เรื่องเด่น : ปิดประตูนรก : โดยหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง

ในห้อง 'ภพภูมิ-สวรรค์ นรก' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 2 ธันวาคม 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    cats-004.jpg

    : ปิดประตูนรก :

    โดยหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง

    พระธรรมที่พระสงฆ์นำมาแนะนำแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้ายอมรับนับถือเป็นส่วนตัวก็สามารถจะพ้นนรกได้แน่นอนในชาตินี้ แต่ชาติต่อไปเราก็ไม่แน่ แล้วการที่จะคิดว่าชาติ…ต่อไปเราอาจจะเกิดเป็นคน เราจะยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า หรือพระอริยสงฆ์ต่อไปนี่ไม่แน่นอนนักเพราะการเกิดแต่ละชาติเราไม่ได้รับแต่ผลของความดีฝ่ายเดียว เป็นการรับผลทั้งความดีและความชั่ว จะเห็นว่าคนที่เกิดมาแล้วนี้ไม่ใช่มีความสุขอย่างเดียว อารมณ์ที่ทำให้เกิดเป็นทุกข์ก็มีอยู่ หรือไม่ได้มีแต่
    ความทุกข์อย่างเดียว อารมณ์ที่เป็นสุขก็มีอยู่ ขณะใดที่อารมณ์ความเป็นสุขเกิดขึ้น ขณะนั้นถือว่ารับผลของกุศลเก่า คือบุญเก่าที่เราทำไว้แล้วในชาติก่อนๆ มา สนองเรา เราก็มีความสุข

    …..ผลของทานเป็นปัจจัยให้ได้ลาภสักการะ
    …..ผลของการรักษาศีลให้เกิดความสุขหลายๆ ประการ
    …..ผลของการเจริญภาวนาและศึกษาธรรม เป็นเหตุให้เกิดปัญญามีความฉลาด
    …..ถ้าผลของความทุกข์ ผลของปาณาติบาต ทำให้คนมีอายุสั้นพลันตาย
    …..ผลของอทินนาทาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหาย
    …..ผลของกาเมสุมิจฉาจาร ทำให้ลูกหรือบุคคลในปกครองว่ายากสอนยาก ไม่อยู่ในโอวาท แนะนำอย่างไรก็ไม่เชื่อฟัง
    …..ผลของมุสาวาท เกิดมาชาตินี้ในระหว่างนั้นให้ผล พูดดีเท่าไรก็ไม่มีคนอยากรับฟัง
    …..ผลของการดื่มสุราเมรัย ทำให้เป็นโรคปวดศีรษะไม่หายหรือเป็นโรคเส้นประสาทหรือว่าเป็นโรคบ้า
    …..ทั้งหมดตามที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นผลจากความดี หรือความชั่วในชาติก่อน ที่ยังตามมาสนองเรา ถ้าบังเอิญเกิดในชาตินั้น
    ยามจะตาย ผลของอกุศลก็ครอบงำจิตพอดี เราก็ลืมพระพุทธเจ้า ลืมพระอริยสงฆ์ ทั้งนี้เพราะความมั่นคงของจิตไม่มี ถ้าความมั่นคงของจิตมีต้องปฏิบัติในธรรม ให้ธรรมทรงตัวทรงใจ หมายความว่า การจะพูดก็ดี การจะทำก็ดีการจะคิดก็ดี อยู่ในขอบเขตของพระธรรม เพราะว่า พระธรรมนั้นพระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราปฏิบัติในด้านของความดี และก็พระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สอนก็ทรงสอนไว้ถึง ๘๔,๐๐๐ หัวข้อ

    …..เราจะปฏิบัติกันอย่างไรได้หมด อันนี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัทอาจจะเป็นเครื่องอัดอั้นตันใจสำหรับบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายเพราะว่าถ้าพูดถึงพระธรรมแล้วไม่รู้จะเอาตรงไหนดีก็เอากันอย่างนี้ก็แล้วกัน

    …..พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระธรรมวินัยที่พระองค์ตรัสไว้แล้วหลายหมื่นหัวข้อ ถึง ๘๔,๐๐๐ หัวข้อ ท่านบอกว่าให้เลือกปฏิบัติตามที่เราเห็นสมควรที่พอจะปฏิบัติได้ เพราะการที่
    พระพุทธเจ้าตรัสไว้มากๆ ก็ทราบว่า อัธยาศัยของคนไม่เสมอกัน กำลังใจของคนก็ไม่เสมอกัน อัธยาศัยต่างกันอย่างหนึ่ง กำลังใจต่างกันอย่างหนึ่ง ก็มีความจำเป็นต้องตรัสไว้มาก เพื่อความเหมาะสมของแต่ละบุคคล

    …..เวลานี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายกำลังฟังเรื่องการปฏิบัติตนเพื่อให้พ้นนรกคำว่า “นรก” ก็หมายถึงเปรตอสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ต้องการจะหนีนรกกันแล้วเราก็ปฏิบัติกันอยู่ในขอบเขตของสังโยชน์ ๓ ประการในเมื่อปฏิบัติอยู่ในขอบเขตของสังโยชน์ ๓ ประการ ก็เอาพระธรรมวินัยที่อยู่ในขอบเขตของสังโยชน์ ๓ ประการมาปฏิบัติไม่ใช่ว่ากันดะไปทั้งหมด

