พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 19 พระองค์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 2 ธันวาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระสุคุณคณาภรณ์


    การศึกษาพิเศษ

    ในส่วนการศึกษาพิเศษ ตามที่เคยมีรับสั่งเล่า
    ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษจากครูฝรั่ง ชื่อ วิลส์
    ซึ่งมาเป็นครูสอนที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อทรงมีพรรษา ๖ หรือ ๗
    และโดยปกติโปรดอ่านหนังสือต่างๆ มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
    ทั้งที่เป็นร้อยแก้วทั้งที่เป็นร้อยกรอง

    ในระหว่างเวลานั้น
    เป็นสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้เกิดความเจริญขึ้นโดยทั่วไป
    ในฝ่ายอาณาจักรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ในทรงจัดระบอบการปกครองการศึกษาเป็นต้น

    ในฝ่ายศาสนา สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรงเริ่มจัดการพระศาสนา
    ทั้งการศึกษาทั้งการปกครอง ทั้งการอื่นๆ ดังที่ปรากฏผลอยู่ในปัจจุบันนี้

    ในเบื้องต้น เมื่อยังไม่ทรงมีอำนาจที่จะจัดในส่วนรวม
    ก็ได้ทรงจัดในส่วนเฉพาะคือได้ทรงจัดตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้น ดังกล่าวแล้ว

    สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ เคยมีรับสั่งเล่า มีผู้บันทึกไว้ว่า

    “โรงเรียนมหามกุฏใช้หอสหจร และพระตำหนักทรงพรตชั้นล่างเรียนหนังสือไทย
    ชั้นบนเรียนภาษาบาลี นักเรียนหนังสือไทยเมือมีมาก ขยายไปใช้ศาลาฤาษี ๔
    ศาลาไม่เก็บค่าเล่าเรียน สอนให้เปล่า นักเรียนสอบได้แล้วออกไปรับราชการมีมาก
    สมเด็จพระพุทธเจ้หลวงเคยเสด็จทอดพระเนตรโรงเรียนของมหามกุฏ
    มีพระราชดำรัสชม ตรงกันข้ามกับคำพูดที่กล่าวกันว่า

    พระมี ๓ คือ พระเรียนคันถธุระ พระเล่าสวดมนต์ พระเรียนวิปัสสนาธุระ
    พระเรียนคันถธุระเป็นเลซี พระเล่าสวดมนต์เป็นเลซีเออร์
    พระเรียนวิปัสสนาธุระเป็นเลซีเอสต์”


    สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรงเริ่มจัดปรับปรุงพระให้บำเพ็ญประโยชน์
    ทั้งแก่พระศาสนา ทั้งแก่ชาติบ้านเมือง ดังที่เป็นที่ประจักษ์แก่
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ได้ทรงมีส่วนร่วมกับ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ
    มาตั้งแต่ต้นในการงานหลายอย่าง อาทิ ได้ทรงรับเลือกเข้าเถรสมาคม
    และมีพระภารกิจในการคณะสงฆ์อีกหลายประการ ดังที่จะได้กล่าวต่อไป

    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
    (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชุมพูนุท สิริวฑฺฒโน)



    พระภารกิจในการคณะสงฆ์

    ผู้อำนวยการศึกษามณฑลจันทบุรี

    ต่อมาเมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    มีพระราชประสงค์บำรุงการศึกษามณฑลหัวเมือง
    ทรงอาราธนา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ให้ทรงเป็นผู้อำนวยการจัดการศึกษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้บังคับพระอารามในหัวเมือง ซึ่งเป็นส่วนการพระศาสนา และการศึกษา
    ได้ทั้งในมณฑลกรุงเทพฯ ทั้งในมณฑลหัวเมือง ตลอดพระราชอาณาจักร

    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
    พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ
    เป็นเจ้าหน้าที่จัดการอนุกูลในกิจที่ฝ่ายฆราวาสจะพึงทำ
    มีจัดการพิมพ์แบบเรียนต่างๆ ที่จะพระราชทานแก่พระภิกษุสงฆ์ไปฝึกสอน เป็นต้น

    ตลอดจนการที่จะเบิกพระราชทรัพย์จากพระคลังไปจ่าย
    ในการที่จะจัดตามพระราชประสงค์นี้
    และโปรดเกล้าฯ ให้ยกโรงเรียนพุทธศาสนิกชนในหัวเมืองทั้งปวง
    มารวมขึ้นอยู่ใน สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ เพื่อจะได้เป็นหมวดเดียวกัน

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรงเลือก สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ
    ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสุคุณคณาภรณ์
    ให้เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลจันทบุรีในศกนั้น

    ได้เคยรับสั่งเล่าตามที่มีผู้บันทึกไว้ว่า

    “พระที่ไปอำนวยการศึกษามณฑลหัวเมืองมักไปเป็นครั้งคราว
    ปีหนึ่งไม่เกิน ๔ เดือน การที่ให้พระช่วย คิดว่าให้เปลืองน้อย
    อีกอย่างหนึ่ง โรงเรียนต้องเลือกตั้งในวัดที่สมควร
    เมื่อให้พระออกไปจัด เข้ากับพระด้วยกันได้
    และไปหนุนเจ้าคณะเจ้าอาวาสให้ตั้งโรงเรียน เจ้าวัดต้องหาเลี้ยงนักเรียนด้วย
    เด็กเดินมาเรียนก็มี เป็นเด็กวัดก็มี ทางรัฐบาลเสียค่าเงินเดือนครูบ้างก็ไม่เป็นไร
    ผู้อำนวยการศึกษาต้องหาของไปรางวัลผู้จัดการศึกษาแต่ละแห่ง
    เช่น นาฬิกา โคมลาน เป็นต้น ครั้งนั้นยังไม่มีเจ้าคณะมณฑล มีแต่เจ้าคณะเมือง

    เมื่อผู้อำนวยการศึกษาไปตรวจ เห็นอะไรสมควรจะจัด
    เกี่ยวแก่การคณะและการพระศาสนา (ที่นอกจากการศึกษา) ก็แนะนำให้จัดการเอาเอง
    เมื่อกลับจากการตรวจ ก็ทำรายงานเสนอสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ
    เพื่อทรงพิจารณาร่วมกับสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ แล้วถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง”


    เจ้าคณะมณฑลจันทบุรี

    ต่อมาได้มีการออกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕)
    อันเป็นผลเนื่องมาจากการจัดการพระศาสนา และการศึกษาในหัวเมือง
    พระองค์ก็ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะมณฑลจันทบุรีในศกนั้น
    ได้ทรงออกไปตรวจการในศกนั้น จะไปเมืองปัจจันตคีรีเขตต์ (เกาะกง)
    ด้วยเรือในหน้ามรสุม กำหนดการไปมาหาแน่นอนมิได้
    จึงทูลลาเพื่อที่จะทรงจำพรรษาในเมืองที่ไปถึง
    แต่ไม่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต


    พระภารกิจทางการศึกษา

    ส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษาทั้งแผนกธรรมและบาลี
    ในสมัย สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
    ได้ทรงเลือกพระเถระให้เป็นแม่กองสอบไล่ธรรม และบาลี
    ตามวาระ ทั้งในมณฑลกรุงเทพฯ และมณฑลหัวเมือง
    ก็ได้ทรงรับเลือกให้เป็นแม่กองสอบไล่พระปริยัติธรรมหลายคราว
    เช่น ได้ทรงเป็นแม่กองสอบไล่มณฑลปัตตานี และมณฑลอยุธยา
    ทั้งระหว่างที่ทรงเป็นเจ้าคณะมณฑลนั้น
    และทรงได้รับเลือกเป็นแม่กองธรรมสนามหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐
    แม่กองบาลีสนามหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗

    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ เมื่อพระชนมายุ ๓๙ พรรษา


    พระภารกิจในการคณะธรรมยุต

    เมื่อ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
    ทรงมีพระชราพาธเบียดเบียน ไม่เป็นการสะดวกที่จะทรงปฏิบัติพระภารกิจ
    ในฐานะเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ได้ทรงมอบหน้าที่เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
    ให้ทรงบัญชาการแทน ด้วยลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๗๗

    เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์นั้น สิ้นพระชนม์ ใน พ.ศ. ๒๔๘๐
    จึงได้ทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติกา ตามแบบปกครองในคณะธรรมยุตสืบมา

    เมื่อทรงรับหน้าที่ปกครองคณะธรรมยุตแล้ว
    ได้ทรงจัดการปกครองคณะธรรมยุต ที่สำคัญหลายประการ คือ

    ๑. วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๔๗๗ ประกาศใช้ระเบียบการชั่วคราวของคณะธรรมยุต
    ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัยฝ่ายบรรพชิต
    โดยมีหลักการให้คณะกรรมการมหามกุฏฯ เลือกคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง
    มีจำนวนไม่เกิน ๙ ประกอบด้วย ประธาน ๑ รองประธาน ๑ กรรมการ ๖ และ เลขาธิการ ๑
    เพื่อทรงตั้งเป็นกรรมการคณะธรรมยุต มีหน้าที่สอดส่อง แนะนำ
    ชี้แจงแสดงความเห็น วางระเบียบแบบแผน ปรับปรุงกติกาอาณัติเป็นต้น
    สำหรับคณะธรรมยุตทั่วไปให้ถือวันวิสาขบูชาเป็นวันแต่งตั้ง อยู่ในตำแหน่งคราวละ ๑ ปี

    ๒. วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๐๑ เถรสมาคมคณะธรรมยุต
    มีมติให้เพิ่มจำนวนกรรมการคณะธรรมยุต ๑๐ รูป ๕ รูป
    จากสังฆมนตรีธรรมยุต อีก ๕ รูป จากเถรสมาคมคณะธรรมยุต
    ตามลำดับคะแนนที่ได้รับเลือก และให้กรรมการเถรสมาคมธรรมยุตเป็นผู้เลือก

    ๓. วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๔๘๑ เพื่ออนุวัตรตามสมเด็จพระมหาสมณนิยม
    จึงวางระเบียบกำหนดให้พระราชาคณะตั้งแต่ชั้นราชขึ้นไปอยู่ที่ในพระนคร-ธนบุรี
    ดำรงตำแหน่งกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุตประเภทประจำ
    มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษา แสดงความเห็นการคณะทั่วๆ ไป
    ในการนี้ถ้าเป็นการสมควรก็ทรงแต่งตั้งพระเถระที่เป็นพระราชาคณะสามัญ
    เป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต ประเภทชั่วคราวก็ได้

    ๔. กำหนดความนิยม ให้เจ้าอาวาสพระครูสัญญาบัตร
    และพระราชาคณะขึ้นไปในพระนคร-ธนบุรี ที่จะเดินทางไปพักแรมคืนต่างจังหวัด
    แจ้งการเดินทางไปนั้นให้เจ้าคณะใหญ่ทราบ

    ๕. กำหนดความนิยม ให้วัดที่มีภิกษุสามเณรมาก
    ควรตั้งพระเถระในวัดนั้นๆ จำนวนตามแต่จะเห็นสมควร เป็นกรรมการวัด
    มีหน้าที่ช่วยให้ความคิดเห็น เป็นที่ปรึกษาของเจ้าอาวาส

    ๖. วางระเบียบกำหนด ให้สามเณรต่อศีล ในวันขึ้นและแรม ๑๔ ค่ำ ของทุกเดือน

    ๗. ส่งพระเถระกรรมการคณะธรรมยุตออกไปตรวจการคณะสงฆ์
    ในส่วนภูมิภาคจังหวัดต่างๆ ทางภาคพายัพ ภาคอิสานและภาคใต้ ตามแต่กรณี

    ๘. ส่งนักเรียนปกครองและนักเรียนครูของมหามกุฏราชวิทยาลัยที่ได้รับการอบรมแล้ว
    ไปยังวัดที่ส่งเข้ามาบ้าง ส่งไปยังสำนักที่ต้องการขอมาบ้าง ปีละหลายรูป

    ๙. ส่งพระผู้สมควรไปกำกับการวัดต่างๆ ในคณะธรรมยุต
    เพื่อความเหมาะสมในขณะนั้น มีวัดศรีสุริยวงศ์ จังหวัดราชบุรี
    วัดมัชฌินติการาม บางเขน พระนคร วัดตรีทศเทพ พระนคร
    วัดหนองดู่ จังหวัดลำพูน วัดศรีมุงเมือง จังหวัดเชียงใหม่
    วัดเกตการาม จังหวัดสมุทรสงคราม วัดจันทนาราม จังหวัดจันทบุรี วัดธาตุทอง พระนคร

    ๑๐. เปิดการประชุมคณะธรรมยุตจังหวัด
    ให้เจ้าอาวาสวัดธรรมยุตมาประชุมที่วัดเจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดเดือนละครั้ง
    เพื่อพบปะปรึกษาหารือในข้อพระธรรมวินัย ปรับปรุงวัดและการปกครองเป็นต้น
    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้มีการเปิดประชุมคณะธรรมยุตจังหวัด สมุทรสงคราม
    จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดกาญจนบุรี

    ๑๑. ต่อมาเมื่อประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
    การปกครองในคณะธรรมยุตก็คงเป็นไปตามเดิม

    อนึ่ง เมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าอาวาสวัดเทพศิริทราวาส
    ถึงมรณภาพเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๔
    ได้ทรงรับเป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิริทราวาส ไปก่อน

    ทรงมอบให้กรรมการวัดปฏิบัติกิจการของวัด อย่างที่เคยปฏิบัติ
    (ทรงตั้งเจ้าอาวาสใน พ.ศ. ๒๔๙๗)

    ต่อมา เมื่อสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
    ได้มีพระบัญชาเรียกประชุม พระเถระทั้ง ๒ ฝ่าย
    มาพิจารณาตกลงกันที่พระตำหนักเพชร เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฏคม พ.ศ. ๒๔๙๔
    พระเถระทั้ง ๒ ฝ่ายได้ตกลงกัน ดังนี้

    ๑. การปกครองส่วนกลาง คณะสังฆมนตรีคงบริหารร่วมกัน
    แต่การปกครองบังคับบัญชาให้เป็นไปตามนิกาย

    ๒. การปกครองส่วนภูมิภาค ให้แยกตามนิกาย

    ๓. ส่วนระเบียบปลีกย่อยอื่นๆ จะได้ปรึกษาในภายหลัง
    ได้ทรงสั่งให้พระธรรมยุตเจ้าคณะชั้นต่างๆ เป็นต้น ปฏิบัติตามข้อตกลงนี้

    (๓.๑) พ.ศ. ๒๔๙๕ ประชุมพระคณาธิการส่วนภูมิภาค
    คือ เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดและผู้ช่วย
    เจ้าคณะธรรมยุตอำเภอทั่วพระราชอาณาจักร
    ณ พระตำหนักเพชร

    (๓.๒) กำหนดนโยบายบริหารคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๙๘

    (๓.๓) ประกาศใช้ประมวลระเบียบบริหารวัดธรรมยุต พุทธศักราช ๒๕๐๐
    เพื่อให้วัดธรรมยุตทั่วไป มีการบริหารเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๐๑

    (๓.๔) จำนวนวัดธรรมยุต พ.ศ. ๒๔๘๒ มี ๓๒๐ วัด พ.ศ. ๒๕๐๑ มี ๘๓๔ วัด

    (๓.๕) ในส่วนที่เกี่ยวกับธรรมยุตต่างประเทศ ได้รับพระภิกษุสามเณรธรรมยุต
    จากประเทศเขมรให้อยู่ศึกษาอบรมสืบเนื่องมา ในสมัยที่รัฐบาลไทยให้ความอุดหนุน
    ด้วยให้ทุนการศึกษาแก้พระภิกษุสามเณรชาวต่างประเทศใกล้เคียง
    เพื่อเข้ามาศึกษาอบรมในประเทศไทยจนสำเร็จ รูปละ ๘ ปี
    คณะธรรมยุตได้รับพระภิกษุสามเณรชาวกัมพุชไว้ที่วัดบวรนิเวศฯ ถึง ๘ รูป
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    ทรงฉายร่วมกับพระเถระกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัยยุคแรก


    พระภารกิจด้านมหามกุฏราชวิทยาลัย

    ในทางมหามกุฏราชวิทยาลัยนั้น สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ
    ก็ได้ทรงมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง กล่าวคือ
    ได้ทรงเป็นกรรมการ มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
    โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานอาราธนาบัตรทรงตั้งมา
    ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๘ ขณะทรงเป็น หม่อมราชวงศ์พระชื่น เปรียญ พรรษา ๒

    ต่อมาได้ทรงเป็น อุปนายกกรรมการ
    ในสมัยที่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
    วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
    ทรงเป็นนายกกรรมการ

    พ.ศ. ๒๔๗๖ ทรงได้รับมอบหน้าที่การงานในตำแหน่ง นายกกรรมการ
    จาก สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ (วัดราชบพิธ)
    (ลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๖)
    เมื่อ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ (วัดราชบพิธ) สิ้นพระชนม์แล้ว
    ทรงได้รับเลือกเป็นนายกกรรมการตลอดมา

    ในสมัยที่ทรงเป็นนายกกรรมการ ได้ทรงฟื้นฟู
    และปรับปรุงกิจการของมหามกุฏฯ หลายประการเป็นต้นว่า

    ในด้านการบริหาร

    ได้จัดตั้งเจ้าหน้าที่ ฝ่ายบรรพชิตเป็นผู้ปฏิบัติงานอำนวยการต่างๆ
    เกี่ยวแก่ธุรการทั่วไปบ้าง เผยแผ่ปริยัติธรรมบ้าง ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ
    ปรับปรุงเจ้าหน้าที่ฝ่ายคฤหัสถ์ วางระเบียบต่างๆ ให้เหมาะสมและตราสารมูลนิธิ
    ซึ่งได้จดทะเบียนครั้งแรกเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖

    ในสมัย สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ (วัดราชบพิธ) ทรงเป็นนายกกรรมการ
    ได้จดทะเบียนแก้ไขอีกหลายคราว

    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้บัญญัติประมวลระเบียบบริหารมูลนิธิ ตามความในตราสาร
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ได้ทรงแสดงพระประสงค์ให้คฤหัสถ์เป็นผู้จัดการ
    ในเรื่องทรัพย์สินของมูลนิธิ ให้พระเป็นแต่ผู้ควบคุมเท่านั้น ตามควรแก่กรณี

