ปรัชญาแห่งพุทธศาสนาฝ่ายเหนือ (มหายาน-วัชรยาน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เทพธรรมบาล, 14 มกราคม 2012.

  1. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,222
    ค่าพลัง:
    +293
    การสอนยานทั้งสาม

    จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องซึมซับในยานทั้งสามจนถึงแก่นในสุด
    และเป็นพุทธมามกะอย่างสมบูรณ์ ไม่ใช่เป็นเพียงนักปฏิบัติสาย
    วัชรยาน นี่คือเรากำลังพูดถึงการเป็นพุทธมามกะที่แท้จริง คือ
    เป็นหีนยานที่แท้ ผู้เข้าถึงความสงบรำงับอย่างหมดจดเต็มพร้อม
    และเป็นมหายานที่แท้ ผู้สามารถแบ่งปันความสำนึกตื้นตันและ
    อุทิศตนเพื่อผู้อื่น ดังเช่นที่คุรุผู้สืบสายปฏิบัติและครูบาอาจารย์
    ได้กระทำสืบทอดกันมา ( ๑ )

    เชอเกรียม ตรุงปะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2012
  2. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,222
    ค่าพลัง:
    +293


    วิธีปฏิบัติในยานทั้งสาม

    แม้ว่างานของเชอเกรียม ตรุงปะจะดูมีเอกภาพ ชัดเจน ลึกซึ้งในเนื้อหาที่หนักแน่น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าท่านจะสอนไปตามแผนการที่วางไว้ล่วงหน้าเสมอไป ตรงกัน ข้าม ท่านมักจะเปลี่ยนวิธีการสอนไปตามปฏิกิริยา และความเข้าใจของนักศึกษาใน เวลานั้น การที่ท่านตัดสินใจว่าจะสอนอะไร หรือแสดงธรรมในลักษณะใหนจึงดำเนิน ไปตามสถานการณ์แวดล้อมอยู่ตลอดเวลา

    ยกตัวอย่างเช่น ที่ซัมเย ลิงในสกอตแลนด์ ท่านได้แสดงคำสอนครอบคลุมการปฏิบัติใน ชั้นสูงทั้งหมด ( ๒ ) ในอเมริกาเหนือ ท่านไม่รอช้าที่จะจัดอบรมเรื่อง คัมภีร์มรณศาสตร์ มีการอธิบายภูมิทั้งหก ( ๓ ) หัวข้อการบรรยายในเวลานั้นจะเน้นแนวทางของซ็อกเชน จากนั้นการสัมมนาในปี ๑๙๗๓ ท่านให้ปฏิบัติเป็นขั้นตอนและเป็นระบบมากขึ้น โดยใช้ การฝึกนั่งสมาธิเป็นพื้นฐานของการศึกษาธรรมะ โดยสอนไปทีละขั้น ดังที่เราได้เห็นมา แล้ว

    การสอนตามลำดับขั้นตอนนั้น ท่านประะยุกต์โครงสร้างจากพุทธศาสนาทั้งสามนิกาย หรือสามยาน คำว่า ยาน มักแปลเป็นคำในภาษาอังกฤษว่า " พาหนะ " ( vehicle ) หมาย ถึง เกี้ยวที่หามด้วยคนสี่คน " สิ่งที่ยกตัวคุณขึ้นและพาคุณไป " ยานคืออะไรก็ได้ที่นำคุณ ไปสู่จุดหมาย อย่างเช่น รถยนต์ รถไฟ หรือเครื่องบิน ( ๔ ) ส่วนความหมายในทาง พุทธศาสนา ยานเป็นทั้งพาหนะและหนทางไปด้วยในตัวเป็นสิ่งที่นำพานักปฏิบัติไปสู่ มรรคาแห่งการตรัสรู้

    ครูชาวธิเบตบางคนเชื่อว่าการเลือก " พาหนะ " ขึ้นอยู่กับภูมิธรรมในตัวของแต่บุคคล ถ้ามีปัญญาน้อยกว่าควรปฏิบัติทางหีนยาน ส่วนพวกที่มีศักยภาพเป็นเลิศควรศึกษาแนว วัชรยาน

    แต่ความคิดดังกล่าวไม่ถูกต้องสำหรับเชอเกรียม ตรุงปะ ท่านไม่เห็นด้วยกับความคิด เช่นนี้ จากการศึกษาคัมภีร์โบราณหลายเล่ม ท่านเน้นถึงความจำเป็นที่ทุกคนต้องเริ่ม ต้นปฏิบัติในแนวหีนยานก่อน หาไม่แล้วการศึกษาธรรมในขั้นต่อไปจะเป็นเพียงความ เพ้อฝันของอัตตา ( ๕ ) ท่านไม่เคยพูดถึงฝ่ายหีนยานในทางต่ำต้อยเลย

    การนำแนวทางของหีนยานมาใช้เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยปฏิบัติกันในธิเบต อาจารย์ธิเบต ที่ย้ายมาอยู่ในตะวันตก โดยเฉพาะในยุคนี้มักจะสอนการปฏิบัติ และการเพ่งนิมิต การท่องมนตรา หรือประกอบพิธีต่าง ๆ ตามแบบธิเบตให้แก่ผู้ต้องการคำสอนทั้ง ๆ ที่เพิ่งเริ่มปฏิบัติ แต่ตรุงปะเห็นว่าวิธีการนั้นผิดพลาด " ตามที่ผมเห็น ชาวตะวันตก ส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมสำหรับการฝึกแบบวัชรยาน เพราะยังไม่เข้าใจพื้นฐานของ พุทธศาสนา พวกเขายังไม่รู้เรื่องทุกข์ซึ่งอยู่ในข้อแรกของอริยสัจจ์ ๔ เลยด้วยซ้ำ ดังนั้น ในประเด็นนี้ การนำเสนอพุทธศาสนาในเบื้องต้นต่อชาวตะวันตก จึงต้องใช้หีนยาน เป็นพื้นฐานขั้นแรกเสียก่อน ผู้ที่เข้ามาศึกษาต้องฝึกความอดทนกับความปวดเมื่อยจาก การนั่งสมาธิและพยายามทิ้งความคิดทั้งหลายทั้งปวงออกจากหัวเสียให้หมด " ( ๖ ) ท่านชี้ขาดว่าเราจำเป็นต้องเริ่มต้นด้วย " ความซื่อตรง " ถ้าไม่ปูพื้นฐานนี้ไว้ก่อน ศาสนธรรมทั้งหลายจะกลายเป็นวัตถุนิยม ในสายปฏิบัติแล้ว การปฏิบัติธรรมไม่อาจลุมรรคผลได้ ถ้าไม่เริ่มต้นด้วยความซื่อตรงของหีนยาน ในยุคที่ตรุงปะเข้ามาสอนพุทธ ศาสนานั้น นักศึกษาชาวตะวันตกหลายคนกำลังคลั่งไคล้กับซ็อกเชน หลักธรรมนี้ดูจะ มี " คุณค่า " มากยิ่งกว่าหลักธรรมอื่น ๆ ซึ่งทัศนะนี้ทำให้ท่านโกรธมาก ท่านถือว่าเป็น การดูหมิ่นสายธรรมปฏิบัติ และเป็นโรคร้ายอย่างหนึ่งในยุคของเรา ที่ชอบมองทุกอย่าง เป็นสินค้าไปหมด

    การศึกษาพุทธศาสนาทั้งสามยานอย่างถ่องแท้ครบถ้วน เปรียบได้ดังการศึกษาแผนที่ ก่อนออกเดินทาง มันทำให้เรารู้ว่าเรากำลังจะไปที่ใด และช่วยขจัดความขัดข้องสงสัย ลับปัญญาให้แหลมคมก่อนที่จะออกเดินทาง ไม่มีสายธรรมใดดีกว่าสายใด มันเป็นเพียง หนทางที่แตกต่างซึ่งนำไปสู่จุดหมายเดียวกัน

    ท่านมักจะอธิบายมรรควิถีโดยการเปรียบเทียบแบบโบราณว่า หีนยานเปรียบเหมือนการ ลงหลักปักเสาบ้าน ส่วนมหายานเป็นการสร้างตัวบ้าน ตันตระคือการสร้างหลังคาทองคำ ครอบตัวบ้าน ดังนั้นหากเราเริ่มสร้างหลังคาก่อนวางรากฐานย่อมเป็นเรื่องน่าขัน ตรุงปะ แสดงให้เห็นถึงแต่ละขั้นตอนการปฏิบัติซึ่งสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไป เมื่อบรรลุถึงขั้นหนึ่ง ก็ก้าวสู่ขั้นต่อไป แต่ก็ยังรักษาพื้นฐานเดิมไว้ตลอด ดังนั้น มรรควิถีไม่ได้หมายถึงการ เลื่อนชั้นจากชั้นหนึ่งไปอีกชั้นหนึ่ง เหมือนในโรงเรียน และไม่ได้หมายให้เลือกเอาเอง ตามใจชอบว่าจะเดินตามอย่างมหายานและไปสู่วัชรยาน ดุจเดียวกับเลือกที่จะขับรถยนต์ ไปอิตาลี แล้วขึ้นเครื่องบินไปเที่ยวป่าในเคนยา มรรควิถีจะเผยตัวมันเองไปตามแต่ประ สบการณ์ของผู้ปฏิบัติแต่ละคน และวิธีที่เชอเกรียม ตรุงปะแจกแจงแสดงเหตุผลก็แสน จะพิศดารเลิศล้ำ

    ตามวิธีของท่านริมโปเช แม้ว่าการศึกษาทีละยานเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็ไม่จำเป็นว่าต้องรีบ ศึกษายานหนึ่งให้จบ ก่อนจะเริ่มศึกษาอีกยาน การทำความคุ้นเคยกับประสบการณ์ของ ยานที่ศึกษาอยู่เป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่จะก้าวไปศึกษายานต่อไป แต่ท่านก็ไม่ได้คาดหวังให้ นักศึกษาบรรลุความเห็นแจ้งเจนจบในยานนั้นเสียก่อน เพราะท้ายที่สุดแล้ว มรรควิถีของ ทั้งสามยานก็จะผนึกตัวอยู่ในมรรคปฏิบัติของทุก ๆ คน ดังนั้นใช่ว่าเราจะต้องก้าวไปให้พ้น จากหีนยานเสียก่อน ตรุงปะต้องการให้ทุกคนระลึกถึงประเด็นนี้ไว้ให้ขึ้นใจ โดยการใช้วิธี ที่ไม่มีวันลืมคือ จู่ ๆ ก็ปลุกนักศึกษาขึ้นมากลางดึกในช่วงของการอบรมรุ่นสุดท้ายของ ปี ๑๙๘๖ เมื่อทุกคนมารวมตัวกัน ท่านก็ประกาศว่า " คำสอนของหีนยานไม่อาจถือว่าเป็น สิ่งที่พวกท่านจะใช้เป็นเพียงพาหนะแล้วถีบส่งหรือสลัดทิ้ง คำสอนของหีนยานคือ พลัง ที่จะสร้างวินัยปฏิบัติของเราให้ดำเนินต่อไปได้ตลอดสาย ด้วยเหตุนี้ หีนยานจึงถือได้ว่า เป็นพลังแห่งชีวิต โอเค เท่านี้แหละ อย่าทิ้งหีนยาน " ( ๗ )

    ในบทนี้ผู้เขียนไม่ได้คิดจะอธิบายเนื้อหาของยานทั้งสามที่ตรุงปะสอน เพียงแค่ต้องการ ที่จะนำเสนอเป็นแนวทาง โดยเน้นที่ประเด็นสำคัญที่เป็นแก่นสาระ และเนื้อหาในแนว กว้างเพื่อที่จะพูดถึงเรื่องอื่น ๆ ต่อไปได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม คงไม่สมควรถ้า จำกัดขอบเขตการสอนเรื่องยานทั้งสามของท่านริมโปเชเพียงด้วยสิ่งที่ท่านพูดเท่านั้น เพราะไม่ว่าท่านจะสอนข้อธรรมใดท่านจะลงลึกถึงเนื้อหาที่ชัดเจนในเรื่องของจิตภายใน เสมอ ตระหนักถึงความสัมพันธ์อันลุ่มลึกของวิถีทางเหล่านั้นอยู่ในใจเสมอ
     
  3. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,222
    ค่าพลัง:
    +293


    หีนยาน : ทางสายแคบ

    ความหมายตามตัวอักษรของคำว่า หีนยาน คือ " พาหนะลำเล็กหรือน้อยกว่า " แต่ถ้าจะ แปลให้กระชับชัดลงไปก็คงหมายถึง " ทางสายแคบ " " หีนยานคือทางสายเล็กหรือทาง สายแคบ หมายถึงการมีวินัยที่เข้มงวดในการฝึกสมาธิจะช่วยสยบหรือรำงับจิตที่ฟุ้งซ่าน และว่องไวให้ช้าลง เป็นการเอื้อให้จิตตั้งอยู่ในที่ของมัน " ซึ่งเป็นการสำรวมจิตให้อยู่ใน ความสันโดษและเรียบง่ายนั่นเอง

    ความหมายสำคัญของหีนยานคือ การดำรงชีวิตเยี่ยงผู้ที่หมายรู้ว่าตนเป็นใครอย่างแท้ จริง ไม่ใช่หมายมั่นว่าเราจะอยากเป็นใคร " การที่เราจะรู้ได้ว่าเราเป็นเช่นไร เราต้อง ระลึกรู้ในความฟุ้งซ่านวุ่นวาย ความทุกข์ ความเจ็บปวดทั้งหลายของเรา แต่ไม่ใช่เพื่อ หาคำตอบจากมัน แค่สังเกตมันเฉย ๆ ให้ละเอียดยิ่งขึ้นทุกที โดยมิได้มุ่งในคำตอบ " ( ๙ ) พูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่า หีนยานหมายถึง การพิจารณาดูทุกข์ และเข้าใจว่าเราสร้างมัน ขึ้นมาเยี่ยงไร ด้วยความยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย และอัตลักษณ์ ของเรา

    นอกจากความทุกข์ทางกายอันเนื่องมาแต่การเกิด แก่ เจ็บ ตายแล้ว ยังมีทุกข์ทางใจ อัน เกิดจากวังวนของสุขและทุกข์ที่หมุนเวียนมิรู้จบสิ้น ในขั้นที่ละเอียดไปกว่านี้ ยังมีความ หวังและความกลัวสลับซับซ้อนเป็นความทุกข์ที่ลึกลงไปอีก เราจึงเหมือนถูกจับโยนไป ในสังเวียนของการต่อสู้อันไม่สิ้นสุด ด้วยความอยากจะเอาชนะให้ทุกอย่างเป็นไปตาม ความต้องการของเรา

