคัญว่าจะอยู่อย่างไร ให้ได้ในมัชฌิมาปฏิปทา

    275.
    จะไปก็ให้ไปอย่างสุคโต
    อย่าไปอย่างทุคโต
    จะอยู่ก็อยู่อย่าง โลกวิทู ธัมมาวิทู
    จึงจักได้สุข

    276.
    " เป็นคนเฒ่า หลวงตาเฒ่าแก่แล้วนี้
    เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
    เป็นเครื่องพาอยู่ ส่วนพวกเธอทั้งหลายยังหนุ่มยังแน่น
    ให้อยู่ด้วย อสุภภาวนา
    กายคตาสติ
    กำกับปฏิภาคนิมิต
    ให้รู้ละคลายหน่ายกำหนัด "

    277.
    ใครจะประมาทมัวเมาก็ช่างใคร
    ตัวเรานี้ไม่ประมาทเป็นพอ
    ในความเป็นอยู่ใช้สอยนี้แหละ
    ต้องให้เป็นประโยชน์คุณ
    อย่าให้เป็นโทษเป็นบาป

    278.
    ไม่มีสิ่งใดไม่แตกไม่ดับไม่สูญสลาย
    เกิดมาแล้วนี้ตายทุกคน
    ไม่มีใครไม่ตายหรอก
    ก่อนตายมันก็ แก่ เจ็บไข้ แสดงทุกข์ให้ดูให้เห็น

    279.
    ตั้งใจให้ดี
    วันคืนล่วงไปเราทำอะไรอยู่
    อย่าไปอาลัยในอารมณ์ชั่ว
    ......................................................................................................................................
    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือ อรรถธรรมคำแก้ว วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ( หลวงปู่จาม ) ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]อรรถธรรมคำแก้ว ( ตอนสุดท้าย )
    280.
    ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
    เปรียบเหมือนไม้ 3 ลำค้ำกันอยู่
    ชาวบ้าน ชาววัด ธรรมะของพุทธเจ้า
    ก็เช่นเดียวกัน
    ผู้แบก - หนัก
    ผู้ผลัก - เบา
    ผู้เอา - ทุกข์
    ผู้สนุก - หลง
    ผู้ตรง – หลุดพ้นได้

    281.
    ใจเรานี้มันเป็นของเก่า - เก่ามานานแต่เกิดแต่ตาย
    ต้องกลับเข้าหาของเก่า
    ธรรมะเป็นของเก่า
    กิเลสของเก่าใหม่สะสมกันเข้า จึงไม่ถึงของเก่า

    282.
    อาหารใจมันสำคัญกว่าอาหารกาย
    แต่พวกเรามันมัวเมาแต่เลี้ยงร่างกาย
    กายมันได้อะไรบ้าง ตายไปใครเอาไปได้ไหม
    เอาไปแต่สมบัติใจเท่านั้น

    283.
    ขันธ์ 5 เป็นต้นทาง
    พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องนี้ไว้มาก
    ละกำหนัดในขันธ์ 5
    ตั้งใจลงใน อนิจจา ทุกขา อนัตตา
    ก็จักเห็นขันธ์ 5 ชัดเจนที่สุดได้

    อยากกินหลายได้กินเท่าปลายก้อย
    อยากกินน้อยได้กินเท่าโป้งมือ
    โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ

    284.
    “ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านอาจารย์แหวน ท่านอาจารย์ตื้อ เป็นคนเมืองอุบล บ้านหนองไหลไข่นก เป็นพระสงฆ์แท้จริง เอาธุระได้หมดรอบด้าน การปกครอง การสอนหนังสือ การอบรม พระ เณร อุบาสก อุบาสิกา เจ้านายผู้หลักผู้ใหญ่คุณหญิงคุณนายทั้งหลายชอบโวหารของท่านมาก เพราะท่านเทศน์ธรรมได้ตรงไม่อ้อมค้อม ควรด่าก็ด่าก่อน จนว่ากันว่า ใครได้ฟังเทศน์ท่านด่าแล้วสบายใจได้ข้อคิดได้คติธรรม

    การก่อสร้างปฏิสังขรณ์ ก็เอาธุระ ท่านอาจารย์แหวนว่า แต่ก่อนวัดบรมนิวาสทรุดโทรมผุพังเสนาสนะจะหาที่อยู่ก็มิได้ หมู่เจ้าฟ้าเจ้าคุณเห็นว่าผู้คนเคารพนับถือท่านเจ้าคุณฯมากหลาย ก็เลยไล่ให้ไปอยู่วัดบรมนิวาส ท่านไปอยู่แล้วก็ซ่อมแซม บำรุง สร้างขึ้นใหม่ บูรณะจนอยู่ได้ ”

    ชีวิตปฏิปทา ธรรมคำสอนของท่านควรศึกษาเอามาอบรมตนยิ่งนัก เสาะหามาศึกษาเถอะจะได้คุณมากนัก
    ท่านอาจารย์ตื้อ ท่านเคารพระอุปัชฌาย์ของท่านยิ่งนัก พูดถึงพร้อมยกมือไหว้ พระแท้พระจริง มีท่านเจ้าคุณใหญ่ และสองอาจารย์ใหญ่ ท่านอาจารย์ตื้อว่า “ ท่านเจ้าคุณฯ เป็นคนมีรัศมีความเย็น เยือกเย็น ได้อรรถได้ธรรม แจ้งในธรรม กล้าหาญไม่มีใครทัดเทียม ”
    “ ท่านเจ้าคุณฯเป็นผู้เอาวงศ์ธรรมยุติกติกานิกายของพวกเรานี้ ขึ้นไปตั้งอยู่เมืองเหนือ ขอนิมนต์ให้เพิ่นครูอาจารย์มั่นขึ้นไปช่วยเผยแพร่สอนธรรมแก่ผู้คน ชักนำเอาท่านอาจารย์แหวน ท่านอาจารย์ตื้อเข้ามาญัตติเป็นธรรมยุติให้ช่วยเหลืออีกด้านการปฏิบัติ จนที่สุดธรรมยุติก็กว้างขวางทั่วเมืองเหนือ ภายหลังจากทางอีสานเจริญเต็มที่แล้ว ”

    285.
    เพิ่นครูอาจารย์เสาร์ เป็นครูบาอาจารย์ของพ่อออกแม่ออก เป็นพระธุดงค์องค์แรกที่มาบ้านห้วยทราย เพิ่นมาสอนให้ทิ้งผีหอผีหิ้ง ทิ้งผีฟ้าผีแถน สอนให้ไหว้พระสวดมนต์ถือไตรสรณคมน์ สอนสมาธิ สอนให้เจริญเมตตาแก่สัพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย

    เพิ่นมาอยู่ใหม่ๆคนชาวบ้านไม่ค่อยอยากให้อยู่ เพราะผีหอผีหิ้งไม่อยู่บ้านไม่อยู่เรือน ผู้ถือผีก็เดือดร้อนวุ่นวาย เขาว่าพระอัสดงไม่ให้อยู่ เพิ่นก็ไม่ว่าอะไร นานเข้าปีสองปี ผู้คนเคารพนับถือมาก ได้รับผลอัศจรรย์หลายอย่าง ทิ้งผีกันหมดหมู่บ้าน

    เพิ่นจะไม่เทศน์ยึดยาว แต่จะบอกว่า “ อย่าไปทำอันนั้นอย่างนั้นมันเป็นบาป” “ อันนี้ต้องทำอย่างนี้ ” ส่วนมากท่านทำให้ดู พูดสอนพอให้เข้าใจ

    ท่านเป็นคนร่างใหญ่ฉันจังหันได้มาก ชอบแกงหน่อไม้ แกงขนุน บอกให้ใส่ผักขะแยงนา หมากไม่กิน ยาไม่สูบ เสาะหายาหม้อมาต้มฉันชอบฉันน้ำอ้อยต้ม น้ำผึ้ง กล้วยมะนีออง ฉันได้เป็นหวีๆ

    เพิ่นเป็นคนสันโดษ มักน้อย ชอบสอนเด็กน้อย แม่ออกได้ทอผ้าไหมถวาย นิมนต์ให้เพิ่นเย็บผ้าครองจนครบชุด เพิ่นว่า “ คนผู้ไท ทอผ้า-ไหมได้งามทอผ้าฝ้ายได้อ่อนนุ่มดี เอาใจใส่ดูแล พระสงฆ์ องค์เณรดีมาก ”
    พ่อออกได้เรียนวิชาฟอกไหม ฟอกหนัง กับเพิ่นครูอาจารย์เสาร์

    เพิ่นครูอาจารย์เสาร์มาอยู่ก่อน 2 - 3 ปี แล้วเพิ่นครูอาจารย์มั่น จึงได้ตามมาอยู่ - มาอยู่แถวถิ่นบ้านห้วยทราย ภูผากูดนี้ก็หนีที่ทางการจะตั้งให้เป็นพระเจ้าพระนาย เลยหลบภาวนา โปรดผู้คนแถวนี้
    พ่อออกแม่ออกนี้เคารพเพิ่นมาก (โยมพ่อโยมแม่ของหลวงปู่เคารพนับถือท่านหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ยิ่งนัก)
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    286.
    เพิ่นครูอาจารย์มั่นนิสสัยกล้าหาญ เวลาเทศน์อบรมนี้เทศน์อย่างไม่ไว้หน้าใครทั้งนั้น ผิดถูกรู้ชัดเลย เวลาแสดงธรรมไม่เคยอ้างตัวเพิ่นเอง ไม่เคยอ้างชีวิตของเพิ่นที่ผ่านมา แต่อ้างวินัย ใครไม่ปฏิบัติ ฟังธรรมะของเพิ่นไม่เข้าใจหรอก จำก็จำไว้ไม่ได้

    มาอยู่บ้านห้วยทราย ไม่เคยบ่นว่าเรื่องอาหารการเป็นอยู่ มีแต่ อบรม พระเณร ตาผ้าขาว ชี้แจง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆ์คุณ สอนให้รักษาศีล ให้คนเฒ่าคนแก่พาลูกพาหลานไหว้พระก่อนนอน

