ประสบการณ์มโนมยิทธิ และงานพระพุทธศาสนาของข้าพเจ้า

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย White Sage, 2 พฤศจิกายน 2015.

  1. Napaphat Indraphong

    Napaphat Indraphong สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +9
    ทีนี้ถ้าหากจะถามว่า หากเราสนใจที่จะปฏิบัติธรรมแล้วจะเริ่มจากตรงไหนดี ก็ต้องตอบว่า ถ้าพูดกันถึงหลักธรรมทั่วๆไป ก็จะต้องมานั่งดูจริตนิสัยของตนในจริต ๖ ว่าตนเองเป็นคนจริตไหน แล้วจึงไปดูพระกรรมฐานหมวดต่างๆว่าสงเคราะห์เข้ากับจริตใด เมื่อรู้แล้ว จึงค่อยไปดูต่อว่าตนเองจะต้องไปปฏิบัติในสายการปฏิบัติใดที่เหมาะสมกับตนเอง ซึ่งวิธีการทั้งหมดที่ว่ามานี้ ทางโบราณจารย์ท่านมองว่า เป็นการเนิ่นช้าและเสียเวลาเป็นอย่างมาก เพราะต้องทำการตรวจเช็คว่าตนเองเป็นคนจริตใด แล้วต้องมานั่งตรวจสอบว่าตนเองเหมาะที่จะทำกรรมฐานกองใดอีก ซึ่งอาจจะมีหลายกองสำหรับคนในจริตนั้นๆ ดังนั้นท่านจึงให้ใช้วิธีการขอบารมีพระรัตนตรัยสงเคราะห์โดยตั้งจิตอธิษฐานถึงกรรมฐานกองที่จะทำให้เราเข้าถึงได้เร็วที่สุด แล้วหลังจากนั้นหากเรารู้สึกสะดุดใจหรือรักชอบกรรมฐานกองใด ก็ให้เราปฏิบัติในพระกรรมฐานกองนั้น


    อันนี้เป็นสิ่งที่พระท่านสอนเรามา โดยท่านบอกว่าผู้ที่จะเป็นพระพุทธเจ้านั้น จะต้องรอบรู้ในพระกรรมฐานกองต่างๆ จะต้องรู้ว่าจริตนิสัยและสภาพจิตของสรรพสัตว์นั้นเป็นอย่างไร แต่สุดท้ายแล้ว หากเราจะแนะนำพระกรรมฐานให้ใคร เราไม่อาจที่จะมานั่งทำตามลำดับขั้นตอนได้ เพราะพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ไม่มีการเนิ่นช้า ดังนั้นหากในอนาคตจะแนะนำใคร ก็ให้ปฏิบัติตามนี้ค่ะ


    และหลังจากที่นักปฏิบัติทราบถึงพระกรรมฐานที่เหมาะสมกับตนเองแล้ว ก็ให้ประยุกต์ใช้วิธีการข้างต้น โดยตั้งจิตขอให้พบกับสายการปฏิบัติหรือครูบาอาจารย์ที่มีตัวตนที่มีวาสนากับตนเองมากที่สุดค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2018
  2. Napaphat Indraphong

    Napaphat Indraphong สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +9
    ทีนี้ถ้าหากถามว่า ถ้าเกิดบุคคลๆนั้นไม่สามารถปฏิบัติพระกรรมฐานหรือนั่งสมาธิได้ล่ะ จะทำอย่างไร? ก็ต้องตอบว่าให้ใช้วิธีการสวดมนต์แทน เพราะเป็นการทำให้เกิดสมาธิอันเป็นการปฏิบัติในบุญใหญ่(ภาวนา)เช่นเดียวกัน โดยในขณะที่สวดมนต์นั้นให้เราตั้งใจสวดถวายพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันเป็นการสั่งสมบารมีในพุทธานุสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสติเพิ่มเติม (หมวดอนุสติ๑๐) และหากต้องการเพิ่มบารมีในวิปัสสนาญาณ ก็ให้พิจารณาตามคำสวดไปด้วย ยกตัวอย่างเช่นบทพิจารณาสังขารร่างกาย เวลาสวดไปก็นึกตามไปด้วยว่าร่างกายประกอบไปด้วยสิ่งสกปรกต่างๆ ซึ่งทุกๆครั้งที่เรารู้สึกว่าร่างกายนั้นสกปรก ก็นับว่าเป็นการสั่งสมบารมีในวิปัสสนาญาณแล้ว


