พระคาถาอาราธนานั่งธรรม “วาณีสุนทรี” ความสำเร็จสมประสงค์

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 19 สิงหาคม 2009.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]



    พระคาถาอาราธนานั่งธรรม “วาณีสุนทรี ความสำเร็จสมประสงค์
    <O:p</O:p


    มุนินฺท วท นมฺพุช คพฺภ สมฺภว สุนทรี
    ปาณีนํ สรณํ วาณี มยฺหํ ปิณยตํ มนํ
    <O:p</O:p

    <O:p</O:p

    พระคาถานี้ใช้สำหรับอาราธนาพระธรรมเข้าสู่ตน เพื่อจะนั่งทางธรรมจะได้สำเร็จผล ตามความมุ่งหมายเป็นพระคาถา ขอบารมีธรรม ขอความสำเร็จสมประสงค์โบราณจารย์ใช้เป็นพระคาถาว่านำก่อนอาราธนาองค์พระกรรมฐาน เมื่อนำเอาบทภาวนา พระคาถาวาณี นำมาประกอบเข้ากับ การเจริญ เมตตาเจโตวิมุตติแล้ว อาจสามารถเป็นไป เพื่อต่อต้านภัยอันตราย และห้ามบาปธรรม (บาปอกุศล ๑๔)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2010
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ที่มาแห่งการแพร่พระคาถาในยุคกรุงรัตนโกสินทร์

    <O:p</O:pเมื่อพรรษาที่ ๑๗ คืนหนึ่ง ขณะที่พระอาจารย์สุก (สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน) ทรงเข้าที่เจริญสมณะธรรมตามปรกติ ทรงทราบในนิมิตสมาธิว่า มีพระอริยเถราจารย์ ชั้นสุทธาวาส มาบอกว่า ให้ไปพบท่านที่ป่าดงดิบ แขวงเมืองสุโขทัย พระอริยเถราจารย์ พระองค์นั้น ยังกล่าวต่อไปอีกว่า ท่านจะสำเร็จสมประสงค์สูงสุดทุกอย่าง ตามที่ท่านต้องการ ให้ไปที่ป่าดงดิบ แขวงเมืองสุโขทัย แล้วความประสงค์ ของท่านจะสำเร็จ และจะได้เกื้อกูล ชนทั้งหลายในภายหน้าด้วย <O:p</O:p

    ต่อมาพระองค์ท่านพระอาจารย์สุก ก็สัญจรไป ถึงป่าดงดิบ แขวงเมืองสุโขทัย ทรงไปด้วยอิทธวิธญาณเมื่อพระองค์ท่าน ถึงป่าดงดิบ แขวงเมืองสุโขทัย กรุงเก่า พระองค์ท่านก็ทรงพบพระอริยเถราจารย์อยู่ในร่างกายทิพย์ ที่สำเร็จด้วย การเข้าสุขสัญญา ลหุสัญญา พระองค์ท่านก็ทรงเข้าไปกราบนมัสการ พระอริยเถราจารย์ พระองค์นั้น พระอริยเถราจารย์ พระองค์นั้น ก็กล่าวว่า พรุ่งนี้ให้ท่านเดินทางไป ในทางนั่นพร้อมกับชี้มือไปทางนั้นด้วย จะพบของดี ของวิเศษ แต่คืนนี้ให้ท่านพักปักกลด บำเพ็ญสมณะธรรม ณ ที่ป่าดงพญาเย็น (คนละแห่ง กับที่เมืองอุตรดิตถ์) นี้ก่อน<O:p</O:p

    ภายหลังพระอาจารย์สุก ได้ทรงทราบเถรประวัติ ของพระอริยเถราจารย์พระองค์นี้ว่า ท่านเคยบวชเป็นฤาษี อยู่ในป่าดงพญาเย็น แขวงเมืองสุโขทัยนี้ประชาชนทั้งหลายสมัยนั้นเรียกขานนามท่านว่า พระฤาษีกัณทหะ (กัณทา) ต่อมาภายหลัง ท่านเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้บรรพชา-อุปสมบท ได้นามทางพระพุทธศาสนาว่า วิสุทโธ
    <O:p</O:p
    เพลาสายของวันนั้น พระอาจารย์สุก ออกเดินทางไป ตามที่พระอริยเถราจารย์ ผู้ทรงร่างอยู่ด้วยกายทิพย์ ไปถึงป่าใหญ่แห่งนั้น ใกล้เชิงเขา ทรงทอดพระเนตรเห็น ก้อนหินก้อนหนึ่ง จารึกเป็นอักษรขอม โบราณว่า


    มุนินฺท วท นมฺพุช คพฺภ สมฺภว สุนทรี
    ปาณีนํ สรณํ วาณี มยฺหํ ปิณยตํ มนํ




    [​IMG]

    พระอาจารย์สุก ทรงอ่าน และท่องจำไว้แล้ว ทรงพักปักกลด ณ ที่แห่งนั้นหนึ่งคืน ตกเพลากลางคืนทรงบำเพ็ญสมณธรรมอย่างเคย ก็ได้ทรงทราบมงคลนิมิต ของพระคาถานี้ทั้งหมด และได้ทรงทราบอุปเท่ห์ วิธีการ ย่อๆ โดยสมควร จากบาทฐาน ขององค์ฌาน

    <O:p</O:p
    ต่อมาพระองค์ท่าน ก็ได้ทรงทราบจากสมาธินิมิตอีกว่า พรหมชั้นสุทธาวาส มาบอกพระองค์ท่านว่า ให้ไปที่วัดร้าง กลางเมืองสุโขทัย ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ท่านจะพบของสำคัญต่อเนื่อง ในพระคาถาวาณี เมื่อพระองค์ท่าน ทรงออกจากสมาธิแล้ว พระองค์ท่านก็ทรงทราบได้ทันทีว่า วัดร้างนั้น คือวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย ที่ประดิษฐาน พระศรีศากยะมุนี ที่สร้างในสมัยพระเจ้าลิไท ครั้งกรุงสุโขทัย เป็นราชธานี

