ผู้ปฏิบัติสายพระป่า ส่วนมากทำแค่สมถะ??? (ขอชี้แจง)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ตรงประเด็น, 14 เมษายน 2010.

  1. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ลอง มาพิจารณา


    ประเด็น วลี ที่ว่า



    จาก อีกบทธรรมหนึ่ง




    เสนอสังเกตุ

    จากประโยค

    ท่านบรรยาย อาการเหมือนคนกระโดดลงไปในแม่น้ำ ของนักปฏิบัติที่เคยเรียนปริยัติมาก่อน ว่าเกิดจากการหลงอารมณ์



    และ

    ท่านบรรยาย อาการเหมือนคนกระโดดลงไปในแม่น้ำ ของนักปฏิบัติที่เคยศึกษาปริยัติมาก่อนนี้ ว่า "คล้ายคลึงกับผู้ที่ติดสมถะ"



    >>>>>>>>>>>>>>>>



    เปรียบเทียบกับบทความก่อนหน้านี้ ที่ผมนำมาลงใน คห.ก่อน


    โดยสรุป


    สมถะ ที่ ถูกนำมาจัดเข้าคู่เปรียบเทียบกับ วิปัสสนา ในแนวทางชาวพุทธรุ่นใหม่คนเมือง คือ สมถะชนิดที่หลง .....

    ไม่ได้นำ สมถะชนิดที่รู้-ถูกต้องสมบูรณ์(สัมมาสมาธิในองค์มรรค) มาจัดเข้าคู่เปรียบเทียบ กับ วิปัสสนา


    และ ถ้าเป็นเช่นนี้...สมถะ ย่อมต้องถูกมองว่า เป็นของไม่ดี เมื่อนำมาวางเทียบกับ วิปัสสนา




     
  2. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    กรณีอื่นๆ


    ที่ แนวทางชาวพุทธรุ่นใหม่คนเมือง ใช้คำว่า "สมถะ รวมๆ(ไม่ระบุแยกประเภท)" มาแทนคำว่า "มิจฉาสมาธิ"



    ลองพิจารณาคำว่า สมถะ ในประโยคข้างต้น...

    สมถะ ในประโยคข้างต้น เป็นคำกล่าวรวมๆ ... แต่ หมายเอา "สมถะ" ที่สืบเนื่องจากการ"หลง" และ เป็น"เครื่องจองจำ"



    กล่าวคือ

    กำลังใช้คำว่า "สมถะ รวมๆ(ไม่ระบุแยกประเภท) "มาแทนที่คำว่า "มิจฉาสมาธิ" ไปเลย


     
  3. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ประเด็น เรื่อง แนวทางการเจริญสติที่แตกต่างกัน ระหว่าง แนวทางคนรุ่นใหม่ กับ คำสอนดั้งเดิมของครูบาอาจารย์พระป่า






    เสนอ พิจารณา บทธรรมเทศนา ของ หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย เกี่ยวกับเรื่อง การเจริญสติ ครับ



    อุบายที่จะทำให้ตัณหาดับนั้นคือทำอย่างไร

    ทำสติอย่างเดียว

    สิ่งใดเกิดขึ้นทางตาทำสติรู้ ถ้าจิตเกิดความยินดียินร้าย พิจารณาหามูลเหตุว่าทำไมจึงยินดียินร้าย
    เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ก็เหมือนกัน ในเมื่อสัมผัสเข้าแล้วเกิดความพอใจ ไม่พอใจ มาทำสติพิจารณาสิ่งนั้น

    แม้ว่าเราจะไม่รู้จริงเห็นจริง แต่เราเอาสิ่งนั้นเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ โดยธรรมชาติของจิตแล้ว ถ้าหากว่ามีสิ่งรู้แล้วมีสติระลึกอยู่กับสิ่งนั้น ในเมื่อตั้งใจ สนใจ เอาใจใส่ จดจ้องดูอยู่ตลอดเวลา เป็นการปฏิบัติคือการทำสมาธิ เป็นการเจริญสมถวิปัสสนาไปในตัว

    เพราะสิ่งใดที่เราดูด้วยความมีสติสัมปชัญญะ ย่อมเป็นอุบายให้จิตสงบเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วย่อมมีปีติ มีความสุข และมีเอกัคคตา เช่นเดียวกับการภาวนาอย่างอื่น

    จุดหมายของการภาวนา คือ การสร้างพลังสติสัมปชัญญะ

    เพราะฉะนั้น จุดมุ่งหมายของการเจริญสมถวิปัสสนา ที่แน่ๆ ที่สุด อยู่ตรงที่ฝึกฝนอบรมให้มีสติสัมปชัญญะมีพลังเข็มแข็ง ซึ่ง เรียกว่า สติพละ