    ในชีวิตนี้เกิดมา เท่าที่เห็นพระสงฆ์มาก็เพิ่นครูอาจารย์มั่นนี้แหละหมดจด หวังดี ไม่มีพร่องพิว มั่นคงในศาสนา มีเมตตาเปี่ยมล้น
    เพิ่นเอาทั้งคำพูดคำจาสอน เอาทั้งการกระทำเป็นเครื่องสอนผู้คน ทรมานพระ เณร ด้วยอุบายธรรมอันแยบยล
    ได้บวชพระแล้วได้เข้าไปฟังธรรมะของเพิ่น จึงถือเอาประโยชน์ได้มาก ท่านเทศน์ให้ฟังแจกแจงเด็ดขาด ใจเราก็ไม่คัดค้าน ยอมเพิ่นทุกคำพูด ยอมเพิ่นทุกกิริยา

    มาอยู่บ้านห้วยทรายก็หลายรอบหลายปี มาเทศน์เอาหลวงตาทุมอยู่วัดหนองน่อง จนได้อนาคามี
    เทศน์สอนย่าแก้ว จนภาวนาเป็นแต่ยังสาวอายุ 14 - 15 ปี แต่พวกพระเจ้านายมาวุ่นเสียก่อนยังไม่ได้สอนอุบายดีแท้ท่านก็หนีขึ้น อุดร หนองคาย ย่าแก้วก็แต่งงานได้ลูก เลิกกับสามีมาบวชเป็นแม่ชี ท่านอาจารย์มหาบัว มาสอนย้ำลงไปอีกจึงแก้ไขตัวเองไปตามเรื่อง

    287.
    ท่านอาจารย์น้อยเล่าให้ฟังว่า “ เพิ่นครูอาจารย์มั่นเคยปรารภพื้นเพนิสสัย อุปนิสสัยของเพิ่นให้ฟังว่า เป็นคนดื้อซน
    เป็นคนโกง
    เป็นคนไม่ยอมใคร
    เป็นคนมานะกล้า มาแต่ก่อนเก่าหลายภพชาติ

    มาชาติชีวิตนี้บวชมาตั้งใจในธรรมวินัย จึงต้องลำบากในการบำเพ็ญเจริญธรรม ลำบากในบริโภคอุปโภค ครูบาอาจารย์ที่จะเข้าหาศึกษาก็ดีไม่ค่อยจะตรงกับเรื่องที่ตนติดข้องอยู่ แต่ระเบียบของพระวินัยข้อวัตร ธุดงค์ ปฏิปทา ก็ได้เรียนจากสำนักท่านอาจารย์เสาร์ พอปฏิบัติต่อไปก็ติดอยู่ กับไม่รู้ไปไม่รู้มา ต้องเทียวเข้าบางกอกไปสำนักท่านเจ้าคุณอุปาลีฯ ให้แจกแจงธรรมให้แจ้งในอุบายธรรม ปลีกตัวออกปฏิบัติของตน เห็นจะเป็นเพราะโทษของ ความดื้อ ความด้าน ความซน มานะของตน ”

    ท่านอาจารย์น้อยว่า “ เพิ่นครูอาจารย์มั่นสอนมิให้ติดตัวเอง ไม่ให้เห็นว่าตนดี ความดีของตนไม่ให้ติดตน พาเดินลงไปทุ่งนา เพื่อที่จะชี้ให้ดูน้ำบนใบบัว ว่ามันไม่ติดกับสิ่งใดๆ ที่ลับที่แจ้งของความดีอย่าไปคิดอย่าไปหมาย เพิ่นก็ชี้โทษของเพิ่นว่าติดดีมานานหลายปี แก้ดีของตนนี้มันยากนักยากหนา ”

    ก่อนที่เพิ่นครูอาจารย์มั่นจะลงมาจากเมืองเหนือ ก็สั่งกับท่านอาจารย์น้อยว่า “ ไม่ต้องกลับอีสาน ให้อยู่เป็นเค้ากรรมฐานทางนี้อย่าให้ชาวศรัทธาเขาว้าเหว่ ช่วยสงเคราะห์โลก อยู่ไหนก็เพื่อพระพุทธศาสนา ให้จนวันหมดลมเป็นเกณฑ์ว่า ”

    288.
    ท่านอาจารย์สิงห์เกิดก่อน ท่านอาจารย์มหาปิ่นอยู่ 3 ปี แต่พรรษาห่างกันอยู่ 5 ปี

    ท่านอาจารย์มหาปิ่น เรียนหนังสือ ได้ประโยคห้าจึงติดนิสสัยปริยัติต้องมาแก้นิสสัยนี้อยู่หลายปีจึงภาวนาเป็น เทศน์เก่ง อ้างบาลี อ้างที่มา แจกแจงเหตุผลของตำราที่มาได้ดีแม่นยำกว่าท่านอาจารย์สิงห์

    แต่ท่านอาจารย์สิงห์ เทศน์แก้เหตุผลการปฏิบัติได้ดีกว่าพูดเก่งกว่า ไหวพริบปฏิภาณดี แก้ปัญหาได้ว่องไว แก้ใจของผู้ติดขัดการภาวนาได้ดี แก้นิสสัยมิจฉาทิฐิให้กับชาวบ้านได้ดี มีอนุภาพภายในผู้คนเชื่อฟัง

    ท่านสอนเน้นให้ตั้งใจในข้อวัตรภายในภายนอก ให้มุ่งประโยชน์ในข้อปฏิบัติ หวังดีต่อประเทศชาติพระศาสนา
    หากคราวใดได้แสดงธรรม เทศน์ธรรมคู่กันท่านจะให้ท่านอาจารย์มหาปิ่นแสดงก่อน แล้วท่านก็จะแสดงแก้ธรรมให้กระจ่างในการปฏิบัติ พระเณร ผู้คน ก็เข้าใจปริยัติหนังสือของท่านอาจารย์มหาปิ่น แล้วก็นำไปปฏิบัติได้ตามอุบายของท่านอาจารย์สิงห์
    ท่านอาจารย์มหาปิ่นเคารพตำรับตำรามาก เก็บอย่างดีไม่ให้วางที่ต่ำ หรือวางทิ้งทั่วไป

    ส่วนท่านอาจารย์สิงห์เคารพข้อวัตรมิให้ประมาทในข้อวัตรถือเอาแบบอย่างของ เพิ่นครูอาจารย์มั่นได้เกือบหมด

    289.
    ท่านอาจารย์หลุยเล่าให้ฟัง เมื่อคราวอยู่บ้านนาในปี พ.ศ. 2486 ว่าเคยมาอยู่บ้านห้วยทราย วัดหนองน่อง เดินทางมาแต่อุบลกับท่านเพิ่นครูอาจารย์เสาร์ ปลายปี 2475 มาอยู่วัดหนองน่องได้เดือนปลาย

    เพิ่นครูอาจารย์เสาร์มาเทศน์สอนหลวงปู่ลาดคนบ้านบาก แล้วก็ไปบัวขาว เข้าเขาวง ขึ้นไปกุดบาก
    ปีนั้นท่านอาจารย์หลุยบวชมาแล้ว 10 ปี ท่านว่า “ ดีนะจามนะที่เราได้นิสสัยอุปฐากมาแต่ท่านอาจารย์บุญหากไม่ได้มาก่อนคงอยู่ลำบากกับ ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่เพราะต้องมีนิสสัยอันละเอียดสุขุม นะ ”

    พักอยู่วัดหนองน่องพอควรแล้วก็พากันไปตามลำดับทาง
    ท่านอาจารย์หลุยว่า “ ท่านอาจารย์เสาร์ไม่ค่อยเทศน์สอนแต่ทำให้ดู เอาการกระทำเป็นอุบายสอน เช่นว่า กางกลดภาวนาอยู่กลางแดด เดินจงกรมตากฝน หรือเอาจีวรชุบน้ำแล้วห่มตัวเดินจงกรมจนจีวรแห้งคาตัว เราก็ได้อุบายทรมานตนจากครูอาจารย์เสาร์มาใช้ พอถึงกุดไหกุดบาก ก็พลัดหลงกันก็แยกตัวกันไป ได้อยู่ร่วมกันอีกที่วัดสุทธาวาส ”

    อยู่กับท่านอาจารย์หลุยบ้านนาในได้เดือนปลาย ได้คุย ได้ถาม ได้อ่านบันทึกคำสอนของเพิ่นครูอาจารย์มั่น จากสมุดบันทึกของท่านอาจารย์หลุยเล่มเล็กเล่มน้อยหลายเล่ม

    ท่านเก่งในการเขียน เก่งการบันทึก แต่ไม่เก่งทางพูด พูดติดอะ ติดนะ – นะจามนะ ท่านอาจารย์หลุยบอกให้จดคัดลอกเอาไป แต่บอกท่านว่า “ ผมเขียนไม่ค่อยเป็น อ่านได้ จำได้ ก็พอแล้วครับ ”

    ได้อ่านคำสอนของเพิ่นครูอาจารย์มั่นปี 83 – 84 –85 – 86 ในบันทึกหลายเล่ม บางเล่มท่านก็เขียนชวเลขอ่านอยาก แต่ก็ได้รู้หลายอย่าง ได้เข้าใจหายสงสัยก็หลายอย่างหลายเรื่อง
    ท่านอาจารย์หลุยไม่หวงบันทึกอยากให้อ่าน จึงนับว่าได้ประโยชน์หลายอย่าง พอขึ้นไปถึงเมืองเหนือ ท่านอาจารย์ชอบว่า “ ได้ไปสกลพบปะท่านหลุยไหม ” ก็ตอบท่านว่าอยู่ด้วยเดือนปลายครับ ท่านอาจารย์ชอบว่า “ เออดี ”
    “ ดียังไงท่านอาจารย์ ”
    “ ได้คิดอ่านดี ได้ศึกษาดี ”

    290.
    บวชเณรอยู่วัดสุทัศน์ เมืองอุบล ท่านอาจารย์สิงห์ ท่านอาจารย์มหาปิ่น เป็นผู้พาไปบวชตามคำของเพิ่นครูอาจารย์มั่น ส่วนบริขารเณรนั้นได้ครบจำนวนไปแต่บ้านหนองขอนเงินที่ถือไปแต่บ้าน 16 บาท ก็ไม่ได้ใช้ซื้อหาอันใด แม่ชีผู้ถือเอาไปใช้อะไรก็ไม่ได้สนใจ

    พระอุปัชฌาย์ เป็นพระมหา 4 ประโยค เป็นลูกศิษย์ของท่านเจ้าคุณพระอุปาลีฯ แต่ไม่ได้บวชกับท่านเจ้าคุณฯ ท่านอาจารย์มหาปิ่นว่า “ ท่านบวชอยู่วัดสุปัตน์ ไปศึกษาอยู่กรุงเทพฯวัดพิชัย แล้วกลับมาอยู่อุบล ”

