พรหมวิหารธรรม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย theliger, 18 ตุลาคม 2008.

  1. theliger

    theliger เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2007
    โพสต์:
    735
    ค่าพลัง:
    +219
    วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6533 ข่าวสดรายวัน


    พรหมวิหารธรรม


    คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด

    พระราชสุธี (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร www.watdevaraj.com watdevaraj@hotmail.com



    พรหมวิหารธรรม แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ หรือ ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของผู้ประเสริฐ ได้แก่ เมตตา, กรุณา, มุทิตา และ อุเบกขา

    เมตตา แปลว่า ความสนิทสนม โดยใจความหมายถึง ความรักใคร่อยากให้ผู้อื่นเป็นสุขเหมือนกับตน คำแผ่เมตตานั้น คือ คำที่นึกอยู่ในใจว่า สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ, อัพยาปัชฌา โหนตุ, อะนีฆา โหนตุ, สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ แปลว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวรกันเถิด จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกันเถิด จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์เถิด จงเป็นผู้มีสุขรักษาตนเถิด

    การฝึกนึกอย่างนี้บ่อยๆ เรียกว่า ฝึกแผ่เมตตา เมื่อนึกอยากให้ผู้อื่นเป็นสุขเหมือนกับตนเมื่อใด ก็เรียกว่าสำเร็จการแผ่เมตตาเมื่อนั้น การฝึกแผ่เมตตาอย่างนี้ นึกแผ่ไปเฉพาะเจาะจงก็มี ไม่เฉพาะเจาะจงก็มี

    กรุณา แปลว่า ความหวั่นใจ คือ ความหวั่นใจเมื่อผู้อื่นมีทุกข์ มีความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ คำแผ่กรุณานั้น โดยนึกในใจว่า สัพเพ สัตตา ทุกขา ปะมุจจันตุ แปลว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงพ้นจากทุกข์เถิด เมื่อไรนึกอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์เหมือนกับอยากให้ตนพ้นทุกข์ เมื่อนั้นจึงสำเร็จการแผ่กรุณา

    มุทิตา แปลว่า ความพลอยยินดี นึกในใจว่า สัพเพ สัตตา มา ลัทธะสัมปัตติโต วิคัจฉันตุ แปลว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าไปปราศจากสมบัติอันได้แล้วเถิด เมื่อใดนึกดีใจที่ได้เห็นได้ยินผู้อื่นเป็น สุข เหมือนกับตนเป็นสุข เมื่อนั้นจึงสำเร็จการแผ่มุทิตา

    อุเบกขา แปลว่า ความวางเฉยเป็นกลาง คือ ในเมื่อไม่อาจจะแผ่เมตตา กรุณา มุทิตาได้ ก็วางเฉย โดยถือกรรมเป็นสำคัญ นึกในใจว่า สัพเพ สัตตา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา, ยัง กัมมัง กะริสสันติ, กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา, ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ แปลว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง เป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตน เป็นผู้รับผลของกรรม เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย จักทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่ว จักเป็นผู้รับผลของกรรมที่ตนทำนั้น หรือนึกสั้นๆ ว่า กรรมของเขา อย่างนี้ จัดเป็นอุเบกขา

    พรหมวิหารธรรม 4 ประการนี้ จะเลือกถือให้มั่นคงแต่อย่างเดียวไม่ได้ เพราะเมื่อไม่เป็นไปตามความตั้งใจ จะกลับกลายเป็นทุกข์เป็นโทษแก่ตนไป ควรต้องถือทั้ง 4 ประการ จึงจะเหมาะสม คราวใดควรจะเมตตา ก็วางสีหน้าเมตตา คราวใดควรจะกรุณา ก็วางสีหน้ากรุณา คราวใดควรจะมุทิตา ก็วางสีหน้ามุทิตา คราวใดควรจะอุเบกขา ก็วางสีหน้าอุเบกขา รวมเป็นพรหม 4 หน้า อย่างนี้


    ที่มา นสพ.ข่าวสด http://www.matichon.co.th/khaosod/v...ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBd09DMHhNQzB4T0E9PQ==
     
  2. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,662
    ค่าพลัง:
    +9,236
    "คราวใดควรจะเมตตา ก็วางสีหน้าเมตตา คราวใดควรจะกรุณา ก็วางสีหน้ากรุณา คราวใดควรจะมุทิตา ก็วางสีหน้ามุทิตา คราวใดควรจะอุเบกขา ก็วางสีหน้าอุเบกขา รวมเป็นพรหม 4 หน้า อย่างนี้"

    ขออนุโมทนาค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 42232581.jpg
      42232581.jpg
      ขนาดไฟล์:
      40.1 KB
      เปิดดู:
      70
    • 12510109.jpg
      12510109.jpg
      ขนาดไฟล์:
      84.1 KB
      เปิดดู:
      64
  3. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,270
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,095
    เมตตาธรรมค้ำจุนโลก โลกจะสงบสุขด้วยความเมตตามีน้ำใจต่อกัน
     
  4. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    [​IMG][​IMG]ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...[​IMG][​IMG]
     
  5. Khundeaw

    Khundeaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    339
    ค่าพลัง:
    +706
    พรหมวิหารธรรม แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ

    หรือ

    ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของผู้ประเสริฐ

    อนุโมทนาสาธุ สาธุ....
     

แชร์หน้านี้

Loading...