เรื่องเด่น ประเทศไทยกับพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 25 กรกฎาคม 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    พุทธ-ไทย-พลังจิต1.jpg


    พระพุทธศาสนาเข้ามาประดิษฐานในแหลมทองซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ตั้งแต่เมื่อใดนั้น ได้อาศัยหลักฐานคือ โบราณวัตถุที่ได้ค้นพบ และพงศาวดารเป็นหลักวินิจฉัย แรกเดิมนั้นพระพุทธศาสนาเข้ามาตั้งแต่สมัยที่ชนชาติลาว (ชาติละโว้-ละว้า) ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่นครปฐม ปัจจุบันในสมัยนั้นเรียกว่าทวารวดี มีโบราณวัตถุที่ค้นพบที่ จังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี และที่อื่น ๆ อีก

    สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ได้ทรงแบ่งการเข้ามาแห่งพระพุทธศาสนาเป็น ๔ ครั้งด้วยกัน ทั้งนิกายมหายานและหีนยานดังนี้คือ

    1. ๑. สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ส่งสมณฑูตไปประกาศศาสนาในประเทศต่าง ๆ เป็นสมัยที่กรุงทวารวดี กำลังรุ่งเรืองประมาณก่อน พ.ศ. ๓๐๐ ปี ครั้นถึงสมัยราชวงศ์คุปตะเจริญรุ่งเรื่องราว พ.ศ. ๙๐๐ ปี ก็คงเข้ามาอีกครั้งหนึ่งหรือมิฉะนั้นก็มีการไปมาเป็นครั้งคราวของชาวอินเดีย ผู้มาประกาศพระศาสนา ในหนังสือประวัติศาสตร์ตอนว่าด้วยพระพุทธศาสนาแผ่เข้ามานั้น ว่าพระโสณะกับพระอุตระเป็นพระสงฆ์ ที่เข้ามาประกาศพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก เป็นศาสนาดั้งเดิมคือฝ่ายเถรวาทหรือที่เรียกว่าหีนยาน
    2. ๒. ทางอินเดียภาคเหนือพระเจ้ากนิษกะ ได้เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระบรมเดชานุภาพมาก ได้ทรงอุปถัมภ์ การสังคายนาครั้งที่ ๔ ถัดจากพระเจ้าอโศกฯ ทรงอุปถัมภ์การทำสังคายนาครั้งที่ ๓ สังคายนาครั้งที่ ๔ นี้ เป็นการสังคายนาเฉพาะพระสงฆ์ที่อยู่ภาคเหนือ ซึ่งเป็นการเรี่มต้นนิกายมหายานเป็นทางราชการ เป็นครั้งแรก พระเจ้ากนิษกะก็ทรงส่งสมณฑูตไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ เหมือน พระเจ้าอโศกมหาราช นิกายมหายานแพร่มาถึงเกาะสุมาตราไปเกาะชวา ประเทศกัมพูชา ประมาณ พ.ศ. ๑๓๐๐ พระเจ้ากรุงศรีวิชัยในเกาะสุมาตราได้แผ่อำนาจมาในแหลมมลายูซึ่งเลยมาถึงส่วนหนึ่ง ของจังหวัดภาคใต้ของเรา เช่นเมืองไชยา จังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุง เป็นต้น ขึ้นมาไม่ถึง ภาคเหนือ ซึ่งเป็นนิกายฝ่ายเถรวาท แต่เมื่อประมาณ ๑๕๕๐ มีพระมหากษัตริย์สืบเชื้อสายจากศรีวิชัย องค์หนึ่ง มาจากนครศรีธรรมราชได้เป็นผู้ครองเมืองลพบุรี และราชบุตรของพระองค์ได้เป็นกษัตริย์ ประเทศเขมร จึงทำให้ประเทศไทยและเขมรอยู่ในอำนาจกษัตริย์ราชวงศ์องค์เดียวกัน