พระปัจเจกพุทธเจ้า ก็บรรลุธรรม ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เหมือนกัน พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย คนหลงเงา2, 10 มกราคม 2018.

  1. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    พระปัจเจกพุทธเจ้า ก็บรรลุธรรม ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เหมือนกัน

    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

    ................................................

    เรื่อง “พระปัจเจกพุทธเจ้า ก็บรรลุธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เหมือนกัน” กล่าวสอนโดย พระพุทธเจ้าองค์ปฐมนี้ ผมอ่านพบในหนังสือ ธรรมนำไปสู่ควหลุดพ้นเล่ม ๗ พฤษภาคมตอน ๔ ซึ่งรวบรวมโดยคุณหมอสมศักดิ์ สืบสงวน

    พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้อย่างไรลองอ่านดูนะครับ

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านครับ


    ........................................

    พระปัจเจกพุทธเจ้า

    เมื่อผมและเพื่อนของผมสนทนากันถึงเรื่อง พระปัจเจกพุทธเจ้า ท่านบรรลุธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์หรือเปล่า สมเด็จองค์ปฐม ก็มีพระเมตตามาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

    ๑. พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ก็บรรลุธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เหมือนกัน พ้นทุกข์ด้วย อริจสัจ ๔ เหมือนกัน จึงจัดว่าเป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ต่างแต่ว่า ท่านไม่ค่อยมีบริวารที่ร่วมบำเพ็ญบารมีธรรมกันมา ต่างกับพระพุทธเจ้าที่ตรงนี้ ท่านจึงไม่มีกรรมผูกพันที่จักสอนใครๆ ให้บรรลุมรรคผลได้เยี่ยงพระพุทธเจ้า

    ๒. จากการที่พวกเจ้าศึกษาจากพระสูตร จะเห็นว่าสาวกของพระพุทธเจ้าองค์ใด ก็จะได้บรรลุธรรมต่อเมื่อพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นบรรลุพระอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว มาสั่งสอนให้เท่านั้นจึงจะได้ผล เพราะมีกรรมผูกพันกันอยู่ หรือบำเพ็ญบารมีมาด้วยกัน โดยมีอธิษฐานบารมีเป็นสิ่งผูกพันกันโดยกรรม

    (เมื่อฟังแล้วทำให้เข้าใจว่า เพราะเหตุใดพวกเราไปฟังพระอื่น ๆ ที่ไม่ใช่หลวงพ่อฤๅษีท่านสอน จึงฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง และไม่อยากจะสนใจฟังต่อ แต่พอมาฟังหลวงพ่อฤๅษีท่านสอน จึงเข้าใจดี ติดอกติดใจ ตามฟังคำสอนของท่านมาจนถึงปัจจุบัน บางคนเพียงแค่ได้อ่านหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ที่หลวงพ่อฤๅษีท่านเขียนเท่านั้น ก็ติดอกติดใจ พากันมาพบท่านที่วัดท่าซุงบ้าง ที่ซอยสายลมบ้าง แม้ท่านจะทิ้งขันธ์ ๕ เอาจิตไปพระนิพพานนาน ๑๕-๑๖ ปีแล้ว พวกเราก็ยังอยากฟังคำสอนของท่านอยู่ ซึ่งมีอยู่ในเทปหลายพันม้วน และหนังสือที่รวบรวมคำสอนของท่านอีกมากมาย)


    โลกธรรม ๘ และวิธีที่จะพ้นจากโลกธรรม ๘

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

    ๑. หนีไม่พ้นหรอก ตราบใดที่พวกเจ้ายังมีขันธ์ ๕ อยู่ในโลกนี้ โลกธรรม ๘ ย่อมเป็นธรรมดาที่ผู้มีขันธ์ ๕ อยู่ในโลกนี้ จักต้องได้ประสบ มิใช่ว่าจักประสบมากหรือน้อย หากแต่ต้องประสบทุก ๆ คน แต่จักรู้ตัวกันหรือไม่เท่านั้นเองว่า โลกธรรม ๘ กระทบในขณะใดบ้าง

    ๒. ทุกข์หรือสุข เกิดแก่อารมณ์ที่ถูกโลกธรรม ๘ กระทบอยู่นี้ จักพ้นโลกธรรม ๘ ได้ ก็จักต้องรู้จักหน้าค่าตาของโลกธรรม ๘ ด้วย ต้องใช้ศีล - สมาธิ - ปัญญาเป็นเครื่องพ้น

