"พระคัมภีร์ พระสติปัฎฐาน วิธีทำสันโดษ ดีวิเศษนักแล"

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 27 พฤศจิกายน 2008.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    "พระคัมภีร์ พระสติปัฎฐาน วิธีทำสันโดษ ดีวิเศษนักแล"
    พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (สุก)
    ทรงนิพนธ์ เมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๗

    เวทาสากุ กุสาทาเว
    ทายะสาตะ ตะสายะทา
    ทาสาทิกุ กุทิสาทา
    กุตะกุภู ภูกะตะกุ

    <!-- / message --><!-- attachments -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    พระคัมภีร์ พระสติปัฏฐาน วิธีทำสันโดษ นี้ เป็นผลงานศึกษารวบรวมโดย พระครูสังฆรักษ์วีระ(จิ๋ว) ฐานวีโร วิทยฐานะ น.ธ.เอก ปวช. คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ซึ่งได้รับการอนุญาตคัดลอกเผยแพร่เป็นธรรมทาน

    ขอกราบขอบพระคุณครูบาอาจารย์ พระครูสังฆรักษ์ วีระ ฐานวีโร อันหาที่สุดมิได้ มา โอกาสนี้ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    พระคัมภีร์ พระสติปัฏฐาน วิธีทำสันโดษ เป็นพระคัมภีร์ ที่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเถร (สุก ไก่เถื่อน) ทรงนิพนธ์ ไว้เมื่อประมาณ ปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๗ หลังจากท่านมาสถิตวัดราชสิทธารามแล้ว ๑๒ ปี

    พระคัมภีร์ วิธีทำสันโดษ เป็นพระคัมภีร์ที่พระนักปฏิบัติสมัยนั้นนิยมมาก และเป็นพระคัมภีร์ที่หายาก ปัจจุบันต้นฉบับจริงพระสติปัฏฐาน วิธีทำสันโดด ฉบับใบลานอักษรขอมยังอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม

    ต่อมาพระคัมภีร์นี้ พระคณาจารย์ในกรุงรัตนโกสินทร์ ได้พาคัดลอกกันออกไปนอกพระอารามมากมาย เป็นหลายฉบับ และต่อมาพระอธิการเสือ วัดหสิตาราม ได้คัดลอกไปอีก ๑ ฉบับ เมื่อสิ้นพระอธิการเสือแล้ว พระคัมภีร์นี้ได้ตกเป็นมรดก ตกทอดสืบมาถึง หมื่นบำรุงนาวา เมื่อหมื่นบำรุงนาวาถึงแก่กรรมแล้ว หนังสือนี้ได้ตกมาถึง หลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร) ๆและท่านเห็นว่าเป็นพระคัมภีร์ของเก่า อันสืบเนื่องมาแต่ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ประกอบด้วยประโยชน์เป็นอันมาก และเป็นของหายาก ท่านจึงได้นำมาพิมพ์ไว้ ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระพุทธวิถีนายก (บุญ ขันธโชติ) ณ. วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๙

    มาครั้งนี้ข้าพเจ้า เห็นว่ามีพระนักปฏิบัติสนใจ พระคัมภีร์วิธีทำสันโดษ ของสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อนนี้มาก จึงได้นำลงมาจัดพิมพ์ เพื่อให้นักปฏิบัติได้ศึกษาต่อไป


    พระครูสังฆรักษ์วีระ(จิ๋ว) ฐานวีโร (วิทยฐานะ น.ธ. ปวช.คณะ ๕ วัดราชสิทธารามโทร ๐๒ ๔๖๕ ๒๕๕๒ , ๐๘๔ ๖๕๑ ๗๐๒๓
    E:mial :weera2548@yahoo.co.th

    <CITE></CITE>
    <CITE>www.somdechsuk.com/download/prasatipattathan_witethamsundod.doc</CITE>
    <CITE></CITE>http://www.gmwebsite.com/Webboard/Topic.asp?TopicID=Topic-070529220312083<O[​IMG]
    <!-- / message --><!-- attachments -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    เยเกจิ อฺญเญ ตัวใครอันจะได้เป็นอุปัชฌายาจารย์ ตกแต่ง บรรพชาให้ได้เป็นพระพุทธเจ้าเล่า
    อฺญญฺโต อุปชฺฌาโย ภควา คือ สัมภาระ ของพระองค์เอง ตกแต่งบรรพชาบวชให้พระองค์เอง และให้บรรลุถึงที่เป็นพระพุทธเจ้านั้น ได้แก่ปรีชาฌาณ อันเจริญขึ้นในทางสมาธิ ได้แก่ศีลนั้นแหละ เป็นพระอุปัชฌายาจารย์ ของพระพุทธเจ้า <O[​IMG]
    ญาณํ สิกฺขติ กมฺมวิจาโร ได้ญาณอันพิจารณากรรมทั้ง ๖ นั้นแลเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ของพระพุทธเจ้า <O[​IMG]
    อนุสสติ ญานทานํ ได้ทานบารมีทั้ง ๓ นั้นแล เป็นอนุสาวนะของพระพุทธเจ้า ด้วยเดชแห่งศีลภายในแล ธรรมปรีชาภายใน และทานบารมีภายใน ทั้ง ๓ นี้แหละ เป็นพระอนุกรรมวาจา อุปัชฌายาจารย์ ให้บรรพชา อุปสมบทแก่พระได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    เมื่อแรก แผ่นดิน แผ่นฟ้า เทพดา อินทร์ พรหมณ์ มนุษย์ และฝูงสัตว์ทั้งหลาย ยังหามีไม่ก่อน และพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้าทั้งปวง ยังมิได้มีก่อน ก็ตัวใครได้บังเกิด เป็นสิ่งเป็นอันมีขึ้นก่อน กว่าทั้งปวงเล่า สูญยังสิ <O[​IMG]</O[​IMG]

    ตัว มะ นี้แหละเกิดก่อน ชื่อว่า พระโชตินี ได้เกิดก่อนพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้าทั้งปวงฯ<O[​IMG]

    ครั้นพระ โชตินี เกิดแล้วจึงเกิด <O[​IMG]ตัว อะ ได้แก่ พระแสง ครั้นพระแสงบังเกิดแล้วจึงบังเกิด<O[​IMG]

    ตัว อุ ได้แก่ พระฉัพพรรณรังษีทั้ง ๖ แล้วจึงเกิดพระพุทธเจ้าทั้งปวง ที่ล่วงไปแล้วมากกว่าเม็ดทรายในท้องมหาสมุทร ทั้ง ๔ ที่จะมาบังเกิดในเบื้องหน้าอีกมากเหมือนกัน ก็ย่อมจะอาศัยในพระฉัพพรรณรังษีทั้ง ๖ นี้แล

    จึงได้เป็นพระฯ พระโชตินี ได้แก่ศีลภายใน พระแสงได้แก่พระธรรมปรีชาภายใน ฉัพพรรณรังษีนั้นได้แก่ ทานภายใน พระโชตินี คือ มะ นั้นคือสัพพะสัตว์สัพพะชีวิตทั้งหลายทั้งสิ้นด้วยกัน