    …..พระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในขอบเขตของสังโยชน์ ๓ ประการ ก็คือ “ศีลห้า และ
    กรรมบถ ๑๐ ” ถ้าการปฏิบัติศีลห้าครบถ้วน ก็ถือว่าได้ความดี หนีนรกได้แบบหยาบๆ ชาตินี้มีความสุขแต่ความสุขน้อยไปหน่อย ชาติหน้ามีความสุขแน่แต่ด้อยไปนิดหนึ่ง กาลเวลาที่จะถึงนิพพานยังไกลอยู่

    เอาสังโยชน์ ๑๐ เป็นเครื่องวัดอารมณ์

    นักปฏิบัติเพื่อมรรคผล ที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น ท่านคอยเอาสังโยชน์เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบเคียงจิตกับสังโยชน์ ว่าเราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลปฏิบัติตามอารมณ์ที่ละนั้นเอง ไม่ใช่คิดเอาเองว่าเราเป็นพระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหัต ตามแบบคิดแบบเข้าใจเอาเอง

    *** สังโยชน์ ๑๐ ***

    สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมอยู่ในวัฏฏะ มี ๑๐ อย่าง คือ

    ๑.สักกายทิฏฐิ
    มีความเห็นว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้ เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเรา

    ๒.วิจิกิจฉา
    สงสัยในผลการปฏิบัติว่าจะไม่ได้ผลจริงตามที่ฟังมา

    ๓.สีลัพพตปรามาส
    ถือศีลไม่จริงไม่จัง สักแต่ถือตามๆเขาไปอย่างนั้นเอง

    ***สามข้อนี้ ถ้าตัดได้เด็ดขาด ท่านว่าได้บรรลุเป็น “พระโสดาบัน” กับ “พระสกิทาคามี”

    ๔.กามราคะ
    ความกำหนัดยินดีในกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และอาการถูกต้องสัมผัส

    ๕.ปฏิฆะ
    ความกระทบกระทั่งใจ ทำให้ไม่พอใจ อันนี้เป็นโทสะแบบเบาๆ

    ***ข้อ ๑ ถึง ๕ นี้ ถ้าละได้เด็ดขาด ท่านว่าบรรลุเป็น “พระอนาคามี”

    ๖.รูปราคะ
    พอใจในรูปธรรม คือความพอใจในวัตถุ หรือรูปฌาน

    ๗.รูปราคะ
    พอใจในอรูป คือเรื่องราวที่กล่าวถึง หรือในอรูปฌาน

    ๘.อุทธัจจะ
    อารมณ์ฟุ้งซ่าน คิดนอกลู่นอกทาง

    ๙.มานะ
    ความถือตนโดยความรู้สึกว่า เราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา เราเสมอเขา

    ๑๐.อวิชชา
    ความโง่ คือ หลงพอใจในกามคุณ ๕ และกำหนัดยินดีในกามคุณ ๕ ที่ท่านเรียกว่า อุปาทาน เป็นคุณธรรมฝ่ายทรามที่ท่านเรียกว่า อวิชชา

    สังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ ถ้าท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว จิตค่อย ๆ ปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครบ ๑๐ อย่างโดยไม่กำเริบอีกแล้ว ท่านว่าท่านผู้นั้นบรรลุ “อรหัตผล” เป็น “พระอรหันต์”

    เครื่องวัดอารมณ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสจำกัดไว้อย่างนี้ ขอนักปฏิบัติจงศึกษาไว้ แล้วพิจารณาไปตามแบบท่านสอน เอาอารมณ์มาเปรียบกับสังโยชน์ ๑๐

    ทางที่ดีควรคิดเอาชนะกิเลสคราวละข้อ เอาชนะให้เด็ดขาด แล้วค่อยเลื่อนเข้าไปทีละข้อ ข้อต้น ๆ ถ้าเอาชนะไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งเลื่อนเข้าไปหาข้ออื่น ทำอย่างนี้ได้ผลเร็ว เพราะข้อต้นหมอบแล้ว ข้อต่อไปไม่ยากเลย

    จะชนะหรือไม่ชนะ ก็ข้อต้นนี้แหละ เพราะเป็นของใหม่ และมีกำลังครบถ้วนที่จะต่อต้านเรา ถ้าด่านหน้าแตก ด่านต่อไปง่ายเกินคิด ขอให้ข้อคิดไว้เพียงเท่านี้



    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  2. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,396
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
  3. Nagamanee

    Nagamanee Manassa

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    526
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,578
    อนุโมทนาสาธุค่ะ

    จะพยายามรักษาศีลห้าข้อให้ครบค่ะ
    ข้อหนึ่งได้ละ แมงสาบยังไม่ฆ่า ไส้เดือน ตะขาบ แมงมุม พยายามเอาไปปล่อยที่อื่น...เง้อ
    ข้อที่สอง ห้ามขโมย จะไม่อู้เวลางาน จะไม่เอาของอะไรก้ตามที่คนเขาไม่อนุญาต ต้องบอกกล่าวเขาก่อน
    ข้อที่สาม ห้ามผิดเรื่องชู้สาว อันนี้ไม่ได้ผิดเพราะไม่ได้ทำ รอดตัวไป
    ข้อที่สี่ ข้อนี้ วจีกรรม ยังเป็นอยู่ยังไม่บริสุทธิ์ค่ะ ยังใช้ปากพูดมากอยู่ ตอนนี้ ลดๆๆไปเยอะละ
    ดีแต่ว่าไม่ได้เอาวาจาไปยุแยงใคร
    ข้อที่ห้า อันนี้โอเค เพราะไม่ดื่มแอลกอฮอลล์ทุกชนิดค่ะ :D

    ข้าพเจ้าไม่อยากเสียเวลาในนรก ข้าพเจ้าจึงตั้งใจรักษาศีลข้าพเจ้าให้บริสุทธิ์ค่ะ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...