ฝึกนั่งสมาธิ ... แล้วเห็นวิญญาณมาขอส่วนบุญในสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปราบเทวดา, 25 พฤษภาคม 2017.

  1. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    เกร็ดธรรม

    หลวงปู่พุธ ฐานิโย

    วัดป่าสาละวัน

    อ.เมือง จ.นครราชสีมา


    **********************

    ถ้าหากว่าจิตดำเนินอยู่ในสมาธิขั้นฌานที่๑
    ซึ่งประกอบด้วยองค์๕
    อืมๆ ผู้ภาวนาเริ่มจะได้สมาธิซึ่งกำลังจะดำเนินเข้าไปสู่ฌานแห่งอริยะมรรค

    แต่ส่วนมากข้อที่ควรระวัง

    บางครั้งเราบริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ อยู่
    ยังมิทันใด จิตก็มีอาการวูบวาบ
    สงบลงเป็นสมาธิ
    ซึ่งเรายังไม่สามารถกำหนดรู้องค์ฌานนั้นได้อย่างละเอียด
    พอวูบวาบลงไปแล้ว
    นิ่ง
    สว่าง
    กระแสจิตส่งออกไปข้างนอก
    ประเดี๋ยวก็ไปเห็นภาพนิมิตต่างๆ
    อันนี่เป็นประสบการณ์ที่นักภาวนาในขั้นต้นจะพึงประสบ

    เมื่อเป็นเช่นนั้น

    สมาธิในระดับอ่อนๆ
    มีลักษณะสะลึมสะลือ ครึ่งหลับครึ่งตื่น
    เมื่อกระแสจิตส่งออกไปข้างนอก
    ย่อมมองเห็นภาพนิมิตต่างๆ
    บางทีก็เห็นนิมิตเป็นรูปคน รูปสัตว์
    หรือบางทีก็เห็นเทวดา อินทร์ พรหม ยมยักษ์
    บางทีก็เห็นภูตผีปิศาจ
    หรือบางทีก็อาจจะเห็นพวกวิญญาณต่างๆ

    ซึ่งในบางครั้ง

    ผู้ภาวนาไปสำคัญว่า

    สิ่งที่เราเห็นในสมาธิในขั้นนี้
    ไปเข้าใจว่า
    วิญญาณมาขอส่วนบุญส่วนกุศล
    แล้วก็ตั้งใจแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลให้วิญญาณเหล่านั้น

    เพราะสมาธิตอนนี้มันยังมีกำลังอ่อน
    เมื่อเราตั้งใจจะแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลให้วิญญาณเหล่านั้น

    พอเกิดความตั้งใจ
    สมาธิมันก็ถอน

    เมื่อสมาธิถอนแล้ว
    ภาพนิมิตต่างๆก็หายไปหมดไม่มีอะไรเหลืออยู่
    เพราะนิมิตที่มองเห็นนั้นมันเป็นนิมิตรเป็นรูปภาพที่จิตของเราเอง
    เป็นผู้ปรุงเป็นมโนภาพขึ้นมา

    เพราะฉะนั้น

    เมื่อเหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้น
    ผู้ภาวนาควรจะได้กำหนดรู้จิตของตัวเองอยู่
    ถ้าหากว่าจิตยังบริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ
    ก็ภาวนาพุทโธเรื่อยไป
    อย่าไปสนใจกับภาพนิมิตที่มองเห็นนั้นล้วนแต่เป็นสิ่งที่หลอกลวง
    เป็นมโนภาพจิตของเราเองนั่นแหล่ะ เป็นผู้ปรุงแต่งขึ้นมาเอง

    ถ้าหากเรามีสติสัมปชัญญะกำหนดรู้เฉยอยู่
    หรือบางที
    เราอาจจะนึกว่านิมิตสักแต่ว่านิมิต
    เป็นของไม่เที่ยงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
    หรืออาจจะไม่นึกคิดอะไร
    เพียงแต่กำหนดรู้จิตเฉยอยู่เท่านั้น

    โดยถือว่า โดยทำความรู้สึกในทีว่า
    สิ่งที่มองเห็นนั้นเป็นแต่เพียงอารมณ์จิตเท่านั้น
    เหมือนๆกับสิ่งที่เรามองเห็นด้วยตาอย่างธรรมดาๆ
    ถ้าเรากำหนดรู้กันเพียงแต่เป็นอารมณ์จิต
    แล้วก็มีสติระลึกรู้อยู่พร้อมในขณะจิตนั้น
    ไม่เกิดเอะใจ
    หรือไม่ตกใจ ไม่ตื่นใจ
    เกี่ยวกับเรื่องนิมิต
    นิมิตนั้นจะดำรงค์ อยู่ได้นาน
    ให้เราได้ดูนานๆ

    บางทีเพ่งดูไป
    นิมิตอาจจะแสดงภาพ อสุภะกรรมฐานให้เราดู
    บางทีก็อาจจะแสดงอาการตายลงไปให้เราดู
    แล้วก็แสดงความขึ้นอืด เน่า เปื่อย ผุพัง
    ไปตามขั้นตอน
    เราก็จะได้มองเห็นอสุภะกรรมฐาน
    ได้รู้อสุภะกรรมฐาน

    ถ้าหากว่าจิตของเรา
    มีความสงบละเอียดลงไป
    มีความมั่นคงพอสมควร
    สมาธิยังไม่ถอน
    อาจสามารถที่จะกำหนดนิมิตนั้น
    ซึ่งจิตของเราจะกำหนดรู้ไปเอง
    เป็นไปเอง
    อาจจะปรุงแต่งขึ้นมา ให้เรามองเห็น
    สิ่งที่มองเห็นนั้นเป็นส่วนของร่างกายอันหนึ่ง
    แล้วก็จะแยกกันออกไปเป็นส่วนๆ
    ตามกฎของธรรมชาติ
    คือ
    ส่วนที่มีลักษณะแน่นและแข็ง มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น
    ก็จะแยกออกไปเป็นกองหนึ่ง
    ซึ่งเรียกว่าเป็นธาตุดิน