    <O:p</O:p
    เพลาสายของวันต่อมา พระองค์ท่าน ทรงเดินทางมายังเมืองสุโขทัย กรุงเก่า โดยไม่ใช้อิทธวิธญาณ ถึงเมืองสุโขทัย กรุงเก่าแล้ว พระองค์ท่านทรงค้างแรม นั่งเจริญสมาธิอยู่ที่บริเวณ วัดมหาธาตุสถานที่ประดิษฐานพระศรีศากยะมุนี หนึ่งราตรีเวลานั้น วัดพระมหาธาตุ สุโขทัย กรุงเก่า เป็นวัดร้าง เนื่องจากขณะนั้น ยังมีการรบระหว่างไทย-พม่าอยู่ และพระพุทธรูปใหญ่ พระพุทธศรีศากยะมุนี ก็ยังคงประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้ ซึ่งปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ เป็นวนอุทยานแห่งชาติสุโขทัย ครั้งนั้น หลังฉันอาหารเช้าแล้ว พระองค์ท่าน ทรงเดินทางเข้าไปในวัดมหาธาตุ เข้าไปในพระวิหาร ที่ประดิษฐานพระศรีศากยะมุนี จึงเข้าไปกราบนมัสการ พระพุทธศรีศากยะมุนี พระพุทธรูปสำคัญ ของวัดแห่งนี้

    <O:p</O:p
    ต่อมาพระองค์ท่านทรงทราบว่า ของสำคัญต่อเนื่อง ในพระคาถาวาณี อยู่ใน พระคัมภีร์ใบลาน พระองค์ท่านจึงเดินทางไปที่หอไตรประจำวัดมหาธาตุ และทรงค้นพระคัมภีร์ในตู้แรกดู พอพระองค์ท่านทรงเปิดตู้แรก ทรงเห็นพระคัมภีร์แรก ที่หน้าพระคัมภีร์จารึก รูปนางฟ้านั่ง อยู่บนดอกบัวบาน พระองค์ก็ทรงทราบได้ในทันทีว่า พระคาถาวาณี พร้อมรายละเอียดอุปเท่ห์ อยู่ในลานนี้ทั้งหมด <O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 001.jpg
      001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      7.7 KB
      เปิดดู:
      183
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2011
  3. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ความนัยะพระคาถา

    <O:p</O:p
    เมื่อพบแล้ว พระองค์ท่านทรงเปิดพระคัมภีร์ดูก็ทรงพบ พระคาถาอาราธนานั่งธรรม หรือ พระคาถาวาณีจารึกเป็นอักษรขอมโบราณ เป็นตัวทอง อ่านได้ความ เหมือนอย่างที่พบ จารึก ที่ก้อนหิน ในป่าใกล้ๆป่าดงพญาเย็น พร้อมมีคำอาราธนา และคำอธิบายว่า
    <O:p</O:p

    มุนินฺท วท นมฺพุชะ คพฺภ สมฺภว สุนทรี
    ปาณีนํ สรณํ วาณี มยฺหํ ปิณยตํ มนํ



    [​IMG]


    ข้าพระพุทธเจ้า ขออาราธนานางฟ้า คือพระไตรปิฏก ผู้มีรูปอันงาม เกิดแต่ห้องปทุมชาติคือพระโอฐ ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่กว่านักปราชญ์ทั้งหลาย
    <O:p</O:p
    มนํ ขอจงมาสู่มโนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติละเสียซึ่งอาสวะกิเลส ที่ดองอยู่ในขันธ์สันดานของข้าพระเจ้า ทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ให้สิ้นไปเสื่อมไป ข้าพเจ้าจะไม่ทำให้เป็นอัตตกิลมัตถานุโยค ไม่ให้ลำบากแก่สังขาร ฯ
    <O:p</O:p
    พุทธํชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํคจฺฉามิ ฯ <O:p</O:p
    ธมฺมํชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํคจฺฉามิฯ <O:p</O:p
    สงฺฆํชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํคจฺฉามิ ฯ<O:p</O:p
    ข้าพเจ้าขออาราธนาคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า จงมารับเครื่องสักการะบูชาของข้าพเจ้า ในกาลบัดนี้เถิดฯ

