วิธีดู พระปิดตา พิมพ์ยันต์ยุ่งเศียรบาตร หลวงพ่อทับ วัดทอง เนื้อชินผสมแร่บางไผ่

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Chailai65, 22 มิถุนายน 2017.

  1. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    69
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    ปิดตา หลวงพ่อทับ วัดทอง พิมพ์ยันต์ยุ่งเศียรบาตร เนื้อชินผสมแร่บางไผ่

    พระปิดตา หลวงปู่ทับ วัดทองเป็นถูกจัด
    เบญจภาคีพระปิดตาเนื้อโลหะ อันดับที่1
    พระปิดตาหลวงปู่ทับ วัดทอง เนื้อชินเงินผสมแร่ พิมพ์ยันต์ยุ่งชะลูดเศียรบาตร เส้นยันต์วางเต็มองค์พระเป็นเส้นขนมจีนขนาดเล็กเท่าเส้นหนังสติ๊ก

    เนื้อหาโดยทั่วไปจะออกสีเทาของเนื้อชินตามซอกมุมองค์พระจะมีคราบดินขี้เบ้าสีน้ำตาลและเม็ดแร่ต่างๆอย่างชัดเจน และด้านความเก่าจะเห็นไขของเนื้อชินผุดตามผิวองค์พระ

    ?temp_hash=f2be524b02d5e780961ba26c3a3edec6.jpg
    ?temp_hash=f2be524b02d5e780961ba26c3a3edec6.jpg

    พระปิดตาทุกองค์มีข้อพิจารณาคือพระทุกองค์จะไม่มีรอยตะเข็บปรากฏให้เห็นเป็นอันขาด เพราะเป็นการสร้างโดยการหล่อทีละองค์
    พระปิดตาสำนักวัดทองของหลวงพ่อทับ เป็นพระปิดตามหาอุตม์ที่ขึ้นชื่อมากทางด้านมหาอุตม์ ที่สำคัญของแท้หายากเพราะมีจำนวนการสร้างน้อย
    พุทธคุณพระปิดตาของท่านเด่นทาง เมตตามหานิยมและมหาอุตม์

    พระคาถานี้ใช้สำหรับปลุกเสกพระภควัมบดี
    ธัมมะจักกัง ปะทังสุตาวา พุทฌิติวา อัตตังปะทัง สันติเก อะระหาโลเก โลกานัง หิตะการะณา ภันเตควัมปติ นามะตีสุโลเกสุปากะโต พรหมปุตโตมหาเถโรอะระโห เชฎฐะโกมุนี นัตถิเถโร สะโมอินทะคันทัพพา อะสุราเทวา สักโกพรหมาภิปูชิโต นะโมพุทธัสสะควัมปะติสะ นะโม ธัมมัสสะควัมปะติสะ นะโมสังฆัสสะควัมปะติสะ
    สุกขา สุขะวะรัง ธัมมังธัมมะจักกัง ปะวะรัง วะรัง นิฎฐิตัง สิวลีจะมหาเถโร ยักขา เทวาภิปูชิโต โสระโหปัจจะยาทิมหิ อะหังวันทามิตังสะทา สิวลีจะมหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต โสระโหปัจจะยาทิมหิ มหาลาภภังกะโรนตุเม ลาเภนะ อุตตะโมโหติ โสระโหปัจจะยาทิมหิ มหาลาภัง สะทา โสตถีภวันตุเม ราชะปุตโตจะโยกะโร สิวะลีอิติสุคะโต ลาเภนะอุตตะโมโหติ ยังยังชนะปะทัง ยาติ นิคคะ เมราชะธานิโย สัพพัตกะปูชิโรโหติ เถรัสสาปาเทวันทามิ เถรัสสานะภาเวนะ สัพพะลาโภภวันตุเม สิวลีนันนทะ สิวะลีเถรัสสะ เอตคะตังคุณัง สัพพะธะนัง สุปติฎฐิตัง สาริกะธาตุ พุทธรูปัง อะหังวันทามิ สัพพะทานะมามิ สัตถะเถรัง มหาเตชัง มหาตัปปัง