    พระแสง . คือตัว อะ อักษรๆ นี้ คือลมหายใจเข้า ออกแห่งสัตว์ทั้งหลาย ฉัพพรรณรังษีนี้ คือ อุ อักษรๆ นี้แลคือ ดวงจิตของสัตว์ทั้งหลายแลฯ อันว่าฉัพรรณรังสีนี้ชื่อ แก้วทั้ง ๖ ประการ มีชื่อต่างๆ กัน คือ<O[​IMG]
    ๑. ชื่อแก้วนิลดำ ให้บังเกิดร่างกาย <O[​IMG]
    ๒. ชื่อแก้วบุญนาค เขียว ให้บังเกิดปาก
    ๓. ชื่อแก้วปัทมราชแดง ให้บังเกิดจมูกทั้ง๒
    ๔. ชื่อแก้วไพฑูรย์ เหลืองดังสีดาว ให้บังเกิดหูทั้งสอง
    <O[​IMG]๕. ชื่อแก้วมโนหรจินดาดั่งพระจันทร์ ให้บังเกิดจักษุทั้ง ๒<O[​IMG]
    ๖. ชื่อแก้วมณีโชติ ดังแสงพระอาทิตย์ให้บังเกิดจิตและชีวิตทั้ง ๒
    <!-- / message --><!-- edit note -->
     
  5. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อันว่ารูปนั้นต่างๆกัน เพราะว่าแก้วนั้นต่างๆกัน อันนี้ชื่อว่า สกล แลฯ เมื่อแรกจะบังเกิดแผ่นฟ้า แผ่นดิน และนรก สวรรค์ชั้นอิน ชั้นพรหมนั้นๆ ก็ยอมบังเกิดด้วยเดชอำนาจแก้วทั้ง๖ ประการนั้นเอง คือ

    ชื่อแก้วนิลดำ นั้นให้บังเกิดเมืองนรก และ นรกทั้งหลาย
    <O[​IMG]ชื่อแก้วบุญนาค นั้น ให้บังเกิดแผ่นดิน และสัพพะสัตว์ทั้งหลายต่างๆ<O[​IMG]
    ชื่อแก้วไพฑูรย์ นั้น รุ่งเรืองดั่งดวงดาว ให้บังเกิดสวรรค์ และ สัตว์ทั้งหลายต่างๆ<O[​IMG]
    ชื่อแก้วปัททมราช นั้นให้บังเกิด ลม และ อากาศ
    ชื่อแก้วมโนหรจินดานั้น ดุจว่าดั่งดวงจันทร์ให้บังเกิดเมืองพรหม และพรหมทั้งหลายต่างๆ<O[​IMG]
    ชื่อแก้วมณีโชติ ดุจดัง ดวงอาทิตย์ ให้บังเกิด ศิวํ พุทธํ ทุกๆพระองค์แล<O[​IMG]

    ข้าขอนมัสการ ขมาโทษทุกค่ำเช้า เข้านอน ครั้นระลึกถึงให้ ยกมือขึ้นทูลเศียรเกล้า ขอขมาโทษ ศิวํ พุทธํ พระพุทธเจ้าแล อันนี้จะกล่าวเมื่อสัตว์ทั้งหลายจุติ ปฏิสนธิ เวียนว่ายตายเกิดอยู่มิรู้แล้ว เพราะด้วยเหตุว่าสัตว์ทั้งหลายมิรู้จัก จตุราริยสัจจ์ทั้ง ๔ คือ ทุกขอริยสัจจ์ ๔ สมุทัยอริยสัจจ ๓ นิโรจน์อริยสัจจ์ ๗ มรรคสัจจ์ ๔ <O[​IMG]นั้น คือ ชาติความเกิดอัน ๑ ชราทุกข์ คือความแก่ขึ้นตั้งแต่ต้นจนถึงเฒ่าอัน ๑ พยาธิทุกข์ ได้แก่ความเจ็บไข้ได้ป่วย พยาธิอัน ๑ มรณะทุกข์ คือความตายอัน๑ เป็น๔ อย่างนี้ ถ้าสัตว์เกิดเป็นมนุษย์ ก็เกิดด้วย เกิดในนรกก็เกิดด้วย เกิดในสวรรค์ก็เกิดด้วย เกิดในชั้นพรหมก็เกิดด้วย <O[​IMG]

    สมุทัยสัจจ์ ๓ นั้นคือ ให้ทาน และ ลุ่มหลง อยู่ในอำนาจของผลทานก็เป็นการเกี่ยวข้องอยู่ข้างนรกอัน ๑ จำศีล หลงอยู่ในผลศีล ก็ไม่พ้นถิ่นทางนรกอัน ๑<O[​IMG]ภาวนาธรรม หลงอยู่เพียงผลภาวนา ก็นับว่ายังไม่พ้นภูมินรกอัน ๑ เป็น ๓ อย่าง เหตุว่าให้ทาน จำศีลภาวนาแล้ว ปรารถนาเป็นท้าวพระยา เป็นอินทร์ เป็นพรหม น้ำใจนั้นประสงค์บุญแต่เพียงนี้ เพราะตัวไม่รู้จักตัวบุญ ที่จะเอาเป็นที่พึ่งได้นั้น ถึงได้เวียนเกิด เวียนตายอยู่มิรู้แล้วลงได้ เมื่อไปเกิดในสวรรค์ชั้นอินทร์ ชั้นพรหมแล้ว ครั้นตายลง ตัวก็จะเวียนวงลงไปถึงนรกอีกเป็นแน่แท้ทีเดียว สมุทัยสัจจ์เป็น ๓ ดังนี้<O[​IMG]

    นิโรจน์สัจจ์ นั้น คือว่า รู้จักตัวพระธรรมเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ ๆ นี้แหละจัดเอาเป็นลูกดาน ไขเปิดทวารเอานิพพานออกได้ ครั้นรู้จักลมระบายหายใจเข้าออก แลรู้อัดอั้นลมหายใจให้นิ่งแน่ แน่วอยู่ภายในนั้น ชื่อว่ารู้จักตัวพระธรรมเจ้านั้นแล ก็ได้ชื่อว่าเปิดประตูนิพพานเข้าไปได้ ถ้ามิรู้จักตัวพระธรรมก่อน ก็จะยังท่องเที่ยวเวียนเกิดตายถึงในอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น นับชาติมิถ้วนเลย <O[​IMG]

    มรรคสัจจ ๔ นั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค เป็น ๔ อย่างดังนี้<O[​IMG]
     
  6. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ครั้นรู้จักกองเพลิงในร่างกายทั้ง ๔ นี้แล้ว ไฟทั้งสี่นี้ก็จะส่งหนทางนิพพาน มิให้มืดมนอันธการ ด้วยหนทางพระนิพพานช้าจะมืดนัก ประหนึ่งว่าหลับตาเข้าถ้ำ ครั้นได้ไฟในร่างกายทั้ง๔ ประการนี้แล้ว ก็จะส่องให้มองเห็นหนทางไป จะได้เห็นบุญ แลบาปแล และรู้จัก พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า ด้วยเดชอำนาจไฟทั้ง ๔ นั้น