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พร้อมคำอธิบายว่า พระคาถานี้ใช้สำหรับอาราธนาพระธรรมเข้าสู่ตนเพื่อจะนั่งทางธรรม จะได้สำเร็จผล ตามความมุ่งหมายเป็นพระคาถา ขอบารมีธรรม ขอความสำเร็จสมประสงค์ ใช้เป็นพระคาถาว่านำก่อน อาราธนาองค์พระกรรมฐานประกอบกับพระกรรมฐานห้องต่างๆ เวลานั้นพระองค์ท่านติดอยู่ขั้นสุดท้าย ของอันตราปรินิพพายี อย่างประณีต
    <O:p</O:p
    เมื่อพระองค์ท่าน นำเอาบทภาวนา พระคาถาวาณี นำมาประกอบเข้ากับ การเจริญ เมตตาเจโตวิมุตติแล้ว อาจสามารถเป็นไป เพื่อต่อต้านภัยอันตราย และห้ามบาปธรรม
    <O:p</O:p
    <O:p
    ธรรมที่เป็นบาปอกุศล เจตสิกมี ๑๔ ตัว คือ<O:p</O:p
    ๑. โมโห คือหลง <O:p</O:p
    ๒. อหิริกํ มิละอายแก่บาป<O:p</O:p
    ๓. อโนตฺตปฺปํ มิกลัวแก่บาป <O:p</O:p
    ๔. อุทธจฺจํ สะดุ้งใจ ฟุ้งซ่าน<O:p</O:p
    ๕. โลโภ โลภ <O:p</O:p
    ๖. ทิฏฐิ ถือมั่น<O:p</O:p
    ๗. มาโน มีมานะ <O:p</O:p
    . โทโส โกรธ<O:p</O:p
    ๙. อิสฺสา ริษยา <O:p</O:p
    ๑๐. มจฺฉริย ตระหนี่<O:p</O:p
    ๑๑. กุกกุจจํ กินแหนง รำคาญ <O:p</O:p
    ๑๒. ถีนํ กระด้าง หดหู่<O:p</O:p
    ๑๓. มิทธํ หลับง่วง <O:p</O:p
    ๑๔. วิจิกิจฉา สงสัย<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2011
  4. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    พระคาถาเพื่อความสำเร็จสมประสงค์<O:p</O:p
    <O:p
    เมื่อกำจัดบาปธรรม ออกไปแล้ว อาจสามารถยังปัญญาให้บรรลุธรรมได้ จะเป็นทางนำสัตว์ทั้งหลายให้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลสได้จากนั้นพระองค์ท่าน ก็ทรงทำการคัดลอกพระคัมภีร์วาณี ที่ไม่มีเจ้า อยู่ในวัดร้าง เมืองสุโขทัยนี้ กลับมาจากรุกข์มูล
    <O:p</O:p
    พระองค์ท่านทรงนำบทพระคาถาวาณีนี้ว่านำก่อนนั่งพระกรรมฐานทุกครั้ง แล้วจึงเจริญเมตตาเจโต เมตตาออกบัวบานพรหมวิหาร ต่อไป ผ่านไปไม่นานนัก พระองค์ท่าน ทรงสามารถบรรลุอันตราปรินิพพายี อนาคามี อย่างประณีต ดังได้มีกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ จตุตถสมันตปาสาทิกา ตอนว่าด้วยอรรถกถา แห่งภิกขุนีขันธกะ ว่า
    <O:p</O:p
    กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๑,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมีพระขีณาสพปฏิสัมภิทาญาณ <O:p</O:p
    กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๒,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมี พระอรหันต์สุกขวิปัสสก<O:p</O:p
    กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๓,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมี พระอนาคามี<O:p</O:p
    กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๔,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมี พระสกทาคามี<O:p</O:p
    กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๕,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมี พระโสดาบัน<O:p</O:p
    <O:p
    กาลที่พระอาจารย์สุก สำเร็จคือกาลแห่ง พระอนาคามี ท่านบรรลุขั้นประณีตครั้งนั้น พร้อมด้วย มรรค ๓ ผล ๓ อภิญญา ๖ เป็นพระอนาคามีบุคคล เต็มขั้น กล่าวว่า เมื่อมรณะภาพ หรือนิพพานแล้ว จะไปบังเกิดในภพ สุทธาวาส คือที่อยู่ของท่านที่บริสุทธิ์ ที่บังเกิดของอนาคามีบุคคล ได้แก่พรหม ๕ ชั้นสูงสุด ของชั้นรูปาวจรคือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา จะสำเร็จพระอรหันต์ผลในภพทั้งห้านี้ ไม่กลับมาเกิดในมนุษย์โลกนี้อีกถึงแม้ท่าน จะทราบว่าเป็นกาล แห่งอนาคามี พระองค์ท่าน ก็ยังไม่ละความเพียรเพิ่มวิริยะบารมีขึ้นเรื่อยๆไม่ทรงท้อถอย ต้องการที่จะบรรลุขั้นต่อไป
    <O:p</O:p
    ดังปรากฏในคัมภีร์ ปัญจปสูทนีอรรถกถา แห่งมหาสูญญะตาสูตรมีใน อุปริปัณณาสก์ว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า แม้เมื่อเราตถาคตปรินิพพานไปแล้วก็ดี กุลบุตรทั้งหลายที่ยินดีแล้วในเอกีภาพ คือความเป็นอยู่ผู้เดียว นึกถึงมหาสูญญตาสูตรอยู่ดังนี้แล้ว หลีกออกจากหมู่คณะ ก็จะทำให้สิ้นวัฏฏะทุกข์ได้ดังนี้<O:p</O:p
    <O:p
    พระอาจารย์สุก พระองค์ท่าน ทรงมีความเป็นอยู่ผู้เดียว แลทรงบำเพ็ญเพียรภาวนาซึ่ง มหาสูญญตาสูตร เสมอๆ กล่าวว่าสมัยอยุธยา พระคาถาวาณีก็มีเหมือนกัน แต่ไม่แพร่หลาย เพราะถึงตอนปลายยุคกรุงศรีอยุธยา ก็เริ่มเสื่อมจากอุบายธรรมนี้ พระอาจารย์สุก ท่านปฏิธรรม ยังไม่ถึงที่สุด แต่ก็มาถึงกาลล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาเสียก่อน พระคัมภีร์อุบายธรรมต่างๆ จึงถูกเผาทำลายจนหมดสิ้น และพระคาถาวาณีนี้ จึงตกค้าง อยู่ที่เมืองสุโขทัย กรุงเก่ากาลต่อมาพระคาถาวาณี ได้แพร่หลายในกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตอนกลาง มีการให้ความหมายพระคาถาวาณีไว้ดังนี้
    <O:p</O:p
    <O:p
    นางฟ้าคือ พระไตรปิฏก มุนินฺท วท นมฺพุช คพฺภ สมฺภว สุนทรี<O:p</O:p
    มีรูปอันงามอันเกิดแต่ห้องดอกบัวคือ พระโอฐ ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่กว่าจอมปราชญ์ทั้งหลาย
    ปาณีนํ สรณํ วาณี <O:p</O:p
    เป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ผู้มีปราณ คือลมหายใจทั้งหลาย <O:p</O:p
    มยฺหํ ปิณยตํ มนํ <O:p</O:p
    จงยังใจแห่งข้าพเจ้าทั้งหลายให้ยินดี<O:p</O:p
     