    ส่วนที่เป็นเหลวๆ น้ำเมือก น้ำหนอง เป็นต้น
    ก็จะแยกเป็นส่วนหนึ่ง

    ส่วนที่เป็นไฟก็จะแยกไปส่วนหนึ่ง

    ส่วนที่เป็นลมก็จะแยกไปอีกส่วนหนึ่ง
    ซึ่งจิตของเราอาจจะปรุงแต่งแยกแยะของมันไปเอง
    โดย
    พลังแห่งสมาธิ และสติปัญญา

    เราก็จะได้รู้ธรรม เห็นธรรม
    อะอืมๆ ได้ รู้ธาตุกรรมฐาน

    อันนี้คือประสบการณ์ที่นักปฏิบัติควรจะระมัดระวัง อะอืมๆ

    แต่ส่วนมากในเมื่อจิตสงบลงไปแล้ว

    เกิดภาพนิมิตอะไรต่างๆขึ้นมา
    เรามักจะเกิดความเอะใจ
    เมื่อเกิดความเอะใจก็ไปตื่น
    ไปตกใจ
    สมาธิก็ถอน
    เพียงแต่ตื่นใจตกใจสมาธิถอนก็ยังดี
    แต่ถ้าบางครั้ง บางที
    อะอืมๆ
    เราอาจจะไปมองเห็นเป็นนิมิต ภาพต่างๆ
    บางทีอาจจะเป็นนิมิตภาพผู้วิเศษ
    ซึ่งในความสัมพันธ์ในใจในจิตของเรา
    อาจจะเป็นเช่นนั้น

    เช่น

    ไปนิมิตเห็นภาพพระอิศวรหรือเทพเจ้าตนใดตนหนึ่ง
    ที่เราถือว่าเป็นเทพเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์
    ในเมื่อเกิดเป็นนิมิตขึ้นมา
    เรามองเห็นเข้า
    บางทีจิตของเราก็อาจจะไปน้อมเอาเทพเจ้าที่มองเห็นนั้น
    เข้ามาสู่จิตสู่ใจของเรา
    เพราะเราเชื่อมั่นว่าท่านผู้นั้นจะเป็นผู้วิเศษ
    แล้วจะมาช่วยให้เราได้สมาธิ
    ได้สติปัญญาอย่างรวดเร็วทันใจ
    และให้สำเร็จมรรคผลได้เร็ว
    ซึ่งจิตของเราอาจจะเข้าใจผิดไปเช่นนั้น

    ถ้าหากเราไปน้อมเอาสิ่งนั้นๆเข้ามาในตน
    เช่น
    เห็นเทพเจ้าก็น้อมเอาเทพเจ้าเข้ามาสู่หัวใจของเรา
    ในเมื่อเทพเจ้าเข้ามาสู่หัวใจของเรา
    จิตของเราจะเปลี่ยนสภาพไปเป็นอย่างอื่น
    แทนที่จะมีความสงบนิ่งเป็นสมาธิ มีสภาวะผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อยู่ในจิตในใจ
    พอภาพนิมิตนั้น เข้ามาสิงสถิตอยู่ในจิตในใจของเรา
    ใจของเราจะเปลี่ยนทันที
    มันจะเปลี่ยนไปเป็นรู้สึกว่าหนักหน่วงในตัว
    หนักอกหนักใจคล้ายๆกับว่าหัวใจถูกบีบ
    อึดอัดรำคาญไปหมด
    ทำไมมันจึงเป็นเช่นนั้น
    เพราะ
    อำนาจของวิญญาณที่เรามองเห็นนั้น แล้วเราน้อมเข้ามาสิงสู่อยู่ในตัวของเรา
    มันก็มากลายเป็นการทรง กลายเป็นการประทับทรงไป
    อันนั่นเป็นการเดินทางผิด


    เพราะฉะนั้น
    เรื่องนิมิตต่างๆนี่ นักปฏิบัติทั้งหลายควรจะระมัดระวังให้ดี


    ในเมื่อนิมิตอันนั้นเกิดขึ้นมาเราจะทำอย่างไร
    เราควรจะได้กำหนดจิตรู้ที่จิตของเราอย่างเดียว
    ให้กำหนดหมายว่า
    ภายในจิตของเรานี่
    มีแต่พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เท่านั้น อยู่ในจิตในใจของเรา
    พระพุทธเจ้าก็ดี
    พระธรรมก็ดี
    พระสงฆ์ก็ดี
    ไม่ใช่สิ่งที่เป็นตัวเป็นตน
    เป็นคุณธรรม

    พระพุทธเจ้าคือ คุณธรรม
    ที่ทำคนให้เป็นพระพุทธเจ้า


    ท่านชายสิทธัตถะได้ค้นพบเป็นองค์แรก
    ค้นพบคุณธรรมที่ทำคนให้เป็นพระพุทธเจ้า
    โดยที่พระองค์รู้อริยะสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    แล้วก็นำออกมาเผยแพร่
    อบรมสั่งสอนใครต่อใครก็ได้รู้ได้เข้าใจ
    และบรรลุมรรคผลตามพระองค์ไป
    ดังนั้นพระองค์จึงได้เป็นพระศาสดาของเราทั้งหลาย
    เพราะเหตุที่บรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้า

    ดังนั้น

    พระพุทธเจ้าไม่ใช่สิ่งที่มีตัวมีตน
    เป็นคุณธรรม


    ************************

    อ่านต่อที่นี่ http://palungjit.org/threads/จิตตะภาวนา-หลวงปู่พุธ-ฐานิโย.280415/
     
  2. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    เหตุปัจจะโยฯ..