    ไฟดวงแรกแลเห็นเท่าหิ่งห้อย ครั้นเมื่อจะตายถือเอามั่นก็ไม่ตกนรกเลย แม้นจะมีบาปกรรมทำไว้เท่าใดๆ ก็ไม่ตามทันเลย อันนี้คือ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 เมษายน 2009
  7. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ทุกขังๆ ร่างกายกูนี้ มีทุกข์มากถึง ๔ ประการ ชาติทุกข์ ทุกขชาติ เกิด ตาย มิรู้แล้วไปเกิดสวรรค์ ชั้นอิน ทั่วชั้นพรหม แล้วก็ย่อมยังเป็นทุกข์ คือ กลับชาติไปยังอบายภูมิ ๔ ก็มีบ้าง ถึงบังเกิดเป็นเทวดาอินพรหมก็มิพ้นนรกเลย เว้นแต่นิพพานอันเดียว ดังนั้นแลชื่อว่า ทุกข์

    แลหนึ่งเจ้ารำพึงว่า
    อนิจจังๆ ร่างกายกูนี้เกิดมา มิเที่ยง มิแท้ เป็นคนโหดมารยา มุสา มากนัก เกิดมาแล้วก็ตาย แล้วก็เกิดมาใหม่อีกเล่า แต่เวียนเกิดเวียนตายอยู่มิรู้แล้ว ทุกข์ทั้ง ๖ ประการ คือ ว่ากินแล้ว ก็จะกินอีกเล่า นอนแล้ว ว่าจะนอนอีกเล่า เดินแล้ว ก็จะเดินอีกเล่าดังนี้ ทุกข์ทั้ง ๔ ประการ ย่อมใหญ่กว่าทุกทั้ง ๖ มากหลาย แต่ความอุบาย จำนรรจาพาที เท็จ มารยา แต่ตั้งสั่งสมทรัพย์เอามาไว้ ตัวกูเมื่อจะตายไปก็เอาไปมิได้ สักสิ่งสักอันเลย ย่อมเป็นทรัพย์ สาธารณะเสียเปล่า จะป่วยการกล่าวถึงทรัพย์ใย จนแต่ร่างกายที่ตั้งใจพิทักษ์รักษาไว้เป็นอันดีนี้ จะเด็ดเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดสิ่งเดียวไปมิได้เลย ส่วนปฐวีธาตุก็เป็นดินไป ส่วนอาโปเล่าก็ไปอยู่ส่วนน้ำ ส่วนวาโยธาตุ ก็ไปอยู่ส่วนลม ส่วนเตโชธาตุก็ไปอยู่ส่วนไฟ ทั้ง ๔ ประการนี้ จะถือเอาสิ่งใดเป็นที่พึ่งที่พิงสักสิ่งเดียวก็มิได้ ย่อมสูญเสียเปล่าทั้งสิ้น <O[​IMG]

    แล้วให้ภาวนาดังนี้ว่า
    อนัตตาๆ ความสูญเปล่า เมื่อกูตายไปก็เอาไปมิได้สักสิ่ง ครั้นภาวนาดังนี้ แล้วมิช้าเท่าใด เมื่อทำบาปทำกรรมไว้ บาปกรรมนั้นก็มาสำแดงให้เห็น ถ้าทำบุญไว้ฝ่ายบุญ ก็มาสำแดงให้เห็น แต่ในใจอันนึกในตาอันเห็นนั้น ก็เชื่อเอาแล้ว ตัวบาปนั้นดำ แสงก็ดำมืดมนอันธการเหตุว่า ใจนึกให้ดำก็ดำมืดอยู่ ถ้าให้ภาวนาวันละแสนโกฏิคาบก็ดี ก็มิพ้นนรกเลย ตัวบุญนั้นขาว แสงก็ขาวสว่างรุ่งเรืองดังแสงอาทิตย์ ครั้นรำพึงดังนี้แล้ว ยกมือขึ้นไหว้พระพุทธเจ้าดังนี้ว่า ตัวเราเมื่อตายไปก็ไปแต่บุญแต่บาปนี่เอง เป็นเพื่อนสองเที่ยงแท้เทียว
     
  8. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    พุทธํ ยาวนิพพานํ สรณํ คจฺฉามิ ชีวิตข้าพระพุทธเจ้าอันเห็นต่างๆ นั้นขอถวายแด่พระพุทธเจ้า ตราบเท่าถึงนิพพาน ขอพระพุทธเจ้าจงมาอยู่ในหทัย ข้าพระพุทธเจ้านี้เถิด

    ธมฺมํชีวิตตํ ยาวนิพพานํ สรณํ คจฺฉามิ ลมข้าพระพุทธเจ้า อันลมหายใจ ออก-เข้า ทั้งนี้ ข้าขอถวายพระธรรมเจ้า ตราบเท่าถึงพระนิพพาน ขอพระธัมมเจ้าจงมาประดิษฐานอยู่ ณ. กระหม่อมข้าพระพุทธเจ้านี้เถิด<O[​IMG]

    สงฺฆํ ชีวิตตํ ยาวนิพพานํ สรณํ คจฺฉามิ ดวงหทัยของข้าพระพุทธเจ้า ถวายแด่พระสงฆ์เจ้า ตราบเท่าจนถึงพระนิพพาน ขอพระสงฆ์เจ้าจงมาประดิษฐานอยู่ ณ. เกล้า ของข้าพระพุทธเจ้านี้เถิด

    ร่างกายของข้าพระพุทธเจ้าขออุทิศ ให้เป็นทานแก่ สารพัดสัตว์ในแผ่นดิน ด้วยเดชทานภายในอันประเสริฐนี้ ด้วยเดช พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เจ้าทั้งหลายด้วย จงมาสถิตอยู่ในร่างกาย แล้วจะมีโทษมาแต่ไหน บาปกรรมอันใดจะมี ครั้นว่าดังกล่าวมาฉะนี้แล้ว <O[​IMG]ก็ให้เอาจิตนึกผูกเห็น เช่นดังดาวรุ่งเรือง นึกไว้ให้มั่นแล้ว ค่อยนึกหน่วงลงไปให้ถึงคอหอย แล้วค่อยแลลงไปให้ถึงในอกแล้ว ค่อยแลลงไปให้ถึงสะดือ เป็นที่พระชุมอยู่แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ให้นึกหมาย เห็นเหมือนหนึ่งดาวรุ่งเรืองอยู่ในที่ สะดือ นั้นแล้ว จึงนึกให้ส่องสว่างขึ้นมาถึงอก

    แล้วนึกให้สว่างออกไปโดยทวารทั้ง ๙ แห่ง ดุจดังตามโคมไว้ให้สว่างอยู่ อันนี้ชื่อว่า โสดา ยังยังตก ๗ ชาติ จึงจะได้นิพพาน<O[​IMG]

    แลให้นึกทั่วไปในกระดูกสมอง ดังแสงแก้ว อันนี้ชื่อว่า สกิทาคา ยังจะตกมาอีกชาติเดียว ก็จะได้ไปนิพพาน<O[​IMG]

    แลให้นึกด้วยใจให้ทั่วไปในเนื้อ หนัง ดังแสงแก้ว อันนี้ชื่อว่า อานาคา ครั้นตายแล้วก็จะค่อยเคลื่อนไปอยู่นิพพาน