    ๓. สังโยชน์หมด แต่ขันธ์ ๕ ยังอยู่ หรือยังไม่หมด โลกธรรมก็ยังกระทบแต่ไม่หวั่นไหว

    ๔. สังโยชน์ไม่หมด แต่ขันธ์ ๕ หมด (ตาย) ก็ยังต้องจุติมากระทบกับโลกธรรมใหม่

    ๕. ไม่วันใดวันหนึ่งข้างหน้าโน้น สังโยชน์หมด ขันธ์ ๕ หมด จิตวิมุติถึงซึ่งพระนิพพาน ดินแดนนั้นไม่กระทบกับโลกธรรมเลย มีแต่สุขเอกันตะถ่ายเดียว ที่นั่นทุกท่านไม่มีกิเลสแล้ว นินทา - สรรเสริญ สุข - ทุกข์, มียศ - เสื่อมยศ, มีลาภ - เสื่อมลาภ ไม่มี

    ๖. พวกเจ้าจักมาเอาสาระอันใดกับปากชาวโลก พระพุทธเจ้า - พระธรรม - พระอริยเจ้า ที่เข้าพระนิพพานแล้ว เขายังนำเอามานินทา - สรรเสริญได้

    ๗. คำว่าสรรเสริญของชาวโลก ส่วนใหญ่สรรเสริญเพื่อหวังสิ่งตอบแทน มิใช่สรรเสริญอย่างจริงใจ ยกพระพุทธเจ้า - พระธรรม - พระอริยสงฆ์ ขึ้นบังหน้า หวังชื่อเสียง หวังลาภสักการะ หวังยศ แต่มิได้หวังปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอน จึงเป็นการสรรเสริญเพื่อหากิเลสใส่ตัว สรรเสริญอย่างนี้มีเยอะในสมัยนี้ ซึ่งไม่ต่างกับคำนินทาที่ว่า พระพุทธเจ้า - พระธรรม - พระอริยเจ้า ดีไม่จริง คนส่วนใหญ่ในโลกนี้เป็นอย่างนี้ อันเป็นปกติธรรมของเขา พวกเจ้าจงอย่าไปสนใจ เพราะหาสาระมิได้

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    .............................................................................................................



    ที่มาของข้อมูล

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗ พฤษภาคมตอน ๔

    หนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น ทุกเล่ม

    หาข้อมูลศึกษาได้จาก.......

    http://www.tangnipparn.com/page_book_all.html

    ถ้าเป็นเสียงตอนนี้มีเล่ม 7/ 8/ 10 /11/14/15 หาได้จาก youtube

    ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น

    ต้องขอโมทนาทุกท่านที่ช่วยเผยแพร่ผลงานของพระพุทธเจ้าหรือ

    หลวงพ่อในทุกรูปแบบทั้งทางหนังสือและอินเตอร์เน็ต

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านครับ

    …………………………………
     
  2. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    การไปพระนิพพานด้วยวิชชามโนมยิทธิ

    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

    --------------------------

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนไว้ มีความสำคัญดังนี้

    ๑๑. บนพระนิพพานไม่มีใครเขานอนกัน การไปพระนิพพานด้วยวิชชามโนมยิทธิ เขาเอาจิตไป มิได้เอาร่างกาย (ขันธ์ ๕) ไป กายของจิต คืออาทิสมานกาย ซึ่งไม่ใช่ร่างกาย หรือ ขันธ์ ๕ จึงไม่จำเป็นต้องนอน คนที่ขึ้นไปได้ มักพกเอากิเลสขึ้นไปด้วย จริง ๆ แล้ว พวกเราที่ยังมีกิเลส-ตัณหา-อุปาทานอยู่ ไม่สามารถจะขึ้นไปแดนนี้ได้ ที่ขึ้นไปได้ก็เพราะอาศัยบารมีของพระพุทธเจ้า-พระปัจเจกพุทธเจ้า-พระอรหันต์ท่านช่วยสงเคราะห์ทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อเอาจิตขึ้นไปได้แล้ว แต่ไม่สามารถอยู่บนพระนิพพานได้อย่างถาวร เพราะไม่รู้จักปัจจุบันธรรม หากสามารถทำจิตในปัจจุบันธรรมให้ว่างจากกิเลส-ตัณหา-อุปาทานได้ในขณะจิต หรือขณะปัจจุบันธรรมนั้น ก็ไปพระนิพพานได้ ผู้ใดไม่ขอบารมีท่านช่วยสงเคราะห์ ใช้บารมีของตนเองในขณะจิต ขณะปัจจุบันธรรมนั้น ภาพพระนิพพานก็จะไม่สว่าง-ไม่สดใสเป็นธรรมดา

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ----------------------------

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๕

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านครับ

    ------------------------
     
  3. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว แต่ยังอยู่ในคราบผ้าเหลือง หากกลับใจได้จะพ้นโทษไหม


    สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอน โดยให้หลักไว้ดังนี้

    ๑. เจ้าก็รู้ว่า ไม่มีอะไรจักเที่ยงเท่ากฎของกรรมใช่ไหม (ก็รับว่าใช่) เพราะฉะนั้น ให้ดูเยี่ยงอย่างของพระเทวทัต ในพุทธันดรนี้ สุดท้ายเขากลับใจ สำนึกในบาปที่ตนทำมา กล่าวขออโหสิกรรมก่อนตาย แล้วพระ เทวทัต ลงอเวจีมหานรกใช่ไหม (ก็รับว่า ใช่)

    ๒. กรณีภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกในปัจจุบันก็เช่นกัน กฎของกรรมก็เป็นกฎของกรรม ดีก็ส่วนดี ชั่วก็ส่วนชั่ว แต่ถ้ากรรมที่เป็นกุศลกรรมหนุนอยู่บ้าง กลับใจได้ กรรมที่เป็นอกุศลก็จักส่งผลไม่ยาวนาน อย่างเช่นพระเทวทัต เป็นต้น

    ๓. ดูตัวอย่างพระเจ้าอชาติศัตรู ประหารบิดาก็จัดเป็นอนันตริยกรรม แต่กรรมดีที่สำนึกตัวกลับใจได้ ขอขมาพระรัตนตรัย และเป็นประธานจัดให้มีการปฐมสังคายนา ทำบุญทำทานหนีบาปกันอย่างมากมาย จัดว่าท่านได้เข้าถึงพระไตรสรณคมน์แล้ว และมีศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนา แต่กฎของกรรมก็คือกฎของกรรม จักต้องชดใช้วาระแห่งกฎของกรรมนั้น เพียงแต่ความสำนึกที่กลับใจได้ทำกรรมดี ได้ช่วยให้กฎของกรรมชั่วผ่อนหนักให้กลับเป็นเบา แทนที่พระเจ้าอชาติศัตรูจักลงอเวจีมหานรก กลับไปลงแค่โลหะกุมฏีมหานรกเท่านั้น

    ๔. เนื่องจากกฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ กรรมใครก็กรรมมัน ดังนั้น การจะให้หมดวาระกรรม ก็จะต้องหมดที่ใจของตนเอง โดยอาศัยหลักกรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ หาต้นเหตุแห่งกรรมนั้นให้พบแล้วแก้ไขเสีย กรรมทุกชนิดเกิดที่ใจก่อนทั้งสิ้น

    ๕. ในทางปฏิบัติก็อาศัยหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา รักษาศีลจนกระทั่งศีลรักษาจิตเราไม่ให้กระทำผิดศีลอีก เป็นอธิศีล ใช้สังโยชน์ ๑๐ เป็นเครื่องวัด ก็ตัดข้อที่ ๑ - ๒ - ๓ ได้ ก็พ้นกรรมที่ต้องตกอบายภูมิ ๔ ได้ถาวร

    ต่อไปก็รักษาอารมณ์จิตของเราให้เป็นสมาธิ หรือทรงฌาน จนกระทั่งสมาธิรักษาจิตของเราไม่ให้เกิดอารมณ์ ๒ คือ พอใจ (ราคะ, โลภะ) กับไม่พอใจ (ปฏิฆะและโทสะ) เป็นอธิจิต ตัดสังโยชน์ข้อที่ ๔ - ๕ ได้ ก็พ้นจากการเกิดมีร่างกายในโลกมนุษย์ได้อย่างถาวร

    ขั้นสุดท้าย ก็ตัดสังโยชน์ที่เหลืออยู่อีก ๕ ข้อ ซึ่งเป็นอารมณ์หลงละเอียดทั้งสิ้น ทั้งหมดรวมลงในข้อที่ ๑๐ คืออวิชชา จุดนี้ต้องอาศัยอธิปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงในเรื่องกองสังขารแห่งกายและแห่งจิต ก็พ้นจากการเกิดเป็นนางฟ้า เทวดา และพรหมอย่างถาวร จุดที่ต้องไปก็คือพระนิพพานเท่านั้น

    ๖. ให้ใช้พรหมวิหาร ๔ ให้จงหนัก ใคร่ครวญดูตามที่ตถาคตเคยตรัสสอนมา จงอย่าสนใจจริยาของผู้อื่น กรรมของผู้อื่น ใครเขาทำกรรมชั่วเขาก็ตกเป็นทาสของกิเลสที่น่าสงสารอยู่แล้ว จงอย่าไปซ้ำเติมเขา จักเข้าตนเอง เพราะจิตเราไปยินดียินร้ายกับกรรมชั่วของเขา เป็นการเบียดเบียนตัวเราเอง สร้างกรรมต่อกรรมให้เกิด มิใช่ตัดกรรม หากเข้าใจจุดนี้ การตัดกรรมก็เร็วขึ้น จึงต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็น เอาพรหมวิหาร ๔ เป็นหลักวางอารมณ์ของจิตให้ถูก

