ฝึก กรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย ธรรม-ชาติ, 16 ตุลาคม 2013.

  1. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    สวัสดีค่ะ ทุกวันนี้ก็สวดมนต์ทุกเช้าเย็นค่ะ
    เมื่อก่อนกลางคืนนั่งสมาธิโดยตามลมหายใจ
    บางครั้งก็สงบ นิ่งดี บางครั้งก็รู้สึกว่าไม่สงบ
    ไม่สงบไม่ได้ฟุ้งซ่านนะคะ แต่รู้สึกว่ามันไม่ดิ่ง เงียบๆลงไป
    บางครั้งก็เหมือนมันง่วงนอนด้วยค่ะ

    แต่หลังๆนี่ใช้วิธีฟังธรรมมะไปด้วย ทำสมาธิไปด้วย
    ตามลมหายใจ ภาวนา พุทโธ ไปด้วย สักพักก็หยุดภาวนา
    ไม่ใช่ขี้เกียจแต่มีความรู้สึกว่าหยุดภาวนาแล้วลมหายใจมันเป็นธรรมชาติ

    +++ ถูกต้องแล้วที่ "หยุดภาวนาแล้วลมหายใจมันเป็นธรรมชาติ" แต่ที่ครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ท่านให้ทำเช่นนั้นก็เพื่อเป็นการป้องกัน ไม่ให้ความคิดมันเกิดขึ้นมาเพ่นพ่านวุ่นวาย จนไม่สามารถสงบตัวลงได้

    +++ แต่ยามใดที่เราสงบได้ ทุกอย่างมันก็จะเป็นธรรมชาติด้วยตัวมันเอง

    แล้วลมหายใจจะค่อยๆเบาไปเองค่ะ พอทำแบบนี้กลับรุ้สึกตัวดี
    นิ่ง สบาย พอนั่งแป๊บนึงรู้สึกเหมือนมันมึนๆนะคะ

    +++ ถูกต้อง อาการ มึน ๆ หนึบ ๆ หยุ่น ๆ เกิดขึ้นเพราะ "ลมหายใจเริ่มละเอียดลงไปเรื่อย ๆ"

    สักพักก็เหมือนชาๆตามตัว เหมือนขนลุก สักพักจะสบาย
    นั่งไป ไม่เมื่อยไม่ปวด มันสบายๆมาก ไม่อยากเลิกเลยค่ะ
    รู้สึกว่ามันมืด มันเงียบมากๆ แต่ก็ได้ยินเสียงรอบๆตัวอยู่
    (หมายถึงเสียงแฟน กรนหรือเวลาพลิกตัว)

    +++ ถูกต้อง ตรงนี้มีอยู่ในพระไตรปิฏกที่เรียกว่า "มีสุขด้วยนามกาย" นอกจากจะสบายแล้ว ยังรู้ตัว "ชัดเจน" อีกด้วย

    บางครั้งเหมือนออกจากความสงบเงียบนั้น
    แต่ความสบาย ความนิ่งยังมีอยู่ ก็ไม่รู้ว่านี่มันคืออะไรคะ

    +++ ตรงนี้เป็นผลต่อเนื่อง จากการได้สมาธิ หากกลับไปทำสมาธิใหม่ จะเข้าได้ง่าย เกือบจะทันที

    มีครั้งนึงพอนั่งสมาธิเงียบๆ ดิ่งๆลงไปอยู่ๆก็เกิดความคิดขึ้นมา
    แบบมันเกิดขึ้นเองว่านี่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เราๆ วนๆอยู่แล้วก็หายไปค่ะ

    +++ ให้ทราบไว้อย่างหนึ่งว่า "ทุกอย่างที่มาจากความคิด ห้ามเชื่อถือมันโดยเด็ดขาด" นะครับ
    +++ และควรทราบไว้อีกอย่างหนึ่งว่า "ความจริงทางกรรมฐานที่ปรากฏ จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความคิดเลย แม้แต่นิดเดียว"

    +++ และความคิดที่บอกว่า "นี่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เราๆ วนๆอยู่แล้วก็หายไป" นั้น ตัว "ความคิดเอง" เป็น "กิเลส" ที่เรียกว่า "สิ่งลวงใจ" และมีอยู่ตลอดเวลา

    พอเลิกนั่งสมาธิไปนอนก็เหมือนความชาๆนั่นยังมีอยู่
    ไปนอนตามลมหายใจจนหลับไป หลับสนิทจริงๆเลยค่ะ
    และควรทำอย่างไรต่อไป ขอความกรุณาแนะนำหน่อยนะคะ

    +++ เมื่อได้ "ความรู้สึกทั้งตัวแล้ว" ให้อ่าน "สติ ตามระดับของผู้ฝึก" ในโพสท์ที่ 5 ข้อที่ 3 แล้วเริ่มฝึก "วสี 5" คือ "เข้า" "ออก" "เร่ง" "ผ่อน" "ตรึง แช่ และ อยู่" กับความรู้สึกทั้งตัว ให้ได้ดังใจปรารถนา

    +++ หากมี ปัญหา หรือ ปรากฏการณ์ ใดเกิดขึ้นจากการฝึก ก็ให้นำลงมาโพสท์ในกระทู้นี้ได้ นะครับ
     
  2. naris520

    naris520 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +56
    สวัสดีค่ะ ขออนุญาติฝึกด้วยคนค่ะ แต่ยังไม่ค่อยแน่ใจเกี่ยวกับความรู้สึกทั้งตัวค่ะ ปกติแล้วเวลานั่งสมาธิจะจัดท่าที่จะทำให้รู้สึกสบาย แล้วต่อมามักจะมีอาการดึง ๆ ตึงๆ ตรงหน้าผากไปจนถึงรากฟันแต่ใจกับรู้สึกสบาย ไม่ทราบว่าอาการดึง ๆ ตึงๆ นี้จะจัดเป็นความรู้สึกทั้งตัวหรือเปล่าค่ะ
     
  3. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ฝึกได้ตามสะดวกเลยนะครับ สำหรับ "ท่านั่ง" ที่เหมาะสมที่สุด ควรเริ่มจาก "สบายแต่มั่นคง" ลองทำได้ดังนี้

    1. ให้นั่ง หลับตา และ ขยับตัวให้เกิดความ สบายและสะดวก แต่มั่นคง ไปในเวลาเดียวกัน
    2. ให้สังเกตุดูนะครับว่า เมื่อ "ขยับตัวได้ที่แล้ว" ทั้งร่างกาย และ จิตใจ จะเกิดอาการ "หยุดตัวลงพร้อมกัน" ชั่วแว็ปหนึ่ง
    3. ตรงที่ "ร่างกาย และ จิตใจ หยุด" ลงชั่วแว็ปเดียว ตรงนี้ นั้น มีกล่าวอยู่ในพระไตรปิฏกว่า "ความสงบ ชั่ว งูแลปลิ้น" และกล่าวอีกว่า ยังได้ประโบชน์ดีกว่าบุคคลที่ไม่เคยพบความสงบเลยชั่วชีวิต

    4. หากผู้ใดสามารถ "หาเจอ และ อยู่กับตรงนี้ได้" ก็จะร่นระยะเวลาในการฝึกได้มากทีเดียว เพราะตรงนี้เป็น จุด ที่ "สติ และ สัมปชัญญะ" ทรงตัวอยู่ในที่เดียวกัน รวมทั้ง "ร่างกาย และ จิตใจ" หยุดตัวลง ชั่วขณะ และตรงนี้เป็นจุดที่ "สติทรงตัวเป็นสมาธิ" อยู่ในตัวอีกด้วย