    แล้วให้เร่งปัญญานึกตรึกไป ให้เห็นขาวในผม แลขนที่ขึ้นที่มืดดำนั้น ให้ขาวบริสุทธิ์ ประดุจ ดังแสงแก้ว ทั่วไปทั้งสารพางค์กาย ทั้งภายในภายนอก รุ่งเรืองดังแสงพระอาทิตย์ เมื่ออุทัยขึ้นพ้นยุคลธรคิรี อันนี้ชื่อว่าหนทางพระอรหันต์เจ้าทั้งปวงแล
     
  9. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    แม้ผู้ทำทาน รักษาศีล ทำสมาธิ ให้ตัวดังว่ามานี้ ปูชาย โกฏึ แม้บุคคลจะเอาเครื่องสักการอามิสต่างๆ มากระทำบูชาถ้วนสิ่งละพันวันละแสนครั้งก็ดี สมทานํ ย่อมมีผลเท่าผลแห่งคนที่สวดมนต์ไหว้พระ ครั้งนี้ครั้งเดียว สมทานํ โกฎงฺ สวดมนต์ไหว้พระวันละแสนโกฏิครั้ง สมถตํ ไม่มีผลเท่ากับนั่งพับพะแนงเชิงภาวนาครั้งหนึ่งเลย สมํ สมฺม สตํ โกฎํ นั่งพับพะแนงเชิงภาวนาธรรมต่างๆ จบพระไตรปิฏกสิ้นทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ วันละแสนโกฎครั้ง สมาธิยํ มีผลไม่เท่าผลสมาธิครั้งหนึ่งเลย ถ้าภาวนาสมาธินี้แล ดีเลิศประเสริฐยิ่งนัก พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย นิพพานพ้นทุกข์ไปแล้วนั้น ล้วนแต่ได้ถือเอาทางสมาธินี้แล อันว่าทางสมาธิ คือว่า ให้เอาจิตผูกไว้ ในดวงแก้วนั้นให้มั่น ผูกจิตมิให้วอกแวกเตร่ ไปในที่ใดๆได้เลย สมาธิญจสหสฺโกฎิง แต่นึกผูกเอาสมาธินั้นได้ วันละพันโกฎิครั้ง โลกุตรมหุตํ ไม่มีผลเท่าผลแห่งอันถือในทาง โลกุตรสมาบัติ ครั้งหนึ่งเลย อันว่าพระนวโลกุตรนั้น คือว่าได้ แลเห็นดวงแก้วรุ่งเรืองชวาลัยสว่าง ออกไปยังทวารทั้ง ๙ แห่งนั้นแล แลหลับตา แลเห็นสว่าง ทั่วไปทั้งภายใน ภายนอก อันนี้แล ชื่อว่า พระนวโลกุตรธัมเจ้าได้ แลเห็นนี้แล้วแล สหสฺสอนาคา โลกุตรมหตฺตํ แต่ถือเอาทางปรมัตถ์ คาบหนึ่ง โลกุตรวัน ๑,๐๐๐ คาบ ปรมตฺถ ปจฺเจวพุทธํ ผลไม่เท่าถือเอาทางปรมัตถ์คาบหนึ่ง ในพระปรมัตถ์ธรรมเจ้า นั้นเป็นที่สุดแล้ว ผลไม่เท่าถือเอาทางปรมัตถ์คาบหนึ่ง ในพระปรมัตถ์ธรรมเจ้า พุทธัง
     
  10. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    โดยพบเมืองแก้วได้เห็น ศิวํพุทธํ ศิวํ ได้แก่พระนิพพาน พุทธํด้แก่พระพุทธเจ้า แลถือเอาทางพระปรมัตถ์ ดับจิตนั้นให้หายมิได้สรรพสำเนียงเสียงอันใดๆ แลมินึกรู้สึก หนาว แล ร้อนเลย ยังแต่ปัญญาด้วยชมรสแห่งนิพพานแล จำเริญในทางนิโรธ อมตนิพพานแล อนึ่งเมื่อเราถึงแก่มรณะนั้น ให้เอาดังกล่าวมานั้นเถิดทั้ง ๙ ประตู ให้สว่างจนถึงกระบอกหัว ให้ทั่วทวัตติงสาการ มาแล้วนั้นให้สว่างแต่นาภีขึ้นไปสว่าง(ออก)แต่ กระหม่อม จิตผูกเอาดังพระอาทิตย์นั้นแลจึงจะนำเข้าสู่นิพพาน กุมเอาจงมั่น อย่าระวางเสีย จะพลัดตกลงนรกๆ นั้นเป็นทุกข์ ลำบากยากนัก แลยากที่จะพบดวงเองนั้นแล ให้ถือเอาจงมั่นจิต ตนอย่างนั้น ให้สำเหนียกไว้ จงชำนิชำนาญ จะได้หน่วงเอาไปเมื่อตาย เมื่อใกล้จะตายจักษุประสาทดับมืดไป ๑ โสตประสาทดับหูหนวกไป ๑ ฆานประสาท ดับจมูกไม่รู้จักกลิ่น ๑ ชิวหาประสาท ดับสิ้นไม่รู้รส ๑ กายประสาทดับ ไม่รู้หนาว รู้ร้อน รู้เจ็บ๑ ประสาททั้ง๕ นี้ดับสิ้นแล้ว ก็ยังเหลือแต่ดวงจิตคิดอยู่ เร่งถือเอาจงพลันให้มั่นไว้ อย่าให้ทันจิตนั้นดับเสียได้ก่อน

    ถ้าแลหลับลืมทางนิพพาน แลอันตนสร้างมานั้นเสียแล้วจะนึกเอาอันใดมาเป็นที่พึ่งมิได้เลย เหตุว่าตายไปทั้งหลับนั้นแลบาปกรรมที่ทำไว้มาตามทัน เข้าปิดทางบุญไว้มิให้เห็นได้เลย ให้เร่งถือเอา อสฺวาส ปสฺวาส โดยอนุโลม โดยปฏิโลม เอาพระปัญญาญาณสมาธิ ค่อยระบายลมหายใจออกก่อนแล้ว จึงค่อยระบายลมหายใจเข้า เข้าไป แต่ปลายนาสิก จนถึง นาภี แล้วอัดนิ่งไว้ให้แน่วแน่อยู่ตรงตัวนั้น ทำให้สว่างดังกล่าวนั้นมาชื่อว่า นิศวาสจิต อนึ่งเมื่อเข้านิโรจน์ให้รำพึงเห็นในมโนทวารสว่างทั้ง ๔ ประตู พระนิพพานอยู่ในนาภีดังพระอาทิตย์ แล นิศวาส นิ่งอยู่นั้นทำให้บาปธรรมทั้งหลายตาย ๓ ตัว คือ ทิฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ จตุปาตํ จตุบายครั้นตายได้โสดาไปในสวรรค์แล้วจะกลับมาบังเกิดในมนุษย์
     