    ทั้งนี้ ตัวอย่างข้างบนที่ได้กล่าวมา เป็นการยกตัวอย่างการสอดแทรกกรรมฐานทั้งสมถะและวิปัสสนาญาณอย่างง่ายๆเข้าไปประกอบการสวดมนต์โดยไม่ให้ผู้ปฏิบัติรู้ตัวเท่านั้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำตามที่ได้กล่าวมาก็ได้ แต่สามารถประยุกต์ใช้กรรมฐานหมวดอื่นๆได้ตามที่ผู้ฝึกสนใจหรือชอบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2018
  3. Napaphat Indraphong

    Napaphat Indraphong สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +9
    ทีนี้ถ้าหากถามว่า ถ้าเกิดเราไม่ใช้วิธีสวดมนต์ล่ะ จะสามารถประยุกต์ใช้วิธีการทางโลกอื่นๆเข้ามาช่วยสร้างสมบารมีให้แก่ตัวเองได้ไหม ก็ต้องตอบว่า ในประเทศไทยขณะนี้ มีท่านผู้หนึ่งใช้วิธีการนี้ช่วยสอนผู้คนอยู่เช่นกัน แต่ขออนุญาตไม่เปิดเผยนาม ทั้งนี้โดยส่วนตัวแล้วเราค่อนข้างชื่นชมท่านผู้นี้ค่ะ เพราะเป็นคนที่มีคุณวุฒิ วัยวุฒิทางโลกดี แล้วยังตั้งใจปฏิบัติธรรมจนมีความรู้ความเข้าใจ แล้วนำความรู้ตรงนี้มาประกอบกันเพื่อช่วยเหลือผู้คน เท่าที่เราสังเกตเห็นอาจารย์ท่านนี้จะใช้ศิลปะเข้ามาทำให้สภาพจิตของคนที่จะฝึกมีความอ่อนโยนนุ่มนวลขึ้นก่อน โดยใช้การจัดดอกไม้ วาดภาพ แล้วก็จะใช้เทคนิคการยิงธนูเพื่อให้จิตเกิดสมาธิมากขึ้น(มองไปที่จุดๆเดียวคล้ายๆฝึกกสิณ) และมีสติมากขึ้นจากการฝึกจับความรู้สึกจากกาย(กายานุปัสสนา) ซึ่งถ้าจะพูดกันจริงๆแล้ว เหมาะมากสำหรับการปูพื้นฐานทางจิตใจให้ง่ายต่อการปฏิบัติธรรมในภายหน้า


    ดังนั้นกล่าวโดยสรุปแล้ว ถ้าหากจะไม่ใช้วิธีการสวดมนต์ ก็จะต้องหาผู้ที่มีองค์ความรู้ทางโลกและทางธรรมพอสมควร เพื่อทำการประยุกต์ใช้วิธีการทางโลกแล้วสอดแทรกทางธรรมแบบเนียนๆเช่นเดียวกันท่านอาจารย์ผู้นี้ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2018
  4. Napaphat Indraphong

    Napaphat Indraphong สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +9
    ทีนี้ถ้าหากถามต่อว่า ถ้าเกิดเราไม่ได้อยู่ในช่วงเวลาที่สวดมนต์หรือทำกิจกรรมฝึกฝนจิตใจต่างๆข้างต้นล่ะ เราจะมีวิธีการใดที่จะชักจูงหรือโน้มน้าวจิตใจเราให้ทำความดีตลอดเวลา ก็ต้องตอบว่า ใช้หลัก Sound mind in the sound body หรือใช้หลักร่างกายนำจิตใจ ตรงนี้หลวงพ่อฤาษีท่านเคยสอนให้ลูกศิษย์ใช้วิธีการยิ้มเข้าไว้ค่ะ มีอะไรก็ยิ้มไว้ก่อน คิดไว้อย่างเดียวว่าช่างมันแล้วก็ยิ้ม ซึ่งการยิ้มแบบนี้ จะช่วยดึงใจเราให้ยิ้มตามค่ะ ถ้าเป็นหลักทางโลก ก็คงต้องพาร่างกายไปทำสิ่งดีๆให้มากที่สุด พูดในสิ่งที่ดีๆให้มากที่สุด ซึ่งก็แล้วแต่ว่าใครจะทำสิ่งไหนที่ตนเองสะดวกและชอบมากที่สุดค่ะ
     
  5. Napaphat Indraphong

    Napaphat Indraphong สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +9
    ทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ ถ้าจะถามว่า ความรู้ทั้งหลายเหล่านี้มาจากใคร ก็ต้องตอบว่า มาจากการสงเคราะห์ของพระท่านค่ะ