    สติพละสามารถที่จะประคับประคองจิตให้อยู่ในสภาพปกติเมื่อประสบกับอารมณ์ต่างๆ สตินทรีย์ เมื่อสติพละเพิ่มกำลังขึ้นกลายเป็นสตินทรีย์ เป็นใหญ่ในธรรมทั้งปวงสามารถที่จะปฏิวัติตนไปสู่การค้นคว้าพิจารณาหาเหตุผลในสิ่งนั้นๆ จนกระทั่งรู้แจ้งเห็นจริงตามกฎแห่งความเป็นจริง

    เมื่อสตินทรีย์มีพลังแก่กล้าขึ้น จะกลายเป็นสติวินโย คือมีสติเป็นผู้นำ กระชับแน่นอยู่ที่ดวงจิตของผู้ปฏิบัติไม่พรากจากกันตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด หลับ และตื่น สายสัมพันธ์แห่งสติสัมปชัญญะตัวนี้จะต่อเนื่องกันโดยไม่ขาดสาย




    เสนอ สังเกตุ

    หลวงพ่อพุธ ท่านกล่าวถึงการเจริญสติในเบื้องต้นด้วยคำว่า "ทำสติ"

    และ ในตอนจบ กล่าวถึง สติวินโย ว่า "สายสัมพันธ์แห่งสติสัมปชัญญะตัวนี้จะต่อเนื่องกันโดยไม่ขาดสาย"
     
  4. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ถ้า ด้วยเหตุผลที่ว่า สติเป็นอนัตตา(อนัตตา คือ บังคับบัญชาไม่ได้)... การเจริญสติโดยตรง คือ การพยายาม(บังคับ)ให้ สติที่เป็นอนัตตา(บังคับบัญชาไม่ได้) บังเกิดขึ้น... จึงผิด.

    ที่ถูก คือ bypass ไปเจริญ"เหตุใกล้แห่งสติ"คือ ถิรสัญญา แทน???




    แล้ว เหตุใกล้แห่งสติ(ถิรสัญญา) เป็น อนัตตา ไหม???

    ถ้า เหตุใกล้แห่งสติ(ถิรสัญญา) ก็เป็นอนัตตาเช่นกัน เราก็ไม่ควรไปเจริญเหตุใกล้แห่งสติ(ถิรสัญญา)โดยตรงอีก เพราะ จะเป็นการพยายาม(บังคับ)ให้สิ่งที่เป็นอนัตตา บังเกิดขึ้นอีก. ที่ถูก คือ เจริญเหตุแห่งเหตุใกล้แห่งสติ(เหตุแห่งถิรสัญญา) แทน???



    แล้ว เหตุแห่งเหตุใกล้แห่งสติ(เหตุแห่งถิรสัญญา) เป็น อนัตตา ไหม???

    ถ้าเหตุแห่งเหตุใกล้แห่งสติ(เหตุแห่งถิรสัญญา) ก็เป็นอนัตตาเช่นกัน เราก็ไม่ควรไปเจริญเหตุแห่งเหตุใกล้แห่งสติ(เหตุแห่งถิรสัญญา)โดยตรงอีก เพราะ จะเป็นการพยายาม(บังคับ)ให้สิ่งที่เป็นอนัตตา บังเกิดขึ้นอีก. ที่ถูก คือ เจริญเหตุแห่งเหตุแห่งเหตุใกล้แห่งสติ แทน???



    แล้ว เหตุแห่งเหตุแห่งเหตุใกล้แห่งสติ เป็นอนัตตาไหม???

    เรา มิคงต้อง bypass ไปเรื่อยๆ ๆๆๆๆๆๆ .... ไม่ต้องเจริญอะไรกันสักที???





    ความจริงแล้ว จากระดับพระสูตร ก็มีคำว่า เจริญอริยมรรค(เจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ) อยู่แล้ว



    ........

    สัมมาสติ ก็เป็นองค์ธรรมข้อหนึ่งใน อริยมรรค...

    ทำไมในพระไตรปิฎกแปลไทยก็ใช้คำว่า เจริญอริยมรรค ได้นี่ .... แล้วทำไม จะใช้คำว่า เจริญสัมมาสติไม่ได้ .....???



    ไม่เห็นพระสูตรไหน แสดงว่า

    " ระวังน่ะ อย่าไปเจริญอริยมรรค(ที่เป็นอนัตตาด้วยเช่นกัน)โดยตรง เพราะ จะเป็นการพยายาม(บังคับ)ให้อริยมรรคที่เป็นอนัตตา บังเกิดขึ้น ซึ่งผิด....ให้ไปเจริญเหตุใกล้แห่งอริยมรรคแทน".....???