  11. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อันว่านรกนั้นมิได้รู้ไปเลย ยังตกอีก ๗ ชาติก็จะได้ไปนิพพาน คุมเอา อสฺสาวาตะ ปสฺสาวาตะ ลมหายใจให้แต่ปลายนาสิก ถึงหัวอก คุ่มไว้ให้นิ่งอยู่เป็น นิสวาตะ ได้เป็นสกิทาคา ฆ่าบาปกิเลสตาย ๓ ตัว คือ โลโภ โทโส โมโห ทรามลงเป็นนิพพานอยู่ในหัวอก เอาปฏิสนธิเป็นพรหม แล้วกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ตกอีกชาติหนึ่งจึงจะถึงนิพพาน อสฺสาวาตะ นั้นค่อยระบายลมหายใจเข้าแต่ปลายนาสิก ถึงคอ คุ่มไว้ให้นิ่งเป็นอยู่ นิสวาต ได้เป็น อนาคา ฆ่าบาปกิเลศตาย ๓ ตัว คือ ราคะ โทโส โมหะ เป็นนิพพานอยู่ในคอนั้น แลเอาปฏิสนธิเกิดในชั้น อกนิฐมหาพรหม แล้วค่อยเคลื่อนเข้าไปสู่นิพพาน อันเย็นใจนั้นแล อสฺวาส หายใจเข้าอยู่แต่ปลายนาสิกอย่าให้หายใจออกเลย อัดไว้ให้ถ้วนลูกปะคำ ๓๗ ชื่อว่านิโรธ ทำบาปธรรมทั้งหลายให้หายสิ้นสูญ ดับศีล ดับพระธรรม บาปกิเลศ บาปอกุศล ๔ ตัว คือ อหิริกํ อโนตตปฺปํ วิจิกิจฉา อุทธจฺจํ บาปภายในตายสิ้นสุด เอาเดชบารมีธรรมเข้าไป ทำให้ศีล นั้น สว่างรุ่งเรืองชวาลาดังกล่าวแล้วนั้น ก็พลันเป็นรัศมีพรุ่งโพรงขึ้นไปบนอากาศ แล้วก็ลอยลง ลอยลง เหนือแผ่นดิน เป็นจุนสูญสิ้นไป ได้ลุเป็นองค์พระอรหันต์เจ้าเข้าสู่นิพพานพ้นทุกข์แล ตัวเรานี้เมื่อจะตาย ด้วยเดชแห่งดวงแก้วจะทำหนทางไป ให้เกิดตามดวงแก้วทั้ง ๖ ประการนั้น แลพระธรรมเจ้าทั้ง ๗ ประการนี้ จะชูตัวเราขึ้นไปสู่ดวงแก้วนั้น อันว่าดวงแก้วทั้ง ๖ ประการมีชื่อต่างๆกัน ฉัพพันธรังษี ๓ ก็ว่า ค่ายญาณก็ว่า ๔ ผนวช ก็ว่า ๕ ศีลก็ว่า ๖ บุญก็ว่า ทั้งสิ้นนั้นเป็นอันเดียวกัน เห็นดังว่าใครไปหามาหาแล ดูไฟในร่างกายตัวเราเองมิใช้อื่นใช้ไกลเลย อันพระธรรมเจ้าทั้ง ๗ นั้นก็มีชื่อต่างๆ ชื่ออาตมาก็ว่า สูญญํ ก็ว่าอนาปานก็ว่า นิโรธก็ว่า นิสสาวาตะก็ว่า ปสฺสาวาตะก็ว่า ทั้ง ๗ พระองค์นี้เป็นชื่อเดียวกัน เห็นดังว่าหาไปหามา ดูลมในร่างกายนั้นเถิด เป็นอยู่ก็ได้ ตายไปก็ได้ ให้เร่งหาเอาจงพลัน เพราะเกิดมาแล้วไม่รู้วันตาย
    <!-- / message -->
     
  12. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ถ้าได้พระธรรมอันประเสริฐแล้ว แต่ยังไม่ถึงนิพพานก่อน ก็ให้เรียนเอา พระคาถา ๔ บทนี้ก่อน จึงจะได้นิพพาน เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นี้ให้ภาวนาให้พรแก่สัตว์ทั้งหลาย อันได้กระทำมานั้น อหํ สุขิโต โหมิ นิททุกโข อเวโรอพฺยาปัชโฌ อนิททุกโข สุขิโตปริหฺรามิ ดังนี้ให้ภาวนาให้พรให้แก่ร่างกายเราแล บิดา มารดา อินทร์ พรหม ทั้งหลาย ทั้งอนันตจักรวาลย์ปญฺจมาเร ชิเนนาโถ ปตฺโตสมฺโพธิมุตตมํ จตุสจฺจํ ปกาเสติ มหาวีรัง วันทามิหํ ชิโนนาโถ ภาวนาให้พรแก่มารทั้ง ๕ นิมิตตัวเป็นพระงามดังทองมารห้ามประตูนิพพานมิให้ไปเลย ครั้นให้พรแก่มารแล้ว มารก็ให้ไปเข้านิพพานแล ยังจะมาบังเกิดเล่า เหตุว่ามิได้ประจุร่างเสียก่อนแล ลงมาเอาร่างเล่าก็เกิดตายมิรู้แล้วเลย ประจุรูปร่างด้วยปาทฉะนี้ สพฺเพ สงฺขารา อุปปตฺชิตฺวา นิรุชฌนฺติ นตฺถิ ชนํ วินาสสนฺติ ครั้นประจุร่างแล้วเอาจิตผูกไว้เอานิพพานเป็นอารมณ์ แล้วว่าดังนี้ ภัยอันใดอย่าได้มาเบียดเบียนข้าเลย เบียดเบียนข้าวันใดข้าจะไปนิพพานวันนั้นแล ว่าดังนั้นแล้วเอาจิตหน่วงเอานิพพานเถิดอย่าภาวนาเลย อันว่าจตุรภูตทั้ง ๔ รักษาร่าง ไว้ให้เวียนตายเวียนเกิด ครั้นประจุร่างแล้ว มันออกไปอยู่นอกจักรวาลย์ ตัวเราก็ได้พ้นทุกข์แล เหตุว่าจตุรภูตในร่างกายมิได้มี เมื่อจตุภูตยังอยู่ร่างเราก็เป็นทุกมิรู้แล้ว ครั้นประจุร่างเสียแล้วก็มิได้ลงมาบังเกิดในดินนั้นเลย ได้ไปเกิดถึง อกนิฐพรหมนั้นแล ยังมิได้ถึงนิพพานก่อน อันว่านิพพานย่อมไปเกิดในดวงแก้ว ให้ว่าคาถานี้ก่อนจึงจะได้ไปเกิดในดวงแก้ว ยํกิญจิรูปํ อตีตานาคตปจฺจุปปนฺนํ อชฺฌตฺตํ วา พหิทธา วา โอฬาริกํ วา สุขุมํวา หีนํ วา ปณีตํ วา ยงฺทูเร วา สนฺติเก วา สพฺเพ นามรูปํ อนิจจํ ขยตฺเถนะ ทุกขํ ภยตฺเถนะ อนตฺตา อสารกตฺเถนะ ครั้นว่า พระคาถานี้แล้วก็ได้ไปเกิดในดวงแก้ว กล่าวแล้วคือ เกิดในพระนิพพานนั้นแล พรหมเกิดในดอกบัวแก้ว สวรรค์เกิดในดอกบัวทอง นรก เกิดมาแต่ถ่านไฟแดงนั้นเป็นแท้ พรหมสุทธิมรรครัตน แลเลือกผู้ที่จะกลับมาจะกลับแล้ว ก็เลือกผู้จะรักษาด้วยยากหนักหนา ให้พิจารณาเอาเถิด
    <!-- / message -->
     