    ท่านอาจารย์มหาปิ่นก็ถือบวชกับท่านพระอุปัชฌาย์ พระมหารัฐ รฐฺปาโล องค์เดียวกันนี้ เขาว่าท่านอาจารย์เทสก์ก็ร่วมองค์เดียวกันนี้
    วันไปบวชท่านก็ถามท่านอาจารย์สิงห์ว่า “ จะบวชปฏิบัติ หรือจะบวชเรียนปริยัติก่อน ” ท่านอาจารย์สิงห์ตอบว่า “ อุปนิสสัยของสามเณรชอบปฏิบัติครับ ”

    บวชตอนเกือบค่ำ บวชแล้วก็พักอยู่วัดสุทัศน์ได้คืนหนึ่งตื่นเช้าไปบิณฑบาต กลับมา ฉันจังหันก็ออกมาสมทบกับเพิ่นครูอาจารย์มั่น อยู่นอกเมือง อยู่ป่าใกล้ค่ายกองทหาร
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    291.
    ท่านอาจารย์ลี วัดอโศการาม คนมีอำนาจฝึกฝนในอำนาจมามาก มีเมตตาชอบพอกับผู้ข้าฯยิ่งนัก ผู้คนก็ชอบท่านมาก แสดงธรรมฉะฉาน เป็นคนเกรงใจคนไม่ติดหมู่คณะ ไม่ติดผู้คนชาติตระกูล ไม่ติดอามิส

    อุบายธรรมแยบคายดีมากจนสมเด็จอ้วนสังฆนายก ยอมลงใจตั้งใจภาวนาตาม จนปรากฏผลภาวนาได้ดี

    ท่านมักพูดว่า “ เราเป็นพระกรรมฐานแจกอุบายธรรมพระสมเด็จเจ้าคุณได้เพราะอำนาจของการบำรุงศาสนามามากแต่ก่อนเก่า ”
    ท่านอาจารย์ลี ถ้าต้องการอยากได้พระธาตุบอกกล่าวแก่เทวดาก็ได้มาทันที

    มาสุดท้ายอายุมากผู้คนเขาหุ้มแหนเอาไว้เลยไปไหนไม่ได้ติดอยู่สมุทรปราการ เป็นพระสงฆ์ที่จิตเข้มแข็ง ชอบพอกับท่านอาจารย์ตื้อ พูดคุยกันหัวเราะเอิ๊กอาก เป็นอรรถรสในธรรม ได้ยินท่านชวนกันเดินเท้าไปอินเดียกันอีก แต่ท่านว่ากับท่านอาจารย์ตื้อว่า “ ไม่ไปละทางเท้าไปทางลมดีกว่า ”

    ท่าน 2 องค์นี้พูดธรรมะของกันและกันก็เป็นอันแล้วกันรู้เรื่องกันดียิ่งนัก
    ท่านอาจารย์ลี มักพูดตลกคะนองแต่เป็นธรรมะ
    ท่านอาจารย์ตื้อ มักพูดจาหยาบแต่เป็นธรรมะ
    หากองค์ไหนพูดก่อนแล้วไม่คัดค้านกัน สติปัญญาแหลมคมหนาแน่นเท่ากัน
    ท่านอาจารย์น้อยเป็นคนพูดน้อย แต่มีอุบายธรรมเป็นคนแยบคาย พูดธรรมนอกในมีที่อ้างอิง ถามถูกช่องทางธรรมะไหลออกมาเป็นเทน้ำ
    ครูบาอาจารย์ทั้ง 3 องค์นี้ได้อย่างเพิ่นครูอาจารย์มั่นคนละแขนง

    292.
    ท่านเจ้าคุณอุปาลีฯ เอาเพิ่นครูอาจารย์มั่นขึ้นไปยับยั้งอยู่วัดเจดีย์หลวง ในตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ และเจ้าอาวาสว่าการวัดยังได้สั่งกำชับว่า “ ท่านมั่นเห็นตัวเองแล้วแต่ไม่แจ้งในตัวเองแล้วอย่าได้กังวลกับผม เพราะผมอายุมากแล้วผมรักษา กาย วาจา ใจ ของตนได้แล้ว ”

    ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯดำริแล้วท่านก็กลับลงวัดบรมนิวาส

    เพิ่นครูอาจารย์มั่นก็อยู่กับท่านอาจารย์ลี จำพรรษาเจดีย์หลวง ทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์บวชให้หลวงตาปลัดเกตุ วัณณโก ก็เป็นอันสนองเจตนาของท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯเต็มแบบสมบูรณ์
    พอออกพรรษาก็หนีขึ้นไปเมืองพร้าว ท่านอาจารย์ลีตามไม่ทัน เสาะหาไม่ปะไม่เห็น ท่านอาจารย์แหวนลงไปเฝ้าพยาบาลท่านเจ้าคุณ พระอุบาลีฯที่อาพาธแข้งหัก ตามคำของเพิ่นครูอาจารย์มั่น

    โดยปกติ ธรรมของเพิ่นครูอาจารย์มั่นนั้น และตามคำของท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ก็แสดงว่ายังไม่จบแจ้งในธรรม อีกอย่างเพิ่นครูอาจารย์มั่นนั้นชอบสงบ ไม่ต้องการงานอันยุ่งยาก ไม่ต้องการคุกคลีกับหมู่คณะ จึงได้หนีขึ้นเมืองพร้าว หลบตัวอยู่ ป่าฮิ้นผายอง ห้วยงู แม่ดอกคำ ป่าเมี่ยง ไม่เอาท่านอาจารย์ลีไปด้วย

    ท่านอาจารย์แหวน เล่าให้ฟังอีกว่า เพิ่นครูอาจารย์มั่นหลบหลีกไปแก้ไขตนเอง แต่มันติดอยู่กับคู่บำเพ็ญบารมีที่เคยร่วมสร้างด้วยกันมา ยังติดขัดอยู่ในใจ ต้องเสาะหาแล้วสงเคราะห์ปลดเปลื้องสิ่งนี้ก่อนจึงจะหลุดไปได้ สมกับคำที่ท่านเจ้าคุณอุปาลีฯว่า เห็นตัวเองแล้วแต่ยังไม่เห็นแจ้งในตัวจนที่สุด เพิ่นครูอาจารย์มั่นเสาะหาไปเห็นได้ อยู่บ้านแม่กอยเป็นสาวเฒ่าสร้างเสนาสนะถวายเพิ่นครูอาจารย์มั่น เพิ่นแก้ไขทั้งกายหยาบจิตหยาบ และแก้ไขทั้งกายละเอียดจิตละเอียด สงเคราะห์สาวเฒ่าคนนั้นจนได้อนาคามี แล้วตัวเพิ่นครูอาจารย์มั่นก็แก้ไขตนเองจนแจ้งในตนเองว่าตนเป็นธรรม ธรรมเป็นตนได้ อันนี้ท่านอาจารย์น้อยผู้อยู่ด้วยในพรรษานั้นเล่าให้ฟัง ท่านอาจารย์น้อยคนนี้เป็นคนบ้านนาผักบุ้ง ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ เป็นญาติของท่านอาจารย์เทสก์อยู่จำพรรษากับเพิ่นครูอาจารย์มั่น บ้านแม่กอย เพิ่นครูอาจารย์มั่นสอนให้เพ่งพิจารณากาย ทั้งส่วน อสุภะ ส่วนธาตุ ส่วนปฏิกูล ส่วนอุคคหะ ส่วนปฏิภาค สอนให้รู้สุขทุกข์ สอนให้รู้จักจิต และสอนให้รู้พิจารณาธรรม จำแนกแต่อาการหยาบจนละเอียดด้วยอาการแห่งขันธ์ จนเห็นเป็นพระไตรลักษณาญาณ
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    293.
    ท่านอาจารย์น้อยเล่าให้ฟังว่า “ อยู่บ้านป่งพระเถระรุ่นใหญ่หลายองค์ที่ติดตามเพิ่นครูอาจารย์มั่นขึ้นไปเมืองเหนือ มารวมตัวกัน เพิ่นครูอาจารย์มั่นก็ปรารภขอความเห็นจากหลายๆองค์ว่า จะตั้งสำนัก รับหมู่คณะพระเณรทางภาคเหนือกับทางภาคอีสาน อันไหนดีกว่ากัน หลายองค์ก็หลายความเห็น จึงลงกันไม่ได้สุดท้ายก็แยกย้ายกันไป มารวมตัวกันเพิ่นครูอาจารย์มั่นก็ปรารภขึ้นอีก สุดท้ายก็ลงความกันไม่ได้ ”

    บางองค์ก็ว่า “ เมืองเหนือดีแต่ในที่เราคุ้นเคยผู้คนเขาก็รู้ให้การบำรุงดูแล ศึกษาธรรมดี แต่ในที่เราไม่คุ้นเคยก็อยู่ลำบาก ”
    บางองค์ก็ว่า “ ท่านอาจารย์ใหญ่อยู่มา 8 – 9 ปี ได้ใครบ้างที่ตามออกปฏิบัติ เหมือนกันกับที่อีสาน ”
    บางองค์ก็ว่า “ ภาคเหนืออยู่ปฏิบัติภาวนาดี แต่ผู้คนไม่ค่อยปฏิบัติตามคำพระ ”
    บางองค์ก็ว่า“ ทางอีสานรอให้ท่านอาจารย์ใหญ่กลับคืนอีสานอยู่ ”

    พระเถระครูบาอาจารย์ตอนนั้นก็มีท่านอาจารย์แหวน ท่านอาจารย์ชอบ ท่านอาจารย์สาน ท่านอาจารย์ตื้อ ท่านอาจารย์เทสก์ ท่านอาจารย์น้อย ท่านอาจารย์ขาว และท่านอาจารย์ทองสุก ต่างองค์ก็ต่างความเห็น

