พระกริ่ง พระในหลวง

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 4 ธันวาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top> พระกริ่ง พระในหลวง</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] [​IMG] พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ หรือ พระกริ่งฉลองพระชนม์ครบ ๗ รอบ ที่หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า พระกริ่ง ๗ รอบ เป็นพระกริ่งที่มีกระแสความเคลื่อนไหวรุนแรงมากเป็นพิเศษ ในรอบ พ.ศ.๒๕๔๙ ทุกคนต่างหมายตา

    เสาะหาอยากได้มีไว้ในครอบครอง จนทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุว่า พระกริ่งรุ่นนี้ กำเนิดขึ้นด้วยความเป็นมหามงคล ๒ ประการ คือ
    ประการแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะทรงพระผนวช เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อ เพื่อถวาย สมเด็จพระบรมราชอุปัธยาจารย์ วาระนี้ถือเป็นมหามงคลยิ่ง
    ประการที่สอง พระกริ่งรุ่นนี้ สร้างขึ้นในมงคลโอกาส สมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ มีพระชนมายุครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษาบริบูรณ์
    ความเป็นมหามงคล ๒ ประการนี้ ยากจะบังเกิดได้ ด้วยพระมหาบารมีปกเกล้าฯ ในล้นเกล้าฯ พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าต่างซาบซึ้งในพระบารมีอันแผ่ไพศาล และในมหามงคลครั้งนั้น พระองค์ยังทรงพระผนวช จึงเป็นมหามงคลอันยากยิ่งจักพรรณนา
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระผนวชเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙ มี สมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นสมเด็จพระบรมราชอุปัธยาจารย์ มีพระนามฉายา ภูมิพโลภิกขุ ประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๑๕ วัน ในระหว่างวันที่ ๒๒ ตุลาคม ถึงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๙
    และในปีเดียวกันนี้ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ มีพระชนมายุครบ ๘๔ พรรษาบริบูรณ์ หรือเรียกว่า ฉลองพระชนมายุครบ ๗ รอบ จึงมีพิธีบำเพ็ญกุศลฉลองพระชนมายุตามโบราณราชประเพณีขึ้น พร้อมทั้งสร้างวัตถุมงคลขึ้นเป็นที่ระลึก ประกอบด้วย
    พระบูชาพระพุทธชินสีห์ ขนาดหน้าตัก ๔.๕ นิ้ว, พระกริ่งพระพุทธชินสีห์, ปรกใบมะขามพระพุทธชินสีห์ รวมถึงจัดสร้างวัตถุมงคลที่ระลึกในโอกาสที่พระองค์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ซึ่งได้แก่ เหรียญฉัตร, บาตรน้ำมนต์, ผ้าเช็ดหน้าตราฉัตร
    ในพิธีกรรมหล่อพระกริ่งพระพุทธชินสีห์-พระบูชาพระพุทธชินสีห์ ขนาดหน้าตัก ๔.๕ นิ้ว ดังจะขอคัดลอกข้อความบางตอนในหนังสือตำนาน วัดบวรนิเวศวิหาร ดังนี้
    ...วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๙ เวลา ๒๐.๓๐ น. เสด็จฯ พระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนถวายสักการะพระพุทธชินสีห์ ไวยาวัจกรวัดถวายเทียนชนวน ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงจุดมาแล้ว ทรงรับเทียนชนวนนั้นจุดเทียนชัย เวลา ๒๐.๓๖ น. ในพิธีหล่อพระพุทธชินสีห์จำลอง แทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงประชวรไม่สามารถจะเสด็จมาได้ พระสงฆ์สวดพระคาถาจุดเทียนชัย
    วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๙ เวลา ๐๗.๓๕ น. เสด็จฯ ศาลาหน้าพระอุโบสถด้านทิศตะวันตก ไวยาวัจกรวัดทูลเกล้าฯ ถวายแผ่นทองคำเปลว ๘๔ แผ่น ทรงวางแผ่นทองคำเปลวลงในเบ้าเวลา ๐๗.๔๑ น. ทรงถือสายสิญจน์ ซึ่งโยงจากเบ้าเททองหล่อพระพุทธชินสีห์จำลอง แทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราช พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา...
    และเหตุหนึ่งในปี ๒๕๔๙ นี้ เป็นปีเนื่องในโอกาสอันเป็นมหามงคล ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในวันมหามงคล ศุกร์ที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ อีกมหามงคลหนึ่งคือ พระองค์จะมีพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๙ พสกนิกรชาวไทยจึงต่างพากันเสาะแสวงหาวัตถุมงคลเนื่องในพระองค์ท่าน มาสักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล
    พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ เป็นพระกริ่งหล่อแบบโบราณ แบบเทหล่อตันทั้งองค์ แล้วจึงนำมาเจาะใต้ฐานรูขนาดประมาณแท่งดินสอบรรจุเม็ดกริ่ง (แต่การเล่นหาในปัจจุบัน ยังแบ่งออกเป็น อุดใหญ่, อุดเล็ก ตามขนาดของรูที่ปรากฏ) และอุดทับรูกริ่งอีกครั้งหนึ่ง ทำการตะไบตกแต่งให้เรียบร้อย จึงนำพระเข้าเครื่องขัดโลหะ
    เปรียบเทียบ พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ (๗ รอบ) รุ่นแรก พ.ศ.๒๔๙๙ รุ่น ๒ พ.ศ.๒๕๑๗
    พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ (๗ รอบ) ปัจจุบันเป็นพระกริ่งที่ได้รับความนิยมสูง ด้วยปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ทำให้กระแสความเคลื่อนไหวมีอย่างต่อเนื่อง
    -------ล้อมกรอบ-----------
    ข้อแตกต่าง รุ่น ๑ กับรุ่น ๒
    พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ นอกจากการจัดสร้างครั้งแรกใน พ.ศ.๒๔๙๙ แล้วต่อมาใน พ.ศ.๒๕๑๗ และ พ.ศ.๒๕๔๘ ยังมีการสร้างย้อนยุค ถือเป็นพระกริ่งรุ่น ๒ และ ๓ ตามลำดับ
    ความแตกต่างระหว่างพระกริ่งรุ่นแรก และรุ่น ๒ มีข้อพิจารณาพอสังเขปดังนี้
    ๑.พระพักตร์ พระกริ่งรุ่นแรก พระพักตร์ใหญ่ พระหนุ (คาง) ตัดเหลี่ยม ทำให้พระพักตร์ลักษณะใหญ่ และเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย พระกริ่งรุ่น ๒ พระพักตร์เรียวเล็ก พระหนุ (คาง) แหลมเล็กน้อย รูปพระพักตร์จึงมีลักษณะเล็กและเรียวแหลม เมื่อเทียบกับรุ่นแรก
    ๒.ลำพระองค์ ในพระกริ่งรุ่นแรก ลำพระองค์จะใหญ่หนาแลดูบึกบึน พระอุระ (หน้าอก) อวบนูน สโลบลงรับกับส่วนพระอุทร (ท้อง) ส่วนรุ่น ๒ ลำพระองค์ดูแลดูบอบบางกว่าอย่างเห็นได้ชัด พระอุระ (หน้าอก) ดูอวบน้อยกว่า
    ๓.กระแสเนื้อ ด้วยอายุการสร้างต่างกันเกือบ ๒๐ ปี ทำให้กระแสเนื้อเกิดความต่างกันพอสมควรตามอายุความเก่า แต่อย่างไรก็ตาม พระกริ่งรุ่น ๒ นั้น ในองค์สภาพเดิมๆ จะดูแลซึ้ง คล้ายกับรุ่นแรกมาก บางครั้งถึงเข้าข้างตนเองว่าเป็นรุ่นแรกไปเสียก็มีมาก สรุป ในพระกริ่งรุ่น ๒ นั้น การสร้างแม่พิมพ์นั้น เป็นการแกะพิมพ์หรือทำพิมพ์ขึ้นใหม่ โดยล้อพิมพ์ของรุ่นแรก ไม่ใช่สร้างโดยการถอดพิมพ์ ทำให้พอพิจารณาเค้าโครงของพิมพ์ได้ไม่ยาก ส่วนการเจาะรูบรรจุเม็ดกริ่ง พบทั้งลักษณะอุดใหญ่และอุดเล็กเช่นกัน

    -->
    [​IMG]

    พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ หรือ พระกริ่งฉลองพระชนม์ครบ ๗ รอบ ที่หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า พระกริ่ง ๗ รอบ เป็นพระกริ่งที่มีกระแสความเคลื่อนไหวรุนแรงมากเป็นพิเศษ ในรอบ พ.ศ.๒๕๔๙ ทุกคนต่างหมายตา
    เสาะหาอยากได้มีไว้ในครอบครอง จนทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุว่า พระกริ่งรุ่นนี้ กำเนิดขึ้นด้วยความเป็นมหามงคล ๒ ประการ คือ
    ประการแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะทรงพระผนวช เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อ เพื่อถวาย สมเด็จพระบรมราชอุปัธยาจารย์ วาระนี้ถือเป็นมหามงคลยิ่ง
    [​IMG]

    ประการที่สอง พระกริ่งรุ่นนี้ สร้างขึ้นในมงคลโอกาส สมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ มีพระชนมายุครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษาบริบูรณ์
    ความเป็นมหามงคล ๒ ประการนี้ ยากจะบังเกิดได้ ด้วยพระมหาบารมีปกเกล้าฯ ในล้นเกล้าฯ พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าต่างซาบซึ้งในพระบารมีอันแผ่ไพศาล และในมหามงคลครั้งนั้น พระองค์ยังทรงพระผนวช จึงเป็นมหามงคลอันยากยิ่งจักพรรณนา
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระผนวชเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙ มี สมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นสมเด็จพระบรมราชอุปัธยาจารย์ มีพระนามฉายา ภูมิพโลภิกขุ ประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๑๕ วัน ในระหว่างวันที่ ๒๒ ตุลาคม ถึงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๙
    และในปีเดียวกันนี้ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ มีพระชนมายุครบ ๘๔ พรรษาบริบูรณ์ หรือเรียกว่า ฉลองพระชนมายุครบ ๗ รอบ จึงมีพิธีบำเพ็ญกุศลฉลองพระชนมายุตามโบราณราชประเพณีขึ้น พร้อมทั้งสร้างวัตถุมงคลขึ้นเป็นที่ระลึก ประกอบด้วย
    พระบูชาพระพุทธชินสีห์ ขนาดหน้าตัก ๔.๕ นิ้ว, พระกริ่งพระพุทธชินสีห์, ปรกใบมะขามพระพุทธชินสีห์ รวมถึงจัดสร้างวัตถุมงคลที่ระลึกในโอกาสที่พระองค์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ซึ่งได้แก่ เหรียญฉัตร, บาตรน้ำมนต์, ผ้าเช็ดหน้าตราฉัตร
    ในพิธีกรรมหล่อพระกริ่งพระพุทธชินสีห์-พระบูชาพระพุทธชินสีห์ ขนาดหน้าตัก ๔.๕ นิ้ว ดังจะขอคัดลอกข้อความบางตอนในหนังสือตำนาน วัดบวรนิเวศวิหาร ดังนี้
    ...วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๙ เวลา ๒๐.๓๐ น. เสด็จฯ พระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนถวายสักการะพระพุทธชินสีห์ ไวยาวัจกรวัดถวายเทียนชนวน ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงจุดมาแล้ว ทรงรับเทียนชนวนนั้นจุดเทียนชัย เวลา ๒๐.๓๖ น. ในพิธีหล่อพระพุทธชินสีห์จำลอง แทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงประชวรไม่สามารถจะเสด็จมาได้ พระสงฆ์สวดพระคาถาจุดเทียนชัย
    วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๙ เวลา ๐๗.๓๕ น. เสด็จฯ ศาลาหน้าพระอุโบสถด้านทิศตะวันตก ไวยาวัจกรวัดทูลเกล้าฯ ถวายแผ่นทองคำเปลว ๘๔ แผ่น ทรงวางแผ่นทองคำเปลวลงในเบ้าเวลา ๐๗.๔๑ น. ทรงถือสายสิญจน์ ซึ่งโยงจากเบ้าเททองหล่อพระพุทธชินสีห์จำลอง แทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราช พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา...
    และเหตุหนึ่งในปี ๒๕๔๙ นี้ เป็นปีเนื่องในโอกาสอันเป็นมหามงคล ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในวันมหามงคล ศุกร์ที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ อีกมหามงคลหนึ่งคือ พระองค์จะมีพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๙ พสกนิกรชาวไทยจึงต่างพากันเสาะแสวงหาวัตถุมงคลเนื่องในพระองค์ท่าน มาสักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล
    พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ เป็นพระกริ่งหล่อแบบโบราณ แบบเทหล่อตันทั้งองค์ แล้วจึงนำมาเจาะใต้ฐานรูขนาดประมาณแท่งดินสอบรรจุเม็ดกริ่ง (แต่การเล่นหาในปัจจุบัน ยังแบ่งออกเป็น อุดใหญ่, อุดเล็ก ตามขนาดของรูที่ปรากฏ) และอุดทับรูกริ่งอีกครั้งหนึ่ง ทำการตะไบตกแต่งให้เรียบร้อย จึงนำพระเข้าเครื่องขัดโลหะ
    เปรียบเทียบ พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ (๗ รอบ) รุ่นแรก พ.ศ.๒๔๙๙ รุ่น ๒ พ.ศ.๒๕๑๗
    พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ (๗ รอบ) ปัจจุบันเป็นพระกริ่งที่ได้รับความนิยมสูง ด้วยปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ทำให้กระแสความเคลื่อนไหวมีอย่างต่อเนื่อง



