ปุจฉา-วิสัชนา พระอริยเจ้าสายพระป่าธรรมยุติ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 20 ตุลาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>ขอท่านอาจารย์โปรดอธิบายคำตอบสุดท้ายอีกครั้งหนึ่งครับ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top>ขอให้ใช้สติควบคุมปัญญาพิจารณา รูป-นาม คือกายกับใจ อันนี้ให้เห็นแจ้งชัดเจนด้วยใจของตนเอง แล้วมองเห็นสิ่งทั้งปวงมีสภาพเหมือนกันหมด นี่ก็ เป็นอุบายอันหนึ่งของอุบายหลายๆ อย่างด้วยกัน ซึ่งจะทำให้ละอุปาทานได้ อุปาทานไม่ใช่อันเดียว มีหลายอย่าง แต่ไปชัดอุอายอันเดียว แล้วเรื่องอื่นก็ชัดด้วยกันทั้งหมด

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>ที่ท่านอาจารย์ให้พิจารณากายนั้น ควรจะพิจารณาส่วนไหนครับ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top>จะพิจารณาส่วนใดส่วนหนึ่งก็ได้แล้วแต่ถนัด เมื่อมันชัดแล้วส่วนอื่นก็ชัดตามกันไป หรือจะชัดเฉพาะแต่ส่วนที่พิจารณาก็เอา อย่าไปอยากให้มันชัดทั้งหมดประเดี๋ยวใจมันจะถอนออกมาเสีย สิ่งที่ชัดจะหายไปเสียสิ่งที่ไม่ชัดก็เลยไม่ชัดตามกันไปด้วย

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>ถ้าพิจารณานิจจัง หรือนามธรรมอื่นอันใดจะชัดกว่าครับ
    </TD></TR><TR><TD height=38 vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD height=38 vAlign=top>เมื่อพิจารณาอนิจจัง ขอให้ลงถึงใจจริงๆ เกิดเป็นชัดด้วยกันทั้งนั้นไม่ว่ารูปและนาม

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>เวลาทำความสงบมีอารมณ์เล็กน้อย มันจะไปยึดเอาแต่ความสงบนั้น
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top>ก็ต้องเป็นอย่างนั้น ความสงบเป็นความสุขอย่างยิ่ง แต่ความไม่สงบเป็นสัญชาติญาณมันยังมีอยู่และไม่มีความสุข จงทำความสงบให้มากจนไม่มีอารมณ์แล้วอยู่เป็นสุข

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>เวลาที่ทำสมาธิโดยกำหนดลมหายใจและมื่อจิตสงบนิ่งดีแล้วกลับมาพิจารณากายโดยคิดไปว่า น่าจะเป็นโรคอันนั้นอันนี้ ซึ่งก็อาจจะเป็นไปได้ แต่เมื่อคิดว่าขณะนี้กำลังพิจารณา อานาปานสติอยู่ ก็นับหนึ่ง - สอง -สาม--- จนถึง สิบแทนการกำหนดลมหายใจ ความรู้สึกนั้นก็หายไป ทำอย่างนี้จะถูกหรือไม่
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top>จิตยังไม่สงบเต็มที่ยังไม่เข้าถึงธรรมจึงต้องหวงแหนร่าง-กายอยู่กลัวจะเกิดโรคนั้นโรคนี้อยู่ ถ้าจิตเข้าถึงสมาธิเต็มที่แล้วและเข้าถึงธรรม ความวิตกกังวลเช่นนั้นจะไม่มีเลย

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>ผมเข้าใจว่าเมื่อใจจะเป็นฌาณต้องวางอารมณ์เสียก่อน เมื่อวางแล้วก็เป็นฌาณหลังจากนั้นผมพยายามจับอาการสามสิบสองพิจารณาใหม่
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top>ฌาณก็ต้องอารมณ์ไม่มีอารมณ์ก็เรียกฌาณได้อย่างไร อารมณ์ของฌาณคืออานาปานสติ อนุภ กสิณ ทั้งหลาย เป็นต้น ที่จับเอาอาการสามสิบสองมาพิจารณานั้นดีแล้ว ขอให้พิจารณาไปเกิดเป็นอย่างไรช่างมันขอให้มันเป็นก็แล้วกัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>เวลาอารมณ์อะไรมาแทรกขณะที่กำลังพิจารณาอยู่ใจก็มักจะเข้าหาฌาณแต่ถ้าเมื่อใดใจจดจ้องแต่อารมณ์เดียว เวลาจับเอาอารมณ์นั้นมาพิจารณากาย จิตใจก็จะตั้งมั่นอยู่ที่กาย
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top>ฌาณเป็นอารมณ์ขี้ขลาด เหตุนั้นเมื่อมีอารมณ์มาแทรก จึงหลบเข้าฌาณเสียสมาธิเป็นอารมณ์กล้าหาญ เมื่ออารมณ์ใดเข้ามาแทรกจะต้องจดจ้องเพ่งพิจารณาอยู่ที่กายแห่งเดียว

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>เมื่อก่อนนี้ผมคิดว่าการเรียนหมอนี้เป็นหลักวิชาที่ได้เปรียบในเรื่องการพิจารณา แต่เดี๋ยวนี้ทราบว่าเข้าใจผิด การไปเพ่งดูโรคต่างๆแล้วเอาพิจารณานั้น มันยังเป็นการเพ่งภายนอก
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top>เราเพ่งอันนั้นนับว่าดีแล้ว เราจับจุดได้ว่ามีโรคอะไรเกิดขึ้นในที่นั่น เราเพ่งเรียกว่าเพ่งออกไปภายนอกเรียกสมาธิเหมือนกันเมื่อจิตใจจดจ่ออยู่อันเดียวเรียก สมาธิ แต่เป็นสมาธิส่งนอกบรรดาวิชาทั้งหลายที่เรียนรู้สมาธิ แต่เป็นสมาธิส่งนอกบรรดาวิชาทั้งหลายที่เรียนรู้มาแล้ว ในโลกนี้และนำออกมาใช้ทั้งหมด ส้วนแต่เกิดจากสมาธิ อันนี้ทั้งนั้น แต่ในทางพุทธศาสนาให้ย้อนกลับมา พิจารณาภายในใครเป็นผู้พิจราณาใจเป็นผู้พิจารณาจับใจนั่นแหละมา พิจารณา อ๋อ.. ผู้นี้เองเป็นผู้พิจารณา แล้วเรามาพิจารณาใจว่า มันมีอะไรอยู่ตรงนี้บ้าง เวลาเราคิดนึกส่งส่ายมันไปหาอะไรจับตรงนี้แหละขึ้นมาพิจารณาอยู่ตรงนี้ ตั้งสติควบคุมทำความรู้สึกไว้เอาแค่นี้เสียก่อนเมื่อสมาธิเกิดมันต้อง วางอารมณ์อันนั้นตาม หลักพระพุทธศาสนาถ้าหากไปติดอารมณ์นั้นอยู่ เป็นสมาธิเหมือนกันแต่เป็นสมาธิส่งนอก

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>เมื่อก่อนนี้เวลาภาวนา พิจารณาเห็นสมองของคนอื่นอยู่ข้างหน้าปัจจุบันนี้พยายามพิจารณาให้เป็นสมองของตัวเองบ้าง จะเป็นอย่างไรครับ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top>มันก็ดีละซี เห็นภายนอกแล้วน้อมเข้าภายในกายของตนไม่ให้ส่งออกไปภายนอกไม่ว่าแต่สมองล่ะ อื่นๆ ก็ให้น้อมเข้าอย่างนั้นเหมือนกันก็ใช้ได้

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>เราจะต้องแยกจิตออกจากอารมณ์ใช่ไหมครับ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top>แยกหรือไม่แยกเราไม่ต้องพูด เมื่ออารมณ์ทั้งหลายมี รูป เป็นต้นที่ตามีประสาทเป็นผู้รับรู้อย่างภาษาสมัยใหม่เรียกว่า เซลล์ประสาทก็ดีเซลล์อื่นก็ดี เป็นแต่เครื่องรับผู้รู้นั้น คือ ธาตุรู้ สภาพที่รู้นั้นแหละจับให้ได้ เมื่อจับตัวนั้นได้แล้ว สิ่งอื่นก็หายไปหมดก็เป็นอันแยกอารมณ์กับจิตออกจากกันได้แล้ว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>เมื่อเวลาภาวนาจะได้ยินอะไรหรือได้เห็นอะไรในขณะนั้นเราทำเป็นไม่สนใจ ทำเป็นไม่รู้ปล่อยวางอารมณ์ให้เฉยๆ เสียจะได้ไหมครับ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top>นั้นเป็นวิธีวางอารมณ์ ชำระอารมณ์ คือเวลาที่มีอารมณ์ เรารู้จักชำระอย่างนี้หากอารมณ์อื่นเกิดขึ้นมาอีก ก็ต้องใช้แบบนี้แต่ปรกติธรรมดา ถ้าไม่มีสิ่งใดจะพิจารณาเราต้องมาพิจารณาอารมณ์อันนี้อีกเหมือนกันต้องให้มีความชำนาญ ถ้ามันไม่มีอะไรจิตอยู่เฉยต้องย้อนกลับมาค้นคิดอยู่อีกให้อยู่กับอารมณ์ที่เกิดนี้ ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วจิตจะส่งไปในที่ต่างๆ