  5. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ท่านขยายความเพื่อเข้าถึงและเข้าใจf
    <O:p</O:p
    สมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ฯ กล่าวว่า พระอาจารย์ของท่านทั้งทางคันถะธุระ และวิปัสสนาธุระ(สมเด็จพระวันรัต แดง) ก็ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับด้วย กล่าวว่าท่านศึกษากับ พระญาณสังวร บุญ วัดพลับ) สอนให้บริกรรมพระคาถาวาณีนี้ ก่อนเริ่มเรียนพระปริยัติธรรม หรือเข้าที่ภาวนาทุกคราวไป ทั้งยังกล่าวอีกว่า พระมหาเถรแต่กาลก่อนมี สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม เป็นต้น ล้วนนับถือพระคาถานี้ โดยทั่วกัน
    <O:p</O:p
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงไว้ในลายพระหัตถ์ถึง เจ้าพระยาหิธราช เลขาธิการว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) วัดศาลาปูน กรุงเก่าซึ่งเป็นศิษย์ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ วัดราชสิทธาราม หรือ วัดพลับ อธิบายว่า รูปสุนทรีวาณี หมายถึง พระธรรม ดอกบัว หมายถึง พระโอฐของพระพุทธเจ้า ทรงกล่าวอีกว่ายังได้พบพระคาถานี้ในห้องพระ ของหลวงปู่ทอง วัดบ้านกลาง ติดไว้ข้างขวา ด้านหัวนอน หลวงปู่ทอง ท่านเป็นศิษย์ ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ กับพระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) วัดราชสิทธาราม หรือ วัดพลับ
    <O:p</O:p
    สมเด็จกรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพ กล่าวไว้ว่า ตอนที่ข้าพเจ้าชำระ พระคัมภีร์สัททสารัตถชาลินี หรือ คัมภีร์สัททาวิเสส ได้พบพระคาถาวาณีนี้ อยู่ในพระคัมภีร์นี้ด้วย แสดงว่าพระคาถานี้ มีมาก่อนพระคัมภีร์นี้ หรือก่อนนั้น มีคาถาในทำนองเดียวกับพระคาถาวาณีนี้ ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ชินาลังการ เป็นพระคาถานมัสการ ก่อนอ่านพระคัมภีร์พระไตรปิฎก หรือภาวนาก่อนนั่งเข้าที่ภาวนา เพื่อให้เกิดปัญญา เป็นคาถาของพระพุทธโฆษะ ใช้ภาวนาก่อนที่จะอ่านพระไตรปิฎก หรือเขียนพระคัมภีร์ พระสุทธิมรรค คาถา มีใจความดังนี้
    <O:p</O:p

    สตฺถุโน สมฺมาสมฺพุทธ นมตฺถุ โลกเชฏฐสฺส ตาทิโน<O:p</O:p


    ชิเนนท รมตฺเตภสฺส กุมภจารินี ชิโนรสานํ<O:p</O:p


    มุขปงฺกชาลินี สรสฺส ตีเมมุขะคพฺภ คพฺ ภินี<O:p</O:p


    รมฺมํ ตว ฉายา สุสทฺทตฺถุสูทนี
    <O:p</O:p

    <O:p</O:pมีความหมายตามพระคาถานี้ว่า<O:p</O:p
    ข้าพระพุทธเจ้าขอนมัสการ แด่สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ ผู้ทรงหักรานเสียแล้วซึ่ง กำกงแห่งสังสารวัฎฎ์ ตรัสรู้พระธรรมด้วยลำพังพระองค์เอง ด้วยอาการมิได้วิปริตและมีกมลมิได้หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ประเสริฐกว่าสรรพสัตว์โลกสิ้นทั้งปวง
    <O:p</O:p
    อาลินี อันว่านางแมลงภู่ กล่าวคือ พระไตรปิฎก ผู้มีครรถ์ กล่าวคือ พระอรรถรส เป็นอันดี ซึ่งท่องเที่ยวอยู่ในกระพองแห่งช้าง พระยาฉัททันต์ ซับมันตัวประเสริฐ กล่าวคือ พระโอษฐ์แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธองค์ ยังทรงพระชนม์อยู่ <O:p</O:p
    แมลงภู่ คือพระไตรปิฎกนั้น ก็ได้พำนักอาศัยอยู่ในพระโอษฐ์ แห่งพระพุทธเจ้า ครั้นเสด็จพระมหากรุณาเจ้าเสด็จดับขันธ์นิพพานแล้ว<O:p</O:p
    นางแมลงภู่ คือ พระไตรปิฎกนั้น ก็อาศัยอยู่ในกลีบประทุมชาติ กล่าวคือ พระโอษฐ์ แห่งพระพุทธชิโนรถทั้งหลาย บัดนี้ข้าพระพุทธเจ้า ขออัญเชิญนางแมลงภู่ ให้ออกมาอยู่ในห้องที่นอน กล่าวคือ พระโอษฐ์แห่ง ข้าพระพุทธเจ้า อย่าได้ลำบากในกิจที่จะขวนขวาย หาที่ประสูตรบุตรนั้นเลย จงยินดีปรีดาเสด็จมาประสูตร ในพระโอษฐ์ข้าพระพุทธเจ้า คือว่าให้ ข้าพระพุทธเจ้าจำอรรถรส ในพระไตรปิฎก หรือในปัญญาวิปัสสนาญาณ ทั้งปวงได้ ขึ้นใจขึ้นปากสำเร็จ มโนรถความปรารถนาเถิด
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คัดความจาก
    หนังสือ พระวัติสมเด็จพระสังราชสุก ไก่เกื่อน ยุคกรุงศรีอยุธยา บรมครูฝ่ายวิปัสสนาธุระ ประจำยุครัตนโกสินทร์ และพระธรรมทายาท คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (วัดพลับ) ศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ<O:p</O:p
    somdechsuk.com - หน้าแรก<O:p</O:p
     
  6. teeratoy2002

    teeratoy2002 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +417
    ขอคำอ่านเป็นไทยด้วยได้มั๊ยครับ อ่านบาลีไม่เก่งครับ กลัวจำคำอ่านผิด ด้วยความเคารพครับ
     
  7. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,212
    ค่าพลัง:
    +23,196

    อนุโมทนาจ้าแม่บุญญ

    พระคาถาสุนทรีวาณี นี้
    บ้างก็ว่าเป็นหัวใจบทสวดของพระคาถาพระอาการวัตตาสูตร
    ซึ่งบรรยายถึงบารมีขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
    เป็นพุทธานุสติ ให้ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า


     
  8. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471


    เรียนเชิญชวนท่าน ๆ กำหนดจิตตั้งบริกรรมพระคาถาฯ
    และพิจารณาจิต ตนกันนะคะ ว่าจะรับรู้กระทบจิตกันอย่างไรบ้างหรือเปล่าอนุโมทนา สาธุการค่ะ


    <O:p</O:p
    <O:p</O:p


    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ) <O:p</O:p


    มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรี
    ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนังฯ
    <O:p</O:p