    ดังนั้น ถึงแม้นสติจะเป็นอนัตตาก็จริง.... แต่ สติเจริญได้ (มรรคพึงเจริญ)

    ไม่มีความจำเป็นใดๆ จะต้องเลี่ยงไปเจริญเหตุแห่งสติอะไร ให้สับสนวุ่นวาย
     
  5. zetsubo

    zetsubo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +751
    อนุโมทนาสาธุค่ะ

    ตีความสงสัยข้องใจได้แตกกระจุยไปเลยค่ะ

    จะได้มีความมั่นใจในการปฏิบัติมากขึ้น^^
     
  6. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677



    อนุโมทนา เช่นกันครับ



    ความไม่มั่นใจ-ลังเลสงสัย เป็นนิวรณ์ที่สำคัญมาก....

    ถ้า ไม่สามารถแก้ไข หรือ ละวาง นิวรณ์นี้ได้ จะปฏิบัติสมาธิภาวนาไม่มีทางสำเร็จเลย.

    จิต มันจะคอยไปหน่วงกังวลอยู่กับ สารพัดเหตุผล(ที่เคยฟังมา) ถึงข้อเสีย ข้อจำกัด ต่างๆ นาๆ ของการเจริญสมาธิภาวนา

    กิเลสมาร-สังขารมาร ในใจเรา มันจะคอยผุดขึ้นมาหลอกลวงให้เรายุติการเจริญสมาธิภาวนา... ถ้า จับไม่ได้-ไล่ไม่ทัน กับ กิเลสมาร-สังขารมาร ในใจเรา ก็ ไม่มีทางเลยที่จะเจริญสมาธิภาวนาสำเร็จผล



    ในปัจจุบัน...เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ.

    การเจริญสมาธิภาวนาในไทยเรา ถึงจุดวิกฤตแล้ว...

    จะเห็นได้ว่า ถึงขนาดที่ มีบางท่าน ตีความ คำสอนของหลวงปู่มั่น ที่ ท่านสอนเตือนไม่ให้หลวงตามหาบัว(ที่ขณะนั้นกำลังติดในสุขจากสมาธิ)มัวติดเพลินอยู่ในสุขจากสมาธิ เป็น เหตุผลที่ไม่ควรเจริญสมาธิภาวนา ไปแล้ว!!!

    กล่าวคือ มีการตีความคำสอนหลวงปู่มั่นที่ท่านสอน ในลักษณะ "ข้อพึงระวังรอบครอบในการเจริญสมาธิภาวนา" เป็น "เหตุผลที่ไม่ควรเจริญสมาธิภาวนา".....



    ท่านใด ที่เข้าใจประเด็น และ เห็นด้วย กับ การเจริญสมาธิภาวนาตามแบบฉบับที่ครูบาอาจารย์พระป่าท่านสอนกันมา...

    โปรดช่วยกัน ชี้แจง แก่ผู้ที่กำลัง ลังเล-สงสัย-สับสน ว่า จะเจริญสมาธิภาวนาดีหรือไม่ ด้วยครับ...

    เพื่อให้ สิ่งประเสริฐที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านได้สั่งสอนสืบทอดกันมา ดำรงสืบต่อไปยังคนรุ่นต่อไปได้ ...ไม่จบเพียงแค่คนรุ่นเรา
     
  7. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ประเด็น เรื่องคำว่า เพ่ง ที่ ชาวพุทธรุ่นใหม่คนเมือง มักจะกล่าวว่า เป็นภาวะที่ผิดพลาด.....ควรเลี่ยง....ๆลๆ


    เป็นประเด็นที่สืบเนื่องมาจาก

    "ในขั้นการฝึกเจริญสติ การตั้งใจ(จงใจ เจตนา)เจริญสติ ถือว่าเป็น ภาวะผิดพลาด ไหม???"

    ที่ เรา-ท่าน ได้เสวนากันมาใน คห.ก่อนๆ




    ต้องไม่ลืม คำว่า"เพ่ง"นั้น ก็มีความหมายที่สืบเนื่องมาจาก คำว่า"ตั้งใจ"... แต่ มีความหมายน้ำหนักของภาษาที่ใช้ มากกว่าคำว่า "ตั้งใจ"ขึ้นไปอีก...

    กล่าวคือ "ตั้งใจ"จดจ่ออย่างต่อเนื่อง มันก็กลายเป็น"เพ่ง"ไป



    ถ้าปักใจเชื่อว่า ในขั้นการฝึกเจริญสติ การ"ตั้งใจ"เป็นภาวะที่ผิดพลาด(มิจฉาวายามะ นำไปสู่ มิจฉาสติ)...แล้วละก็

    การเพ่ง ก็ จะต้องถือว่า เป็นภาวะที่ผิดพลาดแบบร้อยเท่าทวีคูณ ไปเลยทีเดียว!!!