    แต่จะแบ่งแยกกันโดยเด็ดขาด จำต้องได้ผู้จัดการที่สามารถเป็นที่ไว้วางใจได้จริง
    จึงจักไม่เกิดเรื่องยุ่งยากทางการเงิน
    เมื่อ หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ ทรงเข้ามาช่วยเป็นผู้จัดการ
    จึงมีการแก้และบัญญัติประมวลระเบียบบริหารฯ ดังกล่าวนั้น

    ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้บัญญัติ
    ข้อบังคับการรักษาทุนและสินกุศลและระเบียบบริหาร พ.ศ. ๒๕๐๐

    นอกจากนี้ได้วางระเบียบอื่นๆ ขึ้นบ้าง ยกเลิก แก้ไข เปลี่ยนแปลงระเบียบเก่าบ้าง
    ให้เหมาะสมแก่การงานที่ก้าวหน้าขึ้นโดยลำดับ

    ในด้านการบำรุงและอุดหนุนการศึกษาพระปริยัติธรรม

    ได้วางระเบียบบำรุงการศึกษา อบรม แก่สำนักเรียนต่างๆ
    รับอบรมนักเรียน ครู นักเรียนปกครอง ที่ส่งเข้ามาจากจังหวัดนั้นๆ

    ส่งครูออกไปสอนในสำนักเรียนที่ขาดครูบ้าง บำรุงสำนักเรียนต่างๆ
    ด้วยทุนและหนังสือตามสมควร กำหนดให้มีรางวัล
    เป็นการส่งเสริมสำนักเรียนที่จัดการศึกษาได้ผลดี

    จัดตั้งหอสมุดมหามกุฏฯ
    (ตามคำสั่ง วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘)

    ตั้งสภาการศึกษามหามกุฏฯ เป็นรูปมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา
    (ตามคำสั่ง วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘)

    ทำการเปิดเรียนเป็นปฐม เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๙

    [​IMG]
    [​IMG]

    ในด้านการเผยแผ่

    ฟื้นฟูการออกหนังสือ นิตยสารธรรมจักษุรายเดือน
    ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ จัดตั้งโรงพิมพ์มหามกุฏฯ
    ตั้งแต่วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ จัดพิมพ์คัมภีร์พระธรรมเทศนา
    โดยใช้กระดาษแทนใบลานเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ บัดนี้เรียกว่า “มหามกุฏเทศนา”
    จัดส่งพระไปทำการเผยแผ่ในส่วนภูมิภาคตามโอกาส

    ในด้านต่างประเทศ

    ได้จัดส่งพระไปจำพรรษาที่ปีนัง ในความอุปถัมภ์ของ ญาโณทัย พุทธศาสนิกสมาคม
    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๒ ได้ส่งพระไปร่วมสมโภชฉลองพระบรมสารีริกธาตุ
    พระธาตุของพระสารีบุตรเถระ และพระโมคัลลานุเถระ ตามคำเชิญของเขมร
    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้ให้อุปการะส่วนหนึ่งแก่พระที่เดินทรงไปสังเกตการพระศาสนา
    และการศึกษาในประเทศอินเดีย และลังกา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘

    [​IMG]
    พระรูปทรงฉายร่วมกับพระนวกะวัดบวรนิเวศวิหาร หน้าพระอุโบสถ


    พระภารกิจด้านการวัด

    ในสมัย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ได้โปรดให้ทรงช่วยในการปกครองวัดมาโดยลำดับ
    รับสั่งเล่าว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวช
    ในขณะที่ทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฏราชกุมาร

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ โปรดให้ทรงเป็นพี่เลี้ยงกับพระราชมุนี (ชม)
    เพราะทรงผนวชกว่า ๓ เดือน ในตอนหลังสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ
    เมื่อเสด็จหัวเมืองทุกครั้ง ตลอดจนถึงเสด็จไปประทับพักรักษาพระองค์ในครั้งที่สุด
    ที่จังหวัดสงชลา ก็ได้โปรดให้ทรงรักษาการวัด
    และโปรดให้เป็นพระอุปัชฌาย์แทนพระองค์ เมื่อประชวรมากขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๓

    และได้ทรงตั้งให้เป็นกรรมการรับมอบสมณบริกขารส่วนพระองค์
    (ใบทรงตั้งลงวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓)

    เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้าสิ้นพระชนม์ในวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔
    ได้ทรงครองวัดต่อมานับเป็นปีที่ ๔
    (เคยรับสั่งว่าไม่มีใครตั้งพระองค์ท่านเป็นเจ้าอาวาส รัชกาลที่ ๖ ก็มิได้ทรงตั้ง
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ (วัดราชบพิธ) ก็ไม่ได้ทรงตั้ง


    การปกครองวัดได้ทรงปฏิบัติตามแบบที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    และสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรงวางไว้เป็นส่วนใหญ่
    มีพระกรรมการวัดเป็นผู้ช่วยพิจารณา

    ฝ่ายการศึกษาอบรม

    ได้มีเปรียญและนักธรรมเพิ่มพูนมากขึ้น
    การอบรมสั่งสอนนวกะภิกษุนั้น
    ได้ตั้งพระหฤทัยประทานพระโอวาทอบรมด้วยพระองค์เอง
    โดยมากเคยมีรับสั่งว่า เป็นอุปัชฌาย์พระบวชใหม่แล้วมิได้สอนเอง
    ก็เหมือนมารดามีบุตรแล้วไม่ได้เลี้ยงด้วยขีโรทกของตน

    ในตอนหลังได้มีพระใหม่เพิ่มมากขึ้น
    จนต้องจำกัดจำนวน เพราะเสนาสนะไม่เพียงพอ
    ในวันธรรมะสวนะ ทรงแสดงธรรมกัณฑ์อุโบสถเวลาเช้าเสมอ
    (เทศน์ต่างๆ ที่รวมพิมพ์เป็นเล่ม
    บันทึกจากแสดงที่ทรงเป็นมุขปาฐะในวันธรรมสวนะโดยมาก)


    [​IMG]
    ตึกมนุษยนาคมานพวิทยาทาน


    การก่อสร้างภายในวัดในสมัยที่ทรงครองวัด

    ได้มีขึ้นเป็นอันมาก ที่เป็นอาคารใหญ่ก็คือ ตึกมนุษยนาคมานพวิทยาทาน
    ตึกสภาการศึกษา ขนาดย่อมลงมาก็มี ตึกลออโรงเรียนสามัคคีธรรมทาน
    ตึกคอยท่า และกุฏีต่างๆ อีกจำนวนมากหลัง

    การก่อสร้างอันเกี่ยวเนื่องกับพระองค์

    ได้แก่ โรงเรียนสามัคคีธรรมทาน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗
    ด้วยทุนที่เหลือจากการบำเพ็ญกุศลฉลองชนมายุ ๕ รอบ ๖๐ ปี บริบูรณ์

    ตึกอุทิศนพวงศ์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ ด้วยทุนไวยาวัจกรส่วนพระองค์

    ส่วนที่ทรงสร้างในส่วนธรณีสงฆ์ของวัดคือ ทำถนนหลังวัดและสร้างห้องแถว ๖ ห้อง
    ที่หลังวัด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ด้วยทุนที่สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
    ทรงปวารณาเก็บไว้ที่พระคลังข้างที่ โปรดฯ ให้ไวยาวัจกรวัดเบิกมาทำ

    [​IMG]
    พระรูปหล่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ประดิษฐาน ณ ตึกมนุษยนาคมานพวิทยาทาน วัดบวรนิเวศวิหาร



    การอุปการะศิษย์วัด

    จัดปกครองและอบรมให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
    อุปการะให้ได้เข้าเล่าเรียนในโรงเรียนในวัด โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน
    เพราะโรงเรียนในวัดสืบเนื่องมาจากโรงเรียนของมหามกุฏดังกล่าวข้างต้น
    ซึ่งไม่เก็บค่าเล่าเรียน ต่อมาเมื่อเป็นโรงเรียนที่รัฐบาลรับช่วงไป
    และที่เล่าเรียนก็ขยายออกไปเป็น ตึกอรพินท์, ตึกดำรงธัมมี
    และตึกมนุษยนาคมานพวิทยาทาน
    เป็นตึกของวัดที่สร้างเป็นสถานศึกษา
    ทางโรงเรียนก็ไม่เก็บค่าเล่าเรียนจากศิษย์วัดเป็นการตอบแทน

    ทางวัดคุ้มครองป้องกันให้เป็นดังนี้ตลอดมา
    ก็ด้วยมุ่งอุปการะเด็กของชาตินั้นเอง
    และจัดอบรมพระพุทธศาสนาประกอบไปด้วย

    ในชั้นหลังรัฐบาลไม่เก็บค่าเล่าเรียนนักเรียนมัธยมทั่วไป
    ซึ่งก็มาตรงกับวัตถุประสงค์ที่ทางวัดอุปการะเด็กของวัดอยู่แล้ว

    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    (หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)



    ปกิณกะ

    การที่ทรงจัดอันเป็นส่วนปลีกย่อยนอกจากนี้
    เป็นต้นว่าในการทำวัตรเช้า เพิ่มสวดบท อภิณหปัจจเวกขณะแปล
    ในเวลาทำวัตรเย็น เพิ่มบท พรหมวิหารผรณปาฐะแปล
    และปัตติทานคาถา (พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔) แปล


    และในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒
    ต้องเปลี่ยนเวลาทำวัตรเย็นในเวลา ๒๐ นาฬิกา มาเป็นเวลา ๑๗ นาฬิกา
    และเปลี่ยนเวลาทำปาติโมกข์ในเวลาเดียวกันนั้นมาเป็นเวลา ๑๓ นาฬิกา
    (เวลาทำวัตรเย็นได้เปลี่ยนกลับไปเป็นเวลา ๒๐ นาฬิกา ตามเดิม
    ตั้งแต่วันหลังวันวิสาขบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ )


    อนึ่งได้เสด็จไปทรงเป็น พระอุปัชฌาย์ ที่วัดเขมาภิรตาราม
    ตามที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ได้ทรงสั่งมอบไว้
    และได้ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ให้อุปสมบท อุปสัมปทาเปกขะทั้งสิ้นรวม ๑๕๙๙ อีกด้วย
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระกรณียกิจพิเศษ

    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้เสด็จไปบูชาปูชนียสถานและดูการพระศาสนา
    ที่ประเทศลังกา อินเดีย และพม่า
    ออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘
    กลับถึงวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘

    [​IMG]
    พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ๔๕ เล่มของมหามกุฏราชวิทยาลัย


    การหนังสือและผลงานพระนิพนธ์

    พ.ศ. ๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำระ พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ

    แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์
    ด้วยพระราชประสงค์ที่จะทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา
    ทรงพระราชอุทิศพระกุศลถวายสนองพระเดชพระคุณ
    สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

    สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ได้ทรงชำระ ๒ เล่ม คือ

    เล่ม ๒๕ ขุทฺทกนิกาย ขุทฺทกปาฐ ธมฺมปท อุทานอิติวุตฺตก สุตฺตนิปาต
    เล่ม ๒๖ ขุทฺทกนิกาย วิมานวตฺถุ เปตวตฺถุ เถรคาถา เถรีคาถา


    ทรงชำระ อรรถกถาชาดก
    ที่สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
    โปรดเกล้าฯ ให้ชำระพิมพ์ในโอกาสที่มีพระชนมายุ ๖๐ พรรษาบริบูรณ์ รวม ๑๐ ภาค

    เมื่อปี พศ. ๒๔๗๖ ได้ทรงชำระภาคที่ ๓

    ส่วนหนังสือทรงรจนาหรือที่บันทึกจากพระดำรัสด้วยมุขปาฐะ เป็นต้นว่า

    ศาสนาโดยประสงค์ (พิมพ์หลายครั้ง)
    พระโอวาทธรรมบรรยาย ๒ เล่ม (พิมพ์หลายครั้ง)
    ตายเกิดตายสูญ (พิมพ์หลายครั้ง)

    ทศพิธราชธรรม
    พร้อมทั้งเทวตาทิสนอนุโมทนากถา
    และสังคหวัตถุ จักรวรรดิวัตร และขัตติยพละ


    ถวายในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลปัจจุบัน

    และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ในงานฉลองพระสุพรรณบัฏ
    ณ วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. ๒๔๙๓

    พุทธสาสนคติ
    คณะธรรมยุต พิมพ์ในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ พ.ศ. ๒๕๐๐

    บทความต่างๆ รวมพิมพ์เป็นเล่มตั้งชื่อว่า
    “ความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาตั้งแต่เบื้องต้น”
    (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา พ.ศ. ๒๕๐๑)


    พระธรรมเทศนา ทศพิธราชธรรม ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลปัจจุบัน

    พระธรรมเทศนาศราทธพรต ในคราวถวายพระเพลิงพระบรมศพ
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระโอวาทในโอกาสต่างๆ

    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ครั้งนี้ด้วย

    พระธรรมเทศนา “วชิรญาณวงศ์เทศนา” รวม ๕๕ กัณฑ์
    คณะธรรมยุตพิมพ์เป็นเล่มและมหามกุฏฯ พิมพ์เป็นคัมภีร์

    “มหามกุฏเทศนา”
    ในคราวพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ครั้งนี้

    ทีฆาวุคำฉันท์ (พิมพ์หลายครั้ง)
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระญาณวราภรณ์


    การเลื่อนสมณศักดิ์

    ทรงได้รับพระราชทานเลื่อนและสถาปนาสมณศักดิ์โดยลำดับต่อไปนี้

    ในรัชกาลที่ ๕

    พ.ศ. ๒๔๓๙ เป็น พระสุคุณคณาภรณ์ ที่พระราชาคณะ

    พ.ศ. ๒๔๔๖ เป็น พระญาณวราภรณ์ มีสมณศักดิ์เสมอตำแหน่งเทพพิเศษ

    ในการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา
    ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๔๔๙
    ได้มีกำหนดให้ทรงอ่านพระอภิธรรมนำพระศพ ได้มีเรื่องเกิดขึ้นในครั้งนั้น
    ตามที่ได้เคยมีรับสั่งเล่าแก่หลายท่านเลือกเก็บรวมใจความว่า

    เมื่อจะทรงออกจากวัด (บวรนิเวศฯ) เจ้าหน้าที่สังหการีได้มาตาม
    เพราะสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้เสด็จไปทรงรออยู่แล้ว
    จึงทรงตรวจดูฎีกานิมนต์ของสังฆการี ปรากฏว่ายังไม่ถึงเวลาตามกำหนดในฎีกา
    จักต้องเสด็จถึงก่อนและทันเวลาเสด็จพระราชดำเนินถึง
    ซึ่งเป็นเหตุก่อผลจนถึงได้ตกลงพระหฤทัยที่จะไม่เกี่ยวข้องกับราชการอีก

    จึงทรงทูลลาและได้ทรงส่งพัดหลวงคืน แต่ไม่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต

    ในพรรษากาล พ.ศ ๒๔๕๑ ได้เสด็จไปทรงจำพรรษาที่วัดท้ายยอ เมืองสงขลา
    ในคราวนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ มีรับสั่งขอให้
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
    ทรงสืบ ดังความในลายพระหัตถ์กราบทูล (พบในแฟ้มพระตำหนักจันทร์) ว่า

    ศาลาว่าการมหาดไทย
    วันที่ ๒๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๗

    กราบทูลทราบฝ่าพระบาท

    ตามที่มีพระประสงค์จะทราบว่า หม่อมราชวงศ์พระชื่นพักอยู่ที่ใดนั้น เกล้าฯ
    ได้ทราบจากพระยาชลบุรารักษ์ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช ว่า
    หม่อมราชวงษ์พระชื่น
    * พักอยู่ที่วัดกลาง เมืองสงชลา

    แต่เมื่อพระยาชลบุรารักษ์ จะเข้ามากรุงเทพฯ
    หม่อมราชวงษ์พระชื่น
    * กำลังหาเรือจะไปเมืองพัทลุง

    ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

    ดำรงราชานุภาพ


    ครั้นวันที่ ๒๗ กรกฏาคม ศกนั้น กระทรวงมหาดไทย
    จึงได้รับแจ้งมา (ตามเอกสารบนตำหนักจันทร์) ว่าดังนี้

    สำเนาวันที่ ๘๑๘๒ กระทรวงมหาดไทย
    รับวันที่ ๒๗ กรกฏาคม ศก ๑๒๗
    ที่ ๓
    กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพฯ

    พระญาณวราภรณ์ ได้มาถึงเมืองพัทลุง ๑ วัน
    แล้วกลับไปพักประจำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะยอ เมืองสงขลา


    ขุนอักขรา


    การเสด็จกลับเข้ามา กล่าวกันว่า เพราะมีคำสั่งเรียกเป็นทางราชการ
    ปรากฏว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้พระราชทานอภัย
    (จะเป็นเพราะทรงทราบเหตุหรือเพราะทรงเมตตาไม่ปรากฏ)

    พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ได้รับสั่งเล่าว่า
    ในคราวเสด็จฯ พระราชทานผ้าพระกฐินหลวงที่วัดบวรนิเวศวิหาร

    สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรับสั่งถาม สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ว่า

    “ขรัวชื่นเดี๋ยวนี้อยู่ไหน”

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ทูลว่า “อยู่กุฏิ”

    สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
    ทูลกระหม่อมอัษฏางค์ฯ เชิญไตรไปถวายแทนพระองค์
    แสดงว่าได้ทรงพระราชทานอภัยแล้ว

    ท่านผู้หนึ่งเคยเล่าว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
    (ทรงพระราชปรารภเหตุอย่างหนึ่ง) รับสั่งถึงสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ว่า

    “พระอย่างนี้หายาก จะดีขึ้นไปถึงไหนๆ”

    ในรัชกาลที่ ๖

    พ.ศ. ๒๔๕๔ พระราชทานพัดยศเดิม คงเข้ารับราชการตามตำแหน่งเดิม
    (เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน)

    พ.ศ. ๒๔๕๔ เลื่อนขึ้นสมณศักดิ์พิเศษเสมอตำแหน่งธรรม ในราชทินนามเดิม

    พ.ศ. ๒๔๖๔ สถาปนาเลื่อนพระราชาคณะ มีสมณศักดิ์เสมอตำแหน่งธรรมพิเศษ
    มีราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฏขึ้นต้นเหมือนอย่างเดิม
    (ได้มีพระราชประสงค์จะทรงยกย่องมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๓)

    แต่ได้ทรงกราบทูลสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ
    ขอพระราชทานไม่รับยศที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนั้น
    เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ สิ้นพระชนม์แล้ว
    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเลื่อนขึ้นดังกล่าว

    ในรัชกาลที่ ๗

    พ.ศ. ๒๔๗๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เป็น
    สมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า

    สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ฯ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายธรรมยุติกา

    (ปรากฏในเอกสารเรื่องสถาปนาว่า
    ราชทินนามที่กราบบังคมทูลมีหลายนามคือ
    วชิรญาณวงศ์ วชิรญาณวราภรณ์ วชิรญาณวรางกูร
    และในการที่จะสถาปนาครั้งนี้
    ได้มีพระราชประสงค์ทรงเห็นว่าควรเป็นสมเด็จพระราชาคณะ
    ได้มีพระราชดำรัสแก่เสนาบดีกระทรวงธรรมการ
    ให้ไปทูลสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ
    ทรงเห็นว่าถึงไม่สมัคร แต่ถ้าทรงตั้ง ก็ไม่ขัดข้อง
    ได้ทรงพระราชดำริถึงชื่อสมเด็จพะราชาคณะพิเศษ
    ทรงเห็นว่า สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เหมาะดี)

    ในรัชกาลที่ ๘

    พ.ศ. ๒๔๘๘ ประกาศสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ในราชทินนามเดิม
    (ดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปรินายก ปธานาธิบดีแห่งสงฆมณฑลทั่วราชอาณาจักร
    เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๘) ดังความต่อไปนี้

    [​IMG]
    พัดยศสำหรับพระสมณศักดิ์ที่
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์



    การสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า

    ครั้นเมื่อถึงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๗ เวลา ๐๓.๐๐ น. นี้
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สิ้นพระชนม์
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘
    ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา
    สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) ขึ้นเป็น
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปรินายก ในราชทินนามเดิม
    นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ดังมีสำเนาประกาศสถาปนาดังนี้

    ประกาศสถาปนา
    สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช

    ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล


    ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
    (ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
    ลงวันที่ ๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๗)
    ปรีดี พนมยงค์

    โดยที่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทว เปรียญ ๕ ประโยค)
    วัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปรินายก ปธานาธิบดีสงฆ์
    ได้สิ้นพระชนม์ล่วงลับไปเสียแล้ว
    เป็นการสมควรที่จะสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ดำรงตำแหน่งต่อไป

    และโดยที่ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร
    มีคุณูปการในทางศาสนกิจ เจริญด้วยคุณวุฒิ ประกอบด้วยสมรรถภาพอันดียิ่ง
    เป็นที่คารวะของพระภิกษุสงฆ์และพุทธมามกะทั่วไป
    สมควรจะดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปรินายกได้

    ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    จึงให้ประกาศสถาปนาสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ขึ้นเป็น
    สมเด็จพระสังฆราช ในราชทินนามเดิม ดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปรินายก
    ปธานาธิบดีแห่งสงฆมณฑลทั่วราชอาณาจักร
    สืบไป

    ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ เป็นปีที่ ๑๒ ในรัชกาลปัจจุบัน

    ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

    ควง อภัยวงศ์
    นายกรัฐมนตรี

    (หมายเหตุ : จากราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๙ หน้า ๑๖๖ พ ศ ๒๔๘๘)


    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    (หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร



    ในรัชกาลที่ ๙
    การเฉลิมพระนามสมเด็จพระสังฆราช


    ถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ในรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    สถาปนาเฉลิมพระนามให้เต็มพระเกียรติยศตามราชประเพณี
    เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓
    ตามจารึกในพระสุพรรณบัฏ ขึ้นต้นพระนามเหมือนอย่างเดิม
    (พระปลัดขวาซ้าย เลื่อนขึ้นเป็นพระราชคณะ)

    และในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาศกนั้น
    ทรงได้รับพระราชทานพัดแฉกงา
    ซึ่งเป็นพัดที่เคยพระราชทานเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต สืบกันมาตั้งแต่ต้น

    * หมายเหตุ : อักขรวิธีตามต้นฉบับ
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    ในพระราชพิธีทรงผนวชพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
    ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙
    โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระราชอุปัธยาจารย์



    ประชวรใหญ่ครั้งแรก

    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    ประชวรพระโรคนิ่วในถุงน้ำดี ต้องเสด็จไปประทับ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
    แพทย์ได้ถวายการผ่าตัด ๒ ครั้ง ตัดถุงน้ำดีออก

    ต่อมา พระบรมวงศานุวงศ์ คณะศิษยานุศิษย์ และผู้เคารพนับถือ
    ได้ดำเนินการสร้างตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรผู้อาพาธขึ้น ๑ หลัง
    ให้แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นที่ระลึกในการหายประชวรครั้งนั้น
    แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ
    ได้ประทานนามว่า “ตึกสามัคคีพยาบาร”

    โปรดใช้คำว่า “พยาบาร” ซึ่งเป็นศัพท์บาลีที่มีอยู่แล้ว
    แทนคำว่า “พยาบาล” ซึ่งเป็นศัพท์ผูกใหม่
    (พยาปารหรือวฺยาปาร แปลว่า ขวนขวาย, ช่วยธุระ, กิจกรรม)

    [​IMG]
    พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
    ทรงประทับหน้าใบเสมาพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
    เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙



    ประชวรใหญ่ครั้งที่ ๒

    ต่อมา พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้เริ่มประชวรพระโรคบิด ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม
    ต่อมากลายเป็นพระอันตะ (ลำไส้) อักเสบ มีพระโลหิตเวลาลงพระบังคนหนัก
    ต้องเสด็จไปประทับที่ตึกสามัคคีพยาบาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

    นายแพทย์ได้ถวายการผ่าตัดพระนาภี ๒ ครั้ง
    ตามรายงานของแพทย์แสดงว่าครั้งแรกผ่าตัดแผลที่พระอันตะออก
    เพราะทำให้พระโลหิตออกมากไม่มีทางจะทำให้หยุดได้ด้วยวิธีอื่น
    ครั้นแล้วพระอันตะส่วนหนึ่งเกิดบิดพันกับพระกิโลมกะ (พังผืด) ในพระนาภี
    ต้องถวายการผ่าตัดพระกิโลมกะ (พังผืด) นั้นออกเป็นครั้งที่ ๒
    พระชนม์ชีพได้ผ่านอันตรายมาได้

    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ-พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ณ พระตำหนักบัญจบเบญจมา เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙



    พระราชอุปัธยาจารย์

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    ได้เสด็จฯ เยี่ยมพระอาการในคราวประชวรนี้หลายครั้ง
    และได้พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์โดยตลอด

    ทรงทราบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชปณิธานอย่างแน่นอนว่า
    เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ หายประชวร จะทรงผนวช

    และสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ก็หายประชวรได้อย่างน่าประหลาด
    จึงได้ตกลงพระราชหฤทัยจะทรงผนวช

    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ถวายอนุศาสน์
    เมื่อพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นทรงทำอุปัชฌายวัตร
    ณ พระตำหนักบัญจบเบญจมา เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙



    โดยมี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต ป.ธ. ๗)
    วัดบวรนิเวศวิหาร
    ที่ทรงถือว่าได้ทรงมีคุณูปการส่วนพระองค์มามาก เป็นพระราชอุปัธยาจารย์
    สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ ป.ธ. ๙)
    วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอนุศาสนาจารย์
    และ พระสาสนโสภณ (จวน อุฏฐายี ป.ธ. ๙)
    วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    เพื่อสนองพระเดชพระคุณพระราชบุรพการีตามคตินิยมราชประเพณี
    พระองค์ได้เสด็จฯ มาเฝ้าถวายเครื่องสักการะ
    แสดงพระองค์เป็น อุปสัมปทาเปกข์ (ผู้ประสงค์อุปสมบท)
    ในสำนักสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
    เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๙

    ครั้นเมื่อถึงวันจันทร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ ได้เสด็จทรงผนวช
    ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง

    [​IMG]
    พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถวายสักการะทูลลาเพื่อทรงลาผนวช
    ณ พระตำหนักบัญจบเบญจมา เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙



    ในสังฆสมาคม มีพระสงฆ์นั่งหัตถบาส รวม ๓๐ รูป
    โดยมี สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ เป็นประธานในการอุปสมบทกรรม
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับผ้าไตรจากสมเด็จพระราชชนนี
    แล้วทรงอุ้มไตรคุกพระชานุอยู่ตรงหน้าพระราชอุปัธยาจารย์
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ถวายโอวาท
    แล้วถวายพระสมณฉายานามว่า “ภูมิพโล ภิกขุ”
    หรือขานพระนามตามสำนักพระราชวังว่า
    พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    เสร็จเวลา ๑๖.๒๓ นาฬิกา

    พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประเคนผ้าไตรและย่าม
    แด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ และพระสงฆ์ในสังฆสมาคมนั้นทั้งหมดรวม ๓๐ รูป
    แล้วเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระแท่นท้ายอาสน์สงฆ์
    ทรงรับสมณบริขารและเครื่องสักการะจากพระบรมวงศานุวงศ์และผู้มีเกียรติทั้งปวง
    เสร็จแล้วพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพร ถวายอนุโมทนา
    ทรงกรวดน้ำกวายอดิเรก แล้วเสด็จฯ ออกจากพระอุโบสถ

    [​IMG]
    พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
    ประทับในพระตำหนักปั้นหยา เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙



    ครั้นเมื่อเสร็จพระราชพิธีทรงพระผนวช
    ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้ว
    พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    เสด็จฯ สู่พระพุทธรัตนสถานมนทิราราม ในพระบรมมหาราชวัง
    ทรงประกอบการทัฬหีกรรมตามขัตติยราชประเพณี
    แต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงพระผนวช
    ในสังฆสมาคม มีพระเถระฝ่ายธรรมยุตนั่งหัตถบาส รวม ๑๕ รูป
    โดยมี สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ทรงเป็นประธาน
    เสร็จเวลา ๑๗.๔๓ นาฬิกา

    แล้วเสด็จฯ โดยรถพระที่นั่งพร้อมด้วยสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ สู่วัดบวรนิเวศวิหาร
    ในท่ามกลางประชาชนที่มาเฝ้าพระบารมีอย่างแน่นขนัดสองฟากถนนตลอดถึงวัด
    โดยเสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา หนึ่งคืนตามพระราชประเพณี
    แล้วจึงเสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักทรงพรต ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕

    ในการนี้ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ พระราชอุปัธยาจารย์
    ของ พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
    ทรงเลือก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
    เมื่อครั้งทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระโศภณคณาภรณ์
    ให้เป็น “พระอภิบาล” (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ในระหว่างที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

    [​IMG]
    “ปัญจมหาราชา” ๕ พระบูรพกษัตราธิราชเจ้าแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
    คือรัชกาลที่ ๔-๗ และรัชกาลที่ ๙ ภายใต้ร่มเงาเศวตฉัตรแห่งพระบวรพุทธศาสนา



    ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
    ที่เสด็จออกทรงพระผนวชขณะทรงครองราชย์อยู่
    (พระองค์แรกคือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕)
    และทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๕ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
    ที่ได้เสด็จออกทรงพระผนวชต่อจากพระบูรพกษัตราธิราชเจ้ารัชกาลที่ ๔-๗

    ดังนั้น พระบูรพกษัตราธิราชเจ้าแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
    ภายใต้ร่มเงาเศวตฉัตรแห่งพระบวรพุทธศาสนา ปัจจุบันมี ๕ พระองค์
    เรียกว่า “ปัญจมหาราชา” ประกอบด้วยรัชกาลที่ ๔-๗ และรัชกาลที่ ๙

    ในระหว่างทรงผนวช พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
    ได้ทรงดำรงสมณเพศ ประทับทรงปฏิบัติพระธรรมวินัย
    อยู่ในสำนักสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตลอด ๑๕ ราตรี
    ระหว่างวันจันทร์ที่ ๒๒ ตุลาคม ถึง วันจันทร์ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙

    ทรงลาผนวชเมื่อวันจันทร์ที่ ๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๙

    แม้เมื่อทรงลาผนวชแล้ว พระองค์ยังคงเสด็จมาประทับ
    นั่งสมาธิกรรมฐานเป็นครั้งคราว ณ พระตำหนักทรงพรต

    [​IMG]
    พระบรมสาทิสลักษณ์สีน้ำมันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เมื่อทรงผนวช
    ทรงฉายกับสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ฝีมือระเด่น บูซากิ
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    พัดตราประจำพระองค์
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์



    การทรงกรม

    พ.ศ. ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระสมณศักดิ์และฐานันดรศักดิ์
    พระราชอุปัธยาจารย์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ประกอบพระราชพิธี ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวามคม ๒๔๙๙
    ได้ถวายพัดมหาสมณุตมาภิเษกของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    เสวตฉัตร ๓ ชั้น ได้เปลี่ยนเป็นฉัตรตาดเหลือง หรือฉัตรตาดสีทอง ๕ ชั้น
    สำหรับฐานันดรศักดิ์กรมหลวงฯ และมีสำเนาประกาศสถาปนา ดังนี้

    ประกาศพระบรมราชโองการสถาปนาสมณศักดิ์และฐานันดรศักดิ์
    สมเด็จพระสังฆราช ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์


    ภูมิพลอดุลยเดช ปร.

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี
    จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

    มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า
    โดยที่ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช
    ได้ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ ทรงมีพระคุณูปการอย่างยิ่งแด่พระองค์
    เมื่อคราวทรงผนวช ได้ถวายโอวาทานุศาสน์
    ให้ทรงเข้าพระราชหฤทัยในหลักพระพุทธศาสนาอย่างทราบซึ้ง

    นับว่าทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นปูชนียบุคคลแห่งองค์พระมหากษัตริย์
    และประกอบด้วยสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นี้ มีศักดิ์เป็นหม่อมราชวงศ์ราชประนัปดา
    ในสมเด็จพระบรมไอยกาธิราช พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฏ
    พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับว่าทรงดำรงอยู่ในสถานะเป็นเชื้อสาย
    ในราชตระกูลแห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ทรงยินดีในเนกขัมมปฏิบัติ
    เป็นอจลพรหมจริยาภิรัตยั่งยืนมาช้านานถึง ๖๔ พรรษา
    ดำรงมั่นอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญามิได้เสื่อมถอย มีพระจริยาวัตรเรียบร้อยบริสุทธิ์ บริบูรณ์
    มิได้หวั่นไหวต่อโลกามิส ทั้งพระฉันทจริต ก็เพียบพร้อมด้วยสมณคุณธรรม
    ยากที่จะหาผู้เสมอได้ ทรงพระปรีชาญาณแจ่มใส รอบรู้พระไตรปิฎกสัทธรรม
    ซึ่งนับว่าเป็นพหุลศรุตบัณฑิต อย่างยอดเยี่ยมพระองค์หนึ่งทรงพระสุตญาณอย่างลึกซึ้ง
    สามารถในธรรมวิจารณธรรมวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องเด็ดขาดในโอกาสทุกเมื่อ

    ส่วนในการพระศาสนา สมเด็จพระสังฆราช ก็ได้ทรงรับหน้าที่บริหาร จัดการทะนุบำรุง
    ให้เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ จนในที่สุด ได้ทรงดำรงตำแหน่ง สกลมหาสังฆปริณายก
    มาเป็นเวลานานถึง ๑๒ ปี ได้ทรงบำเพ็ญกรณียกิจเป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่พุทธจักร
    และอาณาจักรอย่างไพศาล ดั่งความพิสดารปรากฏอยู่ในประกาศสถาปนาเฉลิมพระนาม
    เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ นั้นแล้ว

    และบัดนี้ก็เป็นที่ประจักษ์ว่า สมเด็จพระสังฆราชทรงเจริญยิ่งด้วยคุณวุฒิ วัยวุฒิ
    รัตตัญญูมหาเถรธรรม เป็นที่เจริญศรัทธาปสาทะและเป็นคารวสถาน
    ปูชนียเจดีย์แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์
    ตลอดถึงมวลพุทธบริษัทและอาณาประชาราษฎรทั่วสกลราชอาณาจักร
    สมควรจะสถาปนาพระเกียรติยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวง
    เพื่อเป็นศรีศุภมงคล แด่พระบวรพุทธศาสนา
    และเป็นที่เฉลิมพระราชศรัทธาคารวสถานสืบไป

    จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
    ให้สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวง
    มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วิสุทธิสงฆคุณาลังการ
    อริยวงศาคตญาณวิมล สกลมหาสังฆปริณายก ตรีปิฎกกลากุสโลภาส
    ภูมิพลมหาราชหิโตปัธยาจารย์ สุจิตตาภิธานสังฆวิสุต มหามกุฏมหาราชประนัปดา
    นภวงศราชกุลาภิวรรธน์ สุขุมอรรถธรรมวิจาร ปรีชา กาพยรจนาฉันทพากยปฏิภาน
    ปาวจนุตตมญาณวราภรณ์ สุนทรวิสุทธิพรหมจรรย์ วิมลศีลขันธสมาจารวัตร
    พุทธศาสนิกบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภานพัฒนคุณ อดุลคัมภีรญาณบัณฑิต
    สรรพคณิสสรมหาปธานาธิบดี ศรีสมณุดมบรมบพิตร คชนาม


    เสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พระอารามหลวงทรงศักดินา ๑๑๐๐๐
    ตามกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมทั้งปวง
    และดำรงพระอิสริยยศยิ่งใหญ่ในฝ่ายพุทธจักร
    สมณศักดิ์ที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
    เป็นประธานในสมณมณฑลทั่วราชอาณาจักร
    ขออาราธนาให้ทรงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอน
    ช่วยระงับอธิกรณ์ และอนุเคราะห์พระภิกษุสงฆ์สามเณรทั่วไป
    โดยสมควรแก่พระอิสริยยศสมณศักดิ์
    ทรงเจริญพระชนมายุ พรรณ สุข พล ปฏิภาน คุณสารสมบัติ
    สรรพสิริสวัสดิพิพัฒนมงคล วิบูลยศุภผลจิรัฏฐีติกาล ในพระพุทธศาสนา

    ให้ทรงตั้งเจ้ากรม เป็น หลวงวชิรญาณวงศ์ ถือศักดินา ๖๐๐
    ให้ทรงตั้งปลัดกรม เป็น ขุนจำนงบวรกิจ ถือศักดินา ๔๐๐
    ให้ทรงตั้งสมุห์บัญชี เป็น หมื่นวินิจวรภัณฑ์ ถือศักดินา ๓๐๐
    ให้ผู้ซึ่งได้รับตำแหน่งบรรดาศักดิ์ทั้ง ๓ นี้ ทำราชการในหลวง
    และในกรมตามอย่างธรรมเนียมเจ้ากรม ปลัดกรม สมุห์บัญชี
    ในพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่ทั้งปวงสืบไป ให้มีความสุขสวัสดิ์เจริญเทอญ