    เพิ่นครูอาจารย์มั่นก็ว่าภาระของผมอยู่เมืองเหนือยังไม่จบขอเวลาให้ผมได้พิจารณาเสียสักหน่อย จากนั้นท่านก็ขึ้นแม่สรวย กับท่านอาจารย์น้อย ท่านอาจารย์มนู ไปถึงบ้านแม่กอย ท่านอาจารย์มนูไม่อยากพักจึงขอล่วงหน้าขึ้นแม่สรวยไปก่อนอ้างว่าภาวนาดี ท่านอาจารย์น้อยกับเพิ่นครูอาจารย์มั่นก็เข้าบ้านแม่กอย ไปปะเอาแม่ปันเรไรสาวเฒ่าไม่ยอมแต่งงาน พอเห็นเพิ่นครูอาจารย์มั่นเท่านั้นแหละ ร้องห่มร้องไห้ต้อนรับ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยสนใจวัดวาพระเณรแต่อย่างใด เพิ่นครูอาจารย์มั่นก็ว่า “ อย่าไปไห้ อย่าไปไห้ ตั้งใจของตนให้ดีน้ำตามันพาให้อยู่ในโลก “ เลยหยุดร้องไห้ไปเรียกชาวบ้านมา ปลูกเสนาสนะที่อยู่ที่พัก ทางเดินจงกรม นิมนต์เพิ่น ครูอาจารย์มั่นให้อยู่พัก

    เพิ่นครูอาจารย์มั่นก็เห็นว่า ปลีกออกจากหมู่ก็ดีเหมือนกันจึงตกลง โปรดสอนเอาสาวเฒ่าแม่ปัน ชาวบ้านเขาเคารพเชื่อฟัง ศรัทธามาก บำรุงดูแลอย่างดี บางเรือนปิดประตูเรือนมาจำศีลฟังธรรมอยู่วัด

    สาวเฒ่าแม่ปันทำทุกอย่าง ตักน้ำอาบน้ำฉัน ดายหญ้า พระไม่ต้องทำอะไรชาวบ้านเขาดูแลหมด ท่านอาจารย์น้อยว่าคุ้มค่ามาก ท่านอาจารย์ใหญ่อยู่จำพรรษาบ้านแม่กอย เทศน์สอนเอาแม่ปันจนได้อนาคามีมรรคอนาคามีผล ชาวบ้านคนอื่นก็ได้เปลี่ยนทิฐิความเห็นที่เชื่อผีสางมลางดง ก็เปลี่ยนมานับถือพระไตรสรณคมน์ ตั้งใจบำรุงศาสนา

    สมัยก่อนเรียก วัดสวนแม่ปัน วัดแม่กอย ชาวบ้านเรียก วัดป่าเล-ไลย์ ต่อมาท่านอาจารย์ทองสุก อุตตรปัญโญ ไปอยู่ เปลี่ยนชื่อวัดมาเป็น วัดป่าพระอาจารย์มั่น
    วัดนี้เป็นวัดที่เพิ่นครูอาจารย์มั่นหลบหลีกจากหมู่อยู่กับท่านอาจารย์น้อย
    ตัวท่านอาจารย์น้อยเองก็ได้รับอุบายธรรม ได้รับความเจริญในธรรมก็เพราะอยู่กับเพิ่นครูอาจารย์มั่นในพรรษานั้น
    ออกพรรษาท่านอาจารย์มนูลงมาจิตวิปลาสต้องแก้ไขกันอยู่นานจนหาย
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    294.
    มีพระรูปหนึ่งคนบ้านน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม องค์นี้บวชกับเจ้าคุณจันทร์ เขมิโย เมืองนคร ขึ้นเมืองเหนือไปเสาะหาเพิ่นครูอาจารย์มั่นไปพบปะกับท่านอาจารย์น้อยอยู่ลำปางท่านอาจารย์น้อยเอาขึ้นไปส่งเชียงใหม่ แม่แตง ไปอยู่กับท่านอาจารย์ชอบ จึงได้พบปะกับเพิ่นครูอาจารย์มั่นขอติดตามขึ้นไปอยู่แม่สรวย ไม่ค่อยยอมลงเพิ่นครูอาจารย์มั่น ไม่ค่อยลงเท่าใด แต่ก็อยู่ด้วยได้เพราะเป็นคน เอาจริง ทำจริงเสียแต่ทิฐิมานะไม่ยอมลงให้ใคร จิตแส่ส่ายหาแต่สาว เพิ่นครูอาจารย์มั่นสอนว่าให้ก็ไม่ค่อยฟัง

    เพิ่นครูอาจารย์มั่นก็เอาลงมามอบให้ ท่านอาจารย์เทสก์อยู่บ้านป่ง เพราะรู้ว่าชอบใจที่จะไปมากับท่านอาจารย์เทสก์

    เพิ่นครูอาจารย์มั่นก็บอกไว้อยู่ว่า ให้ระวังตาระวังใจในเรื่องผู้หญิง ท่านอาจารย์เทสก์ก็ช่วยระวังอยู่ คงเป็นเพราะกรรมเก่าของท่าน ออกจากหมู่ไปวิเวกไปกับท่านอาจารย์เทสก์ ไปพักรุกขมูลใกล้แม่ปั๋ง เป็นวัดร้าง ไปเห็นหนุ่มสาวมากอดกุมกามกันอยู่ เกิดความกำหนัดอยากในกาม พลุ่งพล่านอยู่ ท่านอาจารย์เทสก์ช่วยระวังให้อุบายธรรม ใจก็ไม่เอา

    บอกแต่ว่า “ ผมคงไม่รอดแล้วหักใจห้ามใจไม่ได้ ใจไม่ยอมลง เห็นแต่ภาพของสาวคนนั้น ผมรู้มาว่าไอ้หนุ่มคนนั้นไม่เอา เล่นกามเฉยๆ กายใจผมมันมึนตึงไปหมด ภาวนาอย่างใดก็ไม่ลง นึกอุบายอันใดก็ไม่ออกนึกถึงท่านอาจารย์ใหญ่ก็ไม่เห็น ผมคงไม่ไหวแล้ว ”

    เลยหนีท่านอาจารย์เทสก์ไปวิเวกองค์เดียวบาปกรรมเวรมีพอพลัดหลงป่าไปเจอสาวงามคนนั้นเข้าอีกจึงตกลงลาสิกขาทิ้งบริขารไว้ เลยไปเอาสาวงามคนนั้นมาเป็นเมีย

    ท่านอาจารย์เทสก์ไปตามได้แต่บริขารกลับคืน อันนี้ท่านอาจารย์น้อยเล่าให้ฟัง ท่านอาจารย์น้อยว่าใครก็สอนเอาก็มิได้ ครูอาจารย์ใหญ่สอนก็ไม่ลง ลงให้แต่ท่านอาจารย์เทสก์ แต่ท่านอาจารย์เทสก์ก็เอาไม่ไหว สมกับที่เป็นนักเลงปล้นมาก่อน ไปปล้นเมืองลาวแล้วข้ามน้ำมาอยู่เมืองไทย เขาตามฆ่าเลยไปขอบวชเมืองนครได้ยินกิตติศัพท์ เพิ่นครูอาจารย์มั่นจึงตามขึ้นไป ไปตายเพราะสาวงามเมืองพร้าว ได้แต่ทิ้งบริขารไว้กลางป่า
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    295.
    “ อยู่กับท่านอาจารย์อ่อน บ้านหนองบัวบาน อะไรนิดก็ดุก็ว่า อะไรนิดหน่อยก็ดุก็ว่า กลัวเราทำผิดศีลของเณร ผิดเสขิยวัตร บอกสอนอะไรก็สอนแต่ว่าให้เอาเพิ่นเป็นตัวอย่างเป็นครู อยู่กับอาจารย์องค์ใดให้เอาอย่างอาจารย์องค์นั้น แม้จะทำไม่ได้ครบอย่าง แต่ให้เป็นศิษย์มีครู อย่าเป็นศิษย์เลยครู ไม่มีครูอาจารย์ ให้รักษาแบบแผนแบบอย่างของพระป่ากรรมฐาน ที่มีตัวอย่างแนวปฏิปทาดั้งเดิม ”
    “ เราเป็นเณรก็ได้ฟังท่านครูอาจารย์อ่อนโต้วาทีต่อสู้กับญาติพี่น้อง จนสุดท้ายทรมานเขาได้ คนเชื่อก็มี คนไม่เชื่อก็มีอยู่ แต่คนเชื่อถือมีมากกว่า ตัวเราก็เป็นเณรหนุ่มต้องหลบซ้ายหลบขวากับหลานสาวของเพิ่น เพิ่นก็ด่าว่าให้ กลัวเราไปรักหลานสาวของเพิ่น ”

    296.
    “ ท่านอาจารย์ตื้อแสดงธรรมหยาบแต่มีผลละเอียด เพราะอธิบายธรรมได้พิสดารอีกแบบหนึ่ง ทั่วประเทศไทยแสดงธรรมได้อย่างนี้มี ท่านอาจารย์ตื้อองค์เดียว แต่เวลาเราถามขอให้อธิบายท่านกลับไม่อธิบายให้ละเอียด บอกแต่ว่า ตามี หูมี ใจมี เอาตัวเจ้าของเป็นเครื่องวัด อย่ามาเอาสัญญา อย่ามาเอาของหยาบ”

    ท่านอาจารย์ตื้อใช้วาจาด่าก็ด่าเป็นธรรม คนไม่รู้ภาษาของท่านก็ว่าท่านด่าท่านพูดหยาบ ด่าไปหมดใครมาผิดท่าท่านด่าไว้ก่อน แต่ต่างคนก็ได้ธรรมะ ผิดกันกับพระเมืองเหนือแสดงธรรม แต่เป็นธรรมป้อยอ พวกเจ้านายไม่ค่อยชอบฟัง แต่มาชอบท่านอาจารย์ตื้อด่าให้
    ท่านอาจารย์ตื้ออยู่วัดดาราภิรมย์ก็นาน อยู่วัดห้วยน้ำรินก็นาน
    ท่านอาจารย์แหวนอยู่บ้านป่งก็นาน ภายหลังอาจารย์หนูเอาไปอยู่แม่ปั๋ง
    ท่านอาจารย์ชอบอยู่ผาเด่ง ผาแด่น แต่ชอบไปนั่นนี่ไม่ค่อยอยู่กับถิ่นกับที่ ถือธุดงค์ได้แบบได้อย่างดี

    297.
    “ หลักสูตรการเรียนปริยัติของพระธุดงค์โบราณ ไม่มีเรียนนักธรรมตรี โท เอกอย่างสมัยนี้ หนังสือเรียนก็มีบุพพสิกขาวรรณา มหาขันธกวรรณา นวโกวาท ปาฏิโมกข์ ใบลานโบราณ หนังสือก็หายาก ต้องรักษาไว้อย่างดี ห่อแล้วห่ออีก