    แต่ก่อนที่จะกล่าวว่าการสงเคราะห์ทั้งหมดนั้น มีที่มาและที่ไปอย่างไร ก็ต้องขอตอบก่อนว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่บุคคลเพียงคนเดียวที่ได้รับการสงเคราะห์เช่นนี้ แต่ยังมีคนอีกมากมายที่ได้รับการสงเคราะห์ในลักษณะดังกล่าว เพียงแต่บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น พระท่านอาจจะยังไม่ได้อนุญาตได้นำมาเปิดเผยเป็นสาธารณะแก่บุคคลโดยทั่วไปค่ะ


    การสงเคราะห์ในครั้งแรกนั้น เกิดขึ้นในขณะที่เรากำลังปฏิบัติธรรมอยู่ที่บ้านนนทธรรมค่ะ ตามที่ได้เคยกล่าวไว้คร่าวๆในเบื้องต้นแล้วว่า พระท่านสอนว่าการปฏิบัติทุกสายนั้นมีความสำคัญเหมือนๆกัน ไม่มีสายการปฏิบัติใดที่ดีกว่าหรือแย่กว่าสายใด ตรงจุดนี้ จริงๆแล้ว ท่านสอนเราให้คิดแบบที่ท่านคิดค่ะ คือท่านได้กล่าวกับเราว่า ผู้ที่เป็นพระพุทธเจ้านั้น ท่านมีจุดมุ่งหมายเพียงอย่างเดียวก็คือ ทำอย่างไรให้สรรพสัตว์หลุดพ้นจากความทุกข์ โดยให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือทุกๆคนเท่าๆกัน โดยในขณะที่ท่านจะสงเคราะห์ใครนั้น ท่านก็จะดูก่อนว่าบุคคลคนนั้นจะต้องใช้วิธีการใดในการช่วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าบุคคลนั้นเราไม่สามารถจะแนะนำให้ปฏิบัติในขั้นศีลได้ แต่สามารถแนะนำในขั้นให้ทานได้ ท่านก็จะสงเคราะห์ด้วยการสอนให้รู้จักการให้ทาน หรือถ้าบุคคลนั้นรู้จักการปฏิบัติศีลและภาวนา อีกทั้งยังมีพื้นฐานมาสายอภิญญาเดิม ท่านก็จะสงเคราะห์แนะนำพระกรรมฐานในลักษณะของสายอภิญญาให้ อย่างนี้เป็นต้นค่ะ


    ซึ่งนอกจากท่านจะสอนเราว่าผู้ที่เป็นพระพุทธเจ้าคิดเพียงแค่อย่างเดียวคือต้องการช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์แล้ว ท่านยังสอนเราอีกด้วยว่า ทีนี้เธอก็เห็นแล้วว่าสรรพสัตว์นั้นมีความหลากหลายมากเพียงใด ดังนั้น พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าก็ต้องมีความหลากหลายเพื่อรองรับเหล่าสรรพสัตว์มากเพียงนั้น ดังนั้น สายการปฏิบัติธรรมจึงมีมากมายหลายสายเพื่อให้เหล่าสรรพสัตว์ได้เลือกเอามาปฏิบัติให้เหมาะสมกับตน ดังนั้นแล้ว หากจะกล่าวว่าสายการปฏิบัติใดดีกว่าสายการปฏิบัติใดนั้น จึงไม่ถูกต้อง เพราะทุกๆสายล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อท่านเหมือนๆกันหมด ดังนั้น เธอจงจำไว้ว่า สายการปฏิบัติทุกสายมีความสำคัญเหมือนกันหมด หากในอนาคตมีผู้กล่าวว่าสายใดดีกว่าสายใด อันเป็นการสร้างความแตกแยกในสายการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ก็ให้เธอกล่าวตามที่ท่านสอนมาในข้างต้นนี้ (ซึ่งก็คือสรรพสัตว์นั้นมีความหลากหลาย ดังนั้นสายการปฏิบัติจึงต้องมีความหลากหลายเพื่อมารองรับสรรพสัตว์ในทุกรูปแบบ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2018
  6. กึกก้อง

    กึกก้อง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2009
    โพสต์:
    609
    ค่าพลัง:
    +3,478
    ติดตามอยู่ครับ ชอบประสบการณ์ที่พระท่าน หลวงปู่ ท่านปู่ท่านย่า และ ผู้มีพระคุณท่านเมตตา ถ้ามีรายละเอียดที่พอจะเล่าให้ได้อ่าน จะดีมากเลยครับ รออ่านครับ

    แล้วในช่วงระยะนี้พอจะมีเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติที่พอจะเล่าให้ได้บ้างไหมครับ
     