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>เวลาพิจารณาอาการ ๓๒ ส่วนใดส่วนหนึ่งจนชัดเจนเห็นตามเป็นจริง แต่มันไม่สลดสังเวขแลเบื่อหน่าย มันยังเห็นต่อไปว่ากลัวจะเกิดโรคอย่างนี้อีกด้วยผมกลัวว่าจะไม่ถูกทางพ้นทุกข์ทางที่ถูกจะทำอย่างไร
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้อาจารย์
    </TD><TD vAlign=top>อันนี้มันยังอยู่ที่เรียกตามหลักวิชาที่ศึกษามา เลยเห็นเพียงสักแต่ว่าธรรมดา ไม่ยึด ไม่ถือ เห็นเป็นธรรมดาเหมือนกับท่อนไม้ท่อนฟืน เห็นไม่ใช่เขา เห็นเพียงแค่นั้นใจของเรายังไม่ทันเป็นสมาธิ ถ้าเป็นสมาธิเห็นประจักษ์แจ้งวางปุยซึ่งตำราทั้งหมด แล้วเห็นเฉพาะตนเอง มันก็สลดสังเวช อันนี้มันไม่เข้ามาในใจ มันไปอยู่ที่อื่นเสียจีงไม่เกิดสลดสังเวช

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>ผมกลัวว่าจะไปติดทางวิชาเก่าคือ วิชาแพทย์ เป็นหมอไม่ได้อบรมทางพุทธศาสนากลัวว่าจะไม่ทราบไม่เข้าใจความพ้นทุกข์เพียงพอเพื่อที่จะเข้าสู่หลักได้ จึงอยากจะกราบเรียนถามท่านอาจารย์ว่า ควรแก้ไขใหม่ดี หรือว่าเอาอารมณ์อันเก่ามาพิจารณา
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top>อารมณ์เก่าหรืออารมณ์ใหม่ไม่สำคัญขอแต่ให้เพ่งพิจารณาแน่วแน่นลงเฉพาะที่เดียว เพ่งพิจารณาอะไรขอให้อยู่ ณ ที่นั้นให้เกิดความรู้ขึ้นเฉพาะตนอย่าไปเอาความรู้จากตำราหรืออื่นมาใช้เป็นอันใช้ได้ทั้งนั้น</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>ผมเคยหัดภาวนาโดยบริกรรม พุทโธๆ ต่อมารู้สึกว่าจิตมันนิ่งและคำบริกรรมหายไป</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top>ที่ภาวนา พุทโธๆ จิตมันวางหมด พุทโธก็หายใปเหลือแต่ผู้รู้ ให้กำหนดเอาผู้ที่รู้ว่ามันหายไปนั้น อย่าไปว่า พุทโธ อีกนี่ภาวนาเป็นแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วมันสุขหรือไม่</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>รู้สึกเฉยๆ ไม่รู้สึกว่าเป็นสุขอะไร ไม่เห็นว่าตนเองดีอกดีใจอะไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top>เพราะไม่รู้จักความสุขชนิดนี้ มีแต่สุขเพราะความยึดถือสุขว่างๆ อย่างนี้ยังไม่เคยมี</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>คนที่ปฏิบัติภาวนาเป็นนั้น เพราะกรรมที่เขาสร้างสมมาที่เรียกว่าบารมีชาติก่อนที่สร้างไว้ใช่หรือไม่ หรือจะเป็นเพราะวิริยะที่ทำความเพียรชาตินี้เอง</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top>ถ้าภาวนาเป็นแล้ว บุญก็มาวาสนาก็ส่งให้อะไรๆ ก็ดีไปหมดถ้าภาวนาไม่เป็นแล้วอะไรๆ มันก็ตันตื้นไปหมดภาวนาเป็นแล้วถึงขนาดนั้น มันก็ไม่พ้นขี้เกรียจอยู่ดีๆ นั่นเอง</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>ทำไมท่านอาจารย์สอนจึงเข้าใจ แต่คนอื่นพูดไม่เข้าใจ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top>นั่นเรียกว่าบุญมาวาสนาส่งแล้ว เพราะเราก็มีศรัทธาแล้ว ก็มีครูบาอาจารย์มาสอนให้ด้วย เราทำคำสอนของท่านก็เป็นไปตามปรารถนา บุญ คือทุนเดิมมมีอยู่แล้ว ศรัทธาเพิ่มบุญให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป เอาบุญมาสร้างบุญยิ่งๆ ขึ้นในสิงคโปร์นี้จะมีที่ไหนที่สร้างบ้านแล้วมีพระมาอยู่ให้อย่างนี้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>ได้พิจารณากายให้เป็น ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุน้ำ ธาตุไฟ เมื่อมองดูตัวของตนเองแล้วมีความรู้สึกว่ามันเป็นตัวอะไรก็ไม่ทราบ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top>มันก็แน่ละซี เมื่อพิจารณาเห็นเป็นธาตุแล้ว มันก็ไม่มีตัวมีตนเห็นเป็นสักแต่ว่าธาตุเท่านั้นที่เราเรียกตามสมมุติว่าคน ว่าสัตว์แท้ที่จริงไม่ใช่ทั้งนั้น เป็นแต่ธาตุเฉยๆ</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>ผมกลัวตาย</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top>มันมีแต่เห็นตามเป็นจริงอย่างนั้น แต่ความรู้มันไม่พร้อมต้องเห็นพร้อมด้วยความรู้ด้วยคือเห็นชัดด้วยปัญญาแล้วใจมันสงบอยู่ ณ ที่เดียว มันจึงไม่ต้องตาย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>เมื่อกำหนดลมหายใจแล้วนับลมหายใจ แล้วต่อจากนั้นก็วางลมหายใจหรือว่ามันจะวางเอง การทำอย่างนี้ได้ประโยชน์อะไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top>กำหนดลมหายใจจนสงบแล้ววางเอง เป็นประโยชน์คือเป็นสือให้เข้าถึงความสงบนั้นเองเพราะความสงบเป็นความสุขที่แท้จริง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>ขอกราบเรียนถามเรื่องผู้รู้ ท่านอาจารย์เคยแนะนำให้จับผู้รู้เมื่อผมพิจารณาอะไรคือ ผู้รู้ ผมบอกว่าผมเป็น ผู้รู้ ถ้าหากว่าผมเป็นผู้รู้ก็ตรงกันข้ามกับอนัตตาไป</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top>ตอนนี้มันเป็นอัตตาเสียก่อนอย่าเพิ่งเป็นอนัตตาก่อนเลย ให้เห็นอัตตาชัดแน่เสียก่อน เราปฏิบัติอัตตาไปหาอนัตตาอย่งตัวเรานี้ เราถือว่าเรา เมื่อพิจารณากันจริงจังแล้วมันไม่มีสาระอะไรเลย แล้วปล่อยมันเสียถึงแม้ผู้รู้นั้นก็หาสาระอะไรไม่ได้รู้สึกแต่ว่ารู้เฉยๆ แล้วก็เที่ยวไปรู้นั่นรู้นี่หาสาระไม่ได้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>ผมสนใจในทางศาสนาพุทธศาสนามานานแล้วแต่ไม่มีครูบาอาจารย์อธิบายให้ฟัง เมื่อแม่ชีชวนกลับมาบ้านพักนึงก็ได้มาสนทนากับแม่ชีชวนบ้างแล้วก็มาหัดนั่งภาวนาตามตำราบอกว่า พอเกิดภาพนิมิตหรืออะไรอื่น เราหลงไปยึดมันแล้วอาจเป็นอันตรายกับเราก็ได้ผมกลัวว่าจะหลงภาพนิมิตหรือหลงอย่างอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นปัจจุบันนี้ผมนั่งภาวนาวันละครึ่งชั่วโมง กำหนดลมหายใจเข้า-ออกเพราะมีครูบาอาจารย์อยู่ใกล้ๆ ถ้าท่าอาจารย์ไปแล้วผมกลัวจะเกิดสัญญาวิปลาส ผมขอกราบเรียนถามว่าถ้าหากเกิดสัญญาวิปลาสขึ้นหรือมีการหลงเรื่องนิมิตหรืออะไรต่ออะไรจะมี ทางแก้ไขอย่างไรครับ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top>มันไม่เป็นง่ายๆหรอก ตั้งเป็นร้อยๆพันๆ คนที่ภาวนาก็ไม่เห็นเป็นบ้าก่อนจะภาวนาเป็นมันก็ยากอยู่แล้วภาวนาเป็นแล้วจะเกิดวิปลาสตอนนี้ไม่ใช่ง่ายๆ เปรียบอุปมาที่เขาเล่าลือว่าเสือกินคนไม่ทราบกี่สิบปีกี่ร้อยปี จะมีเสื่อกินคนสักคน พากันกลัวเสือจะกิน ไม่เป็นไรหรอกขอให้ทำเถิด การหัดสติให้ดีมันจะเป็นบ้าได้อย่างไร คนที่เป็นบ้าคือคนไม่มีสติต่างหาก</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top>ผมเคยหัดภาวนามาหลายปีแล้วรู้สึกได้ผลดีเวลานั่งเดี๋ยวนี้เข้าถึงความสงบได้ง่าย ผมจะทราบได้อย่างไรว่า การปฏิบัติของผมก้าวหน้าหรือไม่ และจะต้องทำอะไรต่อไปหรือทำอยู่อย่างนี้ตลอดไป</TD></TR><TR><TD height=38 vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD height=38 vAlign=top>ดีแล้วที่ทำภาวนาให้เข้าถึงความสงบได้ เพราะคนเรามาติดขัดตรงที่จะให้เข้าความสงบนี้แหละ เมื่อเข้าถึงความสงบได้แล้วให้จำหลักวิธีที่ให้เข้าถึงความสงบนั้นให้มั่นคงแล้วปฏิบัติให้มันชำนาญ ทำอยู่อย่างนี้แหละ เมื่อชำนาญแล้วความก้าวหน้าจะเกิดขึ้นเป็นไปเอง เหมือนกับต้นไม้ รักษาต้นไว้ให้มั่นคงต่อไปมันแก่แล้วออกดอกออกผลของมันเอง มันเป็นเอง แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่จะให้เกิดผลนั้น มันยากที่จะรู้ตัวเหมือนกัน บางทีเกิดผลแล้วรู้ตัว เช่นหัดทำความสงบได้บ่อยๆ พอเราหัวทำความสงบได้ชำนาญแล้ว คราวนี้เรามองเห็นสิ่งที่ไม่สงบเลยทำให้เกิดความสงสาร เกิดอุบาย ปัญญา เห็นโทษทุกข์ของเรื่องความไม่สงบ อันนี้เรียกว่า ผลของความสงบ บางทีเกิดอะไรแปลกๆ ต่างๆ เป็นของมหัศจรรย์ เรียกว่าการปฏิบัติเจริญก้าวหน้า ขอให้ทำอยู่อย่างนั้นแหละ ตลอดไป มันเกิดอะไรหรือไม่ก็อย่าไปคำนึงถึงมัน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ความสงบที่เกิดขึ้นทำให้มีความสุขแต่ความสุขนั้นอยู่ไม่นานแล้วหายไป เหมือนกับนอนหลับครับผม</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ความสงบสุขเกิดขึ้นก็เป็นผลเหมือนกัน ความสุขอันนั้นไม่มีอามิส เป็นผลของความสงบ ที่มันหายไปนั่นยิ่งเป็นความสุขมาก ไม่เข้าใจตามเป็นจริง มันมีปรากฎการณ์ของมันอยู่ คืออย่างนี้ บางอย่างซึ่งเราเคยเห็นมาแล้ว เช่น ความพอใจยินดีในทรัพย์สินเงินทองหรือสิ่งใดที่ได้มาแล้ว เราก็ดีใจจนเหลือประมาณ คราวนี้เมื่อราทำความสงบ เรารู้สึกเฉยๆ ในสมบัติ เหล่านั้นมันก็เป็นของแปลก ประการหนึ่ง หรือมิฉะนั้นสิ่งที่เรารักหรือพอใจ ชอบใจ สิ่งนั่นเสื่อมสูญหายไป มันวิบัติไป มาตอนหลังนี้ความเสียใขจะไม่มี อยากไปอยู่ในความสงบที่เคยฝึกหัด อันนี้เป็นผลพลอยได้ของความสงบของอย่างนี้มีเหมือนกันผู้ทำความสงบต้องเป็นอย่างนี้ทุกคน เป็นอย่างนี้หรือไม่</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ผมยังไม่เคยคิดและไม่เข้าใจในเรื่องเหล่านี้มาก่อน</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ความสงบสุขเกิดจากประสบการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ เนื่องจากความสงบมันจึงไม่มีการหวั่นไหว ไม่มีการเดือดร้อนมีความกล้าหาญ อันนี้เป็นผลพลอยได้จากความสงบ คุณไม่เข้าใจไม่เคยสังเกต แต่ความสุขสงบที่ได้รับ ทำให้อดปฏิบัติไม่ได้ ผลก็เลยเกิดขึ้นมาอย่างนั้น</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> จะทำอย่างไรถึงจะก้าวหน้าต่อไป</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> คิดดูตั้งแต่แรกเราทำไม่ได้ มันขึ้เกรียจขี้คร้าน บางทีมันก็อยากทำบางทีก็ไม่อยากทำ พอตอนนี้มันชอบใจ คือ มันเห็นความสุขความสงบก็อดชอบใจอดอยากทำไม่ได้ นี่เรียกว่าความเจริญมันค่อยก้าวหน้าขึ้นความรู้ต่างๆ ซึ่งแต่ก่อนมันข้องอยู่ในใจ ก็ต้องละได้ทิ้งได้ มันจึงค่อยสงบ ถ้าทิ้งไม่ได้มันก็ไม่สงบนี่เรียกว่ามันเจริญในทางปฏิบัติมันเจริญไม่รู้ตัว เพราะเราไม่เคยศึกษาและไม่ชำนาญในเรื่องเหล่านี้ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ผมหัดเข้าถึงความสงบได้ แต่ไม่เคยมีความรู้ความเข้าใจเกิดขึ้น ถ้าจะให้ได้รับประสบการณ์ของความรู้เกิดขึ้นจะทำได้อย่างไร จะต้องมีการคิดค้นก่อนภาวนาใช่หรือไม่</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> อย่าไปแส่ส่ายหาความรู้ในเมื่อมันสงบแล้ว ความสงบนั้นมันจะหายไป มันจะเกิดความรู้ขึ้นมาเอง ถ้ามันไม่เกิดก็ให้รักษาความสงบไว้ก่อน จะนานแสนนานก็ช่างมัน ความคิดค้นหาความรู้โดยปราศจากความสงบแล้วเป็นของปลอมนานหนักเข้าความสงบก็หายไป แล้วจะยังเหลือแต่ความคิด คราวนี้แหละจะเดือดร้อนใหญ่่</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> คนที่อยากภาวนาให้ได้อย่างเต็มที่ ท่านอาจารย์จะสอนให้เขามีกำลังใจเพื่อให้ทำได้เต็มที่อย่างไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> อาจารย์เองเป็นแต่ผู้สอน คนที่ภาวนานั้นต่างหากทำเอง คือทำให้เกิดศรัทธาพอใจในอุบายที่อาจารย์สอนนั้นให้เต็มที่ ก็ภาวนาได้เต็มที่เท่านั้นเอง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> อะไรคือความดี อะไรเป็นอุปสรรคของความดี จะแก้ไขอย่างไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> การกระทำดีในทางที่พุทธศาสนานิยมคือ ทำสิ่งใดไม่เป็นภัยแก่ตนและคนอื่น นั้นเรียกว่าทางที่ดี อุปสรรคที่ไม่ให้ทำความดีได้มันก็มีหลายอย่างเหมือนกัน แต่ถ้าหากผู้ใดเห็นคุณค่าในการทำความดี ก็อาจจะฝ่าฝืนอุปสรรคให้ลุล่วงไปได้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> พวกที่ไม่มีโอกาสพบพุทธศาสนา เขาจะเจริญก้าวหน้าได้อย่างไรครับ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ธรรมะมีอยู่ทั่วไปทุกคนต้องมีธรรมะทั้งนั้น แต่มีคนละอย่างกัน ที่ไม่ได้พบพุทธศาสนาหรือไม่ได้พบศาสนาที่แสดงสัจธรรมอันแท้จริง ยากที่จะเจริญก้าวหน้าได้ เจริญได้ แต่ที่จะให้ถึงที่สุดทุกข์นั้นเป็นไปไม่ได้</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    "เวลาค่ำ แสดงธรรมเทศนา"
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top> พุทธศาสนาสอนสัจธรรมของจริงของแท้ เมื่อจะศึกษาพุทธศาสนาจึงควรคิดค้นหาของจริงว่าอะไรเป็นของจริงของแท้ เดี๋ยวจะไปเข้าใจเอาว่าของจริงเป็นของไม่จริง แท้จริงของทั้งปวงมันเป็นจริงของมันอยู่แล้วตามธรรมชาติ แต่คนไปเข้าใจเอาตามมติของตนเองว่าไม่จริง ต่างหาก เช่นพระองค์สอนว่า คนเราเกิดมาเป็นอนิจจํ ไม่เที่ยงมั่นยืนยง แปรสลายไปทนอยู่ไม่นาน ทุกข เป็นทุกข์อย่างนี้ทุกถ้วนหน้า บอกไม่ได้ห้ามก็ไม่ฟังคำใคร หากเป็นไปตามสภาพของสังขาร มีเกิดแล้วก็มีการดับไปเป็นธรรมดาอย่างนั้น นี่เป็นความจริงและความจริงนี้ก็มีอยู่ในโลกแต่ไหนแต่ไรมา ใครจะดัดแปลงแก้ไขอย่างไรก็ไม่ได้ แพทย์เยียวยารักษาของที่มันแตกไม่ดีมันชำรุดแล้ว เพื่อให้กลับคืนดีเป็นปรกติตามเดิมก็ได้บ้างไม่ได้บ้าง ในที่สุดก็ต้องแตกสลายไปสู่สภาพเดิมของมัน หมอเองก็ต้องเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน

    ของจริงมีอยู่อย่างนี้ คนเกิดมามีแต่กลัวความตาย แต่หาได้กลัวต้นเหตุ คือความเกิดไป จึงหาเรื่องแก้แต่ความเจ็บ ความตาย แก้ไม่ถูกจึงวุ่นวายกันไม่รู้จักจบสิ้นสักที แก้เจ้บปวดเมื่อยตรงนี้หายไปแล้วอีกหน่อยก็เจ็บปวดเมื่อยตรงโน้นอีกต่อไปแก้ตนเองได้แล้วยังคนอื่นอีก เช่น ลูกหลาน คนโน้น คนนี้ ไม่รู้จึกจบสิ้นสักที ตายแล้วกลับมาเกิดอีก ก็เป็นอยู่อย่างนี้เช่นเดิม เรียกว่า วัฏฏะ ไม่มีที่สุดลงได้

    พระพุทธเข้าจึงสอนให้แก้ตรงจุดเดิม คือผู้เป็นเหตุให้นำมาเกิดได้แก่ จิตที่ยังหุ้มห่อด้วยสรรพกิเสสทั้งปวงให้ใสสะอาดไม่มีมลทิน นั่นแลจึงจะหมดเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่ต้องวุ่นวายอีกต่อไป พระพุทธองค์ สอนให้เข้าถึงต้นเหตุให้เกิดคือ ใจ และสรรพกิเลสทั้งปวงอันปรุงให้จิตคิดนึกส่งส่ายต่างๆ แล้วทำให้จิตเศร้าหมอง มืดมิดจึงไม่รู้จักผิด ถูก ดี ชั่ว ตามเป็นจริง พระองค์สอนให้ทำจิตนั้นให้ใสสะอาดปราศจากความมัวหมอง ซึ่งกองกิเกสทั้งปวง มีปัญญาสว่างรู้แจ้งแทงตลอดกิเลสที่เป็นอดีตอนาคนมารวมลง ปัจจุบันเป็นปัจจัตตัง อย่างไม่มีอะไรปกปิดแล้วจึงจะหมดกิเลส พ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่ต้องวุ่นวายอีกต่อไป

    พึงเข้าใจว่าธรรมะเป็นของพ้นจากความแก่ ความเจ็บ ความตาย แล้วก็ตามแต่รูปอันนี้ประกอบด้วยธาตุสี่ยังไม่แตกสลายขันธ์ห้ายังใช้การได้อยู่ อายตนะ ผัสสะ ยังจำเป็นจะต้องปรารภเรื่องนั้นๆ อันเป็นเหตุปัจจัยอยู่ แต่ท่านผู้รู้ทั้งหลายปรารภแล้วก็แล้วไป เรื่องเหล่านั้นเป็นสักแต่ว่าไม่ทำให้ท่านกังวลด้วยประการใดๆ ทั้งสิ้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>ท่านอาจารย์พานั่งภาวนาพร้อมทั้งอบรมธรรมนำก่อน