    ผู้ข้าฯก็ได้หนังสือจากท่านอาจารย์สิงห์ ท่านอาจารย์อ่อน ท่านอาจารย์อ่อนไม่ค่อยอยากจะให้ เพราะว่ากลัวจะรักษาไม่ได้ แต่ก็รับรองว่าจะรักษาไว้อย่างดี ท่านจึงยอมให้อ่าน อยู่ขอนแก่นวันหนึ่งรีบไปตักน้ำ อ่านหนังสืออยู่เลยวางหนังสือไว้กับพื้น ท่านอาจารย์อ่อนมาเห็นเข้า ก็เอาหนังสือกลับไปเลยแถมยังถูกด่าอีก
    ขึ้นเมืองเหนือลงมาบ้าน ได้หนังสือมุตโตทัยของเพิ่นครูอาจารย์มั่น ท่านเจ้าคุณจูม เป็นคนพิมพ์แจกท่านอาจารย์หลุยเป็นผู้เอาให้”
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    298.
    ท่านอาจารย์แหวน ท่านอาจารย์ตื้อ ก็ว่าเก่งกล้าที่สุดแล้วพากันไปธุดงค์บางที่บางแห่งก็ยังสู้ภูตภูมิเทวดาต้องต่อสู้กันอยู่เป็นยกพวกภูมิเขาจึงยอมให้

    การเดินธุดงค์แสวงหาสถานที่ปฏิบัติบำเพ็ญภาวนา เสาะหาที่อยู่หากได้สถานที่เหมาะที่ควรก็เหมาะแก่การภาวนา หากไปอยู่บางที่ภูมิเจ้าที่เขาหวงที่หวงถิ่นก็อยู่ลำบาก อยู่ไม่ได้ก็มี ท่านอาจารย์แหวนเคยเล่าให้ฟังว่าอยู่ภูพระบาทหอนางอุษา ภูมิเจ้าที่เขารังควานอยู่หลายวัน สุดท้ายก็ยอมให้อยู่ เพราะเห็นว่าพระธุดงค์หมู่นี้ไม่มีพิษไม่มีภัยใดๆ

    ภูมิเทวดา รุกขเทวดา ผีป่าทั้งหลาย เขาก็เหมือนกับพวกเรานี้แหละ ความหวงแหน ความรัก ความชัง ความโลภ ความหลง ก็ยังมีอยู่บ้าง แต่เขาอยู่สบายเพราะอยู่ด้วยอำนาจทิพย์อันเกิดแต่บุญกรรม

    แม้แต่สมัยพระพุทธกาลพระเถระ 500 องค์ไปบำเพ็ญอยู่ในป่าก็พากันภาวนาอยู่ปฏิบัติจนซีดผอมเหลือง กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า องค์พระพุทธเจ้าแก้ไขให้กลับไปอยู่ที่เก่าเจริญเมตตาปฏิบัติธรรมให้ดี ปฏิบัติตนใหม่ ก็อยู่ไปได้จนที่สุดได้สำเร็จหลุดพ้นไป
    การอยู่ป่าภาวนาเสาะหาธรรม หากได้สถานที่เป็นมงคล เป็นสัป-ปายะ เราผู้ปฏิบัติธรรมก็ได้ผลหลายประการ แต่ต้องสำรวมรักษาอินทรีย์ สิกขาบทน้อยใหญ่ต้องถี่ถ้วนหมด ให้ระมัดระวังในเรื่องพระวินัย ต้องประกอบความเพียรอย่างสม่ำเสมอ จะเกียจคร้านนอนมากมิได้ ไม่ประมาท เพราะอันตรายมีอยู่รอบตัว

    บางฤดูก็หนาว บางที่ก็อับอากาศ กลางวันนี้โปร่งโล่งพอตกกลางคืนอาการอับเหม็นก็มี บางที่เราอยู่แล้วเป็นไข้ บางที่สัตว์ป่าก็ให้อันตราย เช่น ช้างป่า เสือ งู พวกเลื้อยคลานไปมา

    แต่พวกเราอยู่ในที่อันตรายเช่นนั้น ใจมันกลัวตายสติมั่น มั่นคง ใจตั้งอยู่ได้ง่าย มันก็ดีอีกอย่าง มันได้หมู่อยู่ด้วยคือสติละเอียด
    ท่านอาจารย์ตื้อไปอยู่น้ำตกแม่กลางใหม่ๆคนไม่รู้จักฝนก็ตกตลอดวันตลอดคืน ออกไปบิณฑบาตก็ไม่ได้ต้องอดข้าวอยู่หลายวัน พอฝนหยุดตกน้ำก็ดื่มกินไปก็เหม็นคาวเลือดทั้งลำห้วย

    อันนี้พวกนาคเขาไม่อยากให้อยู่ แต่ท่านก็อดทนต่อสู้ อาศัยแต่ธรรมะเอาชนะพวกนาค สอนด่ามันสุดท้ายมันก็ยอม อาศัยศรัทธาความเชื่อมั่นเป็นต้นทาง เอาเมตตาสู้มัน มันก็ยอม ผู้คนก็มาทำบุญให้ทาน

    299.
    ท่านอาจารย์แหวนพูดถึงท่านหลวงปู่บุญว่า “ ไม่ค่อยชอบหมู่มากแม้อยู่กับหมู่ก็อยู่ปลีกตัวคนเดียวห่างออกไป ไม่ชอบคลุกคลีอยู่กับหมู่คณะ เป็นคนแข็งแรงเดินเร็ว ไปไวมาไว ท่านอาจารย์ให้เหตุให้ผลว่า การอยู่กับหมู่คณะมากองค์นั้นเป็นคณะปลิโพธ พาให้กังวลพลุกพล่านกันอยู่ ไม่สงบ มากเรื่องวุ่นวาย หากอยู่คนเดียวจะอยู่อย่างใด ก็เป็นความสบายได้ง่าย แม้การบิณฑบาตก็เพียงพอง่าย

    การอบรมพระเณรหมู่คณะแม้มากน้อยท่านก็อบรมแสดงธรรมชี้แจงอยู่ทุกวัน ประมาณชั่วโมงครึ่ง จากนั้นก็เลิกแยกย้ายไปปฏิบัติตามอัธยาศัย

    แต่ธรรมะของท่านอาจารย์บุญ แจ่มแจ้ง หนักแน่น ชวนปฏิบัติ ตัวท่านก็ทำให้ดู ทำอย่างท่านแสดง พูดอย่างท่านทำ ”

    300.
    เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้

    ..........................................................................................................................................

    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือ อรรถธรรมคำแก้ว วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ( หลวงปู่จาม ) ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร
     
  12. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,803
    ค่าพลัง:
    +18,982
    ขอโทษนะครับ ในภาพนี่เป็นวัดป่าหินหมากเป้ง หนองคายรึเปล่าครับ?
     
  13. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    ใช่ครับพี่ภาพนี้ไปวัดหินหมากเป้ง ตรงพลาญหินครับ
     
  14. โสภา จาเรือน

    โสภา จาเรือน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,013
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,332
    อนุโมทนาสาธุบุญเจ้าค่ะ

    จงเตือนตนด้วยตนเองสักแต่ว่าตัวตนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป เหมือนต้นไม้ออกดอกออกผล<O:p</O:p


    ล่วงหล่นไปเมล็ดเกิดใหม่ก็มาจากต้นไม้เดิ<O:p</O:p
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    มหาปุญโญวาท 6

    มหาปุญโญวาท 6 : คำนำ
    คำนำหน้าพาให้อ่าน

    ถาม : ข้าแต่ท่านพระอาจารย์
    ท่านเก็บอรรถเก็บธรรมอันเนื่องมาแต่องค์หลวงปู่ทั้งหมด เท่าที่นับดูจำนวนเล่มทั้งหมดได้ เล่มนี้เป็นเล่มที่ ๑๐ ท่านเห็นประโยชน์อย่างใดหรือ?
    ตอบ : เก็บรวบรวมไว้เพื่อประโยชน์ของท่านผู้อ่านศึกษาจะได้รู้จักในคติธรรมคำสอน แนวเนตติ ปฏิปทาในพระธรรมวินัยอันผ่านการประพฤติปฏิบัติของพระอุปัชฌาย์ พ่อแม่ครูบาอาจารย์อีกผู้หนึ่งให้ปรากฏเท่านั้น
    ถาม : ท่านหวังอย่างอื่นอีกหรือไม่?
    ตอบ : ก็ตามคติแล้ว การสร้างหนังสือธรรมะ ย่อมได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งโลกทั้งธรรม ในทางโลกก็จะเป็นเกียรติคุณ คือว่า ได้เกื้อหนุนให้ผู้คนได้รู้ได้เข้าใจ ได้ประพฤติดีประพฤติชอบในธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไป ในทางธรรมก็จะได้รับในรสของธรรมะนั้นๆ เข้าจับจิตเข้าจับใจจนเป็นเหตุต้นหนทางอันบริสุทธิ์สะอาดได้
    และเมื่อโดยทั่วไปแล้ว
    การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมมีผลอันดีอันเลิศอันไพศาล
    เช่นว่า ผู้ให้ก็ย่อมสุขใจว่าได้ให้ คือ แนะให้ทำอันชอบ แนะให้ประพฤติอันดีงาม
    ผู้รับก็ย่อมมีแก่ใจรับ เพราะได้รับแล้วในเนื้อธรรมแท้ๆ นี้ ไปไตร่ตรอง ตรวจตรา ประพฤติปฏิบัติตาม ตลอดจนได้แนะนำเจือจานผู้อื่นในสุจริตธรรมเหล่านี้เป็นต้น
    ถาม : มีอย่างอื่นอยู่อีกหรือไม่?
    ตอบ : เก็บรวบรวมเป็นเล่มขึ้นมานี้ก็เพื่อตอบแทนในอุปการะแห่งท่านทั้งหลายทุกท่านที่ได้เกื้อหนุนพระพุทธศาสนานี้สืบมา
    ถาม : ก็ได้ความว่าท่านรวบรวมขึ้นมาด้วย อุตสาหะบากบั่นนี้ก็เพื่อให้ผู้คนได้รู้จักข้อประพฤติอันสุจริตอันก่อประโยชน์อันเป็นสติธรรมปัญญาธรรม เป็นเช่นอย่างนั้นกระมัง
    ตอบ : เข้าใจถูกต้องแล้ว
    ถาม : ท่านคงเข้าใจว่า ตนแห่งครูบาอาจารย์ของท่านหรือแม้แต่ตัวท่านเอง หรือธรรมะขององค์หลวงปู่และคติของท่านพระอาจารย์ ดีกว่าของนักปราชญ์พระอุปัชฌาย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ชั้นโบร่ำโบราณ อย่างนั้นหรือ
    ตอบ : ทำไม...? เธอจึงว่าเช่นนั้นเล่า ?
    ถาม : เกล้าก็เห็นว่าหนังสือเก่าๆ ก็มีมากนัก ปราชญ์โบราณแสดงไว้ก็มีอักโขหรือแม้แต่พระไตรปิฎกก็แจกแจงไว้แล้วตั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ๓ หมวดปิฎก หรือแม้แต่เอาแค่ชั้นต้นยุคต้นวงศ์ของพระกรรมฐานธรรมยุตนี้ก็เกลื่อนกล่นล้นหลาม จะนั่งอ่านนอนอ่านแต่หนังสือเหล่านั้นชั่วชีวิตนี้ก็ไม่จบไม่หมดแล้วอย่างนี้ท่านพระอาจารย์ไม่เหนื่อยเปล่าหรือไม่สิ้นเปลืองไปหรือเอาเวลาที่มานั่งขีดเขียนนี้ไปปฏิบัติเพื่อเอาตัวให้รอดมิดีกว่าหรือครับ