  7. Napaphat Indraphong

    Napaphat Indraphong สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +9
    ขอบคุณนะคะที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น จะพยายามแชร์ประสบการณ์ให้ได้รายละเอียดให้มากที่สุดค่ะ เพราะว่าพระท่านบอกมาว่าท่านจะให้เราให้ธรรมทานในลักษณะการเล่าเรื่องราวที่เป็นประสบการณ์ของตนเองมากกว่า ส่วนการที่จะสอนคนอื่นนั้น ท่านบอกว่าไม่ให้สอน ท่านจะให้ใช้หลักว่าการทำตัวเราให้ดีนี่แหละคือการสอนคนอื่นที่ดีที่สุด เพราะเมื่อมีคนเห็น เค้าจะซึมซับสิ่งที่เราทำโดยไม่รู้ตัวเองค่ะ


    สำหรับสถานการณ์บ้านเมืองในตอนนี้ บอกตรงๆว่าไม่ค่อยทราบรายละเอียด แต่ทราบมาจากพี่ๆน้องๆที่ปฏิบัติธรรมด้วยกันว่า พระท่านน่าจะเร่งรัดให้คนปฏิบัติธรรมมากขึ้นค่ะ ซึ่งตรงนี้ ท่านไม่ได้ห่วงคนที่พอจะปฏิบัติธรรมได้ แต่ท่านห่วงคนที่ไม่สามารถปฏิบัติธรรมได้มากกว่า เลยให้ทางแก้(solution) มาว่าให้สวดมนต์แทน หรือหากิจกรรมทางโลกแล้วสอดแทรกทางธรรมเข้าไปแบบเนียนๆ แล้วก็ให้ยกตัวอย่างบุคคลที่ใช้กิจกรรมทางโลกเข้ามาช่วยสอนผู้คนให้รู้จักปฏิบัติธรรม อันนี้เป็นสิ่งที่ท่านบอกเรามาค่ะ
     
  8. Napaphat Indraphong

    Napaphat Indraphong สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +9
    หลังจากที่ท่านปูพื้นฐานความคิดให้กับเราในครั้งนั้นแล้ว ยอมรับตามตรงว่าไม่มีโอกาสได้ศึกษาพระกรรมฐานอื่นๆมากมายนัก เพราะว่าในขณะนั้น ท่านเน้นให้เราไปนิพพานเป็นปกติโดยใช้พระกรรมฐานสายมโนมยิทธิเป็นหลัก จนกระทั่งวาระกฎแห่งกรรมเริ่มเข้ามาถึง เราถึงจะได้กลับเข้ามารื้อฟื้นพื้นฐานเดิมทั้งหมดที่เคยทำมาค่ะ


    แต่ก่อนที่เราจะเริ่มเล่าเรื่องราวทั้งหมด ก็ต้องขอพูดถึงวาระกรรมที่เราต้องเผชิญอยู่ว่าเราไม่บังอาจที่จะกล่าวโทษท่านผู้ใดหรือกลุ่มบุคคลใดๆทั้งนั้นนะคะ เพราะบางทีนี่อาจจะเป็นกรรมของเราเองที่จะต้องเผชิญค่ะ


    ทีนี้จุดเริ่มต้นของเรื่องราวทุกอย่างเกิดมาจากการที่เราต้องเผชิญกับกฎแห่งกรรมที่เราได้ทำไว้ค่ะ ซึ่งในครั้งแรกที่เริ่มจะรู้ตัวว่าตนเองเจอกรรมเข้าแล้ว เราก็นึกขึ้นมาได้ทันทีเลยว่าพระท่านได้เคยพยากรณ์เอาไว้ ดังนั้นพอเรารู้ตัว เราจึงรีบกลับไปฝึกมโนมยิทธิใหม่ที่บ้านสายลมทันทีเลยค่ะ


    ตอนที่เรากลับไปฝึกมโนมยิทธินั้น น่าจะอยู่ช่วงราวๆเดือนเม.ย.-พ.ค.ปี๕๖ ยอมรับว่าในตอนนั้น ฝึกได้ยากมาก เนื่องจากกฎแห่งกรรมทำให้สติและสมาธิไม่มั่นคงเลย ตอนนั้นยอมรับว่าท้อและเครียดมากๆ เพราะคนเรานั้น เวลาที่ต้องเผชิญหน้ากับกรรมและปัญหาต่างๆแล้ว จิตใจและสติปัญญาของตนนั้น ถือว่าสำคัญที่สุด เพราะเราไม่สามารถพึ่งใครได้เลยนอกจากตัวเอง ดังนั้นช่วงเวลาที่พยายามทบทวนพระกรรมฐานเดิมที่เคยฝึกมาจึงทำได้ยากมาก มีวิธีแก้แค่เพียงวิธีเดียวคือ รอให้กฎแห่งกรรมคลายตัว และพยายามทำบุญต่างๆเท่าที่จะสามารถทำได้