  13. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    น. กาโรสุวรรณโณ พระกกุสันโธ งามดังทองอยู่ในจักขุซ้าย
    โม. กาโร มณีโชตกัง พระโกนาคม ดวงงามดั่งแก้วมณี อยู่ในจักขุขวา
    พุ. กาโรสินเมวจะ พระพุทธกัสสปเจ้าดวงงามอย่างหอยสังข์ อยู่ในโสตทั้งสองข้าง
    ธา. กาโรสินเมวจะ พระสมณะโคดมดวงงามอย่างพระอาทิตย์ อันเราไหว้ทุกวันนี้อยู่ในนาภี
    ยะ. กาโรปัญจมัง พุทธัง พระศรีอริยะเจ้าดวงงามดั่งหอยมุก อยู่ตรงหน้าผาก

    รัศมีทั้ง พระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ อยู่ในพระศรีอริยะเจ้า กว่าพระเจ้าทั้ง ๔ พระองค์นั้นแล พระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์นั้นพระธรรมเจ้าชูไว้ มิได้ให้เข้านิพพานก่อนเลย พระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์นั้นยังอยู่ คอยท่าพระศรีอริยะเจ้า ถ้าพระศรีอริยะเจ้ามาจึงจะเข้านิพพาน พร้อมกันทีเดียว พระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์อยู่ใกล้เรือนอยู่ไกล ด้วยเหตุว่ามิได้รู้จักตัวพระธรรมเจ้าทั้ง ๗ จึงมิเห็นพระพุทธเจ้านั้น อันพระธรรมอยู่ปากประตูนิพพาน พระสงฆ์อยู่หลังทั้ง ๗ พระองค์ นั้นอยู่แต่กันแล ครั้นได้เห็นสว่างแล้ว ก็จะได้แลเห็นทั้ง ๗ พระองค์ เสมอได้เห็นพระนิพพานแล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 เมษายน 2009
  14. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    นะ. ได้แก่น้ำ ๑๒ เกิดแต่ข้างมารดา น้ำ อักขระ ๑๒ ตัว เกิดมาเป็นดวงจิตขาวดังแก้ว มีลมอยู่ในน้ำดวงจิตนั้น มีไฟเท่าชิ้นทรายอยู่ในลมนั้นแล อันนี้ชื่อว่า เวทนาขันธ์ ได้แก่น้ำดวงจิต อันกลมอยู่นั้นแล ครั้นน้ำดวงจิตแตกออกตัวเราก็ตายไปแล ชีวิตเรานี้อยู่ในรูเอ็นอันหายใจเข้า-ออก รักษาน้ำดวงจิตไว้มิให้แตก เมื่อมรณะกรรมตามมาทันมันปิดลมหายใจไว้ เข้าไปมิได้ออกมาดวงจิตนั้นก็แตกออก ร่างนั้นถ้าสูญเสียถ้าลมออก มาแล้วมิได้เข้าไป ดวงจิตนั้นก็สูญเสีย อย่าว่าแต่เราเป็นมนุษย์เลย ชื่อว่า เทวดา อินทร์ พรหม ก็ต้องตายเหมือนกัน เหตุว่ามีชีวิตดุจกันแล นิพพานไซร์หาดวงจิตมิได้ จึงพ้นจากความตาย ความทุกข์ทั้งปวงแล ให้ภาวนาว่าดังนี้ อสฺสาวาตะ ลมกูหายใจออกมาแล้ว มิเข้าไปรักษาดวงจิตไว้ก็จะตายบัดเดี่ยวนี้แล ปสฺสาวาตะ ลมกูหายเข้าไปแล้วมิได้กลับออกมา ดวงจิตจะแตกตายบัดเดี่ยวนี้ ภาวนาชื่อ อนาปานพระพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้าทั้งหลายย่อมถือเอา อสฺสาสะ ปสฺสาสะ นี้แลให้เป็น นิสวาตะ จึงได้นิพพานให้เร่งหาจงได้

    โม. ได้แก่ดิน ๒๑ เกิดมาแต่ข้างบิดา เป็นอักขระ ๒๑ นั้น เกิดมาแต่ดวงจิตตกแต่งให้เกิด น ๑๒ โม ๒๑ เป็นอักขระ ๓๓ ตัวนั้น คือ
    ก ข ค ฆ ง
    จ ฉ ช ฌ ญ
    ฎ ฏ ฑ ฒ ณ ต ถ ท ธ ฬ- อัง

    อักขระ ๒๑ ตัว ธาตุดิน น ป ผ พ ภ ม ย ร ล ว ส ห อักขร ๑๒ ตัวนี้ ธาตุน้ำรวมเป็น ๓๓ ตัว นี้ชื่อว่ารูปธรรม นามธรรม กะ ผม ข ขน ค เล็บ ฆ ฟัน ง หนัง จะ เนื้อ ฉะ เอ็น ชะ กระดูก ณ เยื่อในกระดูก ญ ม้าม ฎ หัวใจ ฏ ตับ ฑ พังผืด ฒ พุง ณ ปอด ต ใส้ใหญ่ ถ ใส้น้อย ท ขี้ใหม่ ธ ขี้พุงเก่า ฬ สมอง อัง กระบอกสมอง อักขระ ๒๑ ตัวนี้ ให้บังเกิดปฐวี ธาตุดิน ๒๑ ในตัวเรา ครั้นเกิดรูปธัมแล้ว ก็บังเกิดรูปขันธ์ น น้ำดี ป น้ำเสลด ผ น้ำเหลือง พ น้ำเลือด ภ น้ำเหงื่อ ม น้ำมันข้น ย น้ำตา ร น้ำมันเหลว ล น้ำลาย ว น้ำมูก ส ไขข้อ ห น้ำมูต อักขระ ๑๒ ตัวนี้ให้เกิดน้ำ ๑๒ รูปธรรม ๒๑ ให้บังเกิดรูปขันธ์ ได้แก่ดิน นามธรรม ๑๒ ให้บังเกิดเวทนาขันธ์ ได้แก่น้ำ ๑๒ อันว่า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์เข้าด้วยกันเป็น ๓๓ ชื่อ ทวัตติงสาการ ใจนึกยินดียินร้าย นั้นให้บังเกิดใน ทวัตติงสาการแล เมื่อภาวนาให้จิตผูกไว้ในที่ดังกล่าวมานั้นแล แสงดวงจิตนั้นอยู่ในตาสว่างขึ้น มาแต่นาภี แลเห็นดังกล่าวมานั้นแล ให้ตั้งใจแลในตาก่อน ครั้นเห็นในตาแล้วจึงให้แลลงไปในนาภี ที่ตั้งนั้น พระพุทธเจ้าแจ้งอยู่ในรูปขันธ์ ๒๑ เวทนาขันธ์ ๑๒ แล้วจะแปลงสัญญาได้แก่ ตัว พุท ๔ ธา ๖ ยะ ๘
    <!-- / message -->
     
  15. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    <TABLE class=tborder id=post143929 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt1 id=td_post_143929>พุท ๔ นั้นได้แก่ ศีล ๔ ธา ๖ นั้นได้แก่ธรรม ๖ ยะ ๘ นั้น ได้แก่ทางทั้ง ๘