    ด้วยเหตุนี้เอง หีนยานยังมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า " ทางลำบาก " ( ๑o ) ตามความ หมายอันงดงามของเชอเกรียม ตรุงปะ แน่นอนว่าบนเส้นทางของหีนยานนั้น เราต้อง เผชิญหน้ากับตัวทุกข์ หมดหนทางที่จะหนีความทุกข์ทรมาณหมดหวังหมดกำลังใจจะ ใฝ่หาใครสักคนมาช่วยดึงเราขึ้นมาให้พบกับความรู้แจ้งด้วยเวทมนตร์ ตรุงปะย้ำอยู่เสมอ ว่าพุทธศาสนาเป็นแนวทาง " อเทวนิยม " ซึ่งหมายความว่าไม่มีผู้ใดสามารถมาแทนที่เรา ได้ มีเพียงตัวเราเท่านั้นที่สามารถปลดเปลื้องอัตตาออกจากกระบวนการการเกิดของ มันและฝึกตนไม่ให้ตกหลุมพรางที่เราเป็นผู้ขุดไว้เอง เป็นหลุมพรางที่เราหลอกตัวเอง ว่ามันคือความสุข แต่ในความเป็นจริงกลับยิ่งสร้างทุกข์ให้ตัวเองกับผู้อื่นมากยิ่งขึ้น ( ๑๑ )

    การตระหนักรู้นี้ต้องอาศัยการมีปฏิปทายึดมั่นในวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ ( สันสกฤต ศีล ภาษาธิเบต ซุลทริม ) พระองค์บัญญัติพระวินัยสำหรับภิกษุและภิกษุณีที่จะต้องปฏิบัติ ตามทุกตัวอักษร วินัยบัญญัติมีความหมายตามตัวอักษร คือ " สงบรำงับ " และในความเป็น จริง " การปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเข้มแข็งทำให้กาย วาจา ใจของเราสงบรำงับ ทำให้เรา สามารถดับความร้อนรุ่มของกิเลสให้เย็นลง มอดลงไป " ( ๑๒ )
     
  4. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,222
    ค่าพลัง:
    +293
    มหายาน : ทางสายกว้าง

    ตรงข้ามกับทางสายแคบของหีนยาน มหายานหรือ " พาหนะอันยิ่งใหญ่ " เป็นเสมือน " ทางหลวงสายกว้าง " การเปิดกว้างนี้ไพศาลสุดประมาณ นักภาวนาไม่เพียงแต่มีจุด หมายที่จะหลุดพ้นเพื่อตนเอง หากยังตั้งปณิธานที่จะปลดปล่อยผู้อื่นให้หลุดพ้นจาก ห้วงทุกข์ด้วย ด้วยเหตุนี้ มหายานจึงก้าวข้ามอุดมคติเพื่อการหลุดพ้นของปัจเจกบุคคล หากยังตั้งปณิธานที่จะปลดปล่อยผู้อื่นให้หลุดพ้นจากห้วงทุกข์ด้วย ด้วยเหตุนี้ มหายาน จึงก้าวข้ามอุดมคติเพื่อการหลุดพ้นของปัจเจกบุคคลแบบหีนยาน มาเป็นการตั้งเป้าหมาย บรรลุธรรมเพื่อปลดปล่อยทุกสรรพชีวิตออกจากสังสารวัฏ

    ปรัชญาหลัก ๆ ของมหายานคือการส่งผู้อื่นไปยังฝั่งนิพพานก่อนตนเองสร้างจิตสำนึกรู้ ว่าผู้อื่นมีความสำคัญยิ่งกว่าตน แต่ทัศนคติเช่นว่านี้ " ไม่ได้ตั้งอยู่บนการปฏิเสธตนเอง หรือแบบนักบุญมรณสักขี ทว่าเป็นความมุ่งหมายที่พวยพุ่งจากความอบอุ่นเอื้อเฟื้อและ ความกรุณาที่แท้จริง " ( ๑๔ ) มันไม่ได้มาจากการทำตามหลักศีลธรรมแต่อย่างใด

    ความกรุณานี้ไม่ใช่แค่ความรู้สึกเห็นใจในความทุกข์ของผู้อื่น หรือแม้แต่มีส่วนร่วมใน ความทุกข์ของคนเหล่านั้น ทว่าคือ " ความกระจ่าง อันกอรปด้วยความอบอุ่นเอื้อเฟื้อ " ( ๑๕ ) มันเป็นความอ่อนโยนจากปัญญาญาณ ที่แผ่ออกตามธรรมชาติสู่สรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดุจเดียวกับดวงอาทิตย์ฉายแสงออกมาตามธรรมชาติ โดยปราศจากความพยายามไม่หวัง จะเป็นที่นิยมรักใคร่ เช่นเดียวกับที่เมื่อเราขจัดม่านหมอกและอุปสรรคที่ขัดขวางการสำ แดงออกของความกรุณา ซึ่งเป็นมรรคาของมหายาน ความกรุณาในหัวใจของเราจะหลั่ง ไหลออกมาเพื่อประโยชน์สุขของตนและสรรพชีวิตทั้งมวล

    ส่วนความกรุณาที่ใช้กันโดยทั่วไป เชอเกรียม ตรุงปะได้ขอยืมคำพูดที่เป็นนัยขัดแย้งว่า " ความกรุณาปัญญาอ่อน " จากเกอร์ดจีฟ ( ๑๖ ) ซึ่งหมายถึง " วิธีการประจบสอพลอ เพื่อพยายามจะบรรลุความปรารถนาอันซ่อนเร้นของตัวเอง " ( ๑๗ ) เป็นการทำให้คนอื่น รู้สึกดี แต่กลับเพิ่มพูนมายาภาพและทำให้ผู้อื่นอ่อนแอลง

    ความกรุณาอันแท้จริงเน้นที่การมองสถานการณ์ อย่างที่มันเป็นอยู่จริง ๆ และปฏิบัติไปตาม นั้น ( ๑๘ ) มันอาจหมายถึงความจำเป็นที่จะต้องทำให้ใครเจ็บปวดเพื่อเป็นการเยียวยารักษา เขา เหมือนกับการที่คุณอาจจะตวาดออกไปเพื่อห้ามไม่ให้เด็กเอานิ้วแหย่ปลั๊กไฟ หรือ ฉีดยาคนไข้เพื่อรักษาความเจ็บป่วย

    พลังของโลกทัศน์ดังกล่าวดำรงอยู่ในข้อเท็จจริงที่ว่าการนึกถึงผู้อื่นก่อนตัวเอง อันเป็นการ เปลี่ยนมุมมองอย่างถอนรากถอนโคนจากความยึดถือในอัตตาของเรา การเจริญความกรุณา จึงหมายถึงการเปิดดวงใจของเราออก ด้วยการขจัดเครื่องกีดขวางที่บดบังความเห็นที่ถูก ต้อง เครื่องกีดขวางเหล่านี้ได้แก่ ความกลัว ความเห็นแก่ตัว และความมุ่งหวัง โดยปกติ สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวปกปักรักษามิจฉาทิฏฐิความเห็นผิด และช่วยยืนยันถึงการดำรงอยู่ของ เรา ดังที่ตรุงปะอธิบายไว้ว่า " สิ่งสำคัญที่เราพยายามจะบรรลุ คือการมีภาวจิตที่เปิดกว้าง อย่างแท้จริง เนื่องจากแต่เดิมนั้นมโนกรรมของเรานั้นซับซ้อน ซึมลึกและปิดตัว หากฉันทำ เช่นนี้ เช่นนั้นจะเกิดขึ้น หากฉันทำเช่นนั้น เช่นนี้จะเกิดขึ้น " ( ๑๙ )

    ความกรุณาที่บริสุทธิ์มิใช่สิ่งที่เข้ามาอยู่ในตัวเราได้เอง เราต้องเรียนรู้วิธีจะทำให้มันเติบโต " อุปสรรคในการเป็นพุทธมหายาน คือการไม่มีความเมตตาต่อผู้อื่นและตัวเองอย่างเพียง พอ - นั่นคือรากฐานของปัญหาเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องฝึกฝนการปฏิบัติที่เรียกว่า การฝึกโลจอง หรือ " การฝึกจิต " ( ๒o ) การฝึกโลจองอย่างหนึ่งที่ตรุงปะเน้นให้ทำเป็น พิเศษคือ ทองเลน " การให้และการรับ " ( ๒๑ ) ซึ่งท่านสอนในช่วงอบรมปี ๑๙๗๙

    การฝึกทองเลนมีสามขั้นตอน ขั้นแรก คุณต้องพักจิตอยู่ในสภาวะอันเปิดกว้าง มันเหมือน กับความสงบงันล้ำลึกและความแจ่มกระจ่างชั่ววูบ เป็นประสบการณ์ของความว่างอย่าง ฉับพลัน และไม่ใช่สิ่งใดนอกจาก " ความกรุณาอันหมดจด " ( ๒๒ ) ขั้นตอนนี้มีความสำคัญ ยิ่งกว่าสิ่งใด เพราะความกรุณาที่แท้จริงจะผุดขึ้นมาได้ก็ต่อเมื่อเรามีความตระหนักรู้ว่าอัตตา นั้นหามีอยู่ไม่ และตระหนักถึงความว่างอันเป็นสุญญตา การเข้าใจถึงสภาพธรรมตามความ เป็นจริงจะนำไปสู่ความกรุณาได้เอง " เมื่อคุณเริ่มตระหนักรู้ในอนัตตา คุณก็จะยิ่งก่อเกิด ความกรุณา ยิ่งให้และเอื้อเฟื้อ ปัญหาอยู่ที่ว่า ตามปกติเราชอบเกาะเกี่ยวอยู่ในกรอบของ อัตตาและติดหนึบอยู่กับพื้นฐานนั้น เมื่อใดที่เราติดอยู่กับพื้นฐานนั้น เราจะไม่รู้จักการให้ การเข้าใจในสุญญตา โยงไปสู่การตระหนักรู้ว่าที่จริงแล้วไม่มีพื้น ไม่มีฐานอะไรให้เราหยัด ยืน เราเป็นอิสระอย่างแท้จริง ปราศจากความก้าวร้าว และเปิดกว้าง " ( ๒๓ )
     
  5. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,222
    ค่าพลัง:
    +293
    ขั้นตอนที่สอง เป็นการ " สัมผัสอารมณ์ความรู้สึก " ดังที่จูดิธ แอล. ลิฟ อธิบายไว้ดังนี้



    ให้คุณหายใจเอาความรุ่มร้อนเข้ามา หายใจเอาความมืด และความ
    หน่วงหนัก ความรู้สึกอึดอัดขัดข้องเข้ามา แล้วหายใจเอาความรู้สึก
    เยือกเย็น สว่างใส และโปร่งเบา อันเป็นความรู้สึกที่สดชื่นออกไป
    หายใจเอาสิ่งเหล่านี้เข้ามาและออกไปผ่านทุกรูขุมขนในตัวคุณ การ
    จะหยั่งละสู่การปฏิบัติทองเลนได้ คุณจะต้องเริ่มจากมโนกรรม
    สิ่งใดก็ตามที่ผุดขึ้นมาในความคิด คุณเพียงแต่หายใจเอาสิ่งที่ไม่พึง
    ปรารถนาเข้าไป และหายใจออกด้วยสิ่งที่พึงปรารถนา เริ่มจากขณะ
    จิตนี้ของคุณ ให้คุณแผ่ความรู้สึกอันพึงปรารถนานั้นยังบุคคลรอบ
    ข้าง และสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังอยู่ในห้วงทุกข์เช่นเดียวกับคุณ
    ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกำลังรู้สึกไม่สามารถ ก็เริ่มด้วยการหายใจเอา
    ความรู้สึกนั้นเข้ามา และหายใจออกด้วยความสามารถและศักยภาพ
    และให้ขยายผลการฝึก โดยการแผ่ขยายความรู้สึกนี้ให้พ้นไปจาก
    ตัว โดยโยงใยเกี่ยวเนื่องไปถึงความรู้สึกในบรรยากาศรอบ ๆ ตัว
    และในโลกทั้งหมด คุณสมบัติสำคัญของการฝึกเช่นนี้ก็คือการเปิด
    หัวใจออกเพื่อรับเข้าและปล่อยออกไปอย่างหมดหัวใจ ในการฝึก
    ทองเลน เราจะไม่ปฏิเสธสิ่งใด ไม่ว่าอะไรก็ตามที่ผุดขึ้นมาถือว่า
    เป็นเชื้อเพลิงให้แก่การเจริญภาวนาทั้งสิ้น ( ๒๔ )



    ที่ธิเบต ผู้ปฏิบัติจะได้รับคำอรรถาธิบายให้เห็นความจำเป็นของการเจริญความกรุณาให้บัง เกิดในตน และหยุดความคิดว่าตนเป็นศูนย์กลางของโลก เนื่องด้วยกฎแห่งกรรมที่ว่า เรา ทุกคนต่างเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน ดังนั้นสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกอาจเคยเป็นมารดา ของเรามาก่อน ด้วยเหตุนี้ เราจึงควรให้ความรักต่อสรรพสัตว์เหล่านั้น ( ๒๕ ) มโนภาพ เช่นนี้รวมเอาคำสอนทั้งหมดของมหายาน จิตสำนึกที่บ่มเพาะจนสูงสุดนี้ทำให้อาจารย์ผู้ยิ่ง ใหญ่ในอดีตถึงกับยอมรับความทุกข์ทรมาณ และพร้อมที่จะเฉือนเนื้อที่ขาตัวเอง หรือแม้แต่ ตัดหัวเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น เราควรจะเดินตามอย่างท่านเหล่านั้น