    จนกระทั่งปลายปี ๕๖ ช่วงเดือนธันวาคม จึงได้มีโอกาสมาเขียนกระทู้แบ่งปันประสบการณ์เป็นธรรมทาน ซึ่งสิ่งที่ทำให้คิดที่จะเขียนก็คือ ความตั้งใจที่อยากจะเล่าเรื่องราวต่างๆว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านสอนนั้นมีจริง เนื่องจากตนเองไม่รู้ว่าจะต้องตายลงเมื่อไหร่ จึงเสียดายสิ่งต่างๆที่ตนเองได้พบและประสบมา ซึ่งอาจจะมีประโยชน์ต่อผู้คนที่สนใจและหันกลับมาทำความดีกันมากขึ้นนั่นเอง


    ทีนี้ส่วนตัวเพิ่งจะได้เริ่มปฏิบัติธรรมจริงๆก็ช่วงปลายปี ๕๗ จากนิมิตที่พระท่านมาบอกว่าถึงเวลาที่จะต้องปฏิบัติธรรมแล้ว สรุปก็คือตนเองเสียเวลารอวาระกรรมประมาณหนึ่งปีครึ่งไปเต็มๆ ดังนั้นช่วงปลายปี ๕๗ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ได้ปฏิบัติธรรมในส่วนของการละสังโยชน์ระดับต่างๆที่ได้เรียนมาจากบ้านสายลมอย่างแท้จริง อีกทั้งการทะเลาะกับคุณแม่ ทำให้ตนเองฮึดด้วยการตั้งใจถือศีล ๘ อีกด้วย


    ถ้าหากถามว่า การปฏิบัติธรรมในขณะที่ตนเองก็ต้องรับผลของกรรมที่เข้ามาขัดขวางนั้นทำอย่างไร ก็ต้องบอกว่าตนเองก็ท้อใจอยู่เหมือนกัน แต่หลวงพ่อฤาษีท่านก็ให้กำลังใจผ่านคำสอนที่มีคนนำมาโพสต์ในเฟซบุ๊ค โดยเนื้อหานั้นกล่าวประมาณว่า ยามที่อกุศลกรรมเข้ามาขัดขวางให้เรายากลำบากต่อการปฏิบัติธรรมนั้น ก็ให้เรามองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะเดี๋ยวซักพักกุศลกรรมก็จะเข้ามาดลบันดาลให้เราปฏิบัติธรรมได้ง่ายเหมือนกัน มันจะสลับกันไปสลับกันมาอย่างนี้นะ ก็อย่าท้อใจ และเวลาที่กุศลกรรมมันเข้ามาก็ให้เราทำให้เต็มที่ไปเลย


    แล้วทุกๆอย่างมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆค่ะ มันจะมีช่วงที่วาระกรรมคลายตัวให้สภาพจิตของเราได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมเป็นระยะๆเหมือนกัน ซึ่งพอวาระบุญเข้ามาแทรก เราก็จะรีบทำเต็มที่ ซึ่งการรีบทำรีบปฏิบัติของเรานั้น ก็ต้องบอกว่าเราทำทุกๆอย่างที่พระท่านสอนมาจริงๆค่ะ เพราะในตอนนั้นวาระกรรมมันเข้ามาแล้ว สภาพเราเหมือนกับคนที่หมดอาลัยตายอยากในชีวิตจริงๆ ก็คือ แทบจะไม่เห็นหนทางที่จะดำเนินชีวิตต่อแล้ว แล้วใครก็ไม่สามารถช่วยเราได้เลย ดังนั้นพระท่านสอนอะไรเรามา แนะนำอะไรเรามา เราจึงรีบคว้าและทำไว้หมดค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2018
  9. Napaphat Indraphong