    พุท. ๔ นั้นคือ ศีลทั้ง ๔ นั้น ชื่อว่าสัญญาขันธ์ ได้แก่ไฟทั้ง ๔ คือ ไฟโสดา ๑ ไฟสกิทา ๑ ไฟอนาคา ๑ ไฟอรหันต์ ๑<O[​IMG]

    ธา. ๖ คือธรรมมะทั้ง ๖ ชื่อ สังขารขันธ์ ได้แก่ฉัพพันธรังษีทั้ง ๖ คือ จักขุวิญญาณ ได้แก่ตา ๑ โสตวิญญาณ ได้แก่หู ๑ ฆานวิญญาณ ได้แก่จมูก ๑ ชิวหาวิญญาณ ได้แก่ ลิ้น ๑ จิตวิญญาณได้แก่จิต ๑ กายวิญญาณ ได้แก่ร่างกาย ๑ วิญญาณทั้ง ๖ นี้ ให้เกิดดวงจิตวิญญาณทั้ง ๖ นี้ เป็นต้นเป็นมูลบาปธรรมทั้งปวง ได้แก่ลมทั้ง ๖ นั้น ชื่อ สังขารขันธ์ ได้ในวิญญาณทั้ง ๖ นั้นเสียแล มิได้ยินสัพพะสำเนียง เสียงสิ่งใดเลย ร้อนหนาว เจ็บ ปวด นั้นหามิได้เลย ยังแต่นิพพานยังหมายคอยในนาภีนั้นแล ครั้นจุติได้นิพพาน เพราะเหตุว่าวิญญาณทั้ง ๖ นั้นหามิได้เลย<O[​IMG]

    ยะ. ๘ ได้แก่ทานทั้ง ๘ ชื่อว่าวิญญาณขันธ์ ได้แก่ เจตสิกธรรมทั้ง ๘ ประตู คือ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปากบน ปากล่าง ให้รู้จักรสต่างๆนั้นแล ครั้นเจตสิกดับ ตัวเราก็หลับอยู่แล ครั้นเจตสิกลุกออกไปโดยประตูทั้ง ๘ แล้วเราก็รู้ตื่นขึ้นเจรจา พาทีทั้งปวงแล ลมอสฺสาวาตะ กับเจตสิกทั้ง ๘ นั้นชื่อว่า วิญญาณขันธ์ เหตุว่าให้หลับให้ตื่น ชื่อว่าทานภายใน รูปขันธ์ ได้แก่ดิน ให้รู้เจ็บ เวทนาขันธ์ ได้แก่น้ำดวงจิต ให้รู้ขึงโกรธ สัญญาขันธ์ ได้แก่ไฟให้แลเห็นต่างๆ สัญญาขันธ์ ได้แก่ ลมให้จำไว้ต่างๆ วิญญาณขันธ์ได้แก่อาการ เหตุว่า เกลียดก็ว่า ใหญ่ก็ว่า แหลมก็ว่า สูงก็ว่า เร็วก็ว่า ลมอันนี้ได้ชื่อว่าอาการ เหตุว่า เป็นที่รอง ดิน น้ำ ไฟ ลม ทั้ง ๔ นั้นแล อาการได้แก่เจตสิก อันนึกเอาบุญบาป มาจะถมตัวเราลงไปนรกนั้นแล ให้ฆ่าเจตสิกเสีย ก็ได้นิพพาน<O[​IMG]

    - ดิน ได้แก่ ทานรักษา
    - น้ำ ได้แก่ พระสงฆ์รักษา
    - ไฟ ได้แก่พระพุทธเจ้ารักษา ลม ได้แก่พระธรรมเจ้ารักษา
    - เจตสิก ได้แก่ตัวบาปรักษา หาให้ได้ตัวนั้นอยู่ในชื่อนั้นอยู่นอก ผู้นั้นคิดออก เร่งหา เร่งคิด เร่งเอา ค้นหามานานแล้ว ให้ละนานเสีย มีลูกมีเมีย เอาไปมิได้แต่บุญ แล บาปไซร์จะไปเตือนตน เมื่อตัวจะตายให้ถวายชีวิตแก่พระดังนี้
    <!-- / message --></TD></TR><TR><TD class=alt2>[​IMG] </TD><TD class=alt1 align=right><!-- controls --><!-- Start Post Thank You Hack -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    พระสังคินี ให้เกิด ตา -พระวิภัง ให้เกิด หู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 เมษายน 2009
  17. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ตังหนึ่งอยู่ในที่นั่ง ขาวบริสุทธ์ อะ ตัวหนึ่งอยู่บนกระหม่อมขาวบริสุทธ์ ถ้าว่า สัตรูจะทำร้าย ให้รำพึงถึงนางธรณี และ นางเมฆขลา และ พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า นมัสการกล่าว อักขระ อะ อา อิ อี อุ อู ฤ ฤา ฦ ฦา(บุ บู พุ พู) เอ ไอ โอ เอา อัง อะ ให้ได้ ๑๖ คาบ อักษร ๑๖ ตัวนี้แล้วสูบลมเข้ากลั้นใจ นึกเอาแต่ตัว อะ ตัวเดียว อันอยู่ที่นั้นเอาขึ้นไว้ให้อยู่ด้วยกันกับ อะ ในกระหม่อมนั้นสัตรูทำร้ายเรามิได้เลย ครั้นหายใจออกมา นั้นก็ลงไปอยู่เล่า สัตรูฆ่าเรามิตายแล เหตุ นั้นลงมาอยู่ที่นั้นนั่นแล ถ้าหายใจออกมาให้เอาจิตผูกไว้ใน นั้นแล้ว ให้กระแหนบท่องเข้าไว้ ชื่อว่าคุมตัว ดุจเดียว และผู้ใดทำได้ดังนี้อายุยืน ชั่วพระจันทร์ พระอาทิตย์แล ครั้นว่าร่างแหลกเหลวนั้นเสียแล ท่านฆ่าเราตายแล ถ้าใครจำได้อักขระ ๑๖ ตัวนี้ย่อมกันสารพัด อาวุธและภัยอันตรายทั้งปวงได้ ถ้าถือเอา อะ เมื่อตนจะตาย ก็พ้นจากทุกข์และสำเร็จนิพพาน สำเร็จสุขยิ่งกว่าชั้นอินทร์ ชั้นพรหมนั้นแล <O[​IMG]

    ลมออกข้างขวา ชื่อว่า สูรกลา
    ลมออกข้างซ้าย ชื่อว่า จันทกลา

    ลมสูญกลา ออก มาเต็มที่แล้ว ลมจันกลาหามิได้ ให้ละเสียเพราะละตัวไปสู่ขุนนางท้าวพระยาไป สู่ถ่อนความคดีได้สิ่งนั้นแล ครั้นลมสูร ออกดีแล้วให้ หย่อนคืน สูร ไป ก่อนให้ได้ ๕ ย่างเรามีไชยชนะแล ใครอยู่ข้างสูร ให้เขาผู้นั้นทำก่อน อันใดก็ดี เมื่อจันกลา ออกดีแล้ว สูรมิได้ออก ให้ทำรั้วปลูกเรือน แรกนา ไปค้า หาสินทรัพย์นุ่งห่มผ้า ให้หาลูกเมีย ตัดเสื่อผ้า ชื่อช้างม้า วัวควาย ดีแล ครั้นลมจันกลาออกเต็มที่แล้ว ให้เอาตีนข้างจันทกลา ไปก่อนได้ ๕ ย่าง มีชัยชนะแล <O[​IMG]