    พระธรรมคำสั่งสอนซึ่งล้วนอุบัติจากพระโอษฐ์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้พึ่งพำนักของสรรพสัตว์ทั้งหลาย อันมีความงามล้ำเลิศประดุจนางฟ้า ซึ่งถือกำเนิดจากดอกบัว การเอ่ยวาจานี้ย่อมยังจิตใจของข้าพเจ้าให้เอิบอิ่ม แช่มชื่น เบิกบาน แจ่มใสปราโมทย์ รู้แจ่มแจ้งแทงตลอดจำได้ ปฏิบัติตามได้ ในพระไตรปิฏกทั้งโลกียะและโลกุตตระนั้นเทอญฯ




    [​IMG]



    ประวัติ..พระสุนทรีวาณี

    เป็นพระปางพิเศษ เป็นรูปเทพธิดาทรงอาภรณ์อันงดงามวิจิตร หัตถ์ขวาแสดง(ท่ามุทรา)อาการกวัก คือ การเรียกเข้ามาหา หัตถ์ซ้ายหงายอยู่บนพระเพลา (หน้าตัก) มีดวงแก้ววิเชียร (เพชร) อยู่ในหัตถ์
    <O:p</O:p
    พระสุนทรีวาณี เป็นพระซึ่งเกิดจากการนิมิต แห่งพระคาถาสุนทรีวาณี ซึ่งเป็นคาถาที่ปรากฎ ในคัมภีร์สัททาวิเสส มี ๓๒ คำ
    <O:p</O:p
    พระคาถานี้เป็นพระคาถาศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดเมื่อเรียนพระไตรปิฎก เรียนพระธรรม เรียนวิชา ภาวนาแล้ว ดับอวิชชา บังเกิดปัญญางาม ปัญญากลายเป็นสัญญา คือ ความทรงจำอันเลิศล้ำ โบราณาจารย์ได้สั่งสอนศิษยานุศิษย์ให้ท่องทุกครั้ง ที่เรียนพระไตรปิฎกตลอดมา
    <O:p</O:p
    สืบได้ความว่า ผู้ที่ท่องคาถานี้เฉพาะในยุครัตนโกสินทร์ ดำรงสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราช ๓ พระองค์ เป็นพระสมเด็จ พระราชาคณะ เป็นพระคณาจารย์ผู้มากด้วยเมตตา
    <O:p</O:p
    *******************************************************************<O:p</O:p

    พระคัมภีร์สัททาวิเสส หรือคัมภีร์ไวยากรณ์โบราณ เป็นวิชาพื้นฐานเพื่อความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก ที่มีมาแต่โบราณกาล<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2011
  9. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
    <O:p</O:p

    แม้ว่าพระไตรปิฎกจะนับว่าเป็นคัมภีร์สำคัญ และเป็นหลักฐานทางพระพุทธศาสนา แต่ก็มีคัมภีร์อื่นอีกที่เกี่ยวข้องด้วย จึงควรทราบลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไว้ดังต่อไปนี้ -
    <O:p</O:p
    ๑. พระไตรปิฎก เป็นหลักฐานขั้น ๑ เรียกว่าบาลี <O:p</O:p
    ๒. คำอธิบายพระไตรปิฎก เป็นหลักฐานขั้น ๒ เรียกว่าอรรถกถา หรือวัณณนา <O:p</O:p
    ๓. คำอธิบายอรรกถา เป็นหลักชั้น ๓ เรียกว่าฎีกา <O:p</O:p
    ๔. คำอธิบายฎีกา เป็นหลักฐานชั้น ๔ เรียกว่าอนุฎีกา
    <O:p</O:p
    นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์ที่แต่งขึ้น ว่าด้วยไวยกรณ์ภาษาบาลีฉบับต่าง ๆ และอธิบายศัพย์ต่าง ๆ เรียกรวมกันว่า สัททาวิเสส เป็นสำนวนที่เรียกกันในวงการนักศึกษาฝ่ายไทย ปรากฏในพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า เมื่อทำการสังคยานา ในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๓๑ เพื่อชำระพระไตรปิฎกนั้น ได้มีการชำระ คัมภีร์สัททวิเสส ต่าง ๆ ด้วย โดยมีพระพุฒาจารย์เป็นแม่กอง
    <O:p</O:p
    การจัดชั้นของบาลีอรรถกถา ก็เนื่องด้วยกาลเวลานั้นเอง พระไตรปิฎกเป็นของมีมาก่อน ก็จัดเป็นหลักฐานชั้น ๑ คำอธิบายพระไตรปิฎกแต่งขึ้นประมาณ ๙๕๖ ปีภายหลังพุทธปรินิพพาน จึงจัดเป็นชั้น ๒ ส่วนฎีกานั้น แต่งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๕๘๗ จึงนับเป็นหลักฐานชั้น ๓ อนึ่ง คัมภีร์อนุฎีกานั้น แต่งขึ้นภายหลังฎีกาในยุคต่อ ๆ มา เป็นคำอธิบายฎีกาอีกต่อหนึ่ง จึงนับเป็นหลักฐานชั้น ๔
    <O:p</O:p
    อย่างไรก็ตาม แม้พระไตรปิฎกจะเป็นหลักฐานชั้น ๑ เมื่อพิจารณาตามหลักพระพุทธภาษิตในกาลามสูตร ท่านก็ไม่ให้ติดจนเกินไป ดังคำว่า มา ปิฎกสมฺปทาเนน อย่าถือโดยอ้างตำรา เพราะอาจมีผิดพลาดตกหล่นหรือบางตอนอาจเพิ่มเติมขึ้น แสดงว่าพระพุทธศาสนาสอนให้ใช้ปัญญาพิจราณาเหตุผล สอบสวนดูให้ประจักษ์แก่ใจตนเอง เป็นการสอนอย่างมีน้ำใจกว้างขวางและให้เสรีภาพแก่ผู้นับถือพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่
    <O:p</O:p
    นอกจากนั้นยังเป็นการยืนยันให้นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อได้ประจักษ์ผลนั้น ๆ ด้วยตนเอง แม้จะมีพระพุทธภาษิตเตือนไว้มิให้ติดตำราจนเกินไป แต่ก็จำเป็นต้องรักษาตำราไว้ เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษา เพราะถ้าไม่มีตำราเลยจะยิ่งซ้ำร้าย เพราะจะไม่มีแนวทางให้รู้จักพระพุทธศาสนาเลย ฉะนั้น การศึกษาให้รู้และเข้าใจในพระไตรปิฎก จึงเป็นลำดับแรก เรียกว่า ปริยัติ การลงมือกระทำตามโดยควรแก่จริตอัธยาศัยเรียกว่า ปริยัติ การได้รับผลแห่งการปฏิบัตินั้น ๆ เรียกว่า ปฎิเวธ
    <O:p</O:p
    http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/praapitham/<O:p</O:p
     