    ด้วยเหตุที่โลกตะวันตกมีชะตากรรมที่ไม่เหมือนกัน ตรุงปะจึงเน้นแนวคิดอีกอย่างของ มหายานที่แตกต่างออกไป ( ๒๖ ) คือ แทนที่ท่านจะใช้หลักตรรกวิภาษแบบเดิม ท่านกลับ ให้ความหมายของความกรุณาว่าเป็น ประสบการณ์ ที่ผุดขึ้นมา เมื่อการต่อสู้เพื่อธำรงอัตตา จบสิ้นลง ก็จะเกิดการยอมรับและความรู้สึกต่อศรัทธาเชื่อมั่นที่แผ่ขยายและแผ่รัศมีสู่ผู้อื่น โดยธรรมชาติ " ตามแนวคิดของมหายาน เมื่อเรามีจิตที่อ่อนโยนกับตัวเอง ความเป็นมิตร ต่อผู้อื่นจึงจะเริ่มก่อตัวขึ้น " ( ๒๗ ) เวลาที่ท่านสอนเรื่องนี้ ท่านพยายามให้ความรู้สึกนี้เกิด ขึ้นในใจของนักภาวนา เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมยิ่งกว่าจะเป็นนามธรรมอันเลื่อนลอย ไม่มี อะไรที่แตกต่างระหว่างสิ่งที่ท่านพูดกับสิ่งที่ท่านทำ

    แต่การบ่มเพาะธรรมชาติของความกรุณาด้วยการขจัดอุปสรรคใหญ่คือ อัตตานั้นเป็นแนว ทางที่ยากลำบากสำหรับนักศึกษาชาวตะวันตก ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การขาดแรงบันดาลใจ พวกเขาสามารถตระหนักถึงความสำคัญของทัศนะแบบเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นตามคติของมหายาน แต่มโนคตินี้เป็นสิ่งที่นำมาปฏิบัติได้ยาก พวกเขามักจะบ่นว่า ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย หัวใจของเขายังคงปิดอยู่และยิ่งพยายามจะเปิดกว้าง พวกเขาก็ ยิ่งรู้สึกท้อแท้หมดหวังยิ่งขึ้น ( ๒๘ )

    เชอเกรียม ตรุงปะ จึงย้ำให้นักศึกษาเริ่มจากการสัมผัสกับจิตของตนเองพูดอีกอย่างคือ มองให้เห็นความขัดแย้งสับสนของตัวเองก่อน จากนั้นพวกเขาจึงสามารถแผ่ความรู้สึก อ่อนโยนต่อผู้อื่นได้ แต่เดิมนั้นคำว่าไมตรี ซึ่งท่านเรียกว่า " ความอ่อนโยนต่อตัวเอง " หรือ " มิตรภาพพื้นฐาน " ถูกแปลด้วยคำว่า " ความรัก " การที่ตรุงปะใช้คำคำนี้ เป็นข้อ บ่งชี้ว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะบ่มเพาะความรักหรือความกรุณา โดยที่ยังไม่ได้สัมผัส กับหัวใจของตนเองเสียก่อน หากเราช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่ได้ผ่านการทำความเข้าใจกับ ความทุกข์ทรมาณของตัวเอง ก็ย่อมยากที่จะเข้าถึงความกรุณาที่แท้ได้ เราจะมีความรักได้ ก็ต่อเมื่อมอบความอ่อนโยนกับตัวเองให้ได้เสียก่อน

    เมื่อเราได้ก่อเกิดทัศนคตินี้ เราจะบ่มเพาะสิ่งหนึ่งที่ตรุงปะเรียกว่า " แผลเจ็บ " อันเป็นคำ ที่มีความหมายลึกซึ้ง ความคิดในเชิงลบ ความแค้นใจ ความโกรธ และความขุ่นมัวทั้ง หลายเกิดขึ้น เพราะเราพยายามจะปิดบังความอ่อนแอในหัวใจของเรา " ไม่ว่าเราจะตกอยู่ ในโลภะ โมหะ โทสะ หลงอยู่ในอัตตา มันยังคงมีแผลเจ็บซ่อนอยู่ในตัวเรา และย่อมมี บาดแผลดำรงอยู่เสมอ นี่เป็นอุปมาที่เห็นได้ชัด แผลเปิดนี้มักจะสร้างปัญหาและทำให้เรา ไม่สบายใจอยู่เนือง ๆ เราไม่ชอบมัน เราอยากจะเป็นคนแข็งแกร่ง อยากจะต่อสู้ แสดงพลัง ความเข้มแข็ง เพื่อเราจะได้ไม่ปกป้องหรือหาข้ออ้างให้กับสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่ " ( ๒๙ ) ตรุงปะเน้นการกระทำเชิงบวกว่า ถ้าเราเลิกปกป้องตัวเอง นั่นเป็นเพราะเราอ่อนโยนและ เต็มพร้อม ความสำคัญของการปฏิบัติในสายมหายานอยู่ที่ความไว้วางใจในความบอบบาง ของตัวเอง ซึ่งหาใช่อุปสรรค ทว่าเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของความเป็นมนุษย์ ( ๓o )
     
  6. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,222
    ค่าพลัง:
    +293


    วัชรยาน : ทางลัด


    หากหีนยานคือหนทางสู่การรู้จิตภายในตน มหายานคือหหนทางในการเข้าใจอารมณ์ วัชรยานแปลว่า " พาหนะอันแข็งแกร่งมิอาจทำลายได้ " ก็คงมีความหมายที่สัมพันธ์ โดยตรงอย่างที่สุดกับปรากฏการณ์และความสำนึกรู้ว่าโลกคือสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ การ ระลึกรู้นี้ทำให้ผู้ปฏิบัติสัมพันธ์กับสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างที่มันเป็นอยู่ โดยไม่มีข้ออ้าง อื่นมาบิดเบือนความจริง

    แม้ว่าวัชรยานจะมีความแตกต่างจากมหายาน แต่ก็จำเป็นที่เราต้องทำความเข้าใจว่า ยังคงเน้นความสำคัญกับการอุทิศตนเพื่อประโยชน์สุขของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ดังที่ เชอเกรียม ตรุงปะพูดว่า " การฝึกปฏิบัติในแนววัชรยานโดยไม่เจริญความกรุณา ก็เหมือน กับการลงไปแหวกว่ายในตะกั่วเหลว มีแต่ตายสถานเดียว " ( ๓๑ ) ความเข้าใจของ วัชรยานเป็นเรื่องเรียบง่าย ตรงไปตรงมา และทรงพลังยิ่งกว่ามหายาน การบำเพ็ญเพื่อ เป็นโพธิสัตว์คือการกระทำกรรมดีและช่วยเหลือผู้อื่น แต่วัชรยานมีแนวคิดที่ว่าความ กรุณานั้นต้องเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เราจะต้องมีความเชื่อมั่นศรัทธาอย่างแรงกล้าและ แน่วแน่ต่อธรรมชาติที่เปิดกว้างและมิอาจทำลายได้ของประสบการณ์แห่งตน มันหลุด พ้นออกจากแนวคิดเรื่องมรรคาหรือหนทาง เราจึงต้องผ่านขั้นตอนปฏิบัติที่ดูเหมือนจะไร้สาระ คุณต้องสร้างทัศนะที่เปิดกว้างไร้ขอบเขต เพื่อที่ขจัดทัศนะและความคิดทั้ง หลายที่อัดแน่นอยู่ในอัตตา ด้วยเหตุนี้ การอุทิศตนให้กับครูจึงเป็นรากฐานสำคัญ มิเช่น นั้น คงไม่มีใครกล้าที่จะเสี่ยง การอุทิศตนทำให้เราเชื่อมั่นต่อไฟปรารถนาที่จะเปิดออก และมอบใจทั้งหมดให้กับทางสายนี้

    เชอเกรียม ตรุงปะสอนเรื่องวัชรยานตั้งแต่ตอนมาอยู่อเมริกาใหม่ ๆ ท่านอธิบายให้เห็น ว่าความรู้แจ้งกับความฟุ้งซ่านเหมือนเหรียญที่มีสองด้าน " เราควรจะบ่มเพาะจิตที่อ่อนน้อม ตระหนักรู้ว่าความวิปลาสของคุณเป็นสารอย่างหนึ่งหาใช่ขยะที่คุณจะต้องโยนทิ้ง ไปไม่ นี่เองคือจุดเริ่มต้นของการบำเพ็ญ ความคิดเรื่องสังสารวัฏและนิรวาณคือหนึ่ง เดียวกัน สังสารวัฏไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่คนเราต้องก้าวข้ามเพียงอย่างเดียว แต่มันมีสาระ สำคัญควรแก่การเคารพ " ( ๓๒ )

    แม้ว่าท่านจะใช้หลักของหีนยานเป็นพื้นฐานในการสอนพุทธศาสนา แต่ก็ได้นำเสนอผ่าน มุมมองอทวิลักษณ์ของวัชรยาน ตัวอย่างเช่น ท่านกล่าวว่าการภาวนาเป็น " หนทางในการ สืบต่อความสับสน ว้าวุ่น รุนแรง และตัณหา แต่ให้กระทำการร่วมกับมัน มองมันด้วย ปัญญาที่รู้แจ้ง " ( ๓๓ )


    ในการอบรมแต่ละครั้ง ท่านจะสอนเรื่องวัชรยานอย่างเป็นระบบ ละเอียดลออ แต่แง่มุม จะแตกต่างไปในแต่ละปี การได้ถ่ายทอดประสบการณ์แนววัชรยานทำให้ท่านมีความสุข เป็นพิเศษ ท่านบอกว่ามันทำให้ท่านยิ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศิษย์ " หากไร้วัชรยาน เราก็เหมือนไม่มีหัว หีนยานเป็นเท้า มหายานคือหัวใจอันบริสุทธิ์ พุทธศาสนาหากไร้หัว ก็ต้องตาย ดังนั้น ผมจึงรู้สึกมีความสุขมากที่ได้ถ่ายทอด ความเข้าใจในเรื่องนี้กับพวก คุณเท่าที่จะเป็นไปได้ มันเหมือนกับได้พบเพื่อนใหม่ สำหรับผมแล้วมันเป็นสภาพการณ์ อันดื่มด่ำ " ( ๓๔ )
     
  7. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,222
    ค่าพลัง:
    +293
    *****เดี่ยวข้ามาต่ออีก มันค่อนข้างเยอะ

    ไปเจอข้อความของท่าน คาเมนไรเด้อ ที่เคยโด่งดังที่เว็ปนี้ ถูกใจเลยเอามาให้ได้อ่านกัน
    นะจ๊ะ นะจ๊ะ*****
     
  8. saintyom

    saintyom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +776
    ลายตาจังเลยท่าน แต่บทความดีๆแบบนี้
    เราจะพยายามอ่าน และศึกษานะท่านนะ
     
  9. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,222
    ค่าพลัง:
    +293
    [​IMG]
    อย่าหักโหมอ่านทีเดียวหมด นะจ๊ะนะจ๊ะ พักบ้างเดี่ยวปวดหัว เลย เอามาครึ่งหนึ่งก่อน จ้า ^^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2012
  10. thunderstrom

    thunderstrom Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    853
    ค่าพลัง:
    +62
    ประทับใจมาก ขอบคุณคุณเทพมากครับ
     
  11. เมขต์

    เมขต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,537
    ค่าพลัง:
    +119
    ตาม อ่านครับ พี่เทพ
     
  12. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,222
    ค่าพลัง:
    +293


    แก้ไขความเข้าใจเรื่องพิธีอภิเษก

    เชอเกรียม ตรุงปะสอนมรรควิธีของวัชรยาน และการปฏิบัติในมรรคานี้อย่างไร ?

    ก่อนที่เราจะพูดถึงปัญหานี้ จะขอยกคำพูดที่แสดงความรู้สึกของตรุงปะซึ่งเป็นต่อการ ค้นหาคำตอบ " ผมอยากให้พวกเราลบความคิดเห็นเดิมทิ้งอีกครั้งและพิจารณาสิ่งที่เรา ได้เรียนไปก่อนหน้านี้ " เพราะจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสอนมรรควิธีไปตามลำดับขั้น

    ตามหลักธรรมของหีนยาน ผู้ปฏิบัติต้องเผชิญหน้ากับความทุกข์ ความผิดหวัง และ ความวิปลาสสับสนอย่างตรงไปตรงมา ส่วนมหายานคือการฝึกความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น ก่อนตนเอง เป็นการเผชิญหน้ากับธรรมชาติของความจริง ซึ่งบางครั้งเรียกว่าธรรมชาติ ของจิต จึงอาจเกิดขึ้นได้ ความมหัศจรรย์นี้เกิดจากการสัมผัสกับจิตของครูโดยตรง ภาระหน้าที่ของท่านจึงเป็นการ " ล้างภาชนะ ของศิษย์ให้สะอาดใสปราศจากเชื้อโรค ทุกประเภทที่เกิดจากวัตถุนิยม จากนั้นจึงรินหลั่นสารัตถธรรมเข้าไป " ( ๓๕ ) นี่คือ แนวคิดเรื่องการถ่ายทอด ซึ่งเป็นหัวใจของรหัสยมรรคในยานนี้ ดังที่เรอเน่ เก-นง กล่าวไว้ว่า " ทัศนะทางศาสนาเป็นเรื่องของปัจเจกภาวะ ซึ่งไม่ได้ต้องการกำจัดมันลง แต่จุดมุ่งหมายหลักของการอภิเษก คือ การขึ้นอยู่เหนือสภาวะนี้ จนบรรลุถึงอันติมภาวะ ซึ่งอยู่เหนือเหตุปัจจัยใด ๆ " ( ๓๖ )

    พิธีอภิเษกเป็นการให้โอกาสแก่ศิษย์ได้สัมผัสกับกระแสพลังของศาสนธรรมตามสายปฏิบัติ ของครู และได้สัมผัสถึงความรู้แจ้งที่ครูครอบครองอยู่

    เชอเกรียม ตรุงปะตัดสินใจที่จะสอนเนื้อหาของวัชรยานทันทีที่ผู้ปฏิบัติมีพื้นฐานในพุทธมรรค สามเดือนสุดท้ายของการอบรมหลักธรรมของทั้งสามยานแล้ว ผู้ศึกษาก็สามารถรับการอภิเษก ตามสายวัชรยานได้ตามความต้องการ