    คาถาพระปิดตา
    นะโมพุทธัสสะ คะวัมปะติสสะ
    นะโมธัมมัสสะ คะวัมปะติสสะ
    นะโมสังฆัสสะ คะวัมปะติสสะ
    สุขา สุขะ วะรัง นะโมพุทธายะ
    มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา เจวะ เสกขา ธัมมา ยะธาพุทโมนะ ฯ
    " เป็นโภคทรัพย์ เจริญด้วยโชคภาลเมตตามหานิยม "
    .......................
    พระคาถาพิมพ์พระภควัมปติ "ปิดตา"
    ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม
    โลกุตตะโร จะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม

    ประวัติหลวงพ่อทับ วัดทองและพระปิดตายันต์ยุ่ง



    ข้อมูลจำแนกพระปิดตาของหลวงพ่อทับและหลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง
    www.changwathuay.com/web15/home/9-release/48-pornoi.html


    จุดสังเกตุเบื้องต้นพระปิดตาพิมพ์ยันต์ยุ่ง
    1.พระเศียร(ศีรษะ) พระนลาฏ(หน้าผาก) กว้างปรากฏเส้นยันต์ตัว นะ คว่ำ(กลมแบบเส้นขนมจีน)ยืดไปตามแนวพระนลาฏ(หน้าผาก) มีรอยย่นของเส้นยันต์
    2.มีลำพระพาหา(แขน) 1 คู่ ยื่นออกมาที่พระพักตร์(หน้า) ปรากฏพระหัตถ์(มือ) มีนิ้ว 10 นิ้วยืดไปจรดเส้นพระนลาฏ(หน้าผาก)
    3. ซอกพระพาหา(แขน)ทั้งสองด้านบรรจุเส้นยันต์ตัว นะ ปลายหางยันต์ตวัดขึ้นจรดข้อพระกรดูแน่นพื้นเต็มที่
    4. มีลำพระพาหา(แขน)อีก 1 คู่ยื่นออกมาที่พระอุทร(ท้อง) ฝ่าพระหัตถ์(มือ) ยกปิดพระนาภี(สะดือ) บางองค์อาจปรากฏคราบขี้เบ้า และสนิมขุมจับอยู่ภายใน
    5. พระเพลา(หน้าตัก) เป็นแบบขัดสมาธิเพชร ขาขวาทับขาซ้าย (เคยมีปรากฏขาซ้ายทับขาขวา)
    6. พระชงฆ์(แข้ง) เป็นลำหนาใหญ่กว่าลำพระพาหาอย่างเห็นได้ชัด
    7. ด้านหลังเดินเส้นยันต์(ลักษณะกลมแบบเส้นขนมจีน) ตรงกลางเป็นยันต์ตัวเฑาะว์ สองข้างเป็นยันต์อุนาโลม ในซอกลึกปรากฏคราบสนิมขุมปะปนกับคราบขี้เบ้า


    รูปด้านหน้า มีคราบเบ้าดินติดตามซอกนิ้ว และมีเม็ดแร่ผสมในเนื้อองค์พระ เส้นสายลึกโค้งเป็นเส้นขนมจีน เลข๑กลับ อยูู่ที่หน้าอกลึกลงไประหว่่่่่่่่่่่างช่วงแขน องค์นี้ช่วงแขนมีถึง ๔ คู่ โดยคู่แรกยกขึ้นปิดพระพักตร์ คู่ที่ ๒ ปิดพระนาภี (สะดือ) นิ้วมือทั้ง10 เรียวเล็กมาก
    ?temp_hash=e4f720446c5d29a743b88771da3bba71.jpg