  10. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    การศึกษา กลุ่มพระคัมภีร์สัททาวิเสส หรือคัมภีร์ไวยากรณ์โบราณ อันเป็นวิชาพื้นฐานเพื่อความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกที่มีมาแต่โบราณกาล (เมื่อคณะสงฆ์ปรับปรุงการศึกษาใหม่ทำให้หยุดการศึกษาคัมภีร์เหล่านี้ มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๖)

    กลุ่มพระคัมภีร์สัททาวิเสส มีรายชื่อปรากฏในหอสมุดแห่งชาติ จำนวน ๑๕๓ คัมภีร์ แยกเป็น ๔ กลุ่มดังนี้

    ๑. กลุ่มคัมภีร์ไวยากรณ์เช่นคัมภีร์กัจจายนะ (ต่อมาเรียกมูลกัจจายน์), ปทรูปสิทธิโมคคัลลานะ, สัททนีติ, สัททสังคหะ
    ๒. กลุ่มคัมภีร์พจนานุกรมหรือคัมภีร์นิฆัณฑุเช่นอภิธานัปปทีปิกา
    ๓. กลุ่มคัมภีร์ฉันทลักษณ์เช่นคัมภีร์วุตโตทัย
    ๔. กลุ่มคัมภีร์เกฏภะ (อลังการ) เช่นคัมภีร์สุโพธาลังกา

    สำหรับสถานศึกษาเพื่อการฟื้นฟูพระคัมภีร์สัททาวิเสส ในปัจจุบันมี ๔ แห่ง คือ :

    ๑. วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆสมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนครปฐม
    ๒. วัดท่ามะโอจ. ลำปาง
    ๓. วัดมหาธาตุคณะ๒๕กรุงเทพฯ
    ๔. วัดหาดใหญ่สิตารามอ.หาดใหญ่จ.สงขลา


    http://board.thaiware.com/lofiversion/index.php/t327235.html
     
  11. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ท่านกวีทิพย์ จากเวบมนตราเทวี ได้เล่าว่า .....


    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัตแดง วัดสุทัศน์เทพวราราม ได้กล่าวว่า พระอาจารย์ของท่าน ทั้งทางคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ สอนให้บริกรรมพระคาถา วาณี ก่อนจะเริ่มเรียนเรียนพระปริยัติธรรม และเข้าที่ภาวนาทุกคราวไป ท่านยังกล่าวอีกว่าท่านพระมหาเถระผู้ใหญ่ทั้งหลายแต่กาลก่อน ล้วนนับถือพระคาถานี้อยู่ทั่วกัน จนกระทั้งอาราธนาธรรมก็ใช้คาถานี้


    ที่มาและความสำคัญ ของพระคาถานี้มีกล่าวไว้ใน อาการวัตตาสูตร ว่า พุทธกรธัมเมหิตัพพัง ความว่า ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นพระพุทธเจ้าคือบารมี 10 ทัศ จะพึงมีอยู่ด้วย เพราะว่าบารมีธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอยู่เป็นอันมาก ธรรมทั้งหลายใดเป็นไปเพื่อจะให้สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสกับพระสารีบุตรว่า ยัญ จ สารีปุตต รัตติง




    ดูกรสารีบุตร ในราตรีอันใด ตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้ อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวิมุติเศวตฉัตร ณ ควงไม้ อัสสัตถโพธิพฤกษ์ ก็ราตรีนั้นพระตถาคตเจ้านั้นจะระลึกถึง อาการวัตตาสูตร นี้ (พระคาถาวาณี ย่อมาจากอาการวัตตาสูตร) เป็นไปเพื่อต่อต้านรักษาภัยอันตรายและห้ามบาปธรรมทั้งปวง เพราะตถาคตมาตามระลึกอยู่ ซึ้งธรรมทั้งหลายอันเป็นมรรคาแห่งสัตว์ทั้งหลาย ให้ถึงความสิ้นไปแห่กิเลส ในกาลนั้นตถาคตเจ้าทั้งมวลมีญาณเครื่องรู้เป็นประธานก่อน เรียกว่า พุทธประเวณีญาณ แปลว่าญาณกำหนดรู้ธรรมเนียมแบบแผนขอ พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่เคยปฏิบัติมา อันอาการวัตตาสูตรนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒๘ พระองค์ที่ล่วงไปแล้วก็ดี และ ตถาคตเจ้าในบัดนี้ก็ดีมิได้ระวางสักพระองค์เดียวทำตามกันมาทุกพระองค์


    [​IMG]



    สมเด็จพระวันรัตน์(แดง สีลวัฑฒโน)
    ผู้อธิบายพุทธมนต์ด้วยศิลปะ ภาพพระบฎ -สุนทรีวาณี


    ผลงานพิเศษชิ้นหนึ่งของพระวันรัตน์ (แดง สีลวัฒโน) พระเถระที่พระปิยมหาราชทรงเคารพรูปหนึ่ง เชี่ยวชาญในพระปริยัติธรรมและพระไตรปิฎก ได้รจนาหนังสืออธิบายพระธรรมวินัยไว้หลายเรื่อง เพื่อเป็นคู่มือในการศึกษาของภิกษุ สามเณร คือภาพพระบฎ ที่มีชื่อว่า สุนทรีวาณี เป็นภาพแสดงความหมายในทางธรรม อธิบายพุทธมนต์ด้วยศิลปะ ท่านได้คิดแบบให้ช่างวาดขึ้น โดยถอดความหมายจากภาษาบาลีบทหนึ่งข้างต้น ท่านชอบใจเนื้อความในคาถานี้มาก จึงได้คิดถอดความหมายให้เขียนป็นภาพพระบฎไว้สักการะบูชา คือ