    ในส่วนสมณศักดิ์นั้น ให้ทรงมีพระราชาคณะ
    และพระครูฐานานุกรมประดับพระอิสริยยศ ๑๕ รูป

    คือ พระมหานายก พุทธปาพจนดิลกโลกยปสาทาภิบาล
    สกลสังฆประธานมหาเถรกิจการี คณาธิบดีศรีรัตนคมกาจารย์

    พระราชาคณะปลัดขวา ๑ พระจุลนายก ธรรมนิติสาธกมหาเถราธิการ
    คณกิจบรรหารธุรการี สมุหบดีศรีธรรมภาณกาจารย์

    พระราชาคณะปลัดซ้าย ๑
    พระครูวิสุทธิธรรมภาณ ๑
    พระครูพิศาลวินยวาท ๑
    พระครูประสาทพุทธปริตร พระครูพระปริตร ๑
    พระครูประสิทธิ์พุทธมนต์ พระครูพระปริตร ๑
    พระครูวินัยธร ๑
    พระครูธรรมธร ๑
    พระครูสรภัญญประกาศ พระครูคู่สวด ๑
    พระครูสรนาทวิเศษ พระครูคู่สวด ๑
    พระครูนิเทศธรรมจักร ๑
    พระครูพิทักษ์ธุรกิจ ๑
    พระครูสังฆสิทธิกร ๑
    พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑

    ขอให้พระคุณผู้ได้รับตำแหน่งทั้งปวงนี้ มีความสุขสิริสวัสดิสถาพร
    ในพระบวรพุทธศาสนา เทอญ

    ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ เป็นปีที่ ๑๑ ในรัชกาลปัจจุบัน

    ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

    จอมพล ป. พิบูลสงคราม
    นายกรัฐมนตรี


    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
    ทรงประทับหน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงฉายเมื่อพระชนมายุ ๗๔ พรรษา



    อภิธชมหารัฏฐคุรุ

    รัฐบาลแห่งสหภาพพม่า ได้ถวายเฉลิมพระสมณศักดิ์ “อภิธชมหารัฏฐคุรุ”
    ซึ่งเป็นสมณศักดิ์สูงสุดของสหภาพพม่า แด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ

    นายกรัฐมนตรีพม่าซึ่งได้รับเชิญมาร่วมในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษในประเทศไทย
    ได้มาประกอบพิธีถวาย ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๐๐

    [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
    ทรงบาตรสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    ทรงถวายน้ำพระพุทธมนต์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓



    พระกรณียกิจพิเศษในรัชกาลปัจจุบัน

    ถวายศาสโนวาทและเบญจศีล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ในคราวแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
    ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙

    ทรงเป็นประธานพระสงฆ์ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
    ระหว่างวันที่ ๔-๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓
    ในพระราชพิธีนี้ ได้ถวายพระครอบพระกริ่งกับพระครอบยันต์นพคุณ
    ณ มณฑปพระกระยาสนาน ถวายพระธรรมเทศนาทศพิธราชธรรม

    ถวายพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์
    ซึ่งประสูติ ณ วันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕

    ถวายพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา
    ซึ่งประสูติ ณ วันเสาร์ที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘

    ถวายพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์
    ซึ่งประสูติ ณ วันพฤหัสบดีที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐

    ถวายพระนาม พระพุทธนาราวันตบพิตร
    ที่ได้ทรงสถาปนาและโปรดเกล้าฯ ให้นำมา
    เมื่อเสด็จฯ ถวายพุ่ม วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐
    เพื่อประดิษฐานไว้ ณ พระตำหนักปั้นหยา
    อันเป็นที่เสด็จประทับบำเพ็ญสมณปฏิบัติในระหว่างทรงผนวช

    ถวายพระนาม พระโพธิ์ใต้แม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ ว่า
    “พระโพธิมหัยยาเขตสุชาตภูมินาถ รัฐศาสนสถาวรางกูร”

    (หมายเหตุ - พระโพธิ์ต้นนี้เกิดมาจากพระโพธิ์ที่อันเชิญมาจากศรีลังกา
    มาประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหาร ต่อมาได้ตายลง
    แต่ก่อนจะตายได้มีพระโพธิ์ต้นใหม่เกิดขึ้นมา เรียกว่า พระโพธิ์ใต้แม่)

    [​IMG]
    พระตำหนักบัญจบเบญจมา ที่ประทับสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ


    ประชวรครั้งอวสาน

    หลังจากประชวรครั้งใหญ่ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ได้ประชวรกระเสาะกระแสะ
    พระวรกายทรุดโทรมเรื่อยมา แต่อาศัยที่ได้ถวายการรักษาพยาบาล
    และประคับประคองเป็นอย่างดีอยู่ตลอดเวลา
    ประกอบกับมีพระหฤทัยเข้มแข็งปล่อยวาง จึงทรงดำรงพระชนม์มาได้โดยลำดับ

    จนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ จึงปรากฏพระอาการประชวรมาก
    มีพระโลหิตออกกับบังคลหนัก ต้องรีบนำเสด็จสู่ตึกสามัคคีพยาบาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

    ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๐๑ เริ่มปรากฏพระอาการเป็นอัมพาต
    แพทย์สันนิษฐานว่า เส้นพระโลหิตในสมองตีบตัน

    แต่ต่อมาพระอาการค่อยดีขึ้นบ้าง แล้วก็กลับทรุด


    การพระราชทานพัดรัตนาภรณ์ ชั้น ๑

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินถวายพัดรัตนาภรณ์ ชั้น ๑
    เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๑

    ส่วนในรัชกาลอดีต ในรัชกาลที่ ๕ ไม่ปรากฏหลักฐาน

    ในรัชกาลที่ ๖ ได้พบหลักฐานเพียงว่าเตรียมพัดรัตนาภรณ์ ชั้น ๓ สำหรับพระราชทาน
    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ และได้รับพระราชทานพัดรัตนาภรณ์ ชั้น ๒ เมื่อไรยังไม่พบหลักฐาน

    ในรัชกาลที่ ๗ ได้รับพระราชทานพัดรัตนาภรณ์ ชั้น ๑
    เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๑

    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    (หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร



    พระอวสานกาล

    ครั้นเวลาหลังเที่ยงคืนของวันที่ ๑๐ นับเป็นวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๑
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ประทับหน้าพระแท่นบรรทมในห้องประชวร
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    ก็ได้สิ้นพระชนม์เมื่อเวลา ๐๑.๐๘ นาฬิกา
    มีพระชนมายุ ๘๕ พรรษา ๑๑ เดือน และ ๑๙ วัน
    ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เป็นเวลา ๑๓ ปี กับ ๙ เดือน ๑๑ วัน
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    พระโกศพระศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    ในพระตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑



    การพระศพ

    เวลาเช้าวันนั้น เชิญพระศพกลับสู่วัดบวรนิเวศวิหาร เชิญขึ้นสู่พระตำหนักจันทร์ชั้นบน
    ครั้นเวลาบ่าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย
    สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ถวายน้ำสรงพระศพ
    แล้วเชิญพระศพลงสู่โกศเชิญขึ้นประดิษฐานเหนือชั้นแว่นฟ้า
    ภายใต้ฉัตรตาดทอง ๕ ชั้น ณ พระตำหนักเพชร
    ประกอบพระลองทองน้อย แวดล้อมด้วยเครื่องสูงตามพระเกียรติยศ พระสงฆ์สดับปกรณ์

    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรม กลางวันกลางคืน
    กำหนด ๓๐ วัน ให้ไว้ทุกข์ในพระราชสำนัก ๓๐ วัน

    ในทางราชการ ได้มีประกาศให้สถนที่ราชการทุกแห่งลดธงครึ่งเสา ๓ วัน
    แลให้ข้าราชการไว้ทุกข์มีกำหนด ๑๕ วัน

    อนึ่ง ทางฝ่ายรัฐบาล มี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นประธาน
    ได้มาเฝ้าถวายความเคารพพระศพในคืนวันสิ้นพระชนม์นั้นแต่เวลาก่อนสว่าง
    ได้กราบบังคมทูลแสดงความเศร้าสลดใจ ได้รับสนองพระราชกรณีย์ในการต่างๆ
    ตลอดถึงการพระเมรุ โดยความเคารพเอิ้อเฟื้อ

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวาย
    ในสัตตมวารที่ ๑ ในวาระ ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน เป็นงานหลวงโดยลำดับ


    พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ
    สมาคมและองค์การต่างๆ และพระสงฆ์ได้มาทรงบำเพ็ญ และบำพ็ญกุศลถวาย

    ประชาชน และนักเรียนโรงเรียนต่างๆ ตลอดถึงฑูตานุทูตได้มาถวายสักการะพระศพ
    ต่อเนื่องกันมาเป็นอันมาก และเมื่อพ้นกำหนดพระสวดอภิธรรมของหลวงแล้ว

    วัดธรรมยุตในจังหวัดพระนคร-ธนบุรี ได้จัดพระมาสวดถวายจนถึงร้อยวัน

    ต่อจากนั้น พระภิกษุสามเณรวัดบวรนิเวศวิหาร ได้ผลัดเปลี่ยนกัน
    เฝ้าพระศพทั้งกลางวันและกลางคืน จนถึงวาระพระราชทานเพลิงศพ

    [​IMG]
    พระเมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ ณ วัดเทพศิรินทราวาส
    ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อการพระราชทานเพลิงพระศพ
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นปฐม



    คณะสงฆ์ก็ได้ประชุมกันสวดมนต์อุทิศถวายทั่วสังฆมณฑล
    เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๒
    เมื่อครบรอบปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    ได้เสด็จฯ มาประทับเป็นประธาน ในการบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย
    ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๒

    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    ทรงหนักแน่น เคร่งครัด ละเอียดถี่ถ้วนในพระธรรมวินัย
    มีพระอัธยาศัยตรง มีพระวาจาและการปฏิบัติตรงไปตรงมา มีพระหฤทัยเข้มแข็ง
    ประกอบด้วย ยุติธรรม แน่วแน่ เป็นหนึ่ง น้อมไปในความปล่อยวางไม่สะสม

    ทรงบำเพ็ญการบริจาคเสมอ
    โดยปกติได้ประทานฉลากแก่พระภิกษุสามเณรทั้งวัด
    จับเลือกบริขารปีละ ๒ ครั้ง คือ
    ในวันมหาปวาราณา ถวายกุศลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    และในวันตรงกับวันประสูติ

    พอพระราชหฤทัยในทาง ลูขัปปมาณิกา ปฏิบัติพระองค์อย่างพระธรรมดาสามัญ
    รักษาสมณสารูป และระเบียบ ทรงเห็นกาลไกลตลอดจนถึงฐานะอฐานะ

    สิ่งที่ทรงทักไว้ว่าอย่างไร ไม่ค่อยพลาด
    ทรงศึกษาพระธรรมวินัยด้วยการใช้วิจารณ์เหตุผล
    และด้วยการปฏิบัติอันพึงเห็นได้จากพระนิพนธ์ต่างๆ

    ทรงมุ่งสามัคคีในสังฆมณฑล ให้เป็นธรรมสามัคคี วินัยสามัคคี
    ดำรงพระองค์ในฐานะพระสังฆบิดรพระสังฆปริณายกตาม หลักอปริหานิยธรรม

    ทรงประสาธน์กรณีย์อันเกี่ยวแก่คณะสงฆ์ แลพระพุทธศาสนาให้สำเร็จผลด้วยดี

    ทรงเป็นที่พึ่งร่มเย็นของคณะสงฆ์ทุกฝ่าย
    ทรงเป็นที่เกิดเจริญพระราชศรัทธาปสาทะอย่างยิ่ง
    แห่งองค์พระประมุขของชาติ เอกอัครสานูปถัมภก
    พร้อมทั้งพุทธศาสนิกชนทุกชั้น
    ทรงประกอบด้วยพระคุณในลักษณะต่างๆ อันไม่อาจกล่าวให้ทั่วถึงได้


    อาจกล่าวได้ว่า

    ทรงเป็นผู้รักษาพระพุทธศาสนา เป็นที่เคารพบูชา
    และอุ่นใจของพุทธศานิกชนทั่วไป


    ในวาระขึ้นพุทธศักราช ๒๕๐๒
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก
    ได้พระราชทานกระแสพระราชดำรัสแก่ประชาชนชาวไทย
    มีข้อความในพระราชกระแสตอนหนึ่งว่า

    “ในขวบปีที่ผ่านมา.....สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลสังฆปริณายก
    ก็ได้มาสิ้นพระชนม์ลงในเดือนพฤศจิกายน นับเป็นการศูนย์เสียอย่างใหญ่
    แก่ประชาชาติของเรา และพุทธศาสนิกชนทั่วไป
    ความวิปโยคที่บังเกิดขึ้น ทำให้เราทุกคน รวมทั้งข้าพเจ้าด้วย
    รู้สึกเศร้าสลดใจ และอาลัยในพระองค์ท่านเป็นที่สุด.....”


    [​IMG]
    พระรูปหล่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีภายในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    <HR> [​IMG]

    พระประวัติและปฏิปทา
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)
    พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๐๕


    วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร
    แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร



    พระประวัติในเบื้องต้น

    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)
    มีพระนามเดิมว่า “ปลด เกตุทัต” พระนามฉายาว่า “กิตฺติโสภโณ”
    ประสูติเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๓๒
    ตรงกับวันจันทร์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลู เอกศก
    จุลศักราช ๑๒๕๑ เวลา ๑๐ ทุ่ม (๐๔.๐๐ นาฬิกา) เศษ
    ที่บ้านในตรอกหลังตลาดพาหุรัด ติดกับวัดราชบุรณะ ในพระนคร

    โยมบิดามีนามว่า ขุนพิษณุโลกประชานาถ (ล้ำ เกตุทัต)
    โยมมารดามีนามว่า ท่านปลั่ง เกตุทัต

    ท่านขุนพิษณุโลกประชานาถ (ล้ำ) เป็นมหาดเล็กใกล้ชิด
    ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ

    เป็นเจ้ากรมคนแรกในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
    ในเวลาที่สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้นทรงกรมเป็นกรมขุนฯ
    และได้ลาออกเสียก่อนที่จะทรงกรมเป็นกรมหลวงฯ
    เนื่องจากสุขภาพไม่สมบูรณ์ ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ ๕๑ ปี

    หลังจากโยมบิดาได้ถึงแก่กรรมแล้ว
    ท่านปลั่ง โยมมารดานั้น ได้ไปตั้งหลักฐานอยู่ในตรอกหลังพระราชวังเดิม
    (โรงเรียนทหารเรือ ในปัจจุบัน) และได้มีอาชีพค้าขายอยู่ที่ตลาดท่าเตียน

    ภายหลังได้ติดตามมาอยู่ที่บ้านข้าง วัดเบญจมบพิตร
    หลังจากที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จได้ทรงบรรพชา อุปสมบทแล้ว
    จนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕ อายุได้ ๗๑ ปี

    สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) เคยรับสั่งว่า
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
    ได้รับสั่งชี้แจงให้ทราบว่า มีสายตระกูลสัมพันธ์กันโดยฐานพระญาติ
    ในสายตระกูล เกตุทัต, หงสกุล, สกุณะสิงห์, และคชาชีวะ

    โดยท่านเจ้ากรมล้ำ เป็นบุตรท่านสั้น และหลวงรักษ์ราชหิรัญ (หนูพิณ)
    และสมเด็จพระสังฆราชทรงใช้นามสกุลว่า “เกตุทัต” เสมอ
    เพราะทรงถือว่าเป็นสายใหญ่

    ส่วนท่านปลั่งนั้น โดยสายตระกูลเพียงแต่แจ้งว่าเป็นญาติกับหม่อมสว่าง
    ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์
    โดยสมเด็จพระสังฆราช ทรงทั้งอยู่ในฐานะเป็นน้าของพระโอรสธิดา
    ในสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้น ที่กำเนิดแต่หม่อมสว่าง


    เมื่อทรงพระเยาว์และเริ่มการศึกษา

    ท่านปลั่ง โยมมารดาได้พา สมเด็จพระสังฆราช แต่ยังทรงพระเยาว์
    ไปอยู่กับท่านตาหรั่งและท่านยายน้อย (ท่านตาและท่านยายของสมเด็จพระสังฆราช)
    ที่บ้านเดิมในตรอกหลังพระราชวังเดิมธนบุรี ทรงเจริญวัย ณ บ้านนี้
    จนถึงเวลาไปบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่ วัดพระเชตุพน เมื่อพระชนม์ ได้ ๑๒ ปี

    เมื่อได้ทรงศึกษาอักขรสมัยพออ่านออกเขียนได้แล้ว
    เริ่มเรียนภาษาบาลีแต่เมื่อพระชนม์ได้ ๘ ปี
    โดยท่านตาเป็นผู้พาไปเรียนกับอาจารย์และรับกลับบ้าน
    ได้เรียน มูลกัจจายน์ กับ อาจารย์ฟัก วัดประยุรวงศาวาส จนจบ การก
    และเรียน ธมฺมปทฏฺฐกถา กับ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (เปีย)
    แต่ยังเป็น พระเทพมุนี วัดกัลยาณมิตร วัดพระเชตุพน
    และ พระยาธรรมปรีชา (บุญ) แต่ยังเป็น พระวิจิตรธรรมปริวัตร
    ซึ่งเป็นอาจารย์หลวงสอนพระปริยัติธรรม ณ วัดสุทัศนเทพวราราม

    การเรียนภาษาบาลีของพระองค์ในระยะนี้
    คล้ายกับนักเรียนไปโรงเรียนอย่างในปัจจุบัน
    กล่าวคือ ยังคงอยู่ที่บ้าน แล้วมาเรียนหนังสือตามสถานที่ดังกล่าว
    แบบนักเรียนไปกลับ จนถึง พ.ศ. ๒๔๔๓ พระชนม์ได้ ๑๒ ปี
    จึงทรงบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ ณ วัดพระเชตุพน
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงเป็นสามเณรปลด เกตุทัต เปรียญ ๒ ประโยค


    ทรงบรรพชาเป็นสามเณรประโยค ๙ รูปแรกในรัชกาลที่ ๕

    ในปีชวด พ.ศ. ๒๔๔๓ เมื่อพระชนม์ได้ ๑๒ ปี
    ได้ทรงศึกษาบาลีภาษา มีความรู้พอจะเข้าสอบได้แล้ว
    จึงได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ในสำนักของ พระราชโมลี (บัว)
    วัดพระเชตุพน
    ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาธุศีลสังวร

    ต่อมาอีก ๓ เดือนก็ได้เข้าสอบแปลพระปริยัติธรรมในปลายปีนั้น
    ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    โดยมี พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร
    (หม่อมเจ้ากระจ่าง ลดาวัลย์ อรุโณ)

    วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทรงเป็นอธิบดีการสอบไล่

    [​IMG]
    พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร


    และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงฟังการแปลในวันนั้นด้วย
    และเมื่อ สามเณรปลด เกตุทัต (สมเด็จพระสังฆราช)
    จับประโยค ๑ เพื่อเข้าแปลเป็นครั้งแรกนั้น
    เป็นวันเดียวกับพระวัดเบญจมบพิตรเข้าแปลเป็นปีแรกเช่นเดียวกัน

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นสามเณรปลดเข้าแปลได้ประโยค ๑ ก็รับสั่งว่า

    “เณรเล็กๆ ก็แปลได้”

    และรับสั่งถามถึง อาจารย์ท่านเจ้าคุณพระสาธุศีลสังวร (บัว) จึงนำถวายตัว

    ครั้นทรงสอบถามได้ความว่าเป็นบุตรเจ้ากรมล้ำก็ยิ่งทรงพระกรุณา
    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อยู่ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ตั้งแต่วันนั้น

    ต่อมาได้เข้าในวันที่ ๒ แปลประโยค ๒ ได้ ๒ ประโยค
    และวันที่ ๓ ประโยค ๓ ได้ ๓ ประโยคในการสอบไล่คราวนั้น
    จึงเป็นอันว่าทรงแปลพระปริยัติธรรม ๓ ประโยค เมื่อพระชนมายุ ๑๒ ปี

    ดังปรากฏตามรายการพระราชกุศล
    ในการสถาปนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ภาคที่สี่ ร.ศ. ๑๒๐ ว่า

    “สามเณรปลด ประโยค ๑ แปลวันที่ ๒๓ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๙
    ธรรมบทบั้นต้น ผูก ๑๘ หนังสือ ๑๐ บรรทัด
    ขึ้นต้น เตปิ วาณิชกา ราชกุลํ คนฺตวา ลงท้าย สาสนํ ปหิตํ เทวีติ
    แปลสองพัก ๒๐ นาที ความรู้เป็นชั้นสอง

    ประโยค ๒ แปลวันที่ ๔ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๐
    ธรรมบทบั้นต้น ผูก ๑ หนังสือ ๑๐ บรรทัด
    ขึ้นต้น ตตฺถ กิญฺจาปิ มโนติ ลงท้าย มโน เสฎฺโฐ
    แปลสองพัก ๑๕ นาที ความรู้เป็นชั้นที่สอง

    ประโยค ๓ แปลวันที่ ๘ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๐
    ธรรมบทบั้นต้น ผูก ๓ หนังสือ ๔๐ บรรทัด
    ขึ้นต้นอสาเร สารมติโนติ อิมํ ลงท้าย ปธานํ ปทหิตฺวา
    แปลพักเดียว ๒๕ นาทีความรู้เป็นชั้นที่สอง”


    [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงเป็นสามเณรปลด เกตุทัต เปรียญ ๙ ประโยค
    และได้รับพระราชทานย่าม จ.ป.ร. คราวเสด็จนิวัตจากยุโรป



    ดังนี้ชื่อว่า สามเณรปลดสอบได้เปรียญ ๓ ประโยค

    เมื่อได้มาอยู่ วัดเบญจมบพิตร แล้ว
    ก็ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมสูงขึ้นโดยลำดับ

    ประโยค ป.ธ. ๔-๕-๖ ได้ศึกษากับท่านอาจารย์
    คือ สมเด็จพระวันรัต ปุณณทัตตมหาเถระ (จ่าย)
    เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร
    องค์ประถม
    และ สมเด็จพระวันรัต อุทยมหาเถระ (ฑิต) เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ
    ผู้กำกับการวัดเบญจมบพิตร และอาจารย์อื่นๆ อีกหลายท่าน
    เช่น พระยาปริยัติธรรมธาดา ณ วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นต้น

    ประโยค ป.ธ. ๗-๘-๙ ได้ศึกษากับ
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นประจำ
    แต่บางครั้งได้ไปศึกษากับ สมเด็จพระวันรัต อุทยมหาเถระ (ฑิต) บ้าง
    สำหรับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ องค์นี้ สมเด็จพระสังฆราชเคยรับสั่งว่า
    ท่านแม้จะเป็นเปรียญเพียง ๔ ประโยค
    แต่ความรู้แล้ว พระเปรียญ ๙ ประโยคทำอะไรไม่ได้

    ผลของการศึกษา ปรากฏว่าทรงสอบไล่พระปริยัติธรรม

    ประโยค ๔ ได้เมื่อพระชนม์ได้ ๑๓ ปี (พ.ศ. ๒๔๔๔)

    ประโยค ๕ ได้เมื่อพระชนม์ได้ ๑๔ ปี (พ.ศ. ๒๔๔๕)

    ประโยค ๖ ได้เมื่อพระชนม์ได้ ๑๕ ปี (พ.ศ. ๒๔๔๖)

    ประโยค ๗ ได้เมื่อพระชนม์ได้ ๑๖ ปี (พ.ศ. ๒๔๔๗)

    ประโยค ๘ ได้เมื่อพระชนม์ได้ ๑๙ ปี (พ.ศ. ๒๔๕๐)

    และประโยค ๙ ได้เมื่อพระชนม์ย่างเข้าปีที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๔๕๑)


    [​IMG]
    สามเณรปลด เกตุทัต เปรียญ ๙ ประโยค ร.ศ. ๑๒๗


    เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงเป็นสามเณรเปรียญ ๙ ประโยค
    รูปแรกในรัชกาลที่ ๕ และเป็นรูปที่ ๒ ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์


    (รูปแรกในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ คือ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)
    วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ซึ่งทรงสอบได้ในรัชกาลที่ ๓)


    ดังมีปรากฏในรายการพระราชกุศลในการสถาปนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
    ภาคที่ ๑๗ รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๘ ว่า

    “สามเณรปลด ประโยค ๙ แปลวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑)
    ฎีกาอภิธัมมัตถสังคห ผูก ๘ ว่าด้วยอารมณ์ของอภิญญา หนังสือ ๑๐ บรรทัด
    ขึ้นต้น เอตฺถหิ อิทฺธิวิธญาณสฺส ตาว ฯลฯ ลงท้าย อยเมเตสํ อารมฺมณวิภาโค
    แปลพักเดียว ๑๔ นาที ความรู้ชั้น ๑”
    ดังนี้

    [​IMG]
    ประกาศนียบัตรสามเณรปลด เกตุทัต เปรียญ ๙ ประโยค ร.ศ. ๑๒๗
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    กับสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ



    ทรงอุปสมบท

    เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๒ พระชนมายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปสมบทเป็นนาคหลวง
    ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    ดังมีรายละเอียดปรากฏในประวัติวัดเบญจมบพิตร ดังนี้

    ด้วยสามเณรปลด วัดเบญจมบพิตร
    สอบไล่พระปริยัติธรรมในที่ประชุมพระเถรานุเถระ ณ สนามวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    ได้เป็นเปรียญสามัญ แต่ยังย่อมเยาว์ เมื่อต้นศก ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔)

    ต่อมาปลายศก ได้เป็นเปรียญตรี ครั้น ศก ๑๒๖ ได้เป็นเปรียญโท
    เมื่อศก ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑) ได้เป็นเปรียญเอก ๙ ประโยค
    แต่เมื่ออายุยังไม่ถึง ๒๐ ปี ศก ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๒)
    บัดนี้อายุครบบริบูรณ์ควรจะอุปสมบทได้แล้ว

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหฤทัยยินดี
    ในความสามารถของสามเณรปลด เปรียญ
    ซึ่งสอบสอบไล่ได้เป็นเปรียญ ๙ ประโยค
    แต่เมื่อยังเป็นสามเณรหาได้โดยยาก เป็นเหตุให้ทรงพระกรุณา

    จึงโปรดเกล้าฯ ที่จะอุปสมบทมีทำขวัญด้วย
    เจ้าพนักงานจัดการที่จะทำขวัญ ที่พระที่นั่งทรงธรรม
    ตกแต่งประดับประดาธรรมาสน์ประดับมุก อันเป็นบัลลังก์เรือ
    ด้วยใบไม้ดอกไม่ ณ เบื้องบน เหมือนธรรมาสน์เทศนมหาชาติ

    ด้านตะวันออกตั้งเก้าอี้สำหรับพระสงฆ์นั่ง ด้านตะวันตกตั้งพระราชอาสน์
    และตั้งเก้าอี้พระบรมวงศานุวงศ์ต่อออกมา
    ในพระฉากตั้งเก้าอี้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายใน

    หว่างตั้งเครื่องอัฏบริขาร และของถวายในการอุปสมบท
    และตั้งบายศรีเครื่องทำขวัญ มีบายศรีทองเงินขนาดเล็กคู่หนึ่ง
    แต่งดอกไม้แทนของคาวหวาน

    ส่วนที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น ก็ได้เตรียมการที่จะอุปสมบทตามธรรมเนียม

    วันที่ ๓ กรกฏาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๘
    เวลาบ่าย ๕ โมง ๑๕ นาที


    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินแต่ราชวังดุสิต
    โดยรถม้าพระที่นั่งถึงวัดเบญจมบพิตร
    เสด็จพระราชดำเนินทางประตูหน้าพระอุโบสถ
    เลี้ยวข้ามสะพานพระรูป ประทับบนพระที่นั่งทรงธรรม

    มีพระราชดำรัสด้วยสมเด็จพระวันรัต (อุทยมหาเถระ ทิต) ตามสมควรแล้ว
    เสด็จกลับมาประทับพระราชอาสน์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
    สามเณรปลด เปรียญ ขึ้นนั่งบนธรรมาสน์

    แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนคำขวัญ
    พระสงฆ์ในพระอารามนี้ (วัดเบญจมบพิตร) ซึ่งนั่งเก้าอี้อยู่นั้นกับสมเด็จพระวันรัต
    ซึ่งเป็นประธาน สวดชัยมงคลคาถา เวียนเทียนรอบหนึ่ง สวดจบหนึ่งทุกรอบ

    พระบรมวงศานุวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาทเวียนเทียน
    พราหมณ์เป่าสังข์แกว่งบัณเฑาะว์ ชาวประโคม ประโคมแตรสังข์ฆ้องชัยพิณพาทย์

    ครั้นถ้วนเบญจมวารแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    เสด็จฯ ไปพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่สามเณรปลด เปรียญ
    แล้วสมเด็จพระวันรัตถวายอดิเรก พระสงฆ์รับภวตุสัพพมังคลังแล้ว

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับศาลามุขบัญชรภาค
    ทอดพระเนตรกระบี่กระบองซึ่งมีในการทำขวัญ
    และพระราชทารางวัลตามสมควรทุกๆ คู่แล้ว

    เวลาย่ำค่ำ ๓๕ นาที เสด็จพระราชดำเนินกลับพระราชวังสวนดุสิต

    วันที่ ๔ กรกฏาคม เวลาบ่าย

    กระบวนรถมอเตอร์คาร์ของหลวง และรถที่ขอแรงมาเข้ากระบวน
    ได้มาเทียบอยู่ที่ถนนศก แล้วอ้อมพระรามมาตามถนนดวงตะวัน
    ท้ายกระบวนจรดถนนเบญจมาศ

    แต่รถซึ่งรับสามเณรปลด เปรียญ เทียบอยู่ตรงประตูข้างพระอารามด้านเหนือ
    ตรงสะพานถ้วยรถหลวง และรถที่ขอแรงมาเข้ากระบวน
    รับบรรทุกเครื่องสักการะธูปเทียนอุปัชฌาย์ เครื่องบริขาร
    และของถวายพระนั่งหัตถบาศ

    ครั้นเวลาบ่าย ๔ โมงเศษ
    สามเณรปลด เปรียญ ขึ้นรถเสร็จแล้ว
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาวัดเบญจมบพิตร
    แต่พระราชวังสวนดุสิต โดยรถพระที่นั่งมอเตอร์คาร์

    ทอดพระเนตรกระบวนโดยตลอดแล้ว
    เสด็จพระราชดำเนินล่วงหน้าตามทางที่กระบวนจะดำเนินนั้น
    หยุดประทับรถพระที่นั่งคอยทอดพระเนตรอยู่หน้าประตูสวัสดิโสภา

    ครั้นเวลา บ่าย ๔ โมง ๓๐ นาที

    กระบวนรถเคลื่อนจากวัดเบญจมบพิตรเป็นลำดับกัน
    ไปตามถนนศก ๒ ข้ามสะพานโสภาคย์ ไปถึงถนนคอเสื้อ
    เลี้ยวข้ามสะพานชมัยมรุเชษฐ ตรงไปเลี้ยวถนนตลาด
    ข้ามสะพานเทวกรรมรังรักษ์ เลี้ยวไปตามถนนกรุงเกษม
    ข้ามสะพานร้อยปี ตรงไปเลี้ยวถนนบำรุงเมือง
    ข้ามสะพานแม้นศรี ข้ามสะพานสมมติอมรมารค
    ตรงป่านเสาชิงช้า ข้ามสะพานช้างโรงสี ตรงไปเลี้ยวถนนสนามชัย
    ผ่านรถพระที่นั่ง ซึ่งประทับคอยทอดพระเนตรอยู่ที่หน้าประตูสวัสดิโสภานั้น

    พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาท
    ลงจากรถรอคอยตามเสด็จพระราชดำเนิน
    แล้วปล่อยรถล่วงไปทางป้อมเผด็จดัสกร

    เมื่อใกล้จะถึงรถสามเณรปลด เปรียญ
    โปรดเกล้าฯ ให้รถเข้าประตูสวัสดิโสภา ไป ๓ หลัง

    คือรถบรรทุกเครื่องสักการะ ๑
    รถบรรทุกเครื่องอัฏบริจาร ๑
    รถสามเณรปลด เปรียญ ๑

    รถพระที่นั่งตามเข้าประตูสวัสดิโสภาไป
    หยุดรถพระที่นั่งที่ประตูระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว
    เสด็จพระราชดำเนินทรงพาสามเณรปลด เปรียญ
    เข้าประตูพระระเบียงตรงหน้าพระพุทธปรางค์ ตามทางลาดพระบาท
    พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาท
    แล้วเสด็จเข้าในพระอุโบสถ ทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการแล้ว

    สามเณร ปลด เปรียญจุดเทียนบูชาระมหามณีรัตนปฏิมากรแล้ว
    พระราชทานไตร สามเณรปลด เปรียญครองผ้าเสร็จแล้ว
    นำเครื่องสักการะเข้าไปขอนิสสัยต่อสมเด็จพระวันรัต

    เมื่อสมเด็จพระวันรัตรับเป็นอุปัชฌาย์และบอกบาตรจีวรแล้ว
    ขับสามเณรปลด เปรียญออกไปนอกหัตถบาสสงฆ์

    พระธรรมวโรดม และพระธรรมเจดีย์ สวดสมมติตนต่อสงฆ์แล้ว
    ออกมาถามอันตรายิกธรรมต่อสามเณรปลด เปรียญ
    แล้วกลับเข้าไปประกาศแก่พระสงฆ์

    และเรียกสามเณรปลด เปรียญ ไปถามอันตรายิกธรรมต่อหน้าสงฆ์อีกวาระหนึ่งแล้ว
    สามเณรปลด เปรียญ ขออุปสมบทต่อสงฆ์
    พระธรรมวโรดม และพระธรรมเจดีย์ สวดญัตติจตุตกรรมวาจา
    ให้สามเณรปลด เปรียญ สำเร็จอุปสมบทเป็นอุปสัมบันขึ้นในพระพุทธศาสนา
    มีพระนามฉายาว่า “กิตฺติโสภโณ”

    เมื่อเสร็จอุปสมบทแล้ว โปรดฯ ให้เปลี่ยนพระธรรมไตรโลกจารย์
    ออกมาบอกอนุสาสน์ กรณียากรณียะ

    พระมหาปลด รับอามะภัณเต ๘ หนแล้ว

    โปรดฯ ให้พระมหาปลดถวายของแด่สมเด็จพระวันรัต พระธรรมวโรดม พระธรรมเจดีย์
    และพระธรรมไตรโลกาจารย์ และพระสงฆ์นั่งหัตถบาส ๒๑ รูปแล้ว

    พระราชทานบริขารของหลวงแล้ว
    โปรดฯ ให้พระมหาปลดไปรับของที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
    ซึ่งทรงปวารณาในศกนี้ ที่พระฉากด้านใต้แล้ว
    ออกมารับของพรบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการฝ่ายหน้าเสร็จแล้ว

    สมเด็จพระวันรัต ยถา พระมหาปลดกรวดน้ำ
    พระสงฆ์อนุโมทนาต่อ โส อัตถลัทโธ จบแล้ว
    สมเด็จพระวันรัตถวายอดิเรก พระสงฆ์รับภวตุสัพพมังคลัง จบแล้ว

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินจากพระอุโบสถ
    ตามทางเดิมขึ้นประทับรถพระที่นั่ง เสด็จกลับทางถนนสนามไชย
    ถนนราชดำเนินใน ข้ามสะพานผ่านพิภพลีลา ถนนราชดำเนินกลาง
    ข้ามสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ถนนราชดำเนินนอก
    ข้ามสะพานมัฆวานรังสรรค์ ตรงไปถนนเบญจมาศถึงหน้าพระลานประทับ

    รถพระที่นั่งคอยทอดพระเนตรกระบวนกลับพระมหาปลด
    โดยเสด็จพระราชดำเนินออกมาขึ้นรถที่ประตูพระระเบียงแล้ว
    เลื่อนรถออกมาคอยกระบวนอยู่ที่หน้าประตูสวัสดิโสภา

    เมื่อหมดกระบวนหน้าแล้ว
    ออกรถเข้ากระบวนไปตามทางเสด็จพระราชดำเนินผ่านรถพระที่นั่งที่หน้าพระลานแล้ว
    เลี้ยวถนนดวงตะวันไปเลี้ยวถนนศก
    ส่งพระมหาปลด กลับเข้าวัดเบญจมบพิตร
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินกลับพระราชวังดุสิต เป็นเสร็จการฯ


    [​IMG]
    เมื่อครั้งทรงเป็นพระมหาปลด กิตฺติโสภโณ เปรียญ ๙ ประโยค
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    ครูบาศรีวิชัย