    รูปด้านหลัง ตรงกลางด้านหลังเป็นยันต์ตัวเฑาะว์ อุณาโลมหางสะบัดขึ้นด้านบนเศียร หรืออาจเป็นตัวอักขระขอมตัวอื่น ด้านข้างตัวเฑาะว์อุณาโลม เป็นตัวอุณาโลมขนาบข้าง ๒ ตัว ด้านล่างเป็นอักขระว่า "นะ มะ พะ ทะ" เส้นสายยันต์จะมีลักษณะคล้ายเส้นขนมจีนมีขนาดเล็กใกล้เคียงกับเส้นหนังยางถููกวางยันต์พอดีจนเต็มองค์พระ แต่พระเก๊จะวางเส้นยันต์มีช่องว่างด้านหลังองค์พระเหลือค่อนข้างเยอะ
    เนื้อพระด้านหลังจะเห็นเส้นเสี้ยนของโลหะแร่บางไผ่ ที่ได้จากหลวงพ่อจัน วัดโมลี นำมาผสมเพื่อให้พระมีความเข้มขลังเพิ่มขึ้น
    temp_hash-f2be524b02d5e780961ba26c3a3edec6-jpg.jpg

    รูปด้านข้างด้านซ้าย ช่วงแขนคู่ที่ ๓ ยกมือขึ้นปิดพระกรรณ คราบเบ้าดินยังติดตามซอกยันต์ เส้นสายยันต์ด้านข้างจะมีลักษณะคล้ายเส้นขนมจีนเช่นกัน มีขนาดเล็กใกล้เคียงกับเส้นหนังยางถููกวางยันต์จนเต็มองค์พระ แต่พระเก๊จะมีเส้นยันต์จะมีช่องว่างด้านข้างองค์พระเหลือค่อนข้างเยอะ
    ?temp_hash=e4f720446c5d29a743b88771da3bba71.jpg

    รูปด้านข้างด้านขวา
    ?temp_hash=e4f720446c5d29a743b88771da3bba71.jpg

    รูปด้านหน้าเต็มองค์เอียงซ้าย
    ?temp_hash=e4f720446c5d29a743b88771da3bba71.jpg

    รูปด้านหน้าเต็มองค์เอียงขวา
    ?temp_hash=e4f720446c5d29a743b88771da3bba71.jpg

    รูปด้านบนจากเศียรพระ
    เส้นสายวางแบบเศียรบาตร
    ?temp_hash=e4f720446c5d29a743b88771da3bba71.jpg

    รูปด้านใต้องค์พระ
    ช่วงแขนคู่ที่ ๔ ล้วงลงปิดทวารหนักและทวารเบา และมีรอยก้านชนวนอยู่ใต้เข่าซ้าย
    ?temp_hash=e4f720446c5d29a743b88771da3bba71.jpg


    ในอาณาจักรพระปิดตายอมรับกันว่านี่คือสุดยอดพระปิดตาเนื้อโลหะครองอันดับ 1 ในบรรดา 5 องค์สำคัญที่ได้รับยกย่องให้เป็นชุดพระปิดตาเนื้อโลหะยอดนิยม อันได้แก่
    1.พระปิดตา หลวงพ่อทับ วัดสุวรรณาราม (วัดทอง) กรุงเทพ ฯ
    2.พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังฯ บางขุนเทียน กรุงเทพ ฯ
    3.พระปิดตา หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ อ.เมือง จ.นครปฐม
    4.พระปิดตา เนื้อแร่บางไผ่ หลวงปู่จัน วัดโมลี อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี
    5.พระปิดตา กรุท้ายย่าน จ.ชัยนาท