    ในขั้นนี้ นักศึกษาจะเริ่มการปฏิบัติปฐมบท ( เรียกว่างอนโดร ซึ่งเป็นข้อวัตรที่ต้องปฏิบัติ ก่อนที่จะได้รับสิทธิ์เข้าพิธีอภิเษก ) เราจะไม่ลงรายละเอียดของการปฏิบัติปฐมบทนี้ ( แม้ ว่าตรุงปะจะมีวิธีสอนที่น่าสนใจยิ่ง ) เนื่องจากไม่ต้องการสอนแบบเปิดสำหรับคนทั่วไป ท่านคิดว่ารหัสยมรรคนี้ควรจะดำรงความศักดิ์สิทธิ์ลี้ลับและสงวนไว้เฉพาะกับศิษย์ที่ท่าน ใกล้ชิดเท่านั้น ( ๓๗ )

    ในบริบทของเนื้อหาในบทนี้ จะขอยกคำพูดจากจดหมายซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดของตรุงปะ ที่เขียนถึงเหล่าตันตริกะ ( ผู้ปฏิบัติสายวัชรยาน ) ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๑๙๗๕ ซึ่งทำให้เห็น ภาพโดยรวมของงานที่ท่านทำอยู่ " ผมคิดว่า พลังจากการปฏิบัติสายตันตระได้แสดงตัว ของมันเองอยู่แล้ว มีครูชาวธิเบตหลายท่านสอนการสาธยายมนตร์ สาธนา และสิ่งอื่น ๆ ที่ดูคล้ายตันตระแก่นักศึกษาชาวอเมริกัน ถ้ามองจากคนภายนอก สิ่งเหล่านี้สั่งสอนกันมา เป็นเรื่องปกติ เช่น เดียวกับที่สอนให้แก่ชาวไร่ชาวนาหรือพระทั่ว ๆ ไปในธิเบต อย่างไร ก็ตาม ผมคิดว่าคุณทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเป็นสิทธาได้ ทุกคนมีศักยภาพที่จะได้รับคำสอนขั้นสูงสุด ผมภูมิใจที่ก่อนหน้านี้เรามีการสอนสมถะวิปัสสนากัน นั่นเป็นการปูพื้นฐานของจิต ให้พร้อม เท่ากับเราได้เตรียมรากฐานให้แน่นหนาก่อนที่จะรับหลักธรรม จากวัชรยานอย่าง เต็มที่โดยไม่ผิดเพี้ยน " ( ๓๘ )

    ตรุงปะจัดอบรมเป็นประจำให้เฉพาะกับนักศึกษาวัชรยาน โดยพยายามกระตุ้นให้พวกเขา พูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์ของตัวเองออกมา กลุ่มแรก ๆ นี้เป็นที่รู้จักในนามของนักปฏิบัติตันตระ

    การถ่ายทอดธรรมเต็มรูปแบบจะมีขึ้นในพิธีอภิเษกซึ่งมีความสำคัญสูงสุดในชีวิตของชาว พุทธ วัชรยาน พิธีอภิเษกคือการถ่ายทอดพลังทางวิญญาณซึ่งครูจะน้อมนำศิษย์เข้าสู่โลก แห่งการตรัสรู้อย่างหมดจด ซึ่งจะหลอมรวมบุคลิกภาพทั้งมวลของศิษย์ลงในนั้น

    ขณะที่เชอเกรียม ตรุงปะศึกษาอยู่กับจัมกอน คองตรูลแห่งเซเชน คุรุของท่านได้ถ่ายทอด รินเซน เทอร์โซ ( คัมภีร์อันเป็นสมบัติล้ำค่า ) " ธรรมสมบัติ " หกสิบสามเล่มนี้รวบรวมคำ สอนกับการถ่ายทอดหลักธรรมที่องค์จัมกอน คองตรูลได้เก็บรวบรวมไว้เป็นจำนวนมาก

    จัมกอน คองตรูลแห่งเซเชนเริ่มตระเตรียมพิธีตั้งแต่ตีสี่ และศิษย์ต้องอยู่แต่ในห้องตั้งแต่ตี ห้าถึงสองทุ่ม พิธีนี้ใชเวลาเกือบหกเดือน สุดท้ายท่านคองตรูลอนุญาตให้เชอเกรียม ตรุงปะ ทำการถ่ายทอดคำสอนที่รับไปแก่คนอื่นได้ พระอาจารย์มอบตำแหน่งและสิ่งของเป็นสัญ ลักษณ์ อันได้แก่ จีวร กระดิ่งประกอบพิธีกรรม และดอร์เจ คฑาวัชระอันเป็นสัญลักษณ์ ของสัจธรรมอันมิาจทำลายได้ และหนังสือของท่านอีกจำนวนหนึ่ง ทั้งหมดนี้เป็นของส่วน ตัวที่อาจารย์เคยใช้มา

    อีกสองสามเดือนต่อมา ในขณะที่กำลังเดินทางไปดรอลม่า ลาลัง มีผู้ขอให้ตรุงปะประกอบ พิธี รินเซน เทอร์โซ ให้ ท่านก็ยอมหลังจากลังเลอยู่สักพักเพราะท่านอายุยังน้อย เหตุการณ์ นั้นไม่ใช่เรื่องปกติ ถึงจะเป็นตุลกูก็ตาม การประกอบพิธีอภิเษกเป็นชุดใหญ่เช่นนี้ทั้ง ๆ ที่อายุ เพิ่งจะสิบสี่นับว่าเป็นเรื่องแปลก

    ครั้งสุดท้ายที่ท่านถ่ายทอดธรรมหมวดนี้ คือในปี ๑๙๕๘ โดยยักตุลกูเป็นผู้ขอ เนื่องจาก สถานการณ์คับขันจากการรุกรานของจีน ทำให้พิธีถ่ายทอด รินเซน เทอร์โซ ย่นระยะเวลา เหลือเพียงสามเดือน โดยมีพระสามร้อยรูปเดินทางมาจากวัดใกล้เคียงมาเข้าพิธี ซึ่งกว่าจะ เสร็จพิธีในแต่ละวันก็ล่วงเลยไปจนดึกดื่น

    ดังนั้น ตรุงปะจึงสามารถประกอบพิธีอภิเษกที่แตกต่างกันไปนับร้อยอย่างซึ่งเป็นส่วน หนึ่งของการถ่ายทอดจากคัมภีร์ รินเซน เทอร์โซ แต่ระหว่างที่อยู่สหรัฐ ฯ เป็นเวลาสิบ เจ็ดปีท่านประกอบพิธีอภิเษกเพียงสองอย่าง ในทุก ๆ ปีตั้งแต่ปี ๑๙๗๗ ท่านจะทำพิธี มนตราภิเษกวัชรโยคินี และในปี ๑๙๘๖ ก่อนหน้าที่ท่านจะสิ้นชีวิตไม่กี่เดือน ท่านทำ พิธีจักรสังวราภิเษก ( ๓๙ ) นี่เป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญอย่างเห็นได้ชัด

    ในกรณีนี้ ตรุงปะมีความเห็นที่แตกต่างจากประเพณีของยุคนั้น ที่ธิเบตนิยมประกอบ พิธีอภิเษกต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก แม้กระทั่งปัจจุบันนี้ เมื่อมีวัชราจารย์ชาวธิเบตเข้ามา พำนักอยู่ในศูนย์ปฏิบัติธรรมระหว่างการตระเวณประเทศทางตะวันตก ก็มักจะมีการ ประกอบพิธีอภิเษกต่าง ๆ ให้

    ตุรงปะไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว สำหรับท่านแล้วพิธีอภิเษกถ้าทำกันจนเฝือ ก็จะเหมือนกับแจกขนมหรือของเล่น แต่ถ้าทำอย่างถูกต้องเหมาะสมก็จะเป็นหนทาง ที่จะเข้าสู่พระประสิทธิ์ในสายธรรมปฏิบัติ ด้วยเหตุนี้พิธีนี้ควรจะเป็นขั้นตอนสุดท้าย หลังจากศึกษาหลักธรรมทั้งสามยานมาแล้ว "
    การรับพิธีอภิเษกเป็นร้อย ๆ ครั้ง และ สั่งสมพรครั้งแล้วครั้งเล่าอยู่เรื่อย ๆ เพื่อเป็นการตอกย้ำตัวเอง ในระะยะหลังกลายเป็น แฟชั่นที่นิยมทำกันอย่างแพร่หลาย นี่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงที่ธิเบตในศตวรรษที่สิบเก้า เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในตะวันตกเมื่อไม่นานมานี้ ทัศนะเช่นนี้สะท้อนถึงการสอนที่บิด เบือนของวัชรยานในยุคปัจจุบัน ทำให้เกิดการเข้าใจผิดกันอย่างใหญ่หลวง " ( ๔o ) ในสภาพการณ์เช่นนี้นักศึกษาไม่สามารถสัมผัสได้ถึงพลังอันรุนแรงของพิธีอภิเษก เพราะพวกเขาไม่ได้เตรียมตัวให้เหมาะสมก่อน ( ๔๑ ) ตามประเพณีการรับอภิเษกเช่น นั้น นักศึกษาควรฝึกตนมาเป็นเวลาหลายปี และผ่านการปฏิบัติปฐมบททั้งหมดมาเสีย ก่อน ตรุงปะไม่เหมือนกับอาจารย์คนอื่น ๆ ตรงที่ว่า ท่านไม่เคยอนุญาติให้ใครละเมิด กฎข้อนี้หรือปฏิบัติเพียงบางส่วน ( ๔๒ )

    ในเรื่องนี้ถึงกับมีคำกล่าวในเชิงกระทบกระเทียบชาวธิเบตว่า " นักปฏิบัติสายวัชรยาน ชาวอินเดียปฏิบัติบูชายิดัมแค่องค์เดียวก็ยังเกิดความรู้แจ้งนับพัน ส่วนชาวธิเบตปฏิบัติ บูชาเทพเป็นพัน ๆ องค์ แต่ไม่รู้แจ้งธรรมแม้สักข้อเดียว " ตรุงปะจึงมีความคิดที่จะนำวิธี ที่จะนำวิธีของทางอินเดียโบราณกลับมาใช้ในธรรมสถานต่าง ๆ

    ตรุงปะจะสร้างปัจจัยที่เหมาะสมเพื่อให้ทำพิธีอภิเษกมีพลังอย่างแท้จริง ท่านจะสร้าง สถานการณ์ให้ดูสับสนจนไม่มีใครรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป นี่คือหลักการมูลฐานที่อยู่ เบื้องหลังความลี้ลับของวัชรยาน ซึ่งท่านจะเน้นย้ำอยู่เสมอ ความลี้ลับนี้ทำให้ทุกคน ก้าวย่างไปสู่มรรคาแห่งจิตภายใน ยิ่งผู้ปฏิบัติรู้น้อยเพียงใดว่าตนกำลังจะต้องเผชิญกับ สิ่งใด เขาจะยิ่งพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับหลักคำสอนที่จะได้รับ และยิ่งจะมี โอกาสเข้าถึงปาฏิหาริย์ของพิธีอภิเษก
     
  13. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,222
    ค่าพลัง:
    +293


    ครูสอนซ็อกเชน : การสอนให้พิจารณาธรรมทั้งปวงจากมหาทัศนะ


    ซ็อกเชน ( สันสกฤต คือ มหาอติ ) เป็นการปฏิบัติธรรมขั้นสูงสุดหรือการบรรลุภาวะเดิม แท้อันสมบูรณ์ ศิษย์ของตรุงปะบางคนรู้สึกว่าท่านไม่ได้สอนซ็อกเชนแก่พวกเขาในขั้น ลึกซึ้ง หรือจะสอนหลักธรรมนี้ในช่วงที่ท่านอยู่ที่อังกฤษก่อนจะมาอเมริกาเท่านั้น ทว่า ความคิดเช่นนี้ช่างห่างไกลความเป็นจริงอย่างน่าขันและแสดงถึงความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง ในความหมายที่แท้จริงของซ็อกเชน และในการทำงานของเชอเกรียม ตรุงปะ เราสามารถ พูดได้อย่างเต็มคำว่าท่านหาได้สอนสิ่งใดนอกจากซ็อกเชนไม่ ตัวท่านเองก็พูดไว้ว่า สิ่ง ที่ท่านสอนมาทั้งหมดนั้น " กล่าวถึงพื้นที่ว่างอันยิ่งใหญ่ไพศาล ... ไม่ใช่ความว่างที่ตรง ข้ามกับขอบเขต แต่หมายถึงการเปิดกว้างถึงที่สุด " ( ๔๓ ) อันเป็นเนื้อหาของมรรคาสาย นี้ นี่คือลักษณะการสอนที่พิเศษสุดของท่าน แม้ท่านจะชอบเรียกสิ่งนี้ว่าเป็นความสามัญ ที่แท้จริง เพราะนี่คือธรรมชาติของแนวคิดแบบซ็อกเชน ( ๔๔ )

    ท่านอธิบายว่าการปฏิบัติขั้นมหาอติเหมือนการยืนอยู่บนยอดเขาและมองออกไป เราจะ ถูกตรึงด้วยทิวทัศน์ที่กว้างขวางรอบทิศทาง จากมุมมองนี้เราจะเห็นมรรคาตลอดทั้งสาย เมื่อสอนหีนยาน ตรุงปะจะให้ฝึกสมาธิแบบสมถะ - วิปัสสนา เพื่อให้หมายรู้ในความว่าง จากการตามลมหายใจ หลังจากที่เราหายใจออกจนหมดลม เราจะละลายหายไป ตามมา ด้วยความรู้สึกหวาดหวั่นพรั่นพรึงชั่วขณะ จากนั้นเราก็สร้างโลกของความยึดมั่นถือมั่น ขึ้นมาใหม่ ท่านกระตุ้นให้ศิษย์สลายตนเองในช่องว่างเล็ก ๆ นี้ เป็นรอยแยกเล็ก ๆ ใน ความต่อเนื่องของภาวะการดำรงอยู่ นักปฏิบัติที่ละทิ้งทิฏฐิของตนจะละเลิกทำร้ายผู้อื่น

    ในการสอนมหายาน ตรุงปะให้ฝึกทองเลน ควบคู่กับการถือสิกขาบทของท่านอตีศะ ( ๔๕ ) การฝึกทองเลนเริ่มด้วยการเจริญเมตตาอย่างไม่มีประมาณที่ผุดขึ้นมาอย่างฉับพลัน จากนั้นก็ตามดูลมหายใจเข้า ลมหายใจออก โดยละวางความยึดถือใด ๆ ส่วน สิกขาบทของอตีศะอุบัติขึ้นจากจิตของท่าน ประหนึ่งมัจฉาที่ผุดขึ้นจากวารี และเปิด หัวใจออกอย่างฉับพลัน