    การพระศาสนา

    โดยที่ทรงมีพระอัธยาศัยน้อมไปในเนกขัมมะ
    ได้ศึกษาอักขรสมัยบาลีภาษา และธรรมวินัย แต่เมื่อมีพระชนม์ยังน้อย
    ได้บรรพชาเป็นสามเณร ในเวลาที่มีพระชนม์เพียง ๑๒ ปี เท่านั้น

    และเพราะมีพระอัธยาศัยรักในทางธรรม ทรงค้นคว้าศึกษาจนแตกฉาน
    สามารถสอบเป็นเปรียญ ๙ ประโยคได้แต่ครั้งเป็นสามเณร
    และได้รับการอุปสมบทติดต่อมา ด้วยพระบรมราชูปถัมภ์เป็นพิเศษ

    ดังนั้นเมื่อพระองค์ได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุแล้ว
    การศึกษาพระปริยัติธรรมตามหลักสูตรการศึกษา ก็เป็นอันจบด้วยดีแล้ว

    นอกจากจะทรงค้นคว้าศึกษาเป็นพิเศษอื่นๆ ตามพระอัธยาศัย

    ซึ่งก็เพราะเหตุนี้เอง พระองค์จึงได้รับภารกิจพระศาสนามาเป็นอันมาก
    และภาระหน้าที่ที่พระองค์ได้ทรงรับแล้วนั้นๆ ก็ทรงสามารถปฏิบัติให้สำเร็จไปด้วยดี
    และบางครั้งต้องประกอบด้วยอุบายวิธี

    เช่น การที่จะป้องกันมิให้ ท่านครูบาศรีวิชัย และศิษย์อื่นๆ
    ทำการบรรพชาอุปสมบทบุคคลไม่เลือก คือเมื่อมีบุคคลมาขอบวชแล้ว
    จะเป็นบุคคลเช่นไรไม่คำนึงถึง ให้การบรรพชาอุปสมบททันที

    ครั้นบุคคลเหล่านั้นนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้ว เพราะไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัย
    จึงก่อความลำบากแก่วงการคณะสงฆ์ในภาคพายัพ

    พระองค์ในฐานะเป็นเจ้าคณะมณฑลพายัพ
    ครั้นจะปฏิบัติการอะไรรุนแรงลงไปก็ไม่ได้

    เพราะ ครูบาศรีวิชัย เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนเป็นอันมาก
    ซึ่งโดยความเป็นจริง ครูบาศรีวิชัยเป็นภิกษุที่ดีมาก ยากที่จะหาผู้เสมอเหมือนได้

    แต่บรรดาสานุศิษย์ของครูบาเอง
    พยายามที่จะใช้บารมีธรรมของท่านไปในทางที่ไม่ถูกต้อง
    จึงเกิดความไม่เรียบร้อยขึ้นในวงการคณะสงฆ์ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่

    พระองค์จึงได้อาราธนา ครูบาศรีวิชัย ลงมาพักอยู่ที่วัดเบญจมบพิตร
    เพื่อขอให้ครูบาศรีวิชัยได้ทำสัญญาว่าจะไม่บวชพระเณรก่อนได้รับอนุญาต

    ในขณะเดียวกันก็ได้ปรึกษาหารือเพื่อความเรียบร้อยแห่งวงการคณะสงฆ์ด้วย
    ซึ่ง ครูบาศรีวิชัย ก็ได้เห็นชอบด้วยดีและยอมทำสัญญาไว้กับพระองค์

    เมื่อได้ตกลงกันแล้ว พระองค์ก็ได้ทรงอนุญาตให้ ครูบาศรีวิชัย กลับเชียงใหม่ได้
    และการคณะสงฆ์ก็เรียบร้อยแต่นั้นมา

    เจ้าประคุณสมเด็จฯ เคยรับสั่งว่า ครูบาศรีวิชัย เป็นภิกษุที่ดีมาก
    และได้รักษาสัญญานั้นเป็นอันดีมาจนตลอดชนมชีพของท่าน

    นี่เป็นเรื่องหนึ่งในหลายๆ เรื่อง ที่ได้ทรงปฏิบัติการไปเพื่อกิจพระศาสนา

    และกิจการพระศาสนาที่ได้ทรงปฏิบัติตลอดพระชนมชีพของพระองค์นั้น
    พอจะสรุปลงได้ในองค์การพระศาสนาทั้ง ๔ องค์การ ดังต่อไปนี้

    [​IMG]
    สัญญาบัตร สมัยดำรงสมณศักดิ์ที่พระศรีวิสุทธิวงศ์
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระราชเวที


    ๑. องค์การปกครอง

    เมื่อได้รับการอุปสมบทแล้ว ในฐานะที่เป็นเปรียญเอก ๙ ประโยค
    ก็คงจะได้รับมอบหมายให้ช่วยการปกครองคณะเป็นการภายในบ้าง
    แต่ไม่ปรากฏหลักฐาน

    ลำดับสมณศักดิ์และงานปกครองคณะสงฆ์

    ต่อล่วงมาอีก ๖ ปี พระชนมายุได้ ๒๖ ปี พรรษา ๖
    ในต้นรัชกาลที่ ๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น
    พระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีวิสุทธิวงศ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗

    และเป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร
    ลำดับสมณศักดิ์ และงานปกครองคณะสงฆ์ของพระองค์
    จึงปรากฏเป็นหลักฐานตั้งแต่นั้นมา ซึ่งมีเป็นลำดับดังนี้

    ๑. เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๗ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๑

    ๒. เป็นเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๑ ถึงสิ้นพระชนม์

    ๓. เป็นแม่กองสอบไล่นักธรรมสาขามณฑลพายัพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕

    ๔. ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่
    พระราชเวที เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖


    [​IMG]
    ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระเทพมุนี


    ๕. เป็นเจ้าคณะแขวงกลาง จังหวัดพระนคร (เทียบเท่าเจ้าคณะจังหวัด)
    ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๕

    ๖. ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพมุนี

    ๗. สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณณทตโต) เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร ถึงแก่มรณภาพ
    เจ้าประคุณสมเด็จฯ ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพมุนี
    ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร สืบต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑
    และเป็นเจ้าคณะมณฑลพายัพ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๕

    ๘. ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่
    พระธรรมโกศาจารย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒


    [​IMG]
    ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมโกศาจารย์


    ๙. เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
    ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑
    ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๓ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๕

    ๑๐. เป็นแม่กองบาลีสนามหลวง ถึง พ.ศ. ๒๕๐๓

    ๑๑. เป็นเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๔ และในศกเดียวกันนี้

    ๑๒. เป็นประธานคณะบัญชาการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
    วัดสุทัศนเทพวราราม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๔ ในรัชกาลที่ ๘

    ๑๓. เมื่อพระชนม์ได้ ๕๑ พรรษา ๓๑ ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็น
    พระราชาคณะ ตำแหน่งเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏที่ พระพรหมมุนี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒

    ๑๔. พ.ศ. ๒๔๘๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา
    พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔
    ขึ้นแทนพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑

    การปกครองคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ นี้
    อนุวัติตามการปกครองของบ้านเมือง คือ
    มี สังฆสภา คณะสังฆมนตรี และคณะวินัยธร

    เจ้าประคุณสมเด็จฯ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพรหมมุนี
    เป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การศึกษา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๐๓

    ๑๕. เป็นแม่กองธรรมสนามหลวง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๖


    [​IMG]
    ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวันรัต


    ๑๖. ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ พระชนม์ได้ ๕๙ พรรษา ๓๘
    ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ
    ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ชั้นสุพรรณบัฏที่ สมเด็จพระวันรัต

    ๑๗. เป็นสังฆนายก ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๔ ถึง พ.ศ. ๒๕๐๓

    ๑๘. เมื่อ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    ทรงประชวร และไม่ทรงสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามปกติได้
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น ผู้บัญชาการคณะสงฆ์
    แทนสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๑

    และเมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สิ้นพระชนม์แล้ว
    โปรดเกล้าฯ ให้ รักษาการในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช
    ตั้งแต่วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๑
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม


    ๒. องค์การศึกษา

    ได้ทรงรับภารกิจพระศาสนาในด้านการศึกษามาเป็นอันมาก
    เริ่มแต่การศึกษาในสำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม อาจกล่าวได้ว่า

    นับตั้งแต่จบการศึกษาตามหลักสูตรแล้วก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นครูสอนบาลีผู้หนึ่ง
    ดังปรากฏตามรายการพระราชกุศลในการสถาปนา วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
    ภาคที่ ๑๗ รัตนโกสินทร ๑๒๘ ว่าด้วยการเล่าเรียนพระปริยัติธรรม

    “พระสงฆ์สามเณรวัดเบญจมบพิตรได้จัดการเปลี่ยนแปลงใหม่
    เพราะมีพระสงฆ์สามเณรและศิษย์วัดได้เล่าเรียนทวีมากขึ้น
    มีระเบียบการสอนเป็นชั้นๆ ดังนี้ ฯลฯ ชั้นเปรียญสามัญ
    ตั้งแต่ประโยค ๑ ถึง ประโยค ๓ เรียนธรรมบทบั้นต้นบั้นปลาย
    พระมหาโชติ เปรียญ ๘ ประโยคเป็นผู้สอนประจำชั้น
    แต่บางคราวให้พระมหาปลด เปรียญ ๙ ประโยคเป็นผู้สอนแทน”


    ดังนี้ ปรากฏว่าทรงเป็นครูที่ดี สามารถถ่ายเทความรู้ให้แก่ศิษย์ได้เป็นอย่างดี
    ศิษย์ของพระองค์ได้สำเร็จการศึกษาเป็นเปรียญประโยคต่างๆ เป็นจำนวนมาก
    ได้เป็นกำลังพระศาสนา และที่ออกไปรับราชการ
    และประกอบอาชีพต่างๆ มีเป็นอันมาก

    ทรงรักงานสอนหนังสือมาก เคยรับสั่งเสมอว่าเวลาที่สุขสบายใจ
    ก็คือการสอนและการแสดงธรรมโดยปฏิภาณโวหาร

    ทรงทำการสอนด้วยพระองค์เอง และอำนวยการให้พระภิกษุอื่นๆ สอน
    ทั้งในสำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรและในมณฑลพายัพ

    โดยส่งพระเปรียญจากจังหวัดพระนครไปทำการสอนในจังหวัดต่างๆ เป็นอันมาก
    ทำให้การศึกษาภาษาบาลีใน ๗ จังหวัดมณฑลพายัพ
    ได้เจริญรุ่งเรืองมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

    สำหรับพระองค์เองได้สอนตั้งแต่ชั้นสามัญ
    คือประโยค ๓ จนถึงประโยค ๙ โดยเฉพาะประโยค ๙

    ทรงสอนมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงได้ยุติการสอน
    เพราะมีพระเปรียญที่เป็นศิษย์สามารถสอนแทนได้แล้ว

    และเพราะภาวะสงคราม
    พระภิกษุสามเณรต่างกลับไปอยู่ตามภูมิลำเนาเดิมเสียเป็นส่วนมาก
    ครั้นเสร็จภาวะสงครามแล้ว ก็ต้องทรงรับภาระพระพุทธศาสนาในฝ่ายอื่นมาก
    ไม่มีเวลาที่จะทำการสอนได้

    แต่ถึงอย่างนั้น ในการสอนพระภิกษุใหม่ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของพระองค์
    ได้ทรงสอนนับแต่ได้รับมอบหมายจากสมเด็จฯ เจ้าอาวาสองค์ประถมเป็นต้นมา

    จนถึงพรรษาสุดท้าย คือพรรษาในปี พ.ศ. ๒๕๐๔
    ในฝ่ายการศึกษาพระปริยัติธรรมนั้น
    เมื่อสรุปแล้วพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งต่างๆ ดังนี้

    ๑. เป็นผู้อำนวยการรักษาในสำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
    ในฐานะเป็นอาจารย์ใหญ่และเจ้าสำนักเรียน

    ๒. เป็นผู้อำนวยการรักษาในแขวงกลางจังหวัดพระนคร
    ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๘ ตลอดพระชนมายุ

    ๓. เป็นผู้อำนวยการรักษาในมณฑลพายัพ นับแต่เป็นผู้ช่วย
    ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๕

    ๔. เป็นแม่กองสอบไล่นักธรรมสาขามณฑลพายัพ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๕
    จนถึงปีที่ได้รวมการสอนนักธรรมเขาเป็นองค์นักธรรมสนามหลวง
    และเป็นแม่กองธรรมสนามหลวงเองตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๖

    ๕. เป็นกรรมการสอบพระปริยัติธรรมในสนามหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    ตั้งแต่พรรษาแรกที่ได้อุปสมบท และในสมัยที่สอบโดยวิธีเขียน
    ก็ได้เป็นกรรมการตรวจข้อสอบประโยคบาลีสนามหลวงตลอดมา

    ในระยะหลังได้เป็นกรรมการในกองที่ ๑ ซึ่งมีหน้าที่ตรวจประโยคเปรียญเอก

    ๖. เป็นแม่กองบาลีสนามหลวง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๙ ถึง พ.ศ. ๒๕๐๓
    เป็นเวลาติดต่อกัน ๒๕ ปี

    ๗. เป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การศึกษา
    ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๐๓ รวม ๑๘ ปี


    นอกจากจะทรงสอนด้วยพระองค์ และอำนวยการให้ผู้อื่นสอน
    ยังดำรงตำแหน่งในทางการศึกษาดังกล่าวมาแล้ว

    ในส่วนการสร้างสถานที่ศึกษา โดยเฉพาะใน วัดเบญจมบพิตร
    ทรงอำนวยการให้จัดการสร้าง โรงเรียนพระปริยัติธรรม ขึ้น ๒ หลัง
    เป็นตึกสองชั้นก่ออิฐถือปูน และให้สร้าง หอสมุด ป. กิตติวัน ขึ้นอีกหลังหนึ่ง

    ในส่วนการศึกษาวิชาสามัญทางคดีโลก
    พระองค์ได้ทรงอุปการะอุปถัมภ์ในการศึกษาแผนกนี้โดยสมควรแก่ความจำเป็น
    และได้สร้างโรงเรียนเทศบาลขึ้นในวัดเบญจมบพิตรหลังหนึ่ง

    ส่วนในมณฑลพายัพ ก็ได้ทรงอำนวยให้มีการศึกษาในวัดต่างๆ หลายวัด
    ช่วยเหลือบ้านเมืองโดยสมควรแก่ภาวะสมณะ

    [​IMG]
    พระรูปตั้งอยู่เบื้องขวาของพระพุทธชินราชจำลอง
    ประดิษฐานภายในพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๓. องค์การเผยแผ่

    ในการเผยแผ่ศาสนธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น
    สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)
    ถึงแม้จะไม่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การเผยแผ่
    แต่ก็ได้ทรงแสดงธรรมทั้งที่ได้เรียบเรียงขึ้นแสดง
    และทรงแสดงโดยปฏิภาณโวหารในโอกาสต่างๆ และในวันธรรมสวนะเป็นประจำ

    สำหรับหนังสือธรรมะที่ทรงเรียบเรียงและพิมพ์ออกเผยแผ่ก็มีมาก
    เรื่องที่มีผู้พิมพ์แจกเป็นธรรมบรรณาการมากที่สุด
    ที่ควรยกขึ้นกล่าวในที่นี้ก็คือ “มงคลภาษิต”
    ซึ่งมีผู้พิมพ์ออกเผยแผ่หลายหมื่นเล่ม

    นอกจากนี้ยังมี “ปราภวภาษิต ศีลธรรมอันดีของประชาชน”
    เป็นต้น ก็มีผู้ขอพิมพ์เผยแผ่ไปแล้วหลายหมื่นเล่มเช่นเดียวกัน

    อนึ่ง พระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงนั้นๆ ล้วนมีสำนวนโวหารง่ายๆ
    เป็นที่เข้าใจทราบซึ้ง และใช้เวลาแสดงไม่นานจนเกินสมควรไป

    พระองค์จึงได้รับการยกย่องให้เป็นพระคณาจารย์โททางเทศนา
    ตั้งแต่สมัยที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ยังทรงพระชนม์อยู่
    ซึ่งในสมัยนั้นนับว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับท่านที่ได้รับยกย่องเช่นนั้น
    และการเผยแผ่นี้ ได้ทรงกระทำทั้งในด้านเทศนา
    ทั้งในด้านการหนังสือ ทั้งในด้านความประพฤติปฏิบัติ
    อันเป็นทางให้ผู้อื่นถือเป็นทิฏฐานุคติ
    ซึ่งก็ได้ทรงปฏิบัติและทรงวางพระองค์อย่างเหมาะสมตลอดมา

    ๔. องค์การสาธารณูปการ

    ในการพระศาสนาส่วนนี้ทรงปฏิบัติได้ดีจนเป็นตัวอย่าง
    และได้รับความชมเชยโดยเฉพาะวัดเบญจมบพิตร
    ความสะอาดสะอ้านในพระอาราม นับแต่สนามหญ้า,
    ต้นไม้, เสนาสนะ, พระอุโบสถ, พระวิหาร, กุฏิที่อยู่อาศัย

    นอกจากนี้พระองค์ได้ทรงอำนวยการปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมถาวรวัตถุ
    อันวิจิตรงดงามในพระอาราม รักษาศิลปกรรมประณีตศิลป์ไว้เป็นอันดี
    ความเป็นระเบียบของเสนาสนะ ไม่ทำการก่อสร้างขึ้น
    จนเสียแบบแปลนแผนผังของวัด ไม่ให้มีบ้านคฤหัสถ์ติดกำแพงวัด

    และโดยเฉพาะศาสนสมบัติทั้งของวัดและศาสนสมบัติกลาง
    พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่เป็นพิเศษ พยายามรักษามิให้รั่วไหล
    ด้วยการทรงสอดส่องดูแลเป็นอย่างดี

    ในการพระศาสนาต่างๆ นี้ เมื่อทรงได้รับมอบหมายธุระหน้าที่ใด
    ก็ทรงเอาพระทัยใส่เป็นอย่างยิ่ง และในการไปตรวจการคณะสงฆ์
    ทั้งในหน้าที่ผู้แทน สมเด็จพระวันรัต จ่าย ปุณณทัตตมหาเถระ
    ในฐานะเจ้าคณะมณฑลพายัพ และเป็น เจ้าคณะมณฑลพายัพ เอง
    พระองค์ได้เสด็จไปเกือบทุกจังหวัด เว้นแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
    เพราะการเดินทางไม่สะดวก และเพราะยังไม่มีกิจที่ควรจะไป
    เนื่องจากกิจการคณะสงฆ์ ในจังหวัดนั้นไม่มีอะไรแปลกขึ้น
    แต่ก็ได้สั่งให้ผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลพายัพขึ้นไปอยู่ประจำแทนเป็นครั้งคราว