    5. ถ้าหากหาเจอตรงนี้ ก็จะรู้ได้ในขณะนั้นว่า "ความรู้สึกทั้งตัว" ก็จะปรากฏมาเองตามธรรมชาติ ในขณะนั้น ๆ ด้วย

    +++ ให้ตรวจสอบกับโพสท์ที่ 7 ข้อที่ 2 ในหน้า 1 ประกอบกันไปด้วยนะครับ

    แล้วต่อมามักจะมีอาการดึง ๆ ตึงๆ ตรงหน้าผากไปจนถึงรากฟันแต่ใจกับรู้สึกสบาย ไม่ทราบว่าอาการดึง ๆ ตึงๆ นี้จะจัดเป็นความรู้สึกทั้งตัวหรือเปล่าค่ะ

    +++ อาการ ดึง ๆ ตึงๆ นี้จัดเป็นความรู้สึกเหมือนกันครับ แต่ยังจำกัดอยู่ในบริเวณส่วนศีรษะเท่านั้น แต่ถ้าหากสามารถขยายได้ทั้งตัว จึงจะถือได้ว่าสมบูรณ์และฝึกต่อจากโพสท์ที่ 7 ในหน้า 1 ได้เลยครับ

    +++ ระหว่างการ "ขยายความรู้สึกทั้งตัว" กับการหา "จุดหยุด แล้วอยู่" นี้ หากสามารถทำสิ่งใดได้ก่อน ก็ให้ทำสิ่งนั้นไปเลย เพราะจะต้องทำการฝึก "เพิ่ม" หรือ "ลด" ความรู้สึกตัว แบบเป็น % ต่อไปเหมือนกันตามหน้า 1 โพสท์ที่ 7 นะครับ
     
  4. naris520

    naris520 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +56
    ขอบคุณค่ะ แต่ยังมีข้อสงสัยบางประการเกี่ยวกับการขยายความรู้สึกทั้งตัวค่ะ ขอท่านธรรม-ชาติอธิบายเพิ่มเติมได้ไหมค่ะ จะมีวิธีการอย่างไร วางอารมณ์อย่างไร กำหนดอย่างไร และสภาวะของการขยายความรู้สึกทั้งตัวที่เพิ่มขึ้นจะมีลักษณะเป็นอย่างไรค่ะ ในกรณีของอาการดึง ๆ ตึง ๆ ตรงศีรษะเคยตามดูความรู้สึกบางครั้งก็จะออกมาในรูปของเหมือนกับว่าศีรษะโดนดึงอย่างแรงให้แยกออกจากกัน บางครั้งความรู้สึกก็ไหลลงมาเรื่อย ๆ ผ่านมาได้แค่ลำคอก็จะเกิดอาการระคายเคืองตรงลำคอทำต่อไม่ได้ ไม่ทราบว่าอาการเหล่านี้เป็นลักษณะของการขยายความรู้สึกหรือเปล่า
     
  5. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ใช้การดู สร้างความรู้สึกทั้งตัว

    ขอบคุณค่ะ แต่ยังมีข้อสงสัยบางประการเกี่ยวกับการขยายความรู้สึกทั้งตัวค่ะ ขอท่านธรรม-ชาติอธิบายเพิ่มเติมได้ไหมค่ะ

    +++ ได้ครับ

    จะมีวิธีการอย่างไร

    +++ ใช้หลักง่าย ๆ คือ "ดูที่ตรงไหน ความรู้สึก ก็ จะเกิดขึ้นที่ตรงนั้น"

    วางอารมณ์อย่างไร

    +++ ไม่มีการวางอารมณ์ใด ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ในขณะนี้

    กำหนดอย่างไร

    +++ ใช้การ "กำหนดที่เหมือนกับอาการ ดู ภายในร่างกาย" ด้วยหลัก "ดูตรงไหน ก็รู้สึกตรงนั้น" โดยเริ่มจาก

    1. ดูใบหูซ้าย ก็ รู้สึกที่ใบหูซ้าย
    ดูใบหูขวา ก็ รู้สึกที่ใบหูขวา
    ดูท้ายทอย ก็ รู้สึกบริเวณท้ายทอย

    2. ขยายขอบเขต ให้ดูภายใน กระโหลกศีรษะทั้งหมด ก็ จะรู้สึกภายในกระโหลกศีรษะทั้งหมด

    3. เพิ่มขอบเขตการดู ให้ขยายจากกระโหลกศีรษะทั้งหมด ให้ครอบคลุมลำคอ ตลอดมาจนถึง ทรวงอกและท้อง ก็จะได้ความรู้สึก คร่าว ๆ แบบครึ่งตัว

    4. เพิ่มขอบเขตการดู ให้ขยายเพิ่มไปยังหัวไหล่ทั้งสอง และแขนทั้งสอง ตลอดจนฝ่ามือทั้งสอง ก็จะได้ความรู้สึก คร่าว ๆ แบบครึ่งตัวท่อนบนทั้งท่อน

    5. ในขณะที่ ครึ่งตัวท่อนบนทั้งท่อนยังอยู่ ก็ให้ เพิ่มขอบเขตการดู ให้ขยายเพิ่มไปยังตะโพกทั้งสอง จนถึงเข่าทั้งสอง ตลอดจนถึง เท้าและฝ่าเท้าทั้งสอง

    +++ ก็จะได้เป็น "ความรู้สึกทั้งตัว" จากนั้นก็ให้ "อยู่" กับความรู้สึกตัวทั้งตัวนี้ ให้ชำนาญ

    และสภาวะของการขยายความรู้สึกทั้งตัวที่เพิ่มขึ้นจะมีลักษณะเป็นอย่างไรค่ะ

    +++ ลองทำดูทีละขั้นตอนจาก 1-5 ทีละขั้น ก็จะทราบได้ชัดเจนว่า "การขยายความรู้สึกทั้งตัวที่เพิ่มขึ้นจะมีลักษณะเป็นอย่างไร" เพราะ ตรงนี้ไม่สามารถรู้ได้ด้วยคำอธิบาย แต่จะรู้ชัดได้ด้วย การกระทำ เท่านั้น

    ในกรณีของอาการดึง ๆ ตึง ๆ ตรงศีรษะเคยตามดูความรู้สึกบางครั้งก็จะออกมาในรูปของเหมือนกับว่าศีรษะโดนดึงอย่างแรงให้แยกออกจากกัน

    +++ ตรงนี้เป็น "อาการที่มีอยู่จริง" แต่หากจะอธิบายในขณะนี้ "คำอธิบายจะกลับมาเป็นอุปสรรค ในขั้นตอนของ การถอดกาย" ได้ในภายหลัง จึงงดคำอธิบายไว้ก่อน

    บางครั้งความรู้สึกก็ไหลลงมาเรื่อย ๆ ผ่านมาได้แค่ลำคอก็จะเกิดอาการระคายเคืองตรงลำคอทำต่อไม่ได้ ไม่ทราบว่าอาการเหล่านี้เป็นลักษณะของการขยายความรู้สึกหรือเปล่า

    +++ ใช่แล้ว ให้ทบทวนขั้นตอนจาก 1-5 และในยามที่ขยายผ่านลำคอลงมา ให้ขยายอย่างคร่าว ๆ เท่านั้น แล้วให้ต่อลงไปยัง ทรวงอกและท้อง ตามขั้นตอนที่ 3 เลย หากการขยายไปติดขัดตกค้างบริเวณลำคออีก ก็จะเกิดการระคายเคืองตรงลำคอได้

    +++ ตรงนี้ ให้ทราบไว้ว่า "การดู" เป็นพลังงานรูปหนึ่ง ที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกได้ทั้ง ทางกายและจิต ดังนั้น การฝึก "การดู ที่ถูกต้อง" ย่อมนำมาใช้ประโยชน์ได้
    +++ ดังนั้นให้พยายามฝึกทำ "ความรู้สึกทั้งตัว" ให้ได้ก่อนที่จะฝึกอย่างอื่น และสิ่งที่ชัดเจนที่สุดคือ "ความรู้สึกทั้งตัว เกิดจาก พลังแห่งการดูทั้งตัว" นะครับ
     
  6. naris520

    naris520 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +56
    ขอบคุณค่ะ แล้วจะพยายามฝึกการขยายความรู้สึกตามขั้นตอนที่ 1-5 ตามที่ท่านธรรม-ชาติแนะนำให้คล่องค่ะ ขอบคุณค่ะ
     
  7. *ธรรมดา*

    *ธรรมดา* เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +924
    ขอเริ่มฝึกใหม่ด้วยอีกคนครับ หลังจากหลงทางไปนาน ตอนนี้กำลังทวนอยู่คับ...
     