    วัชรยานนำเราไปสู่มรรคาที่เชื่อมโยงตัวเราเข้ากับปาฏิหาริย์ของการเปิด ออกสู่ความ เวิ้งว้างไพศาลอันปราศจากของเขตของซ็อกเชน มันคือการสัมผัสถึงความเว้นว่างที่ ดำรงอยู่ในประสบการณ์ทั้งปวง ความสงบไม่อาจบังเกิดได้หากปราศจากความฟุ้ง ซ่านสับสนฉันใด ความสงบเยี่ยงนั้นย่อมเป็นสองขั้วแห่งทวิลักษณ์

    ตรุงปะย้ำอยู่เสมอถึงเป้าหมายสูงสุดของวิถีปฏิบัติทั้งหลาย คือการสลายขอบเขตจำกัด ใด ๆ ให้หมดสิ้นไป เพื่อให้เราได้เห็นความว่างอันมิอาจหยั่งวัดซึ่งดำรงอยู่ตรงแก่นกลาง ของสภาวธรรมทั้งปวง

    กล่าวได้ว่า ตรุงปะมีความเด่นล้ำตรงที่ท่านได้สอนญาณทัสนะสูงสุดของซ็อกเชน ใน ขณะที่ก่อนหน้านี้ท่านยังเน้นความสำคัญของการเริ่มมรรคปฏิบัติตามแนวหีนยาน อัน เป็นสองแนวทางที่ดูจะขัดแย้งกันอย่างยิ่ง

    หามิได้ ถึงแม้ว่าเชอเกรียม ตรุงปะจะให้ศิษย์เริ่มต้นปฏิบัติตั้งแต่ขั้นแรกด้วยการฝึกสมาธิ ภาวนาตามหลักปฏิบัติที่ทรหดอดทน และซื่อตรงตามแนวทางของนิกายหีนยาน ทว่าหลัก การนั้นเราก็เอิบอาบอยู่ด้วยศรัทธาอันเต็มเปี่ยมต่อธรรมชาติของวัชระอันมิอาจทำลายได้

    ในประเด็นนี้ ล็อปปอนได้เล่าถึงครั้งที่ตรุงปะเดินทางไปที่เดา โชนู เกาะไอร์แลน ตอน ยังเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมปลีกวิเวกในทวีปยุโรป วันหนึ่งมีอาจารย์ยี่สิบห้าคนจากสำนัก Transcendental Meditation มาขอพบเพื่อฟังปาฐกถาธรรม ท่านก็พูดกับอาจารย์เหล่านั้น ว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องเริ่มต้นการปฏิบัติจากรากฐาน แล้วท่านก็บรรยายหลักของ หีนยาน

    ทว่าล็อปปอนเล่าว่า " ถึงแม้ท่านจะสอนไปตามหลักปริยัติธรรมแต่บรรยากาศของการ บรรยายกลับเป็นคนละเรื่อง มันสร้างความรู้สึกราวกับยืนอยู่ตรงหน้าผาสูงใหญ่ จิตของ เราเหมือนถูกผลักลงไปสู่ความว่างอันไร้ขอบเขต ธรรมบรรยายของท่านมีลักษณะของ การถ่ายทอดซ็อกเชน มันตรึงจิตของคุณได้ ทำให้คุณมีที่ยึดเหนี่ยว ก่อนจะถูกปล่อยออก สู่ความเวิ้งว้างไพศาล เนื้อหาที่ท่านแสดงช่างแตกต่างจากสิ่งที่ท่านได้กระทำต่อเรา "

    ทุกอย่างที่ท่านแสดงหรือสะท้อนถึงวจนะของท่านสรหะที่กล่าวว่า " จงพร้อมในธรรมชาติ เดิมแท้ของการสัมปชัญญะอันบริสุทธิ์หมดจด ! " ( ๔๖ )

    ซ็อกเชน คือ สภาวะที่ทุกสรรพสิ่งคลี่คลายเปิดเผย " พุทธศาสนาถูกแบ่งออกเป็นหลาย นิกาย แรกทีเดียวแบ่งเป็นนิกายหีนยาน มหายาน และวัชรยาน มีการโต้เถียงกันในหมู่ นิกายเหล่านี้ ทุกฝ่ายต่างก็อ้างถึงความครอบถ้วนในหลักธรรม และต่างก็มีคำตอบ หีนยาน อาจบอกว่าตนมีคำตอบเพราะรู้แจ้งในสัจธรรม มหายานอาจบอกว่าพระโพธิสัตว์คือบุคคล ผู้ประเสริฐที่สุดในโลก ชาวตันตระอาจบอกว่าบุคคลผู้มหัศจรรย์ที่สุด คือโยคีบ้าผู้ทรง พลังอำนาจ ไม่มีใครเอาชนะได้ ผู้บรรลุสิทธิอำนาจและปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ปล่อยให้คนพวกนี้ เชื่ออย่างของตนไปเถิด ช่างมันเถอะ แต่สิ่งเหล่านี้มีความหมายอย่างไรสำหรับตัวเราเองใน ฐานะผู้ศึกษาธรรมซึ่งต้องการคำสอนต่าง ๆ ? ผู้ปฏิบัติมหาอติจะมองเห็นโลกที่เปล่าเปลือย เห็นมากกว่าสิ่งที่เป็นผิวหนัง เนื้อในหรือกระดูก ในยานขั้นที่ต่ำลงมา เราจะคิดสำนวนวลี ต่าง ๆ ที่ทำให้เรารู้สึกดีขึ้น เพราะเรายังมีอะไรให้พูดถึงอีกมาก อย่างเช่นเรื่องความกรุณา หรือความว่าง หรือปัญญาญาณ แต่ในความเป็นจริงนั่นคือหนทางในการหลีกเลี่ยงความ จริงแท้อันเปลือยเปล่าของชีวิตแน่นอน ในมหาอติ ย่อมมีความอบอุ่น มีความเปิดกว้าง มี ความลุ่มลึก มีทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในนั้น แต่ถ้าเราเริ่มแบ่งแยกธรรมะ ตัดมันออกเป็นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อยเหมือนเนื้อวัวแยกเอาไปทำเซอร์ลอยด์สเต๊ก ทำแฮมเบอร์เกอร์ และสันคอ เราก็ จะได้ชิ้นเนื้อราคาแพงไม่เท่ากัน แล้วธรรมะก็จะถูกขายทอดตลาด อันที่จริงตามที่ท่าน วิมลมิตรกล่าวไว้ เหตุที่มหาอติมีความสำคัญก็เพราะว่าการปฏิบัติธรรมในแปดยานแแรก นั้น ธรรมะถูกนำมาขายทอดตลาดราวกับอาหารอันโอชะต่าง ๆ แต่มหาอติเป็นสิ่งจำเป็น ต้องศึกษา เพื่อที่จะรักษาพระธรรมให้รอดพ้นจากการนำมาตัดแบ่งบรรจุใส่ห่อวางขายทอด ตลาด " ( ๔๗ ) ดังนั้น การลอกคราบวัตถุนิยมทางศาสนาจึงปรากฏขึ้นในรูปแบบที่แตกต่าง ออกไป และเป็นหลักคำสอนอันลุ่มลึก และเข้าถึงหลักธรรมที่เป็นแก่นแท้ที่สุด
     
  14. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,222
    ค่าพลัง:
    +293
    หนทางรู้แจ้งอย่างช้า ๆ / หนทางรู้แจ้งอย่างฉับพลัน

    หนทางรู้แจ้งอย่างช้า ๆ / หนทางรู้แจ้งอย่างฉับพลัน

    ในด้านหนึ่ง เชอเกรียมตรุงปะได้อธิบายมรรคปฏิบัติแบบค่อยเป็นค่อยไปของนิกายต่าง ๆ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ท่านก็สอนหนทางรู้แจ้งแบบฉับพลัน ท่านได้แสดงให้เห็นถึงความ สำคัญของการรวมมรรควิธีทั้งสองด้านเข้าด้วยกัน หากนักปฏิบัติต้องการศึกษามรรคาใด ๆ เพราะ " เบื่อหน่ายที่จะเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ " ( ๔๘ ) พวกเขาก็ต้องเรียนรู้ที่จะเข้าสัม พันธ์กับความเป็นจริงอย่างที่มันเป็น หลักธรรมของมรรคาแห่งความรู้แจ้งโดยฉับพลัน นั้น เริ่มด้วยแนวคิดเรื่องวัตถุนิยมทางศาสนา ซึ่งตรุงปะได้อธิบายไว้ว่า มรรคนี้ไม่ใช่เรื่อง ของการสะสมความรู้ต่าง ๆ ผู้ปฏิบัติจะต้องเจาะทะลุความหลงผิดที่จะทำให้เราออกห่าง จากสิ่งที่เป็นอยู่จริง วิธีนี้เมื่อเราเข้าถึงหลักธรรม จิตจะเกิดความรู้แจ้งถึงก้นบึ้ง เราไม่ได้ มุ่งไปทางใด หากตื่นรู้ในสัจธรรมที่แท้ตรงหน้านี่เอง

    ในบทนี้แม้ว่าเราได้ศึกษาพุทธศาสนาทั้งสามยานแล้วก็ตาม แต่ทว่าในการอบรม เชอเกรียม ตรุงปะจะสอนหลักปฏิบัติของทั้งเก้ายาน ที่มีความชัดเจนลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปอีก ( ๔๙ ) ในปี ๑๙๗๓ ที่ซานฟรานซิสโก เมื่อท่านสอนเรื่องนี้ในการอบรม มีนักศึกษาคนหนึ่งถามขึ้นมา ว่า " ตอนที่ท่านเรียนพุทธธรรมที่ธิเบตนั้น อาจารย์ได้สอนแผนภูมิทั้งหมดของหลักปฏิบัติ ทั้งเก้ายาน ก่อนที่จะศึกษารายละเอียดลึกลงไปในแต่ละยานหรือเปล่า ? "

    ตรุงตอบว่า " เปล่า ไม่ได้สอน ผมจึงสับสนมากในตอนนั้น ผมอยากให้อาจารย์ทำอย่าง นั้นเหมือนกัน จึงได้นำมาสอนพวกคุณในตอนนี้ไง ผมเองก็อยากจะศึกษา แล้วมานำ เผยแพร่แก่คนทั่วไป ขั้นตอนการปฏิบัติธรรมในธิเบตยังไม่เป็นระบบ และออกจะสับ สนอยู่
    " ( ๕o )

    การตัดสินใจเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าตรุงปะยังผูกพันกับจารีตเดิม ท่านสอนหัวใจของ พุทธธรรม โดยไม่เปลี่ยนแปลงสิ่งใดแม้สักกระเบียด และก็ไม่ยอมรับการผ่อนปรนใด ๆ " พุทธมรรคที่สอนอยู่นี้คือมรรคาดั้งเดิม ซึ่งมิได้หมายถึง แบบแผน ทว่าเป็นหัวใจของ พุทธมรรค " ( ๕๑ ) ความปรารถนาของตรุงปะก็คือการฟื้นฟูความบริสุทธิ์ของจารีตที่ สืบทอดมา ซึ่งกำลังถูกคุกคามทำลายในยุคของความสิ้นหวังและวัตถุนิยมนี้

    ท่านไม่เคยปิดบังว่าพุทธมรรคนี้เป็นมรรคาอันยากลำบาก ท่านไม่เคยลังเลที่จะบอกว่า นี่คือหนทางอันแสนเข็น " เรามีปัญหาอยู่สามประการ ... ที่อาจเกิดขึ้นกับการศึกษาของ ผู้ศึกษาพุทธธรรมในอนาคต ปัญหาประการที่หนึ่งคือ คุณอาจจะหลงใหลได้ปลื้มกับ วัฒนธรรมธิเบต หรือคัมภีร์สันสกฤต หรือความเป็นพุทธแบบอินเดีย หรือความเป็น ตะวันออก คุณอาจจะหลงทางชนิดกู่ไม่กลับ จนกลายเป็นพวกนิยมธิเบตในอนาคต นั่น คือปัญหาใหญ่สุด ปัญหาอย่างที่สองคืออาจเป็นไปได้ที่คุณจะรู้สึกเอาเองว่าคุณปฏิบัติ ตามแนวตันตระอย่างครบถ้วนแล้ว พอเพียงแล้ว ทำให้คุณไม่คิดที่จะปฏิบัติตามหลัก ของหีนยานและมหายานอีก ปัญหาประการที่สาม คือเมื่อมีผู้ต้องการฝึกภาวนามาหาคุณ เพื่อขอคำแนะนำ แล้วคุณให้คำแนะนำไปอย่างคลุมเครือ อีกทั้งไม่มีการติดตามพัฒนา การของเขาตั้งแต่ต้นจนจบ นี่ก็จะกลายเป็นปัญหาได้ เพราะเวลานี้พวกคุณส่วนใหญ่ กลายเป็นครูไปแล้ว หรือมิฉะนั้น คุณก็เป็นครูตรงนี้ หรืออาจจะเป็นในอนาคต ดังนั้น จงพยายามอย่าให้เหตุการณ์เหล่านี้เหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อเห็นแก่การสืบทอดพระศาสนา และเพื่อเห็นแก่ความพยายามที่ผมได้ทุ่มเทตนให้แก่พวกคุณมาโดยตอดด้วย " ( ๕๒ )

    การที่จะเข้าใจขอบเขตของสิ่งที่ท่านพยายามจะทำอยู่นั้น เราต้องมีครวามคิดที่ถูกต้อง สามประการ คือ ประการหนึ่ง พุทธศาสนาอยู่เหนือการโยงใยกับวัฒนธรรมไม่ว่าของ ชนชาติใด ทว่าเป็นทางอันนำไปสู่ความรู้แจ้งอย่างแท้จริง พุทธมรรคเป็นของสรรพชีวิต ทั้งหลาย เพราะนำไปสู่การสัมผัสรับรู้โดยตรงต่อภาวะอันปราศจากบัญญัติมนุษย์

    ประการสอง เป็นไปไม่ได้ที่จะดำเนินตามพุทธมรรคโดยไม่อาศัยหลักปฏิบัติของยานทั้ง สาม โดยเริ่มจากการพิจารณาตรวจสอบความฟุ้งซ่านของเราอย่างซื่อตรง หากเราไม่ยอม ลดตัวลงเช่นนี้ เราจะหลงทางผิดบิดเบือนความหมายที่แท้จริงในพุทธธรรม และอาจทำ ให้อัตตาทวีความซับซ้อนและพอกพูนยิ่งขึ้น