    พระปิดตาหลวงพ่อทับวัดทอง กทม เนื้อชินเงินผสมแร่บางไผ่หายากที่สุด !เเต่ก็เเฝงด้วยความดูง่ายที่สุด! อยู่ด้วยครับ ท่านสร้างไว้ในสมัยแรกๆ หลวงพ่อทับ วัดทอง มีความสัมพันธ์กับ ล.ป เอี่ยม วัดหนัง ล.ป จัน วัดโมลี ล.ป นาค วัดห้วยจระเข้ซึ่งได้แลกเปลี่ยนเนื้อหาสาระในการสร้างพระซึ่งกันและกันด้วย นับว่าเป็นสุดยอดแห่งศาสตร์และศิลป์ในการสร้างอันวิจิตรอลังการพระส่วนพุทธคุณนั้นพระของ ล.ป ทับ วัดทอง เด่นทั้งด้านมหาอำนาจ แคล้วคลาด คงกระพัน เมตตามหานิยมครบเครื่อง ทุกด้าน เนื้อชินเงินผสมแร่บางไผ่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเนื้อพิเศษมากที่พบเห็นได้น้อยองค์ หลวงพ่อทับ อินทโชติ ได้เนื้อแร่บางไผ่มาจาก หลวงปู่จัน วัดโมลี จังหวัดนนทบุรี เจ้าของและต้นฉบับพระปิดตาแร่บางไผ่ แห่งเมืองนนทบุรีนั่นเอง โดยความเป็นช่างของหลวงปู่ทับนั้นท่านเชี่ยวชาญในการหล่อหลอมโลหะโดยการเเสวงหาเเร่ธาต์วิเศษต่างๆมาหล่อสร้างพระเครื่องในสมัยที่หลวงปู่จัน วัดโมลี ตามหาเเร่บางไผ่เพื่อนำกลับไปสร้างพระปิดาเเร่บางไผ่หลวงปู่จันได้เคยเเวะเวียนไปเเลกวิชาการหลอมโลหะกับหลวงปู่ทับที่วัดทองนอกจากนั้นสมเด็จพระสังฆราช(เเพ)ในช่วงที่ยังครองสมณศักดิ์พระธรรมโกษาจารย์ก็มีความถือสนิมสนมกับหลวงพ่อทับไปมาหาสู่เพื่อสนทนาเรื่องเเร่ธาตุการหลอมโลหะกันอยู่เสมอ โดยที่เนื้อชินเงินผสมแร่บางไผ่ท่านได้สร้างไว้ในสมัยแรกๆ ความสวยงามและความเรียบร้อย ออกจะด้อยกว่าเนื้อพระชนิดอื่น ผิวจะย่น ไม่ตึง ปรากฏพรุนทั้งองค์ ... เนื้อพระคล้ายเนื้อแร่บางไผ่ ผิดกันตรงที่ไม่มีเสี้ยนให้เห็น น้ำหนักเบากว่าเนื้อพระชนิดอื่น มีความเปราะมาก ถ้าตกจะแตกเป็นเสี่ยงๆ ทันที และเป็นเนื้อที่ติดแม่เหล็กด้วยพระเครื่องที่หลวงพ่อทับสร้าง เนื้อหามักจะเป็นเนื้อโลหะ ได้แก่ เนื้อสำริดแก่ทอง สำริดแก่เงิน เนื้อขันลงหิน เนื้อทองผสม เนื้อทองแดงเถื่อน เนื้อชินเงิน ชินตะกั่ว เนื้อชินผสมแร่ และเนื้อแร่บางไผ่ก็มีอีกด้วย พระปิดตามหาอุตม์ที่หลวงพ่อทับสร้างขึ้น ...ส่วนมากมักจะเป็นแบบลอยองค์นั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ที่ล้วงปิดทวาร จะล้วงลงทางด้านในไม่ผ่านหน้าแข้ง... จึงทำให้เห็นกิริยาลักษณะที่ขัดสมาธิเพชรเด่นชัด หรือจะเรียกว่าเป็นแบบโยงก้นด้านในก็ดูจะเหมาะสมดี.... ด้านข้างองค์พระไม่ปรากฏรอยตะเข็บเลย เพราะท่านสร้างโดยวิธีปั้นหุ่นด้วยเทียนขี้ผึ้งทีละองค์แล้วจึงใช้ดินเหนียวผสมขี้วัวผสมน้ำประกอบด้านนอก จากนั้นจึงใช้โลหะที่หลอมละลายเทหยอดทางก้นหุ่น