    Napaphat Indraphong สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +9
    ทีนี้ถ้าถามว่าตอนนั้นเราทำอะไรบ้าง ก็ต้องตอบว่า ในช่วงก่อนหน้าที่เราจะเริ่มปฏิบัติธรรมนั้น เราได้ไปฝึกมโนมยิทธิที่บ้านสายลม แล้วท่านให้โจทย์เรามาเป็นการละสังโยชน์ในระดับต่างๆ โดยท่านสอนตั้งแต่อารมณ์พระโสดาบัน อารมณ์พระอนาคามี แล้วก็อารมณ์พระอรหันต์ ซึ่งไม่ได้สอนครั้งเดียว แต่ทวนซ้ำให้เราพอจำได้ แล้วก็บอกให้เราจำไว้ให้ดีแล้วนำไปปฏิบัติ แล้วไม่ต้องบอกใคร ตอนนั้นเรางงมากว่าทำไมท่านถึงสอนอะไรแบบนี้ให้ แต่ท่ามกลางความงงนั้น ความอยากทำความดีหนีวิบากกรรมดันเหนือกว่าอะไรทั้งหมด(เพราะชีวิตนี้ไม่เหลืออะไรอีกแล้ว) เราเลยจำแล้วก็นำมาทำค่ะ สรุปก็คือขอบอกตรงๆว่า ณ ขณะนั้นเราไม่สนใจแล้วว่าจะอารมณ์อะไร เพราะไม่รู้ว่าจะต้องแคร์อะไรอีกแล้วค่ะ


    ทีนี้ถ้าหากถามว่าตอนที่ท่านสอนอารมณ์พระอริยเจ้าให้นั้น ไม่รู้สึกยากเลยหรือ ก็ต้องบอกว่าที่ท่านสอนมามันไม่มีอะไรเลยค่ะ เพราะท่านบอกว่าให้เราหัดนึกคิดตามที่ท่านบอกแค่นั้นเอง ดังนั้นเราก็เลยเอามาฝึกๆดูตามที่ท่านบอก แต่ทีนี้ในช่วงแรกๆนั้น ยอมรับว่าทำอารมณ์พระโสดาบันแล้วรู้สึกง่าย แต่พอจะทำอารมณ์พระอนาคามีกับอารมณ์พระอรหันต์จะรู้สึกยากแบบแปลกๆแบบฝืนๆหนักๆใจ ดังนั้นเราเลยเน้นทำอารมณ์พระโสดาบันก่อน โดยใช้หลักเดิมที่เคยปฏิบัติมาคือทำทีละนิดทีละหน่อยพอเป็นพิธีแบบผู้เริ่มฝึก แล้วค่อยๆเพิ่มความถี่เป็นหลายๆครั้งในชีวิตประจำวันค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2018
  10. Napaphat Indraphong

    Napaphat Indraphong สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +9
    จากนั้น เมื่อเราปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ ท่านก็จะเริ่มสอนเสริมในส่วนของพระกรรมฐานอื่นๆเข้ามาให้ ยกตัวอย่างเช่น ในตอนที่เราไปปฏิบัติธรรมที่วัดเขาวง ในช่วงที่จะมีพิธีหล่อสมเด็จองค์ปฐมปางพระนิพพาน ท่านก็สอนการเดินจงกรมโดยใช้กายานุปัสสนาในส่วนของอิริยาบถบรรพ ดูกิริยาอาการการเดิน การก้าวขา การวางเท้าในแต่ละช่วง จากนั้นก็เริ่มวกเข้ามาในส่วนของกายคตานุสติ ดูสภาพร่างกายว่ามีความสกปรกไม่สะอาดแล้วสุดท้่ายก็ตายลง(มรณานุสติ)แล้วก็คิดต่อว่าสุดท้ายเราอาจจะตายลงจริงๆในวันนี้ ดังนั้นหากตายเมื่อไหร่ขอไปอยู่กับพระบนพระนิพพาน(ตัดสังโยชน์๓แบบมโนมยิทธิ) พอตัดที่สังโยชน์สามแล้ว ท่านก็บอกกับเราต่อว่า ถ้าเบื่อลูกจะเปลี่ยนโดยใช้กรรมฐานกองอื่นๆก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น จับพุทธานุสติ(นึกถึงพระพุทธรูปอยู่ตรงหน้าเรา) แล้วก็เพิ่มกสิณเข้าไป เช่นพระพุทธรูปสีเหลืองก็ปีตกสิณ ถ้าสีขาวก็อาโลกสิณ เป็นต้น
     
  11. Napaphat Indraphong

    Napaphat Indraphong สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +9
    สำหรับโพสต์นี้จะขออนุญาตยกตัวอย่างการตัดสังโยชน์ ๓ ในพระกรรมฐานกองต่างๆที่พระท่านได้สอนเรามานะคะ

    กรรมฐาน ๔๐

    อนุสติ ๑๐

    ๑. พุทธานุสติ
    ๒. ธัมมานุสติ
    ๓. สังฆานุสติ

    > เมื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์เป็นอารมณ์ ก็ให้เราคิดต่อว่าชีวิตนี้เราต้องตายแน่ หากเราตายเมื่อไหร่ขอไปอยู่กับพระ(หรือพระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์บนพระนิพพาน(ตัดสังโยชน์๓)