    ภาวนา ก็คือวิธีอบรมใจให้รับความสงบ เพราะเราไม่เคยสงบตั้งแต่ไหนแต่ไรมาใจที่ไม่ได้รับความสงบแล้ว ก็ไม่มีพลังที่จะเกิดความรู้คือ ความนึกคิดอะไรต่างๆ ให้เห็นของจริงได้ เหตุนั้นการภาวนาจึงเป็นการสร้างพลังใจ ให้ในสงบอยู่ในที่เดียว จะอยู่ได้นานสักเท่าใดก็ขอให้อยู่ไปเสียก่อน แต่ใจของไม่มีตัวเหมือนลมกระทบสิ่งหนึ่งจึงปรากฎว่า มีลม ใจก็เช่นเดียวกัน เราจะต้องให้กระทบวัตถุใดวัตถุหนึ่ง เช่นให้กระทบที่ปลายจมูก เอาลมหายใจนั้นเป็นเครื่องวัด ให้ใจไปรู้เฉพาะลมหายใจกระทบปลายจมูกก็ได้ หรือเราจะเพ่งพิจารณาอยู่เฉพาะตัวของเราให้เห็นสักแต่ว่าธาตุสี่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อยู่อย่างนั้นตลอดเวลาก็ได้แล้วแต่จะถนัดอย่างไหน เมื่อใจมันกระทบอยู่นั้น จะเห็นใจชัดขึ้นมาที่เดียวว่า ใจอยู่หรือไม่อยู่ เมื่อไม่อยู่ก็ดึงเอามาไว้ให้อยู่ในที่เดียว เมื่อยู่แล้วก็คุมสติ เพ่งพิจารณาอยู่อย่างนั้นเมื่อทำอยู่อย่างนี้ใจก็จะค่อยอ่อนลงๆ แล้วผลที่สุดก็รวมลงเป็นเอภัคคตารมณ์ มีใจเป็นอารมณ์อันหนึ่งได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ตอบปัญหาธรรมภายหลังจากนั่งภาวนา
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ถ้าหากมีอารมณ์เกิดขึ้นในขณะที่เราไม่ได้นั่งภาวนา แต่เราพยายามคิดค้นหาเหตุผลนั้น แต่คิดไม่ตกแก้ไม่ได้ทำอย่างไรจึงจะแก้ไขได้</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> การคิดค้นหาเหตุผลเรียกว่าปัญญาการทำความสงบเรียกว่า สมถะ ถ้าหากว่าเราคิดค้นเรื่องนั้นไม่ตก แสดงว่าสมถะน้อยหรือไม่มี ปัญญาก็ไม่เฉียบแหลมคือ ตัดไม่ขาด เวลาเกิดอารมณืหรืออุปสรรคใดขึ้นมา ให้หยิบยกเอาอารมณ์นั้นขึ้นมาเพ่งพิจารณาอยู่ในจุดเดียว อย่าให้มันฟุ้งซ่านมันก็เป็นสมถะอยู่ในตัว เกิดความรู้ชัดขึ้นแก้ไขอุปสรรคนั้นได้ทันที นั่นแหละเรียกว่าปัญญา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ผมสนใจพุทธศาสนามานานแล้ว แต่ไม่มีครูบาอาจารย์ อาศัยการอ่านหนังสือพร้อมกับการปฏิบัติไปด้วย ท่านอาจารย์ มีความคิดเห็นอย่างไรในเรื่องนี้ และขอคำแนะนำจากท่านอาจารย์ด้วย</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ผู้หัดภาวนาต้องอาศัยบัญญัติตำราเสียก่อนเป็นแนวทางเบื้องต้น เรียกว่าอนุมานหรืออนุโลมไปตามนั่น เช่น เราพิจารณาเห็นความตาย เห็นของเปื่อยเน่าปฏิกูลของร่างกายเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตาในไตรลักษณ์ เราก็ต้องอาศัยอันนั้นเสียก่อน แต่เวลาปฏิบัติ เรากำหนดจับตัวใจให้ได้ คือ ใจผู้พิจารณาแล้วมันวางเอง ตราบใด ถ้าไม่วางตำราคือบัญญัติจะภาวนาไม่ลง ถ้าเวลาภาวนาลงสนิทมันวางหมดปรากฎเฉพาะใจที่เรากำหนดอย่างเดียวถึงอย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดความรู้จากการภาวนาแล้วมันผิดกับตำราที่ว่าไว้ มันชัดไปกว่าตำราเสียอีก </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เรื่องวัตถุภายนอกหรืออารมณ์ต่างๆ สามารถปล่อยวางได้ง่ายแต่ว่าเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวนี้ปล่อยวางยาก เช่น ผมมีที่แห่งหนึ่งผมจะต้องจัดการเพื่อลูกเมีย ถ้าหากปล่อยวางเสียหมดมันจะไม่ขัดกับหน้าที่ผมมีกับครอบครัวหรือครับ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ครอบครวนั่นแหละคืออารมณ์ภายนอก อารมณ์ภายในคือ เกิดขึ้นที่ใจแห่งเดียวไม่เกี่ยวข้องกับคนอื่น เช่น ความวิตกวิจารณ์ ในเหตุการณ์ ความแก่ ความตาย ความสุข ทุกข์ของตนเป็นต้น ครอบครัวของเราเราสร้างมาแล้วเราต้องแก้ไขให้เรียบร้อยเสียก่อนจึงค่อยไป ถ้าไม่เรียบร้อยก็ต้องเป็นอยู่อย่างนั่นเอง กำลังศรัทธายังไม่เต็มที่ ถ้าศรัทธาเต็มที่แล้วของเหล่านั้นเป็นของเล็กน้อยนิดเดียว</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ผมเคยหัดภาวนามาก่อนแล้ว เวลาบริกรรมไปเรื่อยๆ คำบริกรรมมันหายไปแล้วมันอยู่เฉยๆ ไม่มีอะไร ผมควรจะทำอย่างไรต่อไปครับ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> สติตามจิตไม่ทัน จิตสงบน้อมไปสู่ความสุข สติเลยสงบไปด้วย ถ้าสติดึงเอาจิตกลับมาสู่อารมณ์พิจารณาในอารมณ์นั้นจิตจะเบิกบานมีเครื่องอยู่ต่อไป แล้วจะไม่เฉยไปเหมือนอย่างที่เป็นอยู่นี้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ผมเคยกราบเรียนว่าถึงความสงบแล้ว และท่านอาจารย์สอนว่าต้องพิจารณากาย แต่เมื่อคนอื่นมากราบเรียนท่านอาจารย์ว่าเขาถึงความสงบแล้ว ท่านอาจารย์อธิบายกับเขา ว่าให้พิจารณาว่า ใครเป็นผู้ที่เข้าถึงความสงบนั้นคือ พิจารณาความสงบผมอยากทราบว่าอันใดถูกต้อง พิจารณาตัวเราหรือพิจารณาความสงบ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ถูกทั้งสองอย่าง คือสงบแล้วไม่ให้ติดความสงบมันจะวางเฉยเสีย จึงต้องพิจารณา กาย หรือจิต เป็นเครื่องอยู่ต่อไป</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เวลากำหนดหรือพิจารณาเช่น กำหนดกระดูก บางทีคความรุ้สึกนั้นหายไป ตอนนั้นมีนิมิตปรากฎขึ้น จึงสนใจในนิมิตนั้น แล้วก็ยึด จนเบื่อไม่อยากจะเห็นนิมิตต่อไป ไม่ทรายว่าจะทำให้กลับมาที่เดิมอย่างไร จะจับจุดเดิมได้อย่างไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> เคยอธิบายอยู่เสมอว่า มันจะติดอยู่อย่างไรก็ตาม ติดอยู่ในความสุข ติดอยู่ในความเบื่อหน่าย หรือความไม่พอใจก็ตามให้รู้จักใจผู้ที่ไปติดผู้ที่ไปเพ่งผู้ที่ไปเห็น ผู้ที่ไปรู้ที่ใจ เมื่อเป็นเช่นนั้นเราทิ้งอารมณ์ของใจ แล้วมากำหนดลงที่ตัวใจ ก็รู้ว่าจิจมันวางนิมิต นิมิตมันติดตรงนั้นแหละ พูดอีกนัยหนึ่ง ในไม่มีอารมณ์ เป็นกลางๆจิตต่างหากแส่หาอารมณ์ แล้วก็ติดอารมณ์เป็นอาการของจิต เมื่อจะย้อนกลับมาหาจุดเดิมจงจับจุดตรงใจให้ได้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เวลาจะย้อนกลับมาหาจุดเดิม ต้องพิจารณานามธรรมก่อนครับ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> มันอยู่ด้วยกัน พิจารณารูปมันเห็นง่าย เมื่อเห็นรูปแล้วใครเห็นคนเห็นรูป ก็ทราบได้ว่าใครเป็นคนเห็น ก็เห็นใจไปในตัว</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เวลากำหนดอาการ ๓๒ เช่นพิจารณาผม เมื่อเพ่งพิจารณา ผมก็หายไป บางทีหายแบบไฟไหม้ เมื่อมันหายไป ก็พยายามเอาอารมณ์แบบเก่ามาพิจารณาแต่ใจไม่ยอมจับอารมณ์ที่กาย มันจะไปหาอานาปานสติ พยายามพิจารณากระดูกหรืออาการต่างๆ ใจไม่ยอมมันจะไปจับลมหายใจอย่างเดียวอยากจะทราบว่าทำไมถึงไปจับที่ลมหายใจ เพราะอะไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ดีแล้ว จับไปจับเอาลมก็ให้อยู่ตรงนั้นไปก่อน จนกว่าจะชำนาญจึงค่อยพิจารณาอย่างอื่นต่อไป ถ้าไม่ชำนาญพิจารณาอย่างอื่นก็เหลว ข้อนี้ควรจำไว้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ผมเห็นว่าผมต้องหัดภาวนาทุกอย่าง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ผมเห็นอนิจจังและทุกขัง แต่ไม่เห็นอนัตตา มันเห็นเฉยๆ ไม่เห็นความสำคัญของอนันตา</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> นั่นซี ดังอธิบายมาแล้ว ความไม่ชำนาญเป็นเหตุให้ พิจารณาไม่ชัด ถ้ามันชัดแล้วพิจารณาเป็นอันเดียว คือ เห็นอนัตตาก็เห็นอนิจจังทุกขัง เห็นทุกขังก็เห็นอนิจจังและอนัตตา เห็นอนิจจาก็เห็นทุกขัง อนัตตาไปด้วยกัน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เวลาเกิดความโกรธขึ้น ความสงบยังมีอยู่ภายในใจ และได้ไม่สนใจในความโกรธ ตัดได้</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ก็นั่นละซี คนที่ทำอย่างนี้จึงจะเป็นคนดีได้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เวลานั่งภาวนาอยู่ในห้องนอนติดแอร์ฯ กำหนดลมหายใจ ถ้าหากว่าใจส่งส่ายไปที่อื่น ร่างกายมันเย็น รู้ตัวว่าเย็นก็พิจารณาความเย็น ดูว่าส่วนไหนเย็น ความเย็นเป็นอะไร รู้สึกตรงไหนแล้วกลับไปจับลมหายใจอยากทราบว่าถูกหนทางหรือเปล่า้</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ถูกแต่ไม่ถนัดที่ถนัดแท้ต้องเข้ามาที่ใจ ใจเป็นผู้รู้จะจับใจให้ได้รู้ตัวเย็นเห็นตัวเย็นจับตัวนั้นได้แล้วก็หมดเรื่อง</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เวลาที่เราแยกกายออกจากความรู้สึก ความรู้สึกจะหายไป และเมื่อนั่งสมาธิบางทีขาชาไม่มีรู้สึก เวลาเพ่งความรู้สึกนั้น เช่น กำหนดกายตรงขา ความรู้สึกตรงขาก็หายไป</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> นี่แหละวิธีแยกกายออกจากใจ แยกใจออกจากกาย เมื่อใจถึงความสงบ เราจับตัวความสงบได้แล้ว กายมันเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เขาพูดกันว่าประสาทหรือเซลล์เป็นคนสั่งการ ให้รู้สึกนั้นไม่จริง ถ้าเห็นตรงนี้แล้วไม่จริงเลย เป็นเพราะใจไม่เข้าไปยึดประสาทก็เท่านั้น มันอีกส่วนหนึ่งต่างหากมองเท่าไรก็ไม่เห็นแต่ว่าเรื่องที่เรามองไม่เห็นนี่แหละเป็นหลักที่เราไม่เข้าไปยึดถอนอุปาทานเสีย นี่แหละวิธีละอุปาทานหัดแบบนี้ก็เรียกว่าละอุปาทาน จึงจะไม่เป็นทุกข์ เวลาเมื่อกายอยู่ หรือเวลากายแตกดับไปแล้ว </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เวลาท่านอาจารย์บางองค์เทศน์ให้ฟัง พยายามเข้าใจคำสั่งสอนของท่านขณะนั้นมีความรู้สึกแปลกๆ คล้ายมีเครื่องดึงดูดให้กายยืนรู้สึกคล้ายๆว่าเรายืนขึ้นมันไม่ดีเพราะท่านอาจารย์กำลังเทศน์ เรายืนมันไม่ถูกต้อง ลืมตามองดูกายก็ยังเห็นนั่งอยู่อยากทรายว่าเป็นเพราะอะไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> นั่นปิติ ปิติมันมีมากอย่าง แสดงให้เห็นความไม่ดีของเราก็ได้ เช่น กรณีนี้คล้ายกับเรายืน แต่เมื่อมองดูจริงๆแล้ว เรายังนั่งอยู่นี้อาจเป็นเพราะเราแสดงความไม่เคารพในอาจารย์ก็ได้ จงตั้งใจสำรวมเสียใหม่</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ปิติเป็นสิ่งที่แปลก</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ดี มันไม่รู้ตัว เราฝึกความสงบ เมื่อความสงบเกิดขึ้นนิดเดียวปิติก็ปรากฎขึ้นแต่เราตามรู้ไม่ทันเป็นบ่อยๆ ลักษณะนั้นหายไปที่นี้เราก็ตามรู้เอาซิ เป็นเรื่องที่ดีเหมือนกัน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เคยมีประสบการณ์ว่า เมื่อกำหนดที่กะโหลกศรีษะแตกออกเป็นชิ้นๆ แล้วชั้นกะโหลกศรีษะกลับติดกันอีก แล้วก็แตกสลายออกไปอีกจนบ่นปี้ เป็นภาพเห็นชัดต่อมาภาพที่เห็นนั้นก็หายไปแล้วไม่รู้อะไรอีกเป็นแบบนอนหลับอย่างนี้เป็นสภาพเอกัคคตาจิตหรือเปล่า </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> เป็นปฏิภาคนิมิต เป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ใช่เอภัคคตาจิต เพราะเพ่งอยู่แต่อารมณ์ปฏิภาคนิมิตเท่านั้น ภาพนั้นหายไปเลยเข้าภวังค์ เหมือนกับนอนหลับหายไปเลย อย่างนี้เป็นอัปปนาฌานเป็นกัคคตาจิต</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> คิดว่าถึงเอกัคคาจิต แล้วนอนหลับไป เข้าใจว่าเวลาถึงเอกัคคตจิตถึงจะหลับได้ เวลาออกจากสภาพนี้แล้วควรพิจารณาหรืออย่างไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> นั่นเป็นจิตเข้าสู่นิทรารมณ์ คล้ายกับเอกัคคตาจิต แต่ไม่ใช่เอกัคคตาจิต เอกัคคตาจิตมีสองอย่าง เอกัคคตาจิตของฌาณ ก็คืออัปปนาสมาธินั่นเอง มีสติรู้ตัวอยู่เฉพาะมันเองไม่ไปรู้ของภายนอก แลพูดออกมาไม่ได้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เข้าใจว่าตนเองหลับ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> จะเรียกว่าหลับก็ไช่เพราะไม่มีสติ แต่นั่งอยู่คือเวลาใจรวมเข้าไปสติมันมันหายไป ถ้าสติตามรู้อยู่ตลอดเวลา ก็ไม่เข้าภวังค์ ถึงเข้ามันก็เป็นอัปปนาสมาธิไป</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> การภาวนาในทางศาสนาพุทธต้องเอาสติมาใช้ใช่หรือไม่ เวลาใช้สติเราต้องกำหนดอารมณ์ที่เป็นกุศล ลดอารมณ์ที่เป็นส่วอกุศลให้มันน้อยลง เมื่อทำเช่นนั้นอารมณ์ที่จะมาแทรกในการภาวนาไม่มี สามารถปล่อยวางได้ แล้วอยู่เฉยๆ ยังยึดความคิดว่ายังนั่งภาวนาอยู่ในห้อง พอปล่อยวางความคิดนี้ ทำให้ตกใจ กลับมายึดความคิดว่านั่งภาวนาอยู่ในห้องอีก ถ้าหากปล่อยว่างเต็มที่มันจะมีสติอยู่อีกหรือไม่</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ที่สามารถปล่อยวางอารมณ์ได้แล้วอยู่เฉยๆ แต่ยังยึดความคิดว่านั่งภาวนาอยู่ในห้องนั้นเป็นจิต ที่อยู่ในเอกัคคตารมณ์ เมื่อปล่อยวางความคิดที่ว่านั่งภาวนาอยู่ในห้องแล้ว มันเป็นเอกัคคตาจิตอยู่ไม่ได้นาน จึงตกใจเลยย้อนมาคิดว่าเรานั่งอยู่ในห้อง ธรรมดาคนเรา มันต้องมีเครื่องอยู่ เมื่อปล่อยจนหมดแล้วไม่มีอะไรเป็นเครื่องอยู่เลยตกใจ คนเราจึงละเครื่องผูกพันได้ยากภาวนาเป็นไปถึงขั้นละ แล้วก็ยังกลับมายึดอยู่อีก</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เวลานั่งภาวนาเห็นภาพนิมิต เมื่อเห็นภาพนิมิตนั้นแล้วเราไปบอกคนอื่น ภาพอันนั้นมันจะคืนกลับมาหรือเปล่าหรือจะหายไปเด็ดขาด</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ถ้าหากเราไปเล่าถึงภาพที่เกิดขึ้นให้คนอื่นฟัง บางคนก็เสื่อมหายไป บางคนไม่เสื่อม เล่าก็อยู่เช่นนั้น ไม่เล่าก็อยู่เช่นนั้น ยิ่งเล่ายิ่งไปใหญ่เหตุที่มันไม่เสื่อมเพราะเล่าแล้วปิติ มันอ่อนลง ที่ไม่เสื่อมเพราะเล่าแล้วปิติยิ่งมากขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ขอกราบเรียนถามเรื่องภวังค์ ท่านอาจารย์บอกว่าเวลาเข้าฌาณจิตเป็น ภวังค์ ตามหลักอภิธรรมบอกว่าเวลาหลับสนิทไม่ได้ฝันไม่ได้หมายความว่าใจมันเป็นภวังค์ สงสัยว่าเวลาหลับจิตมันอยู่ในสภาพของฌาณหรือเปล่า</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> เวลานอนหลับเรียกว่าจิตเข้าสู่นิทรารมณ์ ไม่ได้เรียกว่า จิตเข้าภวังค์</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ธรรมะคืออะไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> พูดเรื่องธรรมะมันกว้างมาก ธรรมคือ ธรรมดา สภาพอันหนึ่งซี่งเป็นของจริง เรียกว่า ธรรมะ มันกว้างแต่เมื่อเรามาพูดกันเรื่องธรรมะที่เราปฏิบัติโดยเฉพาะคือ ปฏิบัติสุจริต ทำชอบ ทำดี นั่นเรียกว่า ธรรมะ ทำชั่วก็เรียกว่าธรรมเหมือนกัน แต่เราไม่นิยมจะเอาคำนั้นมาพูด คำว่า ธรรม กว้างมาก ดีก็เรียกว่า ธรรม ชั่วก็เรียกว่า ธรรม ไม่ดีไม่ชั่วก็เรียกว่า ธรรม ในตัวของเราทั้งหมด คือ รูปธรรม นามธรรม ก็เรียกว่าธรรม ถ้าพูดเฉพาะทางปฏิบัติธรรมเพื่อให้เราดี เพื่อเราจะได้รับความสุข</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> การฝันที่เห็นอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งนั้น มันจะเป็นความจริงหรือเปล่า เพราะบางทีมันก็จริง บางทีมันก็ไม่จริง</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ก่อนจะหลับถ้าเรามีสติเต็มที่ เมื่อฝันมันจะมีความจริงมากกว่า ถ้าหากสติไม่ได้แล้วความฝันก็เหลวไหล</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เวลาเราฝันรู้สึกตัวเหมือนกับเราลอยอยู่ในอากาศ เมื่อรู้สึกตัวควรจะทำอย่างไรต่อไป</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> นั่นแสดงถึงเรื่องฌาณโดยเฉพาะเราหัดความว่างไม่มีอะไร ไม่มีอารมณ์ในเวลาเราหัดภาวนา ที่นี้มื่อเราหลับและฝันก็แสดงถึงเรื่องเราไม่มีอะไร มันวางคือมันลอยอยู่ในอากาศ แสดงถึงขณะของจิตที่ไม่มีอะไรปล่อยมันให้อยู่อย่างนั้นแหละ รู้สึกแล้วมันไม่มีอะไร ฝันก็เป็นแต่ความฝันทำอะไรไม่ได้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ผมมีศรัทธาเตรียมพร้อมที่จะให้ไปถึงปลายทางให้จงได้</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ศรัทธา นั้นดีสำหรับที่จะพาเราไปสู่จุดหมายปลายทาง แต่ทางที่เราจะไปนั้นเรายังไม่เคยไป ไม่ทราบว่าใกล้หรือไกล ยาก ง่าย อย่างไร จงเพียรพยายามไปเถิดจะถึงแน่ไม่วันใดก็วันหนึ่งละ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ขอถามเรื่องตายแล้วเกิด ศาสนาคริสต์สอนอัตตา เมื่อเราตายแล้วตัวของเราก็มีอีกส่วนหนึ่งที่จะไปเกิดในสวรรค์ ไปอยู่กับพระเจ้า ถ้าเราทำชั่วเราก็ต้องไปอยู่ในนรกตลอดกาล ส่วนศาสนาฮินดูเขาสอนว่า เรา เกิด-ตายๆ แต่ว่า มีส่วนที่เรียกว่า อัตตาที่ตายไปแล้วเกิดใหม่ ศาสนาพุทธก็สอนถึงเรื่องตายแล้วเกิด ผมอยากทราบว่าเมื่อตายแล้วอะไรเป็นสิ่งที่เกิดใหม่ในทางพุทธศาสนาคือ อัตตาหรือเปล่า</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ก็อัตตาละซี คือจิตเป็นผู้ไปเกิด แต่ไม่ได้แยกเหมือนคริสต์ ศาสนาไปตกนรกและขึ้นสวรรค์ก็ไปหมด คือจิตผู้เดียวเป็นผู้ไป ถ้าแยกกันได้แล้ว เมื่อมาเกิดเป็นคนก็ต้องเป้น สอง สาม คนไปละซี</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> อะไรคือ อัตตา</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ที่พูดอยู่นี่คืออัตตา ที่พูด เกิด -ดับ นี้ก็คืออัตตา ไม่ใช่อนัตตา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> การทำบุญทำทานนี้ เราก็ทำเพื่อตัวเราเอง คือเพื่อจะได้บุญได้กุศลนี่ก็หมายความว่าเรายังยึดเรื่องตัวเราอยู่ใช่หรือไม่</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> การกระทำมันต้องมีตัวตน ถ้าไม่มีตัวตนเสียแล้วก็ต้องเลิกการกระทำ ทำบุญมันเกี่ยวข้องถึงเรื่องตัวตนอยู่จึงต้องทำ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เวลาเราทำกุศล เราถือว่าเป็นเราที่ทำกุศล เพราะเราเป็นผู้ทำกุศล และเป็นผู้สะสมกุศลเอาไว้เพื่ออนาคต เพื่อจุดหมายปลายทางของเรา่</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ทำกุศลก็ต้องมีการมุ่งหวังอย่างนั้น เหมือนกับคนข้ามน้ำต้องอาศัยเรือแพ เมื่อถึงฝั่งแล้วเราก็ทิ้งเรือแพนั้น เดินขึ้นฝั่งแต่ตัวเปล่ามิได้เอาเรือแพไปด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ทางศาสนาฮินดูสอนว่า เราจะต้องหัดใช้ความคิดเสียก่อน ถ้าเราชนะความคิดแล้วเราจะมีความรู้เกิดขึ้น เมื่อมีความรู้เกิดขึ้นแล้วปัญญามันก็เกิดขึ้น อยากทราบเปรียบเทียบกับทางศาสนาพุทธตอนนี้ผมเป็นนักคิดจะทำอย่างไรต่อไปจึงจะก้าวหน้าครับ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ในทางศาสนาพุทธนั้น ความคิด คือ ตัวปัญญาคิดค้นอะไรสิ่งทั้งปวงเป็นตัวปัญญา เมื่อเข้าใจเหตุผลนั้นคือวิชชาทีแรก เรียกว่าตัวปัญญา คิดค้นหาเหตุผล พอชัดขึ้นเรียกว่า วิชชาเช่นนี้เรียกว่าเจริญก้าวหน้า ดังเราคิดเหลข เขามีปัญหาถามให้คิดเลข เราพยายามคิดด้วยวิธีต่างๆ เป็นปัญญา เมื่อคิดได้พอตอบได้เรียกว่าได้ วิชชา แต่ในทางพุทธศาสนา จะเอาชนะความคิดนั้นไม่ได้เด็ดขาด ถ้าคิดเช่นนั้นมีแต่จะแพ้ร่ำไปหาความก้าวหน้าไม่ได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> พระพุทธรูปนี้จะต้องมีการปลุกเสกเสียก่อนจึงจะกราบไหว้บูชาได้หรืออย่างไรครับ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> อาจารย์ การปลุกเสกเป็นเรื่องทางไสยศาสตร์ พุทธศาสนาไม่มี เราเสื่อมใสแล้ว กราบไหว้ไปเกิดได้บุญทั้งนั้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> พระพุทธรูปโดยมากเขาอยากให้มีการปลุกเสก ถือว่าเป็นของขลัง ศักดิ์สิทธิ์ และสามารถที่จะกันภัยอัตรายตลอดจนภูติผีปีศาจได้ ถ้าไม่ปลุกเสกไม่น่ากราบไหว้</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> เพราะความถือนั่นเอง พอไม่มีการปลุกเสกก็ไม่ขลัง ความจริงพระพุทธรูปมิใช่ของขลัง เป็นแต่พยายามให้ระลึกถีงพระคุณของพระพุทธเจ้าต่างหาก คนถือของ ขลังอะไรๆก็เลยเป็นของขลังไปหมด กระทั่งก้อนอิฐ ก้อนปูนก้อนหินเป็นของขลังไปทั้งนั้น ถ้าพุทธาภิเษก แล้วขลังทั้งนั้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เมื่อคนตายกลายเป็นศพแล้ว เขาจะต้องจัดให้มีพิธีส่งวิญญาณไปเกิด อันนี้มันเท็จจริงอย่างไรครับ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> นั้นมันเป็นเรื่องของศาสนาคริสต์ ฮินดู หรือ อิสลาม ต่างหากถ้าหากส่งไปเกิดได้แล้วใครจะทำดีทำชั่วอย่างไรก็ตาม ตายแล้วจะต้องส่งไปเกิดในสวรรค์ด้วยกันทั้งนั้นไม่ต้องระวังบาปอะไรให้ลำบาก แต่นี่ทางศาสนาคริสต์ฮินดู ก็ยังต้องระวังบาปอยู่เหมือนกัน อนึงตายไปแล้วเป็นผีไม่เห็นตัวไปส่งจะต้องไปกับอะไร และสวรรค์นั้นเล่าใครไปมาแล้วว่าอยู่ในสถานที่ใด จะไปส่งกันอย่างไรจึงจะไปถูก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> บางคนมีพระพุทธรูปไว้ในตัวแล้วแสดงอาการต่างๆ คล้ายกับคนบ้า</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> นั่นแหละดีนัก อย่างโบราณท่านว่าไว้ อวดคนแก่ดิน อวดกินแก่ขี้ อวดดีแก่ตาย อวดสบายแก่โรค นั่งโงกงมแก่เหลียว แลว่าตน รูปตนคือผี เห็นอย่างไร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แสดงธรรมเทศนา