  8. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    เอาให้ตรงทาง นะครับ
     
  9. mobilelizard

    mobilelizard เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    558
    ค่าพลัง:
    +4,678
    ฝึกแล้วได้ผลยังไง เจออะไร ติดขัดยังไงก็ลองถามคุณธรรมชาติ ดูนะครับ อย่าไปเดาเอง ผมก็ถามคุณธรรมชาติบ่อยๆ
     
  10. naris520

    naris520 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +56
    สวัสดีค่ะ เข้ามาส่งอารมณ์ค่ะ ยังปฏิบัติไปไม่ถึงไหนเลยค่ะ ความรู้สึกตัวเด่น ๆ ก็ยังเป็นสองจุดเช่นเดิมค่ะ คือส่วนของศีรษะซึ่งเหมือนจะสัมผัสได้ถึงอัตราการเต้นของชีพจร พร้อมกันแรงดึง และส่วนของข้อศอกลงมาถึงนิ้วมือทั้งสองข้างจะรู้สึกหนัก รู้สึกชาคล้าย ๆ กับอาการเป็นเหน็บแต่เบาบางกว่าและรู้สึกถึงอัตราการเต้นของชีพจรตามนิ้วมือต่าง ๆ ยังไม่สามารถที่จะขยายความรู้สึกดังกล่าวออกไปได้ทั้งตัว แต่สามารถรู้สึกถึงอาการต่าง ๆ ทั้งสองจุดได้ถี่ขึ้น หากไม่เคลื่อนไหวร่างการก็จะรู้สึกได้ถึงอาการทั้งสองจุด แต่จุดที่เด่นที่สุดจะเป็นช่วงของศรีษะ ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะการกำหนดแบบเดิมร่วมกับการดูหรือเปล่าทำให้ไม่ไปถึงไหน ปกติแล้วจะชอบดูความรู้สึกในลมหายใจ บางครั้งก็รู้สึกว่ามีความอยากในลมหายใจมาก บางครั้งก็น้อย บางครั้งก็สบาย หรือบางครั้งถ้าไม่รู้สึกอะไรก็จะรู้สึกว่ายังหายใจ ไม่ชอบดูลมหายใจตรงๆ มันให้ความรู้สึกอึดอัดเหมือนเป็นการบังคับ ไม่สบาย จึงชอบดูความรู้สึกในลมหายใจมากกว่ามันจะสบายมากกว่า แต่อาการทั้งสองจุดก็รู้สึกแต่ไม่ค่อยให้ความสำคัญนอกจากจะมีอาการเด่น ๆ จึงจะเข้าไปดูในสองอาการนี้ ไม่ทราบว่าถ้าจะทำให้ความรู้สึกทั้งสองจุดนี้ให้ขยายมากขึ้นต้องทิ้งการดูความรู้สึกในลมหายใจหรือเปล่าค่ะ เพราะบางครั้งยังแอบติดไปดูความรู้สึกในลมหายใจอยู่เลยค่ะ
     
  11. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    สวัสดีค่ะ เข้ามาส่งอารมณ์ค่ะ ยังปฏิบัติไปไม่ถึงไหนเลยค่ะ ความรู้สึกตัวเด่น ๆ ก็ยังเป็นสองจุดเช่นเดิมค่ะ คือส่วนของศีรษะซึ่งเหมือนจะสัมผัสได้ถึงอัตราการเต้นของชีพจร พร้อมกันแรงดึง

    +++ ยามใดก็ตาม หากรู้สึกถึง ชีพจร แล้วก็ให้ทราบไว้ว่า ในบริเวณนั้นได้ผ่านการ "แช่" ไปแล้ว ในขณะที่ส่วนอื่น ๆ ไม่ได้รับการ วางจิต ที่เสมอกัน จึงเกิดความต่างกันของความรู้สึก

    และส่วนของข้อศอกลงมาถึงนิ้วมือทั้งสองข้างจะรู้สึกหนัก รู้สึกชาคล้าย ๆ กับอาการเป็นเหน็บแต่เบาบางกว่าและรู้สึกถึงอัตราการเต้นของชีพจรตามนิ้วมือต่าง ๆ ยังไม่สามารถที่จะขยายความรู้สึกดังกล่าวออกไปได้ทั้งตัว

    +++ อาการ หนักชา ๆ คล้ายเป็นเหน็บ เป็นอาการที่ถูกต้อง หากสามารถ แช่อยู่กับมันได้ละเอียดกว่านี้ ก็จะกลายเป็น คล้ายกับสนามพลังงานแม่เหล็กชนิดหนึ่ง ก่อนที่จะเข้าไป อยู่ กับ ชีพจร

    แต่สามารถรู้สึกถึงอาการต่าง ๆ ทั้งสองจุดได้ถี่ขึ้น หากไม่เคลื่อนไหวร่างการก็จะรู้สึกได้ถึงอาการทั้งสองจุด แต่จุดที่เด่นที่สุดจะเป็นช่วงของศรีษะ ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะการกำหนดแบบเดิมร่วมกับการดูหรือเปล่าทำให้ไม่ไปถึงไหน

    +++ ถูกแล้ว การฝึกแบบของเดิมนั้น คือ อุปนิสัย ที่จิตมักจะกลับไปเป็นอย่างเดิม ดังนั้นให้พยายาม สร้างอุปนิสัยของความรู้สึกทั้งตัว ขึ้นมาใหม่

    ปกติแล้วจะชอบดูความรู้สึกในลมหายใจ บางครั้งก็รู้สึกว่ามีความอยากในลมหายใจมาก บางครั้งก็น้อย บางครั้งก็สบาย หรือบางครั้งถ้าไม่รู้สึกอะไรก็จะรู้สึกว่ายังหายใจ ไม่ชอบดูลมหายใจตรงๆ มันให้ความรู้สึกอึดอัดเหมือนเป็นการบังคับ ไม่สบาย จึงชอบดูความรู้สึกในลมหายใจมากกว่ามันจะสบายมากกว่า

    +++ มันเป็นเช่นนั้นแหละ ยามใดที่ดูลมหายใจแล้ว สัมผัสกับช่องทางเดินลม อิทธิพลจากพลังงานของการดูจะเข้าไปแทรกแซงระบบการหายใจ ดังนั้น การดูเฉพาะการเคลื่อนตัวของลม ที่ไม่เกี่ยวกับ ช่องทางเดินลม ย่อมสบายกว่า เป็นธรรมดา