    ข้อแตกต่าง รุ่น ๑ กับรุ่น ๒
    พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ นอกจากการจัดสร้างครั้งแรกใน พ.ศ.๒๔๙๙ แล้วต่อมาใน พ.ศ.๒๕๑๗ และ พ.ศ.๒๕๔๘ ยังมีการสร้างย้อนยุค ถือเป็นพระกริ่งรุ่น ๒ และ ๓ ตามลำดับ
    ความแตกต่างระหว่างพระกริ่งรุ่นแรก และรุ่น ๒ มีข้อพิจารณาพอสังเขปดังนี้
    ๑.พระพักตร์ พระกริ่งรุ่นแรก พระพักตร์ใหญ่ พระหนุ (คาง) ตัดเหลี่ยม ทำให้พระพักตร์ลักษณะใหญ่ และเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย พระกริ่งรุ่น ๒ พระพักตร์เรียวเล็ก พระหนุ (คาง) แหลมเล็กน้อย รูปพระพักตร์จึงมีลักษณะเล็กและเรียวแหลม เมื่อเทียบกับรุ่นแรก
    ๒.ลำพระองค์ ในพระกริ่งรุ่นแรก ลำพระองค์จะใหญ่หนาแลดูบึกบึน พระอุระ (หน้าอก) อวบนูน สโลบลงรับกับส่วนพระอุทร (ท้อง) ส่วนรุ่น ๒ ลำพระองค์ดูแลดูบอบบางกว่าอย่างเห็นได้ชัด พระอุระ (หน้าอก) ดูอวบน้อยกว่า ๓.กระแสเนื้อ ด้วยอายุการสร้างต่างกันเกือบ ๒๐ ปี ทำให้กระแสเนื้อเกิดความต่างกันพอสมควรตามอายุความเก่า แต่อย่างไรก็ตาม พระกริ่งรุ่น ๒ นั้น ในองค์สภาพเดิมๆ จะดูแลซึ้ง คล้ายกับรุ่นแรกมาก บางครั้งถึงเข้าข้างตนเองว่าเป็นรุ่นแรกไปเสียก็มีมาก สรุป ในพระกริ่งรุ่น ๒ นั้น การสร้างแม่พิมพ์นั้น เป็นการแกะพิมพ์หรือทำพิมพ์ขึ้นใหม่ โดยล้อพิมพ์ของรุ่นแรก ไม่ใช่สร้างโดยการถอดพิมพ์ ทำให้พอพิจารณาเค้าโครงของพิมพ์ได้ไม่ยาก ส่วนการเจาะรูบรรจุเม็ดกริ่ง พบทั้งลักษณะอุดใหญ่และอุดเล็กเช่นกัน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    -------------------
    ที่มา: คมชัดลึก
    http://www.komchadluek.net/2006/12/04/j001_71234.php?news_id=71234
     

แชร์หน้านี้

Loading...