    สติ นั้นเป็นธรรมที่นำไปสู่สมถะและวิปัสสนา

    ถ้าเข้าใจเรื่อง การฝึกเจริญสติ แตกต่างกัน...ทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา จะเข้าใจแตกต่างกันหมด



    มันจึงไม่ใช่ประเด็น สมถะยานิก-วิปัสสนายานิก ...อะไรหรอก...ดูดีๆ... เพราะ ไม่ว่าจะ สมถะยานิก หรือ วิปัสสนายานิก มันก็ต้องเริ่มด้วย สติ ทั้งสิ้น

    มันเป็นประเด็นที่ว่า เข้าใจการฝึกเจริญสติ ไม่ตรงกัน


    ครูบาอาจารย์พระสุปฏิปันโนของไทยในอดีต ท่านไม่ถือว่า การตั้งใจ(จงใจ เจตนา)ในขั้นการฝึกเจริญสติเป็นภาวะผิดพลาด


    ใน ขณะที่ ชาวพุทธรุ่นใหม่คนเมือง ถือกันว่า การตั้งใจ(จงใจ เจตนา)ในขั้นการฝึกเจริญสติเป็นภาวะผิดพลาด






    ผมจึงเสนอให้ ย้อนกลับไปยังประเด็นสำคัญ ในเรื่องการฝึกเจริญสติ ที่ว่า

    "ในขั้นการฝึกเจริญสติ การตั้งใจ(จงใจ เจตนา)เจริญสติ ถือว่าเป็น ภาวะผิดพลาด ไหม???"
     
  8. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    คำว่า เพ่ง


    มีปรากฏ ในพระไตรปิฎกแปลไทย ....

    ซึ่ง คำว่า เพ่ง นี้ ไม่ใช่ว่าจะจำกัดอยู่เฉพาะ การเจริญสมถะ เท่านั้น.
    แม้นแต่ การเจริญวิปัสสนา ในพระสูตรก็ใช้คำว่า " เพ่งพินิจ "



    จาก พระสูตร



    การ เพ่งพินิจโดยความเป็นปฏิจจสมุปบาท นั้น...คือ การเจริญวิปัสสนาแน่นอน

    เพราะ ปฏิจจสมุปบาท ไม่ใช่อารมณ์แห่งสมถะกรรมฐาน แน่ๆ



    อนึ่ง นอกเหนือจากนั้น คำว่า เพ่ง ที่มีความหมายถึงการเจริญวิปัสสนา ก็มีปรากฏชัดเจนอยู่ใน




    แม้นแต่ หลวงปู่ดลุย์ อตุโล ท่านเองก็ยังใช้คำว่า เพ่ง เช่นกัน

    “กิเลสทั้งหมดเกิดรวมอยู่ที่จิต ให้เพ่งมองดูที่จิต อันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน”








    เราท่าน คงต้องย้อนกลับมาทบทวนกันแล้ว

    ว่า ถ้า การเพ่งเป็นสิ่งที่ผิดพลาด
    เป็น มาตรฐาน การตัดสินถูก(ไม่เพ่ง)-ผิด(เพ่ง)
    และ ควรหลีกเลี่ยงในการเจริญวิปัสสนาจริงๆ ...
    อย่างที่ ชาวพุทธรุ่นใหม่คนเมืองนิยม ตัดสิน-วินิจฉัย กัน


    ทำไม ถึงมีการใช้คำๆนี้ กัน มากมายหลายแห่ง

    ตั้งแต่ ระดับพระไตรปิฎก คัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล มาจนถึง ครูบาอาจารย์พระป่าในยุคปัจจุบัน


    ???
     
  9. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    เคย รับทราบความเห็นของ ชาวพุทธรุ่นใหม่คนเมือง

    เกี่ยวกับ ความหมายของคำว่า"เพ่ง" ในลักษณะ ที่เป็นไปในทางลบ.....
    คือ กำลังกล่าวถึง การตั้งใจภาวนามากจนเกินไป จนกลายเป็น เครียด เกร็ง ไม่เป็นธรรมชาติ




    ความจริงแล้ว ครูบาอาจารย์พระป่า ท่านก็สอนในเรื่องที่ว่า ไม่ให้การตั้งใจภาวนามากจนเกินไป จนกลายเป็น เครียด เกร็ง ไม่เป็นธรรมชาติ เหมือนกัน....