    ๔. อุปสมานุสติ

    > เมื่อคิดถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ ก็ให้ตั้งใจต่อว่าชีวิตนี้เราต้องตายแน่ ดังนั้น หากตายเมื่อไหร่ขอไปอยู่กับพระบนพระนิพพาน(ตัดสังโยชน์๓)

    ๕. อานาปานุสติ

    > เมื่อระลึกถึงลมหายใจ ก็ให้คิดต่อว่าวันนี้เราอาจจะตาย(ไม่มีลมหายใจ)ก็ได้ ดังนั้น หากตายเมื่อไหร่ขอไปอยู่กับพระบนพระนิพพาน(ตัดสังโยชน์๓)

    ๖. กายคตานุสติ

    > เมื่อระลึกถึงกายเป็นอารมณ์ ก็ให้คิดต่อว่าขณะนี้เรากำลังจะตายแน่ๆ(กายแตกดับ) ดังนั้น หากตายเมื่อไหร่ขอไปอยู่กับพระบนพระนิพพาน(ตัดสังโยชน์๓)

    ๗. เทวตานุสติ

    > เมื่อระลึกถึงคุณความดีของเทวดาเป็นอารมณ์ ก็ให้คิดต่อว่าเทวดาก็ยังต้องตาย(จุติ) สรรพสัตว์ทั้งหลายในภพภูมิต่างๆก็ต้องมีการตายและเกิดใหม่ในภพภูมิต่างๆเป้นปกติ เราเป็นมนุษย์เราก็ต้องตาย ดังนั้น หากตายเมื่อไหร่ขอไปอยู่กับพระบนพระนิพพาน(ตัดสังโยชน์๓)

    ๘. ศีลานุสติ

    > เมื่อระลึกถึงศีลเป็นอารมณ์ ก็ให้คิดต่อว่าศีลนี้มาจากพระพุทธเจ้า(พุทธานุสติ) ทรงแสดงออกมาเป็นพระธรรม(ธัมมานุสติ) ศีลนี้สามารถพาเราไปพระนิพพานได้(สิเลนะ นิพพุติง ยันติ = ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน-อุปสมานุสติ) เราตั้งใจรักษาศีลและระลึกถึงคุณของศีลนี้เพื่อพระนิพพาน ชีวิตนี้เราต้องตายแน่ ดังนั้น หากวันนี้เราตายเมื่อไหร่ขอไปอยู่กับพระบนพระนิพพาน(ตัดสังโยชน์๓)


    ๙. มรณานุสติ

    > เมื่อเราระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ให้เราคิดต่อว่า เราจะต้องตายลงในขณะนี้ ดังนั้นเราขอไม่เกิดอีก ขอไปอยู่กับพระบนพระนิพพานอย่างเดียว(ตัดสังโยชน์๓)

    ๑๐. จาคานุสติ

    > เมื่อเราระลึกถึงทาน(จาคา)ที่เราเคยให้ หรือคุณของการให้ทาน(จาคา)เป็นอารมณ์ ก็ให้เรานึกต่อไปว่าทานที่เราให้แก่คนหรือสัตว์ไปนี้ แม้จะเป็นบุญกุศลมากเพียงใด ก็ไม่อาจช่วยให้เราไม่ถึงแก่ความตายได้ และความตายนี้ จะมาในขณะใดก็มิอาจรู้ อาจจะเป็นในขณะที่เรากำลังนั่งระลึกถึงทานหรือคุณของทานนี้อยู่ก็ได้ ดังนั้น หากขณะนี้เราตายลงไปเมื่อใด เราขอไปอยู่กับพระบนพระนิพพาน(สังโยชน์๓)

    กสิณ ๑๐

    ๑. เตโชกสิณ
    ๒. อาโปกสิณ
    ๓. วาโยกสิณ
    ๔. ปฐวีกสิณ
    ๕. นิลกสิณ
    ๖. ปีตกสิณ
    ๗. โลหิตกสิณ
    ๘. โอทากสิณ
    ๙. อาโลกสิณ
    ๑๐. อากาศกสิณ

    >>> สำหรับพระกรรมฐานหมวดนี้ ไม่ว่าจะฝึกกสิณกองใด ให้จับพุทธานุสติเพิ่มเข้าไปเป็นพุทธานุสติ+กสิณ จากนั้นให้พิจารณานึกถึงความตายว่า ในที่สุดแล้วเราก็ต้องตาย ดังนั้นหากตายเมื่อไหร่ขอไปอยู่กับพระบนพระนิพพาน(ตัดสังโยชน์๓)