    นิมิตทั้งหลาย ไม่ว่าดีก็ตาม ชั่วก็ตาม (ในความคิดปรุงแต่งตัดสินไปเองเหล่านั้น) ที่สุดมันกลายเป็นปัญญา นำไปสู่การรู้แจ้งเห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคอย่างแท้จริงได้

    สุดยอดพระธรรมเทศนาของครูบาอาจารย์ ผมมีข้อสังเกตว่า อยู่ตอนท้ายๆ หมายถึงก่อนท่านจะละสังขารนั่นแหละครับ ถือว่าเป็นฉบับรวมธรรมของแต่ละท่านแล้ว บางทีเราไปเอาธรรมส่วนที่ท่านแสดงตั้งแต่สมัยไหนมาไม่รู้ ลองดูปี พ.ศ.เทศน์ กับ ปี พ.ศ.ที่ท่านมรณภาพครับ ห่างกันกี่ปี อันนั้ผมก็ไม่ทราบ แต่เดาว่าน่าจะหลายปีอยู่ ก็เป็นแค่ความเห็นส่วนตัวครับ
     
  3. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ไฟล์เสียง ที่นี่ครับ

     
  4. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    หลวงปู่พุธ ฐานิโย
    ท่านได้ถึงแก่มรณะภาพเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 รวมสิริอายุได้ 78 ปี

    ...............................................................

    หลวงปู่ พุธ ฐานิโย
    วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา




    ประวัติ พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) พระราชสังวรญาณ มีนามเดิมว่า พุธ อินทรหา เป็นบุตรคนเดียวของ บิดา-มารดา เกิดที่หมู่บ้านชนบท ตำบลหนองหญ้าเซ้ง อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี เมื่อเดือน ๓ ปีระกา ตรงกับวันพุธที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๔

    บิดา-มารดาของท่าน มีอาชีพทำไร่ทำนา และค้าขาย เมื่อท่านอายุได้ ๔ ขวบ บิดา-มารดาได้ถึงแก่กรรม ญาติที่อยู่ ณ หมู่บ้านโคกพุทรา ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร จึงมารับท่านไป อุปการะ

    ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ อายุท่านได้ ๘ ขวบ จึงเข้าเรียนในโรงเรียน ประชาบาลวัดไทรทอง ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน ท่านได้เรียน จนจบชั้นประถมปีที่ ๖ เมื่อมีอายุได้ ๑๔ ปี ในสมัยนั้น ถ้าย้อนหลังไป ๖๐-๗๐ ปี การได้เรียนจนจบชั้นประถมปีที่ ๖ ได้ ต้องถือว่าเป็นการเรียน ที่สูงพอสมควรแล้ว เมื่อเรียนจบแล้วครูบาอาจารย์ได้ชักชวนท่านให้เป็น ครูสอนนักเรียนในโรงเรียนที่ท่านเรียนนั้นต่อ หากทว่าจิตของท่านมุ่งมั่น สนใจที่จะบวชมากกว่า

    ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙ อายุได้ ๑๕ ปี ท่านจึงได้ขอร้องให้ญาติซึ่งเป็น ผู้ปกครองของท่าน พาไปบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดอินทร์สุวรรณ บ้าน โคกพุทรา ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยมีท่าน พระครูวิบูลย์ธรรมขันธ์ เจ้าคณะอำเภอสว่างแดนดิน เป็นพระอุปัชฌาย์ และท่านพระครูโพธิภูมิไพโรจน์เป็นพระบรรพชาจารย์ และสามเณรพุธได้ อาศัยอยู่จำพรรษากับท่านพระครูโพธิภูมิไพโรจน์นั่นเอง ท่านได้รับเมตตา จากพระอาจารย์ให้ได้ศึกษาทางด้านปริยัติธรรมด้วย และในพรรษาแรกนี้เอง สามเณรพุธสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี

    ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ หลังจากออกพรรษา เป็นเหตุบังเอิญให้ในขณะนั้นที่ท่าน เจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (ปุสโส เส็ง) ได้เดินธุดงค์มายังจังหวัดสกลนคร ในฐานะเจ้าคณะตรวจการผู้ช่วยภาค ๔ แทนพระอาจารย์ของสามเณรพุธ อันได้แก่ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ท่าน เจ้าคุณพระอริยคุณาธาร ได้เกิดความเมตตาต่อสามเณรพุธเป็นอย่างมาก สามเณรพุธจึงมีโอกาสได้ติดตามท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธารธุดงค์ออก จากอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ไปยังจังหวัดอุบลราชธานี ในสมัยนั้น ทางคมนาคมยังไม่สะดวก ต้องเดินด้วยเท้าไปตามทางเกวียน ผ่านป่าเขาต่างๆ ท่านเล่าว่าต้องใช้เวลาถึง ๓๑ วัน จึงเดินเท้ามาถึง จังหวัดอุบลราชธานี ในระหว่างทาง บางทีเหนื่อยนักเมื่อยนักก็พักค้าง แห่งละ ๒-๓ วัน บางช่วงในขณะที่เดินรอนแรมในป่า ก็หลงดงหลงป่าบ้าง บางวันไม่ได้ฉันข้าว เพราะหมู่บ้านห่างกันมาก เดินทางออกจากหมู่บ้าน แห่งหนึ่ง ตั้งแต่เช้าจนค่ำก็ยังไม่เจอหมู่บ้านอีกหนึ่งเลย ป่าดงในสมัยนั้น ก็ยังมีสัตว์ป่าชุกชุม บางครั้งได้ยินเสียงเสือเสียงสัตว์ต่างๆร้อง บางครั้ง เสือมันก็กระโดดข้ามทางที่จะเดินไปก็มี

    เมื่อเดินทางไปถึงจังหวัดอุบลราชธานี ได้เข้าพักที่วัดบูรพา และฝากตัว เป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์พร (พี่ชายของพระอาจารย์บุญ ชินะวังโส) ท่านพระอาจารย์พรเป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ ซึ่งในขณะนั้นท่านพระอาจารย์เสาร์ได้มาจำพรรษาอยู่ ณ วัดบูรพาด้วย สามเณรพุธจึงได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์เสาร์ และเริ่มรับ การอบรมทางด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นครั้งแรก แต่เดิมทีในสมัยแรก ที่ท่านบรรพชาเป็นสามเณรนั้น ท่านได้บรรพชาในสังกัดมหานิกายคณะ