    เพียงแต่ว่า ท่านไม่ได้ช้คำว่า เพ่ง มาบรรยายลักษณะที่ ตั้งใจภาวนามากจนเกินไป จนกลายเป็น เครียด เกร็ง ไม่เป็นธรรมชาติ

    ท่านจะบรรยายในลักษณะ อินทรีย์ ที่ไม่ได้ดุลย์ มากกว่า ....คือ ท่านจะกล่าวใน ลักษณะ พากเพียร(วิริยะ) หรือ ตั้งใจ มากไป


    หลวงปู่ ชา สุภัทโท ท่านได้เคยกล่าวเรื่อง การมุ่งมั่นที่จะรู้ธรรมมากจนเกินไป(ตั้งใจมากไป) ไว้ดังนี้

    "ปุจฉา ; .....ได้พากเพียรอย่างหนักในการปฏิบัติกรรมฐาน แต่ไม่ได้ผลคืบหน้า

    วิสัชชนา ; เรื่องนี้สำคัญมาก อย่าพยายามที่จะเอาอะไรๆ ในการปฏิบัติ

    ***ความอยากอย่างแรงกล้าที่จะหลุดพ้น หรือรู้แจ้งนั้น จะเป็นความอยากที่ขวางกั้นท่านจากการหลุดพ้น***

    ท่านจะเพียรพยายามอย่างหนักตามใจท่านก็ได้ จะเร่งความเพียรทั้งกลางคืนกลางวันก็ได้ แต่ถ้าการฝึกปฏิบัตินั้นยังประกอบด้วยความอยาก ที่จะบรรลุเห็นแจ้งแล้ว ท่านจะไม่มีทางที่จะพบความสงบได้เลย แรงอยากจะเป็นเหตุให้เกิดความ สงสัยและความกระวนกระวายใจ

    ไม่ว่าท่านจะฝึกปฏิบัติมานานเท่าใดหรือหนักเพียงใด ปัญญา (ที่แท้)จะไม่เกิดขึ้นจากความอยากนั้น

    ดังนั้น จงเพียงแต่ละความอยากเสีย
    จงเฝ้าดูจิตและกายอย่างมีสติ แต่อย่ามุ่งหวังที่จะบรรลุถึงอะไร

    อย่ายึดมั่นถือมั่นแม้ในเรื่องการฝึกปฏิบัติหรือในการรู้แจ้ง..."




    และ จากหนังสือ "ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง" ของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต)


    "....อินทรีย์ ๕ แปลว่า ธรรมที่เป็นใหญ่ในการทำหน้าที่เฉพาะแต่ละอย่าง หรือธรรมที่เป็นเจ้าการในการข่มกำราบอกุศลธรรมที่ตรงข้ามกับตน

    หลักนี้หลายท่านเคยได้ยิน แต่หลายท่านก็ยังไม่เคยได้ยิน เช่น ในคำพูดที่ว่าต้องมีอินทรีย์สม่ำเสมอกัน ต้องปรับอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ คนนี้มีอินทรีย์อ่อน คนนี้มีอินทรีย์แก่กล้า ดังนี้เป็นต้น อินทรีย์ ๕ นั้นได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติธรรมเหมือนกัน

    ข้อ ๑ ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความที่จิตใจพุ่งแล่นไปหาและคล้อยไปตาม เข้าคู่กับข้อ ๕ ปัญญา ความพิจารณาไตร่ตรองมองหาความจริงให้รู้เข้าใจเข้าถึงสภาวะ ถ้าศรัทธาแรงไป ก็น้อมไปในทางที่จะเชื่อง่าย ยอมรับง่าย เชื่อดิ่งไป ตลอดจนงมงาย ถ้าเอาแต่ปัญญา ก็โน้มไปทางที่จะคิดมาก สงสัยเกินเหตุหรือด่วนปฏิเสธ ฟุ้งไปเรื่อย ไม่จับอะไรลงลึก ท่านจึงให้ปรับศรัทธากับปัญญาให้สม่ำเสมอสมดุลกัน

    ข้อ ๒ วิริยะ คือ ความเพียร มีใจสู้ มุ่งหน้าจะทำให้ก้าวหน้าเรื่อยไป เข้าคู่กับข้อ ๔ สมาธิ คือ ความสงบของจิตใจที่แน่วแน่อยู่ที่ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถูกอารมณ์ต่าง ๆ รบกวน ...***ถ้าวิริยะแรงไปก็จะเครียดและฟุ้งซ่าน โน้มไปทางล้ำเลยเขต ถ้าเอาแต่สมาธิก็จะสงบสบาย ชวนให้ติดในความสุขจากความสงบนั้น ตลอดจนกลายเป็นเกียจคร้านเฉื่อยชาปลีกตัวออกหาความสบาย ปล่อยปละละเลยหรือไม่เผชิญภาระ*** ท่านจึงให้เสริมสร้างวิริยะและสมาธิอย่างสม่ำเสมอสมดุลกัน เพื่อจะได้ประคับประคองกันไป และเป็นเครื่องอุดหนุนกันให้ก้าวหน้าไปในการปฏิบัติ

    ส่วนข้อ ๓ สติ นั้น เป็นตัวคุมตัวเตือน ต้องใช้ในทุกกรณี เช่นเป็นเหมือนยามที่คอยบอกว่า เวลานี้ศรัทธาจะแรงไปแล้ว ปัญญาจะหย่อนไปแล้ว เวลานี้ควรเร่งวิริยะขึ้นมา เพราะทำท่าจะติดในสุขจากสมาธิเสียแล้ว ดังนี้เป็นต้น ..."