    ตอบ : อ๋อ...เธอเข้าใจว่า การที่อัตตโนคร่ำเคร่งกับกระดาษอักษรเช่นนี้ เพื่อจักรวบรวมเรียบเรียงหนังสือธรรมะ เพื่อจะอวดตนต่อธรรม , เพื่อจะอวดอ้างครูของตน และตนเอง , เพื่อจะอวดดิบอวดดี หรือยกตนข่มท่านผู้อื่นแลหมิ่นประมาทในปราชญ์ชั้นโบราณตลอดจนปราชญ์ร่วมยุคร่วมสมัยนี้อย่างนั้นสิ
    โปรดอภัย...ความเข้าใจของเธอผิดไปแล้ว
    ความจริงนักปราชญ์โบราณท่านเฉียบคมยิ่งแล้ว ใครจะหาญกล้าเข้าไปเปรียบเทียบได้ องค์ท่านเหล่านั้นได้อรรถาธิบายเอาไว้ แสดงสิ่งใดก็ชัดเจนแจ่มแจ้งในสิ่งนั้น ว่าสิ่งใดไว้สิ่งนั้นก็ลึกซึ้งกินใจ ประกาศสิ่งใดเอาไว้สิ่งนั้นก็เป็นธรรมเป็นประโยชน์ยิ่งที่สุดแล้ว อัตตโนหรือครูบาอาจารย์ของอัตตโนหรือในชั้นแห่งปาเจราจริยาจารย์โน้นก็ตาม ต่างก็มีความเคารพนับถือกราบไหว้บูชาอยู่เหนือเศียรเกล้า เทิดทูนเหนืออื่นใด หนักแน่นเป็นที่สุดแล้ว
    ที่มาพอใจยินดีรวบรวมไว้นี้
    ก็ได้มาแต่พระอุปัชฌาย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์นับรุ่น-นับรุ่นมาจนปัจจุบันนี้ วิชาความรู้อะไรของอัตตโนเองนั้นไม่มีอะไรเลย
    ถาม : ถ้าอย่างนั้นท่านพระอาจารย์จะต้องรวบรวมให้เหนื่อยเปล่าทำไม ?
    ตอบ : ไม่เหนื่อยหรอก เพราะอัตตโนพอใจทำ
    และที่พอใจทำก็เพื่อจะผ่อนผันและระบายสมมติจากชั้นของคนเก่ามาสู่ชั้นของคนใหม่ให้ลงรอยกัน ให้ไปกันได้ และให้เข้าใจได้โดยง่ายๆ ก็เท่านั้น
    ถาม : สมมติใหม่ – สมมติเก่าอะไรอีกเล่า ?
    ตอบ : ก็สมมติภาษาที่นำมาบรรยายธรรมนี้หล่ะ
    นับแต่พุทธกาลมาจนบัดนี้ หลายชั่วคนนัก เปลี่ยนยุคเปลี่ยนคราวเป็นภาษาสมมติ เปลี่ยนบัญญัติเป็นลำดับมา
    แม้จะเป็นเรื่องอันเดียวแต่ก็มีเก่ามีใหม่ ชื่อลงกันแต่อาการของผู้ศึกษามิอาจลงรอยเดียวกัน อย่างนี้เป็นต้น
    ยิ่งนับเนิ่นนานสืบมา ยิ่งทำให้กังขาแลพิศวงในพระธรรมวินัยคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาหลายสืบรุ่นต่อรุ่นมาแล้ว ครั้นได้ตรองตามประสงค์ของพระโบราณจารย์เจ้าแล้ว จึงได้แปรอักขระพยัญชนะภาษาเพื่อจะได้สื่อสารผ่านถ่ายให้ตรงกัน เพื่อประโยชน์แก่ผู้ศึกษาเล่าเรียนต่อไป
    และแน่นอนจะมิให้เสียหลักเดิม มิให้เป็นคติความเข้าใจของตัวมิให้เป็นความเห็นโดยส่วนตัวเข้าไปเจือแทรกในอรรถธรรมเหล่านั้น เป็นแต่เปลี่ยนแปลงให้เหมาะให้ควรแก่ยุคสมัย และผู้คนเท่านั้น
    รวมความว่าการบันทึก เรียบเรียง เพิ่มเสริมเนื้อหา ก็เพื่อเป็นส่วนของอรรถาธิบายแก่คนชั้นใหม่จะได้เข้าใจได้โดยรวดเร็วเท่านั้น
    ถาม : ถ้อยคำเก่า หนังสือเก่า
    ตอบ : ใช้ได้ตลอด
    แต่ไม่ค่อยรู้จักใช้
    ภาษาทุกภาษาใช้ได้ ถ้าหากฟังแล้วเข้าใจ แต่นี่คำพูดคำกล่าวขององค์หลวงปู่โดยมาก เป็นภาษาชายขอบผู้คนภาษากลางก็ยากจะเข้าใจ เหมือนดังเครื่องประดับเครื่องใช้สอยของคนโบราณ เช่นที่มีอยู่ตามพิพิธภัณฑสถานต่างๆ หากเราผู้คนในยุคนี้เอามาใช้สอยก็เป็นอันว่าใช้ได้แต่ไม่เหมาะ จะต้องได้แต่ความหัวเราะเยาะเย้ยหยันจากผู้คนยุคนี้ไปเท่านั้น นี่เช่นกันคำพูดยุคหนึ่ง หนังสือยุคหนึ่งก็จะเป็นที่เข้าใจของคนยุคนั้น พอแปรเปลี่ยนยุคผู้คนก็แปรไป หรือเธอจะมีข้อคิดอย่างใด จงว่ามา
    ถาม : ท่านพระอาจารย์ชี้แจงมาก็พอฟังได้ พอเข้าใจได้ เปรียบเปรยได้ดี ขอถามให้ชัดอีกสักข้อเถิด ท่านมิได้ต้องการว่าเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงเพราะว่าเป็นเจ้าตำรับตำรา เป็นผู้เขียนเป็นผู้รวบรวมอย่างนั้นสิ
    ตอบ : อัตตโน จะเอาชื่อเอายศอะไรกับธรรมะ
    อรรถธรรมคำพูด คำของพระอุปัชฌาย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ องค์ท่านเหล่านั้นก็สืบมาแต่ธรรมวินัยของพระบรมครูทั้งหมดทั้งสิ้น มิใช่คำของอัตตโน มิใช่เกียรติยศอะไรของอัตตโนหรอก
    เกียรติศักดิ์ เกียรติคุณใดๆ คุณงามความดีใดๆ หากเกิดหากมีขึ้นเพราะการกระทำของอัตตโน พร้อมด้วยคณะศิษย์ทุกหมู่เหล่านี้ ก็ขอได้เป็นเครื่องบูชาอันประณีตในพระรัตนตรัยเจ้านั้นเถิด
    ถาม : เกล้ายินดีพอใจมาก ขออนุโมทนาสาธุด้วย
    จากการได้อ่านศึกษาเกือบจะครบทุกเล่มที่ผ่านมาแล้ว นับว่าได้ประโยชน์มากค่ายิ่งนัก ลึกล้ำ สุขุม แอบซ่อนให้สืบเสาะค้นหา และที่สำคัญยั่วยุให้เกล้าได้ประพฤติปฏิบัติตาม
    และวันนี้จะขอปฏิญญาณตนต่อหน้าท่านอาจารย์ว่าในอรรถธรรมคำสอนขององค์หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ เกล้าผู้นี้ “จะเดินตามทำต่อ” จะรักษาไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่
    ตอบ : ขออนุโมทนาสาธุการ
    ขอจงเป็นผู้เจริญสืบไป
    เจริญพร...

    ๏ กราบ กรานพระพุทธเจ้า กรุณา สัตว์นอ
    ขอบ คุณพระที่พระคุณพา สัตว์พ้น
    พระ องค์แผ่เมตตา ต่อมนุษย์
    พุทธ เจ้าจับเหตุต้น ดับด้วยธรรมา ๚๛

    ขรรค์ชัย บุนปาน
    มติชนรายวัน อาทิตย์ ที่ ๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ หน้า ๓
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    มหาปุญโญวาท 6 : ภาค ๑ มหาปุญโญวาท 1
    ภาค ๑
    มหาปุญฺโญวาท

    ประกาศตนต่อความเพียร
    “กายไม่ไหวแล้วหล่ะ แจ๋วเอ๋ย...
    ปีนี้ทำไม่ได้แล้ว”
    วันนี้หลวงปู่ได้บอกต่อผู้เขียนว่า องค์ท่านถือปฏิบัติเนสัชชิกในวันพระช่วงเข้าพรรษาตลอดมาทุกปี แต่พอลุมาปีนี้พรรษานี้ทำมิได้แล้ว เพราะรูปกายกำลังเรี่ยวแรงต่อสู้มิไหว
    แต่ปีก่อนๆ ทั้งนอกและในพรรษาองค์ท่านจะทำได้ตลอดมา
    นี่นับว่าเป็นตัวอย่างแห่งครู
    และศิษย์ที่จะเอาอย่างครู
    และการปฏิบัติขององค์ท่านนี้ก็ทำมาอย่างเรียบเงียบ ผู้อยู่ใกล้ชิดจะรู้จักได้ ครั้นอายุมากขึ้นจะนอนพักเฉพาะกลางวัน ไม่นอนตอนกลางคืน เพราะองค์ท่านเคยให้คำอธิบายว่า “เป็นเครื่องประกาศคุณของความเพียร”
    หมายถึงการถือปฏิบัติในเนสัชชิกอันเป็นกิริยาหนึ่งของความพากเพียรในการประกอบจิตจำเพาะจิตนั่นเอง
    ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๐