    ที่วัดบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี แห่งนี้ นอกจากจะได้รับการ อบรมทางด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ท่านยังได้ศึกษาทางด้านพระ ปริยัติธรรมอีกด้วย และสามารถสอบได้นักธรรมเอก เมื่อมีอายุเพียง ๑๘ ปี

    ต่อมา ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ท่านพระอาจารย์เสาร์ได้พาสามเณรพุธ เดินธุดงค์ จากจังหวัดอุบลราชธานีเข้ามายังกรุงเทพฯ และพาไปฝากตัวกับท่านเจ้าคุณ ปัญญาพิศาลเถระ (หนู) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม ให้ช่วยอบรมสั่งสอน สามเณรพุธจึงได้ศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี และสามารถสอบได้เปรียญ ๔ ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณรนั่นเอง

    สามเณรพุธได้จำพรรษาเรื่อยมา ณ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร แห่งนี้ จนอายุได้ครบบวช ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ท่านจึงได้รับการอุปสมบท โดยมีท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) พระอาจารย์ของท่านเป็น พระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า "ฐานิโย"

    ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นสมัยสงครามเอเซียบูรพา ท่านได้อพยพ กลับไปจำพรรษาที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี และท่านได้อยู่จำพรรษา ที่วัดนี้ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ในระหว่างนั้นท่านได้เกิดอาพาธหนัก เป็น วัณโรคอย่างแรง จนหมอไม่รับรักษา ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ท่านพระ อาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้เดินทางมาจำพรรษาที่วัดบูรพา ตามคำสั่งของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) เช่นกัน ท่านพระอาจารย์ฝั้นสอนให้ ท่านตั้งใจเพ่งอาการ ๓๒ โดยให้พิจารณาถึงความตายให้มากที่สุด ทั้งยัง คอยให้กำลังใจกับท่านตลอดเวลา

    หลวงพ่อพุธ ท่านเล่าว่า ขณะที่ท่านป่วยเป็นวัณโรคนั้น ท่านต้องรักษา พยาบาลตัวเอง ตั้งหน้าตั้งตามุ่งมั่นปฏิบัติธรรม เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา โดยมุ่งที่จะพิจารณาดูความตายเท่านั้น โดยคิดว่า "ก่อนที่เราจะตายนั้น ควรจะได้รู้ว่า ความตายคืออะไร" จึงได้ตั้งอกตั้งใจพิจารณาดูความตาย อยู่เป็นเวลาหลายวัน ในวันสุดท้ายได้ค้นคว้าพิจารณาดูความตายอยู่ถึง ๗ ชั่วโมง ในตอนแรกที่พิจารณา เพราะความอยากรู้อยากเห็นว่า ความตาย คืออะไร ซึ่งความอยากรู้อยากเห็นนี้เป็นอาการของกิเลส กิเลสจึงปิดบังดวงใจ ทำให้ความสงบใจที่เป็นสมาธิก็ไม่มี ความรู้แจ้งเห็นจริงก็ไม่มี ท่านเริ่มนั่ง สมาธิตั้งแต่ ๓ ทุ่ม จนกระทั่งเวลาตี ๓ จนเกิดความรู้สึกเหน็ดเหนื่อยแทบจะ ทนไม่ไหว ในขณะนั้นความรู้สึกทางจิตมันผุดขึ้นมาว่า "ชาวบ้านชาวเมือง ทั้งหลายเขานอนตายกันทั้งนั้น ท่านจะมานั่งตาย มันจะตายได้อย่างไร" ท่าน จึงเอนกายลงพร้อมกับกำหนดจิตตามไปด้วย เมื่อเกิดความหลับขึ้น จิตกลาย เป็นสมาธิแล้ว จิตก็แสดงอาการตาย คือวิญญาณออกจากร่างกายไปลอยอยู่ เบื้องบนเหนือร่างกายประมาณ ๒ เมตร แล้วส่งกระแสออกมา รู้กายที่นอน เหยียดยาวอยู่ แสดงว่าได้รู้เห็นความตาย ลักษณะแห่งความตาย ในเมื่อตาย แล้ว ร่างกายก็ขึ้นอืดเน่าเปื่อยผุพังไปตามขั้นตอน ในเมื่อร่างกายที่มองเห็น อยู่นั้นสลายตัวไปหมดแล้ว ก็ยังเหลือแต่จิตว่าง จิตว่างแล้วก็ยังมองเห็นโลก คือแผ่นดิน ในอันดับต่อมาโลกคือแผ่นดินก็หายไป คงเหลือแต่จิตดวงเดียว ที่สว่างไสวอยู่ มองหาอะไรก็ไม่พบ พอจิตมีอาการไหว เกิดความรู้สึกขึ้นมา ก็เกิดความนึกคิดขึ้นมาว่า "นี่หรือคือความตาย" อีกจิตหนึ่งก็ผุดขึ้นมารับว่า "ใช่แล้ว" ก็เป็นอันว่าได้รู้จริงเห็นจริงในเรื่องของความตายด้วยประการฉะนี้