    ปล...

    เพราะ ชาวพุทธรุ่นใหม่คนเมือง เชื่อว่า ตั้งใจ เป็นภาวะผิดพลาด.... เพ่ง จะยิ่งเป็นภาวะผิดพลาดเข้าไปใหญ่

    และ โยงคำว่า เพ่ง(ในความหมาย คล้ายๆ การเพ่ง จนตาถลน-เส้นเลือสมองโปน แบบในหนังเรื่อง สแกนเนอร์; คนล่ะความหมายกับ เพ่ง ในพระไตรปิฎก) ไปยังคำว่า สมถะ ....

    ดังนั้น

    บ่อยครั้ง ที่เวลา ชาวพุทธรุ่นใหม่คนเมืองกล่าวถึงคำว่า สมถะ จึงมีความหมายไปในทางลบ คือ เป็น ปปัญจธรรมเครื่องเนิ่นช้า(อ่าน คห ข้างต้น) หรือ ตัวขวางการรู้ธรรม
     
  10. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    เรื่อง การที่ไม่ควรตั้งใจมากจนเกินไปในการภาวนานั้น



    การเพ่งที่มากเกินไป(หรือ ตั้งใจมากเกินไป) นั้น สื่อถึง วิริยะ ที่มากไป

    สิ่งที่ถูกต้อง จึงไม่ใช่ว่า ห้ามตั้งใจ หรือ ห้ามเพ่ง แบบabsolutely....
    แต่ เป็น ตั้งใจให้พอดี.... คือ ไม่ตั้งใจมากไปจนเครียดเกร็ง ให้ผ่อนคลายด้วยปัสสัทธิ(อันเป็นธรรมในส่วนสมถะ เสียด้วยซ้ำ)




    ท่าน อาจารย์ ตั๋น ท่านก็สอนเอาไว้เช่นกัน(จาก บทธรรมด้านบน)


     
  11. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ประเด็น ภาษาที่ใช้ ใน แนวทางชาวพุทธรุ่นใหม่คนเมือง



    ที่ บางครั้ง อาจจะใช้ ภาษารูปแบบอักษรเดิม(คำๆเดิม) แต่ ดัดแปลงความหมาย /หรือ บัญญัติขอบเขตความหมายของคำนั้นๆ เสียใหม่

    หรือ บางครั้ง ก็ เพิ่มขยายขอบเขตของความหมายของคำนั้นๆ (เช่น เพิ่มความหมายของคำว่า ติดสมถะ ให้ครอบคลุมมาถึง การติดเพ่ง ด้วย)

    ให้ แตกต่างจาก ภาษากลางที่ใช้ในพระไตรปิฎกแปลไทย และ/หรือ แนวทางคำสอนครูบาอาจารย์พระป่า เดิม



    ซึ่ง ฟังดู ก็น่าสนใจดี ....

    แต่ ก็มีส่วนทำให้เกิด ความสับสน และขัดแย้ง กันขึ้น เวลาที่ ชาวพุทธรุ่นใหม่คนเมือง สนทนากันกับ ผู้อื่นซึ่งใช้ ภาษากลางที่ใช้ในพระไตรปิฎก และ/หรือ แนวทางคำสอนครูบาอาจารย์พระป่า เดิม



    ลองมาพิจารณาดูคำว่า ติดสมถะ ในแนวทางชาวพุทธรุ่นใหม่คนเมือง




    ลองดู 2 ประโยค


    1.เอาสติไปควบคุมจิตอย่างเข้มงวดบ้าง. ซึ่ง น่าจะตรงกับคำว่า "ติดเพ่ง"ที่นิยมใช้กันในหมู่ชาวพุทธรุ่นใหม่คนเมือง


    2.ถูกราคะและโมหะแทรกอยู่โดยไม่รู้ทันบ้าง. ซึ่ง น่าจะตรงกับคำว่า "ติดสุขจากสมาธิ"



    ประเด็นข้อ2 คือ ติดสุขจากสมาธิ นั้น น่าจะตรงกับ ในระดับพระไตรปิฎก และ ที่ครูบาอาจารย์พระป่าท่านสอนกันมา ครับ

    ความหมายของคำว่า ติดสมถะ ... ที่ครูบาอาจารย์พระป่าสอน คือ” การติดสุขในสมาธิ”

    ดังเช่น ที่ หลวงปู่มั่น ท่านเคยเตือน หลวงตามหาบัว ไม่ให้ติดสุขในสมาธิ .

