ผลของความขี้อิจฉา

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย Lukhgai, 6 พฤษภาคม 2009.

  1. Lukhgai

    Lukhgai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    3,000
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +8,238
    ถาม : คนที่มีนิสัยชอบอิจฉาผู้อื่น จะมีผลเสียต่อเขาเองอย่างไรบ้าง และสามารถแก้ไขนิสัยนี้ได้อย่างไรบ้างครับ ?

    ตอบ : คนที่มีนิสัยชอบอิจฉาผู้อื่น จะมีผลเสียต่อเขาเองอย่างไรบ้าง และสามารถแก้ไขนิสัยนี้ได้อย่างไรบ้างครับ ?

    คุณโยมก็ต้องดูให้ถึงต้นตอเสียก่อนว่า นิสัยของคนที่ชอบอิจฉาตาร้อน หรือว่าไม่อยากให้ใครได้ดีเกินกว่าตัวเองนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร ..?

    นิสัยอิจฉาริษยานี้ จะเกิดขึ้นกับคนที่มีความดีในตัวน้อยกว่าคนอื่น เพราะถ้าหากมี คุณงามความดีอยู่ในตัวมากกว่าคนอื่น เขาคงไม่มีความจำเป็นต้องไปอิจฉาตาร้อนใคร

    เนื่องจากมีคุณงามความดี มีความรู้ มีความสามารถน้อยกว่าคนอื่น แล้วอยากจะให้ได้ดีเท่ากับเขา หรืออยากจะให้ดียิ่งกว่าเขา แต่แทนที่จะคิดแก้ไขตัวเอง กลับไปคิดในทางผิดๆ ในทางร้ายๆ

    คือ แทนที่จะยกตัวเองขึ้นมาด้วยการทำ ความดีให้ยิ่งขึ้นไป กลายเป็นว่าความดีก็ไม่ทำแถมยังคิดจะเหยียบคนอื่นลงไปด้วยฤทธิ์แห่งความเข้า ใจผิด จนกลายเป็นความอิจฉาริษยา ไม่อยากให้ใครได้ดีเสียอีก

    เมื่อเรารู้แล้วว่าต้นเหตุแห่งความอิจฉาริษยานั้น มาจากความที่ตัวเองมีคุณงามความดีน้อย ก็สะท้อนให้เห็นว่า ถ้าอย่างนั้นในใจของคนที่ชอบอิจฉาริษยา ก็คงจะมีแต่ความเศร้าหมอง คิดที่จะสร้างสรรค์อะไรกับใครเขาไม่เป็น คิดออกแต่ในเรื่องที่จะทำลายทำร้ายคนอื่นอยู่ร่ำไป

    เช่น คิดจะทำลายทรัพย์สินเงินทอง คิดจะทำลายเกียรติยศชื่อเสียง คิดจะทำร้ายคนอื่นให้เจ็บทั้งกาย เจ็บทั้งใจ คิดวนๆ เวียนๆ อยู่อย่างนี้

    เพราะฉะนั้น คนที่มีนิสัยชอบอิจฉาริษยา จึงเป็นคนที่ใจเศร้าหมองทั้งวัน เมื่อมีใจเศร้าหมองอย่างนี้ แม้คำพูดก็เป็นคำพูดที่ชวนให้เศร้าหมอง คือ มีแต่เรื่องร้ายๆ ออกจากปาก ไม่มีคำพูดที่เป็นภาษา ดอกไม้ มีแต่พ่นพิษพรวดๆ ออกมา เมื่อเป็นอย่างนี้หนักๆ เข้า ก็จะเลยไปจนกระทั่งถึงการกระทำทางร่างกาย ทำให้แสดงอาการร้ายๆ ออกมา ตั้งแต่การกระทบกระแทกแดกดัน ทำอะไรโครมคราม หรือมีอาการหน้านิ่วคิ้วขมวดใส่กัน เป็นต้น คนที่มีนิสัยชอบอิจฉาริษยาผู้อื่น หรือคนที่ มีบุญน้อย แล้วไม่คิดจะทำบุญเพิ่มเติม แต่กลับไปคิดทำร้ายคนอื่น จึงมีอาการเช่นนี้