    เขียนเป็นภาพนางมีเต้าถัน แต่ทรงเครื่องอย่างบุรุษ หมายความว่า เป็นรูปนางฟ้า หมายถึง พระไตรปิฎก บนฝ่ามือซ้ายมีเพชรวางอยู่ หมายความว่า พระนิพพาน เลิศกว่าธรรมทั้งปวง มือขวายกขึ้น หมายถึง พระธรรมคุณ คือ เอหิปัสสโก (เรียกให้มาดู) ดอกบัวที่รองรับรูปนางฟ้านั้น เปรียบด้วยพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า มีรูปมนุษย์ นั่งบนดอกบัวซ้ายขวา หมายถึง คู่พระอัครสาวก รูปนาค หมายถึง พระอรหันตขีณาสพ รูปเทพยดา พรหม และสัตว์ต่างๆ หมายถึง เหล่าสัตว์ในกามภพ-รูปภพ-และอรูปภพ สระน้ำ หมายถึง สังสารสาคร

    [​IMG]

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทอดพระเนตรเห็นภาพพระบฎดังกล่าวนี้ ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอันมาก ถึงทรงพระราชดำริจะให้จารึกลงในแผ่นศิลา ประดิษฐานไว้ที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร อันเป็นวัดที่ทรงสถาปนาขึ้น....
    โอ้"สุนทราวาณี"โสภีเพริศ
    สุดประเสริฐงามแท้มาแต่ไหน?
    เป็น"นางฟ้า"โฉมงามมีความนัย
    "ทรงเครื่องใหญ่อย่างบุรุษ"-องค์พุทธา
    "ประทับนั่งบนดอกบัวบาน"ทั่วฐาน
    เด่นตระหง่านทรงประกาศพระศาสนา
    คือ"พระไตรปิฎก"ที่ยกมา
    พรรณนา"พระธรรม"นำชีวี.....


    "พระวินัย-พระสูตร-พระอภิธรรม"
    ทรงค่าล้ำแก่มนุษย์วิสุทธิ์ศรี
    "พระหัตถ์ซ้าย""เพชร"วางอยู่ดูให้ดี
    ค่าควรมี"พระนิพพาน"สถานเดียว!!!
    สุดประเสริฐเลิศล้ำธรรมทั้งปวง
    เพราะสิ้นห่วงทุกอย่างแท้ไม่แลเหลียว
    "พระหัตถ์ขวายกขึ้น"มาเมตตาเทียว
    เชิญทีเดียว"เรียกหาให้มาดู!!!"
    "พระธรรมคุณ"บุญของโลกดับโศกเศร้า
    ที่แผดเผาผู้คนวิมลหรู
    เป็น"เอหิปัสสโก"โชว์ชวนดู
    เพื่อเรียนรู้"สู่นิพพาน"สราญรมย์
    "ดอกบัวบานฐานานางฟ้า"นั้น
    เป็นสำคัญคือ"พระโอษฐ์"ประโยชน์สม
    "แห่งองค์พระพุทธา"งามน่าชม
    ทรงอบรมสั่งสอนสุนทรธรรม....
    "มนุษย์นั่งบนดอกบัวอยู่ซ้ายขวา"
    คือ"อัคราสาวก"ยกคมขำ
    "ซุ้มนาคคือพระอรหันต์"ผู้มั่นธรรม
    เป็นผู้นำ"ขีณาสพ"นบพระคุณ
    "เหล่าเทพ-พรหม-เต่า-กบน้อย-หอย-ปู-ปลา- สัตว์นานา"
    ในห้วงกรรมที่นำหนุน
    ในกามภพ-อรูปภพไม่จบบุญ
    รูปภพหมุนเทพ-สัตว์-คนเป็นวนวง
    "ในสระบัวคือธาราเต็มสาคร"
    ไม่ขาดตอน"สังโยชน์"-"โลภ-โกรธ-หลง"
    เป็น"สังสารวัฏ-ห้วงน้ำใหญ่"ขอให้ปลง
    "นิพพาน"ส่งด้วย"สุนทรีวาณี"
    เทอญฯ.....กัลยาณมิตร


    by บทกวีทิพย์


    กราบอนุโมทนา
    ภาพประกอบ / สาระบางส่วน จากเวบมนต์ตราเทวี กราบสาธุการค่ะ
    http://montradevi.makewebeasy.com/index.php?type=webboard&add=2&update=1&id=35828
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2011
  12. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • พระ12.jpg
      พระ12.jpg
      ขนาดไฟล์:
      97.2 KB
      เปิดดู:
      4,810
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2009
  13. ผู้ตามหา

    ผู้ตามหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2009
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +818
    "สุนทรี" ในพระคาถาอ่านว่า "สุนะทะรี" หรือ "สุน-ทะ-รี" ครับกำลังงงมาก

    สาธุ...อนุโมทามิ
     
  14. ปาณิตา

    ปาณิตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +238
    พระคาถานี้เป็นพระคาถาศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดเมื่อเรียนพระไตรปิฎก เรียนพระธรรมเรียนวิชา ภาวนาแล้ว ดับอวิชชาเบางบาง บังเกิดปัญญางาม ปัญญากลายเป็นสัญญา คือความทรงจำอันเลิศล้ำ โบราณาจารย์ได้สั่งสอนศิษยานุศิษย์ให้ท่องทุกครั้งที่เรียนพระไตรปิฎกตลอดมา
    <O:p</O:p
    พระสุนทรีวาณี เป็นพระที่ทรงไว้ด้วยความเมตตาอย่างสูง เป็นพระที่เป็นสิริมงคล หากได้น้อมนำสู่จิต พระเมตตาบารมีพระสุนทรีวาณี ผู้อยู่ชั้นดุสิต จะยังจิตผู้นอบน้อมลด ละการดับห้วงกองกิเลส (โทสะโมหะโลภะ)<O:p</O:p



    <O:p</O:p
    [​IMG]


    <O:p</O:p


    รูปเสมือนแทนองค์พระสุนทรีวาณี ประดิษฐานเพื่อสักการะ ภายในวิหารองค์พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศน์เทพวราราม ด้านหน้าขวามือองค์พระประธานในวิหาร (วิหารริมถนน ด้านถนนตีทอง) <O:p</O:p
     
  15. Nick Swissarmy

    Nick Swissarmy Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +35
    ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ครับ
    และขออนุญาติ copy ข้อความเพื่อเผยแผ่ต่อไปครับ
     