กษัตริย์ทั้งสอง ได้นับถือพระพุทธศาสนานิกายฝ่ายมหายาน เป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานแผ่เข้าสู่ประเทศไทย นับตั้งแต่ภาคเหนือของแหลมมลายูขึ้นมา ที่เมืองลพบุรีมีพระสงฆ์ทั้งสองนิกาย กล่าวคือนิกายเดิมของ ไทยมาจากมคธราฐ ซึ่งมีคนนับถืออยู่ก่อนแล้ว แต่ประเทศเขมรเจริญรุ่งเรืองด้วยนิกายมหายาน เมื่อกษัตริย์เขมรมีอำนาจเช่นนั้น ทำให้นิกายมหายานเจริญแพร่หลาย ในประเทศไทยเป็นนิกายที่สอง พร้อมกับความเจริญของศาสนาพราหมณ์ในประเทศไทยด้วย ทั้งนี้เพราะกษัตริย์เขมรบางพระองค์ก็ เลื่อมใสในศาสนาพราหมณ์ ส่งเสริมศาสนาพราหมณ์ บางพระองค์ก็เลื่อมใสทั้งสองศาสนา ต่างก็บำรุงให้เจริญรุ่งเรืองในรัชสมัยของตน
    3. ๓. สมัยพุกามมีอำนาจในไทยคือสมัยพระเจ้าอนุรุธมหาราชกษัตริย์ ประเทศพม่าซึ่งมีเมืองพุกามเป็นราชธานี ราว พ.ศ. ๑๖๐๐ เป็นกษัตริย์ที่มีอานุภาพมาก ปราบประเทศรามัญไว้ในอำนาจขยายไปถึงประเทศลานนา พระมหากษัตริย์องค์นี้เป็นผู้ทำนุบำรุงและเผยแผ่ศาสนาไปด้วย ประเทศพม่า สมัยพม่า สมัยพุกามนับถือ พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเหมือนประเทศไทยอำนาจที่กษัตริย์องค์นี้แผ่ไปถึง ก็ทำให้พระพุทธศาสนา ฝ่ายเถรวาทมั่นคง เมื่อชนชาติไทยได้อำนาจปกครองดินแดนไทยนั้น คือ พ.ศ.๑๘๐๐ ก่อนชาติไทย มาปกครองดินแดนนี้ ชนชาติไทยก็นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทอย่างเมืองพุกาม เมื่อสิ้นสมัย พระเจ้าอนุรุธมหาราช พุกามก็เสื่อมอำนาจลงโดยลำดับ ขณะเดียวกันอำนาจไทยก็เพิ่มขึ้นเข้าแทนที่ เมื่อไทยแผ่อำนาจลงมาถึงเมืองสุโขทัยก็เข้าแทนที่อำนาจของขอมซึ่งตั้งมาช้านาน ซึ่งมีพระพุทธศาสนา สายเถรวาท และลัทธิพราหมณ์อยู่ก่อนแล้ว เมื่อไทยมาปกครองอาณาจักรแทนขอม ประชาชนใน อาณาจักรนี้ต่างก็นับถือพระพุทธศาสนาและลัทธิพราหมณ์เข้าใจไปว่าเป็นพิธีและแนวความคิดของ พระพุทธศาสนาหมด
    4. ๔. ลังกาวงศ์ ในสมัยต่อมา ที่เกาะลังกา พระเจ้าปรักมาหุ ทรงมีพระเดชานุภาพมาก ทรงทำพระองค์เหมือน พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงอาราธนาพระสงฆ์มีพระมหากัสปเถระ (ชื่อเหมือนพระสาวกครั้งพุทธกาล) เป็นประธานสังคายนาธรรมวินัย จนทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ (แต่บางแห่งว่าปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๗) ชื่อเสียงแห่งความเจริญรุ่งเรือง แห่งพระพุทธศาสนาในลังกา ได้แพร่มายังประเทศพม่า มอญ ไทย จึงมีพระสงฆ์บางรูปในประเทศเหล่านี้ไปดูพระพุทธศาสนาที่ ลังกา บางรูปเมื่อกลับจากลังกาได้พาภิกษุลังกามายังประเทศของตนด้วย สำหรับประเทศไทยตาม ตำนานกล่าวว่า ภิกษุไทยกลับมาตั้งคณะที่นครศรีธรรมราชก่อน