    เมื่อความดีเก่ามีอยู่น้อยจนทำให้สู้ใครเขาไม่ได้ แล้วความดีใหม่ก็ไม่คิดจะทำเพิ่มตรงกันข้ามมีแต่จะเพิ่มความร้ายกาจ เพิ่มความบาปเข้าไปทุกวันๆ ซึ่งก็เท่ากับเป็นการเผาผลาญเป็นการทำลายล้างตัวเองไปทุกวันๆ นั่นเอง นี่คือผลเสียต่อตัวเองของความที่เป็นคนขี้อิจฉาริษยา

    เพราะฉะนั้น พวกเราอย่าได้เป็นเข้าทีเดียว ถ้าครั้งใดใจคิดแวบไป ชักเริ่มจะอิจฉาชาวบ้านที่เขาดังกว่าเรา เด่นกว่าเรา ดีกว่าเราขึ้นมาละก็ รีบติดเบรกเสียนะ

    โดยเตือนตัวเองว่า ที่เรายังตกต่ำอยู่อย่างนี้ เพราะว่าชาติที่แล้ว รวมทั้งชาตินี้ด้วย เราสั่งสมคุณงามความดีมาน้อยไป

    เตือนตัวเองได้อย่างนี้ หนทางที่จะแก้ไขให้ดีก็มีมากขึ้น เพราะจับทิศทางถูกว่า เมื่อเรามีบุญน้อย ก็ต้องหาวิธีเติมบุญ คือ ในเรื่องของการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมาจากหมู่คณะ หรือจากครอบครัว จากงานเลี้ยงชีวิตเราเองก็ตาม นอกจาก ทำให้สุดฝีมือแล้ว ยังต้องปรับปรุงให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกด้วย

    แต่ในกรณีที่ถึงจะปรับปรุงอย่างไรก็ยังสู้ไม่ได้ อยู่นั่นเอง อย่างนี้ต้องรีบเข้าไปกราบขอความรู้จากเขา ซึ่งจะทำให้เราย่นระยะเวลาทั้งในการปรับปรุงฝีมือและเวลาที่ไม่ต้องไปตกนรก ได้ตั้งเยอะ

    จากนั้นก็หันหน้าเข้าหาวัด มาศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรมให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ก่อนหน้านี้ไม่เคยทำบุญ ทำทาน ไม่เคยรักษาศีล ไม่เคยนั่งสมาธิ ต่อแต่นี้รีบไปทำกัน

    ด้วยการศึกษาจากหลวงปู่ หลวงพ่อ ว่าทำสิ่งเหล่านี้แล้วดีอย่างไร เช่น การทำทานมีผลทำให้รวย การรักษาศีลมีผลทำให้สวย การเจริญสมาธิภาวนามีผลทำให้เฉลียวฉลาด มีสติปัญญา

    พอจับหลักตรงนี้ได้ ถ้าอยากจะเพิ่มเติมความรู้อะไรเป็นรายละเอียดให้ยิ่งขึ้นไป ก็ค่อยๆ ศึกษาจากหลวงปู่ หลวงพ่อท่าน

    ยกตัวอย่าง เรามีอะไรต่ออะไรพร้อมแล้วแต่ที่ไปอิจฉาเขานั้น เพราะว่าเราไม่มีบริวาร เวลาไปไหนมาไหน ทั้งๆ ที่ รวยก็แสนรวย สวยก็แสนสวย แต่ว่าใครๆ ก็ไม่รัก

    แล้วแทนที่จะถามว่าทำไมใครๆ ถึงไม่รักเรา กลับเที่ยวไปโกรธไปเคืองเขา หรือว่าเที่ยวไปอิจฉา คนที่มีคนรักเต็มบ้านเต็มเมือง ต้องมองและตั้งคำถามใหม่ให้เป็น คือ แทนที่จะตั้งคำถามว่าทำไม เขาไม่รักเรา ก็ตั้งคำถามเสียใหม่ว่าเราไม่น่ารักตรงไหน แล้วเริ่มสำรวจตรวจสอบตัวเอง


    ถ้าหาไม่เจอจริงๆ ไปถามหลวงปู่ หลวงพ่อ ท่านดูก็ได้ แล้วเราจะได้รู้ว่าวิชาเจ้าเสน่ห์ ซึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ไว้นั้น มีอยู่ ๔ ข้อ ด้วยกัน คือ