    แต่อาการทั้งสองจุดก็รู้สึกแต่ไม่ค่อยให้ความสำคัญนอกจากจะมีอาการเด่น ๆ จึงจะเข้าไปดูในสองอาการนี้ ไม่ทราบว่าถ้าจะทำให้ความรู้สึกทั้งสองจุดนี้ให้ขยายมากขึ้นต้องทิ้งการดูความรู้สึกในลมหายใจหรือเปล่าค่ะ เพราะบางครั้งยังแอบติดไปดูความรู้สึกในลมหายใจอยู่เลยค่ะ

    +++ ถูกแล้ว ต้องวางเรื่องลมหายใจแล้วมาอยู่กับ ความรู้สึกทั้งตัว ทำให้ได้คร่าว ๆ พร้อม ๆ กันทั้งตัว ยามใดที่ทำได้แล้ว ก็ให้ "แช่" อยู่อย่างนั้นไปก่อน จนถึง รับรู้ชีพจร ที่เกิดพร้อมกันทั้งตัว จนกายทั้งกายสามารถโยกไปตามจังหวะการเต้นของชีพจรได้ ก็จะเกิดความเพลิดเพลินขึ้นมา ก็ให้อยู่กับ ความเพลิดเพลินนั้น จนความเพลิดเพลินเปลี่ยนมาเป็น ความเบาสบายใสเป็นแก้ว แล้วให้สังเกตุใบหน้าของตนเอง ว่าเกิดอาการยิ้มน้อย ๆ แบบพระพุทธรูป ทั้ง ๆ ที่จิตใจยังเฉยอยู่และปราศจากเจตนาในการยิ้มหรือไม่

    +++ หากเกิดอาการอย่างที่กล่าวมาตามข้างบน จึงจะนับได้ว่า "มหาสติสามารถครองฐานได้" และเริ่มเข้าที่เข้าทางแล้ว นะครับ
     
  12. naris520

    naris520 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +56
    สวัสดีค่ะท่านธรรม-ชาติ มีเรื่องจะเรียนถามและขอวิธีแก้ไขค่ะ คือเมื่อก่อนบางครั้งเมื่อนั่งสมาธิแล้วก็นอนด้วยการภาวนาไปด้วย บางครั้งก็จะรู้สึกว่าเหมือนกับแขนขามันยกขึ้นมาเองหรือบางครั้งก็เป็นกริยาของการดัดตัวก็ไม่ได้สนใจอะไรนึกว่าฝันไป ก็ปล่อยมันไปอยากจะทำอะไรก็ทำไปก็จะเข้าสู่การนอนปกติ หรือบางครั้งนอนภาวนาไปแล้วในช่วงที่รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาก็อยากจะลืมตาหรือขยับตัวบางครั้งมันก็ลืมตาหรือขยับตัวไม่ค่อยได้ต้องใช้ความพยายามมากกว่าปกติจึงจะขยับตัวได้ก็ไม่ค่อยสนใจอะไรมันมากเพราะมันยังตื่นได้อยู่ แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งที่เห็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น คือ นั่งสมาธิและต่อด้วยการนอนภาวนาปกติแต่ยังไม่หลับก็เริ่มรู้สึกว่าแขนขามันยกขึ้นอีกแล้ว ก็ดูมันเรื่อยๆ ต่อมาก็เริ่มรู้สึกว่ามีแรงมาดึงให้มันลอยขึ้นไปติดบนฝาผนังเพดานแล้วก็เคลื่อนลอดผ่านประตูลอยผ่านคนในบ้านออกประตูไปในอากาศสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ก็พยายามดิ้น ขัดขืน ก็ระลึกขึ้นมาได้ว่าทำไมต้องดิ้น จึงทำความรู้สึกสบาย แล้วความรู้สึกตัวก็กลับมายังห้องอีกครั้ง ก็ระลึกขึ้นมาได้ว่านี้เป็นความฝันหรือเป็นความจริง ก็เลยลองยกมือขึ้นเพื่อจะสกิดคนข้าง ๆ มันก็ยกขึ้นไปสกิดนะแต่มันไม่สามารถสัมผัสตัวของคนข้าง ๆ ได้ ก็เลยรู้สึกตระหนักขึ้นมาว่านี้เราตายแล้วหรือ เป็นวิญญาณหรือ ก็พยายามกำหนดลืมตาขึ้น ก็ยังไม่ได้ ต้องใช้กำลังมากขึ้นจึงจะลืมตาตื่นขึ้นมาได้ ต่อมาก็มักจะมีเหตุการอย่างนี้อีก 2-3 ครั้ง บางครั้งก็วนเวียนอยู่แถวนั้น บางครั้งก็ไปที่ไหนก็ไม่รู้ แต่ช่วงหลังจะทราบกริยาตั้งแต่ตอนต้นและสามารถกำหนดให้ลืมตาตื่นขึ้นมาได้ทุกครั้งโดยหากระลึกว่าลืมภาวนาหรือกำหนดให้นั่งสมาธิก็จะตื่นขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งมันเป็นไปโดยไม่ได้มีเจตนา เคยเจตนาทำดู 2-3 ครั้งก็ทำไม่ได้จึงเลิกทำ และไม่เกิดอาการดังกล่าวอีกเลยประมาณเดือน กว่า ๆ
    แต่วันนี้อาการดังกล่าวกับมาอีกแล้ว ก็เริ่มด้วยการนั่งสมาธิและต่อด้วยการนอนภาวนา แต่ไม่เห็นการขยับตัวหรือการสั่นสะเทือนของร่างกาย และเริ่มรู้สึกตัวอีกครั้งก็ตอนเดิน ทำกิจกรรมอยู่บริเวณนั้น แต่ไม่ได้รู้สึกว่านี้เป็นความฝันหรือความจริง เริ่มรู้สึกตัวว่านี้ไม่ใช่ความฝันก็ตอนจะกำหนดให้ลืมตาตื่นขึ้นนั้นแหละ มันไม่สามารถลืมตาได้ มันขยับตัวไม่ได้ เมื่อจะขยับตัวลุกขึ้นมามันก็ลุกขึ้นมาได้แค่ร่างหนึ่งแต่กายมันยังนอนอยู่เลย พยายามทำอยู่ 4-5 ครั้ง จนรู้สึกขุ่นเคือง โกรธ คิดว่าใครแกล้งวะ จึงจะลืมตาตื่นขึ้นมาได้ เมื่อลืมตาขึ้นมาได้แล้วก็รู้สึกถึงอาการตึง ขมวด และร้อนตรงช่วงหน้าผาก
    จึงอยากเรียนถามท่านธรรม-ชาติว่านี้เป็นความฝันหรือความจริง และหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกทำอย่างไรจึงจะลืมตาตื่นขึ้นมาได้ง่าย ๆ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ลืมตาขึ้นมาได้อยากจริง ๆ เริ่มที่จะกลัวมัน และอาการที่ลืมตาขึ้นมาได้ยากนี้เกิดจากสาเหตุอะไรค่ะ
     
  13. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    สวัสดีค่ะท่านธรรม-ชาติ มีเรื่องจะเรียนถามและขอวิธีแก้ไขค่ะ คือเมื่อก่อนบางครั้งเมื่อนั่งสมาธิแล้วก็นอนด้วยการภาวนาไปด้วย บางครั้งก็จะรู้สึกว่าเหมือนกับแขนขามันยกขึ้นมาเองหรือบางครั้งก็เป็นกริยาของการดัดตัวก็ไม่ได้สนใจอะไรนึกว่าฝันไป

