ผลของการ"ฝึกพระองค์" ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทำให้ในหลวงรัชกาลที่ ๙ "เข้าพระทัยในทุกข์"และ"ไม่กลัวความทุกข์"

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 14 พฤศจิกายน 2016.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    คำยืนยันจากข้าราชบริพารใกล้ชิด!!
    ผลของการ"ฝึกพระองค์" ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
    ทำให้ในหลวงรัชกาลที่ ๙ "เข้าพระทัยในทุกข์"
    และ"ไม่กลัวความทุกข์"!!




    [​IMG]



    ในบรรดา "ทศบารมี ๑๐ ประการ" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชนั้น "อุเบกขาบารมี" ดูจะเป็นข้อที่พิจารณาได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากต้องอาศัยการสังเกตอย่างใกล้ชิด ซึ่งผู้ที่จะยืนยันบารมีข้อนี้ได้ต้องเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับพระองค์ท่าน
    และโชคดีที่พสกนิกรอย่างเราได้รับรู้แง่มุมเกี่ยวกับอุเบกขาบารมีของพระองค์จาก พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร อดีตข้าราชบริพารผู้มีโชควาสนาได้ทำงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาท ดังความบางส่วนต่อไปนี้


    [​IMG]


    "ผมรับราชการสนองพระเดชพระคุณใกล้พระยุคลบาทอยู่นานกว่า ๑๒ ปี และแม้จะพ้นหน้าที่มานานแล้ว แต่ก็ยังสดับตรับฟังข่าวเกี่ยวกับพระราชจริยาวัตรและพระราชกรณียกิจอยู่มิได้ขาด ทั้งจากสื่อและจากผู้ที่ยังรับราชการอยู่ใกล้พระยุคลบาท จึงรู้ เชื่อ และขอยืนยันว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วงบ้านเมืองยิ่งกว่าพระอนามัยหรือพระชนม์ชีพอย่างแน่นอนและตลอดเวลา
    แต่ความห่วงใยของฝ่าละอองธุลีพระบาทนั้นจะเรียกไม่ได้เป็นอันขาดว่า 'เป็นความทุกข์'!
    พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเป็นทุกข์และไม่เคยเป็นทุกข์ เพราะทรงฝึกพระสติ ฝึกพระองค์ด้วยการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจนเป็นพระนิสัย!
    เมื่อมีวิกฤตการณ์ไม่ว่าจะร้ายแรงเพียงใด จะทรงพิจารณาด้วยความเยือกเย็นและสุขุมคัมภีรภาพ แล้วจึงทรงตัดสินพระทัยทำสิ่งที่ทรงเห็นว่าควรทำ และเมื่อทรงทำแล้วก็จะทรงถือว่าหน้าที่สำเร็จไปอีกครั้งหนึ่งอย่างหนึ่ง หากยังไม่จบสิ้น แต่มีเรื่องเกี่ยวพันต่อเนื่องต้องทำต่ออยู่อีก ก็จะทรงถือว่าเป็นหน้าที่อีกครั้งหนึ่งอย่างหนึ่งและทรงทำต่อ


    [​IMG]




    ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งหลายนั้น หลักที่ทรงยึดถือและปฏิบัติอย่างมั่นคงและแน่วแน่คือ ไม่ทรงสนพระทัยว่าใครจะชมหรือใครจะตำหนิ เพราะทรงถือว่าทรงทำ ‘หน้าที่เพื่อหน้าที่’
    แต่ไม่ได้หมายความว่าทำแล้วทิ้ง แต่จะทรงทบทวนไตร่ตรอง ถ้าหากทรงเห็นว่าที่ทรงทำไปแล้วนั้นยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ ครั้งต่อไปก็จะทรงพยายามปรับปรุงแก้ไข ซึ่งเป็นไปตาม ‘อิทธิบาท’ ข้อที่ ๔ คือ ‘วิมังสา’ อันเป็นหลักธรรมที่ทรงใช้และพระราชทานให้ผู้อื่นอยู่เสมอ ๆ เพราะทรงศึกษาและปฏิบัติธรรมมาอย่างต่อเนื่อง
    พระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักมานานแล้วว่า ชีวิตคือทุกข์ และคนเราเกิดมาทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น แต่ผมไม่เคยเห็นพระเจ้าอยู่หัวทรง 'เป็นทุกข์' อย่างคนอื่น ๆ คือหม่นหมอง โศกเศร้า ทอดอาลัย หรือหมดหวัง
    ทรงรู้จักและเข้าพระทัยในทุกข์ แต่ไม่ทรงกลัวทุกข์
    ทรงถือว่า เมื่อทุกข์ของประชาชนใหญ่หลวงและสาหัสก็เป็นหน้าที่ของพระองค์ด้วยในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่จะต้องบำบัดทุกข์นั้นอย่างเต็มกำลังความสามารถและตลอดเวลา...โดยไม่ทรงทอดอาลัยหรือหมดหวัง"




    [​IMG]




    ที่มา : www.facebook.com/notes/jarunee-nugranad-marzilli






    ---------


    ที่มา
    panyayan.tnews
     

แชร์หน้านี้

Loading...