    ๑. หมั่นให้ทาน คำว่า "ทาน" ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงการตักบาตรกับพระภิกษุสามเณร ทานในที่นี้ หมายถึง มีอะไรก็ปันกันกิน ปันกันใช้ รวมทั้งปันกันดังด้วย

    ๒. ปิยวาจา เวลาพูดจากับใครก็พูดด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ เพราะสิ่งที่จะให้กำลังใจคนได้ดีนั้น ไม่มีอะไรเกินคำพูดที่เพราะๆ ในทำนองเดียวกันสิ่งที่จะทอนกำลังใจคน ก็ไม่มีอะไรเกินคำพูดที่ระคายหูเช่นกัน

    ๓. อัตถจริยา คือ ความรู้ความสามารถ ที่เรามีอยู่ ถ้าเอาไปช่วยใครได้ ก็ช่วยๆ กันไป อย่าไปหวงเลย

    ๔. สมานัตตตา คือ ไม่ว่าคบกับใครก็มีแต่ความจริงใจให้เขา ไม่แทงใครข้างหลัง ไม่ว่าร้ายใครลับหลัง มีแต่ความจริงใจ มีแต่ความปลอดภัยให้เขาเสมอ

    ทั้ง ๔ ประการนี้แหละจะเป็นที่มาแห่งเสน่ห์ของเรา พูดง่าย ๆ โปรยเสน่ห์ด้วยการให้ ทั้งสิ่งของ ทั้งคำพูด ทั้งกำลังอกกำลังใจ ทั้งความปลอดภัยแก่เขา ทำอย่างนี้แล้วใครยังไม่รัก ก็ให้รู้ไป
    แล้วในไม่ช้าเราจะต้องย้อนกลับมาถาม หลวงพ่อว่า ทำไมเดี๋ยวนี้ เวลาไปไหนมาไหน ถึงมีแต่ถูกคนอื่นเขาตามอิจฉากันทั้งบ้านทั้งเมือง

    ถึงตอนนั้นก็ช่วยไปสอนคนอื่นๆ ที่กำลัง อิจฉาคุณให้รู้ว่า เมื่อก่อนคุณเองก็เคยเป็นอย่างเขาเหมือนกัน แล้วมีวิธีแก้ไขอย่างไร บอกเขาไปด้วย เพื่อจะได้เป็นบุญติดตัวเราต่อไป...

    ที่มา วารสารอยู่ในบุญ - Home
     
  2. โชเต

    โชเต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +331
    ว่าอย่างว่าล่ะครับ ใจคนเรา
    "ยากยิ่งที่จะกำหนดกฏเกณฑ์ตายตัว" มันบอกไม่ได้หรอกครับ ว่า
    จะมีตัวเกณฑ์ในใจเรา ซึ่งสามารถบังคับ ไม่ให้"อิจฉา"

    ถ้าถามผม ผมจะบอกว่า ใจเราเองในบางครั้งบางคราว มันกำหนดกฏเกณฑ์เอง
    แทบที่ว่า "บังคับไม่ค่อยจะได้" ที่ผมพูดอย่างนี้ก็เพราะว่า
    "เป็นไปได้ยากครับ ที่จะไม่มีความอิจฉาในตัวเรา และในใจเรา"ต่อให้ไม่แสดงออกก็เถอะ

    แล้วถ้าถามว่า มีคนทำได้ไหม ผมจะบอกว่า "มีคนทำได้ครับ" แต่ว่าค่อนข้าง(ยาก)มาก
    ฆาราวาสแบบเรา ๆ ทำยากครับ ถ้าถามเฉพาะผม ผมจะพูดว่า "มีครับ ก็อิจฉาเหมือนกัน"
    เหมือนกับมนุษย์ทั่วๆ ไป

    พูดกันง่ายๆ แบบเข้าใจได้แจ่มแจ้ง นั่นก็คือ "ต้องรู้จักข่มใจ ยับยั้งชั่งใจตนเอง"
    ไม่ให้ตัว"อิจฉา"นี้มาครอบงำจิตใจเรา เพราะว่าถ้าตัว"อิจฉา"เข้ามาครอบงำใจเรา
    เมื่อไรแล้ว ในตัวเรา(ในใจของเราเอง)ก็จะเหมือนกัน "ไฟ" ที่แผดเผาสุมบนกองเพลิง
    อีกทั้ง ยังผสมโรง บวกกับโทสะ(ความโกรธ)เข้าโถมกระหน่ำ มันก็ยิ่งไปกันใหญ่