    +++ ทุกอย่างถูกต้อง และ "ห้ามแก้ไข" ในขณะที่ "แขน-ขา ยกขึ้น ด้วยความรู้สึก" ให้ "อยู่" กับความรู้สึกนั้น ตรงนี้เป็นเรื่องของ "กายในกาย" โดยส่วนที่เป็น "กายแห่งความรู้สึก หรือ เรียกว่า เวทนากาย" กำลังจะ "ถอดออกจากกายเนื้อ หรือ เรียกว่า กายเวทนา กำลังถอดออกจาก กายมนุษย์" นั่นเอง

    ก็ปล่อยมันไปอยากจะทำอะไรก็ทำไปก็จะเข้าสู่การนอนปกติ หรือบางครั้งนอนภาวนาไปแล้วในช่วงที่รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาก็อยากจะลืมตาหรือขยับตัวบางครั้งมันก็ลืมตาหรือขยับตัวไม่ค่อยได้ต้องใช้ความพยายามมากกว่าปกติจึงจะขยับตัวได้ก็ไม่ค่อยสนใจอะไรมันมากเพราะมันยังตื่นได้อยู่ แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งที่เห็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น คือ นั่งสมาธิและต่อด้วยการนอนภาวนาปกติแต่ยังไม่หลับก็เริ่มรู้สึกว่าแขนขามันยกขึ้นอีกแล้ว ก็ดูมันเรื่อยๆ ต่อมาก็เริ่มรู้สึกว่ามีแรงมาดึงให้มันลอยขึ้นไปติดบนฝาผนังเพดานแล้วก็เคลื่อนลอดผ่านประตูลอยผ่านคนในบ้านออกประตูไปในอากาศสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ก็พยายามดิ้น ขัดขืน

    +++ "ห้ามดิ้นรน ขัดขืน" และ จริง ๆ แล้ว "ตัวคุณเองในขณะนั้น ๆ ก็คือ กายเวทนานั้นนั่นแหละ" และมี "สติสัมปชัญญะ" ครบถ้วนดีกว่า "อยู่ในกายมนุษย์" อีกด้วย

    ก็ระลึกขึ้นมาได้ว่าทำไมต้องดิ้น จึงทำความรู้สึกสบาย แล้วความรู้สึกตัวก็กลับมายังห้องอีกครั้ง ก็ระลึกขึ้นมาได้ว่านี้เป็นความฝันหรือเป็นความจริง ก็เลยลองยกมือขึ้นเพื่อจะสกิดคนข้าง ๆ มันก็ยกขึ้นไปสกิดนะแต่มันไม่สามารถสัมผัสตัวของคนข้าง ๆ ได้ ก็เลยรู้สึกตระหนักขึ้นมาว่านี้เราตายแล้วหรือ เป็นวิญญาณหรือ ก็พยายามกำหนดลืมตาขึ้น ก็ยังไม่ได้ ต้องใช้กำลังมากขึ้นจึงจะลืมตาตื่นขึ้นมาได้

    +++ ให้ทราบไว้ว่า "กายเวทนานี้ มีความสำคัญที่สุด" และมีความปลอดภัย เหนือกว่า "การถอดจิต" ผู้ใดที่สามารถ "ถอดและฝึก กายนี้ได้" ย่อมมีขีดความสามารถในการ "กำหนด ต้นภูมิ ต้นภพ" ที่จะสืบเนื่องต่อในการ "จุติ" ต่อไป หรือเรียกได้ว่า "กำหนดภูมิที่จะไปจุติใหม่ได้" อีกประการหนึ่ง กายนี้คือกายแห่ง "สติสัมปชัญญะ" ที่ควรจะฝึกให้ชำนาญ

    +++ และ "กายนี้" คือกายที่ผมกล่าวไว้ใน หน้าแรกของกระทู้นี้ ตรงโพสท์ที่ 4 "รูปธรรม และ นามธรรม ขึ้นอยู่กับความ หยาบ-ละเอียด ของผู้ฝึก"

    ต่อมาก็มักจะมีเหตุการอย่างนี้อีก 2-3 ครั้ง บางครั้งก็วนเวียนอยู่แถวนั้น บางครั้งก็ไปที่ไหนก็ไม่รู้ แต่ช่วงหลังจะทราบกริยาตั้งแต่ตอนต้นและสามารถกำหนดให้ลืมตาตื่นขึ้นมาได้ทุกครั้งโดยหากระลึกว่าลืมภาวนาหรือกำหนดให้นั่งสมาธิก็จะตื่นขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งมันเป็นไปโดยไม่ได้มีเจตนา เคยเจตนาทำดู 2-3 ครั้งก็ทำไม่ได้จึงเลิกทำ และไม่เกิดอาการดังกล่าวอีกเลยประมาณเดือน กว่า ๆ

    +++ กายนี้ไม่สามารถ "ถอดได้โดยเจตนา หรือ ความอยากใด ๆ ทั้งสิ้น" การถอดจะต้องมาจาก "การเดินจิตที่ถูกต้องเท่านั้น" เรื่องของ อภิญญา ไม่ใช่เรื่องของเจตนา แต่เป็นเรื่องของ "การเดินจิต" ที่มีความสัมพันธ์กับ ขันธ์นั้น ๆ ในกรณีนี้คือ "เวทนาขันธ์" ที่เกิดจากการเดินจิตให้เกิด "ความรู้สึกทั้งตัว" คือ เวทนากาย แล้ว "อยู่" กับมัน จนเวทนานั้นแปลสภาพกลับมาเป็น "กาย" (กายคือ สภาวะที่ จิตอาศัยอยู่) เมื่ออยู่กับ เวทนากาย (ความรู้สึกตัว) ได้แล้ว จึงทำให้ "เวทนากาย นั้นกลายมาเป็น กายแห่งเวทนา" นั่นเอง

    แต่วันนี้อาการดังกล่าวกับมาอีกแล้ว ก็เริ่มด้วยการนั่งสมาธิและต่อด้วยการนอนภาวนา แต่ไม่เห็นการขยับตัวหรือการสั่นสะเทือนของร่างกาย และเริ่มรู้สึกตัวอีกครั้งก็ตอนเดิน ทำกิจกรรมอยู่บริเวณนั้น แต่ไม่ได้รู้สึกว่านี้เป็นความฝันหรือความจริง เริ่มรู้สึกตัวว่านี้ไม่ใช่ความฝันก็ตอนจะกำหนดให้ลืมตาตื่นขึ้นนั้นแหละ มันไม่สามารถลืมตาได้ มันขยับตัวไม่ได้ เมื่อจะขยับตัวลุกขึ้นมามันก็ลุกขึ้นมาได้แค่ร่างหนึ่งแต่กายมันยังนอนอยู่เลย

    +++ เรื่องของ "สัจจะธรรม" คือเรื่องของ "ปัจจุบันขณะ ในขณะนั้น ๆ" และในขณะนั้น ๆ คุณเห็น "กายมนุษย์ นอนอยู่ ส่วนตัวคุณ ไม่ใช่ กายมนุษย์" ตัวคุณเป็น "กายแห่งความรู้สึก" ที่ไม่จำเป็นที่จะต้อง "เป็นมนุษย์เสมอไป" ดังนั้น "ความตายจริง ๆ นั้น ไม่มี" หากจะมี ก็จะมีแต่ "การเปลี่ยนกาย และ เปลี่ยนภพภูมิ" เท่านั้น