    ในเรื่องของจิตที่เป็นสมาธินั้น ท่านมักจะกล่าวเสมอว่า สมาธินั้นมีอยู่ในตัว ของเราอยู่แล้ว แต่เรามักไม่ได้นำเอาออกมาใช้ฝึกฝนให้เป็นประโยชน์ สำหรับเรื่องจิตเป็นสมาธิของหลวงพ่อพุธ ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า ในตอนเด็กๆ มีเกิดขึ้นโดยท่านไม่ทราบ ไม่รู้จักมาก่อนเช่นกัน กล่าวคือ สมัยที่ท่านเป็น สามเณร ในวันหนึ่งท่านพระอาจารย์ของท่านไม่อยู่ และสั่งให้ท่านคอยเฝ้ากุฏิไว้ ท่านจึงลงนั่งอยู่ที่หน้าประตูกุฏิ ในระหว่างที่คอยอยู่นั้น จิตของท่านก็เข้าภวังค์ ลงสู่สมาธิ นิ่งสงบอยู่นานมาก นานจนพระอาจารย์ของท่านกลับมา พระอาจารย์ และชาวบ้านที่ติดตามมาด้วยเรียกท่านอยู่นาน เรียกอย่างไร...อย่างไร ท่านก็ ไม่ไหวติง จนชาวบ้านผู้นั้นมาผลักท่านกระเด็นออกไป นั่นแหละท่านจึงรู้สึกตัว ออกจากสมาธิ ชาวบ้านผู้นั้นว่ากล่าวท่าน...ว่าหลับไม่รู้เรื่อง เรียกอย่างไร เรียกเท่าใดก็ไม่ตื่น ท่านปฏิเสธว่าไม่ได้หลับ ชาวบ้านผู้นั้นก็ไม่ยอมเชื่อ หลวงพ่อพุธท่านเล่าว่า ในขณะที่คอยนั้น ท่านรู้สึกตัวตลอดเวลา และไม่ได้หลับ หลังจากปฏิเสธหลายครั้งและไม่มีใครเชื่อ ท่านจึงตัดความรำคาญด้วยการรับ สมอ้างว่าหลับ ซึ่งต่อมาภายหลังเมื่อท่านย้อนกลับไปพิจารณาอีกครั้ง จึงได้ทราบ แน่ชัดว่า เหตุการณ์ในครั้งเป็นสมาเณรนั้น ก็คือจิตเป็นสมาธินั่นเอง

    ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ หลวงพ่อพุธ ได้มาจำพรรษาที่วัดเขาสวนกวาง จังหวัด ขอนแก่น อาการป่วยด้วยโรควัณโรคยังไม่หายขาด ท่านเจ้าคุณอริยคุณาธาร จึงได้เร่งเตือนท่านว่า "คุณอย่าประมาท รีบเร่งปฏิบัติเข้าให้มันได้ภูมิจิตภูมิใจ อนาคตคุณจะไปนั่งเทศน์ในพระบรมมหาราชวัง"

    อาการป่วยของท่านเป็นๆหายๆ เรื่อยมาจนถึง ๑๐ ปี จึงได้หายอย่างเด็ดขาด ในปีถัดมา คือ พ.ศ. ๒๔๙๑ ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดบูรพา จังหวัด อุบลราชธานี อีกจนถึง พ.ศ. ๒๔๙๕ และในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ นี้เอง ท่านได้รับ การแต่งตั้งให้ช่วยงานเกี่ยวกับคณะสงฆ์ กล่าวคือ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้ช่วยเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ ซึ่งภายหลังได้เป็นเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐

    ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านจำพรรษาที่วัดแห่งนี้ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๐

    ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ นี้เอง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตร ชั้นตรี ที่ พระครูพุทธิสารสุนทร และ ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้รับพระราชทาน สมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตร ชั้นโท ในนามเดิม และในปีถัดมา พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นเอก ในนามเดิม

    ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ท่านจึงมาจำพรรษาที่วัดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ท่านดำรงตำแหน่ง เป็นเจ้าคณะจังหวัดอยู่เป็นเวลา ๒ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ นี้เอง ท่านยังได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นพิเศษ ในนามเดิมอีกด้วย ท่านจำพรรษา ณ วัดหลวง แห่งนี้ เป็นเวลา ๒ ปี และในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์อีกครั้ง เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระชินวงศาจารย์

    ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้มีการตั้งโรงเรียนพระสังฆาธิการขึ้นที่ วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ทางเจ้าคณะภาคฯ ได้ขอให้ท่านมาเป็น กรรมการบริหารโรงเรียนพระสังฆาธิการในส่วนภูมิภาค ท่านจึงย้ายมาเป็น เจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านได้ทำประโยชน์ ทั้งต่อพระบวรพุทธศาสนา และ ต่อสังคม เป็นอเนกอนันต์ โดยสม่ำเสมอเรื่อยมา ทั้งที่เป็นทางการและ ไม่เป็นทางการ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ท่านรับเป็นองค์อุปถัมภ์ มูลนิธิ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ท่านรับเป็นประธานและวิทยากรในการอบรมสมาธิครูและนักเรียนของเขต การศึกษาที่ ๑๑ อันได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัด บุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นภารกิจที่หนักและ น่าเหน็ดเหนื่อยเป็นอย่างยิ่ง และในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ นี้เอง ท่านได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ พระภาวนา พิศาลเถร ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ท่านรับเป็นผู้อำนวยการศูนย์อบรม สมาธิภาวนาวัดป่าสาลวันอีกประการหนึ่ง ในปีถัดมา พ.ศ. ๒๕๓๐ ท่านรับเป็นองค์อุปถัมภ์ทุนมูลนิธิคณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดนครราชสีมา และในปีต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๑ ท่านรับเป็นองค์อุปถัมภ์ กองทุนพระภาวนา พิศาลเถร เพื่อการพัฒนาคุณธรรมในเขตการศึกษาที่ ๑๑ (ปัจจุบันเปลี่ยน ชื่อเป็นกองทุนสายธารธรรม ในความอุปถัมภ์ของพระราชสังวรญาณ กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิ) แม้ว่าหลวงพ่อพุธ ท่านจะมีภารกิจทางศาสนาและการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมมากมาย แล้วก็ตาม เมื่อมีผู้ขอให้ท่านช่วยในกิจกรรมต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อ สังคมอีก ท่านก็เมตตารับเป็นธุระให้ ทำให้ภารกิจของท่านมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

    และในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ นี้เอง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชสังวรญาณ

    ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เรื่อยมา หลวงพ่อพุธท่านจะจำพรรษาที่วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา บ้าง หรือที่วัดวะภูแก้ว อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา บ้าง หรือที่วัดป่าชินรังสี อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา บ้าง สลับกันไป-มา

    และตลอดมา หลวงพ่อพุธมิได้เคยหยุดที่จะทำประโยชน์ต่อพระบวร พุทธศาสนาและต่อสังคมไทย ท่านยังคงรับเป็นองค์บรรยายธรรม และ อบรมสมาธิภาวนาให้กับพุทธบริษัทในสถานที่ต่างๆมาตลอด อาทิเช่น