    “ หยุด” แล้วก็ “ดูตัวเอง”
    ( คุณย่าชีแก้ว เสียงล้ำ)
    คุณย่าชีแก้ว ว่า “ซึง” แล้วกะ “เบิ่งเจ้าของ”


    องค์หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ว่า “ คิดเท่าไหร่ไม่รู้
    ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้
    แต่ต้องอาศัยคิดนั่นแหละจึงรู้”

    องค์หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ ว่า “ หยุดเพื่อรู้
    รู้เพื่อหยุด”
    ( อย่าแล้วกะ ฮู้จักได้
    ฮู้จักได้แล้วกะอย่าได้)
    ( อย่า = หยุด ฮู้ = รู้ )
    ครั้นได้สืบค้นที่มาของคตินี้แล้วทราบว่า เมื่อครั้งที่คุณย่าชีแก้ว เสียงล้ำ กับเพื่อนชีเข้าศึกษากับองค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าหนองผือ มีพระเถระผู้เรียนมากศึกษาตำรามามากรูปหนึ่ง เข้ากราบถาม องค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต โดยเอาปริยัติมาถาม มิใช่เอาปฏิบัติมาศึกษาหาความ
    องค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้กล่าวเสียงดังหนักแน่นเน้นน้ำหนักคำพูดสำทับลงไปในน้ำเสียง ว่า “ เซาๆ
    ฮีบเบิ่งเข้าหาตัว
    อย่าเบิ่งแต่ของนอก
    เซาๆ อย่าเมาแต่เว้า”
    ( เซา = หยุด ฮีบ – รีบ, เบิ่ง = ดู = พิจารณา )
    ทั้งหมดนี้ เป็นความลงเอยเข้ากันได้ของน้ำใสสะอาด เพราะองค์ท่านทั้งหลายปฏิบัติแล้วเป็นอย่างเดียวกัน เป็นเอกเป็นธรรม
    ดูภายนอก คิดหาภายนอก ศึกษาแต่ของนอก นั้น
    มิอาจจะเป็นคุณขึ้นมาได้
    เพราะรังแต่จะเป็นเครื่องวุ่นขุ่นมัวเท่านั้น
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขอธรรมะอย่างสั้น
    เช้านี้มีโยมคณะหนึ่งผู้หนึ่ง
    เข้ากราบองค์หลวงปู่ แล้วเขียนกระดานขอธรรมะ
    โยม : อยากจะพ้นทุกข์ในชีวิตนี้ จะได้หรือไม่เจ้าค่ะ
    หลวงปู่ : ยิ้ม...
    โยม : ขอธรรมะอย่างสั้นๆ เพื่อการแก้ไขตัวเจ้าคะ
    หลวงปู่ : อด... ขันติ
    สัจจะ...จริงใจ
    รักษาใจ บาปเกิดให้ละ
    ทำบุญให้เจริญ
    เอาล่ะพอ
    โยม : กราบขอบคุณเจ้าค่ะ (น้ำตาไหลพราก ปีติดีใจมาก)

    ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐

    ส้มปานโห๋เงอะ

    อาหารกัปปิยภัณฑ์จังหันอันใดที่มีรสเปรี้ยว ในหมู่ลูกศิษย์ที่รู้แล้วจะไม่จัดผลไม้หรือ อาหารรสเปรี้ยวถวายองค์หลวงปู่
    เพราะหลวงปู่จะบอกว่า “ ส้มพอปานโห๋เงอะโห๋งาก”
    “ กินของส้มหลายไม่ได้ ไส้จะกูดจะจังเป็นโรคในกระเพาะในลำไส้ รสอาหารอย่าให้หนักส้มหนักหวานหนักเผ็ดหนักเค็ม เพราะว่าพระ (พุทธ) เจ้าเพิ่นสอนเอาไว้แล้วให้พิจารณา ให้ประมาณ
    พิจารณาอันใดถูกกับธาตุกับขันธ์ มิใช่กับกิเลสรสชาติ
    พิจารณาอันใดเป็นโรคไม่เป็นโรค
    ประมาณ คือ ให้พอดี
    ให้พอสมกับเพศของตน”
    หรือไม่ก็ในบางวันบางฤดูที่มีเงาะมีทุเรียน องค์หลวงปู่ก็จะนึกถึงคำกาพย์โลกนิติ์ ของท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดบรมนิวาสว่า
    “ชาติหมากมี่หมากเงาะทุเรียน
    เพียรดูไปแต่หนามภายนอก
    ผ่าออกแล้ว หอมกลิ่นกินหวาน
    ควรเปรียบปานใจคอนักปราชญ์
    เพิ่นฉลาดใจชุ่มใจเย็น
    คนแลเห็นแต่ไกลน่าย้าน”

    จะเห็นว่าการสอดแทรกอุบายธรรมคำสอน ขององค์หลวงปู่จะมีอยู่โดยทั่วไป ไม่มีข้อยกเว้นใด
    (ส้ม = เปรี้ยว โห๋เงอะโห๋งาก = หัวเงือกหัวนาค = เงอะงากงูแง้ว = เงือกนาคงูเงี้ยว, กูดจัง = หดตัวบีบตัวของลำไส้)
    = ส้มพอปานโห๋เงอะ เปรียบว่าไม่เคยมีใครได้ลิ้มรสของหัวเงือกหัวงากนั่นแหละ
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ถ้ากินอิ่มแล้วมันตั้งบ่แซบ
    “กินไปเถ๊อะ สูเจ้าคนน้อยคนแหน้น ของกินแซบกินลำ
    ผู้ข้าฯ แก่เฒ่ามาแล้วนี้ พวกเนื้อมันตั้งบ่เอา กินบ่มีรส สมัยเมื่อก่อนเป็นเณรน้อย กลับมาจากบิณฑบาตจกกินมานำทาง น้ำลายมันหวานมันต้องแซบ แก่เฒ่าแล้วนี้ ก๊อบแก๊บ จุบจิบ อิ่มแล้ว”
    “ฉันเห้อหลายๆ ครับผม”
    “เอาเถอะ..กินไปเถอะ จะแซบนัวอย่างใดก็ตาม ถ้ากินอิ่มแล้วมันตั้งบ่แซบ อิ่มแล้วเอามาให้กินอีกมันยังไม่เอา”

    การขบฉันขององค์หลวงปู่
    ยิ่งเมื่ออายุมากแล้วนี้ เมื่อรับมาอย่างใดก็ฉันไปอย่างนั้น ไม่จู้จี้จุกจิกใดๆ อันไหนไม่ฉันก็บอกให้ยกออก จะเก็บไว้ฉันไม่กี่อย่าง ยินดีตามมีตามได้มา ข้าวเหนียวจิ้มน้ำต้มน้ำแกง จิ้มน้ำพริกผักลวก และพวกเนื้อปลาบ้างนิดหน่อย ไม่เคยบ่นเรื่องอาหารการขบฉัน หากแต่จะบอกตรงๆ ว่า “อันนี้เผ็ด”
    “อันนี้เค็ม”
    “อันนี้ญ้ำมิได้”
    หรือไม่ก็จะบอกเชิงให้ความรู้ว่า “แกงหอยอย่าเห้อเผ็ด
    แกงเห็ดอย่าเห้อเค็ม” หรือไม่ก็ว่า
    “แกงป่าเห้อหนักเคิ้ง แกงเมิงเห้อหนักมัน”
    ( ลำ – แซบ = อร่อย
    จก – ล้วง
    เห้อ – ให้
    เคิ้ง – เครื่องแกง
    เมิง – เมือง (แกงเมืองให้หนักกะทิ), ญ้ำ – เคี้ยว

    มะกะโล้งแหวนคอควาย
    มีโยมวัยรุ่นผู้หนึ่งเข้ากราบองค์หลวงปู่แล้ว ถอดสร้อยพระ เพื่อขอให้องค์หลวงปู่เมตตาอธิษฐานจิตให้
    องค์หลวงปู่รับมาพิจารณาดู พลิกไปมาอยู่
    เขาก็ถอดสร้อยประคำอีกเส้นออกมา
    หลวงปู่รับมาพิจารณา
    เขาก็ถอดแหนบห้อยพระจากหน้าอกและกระเป๋าเสื้อออกมา
    หลวงปู่รับมาพิจารณา
    เขาก็ยกกระเป๋าสะพายขึ้นวางใกล้ๆ กับองค์หลวงปู่
    “โฮะ... อะหยังหนอ
    ซุมปุซุมปุ้ย รุงรังแท้ๆ โลกหนอโลก”
    “เอาให้ขลังๆ นะครับหลวงปู่”
    “ขลังปานใดก็ตาย”
    “เพราะไม่อยากตาย จึงให้หลวงปู่ปลุกเสกให้ขลังละครับ”
    “เป็นภาระต้องห่วงอาลัยดูแล ไม่หนักคอหรือ”
    “ไม่ครับหลวงปู่ พอใจครับ”
    “โงควาย ตัวใดมันได้ห้อยเกราะห้อยกระดิง มันก็เป็นสุขพอใจมันม่วนงันในหูของมัน ตัวใดมันได้ห้อยมะกะโล้ง มันต้องกินหญ้าดี แต่พอสายมันขาดก็ไม่เป็นสุขใจได้ นี้ก็น่าจะเหมือนกัน”
    โยมหน้าเจื่อนจ่าย แล้วองค์ปู่ก็คืนของของเขาไป
    (มะกะโล้ง = เกราะ, กระดิง, กระดิ่ง, เกราะลอ แหวน = แขวน ม่วนงัน = สนุกเพลินใจ โง = วัว)
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผู้จะตัดทุกข์ให้ขาดได้
    เมื่อมีโยมผู้หนึ่งนำใบมีดโกนตราขนนกมาถวาย ครั้นภายหลังจากองค์หลวงปู่ได้พิจารณาวัตถุทานทั้งหมดแล้วหลายรายการ มีใบมีดโกน มีดตัดเล็บ เข็มด้าย ที่องค์ท่าน บอกให้เก็บเอาไว้เพื่อแจกจ่ายแก่พระเณรต่อไป
    องค์หลวงปู่ถามโยมผู้นำมาถวายว่า “ใบมีดโกนนี้คมดีไหม ?”
    “อย่างดีเจ้าค่ะ”
    “ถ้าคมมันดีก็ตัดให้ขาดได้ง่าย
    ความคมของใบมีดอาศัยใบมีด แต่มิใช่ใบมีดแต่เป็นความคม
    ผู้จะตัดทุกข์ให้ขาดก็ต้องอาศัยความคม
    ศีลของตน
    จิตของตน
    ปัญญาของตน
    คำว่าของตน คือ ความแหลมคม
    เมื่อคมได้ที่แล้วก็ตัดให้ขาดได้ง่าย เข้าใจไหมล่ะ”
    เมื่อองค์หลวงปู่สำทับถาม โยมจึงตอบว่า “เข้าใจค่ะ”
    “แม้นบ๊อ” (จะใช่หรือ) หลวงปู่ย้ำถามพร้อมหัวเราะ
    โยมจึงหัวเราะตาม