    พยายามทำอยู่ 4-5 ครั้ง จนรู้สึกขุ่นเคือง โกรธ คิดว่าใครแกล้งวะ จึงจะลืมตาตื่นขึ้นมาได้ เมื่อลืมตาขึ้นมาได้แล้วก็รู้สึกถึงอาการตึง ขมวด และร้อนตรงช่วงหน้าผาก
    จึงอยากเรียนถามท่านธรรม-ชาติว่านี้เป็นความฝันหรือความจริง และหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกทำอย่างไรจึงจะลืมตาตื่นขึ้นมาได้ง่าย ๆ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ลืมตาขึ้นมาได้อยากจริง ๆ เริ่มที่จะกลัวมัน และอาการที่ลืมตาขึ้นมาได้ยากนี้เกิดจากสาเหตุอะไรค่ะ

    +++ ในปัจจุบัณขณะแห่งขณะนั้น ๆ ทุกอย่างเกิดขึ้น "จริง" และคุณ "มีความเป็นอยู่จริง" ในสภาพนั้น ๆ (ผมเล่นอยู่ตรงนี้ หลายเดือน จนรู้ชัดเจนว่า อะไรเป็นอะไร)

    +++ หาก "ถอดกายเวทนา" อีก ให้ตั้งใจไว้เลยว่า "จะฝึก ลอยตัว หรือ เหาะ ไปมาให้ชำนาญ" แล้ว "ฝึกชำแรกกำแพง" ทดสอบ "ขีดความสามารถของกายนี้" ให้สิ้นสงสัย (ตรงนี้เป็นการฝึกในหมวด อภิญญา 6) รวมทั้ง "กำหนดอารมณ์" ที่สบาย เพลิน สุข ต่าง ๆ แล้วให้สังเกตุ "สภาวะแวดล้อม" ที่แปรเปลี่ยนไปตาม "การเดินจิต" ที่มีต่อ อารมณ์ สบาย เพลิน และ สุข ต่าง ๆ ก็จะทำให้เกิดการ "รู้แจ้ง" ในเรื่อง "การจุติของจิต" (ตรงนี้เป็นการฝึกในหมวด วิชชา 3)

    +++ เมื่อชัดเจนแล้วว่า การกำหนดอารมณ์ คือ การกำหนดสภาพแวดล้อม ก็ให้เข้าใจไว้ว่า "นั่นคือ การกำหนดภูมิ" นั่นเอง ดังนั้น "เฉพาะผู้ที่ทำได้เท่านั้น จึงมีสิทธิในการกำหนดภูมิได้ ตามความเป็นจริง" ทั้งหมดไม่เกี่ยวกับ เจตนา หรือ ความอยากใด ๆ ทั้งสิ้น ทุกอย่างตัดสินกันที่ "เดินจิตเป็นหรือไม่" เท่านั้น

    +++ ให้ฝึกฝนในบริเวณที่กล่าวไว้นี้ก่อน อย่าตั้งข้อสงสัยในสิ่งที่ตนยังไม่มีขีดความสามารถที่จะไปถึง มิฉะนั้นแล้ว "คำตอบ จะกลับมาเป็น อุปสรรค ขวางการฝึกได้" และไม่ต้องห่วงว่า "ของเล่น" จะมีอยู่เพียงเท่านี้ ผมบอกไว้ก่อนเลยว่า ตรงนี้ยังเป็นแค่ "Starter" เท่านั้น ยังไม่ใช่ "Main course" ที่เป็นเมนูหลักเลย

    +++ หวังว่า ภาษาในโพสท์นี้ยังเป็น "ฝึก กรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย" อยู่ แต่ถ้าเห็นว่า "เป็นภาษาที่ยากเกินไป" ก็ให้ระบุบอกมาด้วย เพราะคำศัพท์ เริ่มมีส่วนเกี่ยวข้องกับในกระทู้ http://palungjit.org/threads/ตามรอยพระพุทธบาท-ท่าเท้าพระพุทธองค์.354142/ เข้าไปใกล้มากขึ้นทุกทีแล้ว ถ้ายังไงก็ให้แจ้งบอกมาด้วย นะครับ
     
  14. *ธรรมดา*

    *ธรรมดา* เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +924
    คุณ ธรรมชาติ ครับ ช่วยอธิบายเรื่องกาย ให้ฟังหน่อยครับว่ามีกี่กาย แล้วต่างจากถอดจิตอย่างไร
     
  15. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ บอกไว้ก่อนว่า การใช้ภาษาตรงนี้ จะเป็น "การใช้ภาษาที่เข้าใจยาก" เพราะเป็น "คำถาม ที่ประสพการณ์ของผู้ฝึกในกระทู้นี้ ยังไม่เกิด และยังไม่ได้อยู่ในขั้นตอนนี้" ดังนั้น กล่าวคร่าว ๆ ได้ว่า "เป็นเพียงแค่ การอธิบายคำศัพท์" ก็แล้วกัน

    +++ กาย คือ "สภาพที่จิต อาศัยอยู่ และ ถือครอง" ในภาษาของกระทู้ "ฝึก กรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย" นี้ จะใช้คำว่า "อยู่" เป็นตัวระบุว่า ในปัจจุบันขณะนั้น ๆ "อยู่กับสภาวะใด ก็ย่อมมีสภาวะนั้น เป็นกาย" ดังนั้น กระทู้นี้ จะให้ฝึก วสี 5 ต่อจากการทำการ "อยู่ กับกายเบื้องต้น" ได้แล้ว จนกว่าจะทำการ "อยู่ และ ย้าย" ได้คล่อง ส่วนจะเป็น กายประเภทไหน ก็จะใช้คำศัพท์ในหมวดของ "มหาสติปัฏฐาน 4" เป็นการระบุประเภทของกาย จนกว่าจะ "สิ้นสงสัยในความ เป็นกาย" แล้วจึงฝึกต่อในเรื่องของ สภาวะสู่สภาวะ ซึ่งเป็นเรื่องของ ผู้ที่สิ้นสงสัยในกาย แล้วเท่านั้น

    +++ คำศัพท์ที่เรียกว่า "จิต" ในกระทู้นี้ ให้หมายเอาอาการของ "จิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน ใน มหาสติปัฏฐาน 4" เป็นหลัก ซึ่งจะตรงกับ สัญญา+สังขาร ในการใช้ภาษาในหมวดของ ขันธ์ 5 เท่านั้น

    +++ การถอดกาย คือ ในขณะที่ "อยู่" กับเวทนากาย ก็จะได้ "ความรู้สึกตัว เป็นเครื่องอยู่" เมื่อ จิต มีความรู้สึกตัวเป็นเครื่องอยู่ ยามนั้น "ความรู้สึกตัว จึงเป็น กาย" และ ความรู้สึก นี้ เรียกสั้น ๆ คือ "เวทนา" ดังนั้น "ความรู้สึกตัว ที่เป็น กาย" จึงเรียกว่า "กายเวทนา" นั่นเอง และกายนี้ "ถอดออกมาจาก กายเนื้อ และสามารถฝึกฝนได้"

    +++ ในยามปกติจะเป็น "กายมนุษย์+เวทนากาย+จิต" ทับซ้อนกันอยู่ และ ผู้ที่ไม่ได้ฝึก ก็ย่อม ไม่รู้เรื่องเป็นธรรมดา แต่สำหรับผู้ที่ฝึก อยู่กับ กายเวทนา ก็จะเกิดปรากฏการณ์ กายในกาย ทับซ้อนอยู่ด้วยกัน จนกว่า "กายเวทนา" จะถอดออกมาจากกายเนื้อได้ และหลังจากชำนาญแล้้ว จึงจะให้ "ถอดจิต จาก กายเวทนา" อีกระลอกหนึ่ง ตรงนี้จะเรียกว่า "กายจิต" เพราะ "สำรอก ออกจาก กายเวทนา แล้ว" และ "กายจิต จะใช้ ธรรมารมณ์ เป็นเครื่องอยู่โดยตรง" ซึ่ง ธรรมารมณ์ นี้ก็มาจาก กายเวทนา ในชั้นละเอียด นั่นเอง ตรงนี้เป็นเรื่องของ "รูปพรหม" หากยามใดที่ "อยู่" กับธรรมารมณ์ โดยไม่ใส่ใจ "กายจิตแล้ว" ยามนั้นเป็นเรื่องของ "อรูปพรหม" และเมื่อชัดเจนในเรื่องของ "รู้กับถูกรู้" "ย้ายและอยู่" เป็นแล้ว ก็สามารถที่จะ "อยู่กับรู้" และไม่ยุ่งเกี่ยวกับภพภูมิได้ในอนาคต