    ประการสุดท้าย ท่านต้องการให้ศิษย์เผยแพร่ธรรมะด้วยการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีการเล่นเกมแสดงอำนาจ การจะเผยแพร่ธรรมะและสร้างรากฐานพุทธศาสนาให้มั่น คงในโลกตะวันตกนั้น นักปฏิบัติทั้งหลายพึงมีความจริงใจและซื่อตรงต่อกัน

    บรรทัดฐานที่ท่านวางไว้ทั้งสามข้อนี้ นักปฏิบัติทั้งหลายพึงระลึกไว้อยู่เสมอว่าต้องซื่อ สัตย์กับสภาวจิตภายในของตนอย่างแท้จริง ไม่หลงใหลไปกับแรงเย้ายวนของภาพลักษณ์ ภายนอก ซึ่งนี่อาจจะเป็้นการท้าทายที่ยากที่สุดสำหรับมนุษย์ทุกคน
     
  15. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,222
    ค่าพลัง:
    +293
    เชิงอรรถ


    ๑. Chogyam Trungpa , 1981 Seminary Transcripts : Vajaradhatu ( Boulder : Vajradhatu Publications ) , p . 32 .

    ๒. ท่านสอนวัชรกิลัย การฝึกบาร์โดในความมืดเพียงลำพัง และซ็อกเชนซึ่งเป็นการปฏิบัติ ในนิกายญิงมา

    ๓. การสอนในหัวข้อนี้ต่อเนื่องกับการปูพื้นเรื่องซ็อกเชน กอร์เด รูเชน ( แยกสังสารวัฏออก จากนิพพาน ) ซึ่งผู้ปฏิบัติจะผ่านประสบการณ์ในภพภูมิทั้งหกหรือสภาวะจิตหกประการ การ แจกแจงสภาวะอันสับสนฟุ้งซ่านเหล่านี้อย่างละเอียด ทำให้นักปฏิบัติหยั่งเห็นถึงธรรมชาติ แห่งการตรัสรู้ ธรรมชาตินี้ถูกปกคลุมด้วยม่านอวิชชาในขณะที่อยู่ในสภาวะของภพภูมิทั้งหก มาโดยตลอด การบรรยายของตรุงปะสองในสามครั้งของปี ๑๙๗๑ หาอ่านได้ในหนังสือ Transcendind Madness

    ๔. คำว่ายานในภาษาธิเบต คือ เธกปะ เธกหมายถึง " ยกขึ้น " หรือ " พาไป " เติมปะเข้าไป กลายเป็นคำนาม ดังนั้นเธกปะจึงหมายถึง " สิ่งที่ยกคุณขึ้นไป " บางครั้งตรุงปะโยงความ หมายของ ยาน กับคำว่า lift ซึ่งใช้ในภาษาอังกฤษ แต่อเมริกันจะเรียก elevator

    ๕. ริมโปเชมักวิจารณ์อย่างรุนแรง เรื่องที่การสอนพุทธธรรมที่ไม่ถูกต้องจะนำไปสู่อันตราย และขาดการปูพื้นซึ่งจะทำให้ชาวตะวันตกเข้าใจผิด " อาจารย์ตะวันออกบางคนดดูจะตื่นเต้น กับชาวต่างชาติ ' โอ ! ในที่สุดเราก็ได้สอนพวกต่างชาติ คนละซีกโลก ' อาจารย์พวกนี้มักจะ โอนอ่อนให้นักศึกษาโดยไม่จำเป็น เพราะความหลงใหลได้ปลื้มกับคนเหล่านี้ แม้ว่าอาจารย์ เหล่านี้จะใจกว้างพอที่จะยอมรับศิษย์ชาวตะวันตกด้วยใจจริงและด้วยเมตตา แต่ใจดีมากเกิน ไปก็กลับเป็นอันตรายได้ " จาก Journey without Goal , p . 50 . ในขณะเดียวกันท่านได้ทุ่มเท ความพยายามทุกอย่างเพื่อฝึกให้นักศึกษาทุกคนเข้าถึงมรรควิธีของวัชรยาน

    ๖. Chogyam Trungpa , in Herbert V. Guenter and Chogyam Trungpa , The Dawn of Tantra , p . 79 .

    ๗. Chogyam Trungpa , 1986 Seminary Transcripts : Hinayana - Mahayana ( Boulder : Vajradhatu Publications ) , p . 13 .

    ๘. Journey without Goal , p . 2 .

    ๙. Crazy Wisdom , p . 9 .

    ๑o . ดู The Past Is the Goal , หน้า ๒๖ " มันเป็นเรื่องที่ยากมาก ลำบากมาก ด้วยเหตุนี้ เราจึงเรียกหีนยานอันเป็นบันไดขั้นแรกว่าเป็นทางสายแคบ ซึ่งเป็นทางที่เข้มงวด สุดโหด ไม่ใช่เรื่องที่จะมาทำสนุกหรือแค่ทำใจให้มีความสุข มันเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก "

    ๑๑. ผู้เขียนตัดสินใจที่จะนำสาระสำคัญของแต่ละยานมาเสนอเพื่อให้เห็นปรัชญาพื้นฐาน ของแต่ละยาน หีนยานให้ความสำคัญกับอริยสัจจ์ ๔ ( ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย ( เหตุแห่งทุกข์ ) นิโรธ ( ความดับทุกข์ ) และ มรรค ( หนทางแห่งความดับทุกข์ ) และกฏแห่งไตรลักษณ์ ( อนิจจตา ทุกขตา อนัตตา ) ) นอกจากนี้ หีนยานยังเน้นความสำคัญของการบรรลุถึงสภาวะ แห่งนิพพาน หรือความดับสิ้นแห่งทุกข์ การไปถึงที่สุดแห่งมรรคในนิกายหีนยานนี้ พุทธบริษัททั้งหลายต้องตั้งสัตย์อธิษฐานถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ อันได้แก่ พระพุทธ ( ตัวอย่างของผู้ดำเนินในมรรค ) พระธรรม ( คำสั่งสอน ) และพระสงฆ์ ( กลุ่มพุทธบริษัท ) จุดหมายสูงสุดคือ การเป็นอิสระจากอาสวะกิเลสทั้งปวงของปัจเจกบุคคล ( โซโซ ทาร์ปา ) คำสอนนิกายหีนยานยังได้อธิบายในเรื่องกฏแห่งกรรม ( เป็นเรื่องที่เชอเกรียม ตรุงปะเคย ใช้เป็นหัวข้อหลักของการอบรมที่กรรมโชลิงในปี ๑๙๗๒ ) หลักปรัชญาของหีนยานบัญญัติ ไว้ในพระไตรปิฏก แบ่งออกเป็นสามหมวด ๑. สุตันตปิฏก เป็นหมวดพระสูตร คำสอนของ พระพุทธเจ้า ๒. พระวินัย เป็นประมวลสิกขาบทสำหรับภิกษูและภิกษุณี ๓. พระอภิธรรม ปิฏก เป็นประมวลหลักธรรมและคำอธิบายในธรรมชาติของสัจธรรม โดยเฉพาะความหลง ในอัตตา และขบวนการเกิดดับของอัตตาทั้งวงจร ( ดูหัวข้อพิเศษบรรยายโดย เชอเกรียม ตรุงปะ ใน Glimpse of Abhidharma )

    ๑๒. Journey without Goal , p . 2 .

    ๑๓. lbid , ดู also chaper 7 , " The Open Way , " in Cutting Through Spiritiual Materialism , p .91 - 104 บทที่ชื่อเดียวกันนี้ในเรื่อง The Myth of Freedom และ Training The Mind and Cultvating Loving - Kindness ( 1993 ) p . 4 . ซึ่งเชอเกรียม ตรุงปะกล่าวว่านิกายมหายานเป็น " ทางสายหลักที่ทุกคนต้องก้าวเดิน เป็นทางสาย กว้างใหญ่ไพศาล และเปิดออกอย่างมิมีประมาณ "

    ๑๔. Journey without Goal , p . 3 .

    ๑๕. Cutting Through Spiritiual Materialism , p . 97 .

    ๑๖. G.I. Gurdjieff เป็นอาจารย์ชาวกรีก - อาร์เมเนียน ผู้สอนศาสนมรรคตารมวิธีของตน โดยไปเผยแผ่ในยุโรปและอเมริกาในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ยี่สิบ เชอเกรียม ตรุงปะ ยกย่อง เกอร์ดจีฟ และความหยั่งรู้ในจิตวิญญาณของเขา

    ๑๗. lllusion ' Game , p , 29 ,

    ๑๘. ท่านอธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า " เรื่องนี้อาจทำให้หลายคนสับสับสน แต่ผมเกรงว่าความรัก คงจะไม่ใช่ประสบการณ์อันงดงามรื่นรมย์พาฝันถ่ายเดียว ความรักจะรวมเอาความน่าเกลียด ความเจ็บปวดและความก้าวร้าว พอ ๆ กับความสวยสดงดงามของโลก ความรักไม่ใช่การ ล่องลอยอยู่ในสรวงสวรรค์ ความรักหรือความกรุณาอันเป็นทางเปิด คือการเกี่ยวเนื่องกับ " สิ่งที่เป็นอยู่ " เพื่อที่จะบ่มเพาะความรัก รักสากล รักครอบจักรวาล หรือคุณจะเรียกอะไร ก็ตามที เราจะต้องยอมรับสถานการณ์ทั้งหมดของชีวิตตามที่มันเป็น ทั้งที่สว่างและมืดมิด ทั้งที่ดีและเลว จาก Cutting Through Spiritiual Materialism ( 2002 ), p . 97 .

    ๑๙. lblid , p , 93 ,

    ๒o. จาก Training The Mind and Cultvating Loving - Kindness ( 1993 ) p . 1 . หลักปฏิบัติ ของหีนยานจะอยู่บนพื้นฐานของการสงบรำงับจิต ส่วนมหายานจะเน้นที่การฝึกปฏิบัติมากกว่า

    ๒๑. การฝึกนี้อยู่บนพื้นฐานของคติพจน์ข้อที่ ๗ ของพระอาจารย์อติชา ( ๙๘๒- ๑o๕๕ ) " การให้และการรับควรฝึกสลับกันไป จงทำให้สองสิ่งนี้อยู่ในลมหายใจเข้าออก " หลัก ปฏิบัตินี้มาจากคัมภีร์ดั้งเดิมของท่านอติชา บัญญัติเจ็ดประการสำหรับการฝึกจิต ท่านอติชา ละทิ้งชีวิตในปราสาทราชวังที่คุ้นเคยตั้งแต่ยังหนุ่ม จากนั้นได้ศึกษาและฝึกฝนในอินเดีย อีกหลายปี แล้วจึงไปธิเบตและสอนพุทธศาสนาเป็นเวลา ๑๓ ปี จนกระทั่งมรณภาพ คำ สอนของท่านกลายเป็น คัมภีร์พื้นฐานสำหรับศาสนาพุทธในหลายนิกาย

    ๒๒. Training The Mind and Cultvating Loving - Kindness ( 1993 ) p . 13 .

    ๒๓. lblid , p , 13-14 ,

    ๒๔. จูดิธ แอล ลิฟ บรรณาธิการ ผู้เขียนคำนำใน Training The Mind and Cultvating Loving - Kindness ( 2003 ) , คำนำหน้า ๑๔ มีหลายครั้งที่เชอเกรียม ตรุงปะขอถ่าย ทอดการฝึกฝนนี้ ดังที่ผู้เขียนได้เคยกล่าวเกี่ยวกับการฝึกสมถะ - วิปัสสนา ในการ สอนสมาธิขั้นเริ่มแรกไม่อาจสอนด้วยการบรรยายดังกล่าวเพียงอย่างเดียว แต่ต้อง สอนกันตัวต่อตัว

    ๒๕. ขอยกตัวอย่างจากหนังสือที่น่าอ่านเป็นอย่างยิ่งของดิลโก เคียนเซ เรื่อง Enlightened Courage ( Ithaca , NY : Snow Lion Publications , 1993 ) p . 32 . " เธอต้องนึกถึงพระคุณ ของมารดาผู้ให้กำเนิดในชาติที่เป็นมนุษย์แก่เธอ หากมารดาไม่ได้ให้กำเนิดแก่เธอ เธอจะเป็น อย่างไร ? เธอจึงควรรำลึกถึงพระคุณของมารดาให้มาก ๆ ไม่เพียงแต่เฉพาะมารดาในชาติ นี้ แต่ในทุกชาติอันมิอาจนับได้ เพราะสรรพสัตว์ทั้งหลายเคยเป็นมารดาของเธอ เคยเลี้ยง ดูเธอดุจเดียวกับมารดาในชาตินี้ "

    ๒๖. สิ่งที่แตกต่างคือ วิธีการที่ท่านคิดค้นขึ้น แต่หลักคำสอนยังเหมือนเดิม

    ๒๗. Training The Mind and Cultvating Loving - Kindness ( 1993 ) p . 1 .

    ๒๘. เปมา โชดรอน ศิษย์คนหนึ่งของตรุงปะเป็นผู้สอนการฝึกทองเลน ได้กล่าวถึงปัญหา นี้ว่า " เมื่อไรที่สอนทองเลนมักจะมีสิ่งที่น่าสนใจเกิดขึ้น คือคนจะเริ่มหลับ เรื่องนี้มันยาก ที่จะอดทนฟัง ที่ใดก็ตามที่ไปพูดเรื่องทองเลน จะมีคนไม่ต่ำกว่าสามคนเดินออก ส่วนที่ เหลือก็คงง่วงเต็มทน " The Wisdom of No Escape and the Past of Loving - Kindness ( Boston Shambhala Publications , 1990 ) , p . 63 .