    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) พร้อมเครื่องประกอบสมณศักดิ์


    และโดยที่ได้ดำรงตำแหน่งประธานคณะบัญชาการคณะสงฆ์
    แทนองค์ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) วัดสุทัศนเทพวราราม
    พระองค์ได้ไปตรวจการคณะสงฆ์ในมณฑลปักษ์ใต้ เกือบจะกล่าวได้ว่าทุกจังหวัด
    และในหน้าที่สังฆนายกก็ได้ไปตรวจการคณะสงฆ์มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือหลายจังหวัด

    และถ้าหากสุขภาพของพระองค์ไม่ทรุดโทรมลงเพราะอาพาธจนถึงการผ่าตัดใหญ่
    เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ แล้ว เข้าใจว่า มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ
    ก็คงจะได้เสด็จทุกจังหวัดทีเดียว ซึ่งก็ได้ตระเตรียมการเสด็จไว้แล้ว
    ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ นี้เอง แต่เกิดอาพาธเป็นนิ่วเสีย จึงเสด็จไปไม่ได้

    กล่าวโดยสรุปแล้ว ในกิจธุระพระศาสนาสมเด็จพระสังฆราช
    ทรงเอาพระทัยใส่เป็นอย่างดี ทั้งในหน้าที่และมิใช่หน้าที่โดยตรง
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖


    พระเกียรติคุณด้านตำราวิชาการ

    เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นพระคณาจารย์โททางศาสนา
    กล่าวกันว่า ในสมัยเมื่อครั้งที่ยังทรงดำรงสมณศักดิ์เป็น
    พระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีสุทธิวงศ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖
    ได้ถวายพระธรรมเทศนาในงานพระราชพิธีวิสาขบูชา
    ที่ค่ายหลวงหาดเจ้าสำราญ จังหวัดเพชรบุรี
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาธีรราชเจ้า รัชกาลที่ ๖
    ได้มีพระราชดำรัสชมเชยพระธรรมเทศนาวิสาขบูชาที่ถวายในคราวนั้นว่า

    “เป็นเทศนาที่เหมาะใจของข้าพเจ้ายิ่งนัก
    เพราะพระศรีวิสุทธิวงศ์ได้เก็บคดีธรรมผสมกับคดีโลกอย่างสนิทสนมกลมกล่อม
    และใช้สำนวนโวหารอันเข้าใจง่าย สำหรับบุคคลไม่เลือกว่าชั้นใด”


    อนึ่ง สารคดีธรรมและพระธรรมเทศนาที่ทรงนิพนธ์นั้นมีจำนวนมาก
    และมีการจัดพิมพ์เผยแพร่แล้วเป็นส่วนมาก
    และพระเกียรติคุณด้านวิชาการและตำราที่นับว่าสำคัญก็คือ
    การชำระคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา

    ซึ่งเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงได้ทำหน้าที่อันสำคัญนี้มาแต่ครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์
    เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีวิสุทธิวงศ์ เป็นต้นมา กล่าวคือ

    [​IMG]
    พัดรัตนภรณ์ ที่ทรงได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ ๖ (กลาง)


    ในรัชกาลที่ ๖

    ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระศรีวิสุทธิวงศ์
    ทรงรับหน้าที่ชำระพระคัมภีร์ปรมตฺถทีปนี อรรถกถาอุทาน และอิติวุตตกะ
    พระสุตตันตปิฎก และพระคัมภีร์ สทฺธธมฺมปชฺโชติกา อรรถกถามหานิเทศ
    และจุลลนิเทศ พระสุตตันตปิฏก ๔ เล่ม

    ในรัชกาลที่ ๗

    ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพมุนี ทรงรับหน้าที่ชำระ
    พระคัมภีร์มหานิเทส จุลลนิเทศ และชาดกแห่งพระสุตตันปิฎก ๔ เล่ม

    และขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมโกศาจารย์
    ทรงรับหน้าที่ชำระพระคัมภีร์สารัตถทีปนี ฎีกาพระวินัยปิฎก ๔ เล่ม

    ในรัชกาลที่ ๘

    ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพรหมมุนี
    ทรงเป็นประธานคณะกรรมการแปล พระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย
    อันเป็นการแปลพระไตรปิฎกจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยเป็นครั้งแรก
    เริ่มดำเนินการแปลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓
    และแปลเสร็จบริบูรณ์และจัดพิมพ์เป็นเล่มหนังสือจำนวน ๘๐ เล่ม
    เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ในรัชกาลที่ ๙
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    พระพุทธชินราชองค์จำลอง
    พระประธานในพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม



    นอกจากนี้ยังมีการคณะต่างๆ ที่ควรกล่าวไว้เป็นพิเศษอีกคือ

    การในวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

    ในธุรกิจเกี่ยวกับการบริหารวัดเบญจมบพิตรนั้น
    นับตั้งแต่ได้รับมอบหมายให้เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส
    และเป็นเจ้าอาวาส
    เอง เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๑
    สืบต่อจากสมเด็จฯ เจ้าอาวาสองค์ประถมแล้ว
    พระองค์ได้ปฏิบัติกรณียกิจ อำนวยให้เกิดประโยชน์
    และความเจริญแก่วัดเบญจมบพิตรหลายสถาน

    ในการปกครอง

    ได้กวดขันให้ภิกษุสามเณรรักษาระเบียบแบบแผนประเพณี
    อันเป็นพระราชประสงค์ในรัชกาลที่ ๕ ไว้
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย
    และเพื่อให้การปกครองเป็นไปโดยเรียบร้อย
    พระองค์ได้ออกระเบียบกติกาของวัดขึ้นโดยเฉพาะในวันธรรมสวนะ

    เวลาเช้าภิกษุสามเณรจะต้องลงทำวัตรฟังเทศน์เสมอ
    เว้นแต่มีกิจนิมนต์ แต่ก็ต้องบอกลาไว้เป็นหลักฐาน

    สำหรับการฟังพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือนแล้วภิกบุปูใดจะขาดมิได้
    เว้นแต่อาพาธหรือมีกิจนิมนต์จำเป็นจริงๆ
    โดยเฉพาะพระองค์ได้ทรงทำเป็นตัวอย่างอันดีเสมอ
    อันนี้เป็นที่ทราบกันดีของบรรดาภิกษุสามเณรวัดเบญจมบพิตร

    ในการศึกษา

    โดยพระราชประสงค์ในรัชกาลที่ ๕ ทรงต้องการให้วัดเบญจมบพิตร
    เป็นแหล่งกลางการศึกษาพระปริยัติธรรมแห่งหนึ่ง
    ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ทรงสนับสนุนด้วยประการต่างๆ
    เช่น ภายหลังจากการสอบไล่พระปริยัติธรรมแล้ว
    หากภิกษุสามเณรใดสอบได้ ก็พระราชทานรางวัลเป็นพิเศษ
    และเลี้ยงพระเป็นการฉลองสมโภชด้วย

    ซึ่งในการเลี้ยงพระนี้ ภิกษุสามเณรรูปใดสอบตก
    จะไม่ถูกนิมนต์เข้าร่วมในพิธีการนี้เลยเป็นต้น
    และหากภิกษุสามเณรรูปใดสอบตกติดๆ กัน ๓ ปีแล้ว
    ไม่มีพระราชประสงค์จะให้อยู่ต่อไปฯ

    พระราชประสงค์ดังกล่าวนี้สมเด็จพระสังฆราชทรงทราบดีมาแต่ต้น
    พระองค์จึงทรงเอาพระทัยใส่ในเรื่องการศึกษาเป็นพิเศษ
    นับตั้งแต่เป็นครูอาจารย์สอนด้วยพระองค์เอง
    และอำนวยการให้ภิกษุอื่นๆ ได้ช่วยทำการสอน
    ควบคุมวิธีการเรียนการสอนด้วยพระองค์เอง
    ทั้งในฐานะเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสและในฐานะเป็นเจ้าอาวาส

    ซึ่งผลของการศึกษานั้น นับตั้งแต่พระองค์ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นต้นมา
    ปรากฏมีผู้ที่เรียนพระปริยัติธรรมและสอบไล่ได้เป็นเปรียญเป็นจำนวนมาก
    โดยเฉพาะในสมัยที่ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสนี้
    มีผู้ที่สอบไล่ได้เป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค เกินกว่า ๑๐ รูปแล้ว
    นับเป็นเกียรติประวัติอันดียิ่งของวัดเบญจมบพิตร

    ซึ่งโดยปกติในจำนวนภิกษุสามเณรอยู่ประจำพระอารามประมาณ ๗๐-๘๐ รูปนั้น
    มีที่เป็นเปรียญธรรม ตั้งแต่ ๓ ประโยค ถึง ๙ ประโยค ประมาณ ๖๐-๗๐ รูป

    ในการเผยแผ่

    นอกจากจะทรงแสดงธรรมสั่งสอนพุทธบริษัท
    โดยปฏิภาณโวหารประจำวันธรรมสวนะแล้ว
    ได้ทรงอำนวยการให้มีการเผยแผ่ด้วยประการอื่นๆ อีกหลายประการ
    เป็นต้นว่ากวดขันความเป็นอยู่ของภิกษุสามเณร
    ให้อยู่ในระเบียบแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณีของวัด

    [​IMG]
    โคมตราพระเกี้ยวแขวนเพดานพระอุโบสถ


    ในการสาธารณูปการ

    สำหรับพระอาราม พระองค์เคยรับสั่งว่าสมเด็จพระพันปีหลวงเคยรับสั่งกับพระองค์ไว้ว่า
    การที่รัชกาลที่ ๕ ทรงยกย่องและอุปถัมภ์บำรุงพิเศษนั้น
    ก็ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้ได้รักษาพระอารามสืบพระราชกุศลให้ถาวรมั่นคงตลอดไป

    ฉะนั้น ในการดูแลรักษาและจัดการเกี่ยวกับการสาธารณูปการในพระอาราม
    เช่น ความสะอาด การปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมถาวรวัตถุอันวิจิตรงดงาม
    และการกุฏิเสนาสนะวิหารภายในพระอารามโดยทั่วไป
    จึงทรงเอาพระทัยใส่เป็นพิเศษ ถึงแม้ในการปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมถาวรวัตถุต่างๆ
    เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร และกุฎิเสนาสนะ
    อันต้องทำการปฏิสังขรณ์เป็นอันมากนั้น จักไม่มีทุนมาทำการปฏิสังขรณ์มาแต่เดิม

    พระองค์ได้ทรงขวนขวายจัดให้มีขึ้น โดยจัดการฟื้นฟูพระราชประเพณี
    มีการจัดงานมนัสการพระพุทธชินราชประจำปีขึ้นในพระบรมราชูปถัมภ์
    และขอความอุปถัมภ์จากรัฐบาลและประชาชนมาทำการ

    ซึ่งได้จัดทำการปฎิสังขรณ์สำเร็จมาแล้วเป็นอันดี
    และเสนาสนะอันจำเป็นแก่การศึกษาเช่น โรงเรียนพระปริยัติธรรม
    ก็ได้จัดการให้กอสร้างหอศึกษาพระปริยัติธรรมขึ้น ๒ หลัง และหอสมุดอีกหลังหนึ่ง
    แม้วัตถุเครื่องประดับในพระอุโบสถ
    ซึ่งแต่เดิมก็ไม่มีบริบูรณ์ก็ได้จัดให้มีขึ้นหลายประการ คือ

    [​IMG]
    ภาพพระธาตุพนม ๑ ใน ๘ ของพระจอมเจดีย์
    ที่ได้รับการเขียนไว้ในช่องคูหาของพระอุโบสถ



    ๑. โต๊ะหมู่เครื่องบูชาหมู่ ๙ หน้าพระพุทธชินราช
    ๒. โคมตราพระเกี้ยวแขวนเพดานพระอุโบสถ
    ๓. ภาพพระจอมเจดีย์ทั้ง ๘ ในช่องคูหาของพระอุโบสถ และ
    ๔. กระจกภาพเทพประนมลายสี บนกรอบหน้าต่างพระอุโบสถ เป็นต้น
    และกำลังดำริที่จะทำการเปลี่ยนแปลงกำแพงแก้วหน้าพระอุโบสถ
    ให้เป็นศิลาอ่อน ตามพระราชประสงค์ในรัชกาลที่ ๕ ด้วย

    ในฝ่ายการศึกษาทางคดีโลก

    สมเด็จพระสังฆราช ในฐานะเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร
    ได้เอาพระทัยใส่สนับสนุนการศึกษาฝ่ายนี้โดยสมควร
    คือได้ร่วมกับทางราชการสร้างโรงเรียนชั้นประถมศึกษาเทศบาลขึ้นหลังหนึ่ง
    ในการอุปถัมภ์บำรุงนั้น ใน วัดเบญจมบพิตร
    มีโรงเรียนที่สอนวิชาสามัญ ๒ โรง คือ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
    และโรงเรียนเทศบาล ๘ ที่ได้สร้างขึ้น นั้น

    สมเด็จพระสังฆราช ได้ทรงอุปถัมภ์อุปการะตามโอกาส
    เช่น อบรมสั่งสอนเด็ก และให้รางวัลแก่เด็กนักเรียนที่สอบได้คะแนนเป็นเยี่ยม
    เป็นการสนับสนุนการศึกษาของนักเรียนให้ดีขึ้น

    สรุปรวมความแล้ว วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
    ในสมัยที่สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส
    เป็นเวลา ๓๓ ปี ๙ เดือน และ ๑ วัน ได้เจริญขึ้นโดยลำดับ
    ทั้งในด้านการศึกษา ด้านการเผยแผ่
    และในด้านการปกครองก็พยายามกวดขันภิกษุสามเณร
    ให้ประพฤติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย
    และระเบียบแบบแผนประเพณีอันดีของวัด
    ตามพระราชประสงค์ในรัชกาลที่ ๕
    และพยายามทำนุบำรุงรักษาศิลปกรรมถาวรวัตถุต่างๆ ในพระอารามเป็นอันดี
    สมกับความไว้วางพระราชหฤทัยในรัชกาลที่ ๕ และสมเด็จพระพันปีหลวง


    การต่างประเทศ

    ได้เสด็จไปต่างประเทศทั้งเป็นการส่วนพระองค์ และราชการรวม ๙ ครั้งคือ

    ครั้งที่ ๑

    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ ในฐานประธานคณะบัญชาการคณะสงฆ์
    แทนพระองค์ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) วัดสุทัศนเทพวราราม
    ไป ตรวจการคณะสงฆ์ภาคใต้ ได้ไปไทรบุรี ปีนัง ในสหพันธรัฐมลายา
    โดยออกไปทางเบตง และกลับทางสงขลา

    ครั้งที่ ๒

    เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้เป็นหัวหน้าคณะ
    ไปร่วมปฏิบัติ งานฉัฎฐสังคายนาจตุตถสันนิบาต (สมัยไทย)
    โดยเป็นประธานกระทำพิธีเปิดประชุมสังคายนาสมัยที่สี่นั้น
    ณ ปาสาณคูหา ประเทศสหภาพพม่า
    และในการไปครั้งนี้ ได้เสด็จไปเมืองสำคัญ ณ ในสหภาพพม่าด้วย เช่น
    เมืองพะโค เมืองมัณฑเล เมืองอมรปุระ และเมเมี้ยว เป็นต้น เป็นเวลา ๑๕ วัน

    ครั้งที่ ๓

    เมื่อเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้เป็นหัวหน้าคณะ
    ไปร่วม พิธีฉลองพุทธชยันตี ๒๕ ศตวรรษแห่งพระพุทธศาสนา
    ณ ประเทศลังกา โดยผ่านไปพักที่สิงคโปร์ ๓ วัน
    แล้วไปร่วมพิธีที่เมืองซีลอนหรือโคลัมโบ เมืองแคนดี เมืองอนุราชปุระ
    เมื่อเสร็จพิธีที่ประเทศลังกาแล้ว ได้เสด็จเลยไปสังเกตการพระศาสนา
    ในประเทศอินเดียอีกด้วย เป็นเวลา ๓๐ วัน

    ครั้งที่ ๔

    เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้เป็นหัวหน้าคณะ
    ไปร่วมงานและเป็นประธานประกอบพิธีบรรจุพระบรมธาตุ
    ณ วัดบุบผาราม เมืองปีนัง สหพันธรัฐมลายา

    ซึ่งในการเสด็จไปครั้งนี้ได้เสด็จไปเมืองกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวง เป็นเวลา ๗ วัน

    ครั้งที่ ๕

    เมื่อเดือนมีนาคม และ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๒ ได้เป็นหัวหน้าคณะ
    ไปร่วม พิธีฉลองพุทธยันตี ๒๕ ศตวรรษแห่งพระพุทธศาสนา
    ณ ประเทศญี่ปุ่น
    นอกจากจะเสด็จไปตามเมืองใหญ่ๆ หลายเมืองแล้ว
    ยังได้เสด็จไปเยี่ยมทหารไทย ณ ประเทศเกาหลีด้วย เป็นเวลา ๓๐ วัน

    ครั้งที่ ๖

    เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๒ ได้เป็นหัวหน้าคณะ
    นำพระสงฆ์ไทยไปอยู่ ณ วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย
    และได้เสด็จไปนมัสการปูชนียสถานสำคัญ
    คือ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ด้วย เป็นเวลา ๑๐ วัน

    ครั้งที่ ๗

    เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๐๓ ในการไปประกอบพิธีเปิด
    โรงเรียนพระปริยัติธรรม ณ วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย
    ได้เลยไปเยี่ยมคณะสงฆ์และเยี่ยมวัดต่างๆ ในประเทศลาวด้วย

    ครั้งที่ ๘

    เมื่อเดือนมิถุนายน และกรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๐๔
    ได้เสด็จไปสังเกตการพระศาสนาการศึกษา และเยี่ยมประชาชน
    ในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปบางประเทศ
    ตามคำทูลอาราธนาของ มูลนิธิเอเซีย เป็นเวลา ๔๕ วัน

    ครั้งที่ ๙

    เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ก่อนหน้าสิ้นพระชนม์เดือนเศษ
    คือระหว่างวันที่ ๗ เมษายน ถึงวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๕
    ได้เสด็จไป สังเกตการพระศาสนาและเยี่ยมประชาชนอินเดีย
    ตามคำทูลอาราธนาของรัฐบาลอินเดีย เป็นเวลา ๒๐ วัน
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)