    +++ ถึงแม้ว่าจะพยายาม "ใช้ภาษาที่ง่ายที่สุด" แล้วก็ตาม แต่ก็ไม่หวังว่าจะเกิดความเข้าใจขึ้นมาได้ เพราะประสพการณ์ ยังไม่ปรากฏ ดังนั้นโพสท์นี้ ให้อ่านแค่คร่าว ๆ เท่านั้น ตรงไหนที่เข้าใจไม่ได้ "ให้ทิ้งไป" อย่าเก็บเอาไว้ นะครับ
     
  16. *ธรรมดา*

    *ธรรมดา* เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +924

    ขอบคุณมากครับ พอจะเข้าใจบ้างเป็นบางส่วนละครับ
     
  17. naris520

    naris520 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +56
    สวัสดีค่ะ เข้ามาส่งอารมณ์ค่ะ ตอนนี้ก็กำลังฝึกการสร้างความรู้สึกทั้งตัวอยู่ แต่มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัตินิดหน่อย ไม่แน่ใจว่าจะใช้ได้หรือเปล่า คือเมื่อนั่งสมาธิแล้วก็จะทำความรู้สึกอยู่ในกริยาที่สบายมากที่สุดทั้งกายและใจ เมื่อได้แล้วก็จะใช้การกำหนดว่านั่งสมาธิแล้วส่งความรู้สึกไปดูทั่วทั้งร่างกาย ตามแขน ขา ลำตัว ไม่วางความรู้สึกไว้ที่จุดใดจุดหนึ่ง เมื่อเคลื่อนผ่านในแต่ละจุดก็จะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ตามแขนนี้ยังรู้สึกมาก ส่วนอื่น ๆ ของร่างการจะรู้สึกว่ามีลักษณะของการโปร่ง โล่ง และรับรู้ถึงการเต้นของหัวใจเป็นหลัก มองโดยภาพรวมก็จะรู้สึกว่ากำลังนั่งสมาธิอยู่ ก็ดูไปเรื่อย ๆ จนรู้สึกว่าท่านี้ไม่สบายแล้ว ก็จะปล่อยความรู้สึกให้มันไหลไปเอง มันก็จะค่อย ๆ งอ คู้ตัวลงมาถึงจุดที่รู้สึกว่าสบายแล้วก็จะหยุดการเคลื่อนไหว ก็ลองกำหนดนั่งสมาธิเหมือนเดิมแต่มันไม่ได้ให้ความรู้้สึกว่านั่งสมาธิอยู่ รู้สึกว่าไม่ใช่กริยาของการนั่งสมาธิแต่มันเหมือนกับเป็นก้อนกลมๆ มีแรงแหว่งนิดหน่อยรู้สึกคล้ายจะหมุนรอบตัวแต่ก็ไม่หมุน ก็นั่งดูต่อไปอีก ต่อมามันก็เริ่มไม่สบายอีกแล้ว ก็ปล่อยความรู้สึกอีก บางครั้งมันก็จะค่อยๆ ยกตัวสูงขึ้น บางครั้งมันก็ทลึ่งพรวดขึ้นมาในท่านั่งสมาธิแต่ยังไม่สบายความรู้สึกบอกว่าน้ำหนักทั้งสองข้างมันไม่เท่ากัน ส่วนหนึ่งหนักส่วนหนึ่งเบา ก็ลองปล่อยความรู้สึกหาตำแหน่งที่สบายที่สุด มันก็จะเคลื่อนตัวไปทางขวาบ้าง ซ้ายบ้าง แต่ไม่ได้รู้สึกว่ากายขยับ รู้สึกเหมือนเป็นการเคลื่อนของพลัง แต่ร่างกายจริง ๆ ขยับ มันก็จะเป็นกริยาอย่างนี้เรื่อย ๆ สลับกัน งอบ้าง หลังตรงบ้าง เอียงบ้าง โดยถ้าตามดูมันก็จะรู้สึกโปร่ง สบาย แต่ถ้าไปขืนหรือไม่เคลื่อนไปยังจุดที่สบายที่สุดก็จะรู้สึกหนัก แน่น มาก ๆ เข้าอาจตามมาด้วยความรู้สึกว่าง่วง หลับได้โดยไม่ได้มีอาการสัปงก นั่งหลับไปเลย ถ้าบางครั้งขี้เกียจตามดู ก็จะลองทำความรู้สึกว่ากำลังนั่งโยกเอียงซ้าย เอียงขวาในจังหวะช้า ๆ ก็จะสบาย โปร่ง แต่เมื่อหยุด กริยาการงอ เอียงก็จะมาอีก ทำให้เบื่อ
    ส่วนในช่วงการเคลื่อนไหวปกติก็มีอาการหูไม่ได้ยินไปสองครั้ง อยู่ดี ๆ เหมือนมันจะเงียบไม่ได้ยินอะไร แต่ก็เป็นเพียงช่วงสั้น ๆ แล้วก็กลับมาได้ยินปกติ ส่วนกริยาการถอดกายไม่มีค่ะ
     
  18. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    สวัสดีค่ะ เข้ามาส่งอารมณ์ค่ะ ตอนนี้ก็กำลังฝึกการสร้างความรู้สึกทั้งตัวอยู่ แต่มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัตินิดหน่อย ไม่แน่ใจว่าจะใช้ได้หรือเปล่า

    คือเมื่อนั่งสมาธิแล้วก็จะทำความรู้สึกอยู่ในกริยาที่สบายมากที่สุดทั้งกายและใจ

    +++ สบายและมั่นคง หล่อหลอมรวมตัวเป็นอาการเดียว จึงเหมาะต่อการเริ่มต้นของการฝึก

    เมื่อได้แล้วก็จะใช้การกำหนดว่านั่งสมาธิแล้วส่งความรู้สึกไปดูทั่วทั้งร่างกาย ตามแขน ขา ลำตัว ไม่วางความรู้สึกไว้ที่จุดใดจุดหนึ่ง เมื่อเคลื่อนผ่านในแต่ละจุดก็จะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ตามแขนนี้ยังรู้สึกมาก ส่วนอื่น ๆ ของร่างการจะรู้สึกว่ามีลักษณะของการโปร่ง โล่ง และรับรู้ถึงการเต้นของหัวใจเป็นหลัก

    +++ ในส่วนที่ถูกดู จะเป็นคล้ายก้อนพลังเคลื่อนไปตามการดู แต่ในส่วนที่ไม่ได้ถูกดู แต่ก็ถูกรู้ในเวลาเดียวกัน เป็นอาการ โล่ง โปร่ง ใส ใช่หรือไม่