    ๒๙. Training The Mind and Cultvating Loving - Kindness ( 1993 ) p . 14 - 15 .

    ๓o. ความพิเศษของคำสอนในมหายานคือ การอธิบายโพธิจิต ( จิตที่ตื่นรู้ ) ไว้สองอย่าง คือ สัมพัทธโพธิจิต กับ อันติมโพธิจิต ซึ่งบางครั้งอาจเรียกว่า ความกรุณากับความว่าง การเข้าใจหลักของสุญตา ( ความว่าง ) และนำมาใช้ในการฝึกฝนบารมีหกหรือ การ บำเพ็ญปารมิตา ๖ อันได้แก่ ทานบารมี ศีลบารมี ขันติบารมี วิริยะบารมี ฌานบารมี ปัญญาบารมี อุดมคติของนักปฏิบัติมิใช่พระอรหันต์แต่คือการบรรลุเป็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นอุดมคติของนิกายนี้ เพราะเขาหรือเธอได้ตั้งปณิธานว่าจะไม่ตรัสรู้ถึงพระนิพพาน จนกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายจะหลุดพ้นจากห้วงทุกข์

    ๓๑. Journey without Goal ( 2000 ) , p . 5 .

    ๓๒. Crazy Wisdom , p . 125 . ( คำสอนนี้มีขึ้นในเดือนธันวาคม ๑๙๗๒ )

    ๓๓. The Part Is the Goal , p . 14 .

    ๓๖. The Lion ' Roar , p . 55 .

    ๓๕. Journey without Goal ( 2000 ) , p . 54 .

    ๓๖. Rene Guenon , Apescus sur l ' lnitiation ( Perspective on lnitiation ) ( Paris : Editions Traditionnelles , 1992 ) p . 27. คำกล่าวนี้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าเป็นไปไม่ได้ที่เราจะปฏิบัติ อยู่นอกสายธรรม มิฉะนั้นแล้ว มิติพื้นฐานของการถ่ายทอดจะสุญหายไป แม้ว่าผู้ศึกษา ธรรมจะมีความกระตือรือร้นเพียงใดก็ตาม

    ๓๗. ใน The Torch of Centainty เขียนโดยจัมกอน คองตรูล แปลโดยจูดิธ แฮนซัน ( บอสตัน : สำนักพิมพ์ซัมบาลา , ๑๙๘๖ ) กล่าวถึงการตอบคำถามหลายข้อเกี่ยวกับ การปฏิบัติปฐมบทนี้ของเชอเกรียม ตรุงปะ กาลู ริมโปเช และเดชุง ริมโปเช ซึ่งทำให้ เราซาบซึ้งในวิสัยทัศน์เฉพาะตัวของท่าน บทสัมภาษณ์ตรุงปะเป็นข้อมูลที่สำคัญเกี่ยว กับการปฏิบัติในขั้นนี้แก่สาธารณชนทั่วไป เมื่อถามท่านว่า " แนวทางการปฏิบัติปฐม บท ๔ ที่ท่านสอนในตะวันตกนี้ ต่างจากที่ปฏิบัติกันในธิเบตหรือไม่ อย่างไร ? " ท่านตอบว่า " เนื่องจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การฝึกปฏิบัคิปฐมบท ๔ ย่อมเป็น อะไรที่แปลกใหม่สำหรับนักศึกษาชาวตะวันตก เพราะพวกเขาไม่คุ้นเคยกับภูมิหลัง ทางวัฒนธรรมของพุทธศาสนามาก่อนเลย ดังนั้นเมื่อมาปฏิบัติปฐมบทก็ย่อมต้องประ สบกับช่องว่างทางวัฒนธรรมที่ต้องมาทำความเข้าใจกันใหม่ให้ได้ เราจึงพยายามที่จะ ไม่ใส่ประเพณีทางธิเบตให้กับพวกเขา แต่จะสอนพื้นฐาน ' การทำงานของจิต ' ให้เลย " ( หน้า ๑๒ - ๑๓ )

    ๓๘. นำมาอ้างโดยได้รับอนุญาติจากไดอาน่า เจ. มุกโป

    ๓๙. การปฏิบัติสาธนาในหมู่สงฆ์ตามแบบของเชอเกรียม ตรุงปะออกจะมีลักษณะพิเศษ คู่มือปฏิบัติวัชรโยคินีมีคำอธิบายอย่างละเอียดลออเป็นร้อย ๆ หน้า รวมทั้งเอกสารเกี่ยว กับพิธีกรรมทั้งหมด ซึ่งลงราลละเอียดโดยคณะแปลนาลันทา ซึ่งใช้เวลาทำงานร่วมกัน หลายสิบชั่วโมง เช่นเดียวกับจักรสังวร ( ซึ่งเป็นการปฏิบัติขั้นต่อจากจากวัชรโยคินี ) ตรุงปะอธิบายก่อนหน้านี้ว่าเป็นการปฏิบัติที่ศิษย์ของท่านจะต้องอุทิศตัวให้อย่างจริงจัง แต่ในปี ๑๙๘๑ เมื่อมีบางคนขอให้ท่านถ่ายทอดให้ ดอร์เจ ล็อปปอนเล่าว่า ท่านตอบไป ว่า " กิจธุระนี้เป็นเรื่องของผม ไม่ใช่เรื่องของคุณ " เดือนตุลาคมปี ๑๙๘๕ ท่านร่วมพิธี อัคคีบูชาครั้งที่ ๒ ของการตระหนักรู้ในกรรม ๔ อุทิศถวายแด่วัชรโยคินี ซึ่งเป็นขั้นตอน แรกก่อนที่จะรับพิธีจักรสังวราภิเษก ท่านวางแผนอยู่หลายปีโดยพาเทงกา ริมโปเช อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในพิธีกรรมวัชรยานของนิกายกาคิวมาสอนเรื่องนี้อย่างละเอียดใน โลกตะวันตก เมื่อปี ๑๙๘๕ คณะแปลทำงานกันอย่างขะมักขเม้น เพื่อที่จะแก้ไขปรับ ปรุงงานแปลบทสาธนาและเตรียมทำคู่มืออธิบายวิธีปฏิบัติ ในช่วงนี้เองที่ตรุงปะจัดทำ เรื่องนี้ให้นักศึกษาโดยไม่คำนึงถึงปัญหาสุขภาพของท่านเอง ทำให้เราได้รับทราบว่า ท่านได้สอนข้อปฏิบัติไม่กี่ข้อแต่ลงลึกในรายละเอียดอย่างที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อจะ ถ่ายทอดหัวใจสำคัญของหลักธรรม ท่านจะรอเวลาจนกว่าศิษย์พร้อมเสียก่อน จึงจะ สอนขั้นต่อไป เพื่อที่นักศึกษาจะได้เข้าใจข้อธรรมนั้นจริง ๆ วิธีการของท่านก็คืออธิบาย รายละเอียดของการปฏิบัติ จากนั้นจึงให้ศิษย์นำไปปฏิบัติตามภูมิปัญญาของตน

    ๔o. Journey without Goal ( 2000 ) , p . 89 .

    ๔๑. ท่านอธิบายประเด็นนี้ไว้ว่า " ตามธรรมเนียมปฏิบัติในอินเดียและธิเบตแต่โบราณ จะ กำหนดวันพิธีหกเดือนล่วงหน้า นั่นเท่ากับนักปฏิบัติมีเวลาเตรียมตัวถึงหกเดือน ต่อมาตาม ธรรมเนียมของนิกายตันตระกลับย่อหย่อน อาจารย์บางท่านในธิเบตถึงกับยกเลิกกฏที่ให้ ศิษย์ต้องมาจำศีลหกเดือน ซึ่งดูจะเป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์ " Journey without Goal ( 2000 ) , p . 88-89 . เห็นได้ชัดว่า ตรุงปะให้ศิษย์เตรียมตัวให้พร้อม ด้วยการนำวิธีโบราณ กลับมาใช้ เพื่อฟื้นฟูพลังแห่งรหัสยานซึ่งถูกทำให้หม่นมัวไป

    ๔๒. เรอเน่ เก-นง มักจะพูดว่า การถ่ายทอดที่ทำกันโดยทั่วไป กับการถ่ายทอดอย่างแท้จริง นั้น แตกต่างกันมาก การถ่ายทอดที่แท้จริงต้องมีการปฏิบัติตามข้อวัตรวินัยจริง ๆ และต้อง ทุ่มเทตนต่อการปฏิบัติทุกข้อที่ได้รับ

    ๔๓. Journey without Goal ( 2000 ) , p . 134 . ท่านได้กล่าวต่อไปว่า " ในทำนองเดียวกัน อติ ถือเป็น ' จักรพรรดิ ' เพราะเมื่อเมื่อมองจากวิถีของอติโยคะแล้ว วินัยของหีนยานดูจะ ครอบคลุมกว้างขวาง วินัยของมหายานก็ดูกว้างขวาง นิกายตันตระก็กว้างขวางเช่นกัน หากคุณมองย้อนสิ่งที่เราได้พูดกันมาตลอดในหนังสือเล่มนี้ คุณจะเห็นว่าเราได้หยิบแง่มุม นี้มาพูดกันแล้ว เราได้พูดคุยทุกอย่างที่มาจากการมองในวิถีของอติแล้ว "

    ๔๔. ตามทฤษฎี มหามุทราคือวิถีที่จะไปสู่มรรคแห่งสัมโภคกาย เพื่อที่จะตระหนักรู้ใน ธรรมกาย นี่คือมรรคที่ยกระดับจิตจากความฟุ้งซ่านมาเป็นการตระหนักรู้ ทว่าอติแสดง ถึงการตระหนักรู้ในธรรมกายโดยตรง และทำให้การปฏิบัตินี้แพร่กระจายอยู่ในยานต่าง ๆ เพราะทำให้เราสัมผัสโลกในวิถีทางต่าง ๆ ดังที่เชอเกรียม ตรุงปะเองก็ได้นำมาประยุกต์ ในการสอนของท่านเป็นส่วนมาก








    ๔๕. อตีศะ ถือกำเนิดในราวปี ๙๘๒ ในครอบครัวขุนนางที่เมืองวิกรมปุระ แคว้นเบงกอลตะวันออก ท่านเลือกที่จะใช้ชีวิตทางธรรมตั้งแต่ยังหนุ่ม หลังจากเป็นโยคีได้สิบสองปี ท่านก็ได้ตัดสินใจบวชเป็นพระสงฆ์ และรับตำแหน่งสำคัญในมหาวิทยาลัยนาลันทา โอตันตะบุรี และที่สำคัญ ที่สุดคือที่วิกรมศีลซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์สามแห่งที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ในปี ๑o๔๒ ที่ธิเบตนี่เองที่ท่านได้เขียน A Lamp for the Path to Enlightenment โพธิปกประทีปเป็นงานเขียนสั้น ๆ แค่หกสิบหกบรรทัด แต่มีอิทธิพลอย่างสูง โดยถูกนำมาศึกษาและกล่าวถึงจากทุกนิกาย ในธิเบต ในหนังสือเล่มนั้นท่านอตีศะกล่าวสรรเสริญปณิธานของโพธิสัตว์และความสำคัญของการตระหนักรู้ในสุญญตา

    ๔๖. The Royal Song of Saraha : A Study in the History of Buddhist Thought , translated and annotated by Herbert V. Guenther ( Boulder : Shambhala Pubbications , 1973 ) , p . 66 stanza 18 @ 1968 University of Washington Press .

    ๔๗ . Journey without Goal ( 2000 ) , p . 135 .

    ๔๘. The Myt of Freedom ( 2002 ) , p . 50 .

    ๔๙. เชอเกียม ตรุงปะมักจะสอนหลักการของทั้งเก้ายานเป็นประจำอยู่แล้ว โดยอธิบายด้วยพลังและความชัดเจนอย่างไม่มีใครเปรียบ แต่เป้าหมายของผู้เขียนไม่ได้ต้องการที่จะนำการสอนทั้งหมดของท่านมาพูดถึง เพราะการกล่าวถึงแค่สามนิกายในที่นี้ก็เพียงพอสำหรับ การปูพื้นฐานไปสู่การทำความเข้าใจในหลักพุทธศาสนาแล้ว อีกทั้งเป็นการปูพื้นให้เข้าใจในงานและอัจฉริยภาพในการสอนศาสนธรรม ได้อย่างมีชีวิตชีวา สำหรับผู้อ่านที่มีความสนใจจะศึกษาหลักปฏิบัติเก้าขั้นตอน ซึ่งจริง ๆ แล้วท่านจะเก็บไว้สอนเฉพาะศิษย์ที่ใกล้ชิด มากกว่าในอบรมพิเศษ ก็จะขอแนะนำหนังสือที่ดีที่สุดในเรื่องนี้คือ The Lion ' Roar : An Introduction to Tantra , ซึ่งรวบรวมการสอน เก้าขั้นตอนทั้งสองครั้งเข้าด้วยกัน และเป็นบทเรียนในการสอนอบรมที่ซานฟรานซิสโก เดือนพฤษภาคม ปี ๑๙๗๓ และที่เมืองโบลเดอร์ เดือนธันวาคม ปี ๑๙๗๓

    ๕o. The Lion ' Roar , p . 210 .