    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top> ความสุขทางกายใครก็ต้องการทุกคน บำรุงปรนเปรอรักษาทุกๆ วิถีทางแต่ก็ไม่ได้รับความสุขเท่าที่ควร คือไม่พอแก่ความต้องการสักที แก้ไขนี่แล้วยังเหลือโน่น บำรุงนี่แล้วยังเหลือนั่น แก้ไขบำรุงสักเท่าไรๆ ก็ไม่พอ ความต้องการในที่นี้มิใช่ใจหรือใจอยากได้โน่นได้นี่ไม่มีที่สิ้นสุด ส่วนกายมันมีความรู้สึกอะไร คนตายแล้วมันรู้สึกหิวอาหารหรือไม่ เปล่าทั้งนั้น ฉะนั้นความอยากในที่นี้คือใจนั่นเอง คำว่าสุขกาย จึงเป็น คำไม่จริง ความจริงคือ สุขใจ ดังคำเขาพูดว่า ทุกข์ใจ กลุ้มใจ ร้อนใจ เสียใจ เจ็บใจ ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น หรือคำว่า สุขใจ ดีใจ ปลื้มใจ ชอบใจ ถูกใจ ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น ไม่เคยได้ยินใครพูดว่า ทุกข์กาย สุขกาย สุขกาย ดีกาย เสียกาย ชอบกาย เพราะใจเป็นผู้รับรู้สุขทุกข์อย่างของกาย กายเป็นเครื่องรับใจเป็นผู้รู้ต่างหาก ใจเป็นผู้รับรู้จึงไม่รู้จักอิ่มรู้จักพอเป็นสักที รู้แล้วก็หายไป เรื่องอื่นมาให้รู้อีก เป็นอย่างนี้อยู่ร่ำไปจึงไม่รู้จักพอเป็น บางคนมีเงินเป็นร้อยๆล้าน ใช้จ่ายวันหนึ่งก็ไม่กี่สตางค์ เหลือจากนั้นก็เก็บไว้แต่ก็ยังไม่พออีกต่อไป