    อสุภะ๑๐

    >>> สำหรับพระกรรมฐานหมวดนี้ ให้พิจารณาว่าสุดท้ายแล้วเราก็จะต้องตายเหมือนกับเขาเหล่านั้น(ศพ)เหมือนกัน และเราอาจจะต้องตายภายในไม่กี่วินาทีที่จะถึงนี้ ดังนั้นหากเราตายเมื่อไหร่ขอไปอยู่กับพระบนพระนิพพาน(ตัดสังโยชน์๓)

    อรูปฌาน ๔

    >>> ผู้ที่ปฏิบัติในพระกรรมฐานกองนี้ สุดท้ายให้คิดต่อว่า สุดท้ายแล้วเวลาเราตายลงเราก็ไม่เหลืออะไรไม่มีอะไรเลย(คือเป็นอรูป)เหมือนกัน จากนั้นคิดต่อว่าไม่แน่ว่าวันนี้เราจะต้องตายก็ได้ ดังนั้น หากเราตายเมื่อไหร่ขอไปอยู่กับพระบนพระนิพพาน(ตัดสังโยชน์๓)

    พรหมวิหาร ๔

    >>> ผู้ที่ปฏิบัติในพระกรรมฐานกองนี้ สุดท้ายก็ให้คิดว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย แม้แต่ตัวเราก็ต้องตาย ไม่แน่ว่าเราอาจจะตายภายในวันนี้ ดังนั้น ถ้าหากเราตายเมื่อไหร่ ขอไปอยู่กับพระบนพระนิพพาน(ตัดสังโยชน์๓)

    อาหาเรปฏิกูลสัญญา

    >>> สำหรับพระกรรมฐานกองนี้ ให้คิดต่อว่าขณะที่เรากำลังกินอาหารอยู่นี้ เราอาจจะตายลงในทันทีทันใดเลยก็ได้ ดังนั้น ถ้าหากเราตายเมื่อไหร่ ขอไปอยู่กับพระบนพระนิพพาน(ตัดสังโยชน์๓)

    จตุธาตุววัฏฐาน ๔

    >>> สำหรับพระกรรมฐานกองนี้ ให้วกกลับเข้ามาพิจารณาว่าสุดท้ายตัวเราก็ตาย(ธาตุ๔สลายหายตัวไป) หากเราตายเมื่อไหร่ ขอไปอยู่กับพระบนพระนิพพาน(ตัดสังโยชน์๓)


    สติปัฏฐาน๔

    ส่วนนี้หลวงพ่อพระราชพรหมยานท่านมาสอนเราผ่านเทปค่ะ(หลังกลับจากวัดเขาวง(ถ้ำนารายณ์)เดือนพ.ค.๕๘) แต่ว่าท่านสอนแค่เฉพาะหมวดกายานุปัสสนาเท่านั้น แล้วก็สอนถึงแค่ปฏิกูลมนะสิการบรรพ เพราะว่าวาระกรรมเข้ามาขัดขวางพอดี เลยเรียนได้เท่านี้

    ๑. กายานุปัสสนา

    ๑.๑ อานาปานสติบรรพ > ประยุกต์ใช้ในแนวเดียวกับอานาปานุสติ
    ๑.๒ อิริยาบถบรรพ > ประยุกต์ใช้ในแนวเดียวกับกายคตานุสติ
    ๑.๓ สัมปชัญญะบรรพ > ประยุกต์ใช้ในแนวเดียวกับกายคตานุสติ
    ๑.๔ ธาตุมนสิการบรรพ > ประยุกต์ใช้ในแนวเดียวกับจตุธาตุววัฏฐาน๔
    ๑.๕ ปฏิกูลมนสิการบรรพ > ประยุกต์ใช้ในแนวเดียวกับกายคตานุสติ


    ๒. เวทนานุปัสสนา
    ๓. จิตตานุปัสสนา
    ๔. ธัมมานุปัสนา


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2018
  12. Napaphat Indraphong

    Napaphat Indraphong สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +9
    27072284_737674476432366_5671628312885642797_n.jpg
    อันนี้เป็นวิธีปฏิบัติแบบลัดคือ การใช้"พุทธานุสติ" อันเป็นพระกรรมฐานที่ปฏิบัติได้ง่าย(เหมาะกับคนทุกจริต)และพาให้เข้าถึงธรรมได้เร็วที่สุด อีกทั้งยังใช้เวลาน้อยคือ ทำก่อนนอนและหลังตื่นนอน (หากไม่มีเวลาปฏิบัติระหว่างวัน)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...