    ถ้ามีความเพียรให้ถูกทางจริงๆ ไม่ช้าก็หลุดได้ อย่างตอนที่เจ้าเพียรรักษาศีลนั่นแหละ แม้แต่ยุงตัวเล็กๆ เจ้าก็ตีเขาไม่ลง ทำร้ายเขาไม่ได้ ทั้งๆ ที่ยุงทำประโยชน์อะไรไม่ได้ นี่เขาเป็นคนนะ ยังทำประโยชน์ได้ ถ้าวาระกรรมที่เป็นกุศลให้ผลกับเขา หรือว่ายุงมันด่าไม่เป็นเหมือนคน พวกเจ้าเลยไม่โกรธยุงนานเหมือนโกรธคน คิดทบทวนให้ดีๆ เพราะอารมณ์ปฏิฆะหรือไม่พอใจ ไม่ช่วยให้จิตของพวกเจ้าผ่องใสได้หรอก พยายามคิดเสียให้เข้าใจในธรรมะจุดนี้ แล้วพวกเจ้าจักเข้าถึงธรรมดาแห่งธรรมนี้

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗ กันยายนตอน ๑

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านครับ

    -----------------------
     
  4. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    ศีลเป็นพื้นฐานของพระธรรม

    อานาปานัสสติเป็นพื้นฐานของความสงบแห่งจิต

    พระพุทธองค์ ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ ไว้ดังนี้

    ๑. อย่ารีบเร่งศึกษาสิกขาบทศีลเพียงแค่ผ่านไป ควรจักคิดพิจารณาให้ละเอียด ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ตามลำดับ ศีลเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเป็นพื้นฐานของพระธรรมทั้งหมด เหมือนกับอานาปานัสสติเป็นพื้นฐานของความสงบแห่งจิต สองฐานนี้จักต้องอาศัย ซึ่งกันและกันเสมอ เพื่อความมั่นคงของธรรม เพื่อความมั่นคงของจิต จึงเป็นหลักใหญ่ของพระพุทธศาสนาทั้งสองประการ

    ๒. ให้ดูท่านองคุลิมานเถระ วาระแรกท่านเข้าถึงศีลก่อน หยุดปาณาติบาตลงได้ เมื่อบวชแล้วมีศีลเป็นพื้นฐาน จึงทำให้เข้าถึงธรรมปฏิบัติได้โดยง่าย ทำให้เป็นเหตุได้บรรลุพระอรหัตผล เพราะฉะนั้น พวกเจ้าอยากให้มีพรหมวิหาร ๔ สมบูรณ์ ศีลพระนี้แหละจักชี้ชัด เมื่อพิจารณาให้ละเอียดลงไปจักได้แนวทางของการทรงพรหมวิหาร ๔ ทั้ง ๔ ประการได้อย่างสมบูรณ์

    ๓. อย่างที่เจ้าคิดว่า บุคคลผู้คบความชั่วแห่งจิต ก็ต้องเดือดร้อนเพราะการกระทำความชั่วทั้งทางกาย - วาจา - ใจของตนเอง ต่างกับบุคคลผู้คบความดีแห่งจิต ย่อมมีความสุข ไม่เดือดร้อนทั้งกาย - วาจา - ใจ จุดนี้เจ้าพึงคิดว่าต่อไปนี้เราพึงทำใจให้เป็นอุเบกขา มีจิตอ่อนโยน เมื่อเห็นบุคคลใดเขาทำชั่ว ไม่ว่าทางกาย - วาจา - ใจ ก็จงสงสารว่านี่เขาสร้างความเดือดร้อนให้กับตนเอง เจ้าจักไม่สนใจ ไม่เดือดร้อนไปกับเขา ให้เขาลำบากไปแต่ผู้เดียว เขาทุกข์เพราะผลของกรรมที่เขาทำ เราอย่าไปทุกข์หรือเดือดร้อนกับเขาเลย

    ๔. สำหรับบุคคลฝ่ายดี ปฏิปทาใดที่ทำให้เขาพ้นจากความทุกข์ เราก็มีจิตยินดีรับเอาปฏิปทานั้นมาปฏิบัติตาม ถ้าหากทำได้ ต่างคนต่างก็มีความสุข

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน


    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗ มกราคมตอน ๑
    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านครับ


    ------------------
     
  5. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    คณาจารย์ใหญ่ไม่รู้จริง แต่สำคัญตนว่ารู้จริง

    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

    ------------------------

    การไม่มีจิตกังวลได้ชื่อว่าเป็นสุข

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตา ตรัสสอน เรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้