  16. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471



    สาธุการ คุณผู้ตามหาค่ะ


    พบข้อเขียน ของท่าน ผศ.ทวีเกียรติไชยยงยศศิลปินอาวุโสด้านจิตรกรรม ให้ความกระจ่าง คำว่า “สุนทรีศาสตร์ โดยอ้างอิงจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.. ๒๕๒๕ หน้า ๘๑๔ หนังสืออ่านอย่างไรและเขียนอย่างไรฉบับราชบัณฑิตยสถานดังนี้ค่ะ

    สุนทรียศาสตร์มาจากคำคำคือสุนทรียะและศาสตร์” (ผู้บัญญัติคำนี้น่าจะเป็นศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน) คำว่าสุนทรีย-, สุนทรียะ, มีรายละเอียดน่าสนใจคือ

    สุนทรียะ - (สุน-ทะ-รี-ยะ)ที่มีเครื่องหมายยัติภังค์ ( - ) เพื่อแสดงว่าเตรียมที่จะไปสมาสกับคำอื่นที่เป็นภาษาบาลีหรือสันสกฤตเช่นสมาสกับศาสตร์จะมีรูปคำเป็นสุนทรียศาสตร์ คำสุนทรีย - ” ถ้าต้องการให้ออกเสียงอะก็ประวิสรรชนีย์ ( ) เป็นสุนทรียะและ ถ้าจะใช้ออกเสียงว่าสุน-ทะ-รีต้องใส่ไม้ทัณฑฆาต ( ) กำกับที่ตัวย์, เป็นสุนทรีย์” (สุน-ทะ-รี) อย่างนี้เป็นต้น

    ความหมายของสุนทรียศาสตร์แบบไทยๆ
    สุนทียะ-สุนทรียะแปลว่าเกี่ยวกับความนิยมความงาม
    ศาสตร - (สาด-ตะ-ระ) ศาสตร์ (สาด) แปลว่าระบบวิชาความรู้มักใช้ประกอบหลังคำอื่นเช่นวิทยาศาสตร์ประวัติศาสตร์สุนทรียศาสตร์เป็นต้น

    สุนทรียศาสตร์แปลว่าวิชาว่าด้วยความนิยมความงาม
    สุนทรียภาพแปลว่าความรู้สึกถึงคุณค่าของสิ่งที่งาม (ของศิลปะที่มองเห็นเช่นจิตรกรรมประติมากรรมฯลฯ) และความเป็นระเบียบของเสียง (ดนตรี) และถ้อยคำ (วรรณกรรม)

    คำสุนทรียศาสตร์และสุนทรียภาพมีความหมายแตกต่างกันคือสุนทรียศาสตร์เป็นเรื่องของวิชาความรู้ที่นักปรัชญาหรือนักสุนทรียศาสตร์ศึกษาค้นคว้าเรื่องของความงามแล้วสรุปเป็นทฤษฎี

    ส่วนสุนทรียภาพเป็นความรู้สึกของบุคคลที่ปะทะหรือกระทบหรือเรียกเป็นภาษานักปรัชญาว่าผัสละกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วเกิดความรู้สึกว่างามหรือไม่งามพอใจหรือไม่พอใจเป็นต้น

    คำผัสสะแปลว่ากระทบการถูกต้องหมายถึงการที่อายตนะภายใน (ตาหูจมูกลิ้นกาย) กระทบกับอายตนะภายนอก (รูปเสียงกลิ่นรสสัมผัส) เป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึก (เวทนา) ต่างๆเช่นสวยงาม (รูป) ไพเราะ (เสียง) หอม (กลิ่น) อร่อย (รส) นุ่ม (สัมผัส) หรือความรู้สึกในทางตรงกันข้ามเป็นไม่สวยไม่งาม (รูป) ไม่ไพเราะ (เสียง) ไม่หอม (กลิ่น) ไม่อร่อย (รส) แข็ง (สัมผัส) และอื่นๆ

    ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นคำและความหมายพื้นๆของสุนทรียศาสตร์ที่หาได้จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานของไทย
    <O:p</O:p
    ที่มาข้อมูล : http://www.ryt9.com/s/bmnd/658923/
     
  17. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471




    สาธุการ คุณ Nick Swissarmy ค่ะ

    พระคาถาวาณีสุนทรีนี้ เป็นของโบราณจารย์ท่านค่ะ
    บังเอิญไปสะดุดเมื่อครั้งแรก ที่ได้อ่านพระคาถานี้ แล้วรู้สึกเหมือนต้องมนต์ จึงเกิดใฝ่รู้สืบหาข้อมูล นำพาให้ทราบที่มาและองค์คุณ นำมาสื่อความ สาธุการนะคะ
     
  18. applegreen

    applegreen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +555
    มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรี
    ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนังฯ


    คำแปลอย่างง่าย

    ธรรมอันอุบัติจากพระโอษฐ์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    มีความล้ำเลิศประดุจนางฟ้า ซึ่งถือกำเนิดจากดอกบัว
    หลังจากกล่าวบทสวดมนตร์นี้
    ขอให้ข้าพเจ้า เกิดความปิติ ยินดีในธรรม รู้แจ้งแทงตลอด
    จดจำได้ และปฏิบัติตามคำสั่งสอนของ
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ด้วยเทิด
     
  19. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ท่านครับ ลบการกล่าวคำไม่เห็นด้วยข้างบนด้วยครับ
    เข้าใจว่าท่านกดผิดนะครับ แต่แก้เป็นโมทนาให้ผู้บริสุทธิ์ข้างบนด้วยครับ
    โดนไปเป็นแถวๆเลย
     
  20. SPARTANS

    SPARTANS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    3,380
    ค่าพลัง:
    +2,986
    ต้องขออภัยด้วยนะครับ...ผิดพลาดนิดหน่อย ขอโทษทีครับ

    คาถานี้เป็นหัวใจ คาถาอาการวัตตาสูตร
    ผมได้ท่องคาถานี้เพราะหลวงปู่สังวาลย์ หลวงปู่ใหญ่ วัดสังฆทาน ท่านบอกไห้ญาติโยมท่องเพราะมีอานิสงส์มากทีเดียว
    ขอขอบคุณและอนุโมทนากับทุกท่านครับ............
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...