    หัวใจมหาปุญฺโญวาท พรรษา ๒๕๕๐
    วันขึ้น ๔ ค่ำเดือน ๑๐ ปีหมู เช้าได้อรุณ
    องค์หลวงปู่ปรารภในขณะถอนจากภาวนา อยู่กับเก้าอี้นั่งภาวนา ว่า “ ใจรักษาใจ
    ตนรักษาใจ
    อะไรคือใจ อะไรคือตน นี้ยังเป็นโลก
    เป็นธรรมะได้นั้น
    ใจเป็นธรรมะ
    ตนเป็นธรรมะ”
    องค์ท่านปรารภเท่านี้ก็หัวเราะพอใจ แล้วเล่าเรื่องฝนตกตลอดคืน
    นี้หัวใจห้องที่ ๑
    หัวใจห้องที่ ๒ วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๐
    ขณะนั่งฉันอาหารเสริม ภายหลังอาหารหลักแล้ว
    องค์ท่านว่า “ เพิ่นครูอาจารย์เสาร์
    ฉันตุ่นปิ้งจ้ำแจ่วหมดข้าวติบบักใหญ่
    ฉันได้หลาย ทำความเพียรก็ทำได้ทั้งวัน
    เพิ่นว่า “ อย่าเฮ็ดความชั่ว
    ให้เฮ็ดความดี
    ปฏิบัติเจ้าของให้มันได้”
    เพิ่นมาอยู่วัดหนองน่อง คนบ้านบากเอาตุ่นปิ้งมาส่งจังหัน โยมเขาปิ้งย่างสุกอย่างดี ตำแจ่วใส่ผักหอมมาถ้วยหนึ่ง ยกเข้าถวายประเคนกับเพิ่นวันนั้นเพิ่นรับแต่ปิ้งตุ่นจ้ำแจ่วอย่างอื่นไม่เอา ฉีกดึงปุด คุ้ยแจ่วได้เอาเข้าปากมุ้ม คำข้าวตามเข้าไป ฉันจังหันได้ดี มุ้มๆ
    ผู้ข้าเป็นเด็กน้อยไปกับย่า
    เพิ่นครูอาจารย์เสาร์ไม่ชอบเนื้อสัตว์ใหญ่”
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เอ้าเน้อลูกหลานเน้อ
    ตั้งใจไหว้พระเช้า – ไหว้พระเย็น จะนอน – นอนตื่นลุกขึ้น ไหว้ให้ได้ทุกวันอย่าให้ขาด อย่าไปทำกินแล้วนอน
    นอนตื่นขึ้นลุกมาหากิน
    ให้ไหว้พระ
    ให้เมตตา หมู่สัตว์ทั้งหลาย
    ตั้งใจทำความดีทุกอย่างทุกประการ
    เก็บสะสมไปเถอะ เป็นกิจเป็นหน้าที่
    นรกไม่เต็ม สวรรค์ไม่เต็ม
    สูจะไปทางใด ไปทางสุขไปทางทุกข์
    ให้เพิ่มบุญกุศลแก่ตน รักษาตนให้ดี
    กายอย่าให้เป็นบาป
    ใจอย่าให้เป็นบาป
    ให้ฝึกหัดภาวนานำเด้อ ลูกหลานเด้อ
    ตั้งใจให้ดีเน้อ เจตนาสูเจ้าจะมาบำเพ็ญบารมี
    มาเกิดแล้วให้เป็นบุญเป็นความดี
    อย่าเข้าใจว่าจะได้ไปนิพพานได้ง่ายๆ หน๋า
    ตั้งใจไปเถ๊อะ อย่าอยากเกินไป
    ดี ชั่ว บุญ บาป สุข ทุกข์ อยู่ในโลกนี้ของตน
    ตามไปโลกหน้าของตน
    ตั้งใจเถ๊อะ
    (อบรมชาวบ้านห้วยลึก / บ้านป่าแฝก)
    ๒๙ กันยายน ๒๕๕๐

    วันมหาปวารณาปี ๒๕๕๐ ปีนี้
    อัตตโนขออัญเชิญข้อความบางตอนจากพระไตรปิฎก (ความย่อ) จากฉบับย่อมาสู่การอ่านการศึกษาพิเคราะห์ดังนี้
    พระพุทธเจ้าทรงปวารณาพระองค์
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ปราสาทของนางวิสาขา มิคารมารดาในบุพพารามพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ซึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์สมัยนั้นพระผู้มีพระภาค อันภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อม ประทับนั่ง ณ ที่กลางแจ้ง เพื่อการปวารณาในวันอุโบสถ วันนั้นขึ้น ๑๕ ค่ำ ขณะนั้นทรงเห็นภิกษุสงฆ์นิ่งอยู่ จึงตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้ เราปวารณาแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะไม่ตำหนิการกระทำใดๆ ทางกายหรือทางวาจาของเราบ้างหรือ?”
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสว่าอย่างนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงลุกขึ้นจากอาสนะทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง น้อมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมไม่ติเตียนการกระทำใด ๆ ทางกายหรือวาจาของพระผู้มีพระภาค เพราะพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ทำให้เกิดมรรคาที่ยังไม่เกิดขึ้น เป็นผู้ให้กำเนิดมรรคาที่ยังไม่กำเนิด เป็นผู้บอกมรรคาที่ยังไม่มีผู้บอก เป็นผู้รู้แจ้งซึ่งมรรคา เป็นผู้ฉลาดในมรรคา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สาวกทั้งหลายในขณะนี้เป็นผู้ดำเนินตามมรรคาเป็นผู้มารวมกันในภายหลัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ข้าพระองค์ขอปวารณากะพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงตำหนิการกระทำใดๆ ทางกายหรือทางวาจาของข้าพระองค์บ้างหรือ?”
    ดูก่อนสารีบุตร! เราไม่ติเตียนการกระทำใดๆ ทางกายหรือทางวาจาของเธอ ดูก่อนสารีบุตร! เธอเป็นผู้มีปัญญามาก เป็นผู้มีปัญญาหนาแน่น เป็นผู้มีปัญญาเป็นเหตุให้ร่าเริง เป็นผู้มีปัญญาไว เป็นผู้ปัญญาเฉียบแหลม เป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส ดูก่อนสารีบุตร! เปรียบเหมือนเชษฐโอรส (บุตรคนใหญ่) ของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมทำให้จักร (กงล้อ) ที่พระบิดาหมุนแล้ว ให้หมุนตามไปได้โดยชอบฉันใด เธอก็ฉันนั้น ย่อมยังธรรมจักร (กงล้อคือธรรม) อันยอดเยี่ยม ที่เราหมุนแล้ว ให้หมุนตามไปได้โดยชอบ.”
    พระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงตำหนิการกระทำใดๆ ทางกายหรือทางวาจาของข้าพระองค์ ก็ภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ รูป เหล่านี้เล่า พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงตำหนิการกระทำทางกายหรือทางวาจาบ้างหรือ? พระเจ้าข้า !”
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูก่อนสารีบุตร ! แม้ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ ก็ไม่มีการกระทำใดๆ ทางกายหรือวาจาที่เราจะตำหนิ ดูก่อนสารีบุตร ! เพราะในภิกษุ ๕๐๐ รูป เหล่านี้ ภิกษุ ๖๐ รูปได้วิชชา ๓ ; ภิกษุ ๖๐ รูปได้อภิญญา ๖ ; ภิกษุ ๖๐ รูป เป็นอุภโตภาควิมุต (ผู้พ้นจากกิเลสโดย ๒ ส่วน คือพ้นเพราะสมาธิและพ้นเพราะปัญญา) ; ภิกษุที่เหลือเป็นปัญญาวิมุต (ผู้พ้นจากกิเลสเพราะปัญญา).
    ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าหุ่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง น้อมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ! ข้อนั้นย่อมทำให้ข้าพระองค์แจ่มแจ้ง ข้าแต่พระสุคต! ข้อนั้นย่อมทำให้ข้าพระองค์แจ่มแจ้ง”
    “ดูก่อนวังคีสะ! ข้อนั้นจงแจ่มแจ้งเถิด ”
    ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะได้กล่าวชมเชยพระผู้มีพระภาคในที่เฉพาะพระพักตร์ด้วยคาถาหลายคาถาโดยย่อว่า
    “ในวันนี้ซึ่งเป็นวัน (ขึ้น) ๑๕ ค่ำ ภิกษุ ๕๐๐ รูป ผู้ตัดเครื่องผูก คือ กิเลสอันร้อยรัดได้ ผู้ไม่มีทุกข์ ผู้สิ้นความเกิดอีกแล้ว ผู้แสวงคุณอันประเสริฐได้มาประชุมกันแล้วโดยความบริสุทธิ์ เปรียบเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ มีอำมาตย์แวดล้อม เสด็จไปโดยรอบแผ่นดินนี้ อันมีมหาสมุทรเป็นที่สุดฉันใด พระสาวกทั้งหลายผู้มีวิชชา ๓ ผู้ทำมฤตยูให้เสื่อม ย่อมนั่งล้อมพระบรมศาสดาผู้ชนะสงคราม ผู้เปรียบเหมือนนายกองเกวียนผู้ยอดเยี่ยมฉะนั้น สาวกเหล่านั้นทั้งหมด เป็นบุตรของพระผู้มีภาค. มลทินย่อมไม่มีในที่นี้. ข้าพเจ้าขอไหว้พระผู้อาทิตยวงศ์ ผู้ฆ่าเสียซึ่งลูกศรคือตัณหาพระองค์นั้น.”
     

แชร์หน้านี้

Loading...