    ๑. การไม่มีจิตกังวลได้ชื่อว่าเป็นสุข เพราะได้ชื่อว่าปลอดจากกิเลส แม้ชั่วขณะจิตหนึ่ง ก็สมควรจักพอใจ ตามปกติแล้วจิตมักจักมีอารมณ์ปรุงแต่งไปทางด้านอกุศลกรรม แค่เพียงระงับได้ชั่วคราวก็นับว่ามีกำไร อย่าลืมแม้เพียงกำหนดลมหายใจเข้าออกเฉยๆโดยไม่ภาวนาควบ ก็ยังอยู่ในขอบเขตพระกรรมฐาน อารมณ์นี้เป็นกุศลเพราะยังจิตให้เกิดความสงบได้

    ๒. จงอย่าสนใจจริยาของผู้อื่น จะเป็นด้านกุศลหรืออกุศลก็ตาม ให้เห็นเป็นปกติธรรมดาของเขา ให้อยู่ในอารมณ์สักแต่ว่ารู้ เห็นสักแต่ว่าเห็น แล้วจิตจักเป็นสุข

    ๓. บุคคลผู้ยังหนาไปด้วย สักกายทิฏฐิ มีเอกาธิปไตย ย่อมถือเอา ทิฏฐิ หรือความเห็นของตนเป็นใหญ่ เป็นของดีถูกต้องเสมอ มีอารมณ์อีโก้หรืออุปาทานสูง ซึ่งให้ผลได้ทั้งทางบวกและทางลบ แต่ส่วนใหญ่ใช้ไปทางลบ หลงตนเองคือเห็นผิดเป็นชอบทั้งสิ้น

    ๔. บุคคลเหล่านี้แหละที่ชอบตั้งตนเป็นคณาจารย์ใหญ่แสดงความอวดรู้ด้วยปัญญาแห่งตน จึงมักสอนผู้อื่นตามความเข้าใจของตน นั่นเป็นกรรมของเขา จงอย่าไปขวาง

    ๕. บุคคลเหล่านี้ไม่รู้จริง แต่สำคัญตนว่ารู้จริง เพราะธรรมของตถาคตมิใช่ของตื้นเขิน เป็นธรรมที่ละเอียดอ่อนสุขุม ลึกซึ้ง ยากที่ปุถุชนคนธรรมดาๆ จักพึงเข้าใจได้ ดังนั้น หากไม่เข้าใจจริงก็จงอย่าพูดตามอำเภอใจ ทางที่ถูกพวกเจ้าอย่าไปยุ่งกับกรรมของใคร ให้ดูอารมณ์ของตน ให้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมเป็นสำคัญเท่านั้นเป็นพอ

    ๖. จงอย่าติว่าเขาเลวเพราะเขากำลังถูกอกุศลกรรมเข้าครอบงำ ติเขาเมื่อไหร่ ใจของเราก็เลวเมื่อนั้น มองอารมณ์ของตนเอาไว้อย่าให้ชั่วก็แล้วกัน โดยยอมรับกฎธรรมดา หรือกฎของกรรมเข้าไว้ หรือจงอย่าไปแก้โง่ที่คนอื่น จักต้องแก้โง่ที่ตนเองให้หลุดพ้นไปเสียก่อน

    ๗. ทุกคนบนโลกถ้ายังไม่ถึงพระอรหัตผล ย่อมยังมีความชั่วกันทุกคน ชั่วมากชั่วน้อย ก็อยู่ที่การตัดสังโยชน์ได้แค่ไหนเท่านั้นเอง จุดนี้สำคัญ จงหมั่นเตือนจิตตนไว้เสมออย่าตำหนิผู้อื่นว่าชั่ว ให้มุ่งตำหนิตนที่ชั่วเป็นสำคัญ เพราะเราจักละความชั่วได้ จะต้องเห็นความชั่วที่จิตเราก่อนจึงจักละได้ เหตุจากหลงตัวหลงตนว่าเป็นคนดีทั้งสิ้น

    ๘. เมื่อกรรมที่เป็นอกุศลเข้าครอบงำจิต ทุกคนก็คิดว่าสิ่งที่ชั่วนั้นเป็นของดี ถ้าไม่เข้าใจธรรมจุดนี้ ก็หลงคิดว่าตนเป็นคนดี เพราะไม่เห็นความชั่วของตน ไม่ ใช้อัตตนาโจทยัตตานัง เป็นหลักปฏิบัติ ไม่ใช้สังโยชน์ ๑๐ เป็นเครื่องวัดอารมณ์ชั่วของตน ไม่ใช้บารมี ๑๐ เป็นตัวช่วยเสริมกำลังใจให้เต็มอยู่เสมอ ไม่มีพรหมวิหาร ๔ เป็นเครื่องอยู่ของจิต ช่วยเสริมให้ศีล สมาธิ ปัญญา มีคุณภาพสูงขึ้นๆ ตามลำดับก็ปล่อยให้ความชั่วบงการชีวิตจิตใจไปตลอดสิ้นกาลนาน