    - อบรมธรรมปฏิบัติแก่ข้าราชการทหารบก กองทัพภาคที่ ๒ - เป็นองค์บรรยายในการอบรมแก่ข้าราชการทหารอากาศกองบินที่ ๑ - ให้การอบรมแก่ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ - ให้การอบรมแก่ผู้ที่เข้าปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ - บรรยายธรรมในงานวันวิสาขบูชา ในสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ที่ท้องสนามหลวง เป็นต้น

    และในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ นี้เอง ท่านได้รับพระราชทานรางวัล เสมาธรรมจักรทองคำ ในด้านส่งเสริมการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในประเทศ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ นี้เช่นกัน ท่านได้ดำริที่จะก่อตั้งมูลนิธิคณะสงฆ์ จังหวัดนครราชสีมา มหานิกาย และธรรมยุตขึ้น

    นอกจากท่านจะเอาใจใส่ในเรื่องอบรมธรรมปฏิบัติแล้ว ท่านยังสร้าง ประโยชน์ต่างๆให้กับสังคมไทยมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับ เด็กนักเรียน โรงเรียน และโรงพยาบาล อาทิเช่น

    - จัดสร้างโรงเรียนชินวงศ์อุปถัมภ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนในระดับประถม ศึกษา ที่บ้านวะภูแก้ว อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา - มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ทั้งในระดับ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา - มอบทุนสนับสนุนการก่อสร้างอาคารโรงเรียนต่างๆ ทั้งในเขต จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดต่างๆ - มอบทุนสนับสนุนการก่อตั้งมูลนิธิของโรงเรียน ตลอดจนหน่วยงาน ราชการต่างๆ - นอกจากนี้ท่านยังช่วยจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ให้กับโรงพยาบาลเสมอๆ - อีกทั้งยังมอบทุนสนับสนุนการก่อสร้างตึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาล มหาราช จังหวัดนครราชสีมา - รวมทั้งมอบทุนสนับสนุนการก่อตั้งมูลนิธิของโรงพยาบาลต่างๆอีกด้วย

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านมุ่งมั่นในเรื่องการอบรมธรรมปฏิบัติให้กับพระ ภิกษุสามเณร ศรัทธาญาติโยม และพุทธบริษัททั้งหลาย เสมอมา ท่าน หวังให้ทุกผู้ทุกคนได้เข้าใจถ่องแท้ถึงแก่นแห่งพระพุทธศาสนา สามารถ นำไปปฏิบัติได้อย่างถูกทางและถูกต้อง จะเห็นได้ว่า ท่านได้ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา เอาใจใส่ในอันที่จะชี้นำทางแห่งความสงบ สว่าง และหลุดพ้นจากอาสวกิเลสทั้งปวง ในทุกๆวิถีทาง และในทุกๆโอกาส โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย..เหนื่อยยาก แม้ว่าวัยของท่านจะสูงขึ้น สุขภาพของท่านเริ่มถดถอย แต่ภารกิจของท่านก็ยังคงมีมากมาย และ ดูเหมือนจะทยอยมีมาเพิ่มขึ้นเสมอๆ การดั่งนี้จึงเป็นที่เคารพบูชายกย่อง สรรเสริญจากพระภิกษุสามเณร และบรรดาศิษยานุศิษย์ทุกถ้วนหน้า สมดังพระหัตถเลขาของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาปริณายก ในธรรมโมทนาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ จาก หนังสือ ฐานิยปูชา ฉบับครบ ๖ รอบ ของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ที่ว่า....

    "ท่านเจ้าคุณพระราชสังวรญาณ เป็นพระเถราจารย์ผู้ทำประโยชน์แก่ พระศาสนาและประชาชนมามาก เป็นผู้ยินดีเอาใจใส่ในการอบรมสั่งสอน ธรรมะแก่พระภิกษุสามเณร ตลอดถึงสาธุชนผู้มาสู่สำนักด้วยเมตตา เป็นผู้ชี้นำในธรรมปฏิบัติ ทั้งเป็นผู้ปฏิบัติสำรวมตนในพระธรรมวินัย เป็นแบบอย่างอันดีแก่ศิษยานุศิษย์มาโดยตลอด กล่าวได้ว่าเป็นผู้ทรง เถรธรรมตามนัยแห่งพระพุทธภาษิต ที่ว่า...

    ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ อหึสา สญฺญฺโม ทโม ส เว วนฺตมโล ธีโร โส เถโรติ ปวุจฺจติ

    สัจจะ (ความจริง) ๑ ธรรม ๑ ความไม่เบียดเบียน ๑ ความสำรวม ๑ ความข่มใจ ๑ มีในผู้ใดผู้นั้นแล ท่านเรียกว่า ผู้มีปัญญา มีมลทินอัน คลายแล้วเป็นเถระ ดังนี้"

    จากหนังสือพระธรรมเทศนา หลวงพ่อพุธ ฐานิโย โดยธรรมสภา

    เครดิต http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-poot/lp-poot_hist.htm
     
  5. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ที่คุณปราบยกมาเป็นพระธรรมเทศนาเมื่อปี พ.ศ. 2529 ครับ

    หลวงพ่อปราโมช เคยเล่า (อ่านเจอ) ว่า ก่อนหลวงปู่มรณภาพไม่นาน ได้มีโอกาสกราบท่านอีกครั้ง หลังจากที่ไม่ได้พบหลวงปู่เลยช่วงสองสามปีที่ผ่านมา คราวหลังสุดนี้หลวงปู่ท่านเทศน์เปลี่ยนไป คืออ่านแล้วมีนัยบอกให้รู้ว่า ท่านจบกิจแล้ว (ก่อนหน้านั้นท่านเคยได้บอกกับหลวงพ่อปราโมชประมาณว่า ใครรู้ทั่วถึงก่อนก็ให้มาบอกแก่กัน) คิดว่าน่าจะเคยอ่านผ่านตามาบ้างแล้วเหมือนกันนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2017
  6. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762