เนื้อโลหะที่ร้อนจัดจะทำให้เทียนสลายตัวสำรอกออกทางรูที่เจาะไว้ เหลือแต่เนื้อโลหะเป็นรูปองค์พระแทน นอกจากจะไม่ปรากฏรอยตะเข็บแล้ว พระมหาอุตม์วัดทองจะไม่เหมือนกันเลยทั้งรูปองค์ และลวดลายของอักขระยันต์ ถึงแม้จะเป็นพระที่มีลักษณะเดียวกันก็ตาม อย่างเช่นพิมพ์เศียรโตยันต์ยุ่ง พิมพ์เศียรบายศรี พิมพ์ยันต์ย่อง พิมพ์ตุ๊กตา พิมพ์นั่งบัว ที่ว่าทุกองค์ไม่เหมือนกันนั้นคือ ไม่เหมือนแบบถอดออกมาจากบล็อกเดียวกันเหมือนกันทุกกระเบียดนิ้ว ถ้าเจอชนิดนั้นก็เป็นของเก๊ครับเพราะเหตุผลดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ว่าท่านสร้างตามแบบโบราณ ปั้นหุ่นทีละองค์ พอได้ ๖-๗ องค์ก็เทหล่อเสียทีหนึ่ง เมื่อเทหล่อแล้วหุ่นก็เสียเลย จะสร้างขึ้นอีกก็ต้องปั้นหุ่นใหม่ ดังนี้ ถ้าพบว่าพระปิดตามหาอุตม์วัดทอง จะเป็นพิมพ์ใดก็ตามที่มีเหมือนกันหลายองค์ ดังหล่อออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกัน จงเชื่อได้เลยว่าเป็นของฝีมือผีทำขึ้น เป็นของปลอมแน่นอนครับ พระปิดตาหลวงปู่ทับถึงเเม้จะไม่เหมือนกันเเม้เเต่องค์เดียวเเต่โครงสร้างภายในองค์พระนั้นมีความใกล้เคียงจะหาผู้อื่นใดมาลอกเลียนสร้างให้เหมือนได้ยาก นอกเสียจากใช้วิธีถอดพิมพ์ แต่วิธีนี้ก็ยังมีพิรุธให้จับได้ เช่น รอยตะไบตกแต่งเพื่อลบรอยต่อข้างองค์พระเป็นต้น นอกจากการพิจารณาเอาความเรียบร้อยเเละพิมพ์ทรงขององค์พระเป็นหลักใหญ่แล้ว ยังจะต้องศึกษาทางด้านเนื้อหาควบคู่กันไป เนื้อชินเงินผสมแร่เป็นเนื้อพระปิดตาของหลวงปู่ทับที่พบน้อยมาก ท่านสร้างไว้ในสมัยแรกๆ และสร้างจำนวนน้อยองค์ พระปิดของหลวงปู่ทับนั้นน่าจะเริ่มสร้างตั้งเเต่ปีพ.ศ.2440เรื่อยมาเเจกให้เเก่ศิษย์เเละคนคุ้นเคยใกล้ชิดผู้ที่ทราบก็พากันไปขอพระจากหลวงปู่เเต่ท่านก็ไม่ได้สร้างมากมายป็นการทยอยสร้างทยอยเเจกให้ไปครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2021
  2. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    69
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    ข้อมูล พระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง ถือได้ว่าเป็นพระปิดตาในฝันของเซียนสายพระ ปิดตาเลยทีเดียว พระปิดตาวัดทอง ถือเป็น 1 ในเบญจปิดตาเนื้อโลหะ มีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ ยันต์ยุ่ง, ยันต์น่อง, พิมพ์บายศรี และพิมพ์ตุ๊กตา และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ทุก ๆ พิมพ์ล้วนได้รับความนิยมอย่างสูงและมีราคาแพงมาก