    มองโดยภาพรวมก็จะรู้สึกว่ากำลังนั่งสมาธิอยู่ ก็ดูไปเรื่อย ๆ จนรู้สึกว่าท่านี้ไม่สบายแล้ว ก็จะปล่อยความรู้สึกให้มันไหลไปเอง มันก็จะค่อย ๆ งอ คู้ตัวลงมาถึงจุดที่รู้สึกว่าสบายแล้วก็จะหยุดการเคลื่อนไหว ก็ลองกำหนดนั่งสมาธิเหมือนเดิมแต่มันไม่ได้ให้ความรู้้สึกว่านั่งสมาธิอยู่ รู้สึกว่าไม่ใช่กริยาของการนั่งสมาธิแต่มันเหมือนกับเป็นก้อนกลมๆ มีแรงแหว่งนิดหน่อยรู้สึกคล้ายจะหมุนรอบตัวแต่ก็ไม่หมุน

    +++ ก้อนกลม ๆ คล้ายก้อนพลังงาน ตามที่กล่าวไว้ข้างบน ใช่หรือไม่

    ก็นั่งดูต่อไปอีก ต่อมามันก็เริ่มไม่สบายอีกแล้ว ก็ปล่อยความรู้สึกอีก บางครั้งมันก็จะค่อยๆ ยกตัวสูงขึ้น บางครั้งมันก็ทลึ่งพรวดขึ้นมาในท่านั่งสมาธิแต่ยังไม่สบาย

    +++ อาการที่มัน "ทลึ่งพรวดขึ้นมาในท่านั่งสมาธิ" นั้น เป็นอาการในส่วนของ โล่ง โปร่ง ใส ที่ที่เคลื่อนตัวขึ้นมา "นั่งสมาธิเอง" ใช่หรือไม่

    ความรู้สึกบอกว่าน้ำหนักทั้งสองข้างมันไม่เท่ากัน ส่วนหนึ่งหนักส่วนหนึ่งเบา

    +++ ตรงนี้เกิดจาก "การดู" ไม่เท่าเทียมกันกัน น้ำหนักจึงแตกต่างกัน

    ก็ลองปล่อยความรู้สึกหาตำแหน่งที่สบายที่สุด มันก็จะเคลื่อนตัวไปทางขวาบ้าง ซ้ายบ้าง แต่ไม่ได้รู้สึกว่ากายขยับ รู้สึกเหมือนเป็นการเคลื่อนของพลัง แต่ร่างกายจริง ๆ ขยับ

    +++ ถูกต้อง ตรงนี้คือ 1. ความรู้สึกมันขยับ 2. เราไม่ได้ขยับ 3. เราไม่ได้ใช้แรงจากร่างกาย 4. ร่างกายมันขยับไปเอง โดยอิทธิพลของ ความรู้สึก ใช่หรือไม่

    +++ ตรงนี้ผมเคยโพสท์เอาไว้ในกระทู้ "ตามรอยพระพุทธบาท ท่าเท้าพระพุทธองค์" ในเรื่องของ "การฝึกจิตเคลื่อนร่าง" ซึ่งจะต้องใช้เวลา และบางคนจะ "ไม่มีวาสนา ในตรงนี้เลย" ส่วนการฝึกของคุณนั้น คล้ายกับ "เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ" ดังนั้น ควรฝึกตรงนี้ให้ชำนาญ ก็จะเป็นการดีมาก

    มันก็จะเป็นกริยาอย่างนี้เรื่อย ๆ สลับกัน งอบ้าง หลังตรงบ้าง เอียงบ้าง โดยถ้าตามดูมันก็จะรู้สึกโปร่ง สบาย

    +++ ให้ใช้ "การดู" แสกนไปตาม หลังงอ เอียง ต่าง ๆ แล้ว "ตั้งจิต ปรับให้มันตรง" โดยห้ามใช้แรงจากร่างกาย เพื่อเป็นการเสริมในเรื่อง "การฝึกจิตเคลื่อนร่าง"

    +++ ในยามใดก็ตามที่เกิดอาการ โล่ง โปร่ง ใส สบาย (ตรงนี้เรียกว่า กายเบา จิตเบา) ก็ให้เข้าสู่ "การใช้จิตเคลื่อนร่าง ในท่านั่ง" ด้วยการ ใช้จิตปรับอิริยาบทของร่างกาย โดยไม่ใช่แรงกายแต่อย่างใดทั้งสิ้น ให้ฝึกตรงนี้ได้เลย

    แต่ถ้าไปขืนหรือไม่เคลื่อนไปยังจุดที่สบายที่สุดก็จะรู้สึกหนัก แน่น มาก ๆ เข้าอาจตามมาด้วยความรู้สึกว่าง่วง หลับได้โดยไม่ได้มีอาการสัปงก นั่งหลับไปเลย

    +++ ตรงนี้ยังไม่ต้องไปห่วงมัน เพราะกำลังสติยังไม่แก่กล้าเพียงพอ แต่สำหรับคุณแล้ว "หากมันจะหลับ ก็ให้มันหลับไปในท่านั่งนั่นแหละ" เพราะยามใดที่สติมีกำลังเพียงพอแล้วคุณจะได้ประสพการณ์ของ "จิตตื่น" ขึ้นมาเอง ในเวลาไม่นานนี้ เพราะตอนนี้ กำลังอยู่ในช่วง "ฝึกจิตเคลื่อนร่าง" ซึ่งมันจะประสานเข้าหา "จิตตื่น" ด้วยตัวของมันเอง ดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าอะไรจะเป็นอะไร นะครับ

    ถ้าบางครั้งขี้เกียจตามดู ก็จะลองทำความรู้สึกว่ากำลังนั่งโยกเอียงซ้าย เอียงขวาในจังหวะช้า ๆ ก็จะสบาย โปร่ง แต่เมื่อหยุด กริยาการงอ เอียงก็จะมาอีก ทำให้เบื่อ

    +++ ถ้าเบื่อ ก็ให้โยกร่างแบบ "นั่งเก้าอี้โยก" ไปเรื่อย ๆ ก็จะทำให้เพลิดเพลิน เป็นการแก้เบื่อไปในตัว

    ส่วนในช่วงการเคลื่อนไหวปกติก็มีอาการหูไม่ได้ยินไปสองครั้ง อยู่ดี ๆ เหมือนมันจะเงียบไม่ได้ยินอะไร แต่ก็เป็นเพียงช่วงสั้น ๆ แล้วก็กลับมาได้ยินปกติ

    +++ ถูกแล้ว ในยามที่สติตั้งตัวของมันได้ตามธรรมชาติ ก็สามารถเกิดอาการ "หูดับ" ได้ในช่วงสั้น ๆ

    ส่วนกริยาการถอดกายไม่มีค่ะ

    +++ ระหว่าง "การถอดกาย กับ จิตเคลื่อนร่าง" นั้น ไม่ห่างกันมาก โดยปกติแล้ว 90% ของผู้ฝึกมักจะได้ การถอดกายเป็นหลัก (ไม่ใช่ผู้ฝึกทั้งหมดจะถอดได้) มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่เกิดอาการ จิตเคลื่อนร่าง มาก่อน (ตรงนี้ หาได้ยากมาก) ดังนั้น ให้คุณ "ฝึกจิตเคลื่อนร่าง" นี้โดยตรงไปเลย นะครับ
     
  19. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,301

    อยากทราบว่าสติ นี้ใช่อาการ หรือ การกระทำอย่างนึงของจิตหรือเปล่าคะ คุณเพื่อนสมาชิกเขาแนะนำให้มาอ่านกระทู้คุณธรรมชาตินะคะ
     
  20. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,301
    ขอบคุณที่อธิบายอย่างละเอียดเพราะงมโข่งอยู่ตั้งนาน เพราะฝึกเอาเองงูๆปลาๆ ถึงไม่รู้สเตปขั้นตอน
     

แชร์หน้านี้

Loading...