    พระกรณียกิจพิเศษ

    กิจการคณะสงฆ์และการพระศาสนา นอกจากที่กล่าวแล้ว
    ยังมีที่ทรงได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติกรณียะเป็นพิเศษอีกคือ

    ในรัชกาลที่ ๖

    ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระศรีวิสุทธิวงศ์
    ได้รับมอบให้เป็นผู้ชำระคัมภีร์อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ๔ คัมภีร์คือ
    อรรถกถาอุทาน อิติวุตตก มหานิเทส และจุลนิเทส (พิมพ์เป็นเล่มสมุดอักษรไทย ๔ เล่ม)

    ในรัชกาลที่ ๗

    ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพมุนี
    ได้รับมอบให้เป็นผู้ชำระคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ๓ คัมภีร์
    คือ มหานิเทส จุลนิเทส และชาดก (พิมพ์เป็นเล่มสมุดอักษรไทย ๔ เล่ม)

    และขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมโกศาจารย์
    ได้รับมอบให้ชำระคัมภีร์สารัตถทีปนี ฎีกาพระวินัย (พิมพ์เป็นเล่มสมุดอักษรไทย ๔ เล่ม)

    ในรัชกาลที่ ๘

    ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพรหมมุนี
    ได้เป็นประธานกรรมาธิการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย
    และได้ดำเนินการต่อมาในรัชกาลปัจจุบัน
    จนสำเร็จพิมพ์เป็นเล่มเรียบร้อย จำนวน ๘๐ เล่ม

    ในรัชกาลปัจจุบัน

    - ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวันรัต สังฆนายก
    ได้เป็นผู้ถวายพระธรรมเทศนาพระมงคลวิเสสกถา
    ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๐ ครั้ง

    - ได้เป็น พระราชอนุศาสนาจารย์ ในพระราชพิธีทรงผนวช

    - ได้เป็น ประธานสงฆ์ ในงานรัฐพิธีฉลอง ๒๕ ศตวรรษแห่งพระพุทธศาสนา

    - ได้เป็น ผู้ตรวจหลักธรรม ในการประกวดแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก
    เพื่อรับพระราชทานรางวัล และพิมพ์พระราชทานในงานพระราชพิธีวิสาขบูชาประจำปี

    และการอื่น เช่น เทศนาอบรมข้าราชการทหาร นักเรียนนายร้อยทหาร
    เป็นประธานประกอบสังฆกรรมผูกพัทธสีมา
    เป็นประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ อาคารเรียน
    เป็นประธานประกอบพิธียกช่อฟ้า เปิดป้ายสถานที่สำคัญ
    เช่นโรงเรียนพระปริยัติธรรมตามจังหวัดต่างๆ หลายครั้ง

    และยังค้างอยู่ยังสร้างไม่เสร็จ ก็คือ
    เป็นประธานเริ่มการก่อสร้างอาคารโรคมะเร็งสำหรับภิกษุสามเณรผู้อาพาธ
    ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
    โดยเป็นประธานชักชวนหาทุนและทรงให้ออกทุนด้วยพระองค์เอง
    จากทุนที่ได้รับในงานบำเพ็ญกุศลฉลองพระชนมายุประจำปี
    ซึ่งขณะนี้อาคารโรคมะเร็งดังกล่าว ได้ทำการก่อสร้างเสร็จไปแล้ว
    แต่ยังขาดทุนทรัพย์ที่จะให้ช่างรับเหมาก่อสร้างอีกประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท
    (ค่าก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ บาท ในขณะนั้น)
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)


    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    ครั้นเมื่อถึงปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ นี้ หลังจากพระราชทานเพลิงพระศพ
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ แล้ว
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้สถาปนาสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) ขึ้นเป็น
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
    นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๓ ดังปรากฏจากข้อความนี้

    (สำเนา)
    ภูมิพลอดุลยเดช (ปร.)


    พระบาทสมเด็จพระปริมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี
    จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

    มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า
    โดยที่ตำแหน่งพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ได้ว่างลง
    สมควรที่จะสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช
    เพื่อจักได้บริหารการพระศาสนาให้สมบรูณ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
    พุทธศักราช ๒๔๘๔ และตามระเบียบราชประเพณีสืบไป

    จึงทรงพระดำริว่า สมเด็จพระวันรัต ได้เป็นพระราชอนุศาสนาจารย์
    มีคุณูปการแด่พระองค์ในคราวทรงผนวช นับว่าเป็นคุรุฐานิยบุคคล
    แห่งองค์พระมหากษัตริย์ ส่วนในการพระศาสนาสมเด็จพระวันรัต
    ก็เจริญด้วยวรรษายุกาล รัตตัญญูมหาเถระธรรม
    มีปรีชาญาณรอบรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก
    อันนัยว่าเป็นพหุลศรุตบัณฑิต มีฉันทจริตเพียงพร้อมไปด้วยสมณคุณเป็นอย่างดี

    มีคุณูปการในพระศาสนกิจรับภารธุระปฏิบัติให้เจริญก้าวหน้ามาด้วยดี
    ดั่งมีอรรถจริยาปรากฏเกียรติสมภาร
    ตามความพิสดารในประกาศสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ มหาสังฆนายก
    เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๐ นั้นแล้ว

    ครั้นต่อมา สมเด็จพระวันรัตยิ่งเจริญด้วยอุตสาหะวิริยาธิคุณไม่ท้อถอย
    สามารถประกอบพุทธศาสนกิจให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นเป็นลำดับตลอดมา
    กล่าวโดยเฉพาะในประการที่สำคัญ คือในการปริยัติศึกษา

    ได้เป็นแม่กองสอบบาลีสนามหลวง ติดต่อกันมาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๘๐
    จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๒๓ ปี

    เป็นกรรมการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๘๓
    จนถึงในปัจจุบันเป็นเวลา ๒๐ ปี

    ในการบริหารได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
    มาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๗๑ จนถึงในเวลาปัจจุบันเป็นเวลา ๓๒ ปีเศษ

    ได้ดำรงตำแหน่งสังฆมนตรี ว่าการองค์การศึกษามาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๘๕
    จนถึงในปัจจุบันเป็นเวลา ๑๗ ปี

    ดำรงตำแหน่งสังฆนายกติดต่อกันมาตั้งแต่ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔
    จนถึงในเวลาปัจจุบันเวลา ๘ ปี
    และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการคณะสงฆ์ แทนองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
    ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ จนถึงในปัจจุบันเป็นเวลา ๑ ปี ๖ เดือนเศษ

    และกรณียกิจซึ่งสมเด็จพระวันรัต ได้ปฏิบัติเป็นการพิเศษ
    คือได้เป็นประธานสงฆ์ในงานรัฐพิธี ฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ
    เมื่อเดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐

    ในการพระอารามนั้น
    โดยที่วัดเบญจมบพิตรเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
    ซึ่งสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    โปรดให้สถาปนาขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๒ ด้วยมีพระราชศรัทธาอันยิ่งใหญ่
    โปรดให้สร้างด้วยศิลปกรรมอันประรีตวิจิตรงดงาม ยิ่งนัก
    โดยเฉพาะพระอุโบสถมีความงดงามเป็นพิเศษ ซึ่งจะหาที่อื่นเสมอเหมือนมิได้
    ด้วยมีพระราชประสงค์ให้เป็นพราชานุสรณ์ในพระองค์
    นับว่าเป็นพระอารามหลวงที่มีความสำคัญเป็นพิเศษยิ่ง

    ทั้งนี้ย่อมตกเป็นภาระหนักแก่เจ้าวาส
    ในการที่จะต้องระวังรักษาถาวรวัตถุเหล่านั้น มิให้ชำรุดทรุดโทรมเสียหาย
    สมเด็จพระวันรัตได้รับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสพระอารามนี้ในลำดับองค์ที่ ๒

    และนับตั้งแต่นี้ได้รับหน้าที่นี้มาเป็นเวลา ๓๒ ปี ก็ปรากฏว่า
    ได้เอาในใจใส่ดูแลระวังรักษาถาวรวัตถุต่างๆ ในพระอาราม
    ให้มีสภาพสะอาดเรียบร้อยงดงาม ดำรงอยู่ในสภาพที่มั่นคงถาวร
    ทั้งได้เอาใจใส่ให้จัดการบูรณปฏิสังขรณ์ และสร้างเสริมสิ่งที่ชำรุดบกพร่อง
    ด้วยเหตุต่างๆ เช่นที่เกิดจากภัยสงครามเป็นต้น ให้กลับมีสภาพดีตามเดิม

    ปรากฏเป็นที่เจริญศรัทธาปสาทะของประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ
    บรรดาที่ได้มาพบเป็นตลอดกาลเนืองนิจ

    จึงนับว่าสมเด็จพระวันรัต เป็นผู้ทรงคุณปรีชาสามารถ
    ในการปกครองพระอาราม ซึ่งมีความสำคัญยิ่งดังกล่าว

    ส่วนพระราชประสงค์ส่วนกลางพระศาสนาในต่างประเทศ
    สมเด็จพระวันรัตได้เป็นหัวหน้าคณะไปร่วมปฏิบัติงานสังคายนา
    จตุตถสันนิบาต (สมัยไทย) โดยเป็นประธานเปิดประชุมสมัยนั้น
    ณ ปาสาณคูหา ประเทศพม่า เมื่อเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๘

    เป็นหัวหน้าคณะไปร่วมพิธี ฉลองพุทธชยันตี ณ ประเทศลังกา
    เมื่อเดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙

    แล้วเลยไปสังเกตการณ์พระศาสนา ณ ประเทศอินเดียอีกด้วย

    เป็นหัวหน้าคณะไปเป็นประธานไปประกอบพิธี บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
    ณ วัดบุปผาราม เมืองปีนัง

    แล้วเลยไปสังเกตการณ์พระศาสนา ณ สหพันธรัฐมาลายา
    เมื่อเดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๑

    เป็นหัวหน้าไปร่วมพิธีฉลองพุทธชยันตี ๒๕ พระพุทธศตวรรษแห่งพระพุทธศาสนา
    ณ ประเทศญี่ปุ่น แล้วเลยไปเยี่ยมทหารไทย ณ ประเทศเกาหลี
    เมื่อเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๐๒

    เป็นหัวหน้าคณะนำคณะสงฆ์ไทยไปอยู่ ณ วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย
    เมื่อเดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๐๒

    สรรพกรณียกิจดังกล่าวมา สมเด็จพระวันรัต
    ได้รับภาระปฏิบัติดำเนินการด้วยอุตสาหวิริยะปรีชาสามารถ
    ปรากฏเป็นผลดียิ่งแก่การพระศาสนาและประเทศชาติประชาชน
    เป็นที่ประจักษ์แก่มวลพุทธบริษัทและทางราชการ
    ตลอดถึงพสกนิกรทั่วราชอาณาจักร ดังปรากฏอยู่แล้ว

    บัดนี้ ก็เป็นที่ประจักษ์ว่า สมเด็จพระวันรัต
    ยิ่งเจริญด้วยคุณวุฒิวัยวุฒิรัตตัญญูมหาเถรธรรม ยินดีในเนกขัมมปฏิบัติ
    เป็นอจลพรหมจริยาภิรัต ประกอบด้วยมีสมรรถภาพในการพระศาสนา
    เป็นที่เจริญศรัทธาปสาทะ และเป็นคารวสถานแห่งมวลพุทธบริษัททั่วสังฆมณฑล
    ตลอดจนอาณาประชาราษฎร์ทั่วไป และตั้งอยู่ในฐานะเป็นครุฐานียบุคคล
    ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    สมควรจะสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    ประธานาธิบดีแห่งสงฆมณฑล เพื่อเป็นศรีศุภมงคลแด่พระบวรพุทธศาสนาสืบไป

    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระวันรัตขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช
    มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สุขุมวิธานธำรง สกลมหาสงฆปริณายก
    ตรีปิฎกกลากุสโลภาสภูมิพลมหาราช อนุศาสนาจารย์
    กิตติโสภณาภิธานสังฆวิสุตปาวจนุตตมกิตติโศภน
    วิมลศีลสมาจารวัตรพุทธศาสนิกบริษัทคารวสถานวิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ
    อดุลคัมภีรญาณสุนทรบวรธรรมบพิตร


    สมเด็จพระสังฆราชเสด็จสถิต ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
    พระอารามหลวงเป็นประธานในสงฆมณฑลทั่วราชอาณาจักร
    ขออาราธนาให้ทรงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอน
    ช่วยระงับอธิกรณ์และอนุเคราะห์พระภิกษุสงฆ์สามเณรในสงฆมณฑลทั่วไป
    โดยสมควรแก่พระอิสริยยศ ซึ่งพระราชทานนี้

    จงทรงเจริญพระชนมายุ วรรณ สุข พล ปฎิภาณ คุณสารสิริสวัสดิ์
    จิรัฏฐิติวิรุฬหิไพบูลย์ในพระพุทธศาสนา เทอญ ฯลฯ

    ให้ทรงมีพระราชาคณะ และพระครูฐานานุกรม ประดับพระอิสริยศ ๑๕ รูป

    คือ พระทักษิณคณาธิกร สุนทรธรรมนายก พุทธปาพจนดิลก
    มหาเถรกิจจการี คณาธิบดีศรีรัตนคมกาจารย์ พระราชาคณะปลัดขวา ๑

    พระอุดรคณาภิรักษ์อัครศาสนกิจบรรหาร มหาเถราธิการธุรการี
    สมุหบดีศรีธรรมภาณกาจารย์ พระราชาคณะปลัดซ้าย ๑

    พระครูธรรมกถาสุนทร ๑ พระครูวินัยกรณ์โศภน ๑ พระครูพรหมวิหาร
    พระครูพระปริตร ๑ พระครูฌานวิสุทธิ์ พระครูพระปริตร ๑ พระครูวินัยธร ๑
    พระครูธรรมธร ๑ พระครูพิมลสรภาณ พระครูคู่สวด ๑ พระครูพิศาลสรคุณ
    พระครูคู่สวด ๑ พระครูพิบูลบรรณวัตร ๑ พระครูพิพัฒนบรรณกิจ ๑
    พระครูสังฆบริหาร ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑

    ขอให้พระคุณผู้ได้รับตำแหน่งทั้งปวงนี้ มีความสุขสิริสวัสดิสถาพร
    ในพระบวรพุทธศาสนา เทอญ

    ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๓ เป็นปีที่ ๑๕ ในรัชกาลปัจจุบัน

    ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
    จอมพล ส. ธนะรัชต์
    นายกรัฐมนตรี
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <HR> [​IMG]
    พระฉายาลักษณ์ครั้งสุดท้าย ขณะทรงประน้ำพระพุทธมนต์
    แด่ ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี
    เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ เวลา ๑๒.๐๐ นาฬิกาเศษ



    พระอวสานกาล

    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)
    ทรงดำรงตำแหน่ง สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นเวลา ๒ ปี ๑ เดือน กับอีก ๑๓ วัน

    ทั้งๆ ที่มีพระอนามัยสมบูรณ์ พระสุขภาพแข็งแรง
    พระองค์ก็เคยอาพาธด้วยโรคซึ่งนายแพทย์ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งที่ต่อมปอสเตท
    เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ และได้รับการผ่าตัดใหญ่เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งหนึ่ง

    และอีกครั้งหนึ่งอาพาธเป็นโรคมีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
    และนายแพทย์ได้ขบให้แตกและนำออกจนหมดแล้ว
    จนได้เสด็จไปประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป และประเทศอินเดียได้เป็นปกติ

    สำหรับความดันโลหิตก็มีไม่มาก ก่อนหน้าจะสิ้นพระชนม์
    นายแพทย์ประจำพระองค์ได้ตรวจวัดความดันของพระโลหิต ก็มีเพียง ๑๔๐ เท่านั้น

    ส่วนพระโรคประจำพระองค์นั้นก็มีปวดพระเศียรเป็นครั้งคราวเสมอมา
    ซึ่งก็เยียวยาให้หายได้เพียงยาแอสไพริน หรือยา เอ.พี.ซี. ก็หาย

    [​IMG]
    พระโกศพระศพ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)
    ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม



    ในวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ เวลาเช้าพระอาการทั่วไปเป็นปกติ
    จะมีก็เพียงคงปวดพระเศียรตามธรรมดาซึ่งไม่หนักอะไร
    เวลาเพลได้เสด็จไปเจริญพระพุทธมนต์และเสวยภัตตาหารเพล
    เนื่องในงานทำบุญของท่าน จอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นปกติ
    และเสด็จกลับมาถึงวัดเวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น.
    แล้วก็ได้ทรงพักผ่อนตามที่ทรงเคยปฏิบัติมา และในเวลาประมาณ ๑๔.๐๐ น.
    และได้ทรงสนทนากับบิดามารดาของกุลบุตรผู้นำบุตรมาฝากบวช เป็นเวลานานพอสมควร

    จนถึงเวลาประมาณ ๑๕.๐๐ น. เศษ พระอาการทั่วไปก็ยังปกติอยู่
    ครั้นผู้ที่นำบุตรมาฝากบวชนั้นกลับแล้ว ก็เสด็จเข้าสรงน้ำตามปกติเช่นเคยมา
    แต่แล้วพระอาการที่ไม่มีใครคาดฝันก็ปรากฏขึ้น
    นั่นคือพระอาการปวดพระเศียรจนเกินกำลังความสามารถที่ทรงอดทนได้

    เมื่อพระปฏิบัติรับใช้รีบเชิญนายแพทย์มาเฝ้าพระอาการ
    พอทรงเห็นหน้านายแพทย์และรับสั่งได้เพียงไม่กี่คำ
    พระองค์ก็สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการอันสงบ

    ถึงแม้บรรดานายแพทย์จะพยายามช่วย
    เพื่อให้ทรงฟื้นขึ้นมาอย่างเต็มความสามารถและความรู้
    อย่างไรก็ตาม พระองค์ก็ทรงฟื้นมาได้ไม่

    คณะแพทย์ได้ลงความเห็นพร้อมกันว่า สมเด็จพระสังฆราช
    ได้สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคเส้นโลหิตใหญ่ในพระสมองแตกอย่างปัจจุบัน
    เมื่อเวลา ๑๖.๒๗ น. ของวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕

    [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระราชินีนาถฯ เสด็จพระราชดำเนิน
    ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ปัญญาสมวาร เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๕



    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)
    สิ้นพระชนม์เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีขาล
    ตรงกับวันที่ ๑๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๐๕ เวลา ๑๖.๒๗ นาฬิกา
    สิริพระชนมายุได้ ๗๓ พรรษา กับอีก ๒๑ วัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...