    หลักในการพิจารณาพิมพ์วัดทอง

    1. ในกรณีวัดทอง พิมพ์ยันต์ยุ่ง และวัดหนังพิมพ์ยันต์ยุ่ง ซึ่งมีชื่อพิมพ์เหมือนกัน วิธีแยกพิมพ์ 2 วัดนี้คือ

    - วัดทองด้านหน้ามือล้วงปิดทวาร ล้วงด้านใน ส่วนวัดหนังล้วงด้านนอก

    - วัดทองการปั้นพิมพ์จะปั้นต้อ ๆ นั่งหลังค่อม ๆ ส่วนวัดหนังจะปั้นแบนกว่า สูงชลูดกว่า
    ?temp_hash=d66e835074912ad6ddc18d348d299c9a.jpg

    2. ให้ดูข้าง วัดทองหรือวัดหนัง จะปั้นหุ่นทีละองค์ และค่อยวางยันต์ ฉะนั้น จะต้องไม่มีตะเข็บข้างโดยเด็ดขาด และดูเส้นยันต์จะค่อนข้างกลมเหมือนเส้นขนมจีน ถ้าเส้นยันต์ติดแบบตื้น ๆ คือถอดแน่นอน

    ปิดตาวัดทอง เนื้อแยกออกเป็นหลายแบบ เช่น

    - เนื้อสำริดเงินกลับดำ (เนื้อในออกขาว) เนื้อนี้เป็นเนื้อนิยมที่เล่นหากัน คือผิวนอกออกดำหรือเทา เนื้อในถ้าถูกสัมผัสจะออกขาว

    - เนื้อสำริด (ออกแดง, ออกเหลือง) ถ้าออกแดงคือจะแก่ทองแดงหรือนาก ส่วนถ้าออกเหลือง ก็แก่ทองเหลือง เนื้อนี้จะไม่ค่อยนิยม

    - เนื้อเงิน เนื้อนี้จะเป็นเงินคือขาวทั้งองค์

    - เนื้อชินตะกั่ว เนื้อนี้ถ้าเก่า ๆ จะดูคล้ายเนื้อเงิน แต่จะนิ่มกว่า

    - เนื้อเมฆพัตร เนื้อนี้จะพบเจอน้อย และหล่นแตก

    หลักการพิจารณาความเก่า
    - วัดทอง, วัดหนัง ส่วนใหญ่จะมีดินหุ่นอยู่ตามซอกยันต์ ซึ่งเกิดจากการหล่อตอนสร้าง แต่ถ้าแคะออกจะเห็นเส้นยันต์คมชัด ลึก ซึ่งเซียนบางคนชอบยึดถือต้องมีดินหุ่น ตรงนี้เป็นหลักแสดงถึงความแท้ จริง ๆ แล้วไม่จำเป็นเลย ก็คือดูข้าง ดูเนื้อ ดูพิมพ์ ดูความเก่า แห้งก็พอแล้ว
    ?temp_hash=d66e835074912ad6ddc18d348d299c9a.png

    - และให้ดูคราบไขตามผิวพระเก่าตามธรรมชาติและมีเม็ดแร่ต่างๆปรากฏ

    สำหรับวัดทอง พิมพ์ยันต์ยุ่งองค์นี้ซึ่งเป็นพิมพ์ที่นิยมอันดับ 1 ของวัดทอง เส้นยันต์วางได้อย่างลงตัว เป็นระเบียบ ขนาดพอดี ตัวอักขระ ก็นิยมด้านหน้าวางเลข ๑ ตรงหน้าอก ส่วนด้านหลังนิยมวางตัวเฑาะว์ไว้ตรงกลาง มีรอยสัมผัสเล็กน้อย โดยเห็นเนื้อข้างในออกขาว โดยภาพรวมแล้ว วัดทององค์นี้ สภาพสมบูรณ์ เนื้อชินมีคราบไขเก่าตามธรรมชาติ และคราบเบ้าดินหุ่นยังอยู่สภาพดีมาก
    ?temp_hash=d66e835074912ad6ddc18d348d299c9a.png
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2018
  3. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    69
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    ลองศึกษาลักษณะเส้นสายยันต์ของปิดตา หลวงพ่อทับ วัดทองดูครับ