    ความสุขของใจนั้นมันอยู่ที่ความพอ คือ "พอ" มันก็ต้องหยุดทันทีอะไรทั้งหมดหยุดหมด จะมีจะหยุดหมด คำว่า "พอ" ในที่นี้มิใช่ไม่หา หาแต่เป็นผู้รู้จักพอเป็น หาไปทำไปตายแล้วเอาไปด้วยไม่ได้ เมื่อยังมีชีวิตเป็นอยู่ก็ต้องหาต้องรับประทาน ไม่หาก็ไม่มีรับประทาน รับประทานพออยู่ได้ เมื่อไม่รับประทานก็ต้องตามชีวิตความเป็นอยู่มันบังคับให้ต้องทำอย่างนั้น แต่เมื่อตายแล้วก็ไม่เอาอะไรไปด้วย เพียงแต่เกิดมายุ่งเกี่ยวด้วยเรื่องต่างๆ ให้ทำความชั่วนานาชนิดแล้วทิ้งไว้ให้จิตรับเคราะห์กรรมคนเดียว ดังนั้นทุกคนจึงควรคิด

    ที่สุดนี้ ขอความสุขความเจริญจงมีแก่ชาวพุทธทุกถัวนหน้า ขอศาสนาพุทธจงงอกงามเจริญจิรังถาวรอยู่ในสิงคโปร์ชั่วกาลอวสานเทอญ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD>ท่านอาจารย์พานั่งภาวนาพร้อมทั้งอบรมธรรมนำก่อน