    คือ ไม่ให้พัวพันยินดีด้วยสังโยชน์ในสุขจากสมาธิ จน ไม่นำผลที่ได้จากจิตที่สงบมาเจริญปัญญา.

    (ปล... ใน ขณะนั้น หลวงตามหาบัว ท่านเชี่ยวชาญอย่างยิ่งในสมาธิวิธีแล้ว...แต่ ไม่ออกเจริญมรรคด้านปัญญา เพราะ เห็นสุขในสมาธิเป็นพระนิพพานไป. เรา-ท่าน ยังห่างไกลจุดนั้นมาก อย่าเพิ่งกลัวเกินเหตุ จนไม่เจริญสมาธิภาวนา เพราะ สิ่งที่ฆราวาสสมควรกลัว คือ กามสุข มากกว่า มามัวตั้งท่าที่จะกลัวติดสุขจากสมาธิ)

    การติดสมถะ ลักษณะนี้ จะมีความหมายไปในทิศทางเดียวกัน กับ ในพระสูตร ที่แสดง ถึง การกำหนัดด้วยยินดี ผูกพันด้วยยินดี ประกอบด้วยสัญโญชน์ ใน สุขจากสมาธิ... (อุทเทสวิภังคสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 14)


    ประเด็น ติดสมถะ คือ ติดสุขจากสมาธิ นี้ น่าจะเข้าใจตรงกันแล้ว ก็ ขอผ่านไปเลย น่ะครับ




    >>>>>>>>>>>>>>




    ลองมาดู กรณี "ติดสมถะ" คือ "ติดเพ่ง"



    ลักษณะนี้บรรยายถึงว่า เวลาเจริญภาวนา(รวมทั้งเจริญสติ) แล้ว มี ความ”ตั้งใจมากเกินไป”โดยไม่รู้ตัว/หรือ ไม่ทันระวัง /หรือ ระวังแล้วก็ยังเป็น......


    ซึ่ง ติดสมถะ ในความหมายนี้ ครูบาอาจารย์พระป่าท่านไม่ได้ใช้ภาษาแบบนี้ครับ.
    ภาษาที่ครูบาอาจารย์พระป่าท่านใช้ในการบรรยายลักษณะเช่นนี้ คือ "ตั้งใจมากเกินไป จน เครียด เกร็ง" ครับ

    ดังนั้น บ่อยครั้งที่ มีการเสวนากัน ถ้าใช้ภาษาบัญญัติไม่ตรงกัน... กำลัง พูดคำเดียวกันอยู่ ความหมายอาจจะไม่ตรงกัน




    ปัญหา มันจึงเกิดจาก

    การบัญญัติความหมายของคำให้แตกต่างไปจาก ที่เคยใช้กันมาในพระไตรปิฎก

    หรือ

    การบัญญัติความหมายของคำให้แตกต่างไปจากที่ครูบาอาจารย์พระป่า ท่านเคยใช้กันมา

    </O:p
     
  12. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    มี ประเด็นคำถามเกี่ยวกับ

    ข้อสงสัยของชาวพุทธรุ่นใหม่ ใน คำสอนด้านการภาวนา ของ ครูบาอาจารย์พระป่า

    มาเสนอเพิ่ม


    (คำถามนี้ ผมคัดลอกมา โดยไม่ได้ดัดแปลง ใดๆ น่ะครับ)


    เกี่ยวกับ การเจริญภาวนาพุทโธ(พุทธานุสติ)



    ลองพิจารณากันจาก หลักธรรมที่ดั้งเดิมสุด

    คือ ในระดับพระสูตร กันดูน่ะครับ


    อ้างอิง : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ สุตตันตปิฎกที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

    ถ้าดูจากพระสูตร

    จริต ประกอบด้วย

    1.ราคจริต
    2.โทสจริต
    3.โมหจริต
    4.วิตกจริต
    5.ศรัทธาจริต
    6.ญาณจริต


    ราคจริต ถ่วงดุลย์ด้วย อสุภกรรมฐาน

    โทสจริต ถ่วงดุลย์ด้วย เมตตาภาวนา

    โมหจริต ถ่วงปรับดุลย์ด้วย การฟังธรรมตามกาล หรือ อยู่กับครูบาอาจารย์

    วิตกจริต ถ่วงดุลย์ด้วย อานาปานสติ

    ศรัทธาจริต ส่งเสริมด้วย พุทธานุสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสติ ศีลานุสติ

    ญาณจริต ส่งเสริมด้วย การพิจารณาไตรลักษณ์โดยตรง



    คำว่า บริกรรม ว่า พุทโธ เป็นกุศลโลบายให้จิตน้อมไปยัง พุทธคุณ

    เป็น อุบายแห่ง พุทธานุสติ(นิมิตความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า คือ ระลึกถึงพระพุทธคุณ) ครับ.เหมาะสำหรับ ผู้ที่เป็นศรัทธาจริต ครับ