    ๙. สรุปว่าให้ดูอารมณ์จิตของตนไว้เป็นสำคัญ ถ้าหากจักพ้นทุกข์จริงๆให้ดูอารมณ์เลวของตนไว้อย่ามองคนอื่น อารมณ์คนอื่นปล่อยเขาไป ทุกอย่างให้แก้ที่จิตของเรา

    ๑๐. สรุปในทางปฏิบัติ

    ๑๐.๑ จงอย่าสนใจจริยาของผู้อื่น (อย่าเสือก ชอบไปยุ่งเรื่องของชาวบ้าน)

    ๑๐.๒ จงอย่าตั้งตนเป็นคณาจารย์ใหญ่ (อย่าซ่า หากตนยังเลวอยู่ ยังไม่รู้จริง สังโยชน์ยังไม่ขาด ยังอยู่ครบ แล้วเที่ยวไปสอนผู้อื่น)

    ๑๐.๓ จงอย่าตำหนิกรรมของผู้อื่น (อย่าหลง เพราะคนติคนอื่นยังเป็นคนเลว ขาดพรหมวิหาร ๔ ทุกข้อ)

    ๑๐.๔ จงอย่าจับผิดผู้อื่น (อย่าเป็นตำรวจ เพราะ อัตตนาโจทยัตตานัง แปลว่าคอยจับผิดตนเอง และแก้ไขตนเอง)

    ๑๐.๕ จงอย่าแบกทุกข์ของผู้อื่น (อย่าเป็นผู้แทน เพราะโง่หลงตนเอง ไม่เห็นทุกข์ของตนว่าหนักมากอยู่แล้ว ยังเที่ยวไปแบกทุกข์ของชาวบ้านเขาอีก)

    (ภาษาไทยเป็นคำโดดๆ แต่มีความหมายลึกซึ้ง จำง่าย แต่ในปัจจุบันกำลังจะหมดไป เพราะอุปาทานของคนในปัจจุบัน คิดว่าเป็นคำหยาบ ไม่ควรใช้ แต่ไปยกย่องภาษาต่างชาติว่าเป็นของดีแทน ผมเอาคำไทย ๕ คำ คือ เสือก ซ่า หลง ตำรวจ ผู้แทน มาใช้ ซึ่งล้วนเป็นอุปกิเลสทั้งสิ้น เพื่อให้ผู้อ่านจำได้ง่ายขึ้น เขียนมาถึงจุดนี้ทำให้นึกถึงหลวงพ่อคูณท่าน เพราะท่านเป็นผู้อนุรักษ์ภาษาไทยไม่ให้สูญไปจากคนไทย กูก็ขอจบไว้แต่เพียงเท่านี้ มึงจะชอบใจหรือไม่ชอบก็เรื่องของมึง หากมึงอ่านแล้วมึงมีอารมณ์พอใจ มึงก็สอบตก หากมึงอ่านแล้วมึงมีอารมณ์ไม่พอใจ มึงก็สอบตก เพราะพอใจก็ดี ไม่พอใจ ก็เป็นอารมณ์ ๒ ปิดกั้นทางพระนิพพานไว้สนิท หมายความว่า ตัดสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ไม่ได้ จึงไม่มีทางที่จะเป็นพระอนาคามีผลได้นั่นเองทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนเป็นสมมุติธรรมทั้งสิ้น ซึ่งล้วนไม่เที่ยง ใครยึดถือเข้า ก็เป็นทุกข์ ตัวธรรมแท้ๆในพระพุทธศาสนาไม่มีชื่อจะเรียกเป็นภาษาจิตถึงจิต เป็นภาษาธรรมถึงธรรม ร่างกายของตถาคตไม่ใช่พระพุทธเจ้า ตถาคตคือพระธรรม ผู้ใดยังติดสมมุติอยู่ ก็ไม่มีทางวิมุติหรือหลุดพ้นได้ด้วยเหตุดังกล่าวนี้)

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม กุมภาพันธ์ตอน

    ----------------------
     
  6. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    สรุปเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔

    เรา ๒ คนต่างก็ฟังเทปเรื่องมหาสติปัฏฐาน ที่หลวงพ่อท่านสอนมาหลายปี กว่าจะเข้าใจได้ก็ต้องใช้ความเพียรอย่างสูง เพราะมีภาษาเดิม หรือภาษาโบราณปนอยู่มาก ซึ่งเหมาะสมกับอารมณ์ของผู้รับฟังในสมัยนั้น แต่ไม่เหมาะสมกับอารมณ์ของผู้รับฟังในสมัยปัจจุบัน แต่ก็ไม่ยอมละความเพียร ทั้งฟังทั้งอ่านหนังสือที่ท่านสอน ขอยอมรับว่าเวียนหัว ต่อมาหลวงพ่อก็เมตตาอธิบายให้เป็นภาษาไทยปัจจุบัน จึงทำให้เข้าใจขึ้น ทั้ง ๒ คนต่างก็พบปัญหานี้เช่นเดียวกัน ขอสรุปดังนี้