เมื่อชื่อเสียงของพระภิกษุลังกาแพร่ไป ถึงกรุงสุโขทัย เมื่อครั้งราชวงศ์พระร่วงเป็นใหญ่ในกรุงสุโขทัยได้นิมนต์พระสงฆ์ลังกาขึ้นไปที่กรุงสุโขทัย ทำให้พระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทเจริญรุ่งเรือง นิกายอาจาริยวาท (มหายาน) เสื่อมลงและสูญไปในที่สุด คงเหลือนิกายเดียว คือนิกายเถรวาท ไม่มีนิกายอาจาริยวาทอย่างเช่นปัจจุบันนี้ (ครั้นถึงปลายสมัย กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ประเทศศรีลังกาคือ เกาะลังกา เกิดจลาจล จนสมณวงศ์สูญสิ้น คงจะมีเหลือ อยู่บ้างตามชนบท เพราะนอกจากพระสงฆ์ไปจากประเทศไทย ไปตั้งคณะขึ้นแล้วก็ยังมีคณะสงฆ์ ของลังกาเองอยู่ด้วย ประเทศลังกาขอพระสงฆ์ไทยไปอุปสมบทกุลบุตรชาวลังกา ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ คือ สยามวงศ์ หรืออุบาลีวงศ์)
    มีผู้กล่าวว่าคนไทยได้นับถือพระพุทธศาสนามาก่อน ก่อนมาตั้งราชธานีที่กรุงสุโขทัยหรือก่อนราชวงศ์พระร่วงเป็นใหญ่ในกรุงสุโขทัย พระพุทธศาสนาที่นับถือเป็นนิกายมหายาน พอราชวงศ์พระร่วงมีอำนาจสมัยสุโขทัย ได้นิมนต์พระสงฆ์จากลังกาซึ่งเป็นนิกายหีนยาน ประกาศศาสนาที่กรุงสุโขทัย นิกายมหายานที่มีอยู่ก่อน ก็ค่อย ๆ เสื่อมไปและสูญไปในที่สุด นิกายหีนยานเจริญรุ่งเรืองและคนไทยได้นับถือพระพุทธศาสนานิกายนี้มาจนกระทั้งปัจจุบัน นิกายมหายานกลับเข้าสู่ประเทศไทย เมื่อชาวจีน ชาวญวณ เข้ามาอยู่เมือง ไทย มีพระจีน วัดจีน พระญวน วัดญวนซึ่งนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน อย่างที่ปรากฏอยู่ในบัดนี้ เช่นวัดเล่งเน่ยยี่ (วัดมังกรกมลาวาส) วัดญวณสะพานขาว (วัดสมณานัมบริหาร) เป็นต้น ในรัชกาลที่ ๓ เกิดนิกายสงฆ์ใหม่ที่เรียกว่า ธรรมยุตินิกาย พระสงฆ์คณะเดิมเรียกว่า มหานิกาย ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ การสื่อสารของโลกได้เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง พระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ รัฐบาลและประชาชนชาวไทย ได้จัดการฉลองพระพุทธศาสนา ๒๕ ศตวรรษ พุทธศาสนานิกสัมพันธ์แห่งโลกรวมทั้งผู้เป็นนายก ก็อยู่ที่ประเทศไทย พระสงฆ์ไทยได้เดินทางรอบโลก ได้สร้างวัดไทยในอินเดีย ในอังกฤษ และวัดไทยในอเมริกา มีพระสงฆ์ไปต่างประเทศมากขึ้นโดยลำดับ และมีพระต่างประเทศมาสู่ประเทศไทยมากขึ้น ที่สำคัญที่สุดคือ พระพุทธศาสนาในประเทศไทย เจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่าประเทศอื่นทั้งหมดที่นับถือพระพุทธศาสนา


    ---------------------
    ขอบคุณที่มา ::
    https://www.phuttha.com/คลังความรู้/ความรู้ทั่วไป/ประเทศไทยกับพระพุทธศาสนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...