    ไฟล์นี้เราเช็คได้ไหมครับ ว่า หลวงปู่ท่านเทศน์ไว้เมื่อไรครับพี่
     
  7. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ไม่ทราบเหมือนกันครับ ประเด็นมันกำลังจะถูกบิดไปหรือเปล่า อย่าพริ้วเยอะนะครับ ยกแบบนี้มา อย่างนั้นก็เอาพระธรรมของพระพุทธองค์เลย ดีไหม สองพันกว่าปีแล้ว ต้องไปค้นไหมอะครับ ว่าแสดงธรรม พ.ศ.อะไร

    ผมว่าเป็นเพราะ ป.ปราบ ยังไม่เก็ทธรรมมากกว่า ยังไม่แจ้งชัดในหนทางมรรคจริงๆ นั่นแหละ ดูจากเวลาคัดแคปเจอร์มาตัดแปะนี่สิครับ มันฟ้องเลย เพื่อนสมาชิกท่านดูออก ท่านก็พยายามเตื๊อนเตือน อ้อมๆ อ้อมแล้วก็อ้อมอีก ก็ยังไม่เก็ทสักที หรือดื้อก็ไม่รู้นะ

    นี่ถ้าลดอัตตาได้ ผมว่าเก็ทตั้งนานแล้ว ในสายตาผม ป.ปราบไม่ใช่คนไม่มีแวว คุณมีแววมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ขอเพียงคุณเห็นตัวปัญหาจริงๆ ได้ เส้นผมบังภูเขา ผงเข้าตาตัวเอง ต้องดูกันเอาเอง ขอจงอย่าประมาท ตกเป็นผู้เนิ่นช้าในธรรมอีกเลย
     
  8. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ผมเข้าใจว่าพี่ทีเปิดประเด็น ควรฟังพระ ตอนอายุปลายๆท่าน
    อายุปลายๆท่าน ท่านจะมีธรรมสุดยอด

    เลยหาไฟล์หลังมาให้ น่าจะอายุปลายๆท่าน
    ลองไปฟังดู ว่าแตกต่างกันตรงไหน
     
  9. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ส่วนอีกประเด็นที่ผมชอบแคบ บางส่วนท่านมาให้อ่าน หากไม่จบบริบท
    ก็ได้ทำลิ้งค์ให้คนสนใจไปฟังต่อ
    จะมีผลดีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับคนไปศึกษาต่อ
     
  10. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ปลายก็ไม่แน่หรอก ป.ปราบ ดูที่วิจารณญาณของคนตัดแปะนั่น กลางหรือไม่กลาง เห็นธรรมตรงจุดไหม ที่คัดสรรมาแปะบางช่วงบางตอนแบบให้อ่านกันจะจะนั่นคือมีประสงค์อะไรบ้าง จงตอบตัวเองเถิด
     
  11. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ปัญหาคงไม่ได้อยู่ตรงที่ชอบแคบ ก่อนชอบแคบมันต้องมีอะไรมาก่อน แล้วส่วนที่ชอบมันคือส่วนไหนด้วยอีกต่างหาก
     
  12. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    อ๋อประเด็นลงที่ตัวผมแต่เอาพระมาอ้าง

    โยงสองโพสเลยละกัน

    ใครอ่านหลวงปู่พุธ แล้วนำไปปฏิบัติ ก็ยินดีด้วย จะได้มากน้อยแล้วแต่คน

    ส่วนเรื่องตัวผม หากใครจะชี้ จะถกธรรม ไม่มีปัญหาผมชอบ

    หากจะอ้างความเป็นกลางก็จะมีแต่พระอรหันต์เท่านั้นละม้าง
    คนโพสกระทู้ สำหรับตัวผมเองนี้ อัตตาตัวตน เยอะแยะ

    ใคมาอ้างด้วยความเป็นกลาง มันก้หลอกตัวเองวันยังค่ำ

    ส่วนจุดประสงค์ผมมีอยู่แล้วครับ
    บางจังหวะมีคนฝึกแล้วติดขัด
    กำลังเจอปัญหา เลยหาช่วงจังหวะเฉพาะจุด มาเป็นแนวทาง
    แล้วโยงให้ไปฟังพระท่านแบบเต็มๆ

    ผู้หันมาเป็นนักปฏิบัติ ส่วนใหญ่ ขาดการฟังพระเทศน์ ชอบฟังคนป่วยด้วยกัน

    เลยไม่ไปไหนสักที วนอยู่ในอ่างคนป่วยด้วยกันนั่นแหล่ะ
     
  13. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ถ้าเขาไม่พูด ป.ปราบ จะเห็นไหมล่ะครับ ถ้าเห็นอยู่ ก็สาธุด้วย ทีนี้มันก็ต้องฝึกเห็นกันบ่อยๆ หลงไม่หลง สมาทานศึกษาหนทางแห่งมัชฌิมาปฏิปทาไป เรื่องสุดโต่งมันมีได้ตลอดสายนั่นแหละครับ อย่างที่ ป.ปราบว่า ตราบใดยังไม่ใช่อรหันต์นั่นแหละ แต่ก็อย่าลืมว่า มัชฌิมาปฏิปทาจะต้องสมาทานให้มีมาก่อนตั้งแต่ต้นเลยทีเดียว อย่าลืมข้อนี้ไป
     
  14. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ในความเป็นจริง
    การเริ่มต้น มันไม่มีใครเห็นมัฌชิมาหรอกครับ
    คนที่เริ่มฝึก มันต้องออกไปสุดโต้งข้างใดข้างหนึ่ง
    หลังจากฝึกไปแล้ว มีความเพียร มันจะค่อยๆเข้าเห็นทางกลาง
    แล้วจึงเลือกตัดสิ้นด้วยตัวเอง
    สำหรับคนที่ฝึกต่อเนื่อง


    แต่คนที่หยุดๆทำๆ มันจะได้แต่ปากว่า มันจะไม่เห็นส่วนสุดของตนเอง
    จะไม่เห็นทางกลางของตนเอง