    ๑. หมวดกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน ทรงให้เห็นกายในกาย ทั้งภายนอกและภายใน

    ๒. หมวดเวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน ทรงให้เห็นเวทนาในเวทนา ทั้งภายนอกและภายใน

    ๓. หมวดจิตตานุปัสสนานุสติปัฎฐาน ทรงให้เห็นจิตในจิต ทั้งภายนอกและภายใน

    ๔. หมวดธัมมา (ธรรมา) นุปัสสนาสติปัฎฐาน ทรงให้เห็นธรรมในธรรม ทั้งภายนอกภายใน

    สิ่งที่ควรจดจำ

    ก) ตอนท้ายพระองค์จะลงเหมือนกันหมด ซึ่งหลวงพ่อท่านว่า เป็นอริยสัจทั้งหมด หรือเป็นวิปัสสนา (ปัญญา) ขั้นสูงสุดในพุทธศาสนา ซึ่งมีแต่เฉพาะพุทธศาสนาเท่านั้น ศาสนาอื่น ๆ ไม่มี

    ข) หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ท่านแนะให้พิจารณาตามแนวมหาสติปัฎฐานไว้ดังนี้ เวลาปฏิบัติเน้นให้เห็น กาย เวทนา จิต ธรรม ไปพร้อม ๆ กัน แล้วลงที่ตัวเป็นธรรมดา คือ เกิด เสื่อม ดับอยู่เป็นปกติ ไม่ว่าหมวดใดก็ตาม ทั้งภายนอกและภายใน เป็นสันตติอยู่ตลอดเวลา

    ค) ให้มีสติรู้อยู่เฉพาะหน้า หรือรู้อยู่ในธรรมปัจจุบันตลอด และให้อยู่ในอารมณ์สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าอาศัย ระลึกรู้แต่ไม่ติดอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ (เพราะมันไม่เที่ยง) ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ทุกสิ่งในโลก ทรงให้ยอมรับความจริงในกาย เวทนา จิต ธรรม ตามความจริง และทรงให้กำหนดรู้ความจริงอย่างนี้อยู่เนือง ๆ

    ง) ในการปฏิบัติเรื่องจิตในจิต และธรรมในธรรม หมายความว่า จิตในจิต ให้รู้อารมณ์ของจิตตลอดเวลา เมื่อถูกกระทบด้วยอายตนะสัมผัส ๑๒ คือ ภายนอก ๖ (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์) ภายใน ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ)

    ธรรมในธรรม มีหลักสำคัญว่า ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ ทุกสิ่งสำเร็จได้ที่ใจ พระธรรมเกิดจากจิตในจิต (อายตนะนอกและในกระทบกัน) เป็นอภิธรรมได้ถึง ๔๒,๐๐๐ บท ย่อแล้วเหลือแค่ ๓ คือ ธรรมที่เป็นกุศล (กุศลาธัมมา) ธรรมที่เป็นอกุศล (อกุศลาธัมมา) และธรรมที่เป็นกลาง ๆ (อัพยากตาธัมมา หรืออัพยากฤตธรรม) มีรายละเอียดอยู่มากตามระดับจิตในจิตและธรรมในธรรม หมายความว่าจิตละเอียดระดับไหนก็รู้ธรรมได้ละเอียดระดับนั้น ซึ่งจริง ๆ แล้วมีถึง ๘๔,๐๐๐ บท

    จ) ธรรมทั้ง ๔ อย่างนี้ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ล้วนเกิดดับ ๆ ตลอดเวลา เป็นสันตติธรรม รู้หรือสัมผัสรู้ได้ด้วยตาปัญญาเท่านั้น ว่าธรรมทั้ง ๔ ตัวนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ผู้ที่ไปรู้ธรรมทั้ง ๔ ตัวนี้คือจิต จิตคือตัวเรา เป็นผู้รู้อย่างแท้จริง และต้องรู้อยู่ตลอดเวลา ด้วยการมีสติต่อเนื่องไม่ขาดสาย หรือมหาสติปัฎฐานนั่นเอง แต่เวลานำไปปฏิบัติแล้วปรากฏว่ามันง่ายนิดเดียว เพราะหลักสูตรมหาสติปัฎฐานนี้ พระองค์ทรงตรัสว่าเป็นทางสายเอกในการบรรลุธรรม มีผล ๒ อย่าง คือ ขั้นต้น เป็นอนาคามีผล ขั้นสอง เป็นอรหัตผล จึงถึงบางอ้อว่ามันง่ายนิดเดียว