    ๕๑. Cutting Through Spiritiual Materialism ( 2002 ), p . 4 .

    ๕๕. Chogyam Trungpa , Collected Vajra Assemblies , vol . 1 ( Halifax : Vajradhatu Publications , 1990 ) , pp , 83ff .

    http://www.buddhayan.com/board.php?subject_id=379&ss=
    ตรุงปะ คุรุบ้าผู้ปรีชาญาณ : การสอนยานทั้งสาม

    ขอบคุณท่าน kamen rider สมาชิกหลายเว็ปรวมทั้งเว็ปพลังจิตด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2012
  16. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,222
    ค่าพลัง:
    +293
    ข้อมูลนี้ก๊อปเขามา นะจ๊ะ นะจ๊ะ อ่านแล้วน่าสนใจ
    ไม่ใช่ข้าแต่งเอง นะจ๊ะ นะจ๊ะ ค่อยๆอ่านกันนะจ๊ะ ประเดี๋ยวจักหน้ามืด
    ประเดี๋ยวมาต่ออีกนะจ๊ะ นะจ๊ะ ^^
     
  17. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +1,488
    ท่าทางนี้จะเป็นลุงเทพตัวจริงนะ แต่ที่ให้ผมโทรหานี่ลุงเทพคนนี้ปะ เหมือนลุงเทพจักมีหลายคนนา
     
  18. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,222
    ค่าพลัง:
    +293
    มีอีกหลายบทความ ข้าคิดว่าตั้งกระทู้เดียวจักดีกว่า เพราะจักได้ไม่รกหน้า บร์อด
     
  19. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,222
    ค่าพลัง:
    +293
    นิพพานสองแบบ และ เรื่องตรีกาย

    การจะเข้าใจพุทธศาสนาฝ่ายเหนือต้องทำความเข้าใจเสียก่อนนะ
    พุทธศาสนาฝ่ายเหนือ(มหายานวัชรยาน)ที่เรียกแบบนี้เพราะตามแผนที่มักอยู่ทางทิศเหนือ จะมีการ นิรมานกาย หรือ สัมโภคกาย ที่ยังไม่เหมือนหลักเถรวาทบ้านเรา แต่ก็ไม่ขัดกันเสียทีเดียว หากแต่จักมี เพิ่มเติมบ้างและต่างกันเล็กน้อยด้านพระอภิธรรม จึงมาเอาให้ท่านได้อ่านกัน




    [​IMG]


    สิ่งสำคัญที่ผู้ปฏิบัติธรรมหรือนักเรียนนักศึกษาพระพุทธศาสนายังไม่ค่อยเข้าใจกัน ก็คือเหตุใดพระพุทธศาสนามหายานจึงถือว่า พระโพธิสัตว์ระดับสูงเช่นพระอวโลกิเตศวร หรือพระแม่ตารา จึงบรรลุพระนิพพานแล้วแต่ยังอยู่ดูแลสรรพสัตว์อยู่ แถมยังสามารถ “แบ่งภาค” หรือสร้าง “นิรมาณกาย” มาเกิดในร่างมนุษย์ เช่น ชาวพุทธทิเ้บตถือกันว่า สมเด็จดาไลลามะทรงเป็น “นิรมาณกาย” หรือ “กายนิรมิต” ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ที่ไม่ค่อยเข้าใจกันก็คือว่า เหตุใดพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรนั้น บรรลุนิพพานไปแล้ว แต่ก็ยังดำรงอยู่เพื่อคอยช่วยเหลือสรรพสัตว์ เป็นไปได้อย่างไรที่ผู้ที่บรรลุนิพพานแล้วจะยังดำรงอยู่?

    ก่อนจะตอบคำถามอันสำคัญนี้ เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า พระพุทธศาสนามหายานถือว่า มีพระนิพพานอีกแบบหนึ่งต่างหากจากพระนิพพานแบบที่มีอยู่ในเถรวาท พระนิพพานที่มีอยู่ในเถรวาทนั้นเป็นสภาวะอันดับทุกข์โดยสิ้นเชิง หมดสิ้นเชื้อที่จะทำให้มาเกิดอีกในสังสารวัฏ พระพุทธเจ้าศากยมุนี กับพระอรหันต์ทั้งปวงต่างก็บรรลุพระนิพพานนี้ ท่านเหล่านี้จึงไม่มีใครมาเกิดอีก และเราก็ไม่ควรพูดว่า ท่านเหล่านี้ “ดำรงอยู่” เช่นอยู่ในสวรรค์ชั้นใดชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะสวรรค์ไม่ว่าชั้นใดก็เป็นส่วนหนึ่งของสังสารวัฏทั้งสิ้น ท่านเหล่านี้หมดสิ้นซึ่งเหตุที่จะเกิดใหม่ ถือชาติภพใหม่อีกต่อไป เนื่องจากการดำรงอยู่ในสังสารวัฏนั้นเป็นการดำรงอยู่โดยมีเหตุที่จะทำให้เกิดใหม่อีกต่อไป พระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์จึงไม่ดำรงอยู่ในสังสารวัฏแต่ประการใด ดังนั้นจึงพูดไม่ได้ว่าพระองค์กับพระอรหันต์ทรงดำรงอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งในสังสารวัฏ

    แต่พระพุทธศาสนามหายานถือว่า พระพุทธเจ้าศากยมุนีนั้นทรงเป็น “นิรมาณกาย” ของการตรัสรู้ปรมัตถธรรมหรือพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พูดง่ายๆก็คือว่า ทรงเป็นตัวแทนของการรู้แจ้งที่ทำลายอวิชชาจนหมดสิ้น เป็นการ “ตรัสรู้” ที่ทำลายมูลเหตุของความทุกข์ทั้งสิ้นทั้งปวง และตัว “ความรู้” หรือ “การตรัสรู้” นี้เองที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นตัวแทน ความรู้อันยิ่งหรือที่เรียกว่าพระสัมโพธิญาณนี้ไม่ขึ้นกับกาลเวลา พระพุทธเจ้าอาจประสูติมาในตระกูลศากยะเมื่อกว่าสองพันปีก่อน ดำรงพระชนมชีพอยู่แปดสิบพรรษา นั่นเป็นเพียง “กายเนื้อ” เท่านั้น แต่พระสัมมาสัมโพธิญาณนั้นไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ เป็นสภาวะที่ดำรงอยู่นอกเหนือกาลเวลา เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็มีวิธีการพูดเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นว่า พระพุทธองค์นั้นทรงเป็น “รูปกาย” หรือ “กายเนื้อ” หรือ “นิรมาณกาย” ซึ่งแปลว่า “กายนิรมิต” เท่านั้น แต่ก็ยังทรงเป็นตัวแทนของ “ธรรมกาย” หรือ “กายแห่งธรรม” ซึ่งก็ได้แก่พระสัมมาสัมโพธิญาณนี้เอง พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ พระพุทธเจ้าศากยมุนีนั้น ทรงปรากฏพระองค์มาเป็นกายเนื้อให้ผู้คนเห็นได้ จับต้องได้ ฟังพระสุรเสียงได้ ฯลฯ เพื่อยังประโยชน์ให้แก่สรรพสัตว์ ให้สรรพสัตว์ได้มีโอกาสฟังคำสอนของพระองค์ ซึ่งแท้จริงแล้ว พระองค์กับธรรมกายอันได้แก่การตรัสรู้ธรรมนั้นเป็นหนึ่งเดียวกัน เพียงแต่เมื่อมองอย่างหนึ่ง จะเห็นว่าพระองค์ปรากฏเป็นเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อสองพันปีมาแล้ว และพระวรกายแตกดับเช่นคนทั่วไป แต่มองอีกมุมหนึ่งพระองค์ทรงเป็นพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ปรากฏออกมาเป็นรูปธรรมให้คนเห็นนั่นเอง

    จากเรื่องพื้นหลังที่เล่ามานี้ ก็เลยได้ข้อสรุปว่า พระนิพพานสองแบบนั้นคือแบบที่เข้าใจกันโดยทั่วไปในพระพุทธศาสนาเถรวาท กับแบบที่มีเฉพาะในมหายาน เรียกว่า “อประดิษฐิตนิรวาณ” ซึ่งแปลว่า “พระนิพพานที่ไม่อยู่นิ่ง” (non-abiding nirvana) หมายความว่าเป็นพระนิพพานที่ไม่ได้ตัดขาดออกจากสังสารวัฏ แต่ผู้ที่ดำรงอยู่ในนิพพานแบบนี้จะประกอบไปด้วยจิตตั้งมั่นที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ จึงไม่ได้ดำรงอยู่เฉยๆในพระนิพพาน แต่จะออกมาช่วยเหลือสรรพสัตว์ด้วยวิธีการและหนทางต่างๆกัน ในแง่หนึ่งผู้ที่อยู่ในพระนิพพานที่ไม่อยู่นิ่งนี้ ได้ตัดขาดกิเลสทั้งหมดโดยสิ้นเชิงแล้ว ท่านจะอยู่ในนิพพานแบบของเถรวาทก็ย่อมได้ แต่ท่านไม่ทำเช่นนั้นเนื่องจากยังมีจิตที่ปรารถนาจะช่วยเหลือสรรพสัตว์ และตั้งปณิธานว่าตราบใดที่สัตว์โลกคนสุดท้ายหรือตัวสุดท้ายยังไม่พ้นทุกข์ ตราบนั้นก็จะยังอยู่ในสังสารวัฏเพื่อช่วยเหลือสัตว์เหล่านั้นต่อไป แม้ว่าตนเองจะได้พ้นทุกข์เข้าถึงพระนิพพานไปแล้วก็ตาม พระโพธิสัตว์ที่จะทำเช่นนี้ได้ต้องเป็นพระโพธิสัตว์ที่บรรลุเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว แต่ได้ตั้งจิตตั้งปณิธานว่าจะช่วยเหลือดูแลสรรพสัตว์ต่อไป ซึ่งตามคัมภีร์ต้องเป็นพระโพธิสัตว์ที่บรรลุภูมิที่สิบในภูมิทั้งสิบของพระโพธิสัตว์ ซึ่งพระอวโลกิเตศวร พระแม่ตารา พระมัญชุศรี พระวัชรปาณี ก็เป็นตัวอย่างของพระโพธิสัตว์เหล่านี้

    เรื่องพวกนี้เข้าใจไม่ได้ง่ายๆ เราอาจมองได้แบบนี้ คือเราอาจเปรียบว่าผู้ที่บรรลุธรรมหรือบรรลุพระนิพพาน คือผู้ที่ได้ขึ้นฝั่งแล้ว ไม่ต้องว่ายเวียนอยู่ในทะเลวัฏฏสงสารอีกต่อไป พระอรหันต์ทั้งหลายนั้นได้ทรงขึ้นฝั่งกันหมดแล้ว (การบรรยายว่าฝั่งที่ว่านี้เป็นอย่างไรนั้นทำไม่ได้ด้วยภาษามนุษย์ เพราะภาษามนุษย์เป็นการปรุงแต่งทั้งสิ้น ดังนั้นการบอกว่าฝั่งนี้เป็นเหมือนสถานที่หรือวิมาน ฯลฯ จึงเป็นการเข้าใจผิดทั้งหมด) พระโพธิสัตว์ที่บรรลุภูมิที่สิบ เช่นพระอวโลกิเตศวร ก็ขึ้นฝั่งแล้วเหมือนกัน แต่ท่านไม่ทรงพอใจที่จะอยู่แค่บนฝั่ง แต่ท่านตั้งใจจะลงไปว่ายกับสัตว์โลกในวัฏฏสงสารด้วย เพราะสงสารสัตว์โลกเหล่านั้นเหลือประมาณ เมื่อไปว่ายท่านก็ทรงปรากฏพระองค์เป็นรูปแบบต่างๆ อันเป็นตัวแทนของความเมตตากรุณาอันเป็นคุณสมบัติประจำของพระองค์ การปรากฏพระวรกายนี้ก็เป็นแบบเดียวกับที่พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณปรากฏออกมาเป็นพระพุทธเจ้าศากยมุนีที่ได้พูดไว้ข้างต้นนั่นเอง

    เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็มองเห็นว่าจริงๆแล้วคำสอนของเถรวาทกับมหายานนั้นก็ไม่แตกต่างกันในเนื้อหาสาระ ทั้งสองฝ่ายเข้าใจพระนิพพานตรงกัน เพียงแต่มหายานมีการเน้นเพิ่มเติมว่ามีพระนิพพานอีกแบบหนึ่งที่ผู้บรรลุนิพพานแบบนี้ไม่อยู่นิ่งแต่สามารถปรากฏกายเป็น “นิรมาณกาย” ให้สัตว์โลกมองเห็น จับต้อง ฟังเสียง ได้ จุดสำคัญก็คือว่า เราไม่ได้เพียงแค่ทำความเข้าใจผ่านทางภาษาหรือมโนทัศน์ (concept) ซึ่งเป็นการปรุงแต่งล้วนๆ แต่เราต้องเพียรปฏิบัติเพื่อกำจัดมูลเหตุต้นตอของความทุกข์ให้หมดสิ้นไป จากนั้นแล้วก็ขึ้นอยู่กับปณิธานของเราเองว่า จะมุ่งปฏิบัีติเพื่อเป็นพระอรหันต์ หรือเพื่อเดินตามเส้นทางของพระโพธิสัตว์ที่จะไปจบที่พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อที่จะสามารถช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ได้อย่างเต็มที่

    ที่มา LINK

    เนื้อความในกระทู้นี้ จขกท. ได้อ่านแล้ว มิใช่ก๊อปมาโดยมิได้พิจรณาแต่อย่างใด

    นะจ๊ะ นะจ๊ะ
     
  20. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,157
    ค่าพลัง:
    +1,488
    “ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม” คือปาฐกถาของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุที่กล่าวถึงภูเขาที่ขวางอยู่ในวิถีทางแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม ท่านอธิบายไว้ว่า ภูเขาที่อันตรายที่สุด และสำคัญที่สุด แต่พวกเรามักไม่รู้ตัวว่า เป็นภูเขา คือ การเห็นผิด และการยึดถือแบบผิดๆ ดังเช่น
    ยึดถือ พระพุทธรูปแทนพระพุทธเจ้า นำไปบูชาจนเกิดความยึดติด หากมีผู้อื่นไม่เห็นด้วย ก็ก่อการวิวาทกับผู้ที่ไม่เห็นด้วยนั้น หรืออย่างละเอียดที่สุด คือ ยึดมั่นในพระพุทธเจ้าที่มีเนื้อมีหนังอยู่ในประเทศอินเดียเมื่อ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว จนไม่สามารถบรรลุถึงพุทธะองค์จริง ซึ่งเป็นความตื่นรู้ที่อยู่ในตัวเราทุกคน เหมือนคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ไม่เห็นธรรมะ ถือว่าไม่รู้จักตถาคต
    ยึดถือ คัมภีร์ พระไตรปิฎกใบลาน แทนธรรมะ ทำให้หลงท่องบ่น จดจำ จนลืมที่จะนำไปประยุกต์ปฏิบัติให้เกิดผลที่แท้จริงกับตัวเอง แทนที่จะหลุดพ้น ปล่อยวาง กลับกลายเป็นการยึดติดว่าสิ่งที่ตนรู้นั้นถูกต้อง จนเกิดความอหังการ อุปาทานยึดมั่นถือมั่นไป
    ยึดถือฝักฝ่ายนิกาย หรือตัวตนของพระสงฆ์ ทั้งที่พระสงฆ์ก็เป็นเพียงนามสมมติของผู้ปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น บางครั้งเพราะความยึดติดทำให้เกิดความแตกร้าว ทะเลาะวิวาท แบ่งแยกกัน จนหลงลืมความหมายที่แท้จริง เพราะมุ่งแต่ชัยชนะของฝักฝ่ายตน

    ก็อปมาเหมือนกันนะจ๊ะ เพื่อเตือนใจให้พวกที่ ดีแต่พูด แต่พระธรรมไม่แตกฉาน แล้วไปตรู่ด่าว่ากล่าวเขานะจ๊ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...