    ประมาณว่าก็เหมือนๆ กับหนังไทยบ้านเรา ที่มีตัว"อิจฉา" กันทั้งเรื่อง
    "อิจฉา"ทุกๆ คนที่อยู่รอบข้าง ก็ยิ่งเหมือนกับ "ราดน้ำมันรดตัวเองแล้วจุดไฟเผา"
    ไม่ว่าจะไป ณ ที่แห่งใดๆ ก็ร้อนรุ่ม ถูกแผดเผาดั่งไฟสุมเข้าในทรวง

    ผลข้างเคียงที่ไม่เคยได้เห็น นานวันเข้า ก็จะบังเกิดกับสิ่งที่ "ไม่คาดคิด"
    ยกตัวอย่างง่ายๆ คนขี้โมโหส่วนใหญ่ จะเป็นโรค"หัวใจ"
    คนที่ขี้อิจฉาใครต่อใครบ่อยๆ ก็จะเป็นโรคเครียด โรคประสาท แววตาจะเปล่งประกายเหมือนสีกองไฟ ลุกโชติช่วงตลองเวลา และ"ผิดปกติทางจิต ประสาทเสียโดยไม่รู้ตัว"
    พูดง่ายๆ ก็คือ "โรคจิตไม่ปกติ" หวาดระแวงทุกๆ คนที่อยู่เคียงข้าง
    เพียงเพราะว่า "ไม่ต้องการให้พวกเขาเหล่านั้น หรือใครต่อใครๆ ได้ดีเกินตนเอง"
    สีผมก็จะเปลี่ยนในระยะเวลาอันสั้นก่อนวัยอันควร

    ร้อนรุ่มเกินกว่าที่จะดับได้ (โดยเฉพาะในใจเราเอง หรือคนนั้นๆ )
    น่าแปลกที่ว่าคนที่เป็นโรคชนิดนี้ค่อนข้างรักษาหายยากมาก
    (ก็เพราะในใจไม่ต้องการให้ผู้อื่น ได้ดีไปกว่าตนเอง)

    ส่วนวิธีรักษาโรค"ขี้อิจฉา"นั้น ทำได้ค่อนข้างยาก(มากๆ)
    เพราะว่าพวกเขาเหล่านั้นที่เป็นโรค"อิจฉา"แบบนี้
    ผมมองว่า เป็นนิสัย(สันดาน)ส่วนหนึ่ง ที่จิตใต้สำนึกคิดไม่ดีต่อผู้อื่นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
    ฉะนั้น ต้องพาไปหาหมอ(วัด)เฉพาะทาง ซึ่งเผลออาจจะไม่มีอะไรดีขึ้นมาเลย

    โรคแบบนี้ผมมองว่า เป็น"กรรม"อย่างหนึ่งของคนนั้นๆ
    ถ้าใครมีโรคแบบนี้(ซึ่งบอกไม่ได้ว่าจะหายขาดกันทุกคน แต่ผมไม่ได้ชี้เฉพาะเจาะจงว่า
    ทุกๆ คนจะต้องเป็นโรคนี้) ก็ต้องเริ่มจากตัวเราเอง แก้ไขตัวเองแล้วยอมรับในความ
    เป็นจริงว่า เราก็"อิจฉา"เป็นเหมือนกัน แต่จะมากจะน้อยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ
     
  3. ราคุเรียวซาย

    ราคุเรียวซาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    2,940
    ค่าพลัง:
    +8,515
    ขอบคุณ
    เวลาอิจฉานี่แย่จริงๆด้วย

    ข้าพเจ้าก็ขี้อิจฉา
    จนเป็นที่รู้ทั่วกัน
    บางครั้งอิจฉาจนน้ำตาจะไหล
    เขาคุยด้วยก็ไม่อยากคุย
    พอเขารู้ว่าเราอิจฉา เขาก็ดีใจ ก็ยิ่งตีสนิท(ให้ขนมกับตามใจ)
    พอสนิทกัน ก็เลิกอิจฉา

    แต่นี้ใครมีอะไรก็ชอบมาอวด
    พอเราอิจฉามันก็ดีใจ
    ก็เลยทำเป็นอิจฉาต่อไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...