    พอมันเห็นทางกลางของตนเองแล้ว มันจึงจะตรงกับที่ ต้องมีมัฌชิมาเป็นเบื้องต้น


    สำหรับเทคนิกการเลือกมัฌชิมา เป็นแนวทาง
    ก้ต้องไปฟังคำสอน วิธีทำ จากพระสงฆ์ ที่ท่านฝึกมาตามพระพุทธเจ้า
    หรือใครจะไปเลือกเปิด พระไตรปิฎก ว่าในส่วนวิธีทำ ก้ไม่มีใครห้าม

    หลังจากนั้น จึงมาพิศูจน์ ด้วยการลงมือทำ

    ทีนี้ การลงมือทำ
    จึงสำคัญ
    เป็นเรื่องเฉพาะตน ที่ตนเองจะเข้าถึงมัชฌิมาปฏิปทา
    ก็ว่าไป

    การเลือกศึกษาวิธีทำ จึงเป็นสิ่งสำคัญ อันดับต้นๆ
    เลือกทางถูกเดินทางเร็ว
    เลือกทางผิดเดินทางช้า
     
  15. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    เรื่องเอาพระมาอ้างนี่ไม่ใช่นะครับ คุณยกธรรมที่พระท่านแสดงส่วนไหนมา ผมก็ชี้อะไรให้คุณดูไปแล้ว ตามนั้นจริงๆ ไม่เข้าใจก็ไม่เข้าใจนะครับ แต่คุณยกส่วนนี้มาโฟกัสมันก็ต้องมีอะไรนั่นแหละ ทีนี้คุณธรรมท่านไปถึงไหนต่อไหนแล้ว ถึงได้บอกเลี่ยงๆไปไง ว่าจะดูสุดยอดธรรมครูบาอาจารย์ให้ดูธรรมเทศนาตอนท้าย ๆ ก่อนท่านละสังขาร (อย่าเอาท่านมาสนองกิเลสตนเองเลย) ยังยกเรื่องที่หลวงพ่อปราโมชเล่าให้อ่านด้วย ต้องตอบตัวเองให้ตรงๆให้ได้ว่า ยกขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์อะไร นี่แหละจะซื่อตรงหรือไม่ซื่อตรงต่อสัจจะความจริงที่ปรากฏหรือไม่ มันจะบอกอะไรได้เยอะ จะบรรลุหรือไม่บรรลุ ความซื่อตรงตรงนี้สำคัญมาก ไม่มีใครรู้ นอกจากคุณรู้ของคุณคนเดียวนะ
     
  16. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    เอ่อ งั้นเข้าเรื่องใหม่นะครับ


    พี่ทีต้องการอะไรครับ

    1. อยากให้ผมนำแต่คำเทศน์ที่พระเทศน์ ในส่วนปลายๆอายุท่านงั้นรึ
    2. คำเทศน์ ที่ไม่ใช่ช่วงปลายๆ ยังไม่สมควรฟังงั้นรึ
    3. ประเด็นที่ผมเน้น ยกมา เพราะมีคนกำลังฝึกอยู่ หากได้อ่านผ่านๆตาไปบ้าง จะคลายความสงสัย และ มีความแน่วแน่ในการฝึกมากขึ้น และจะมีความปลอดภัยในการปฏิบัติ
    ซึ่งผมก้แจ้ง ไปแล้ว ว่ามีจุดประสงค์
    ส่วนใครจะอ่านไว้เป็นแนวทาง จะได้ประโยชน์มากน้อยก้แล้วแต่บุคคลนั้น

    ส่วนอีกชื่ออย่าเอามาร่วมกับหลวงปู่เลยครับ

    4.พี่ทีลองไปฟัง ไฟล์สุดท้ายที่ผมนำมา ว่ามีความแตกกต่างจากไฟล์ต้นกระทู้มั้ย
     
  17. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ก็กล่าวไปหมดแล้ว ว่าไปเอาธรรมส่วนไหนเมื่อไหร่ของครูบาอาจารย์มา แล้วเอามาเพื่ออะไร แล้วรู้ไหมว่ามันกลางหรือไม่กลาง เจ้าของเลือกเฟ้นธรรมมาแบบไหนมันก็บ่งบอกตัวตนเจ้าของน่านแหละครับ

    จึงได้เลี่ยงให้ไปโฟกัสธรรมเทศนาของหลวงปู่ท่านในยุคหลังๆ ดีกว่า ของสมบูรณ์กว่าก็มีอยู่ เลยได้เป็นเหตุให้กล่าวเรื่องกาลเวลาออกไป ทีนี้พี่ก็ดิ้นไม่เข้าท่า ไปหาคำสอนครูบาอาจารย์มาอ้างให้หา พ.ศ.เทศน์ซะอีกนิ คือจะแย้งว่าเทศน์เมื่อไหร่ก็เหมือนกันหมด แต่ผมว่าไม่เหมือน แต่คุณดูไม่เป็นเอง ผมถึงได้พูดเรื่องความเป็นกลางไงล่ะ เก็ทหรือยัง แล้วทีนี้เห็นความไม่ซื่อของตัวเองขึ้นมาบ้างไหม นี่แหละถ้าจุดนี้ไม่ซื่อ เวลาเห็นสภาพธรรมปรากฏมันก็ซื่อตรงไปไม่ได้เหมือนกัน ฝึกไปจากเรื่องหยาบๆ ข้างนอกๆ ข้างๆคูๆ นี่แหละเป็นต้นไปครับ นี่แหละสีลวิสุทธิ นี่แหละธรรมเทศนาของหลวงปู่ที่คุณยกเอามาอ้างตอนท้ายๆ ท่านเน้นว่า สีเลนะนิพพุติงยันติฯ มันเป็นอย่างนี้ ไปดูเอาเองเลยครับ
     
  18. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    อ่านแล้วก็กลุ้ม

    ไฟล์เรื่องจิตะภาวนา ชื่อก็บอกตรงๆ ท่านสอนรวมไว้หมดแล้ว
    ลองฟังอันล่าสุดบ้างปะไร แตกต่างกันตรงไหน
     

แชร์หน้านี้

Loading...