    ภาวนา คือหัดทำให้รู้จักว่าใจคืออะไร จิตคืออะไร ถึงจะรู้ของจริงที่จะทำให้ถึงของจริงรู้ของจริงนี้เอาปัจจุบัน อย่าไปคิดอะไรให้มากมายให้ทำในปัจจุบันความนึกความคิดอะไรต่างๆ งานการภาระทั้งปวงทั้งหมด ทอดทิ้งเสียก่อนเวลานี้ ทำความสงบอบรมจิตให้อยู่กับลมหายใจ สติคุมจิตให้อยู่กับลมหายใจถ่ายเดียว ไม่ให้นึกคิดส่งสายปรารถนาโน่นนี่อะไรทั้งหมด เอาเฉพาะคุมจิตให้อยู่กับลมหายใจอันเดียว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ตอบปัญหาธรรมภายหลังจากนั่งภาวนา
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> เท่าที่อธิบายมาเข้าใจหรือไม่</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เราสามารถที่จะกำหนดที่ของใจได้ไหม</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ใจไม่มีที่ไม่มีสถานที่ ความรู้สึกคือตัวใจ ไม่มีสถานที่ใดๆ ทั้งปวงหมด อยู่ไหนก็ได้ รู้สึกตรงไหนคือใจตรงนั้น อย่างพวกโยคีเขาหัดเอาใจไปไว้ที่ส่งไปไว้ที่ไม้หรือหินสามารถ ทำให้ไม้หรือหินสะเทือนได้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ขอให้ท่านอาจารย์อธิบายเรื่องใจ และเรื่องจิต</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ลองกลั้นลมไว้สักพักหนึ่ง แล้วมีความรู้สึกอันหนึ่ง ไม่มีอะไรส่งสัยใช่ไหม มีความรู้สึกเฉยๆ เราก็จับได้แล้วว่านั่นคือใจ อันที่มันคิดถึงนั่นมันเป็นอาการของใจที่เรียกว่า จิต แต่นี่เราเห็นแต่จิต เราไม่เห็นใจ เรารู้แต่เรื่องจิต แล้วเราก็ใช้จิต ในเราไม่ได้ใช้ คือสำหรับเก็บไว้พักใจเป็นที่พักหมายความว่าตัวเดิม จะได้รับความสุขสงบ ก็โดยการเข้าถึงใจ ที่เรามายุ่งหรือเดือดร้อนวุ่นวายกระสับกระส่ายเป็นทุกข์เพราะจิต เหตุนั้นจิตที่เราใช้จึงเป็นทุกข์เมื่อเราเห็นจิตอย่างเดียวไม่เห็นใจ จึงเข้าไม่ถึงความสุขสงบคือใจ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ภาวนาเช่นกำหนดลมหายใจ เรากำหนดเพราะเหตุจะให้รู้ หรือลมหายใจ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> คือจิตมันยังฟุ้งซ่านอยู่ เรายังจับไม่ได้ จึงให้เข้าไปอยู่ในลมหายใจอันเดียวเมื่อจับได้จุดเดียวมันจึงจะเข้าถึงใจและลมหายใจได้</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD>ท่านอาจารย์พานั่งภาวนาพร้อมทั้งอบรมธรรมนำก่อน

    เราไม่ต้องระลึกอะไรทั้งสิ้นให้ระลึกเอาสิ่งเดียวที่ลมหายใจซึ่งเป็นของกลางมีอยู่ ทุกคนไม่เอนเอียงไปทางโน้นทั้งหมด ทุกคนมีลมหายใจด้วยกันทั้งนั้น คนเรากลัวตาย ถ้าไม่มีลมหายใจก็ต้องตาย เหตุนั้นมากำหนดที่ลมหายใจ สติคุมอยู่ตรงนั้นให้ส่งไปนอกจากนั้น ถ้ามันส่งออกไปแล้วก็ดึงมาอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ถ้าหากเราฝึกฝนไปนานๆ หนักเข้า ที่มันฟุ้งซ่านก็ค่อยซาลงอ่อนลงค่อยเบาลงน้อยลงๆ จนกระทั่งหายวับไปไม่มีอะไรเลย ยังเหลือแต่ ผู้รู้ สติกับผู้รู้มาร่วมอยู่ในทีเดียวกัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ตอบปัญหาธรรมภายหลังจากนั่งภาวนา
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ได้พยายามจะจับใจให้อยู่ เวลาเกิดอารมณ์อะไรขึ้นมาจะ พยายามไม่ยึดปล่อยทิ้งไป</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ความหมายของพุทธศาสนาหรือทุกศาสนาสอนเรื่องใจทั้งนั้นต้องการสำรวมใจอบรมใจด้วยกันทั้งนั้น จะแยกกันก็ตอนปลาย ขอให้จับตัวใจให้ได้ก่อนแล้วจึงค่อยพูดเรื่องอื่นต่อไป ถ้าหากจับใจไม่ได้แล้วจะพูดเรื่องอื่นก็พูดไม่ถูก เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมันเกิดจากใจ กายเป็นเครื่องใช้ของใจต่างหาก</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ถ้าหากว่าเรากำหนดจิต แล้วเห็นจิต เกิด-ดับ กำหนดอยู่เช่นนั้นนาน ๑-๒ ชั่วโมงแล้วรู้สึกเหนื่อย ควรกำหนดความเหนื่อยหรือควรที่จะผลักออก</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> เหนื่อยเราก็กำหนด เกิด-ดับ เหมือนกัน เวทนาก็ เกิด-ดับเหมือนกัน ความสุขความทุกข์มันเกิด-ดับ เวลาเหนื่อยก็กำหนดเกิด-ดับๆ จนกระทั่งมันวางความเหนื่อยได้แล้ว จะไปรวมอยู่อันหนึ่งของมันต่างหากนั้นมันจึงจะหมดเหนื่อยมันยังไม่ทันถึงที่ มันเพียงแต่เห็นการ เกิด-ดับๆ มันอยู่กับการเกิด-ดับ เฉยๆ ยังไม่ทันวางการ เกิด-ดับ ถ้าหากว่าเรากำหนดความเกิดดับอยู่อย่างนี้เรารู้จักคนที่ไปกำหนดความ เกิด-ดับ เราเห็นความเกิด-ดับ เรียกว่าใจ เกิด-ดับ ผู้เห้นใจ เกิด-ดับไปอยู่อันหนึ่งของมันต่างหาก นั่นมันจึงค่อยเป็น ภาวนาแท้
    อนึ่ง นี่งนานรู้สึกมันเหนื่อย พึงเข้าใจว่า จิตมันถอนแล้วใจมันไม่มีเครื่องอยู่ หรืออารมณ์จะอยู่ต่อไป ฉะนั้นควรทำความพอใจในอารมณ์ที่จิตยึดอยู่นั้นให้เกิดความพอใจยินดียิ่ง ก็เป็นเครื่องอยู่ต่อไป
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ที่เรามองเห็นผู้นึกผู้คิดอย่างนี้เพราะใจไปจดจ้องลมหายใจใช่หรือเปล่าครับ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ใช่ เมื่อเราเข้าใจเช่นนั้นแล้ว คือว่าผู้ไปเห็นลมหายใจเข้าออกอันนั้น คือจิตใจจดจ้องอันเดียว สติเราไปคุมเรื่องนั้นเราไปเห็นเรื่องนั้นอยู่ เมื่อเราคุมเรื่องนั้นอยู่นานๆ หนักเข้าแล้วมันจะวางเอง เวลามันวางจะมีความรู้สึกอันเดียว ผู้ที่รู้สึกกับสติมันรวมเข้าอยู่อันหนึ่งของมันห่างหาก มันจะปล่อยวางทั้งลมหายใจด้วยของพรรค์นี้อย่าไปแต่งมันเป็นเอง แต่งไม่เป็นแน่
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> สติคืออะไร ผู้รู้คิดคืออะไร ทำอย่างไรจึงจะสามารถมองเห็นและจะรู้ได้อย่างไรว่าความเห็นของเราจะถูกหรือผิด สติอันนั้นคือตัวรู้ใช่หรือไม่</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> สติ คือผู้รู้ระวัง ผู้รู้ คือ ปัญญา ผู้คิด คือ จิต เราต้องฝึกที่จิตให้เกิดปัญญาจึงสามารถมองเห็นและจะรู้ว่าความเห็นของตนถูกหรือผิดได้ สติมิใช่ตัวรู้ ปัญญาต่างหากคือตัวรู้่
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เวลาหัดภาวนาด้วยการอนุมานทุกสิ่งทุกอย่างก็อยู่ในหลัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีแก่นสารสาระอะไรทั้งสิ้น นี่เป็นเพียงอนุมานยังไม่ทันเห็นชัดแจ้งภายในใจ เพราะเห็นอย่างนี้เวลาเอยู่ในสภาพธรรมดาๆ บางทีก็สามารถยับยั้งความโกรธได้ คือสำรวมใจหรือระลึกถึงสิ่งนี้ได้ บางทียับยั้งสติไม่ทัน ความโกรธก็เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเราต้องพยายามระลึกถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เสมอตลอดเวลาที่อย่ธรรมดาๆ จึงจะยับยั้งกิเลสทั้งหลายได้ใช่ไหมครับ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ใช้ได้เหมือนกัน อย่างนั้นก็ได้ อย่างนั้นก็ถูกแล้ว มันหลายเรื่อง คือเราหัดที่ใจ ความโกรธมันเกิดที่ใจ เราไปจับที่ใจได้ หัดอีกอย่างหนึ่งคือ พอโกรธมันเกิดทีใจ เราไปจับที่ใจได้ หัดอีกอย่างหนึ่งคือ พอโกรธขึ้นมาแล้วคิดว่า คนเราก็จะต้องตายความโกรธไม่มีประโยชน์อะไรหลายเรื่องหลายอย่างสุดแท้แต่จะระงับได้โดยอุบายใด วิธีไหนก็เอา รวมๆกันไว้หลายอย่างเวลาเราจะใช้วิธีใดก็นำมาใช้ได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ผมหัดภาวนามาเป็นเวลา ๑๒ ปีครึ่ง</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ก็นับว่าดีแล้วนี่ อย่าไปทอดทิ้ง ทำมาขนาดนี้ก็เห็นผลดี ถึงขนาดนี้แล้ว หัดให้รู้จักวิธีละโกรธจนเข้าใจแล้ว ดีแล้ว ขอให้ทำไปเรื่อยๆ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...