    เมื่อจะเข้าต่อสู่สัตรูข้าศึกนั้น ทำให้ได้พร้อมกัน ทั้งสูร ทั้งจัน ถ้าสูรกล้า ให้ด้วย จันกล้าให้รอท่าสูรก่อน อย่านั่งอย่ายืนให้เทียวไปเทียวมา ครั้นสูรออกเต็มที่ไม่มีจัน แล้วให้ถือเอาอักขระ ๑๖ คาบ แล้วสูบลมหายใจเข้าไปกลั่นใจคุมเอา อะ ตัวเดียว นั้นไปไว้ในกระหม่อม เมื่อคอยรบกันเอาตีนซ้ายไว้หน้า เอาตีนขวาไว้หลัง ซ้ายได้แก่เรา ขวาได้แก่เขา อนึ่งถ้าถามว่าข้าศึกที่จะเข้ารบ ว่าจันแรง จันชนะ ถ้าสูรแรง สูรชนะ ถ้าสูรจันเสมอกัน ก็เสมอกัน ใครได้สูร ให้ทำก่อน ฝ่ายจัน อยู่แต่ในจันแห่งเดียว<O[​IMG]แลให้รู้จัก อสฺสาวาตะ ปสฺสาวาตะ อสฺวาตะ นิสวาตะ ทั้งสี่ตัวนี้ท่านฆ่าเรามิได้เลย
     
  18. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ถ้าเดินไปข้างทักษิณ และ ประจิม ให้ไปด้วย สูร ถ้าไปข้างบูรพา อุดร ให้ไปข้างจัน ถ้าสูรออกเสมอกัน ห้ามอย่าไปมิดี ถ้าเป็นศึกให้ศึกวายก่อนจึงไป จันได้แก่เรา สูร ได้แก่ท่าน หายากยิ่งนักมิใคร่จะได้เลย

    พระพุทธเจ้าแบ่งพระองค์ออกเป็น ตาผ้าขาว มาเฉลยศีลทั้ง ๔ ในพระธรรมเจ้าทั้งสามไตรนั้นแล ถ้าแลเห็นเท่าหิงห้อย ชื่อว่า โสดา เห็นเท่าดาวรุ่ง ชื่อว่า สกิทา เห็นเท่าจันเพ็ญ ชื่อว่า อนาคา เห็นแจ้งดังพระอาทิตย์ ชื่อว่า อรหันต์ อันนี้ชื่อว่าศีล ๔ ประการ เห็นดังนี้จะได้นิพพาน พระพุทธเจ้าว่ายังมิได้ก่อน ต้องให้พรแก่สัตว์ทั้งหลายก่อนจึงจะได้นิพพาน เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ตาผ้าขาวถามว่าถ้าให้พรแก่สัตว์แล้วก็ได้นิพพานเทียว พระพุทธเจ้าว่ายังมิได้ก่อน ต้องให้พรแก่ร่างก่อนจึงจะได้ ตาผ้าขาวว่าอวยพรแก่ร่างแล้ว คือมารดา บิดาเป็นต้น ก็ได้นิพพานเทียวหรือ พระพุทธเจ้าว่ายังมิได้ก่อน ต้องให้พรแก่มารทั้ง ๕ ก่อนจึงจะได้


    ปญฺจเมเรชิเนนาโถ ปตฺโตสัมโพธิมุตตมํ จตุสจฺจํปกาเสติ มหาเวรํ นมามิหํ ตาผ้าขาวถามว่าให้พรแก่มารแล้วได้นิพพานเทียวหรือ พระพุทธเจ้าว่ายังมิได้ เพราะมารรู้นิมิตตัว ให้เหมือนพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ แลมันปิดประตูนิพพานไว้ให้สัตว์ทั้งหลายห่วงอยู่ มิรู้จักองค์พระตถาคต จะไปนิพพานย่อมให้พรแก่มารทั้ง ๕ มารจึงเปิดประตูนิพพานให้ อันว่าสัตว์ทั้งหลายเวียนว่ายอยู่ในวัฎสงสารนี้ เพราะเหตุมิรู้จักพระพุทธเจ้านั้นแล <O[​IMG]

    อันว่า พระตถาคต ย่อมให้ศีลเป็นพระอุปัชฌาย์ ให้พระธรรมเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ให้ทาน เป็นอนุศาวนาจารย์ ท่านทั้งสามนี้ทำให้ ตถาคตไปนิพพาน ตาผ้าขาวถามว่าให้พรแก่มารแล้วจะไปนิพพานหรือ พระพุทธเจ้าว่ายังมิได้ก่อน ให้ประจุร่างเสียก่อน จึงจะได้นิพพาน<O[​IMG]

    สพฺเพ สงฺขารา อุปชฺชิตฺวา นิรุชฌนฺติ ติฏฐนฺติ วินสฺสนฺติ (สพฺเพ สงฺขารา อนิจจา สพฺเพ สงฺขารา อนตฺตา สพฺเพ สงฺขารา ทุกขา สพฺเพสงฺขารา อุปชฺชิตวา นิรุชชนฺติ นติลชนํ วินาสสนฺติ อันนี้ประจุร่างไว้ ขอพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้า จงให้ข้าได้นิพพานเถิดฯ<O[​IMG]
     
  19. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อิทัง บุญญพลัง อิมินา ปุญญะกัมเมนะ

    ด้วยเดชะบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมาแล้วด้วยดี ตั้งแต่ปฐมชาติ อดีตชาติ ปัจจุบันวันนี้ ข้าพเจ้าขอตั้งจิตกุศลนี้เป็น มหาธรรมทาน เพื่ออบรมหนทางความดับ ไม่มีเหลือเชื้อแห่งอาวสะกิเลสตน แด่ผู้ใฝ่ในธรรม และผู้เคารพเลื่อมใสองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอส่งผลบุญกุศล อันเกิดจากการนี้ อุทิศให้ ครูอุปัชฌาย์อาจารย์สืบๆ ต่อกันมา พ่อเกิดแม่เกิด ผู้มีคุณผู้สูงชาติ ตลอดจน เจ้าบุญนายคุณ เจ้าบ่าวนายใช้ เจ้ากรรมนายเวร ทั้งหลายในทุกภพทุกชาติ ที่ข้าพเจ้าได้เคยสบประมาทล่วงเกิน และมีสัมพันธ์เกี่ยวข้อง ขอจงได้รับขมากรรม และอโหสิกรรมอนุโมทนาบุญให้แก่ข้าพเจ้า และกรรมอันใดที่ท่านทั้งหลายได้ทำไว้กับข้าพเจ้าทุกภพทุกชาตินั้น ข้าพเจ้าขอปวารณาให้เป็นอโหสิกรรมเช่นกัน พร้อมนี้ขอให้ท่านทั้งหลายพึงปราศจากทุกข์และมีสุข เกิดปัญญาญาณยิ่งๆ ขึ้นไป เช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าได้รับ กาลบัดเดี่ยวนี้ด้วยเทอญ


    สาธุ สาธุ สาธุ นิพพานัง ปัจจะโย โหตุ ปูเชมิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...