    พุทธานุสติ นั้น

    ครูบาอาจารย์ท่านสอนให้ "ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า" โดยใช้ กุศโลบาย คำบริกรรม"พุทโธ" ดังนี้



    โอวาทธรรมหลวงปู่ สิม พุทธาจาโร

    การที่เรากราบไหว้บูชาสักการะพระพุทธเจ้าด้วยศรัทธาความเชื่อ ความเลื่อมใสนี้ ท่านว่า เป็นบุญกุศลอันมหาศาลเป็นนิสัยปัจจัยต่อเนื่องถึงนิพพาน

    ฉะนั้น เราต้องฝึกหัดจิตใจของเราให้เลื่อมใสในคุณพระพุทธเจ้าในคำว่าพุทโธพุทโธ

    พุทธังหมายถึงพระพุทธเจ้า จิตใจของเราถ้าเลื่อมใสในคุณพระพุทธเจ้าแล้วนึกน้อมให้ดี เจริญให้ดีเอามามัดจิตใจของเราให้อยู่ ใจของเราจะสงบระงับเยือกเย็นสบายไม่ทุกข์ร้อนประการใด

    <O:pแต่ พุทธานุสตินี้ยังไม่ถือว่า จบกระบวนการของการภาวนา น่ะครับ....ครูบาอาจารย์ท่านมักจะสอนให้เจริญสติปัฏฐาน(เน้น กายานุปัสสนา)ต่อโดยอาศัยจิตที่สงัดจากกาม-จากอกุศล มาเป็นปัจจัย

    <O:pเมื่อมีวิตก วิจาร เป็นฝ่ายเหตุ ก็เป็นภาวนา.... ย่อม มี ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์ เป็นผล

    เป็น สมถะกรรมฐาน



    หรือ จะดูจาก อรรถาธิบาย ใน พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค การเจริญพุทธานุสติ
    </O:p




    </O:p
     
  13. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ต่อครับ กับเรื่อง การภาวนาพุทธโธ ที่ครูบาอาจารย์พระป่าท่านสอนกันมา


    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ท่านได้เล่าถึงหลักการภาวนาที่หลวงปู่มั่นได้เมตตาแนะนำว่า


     
  14. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ผู้ที่เจริญบริกรรมพุทโธ
    ท่านย่อม หมายใจไว้ใน คุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงจำแนกแจกแจงธรรมไว้ให้เราท่านทั้งหลาย ปฏิบัติตามเพื่อความพ้นทุกข์

    พุทโธ เป็นพระนามมงคลของพระมหาบุรุษ...




    จริงอยู่ ที่พุทธานุสติยังคงเป็นอารมณ์แห่งสมถะกรรมฐานก็จริง....

    แต่ เป็นกรรมฐานที่ยอดเยี่ยม เหมาะสำหรับผู้ที่มีศรัทธาจริต ไว้เป็นการฝึกจิตให้เคยชินกับความสงบ(เว้น แต่จะเห็นว่า ความสงบเป็นสิ่งไม่ดี ก็ว่าไปอีกประเด็นหนึ่ง) และ เวลาที่มีวิกฤตการณ์ภัยอันตรายมาใกล้ตัว พุทโธ ที่ฝึกให้ชำนาญจะเป็นที่รวมจิตให้เป็นหนึ่ง และ สามารถฝ่าฟันอันตรายต่างๆไปได้

    ครูบาอาจารย์พระป่าหลายองค์ ท่านจะใช้พุทโธเป็นวิหารธรรมของจิต และ เป็นบาทของการเจริญสติปัฏฐาน




    เอาเป็นว่า

    ถ้า ชาวพุทธรุ่นใหม่คนเมือง ที่ มีนิสัยแห่งขิปปาภิญญา(ปัญญาจริต) อาจจะไม่เห็นด้วย หรือ ไม่เห็นประโยชน์ของการเจริญภาวนาพุทโธ ... ก็ ไม่ต้องไปเจริญภาวนาแบบนี้ ก็แล้วกัน

    ส่วน ท่านใดที่มีจริตนิสัยที่จะได้ประโยชน์จากการเจริญภาวนาพุทโธ ก็ เจริญไป...

    ก็ เห็นมีพระสุปฏิปันโนจำนวนมากมายที่ท่านได้ประโยชน์จากการเจริญภาวนาพุทโธ ปรากฏให้เราท่านได้กราบไหว้ เป็นที่เย็นตาเย็นใจ



    ต่างคน ต่างเข้าใจผู้อื่น...ก็ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
     

แชร์หน้านี้

Loading...