    มนต์เสน่ห์ของพระปิดตาหลวงพ่อทับ วัดทอง กทม. ถือได้ว่าเป็นพระปิดตาเพียงสำนักเดียวที่มีพิธีการสร้างอย่างประณีตที่สุด โดยเป็นการสร้างขึ้นด้วยการปั้นหุ่นขี้ผึ้งทีละองค์ จากนั้นจึงปั้นด้วยยันต์ขึ้นมาเบ้าหล่อพระปิดตาวัดทอง ทำแบบเบ้าหล่อละลายตัว หุ่นขี้ผึ้งจะละลายไปด้วยเมื่อเทโลหะหลอมลงไปในเบ้าทีละเบ้า จึงทำให้พุทธลักษณะขององค์พระจะออกมาไม่เหมือนกันแบบฝาแฝด แต่จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันได้บ้างในบางองค์เท่านั้น
     
  4. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    69
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    หลักการพิจารณาดูเนื้อ พระปิดตา แร่บางไผ่
    • เนื้อพระปิดตาแร่บางไผ่ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อขรุขระ เนื้อละเอียดก็มีแต่มีน้อย กรณีถลุงขี้แร่ไม่หมด จะปรากฏเป็นเสี้ยนคล้ายเสี้ยนตาล ลักษณะเป็นแพ ๆ เกิดขึ้นเฉพาะบางแห่งเท่านั้น ส่วนในกรณีที่ถลุงไล่ขี้แร่หมด จะมีรอยเสี้ยนเกิดเป็นจุด ๆ เล็ก ๆ เรียกว่าเสี้ยนแตงกระจายอยู่ทั่วไป
    • เนื้อแร่บางไผ่ค่อนข้างเปราะ ตกแตก หักได้ เนื่องจากมีส่วนผสมของขี้แร่อยู่มาก เช่น การตัดก้านชนวนให้เลื้อยรอบ ๆ ก้านชนวนก่อนแล้วค่อนหักก้านชนวน ถ้าไม่ทำเช่นนี้ รอยหักก้านชนวนเวลาหักออกอาจทำให้กระเทาะรามไปถึงส่วนอื่นได้
    • พระปิดตาแร่บางไผ่บางองค์จะมีสนิมสีน้ำตาลเข้มคล้ายสนิมเหล็กเมื่อล้างออกแล้วผิวจะขาวเนื้อบางแห่งจะเป็นจุด ๆ เล็ก ๆ เรียกว่า เสี้ยนแตง หรือปล่อยทิ้งไว้ไม่นานผิวก็จะกลับมาเข้มเหมือนเดิม
    • พระปิดตาแร่บางไผ่ ปกติแม่เหล็กจะดูดติด แต่ประเภทแม่เหล็กดูดไม่ติดก็มี แต่มีน้อย เท่าที่สังเกตองค์ที่แม่เหล็กดูดไม่ติดส่วนใหญ่เนื้อแร่ของพระองค์นั้นจะไม่มีเสี้ยนที่ขึ้นเป็นแพ ๆ
    ตัวอย่างพระปิดตา แร่บางไผ่ หลวงปู่จัน วัดโมลีย์
    ?temp_hash=340db45e4354b4122e3eb1bffeab6810.jpg

    ?temp_hash=340db45e4354b4122e3eb1bffeab6810.jpg
    ?temp_hash=340db45e4354b4122e3eb1bffeab6810.jpg

    เปรียบเทียบกับปิดตา ลพ.ทับ วัดทอง เนื้อชินผสมแร่บางไผ่
    picsart_05-16-01-00-32-jpg.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    69
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    :):):)
     

แชร์หน้านี้

Loading...