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๕ เดือนมิถุนายน ๒๕๓๖ ตอน ๑

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านครับ

    ----------------------
     
  7. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    การเห็นทุกข์ พิจารณาทุกข์ หาต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ก็จักรู้วิธีพ้นทุกข์ได้ด้วยการละ ปล่อยวางที่จิตของตนเอง นั่นแหละจึงจักเป็นหนทางพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง

    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

    ---------------------

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนไว้มีความสำคัญดังนี้

    ๑. มองร่างกายให้เป็นคุณบ้าง เพราะการมีร่างกายทำให้รู้ทุกข์อันเกิดจากร่างกาย ได้เห็นความรัก - โลภ - โกรธ - หลง อันเนื่องจากจิตที่เกาะติดร่างกายนี้ เพราะหากมองในมุมที่เป็นโทษอย่างเดียว เห็นว่าจิตต้องตกเป็นทาสรับใช้ร่างกาย หิวก็ต้องหาอาหารให้ หนาวหรือร้อนก็ต้องหาผ้าห่มอันประทังได้กับสภาพของอากาศให้ หรือในสาธารณูปโภค ทุกอย่างจิตต้องหาเพื่อร่างกายหมดทุกอย่าง ถ้าคิดอย่างนี้ในบางขณะ อารมณ์จิตก็จักเกิดนิพพิทาญาณเบื่อหน่ายเศร้าหมองได้ พิจารณาให้ลงตัวธรรมดา ให้เห็นธรรมดาที่จิต ยอมรับสภาพของร่างกายตามความเป็นจริงให้ได้ ตรงนั้นแหละที่จิตจักไม่เบื่อหน่าย มีแต่ร่างกายเห็นสภาพที่แท้จริงของร่างกาย จิตเป็นสุขและไม่ทุกข์กับสภาพที่แท้จริงของร่างกาย หรืออันใดในโลกอีกเลย

    (หมายถึงเหตุการณ์พิจารณาจุดนี้คล้าย ๆ กับตอนพิจารณาอาหารเป็นอาหาเรปฏิกูลสัญญา จิตจะเบื่ออาหารมาก บางคนกินไม่ลง กินไม่ได้เพราะเห็นอาหารเป็นของสกปรก เป็นหนอนก็กินไม่ได้ เมื่อจิตเกิดปัญญายอมรับความจริงเรื่องอาหารว่า อาหารทุก ๆ ชนิด มันก็มาจากสิ่งสกปรกก่อนทั้งสิ้น จิตก็ยอมรับสภาพความเป็นจริงของอาหาร เห็นเป็นของธรรมดาหมด คือ พิจารณาอาหารจากสวยงามเป็นไม่สวยงาม สุภะเป็นอสุภะ แล้วก็พิจารณาย้อนกลับจากอสุภะ เป็นสุภะ จากผ้าสวยงามจนเป็นผ้าขี้ริ้ว แล้วพิจารณาย้อนกลับ ผ้าขี้ริ้วมันก็มาจากผ้าที่สวยงามก่อนทั้งสิ้น หากเข้าใจด้วยปัญญา ไม่ใช่เข้าใจแต่สัญญา ประเดี๋ยวก็ลืมแล้ว จะมองเห็นของเก่าทุกอย่าง มันก็มาจากของใหม่ทั้งสิ้น เรื่องนี้หากเห็นด้วยปัญญาแล้ว จะพิจารณาได้ไม่รู้จบหรือจบยาก)

    ๒. การเห็นทุกข์ พิจารณาทุกข์ หาต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ก็จักรู้วิธีพ้นทุกข์ได้ ด้วยการละ - ปล่อย - วางที่จิตของตนเอง นั่นแหละจึงจักเป็นหนทางพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง หากเห็นทุกข์แล้ว ไม่ใช้อริยสัจเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา แก้ทุกข์แล้ว ก็จักพิจารณาไปไม่ถึงที่สุดของทุกข์ได้ด้วยปัญญา ก็จักละ-ปล่อย-วางทุกข์ไม่ได้ แต่กลับติดอยู่ในทุกข์ (ปัญหา) เพราะจิตไม่ยอมละ-ปล่อย-วาง ทำไปอีกกี่แสนชาติก็ไม่พ้นทุกข์ จำไว้อย่าทิ้งอริยสัจ ต้องอาศัยกำลังใจคือบารมีเต็ม (บารมี ๑๐) ให้พร้อมอยู่ในจิตปัจจุบันเสมอ รักษาศีล - สมาธิ - ปัญญา ให้พร้อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จักเป็นหนทางดับทุกข์ หรือมรรคปฏิปทาตามความเป็นจริง ถ้ากำลังใจไม่พร่อง เพียรอยู่เป็นปกติ ทุกอย่างก็เป็นของไม่ยาก พระนิพพานก็เป็นของที่ไม่ไกล ให้มุ่งดูกิเลสของจิตตนเป็นสำคัญ อย่าไปมุ่งดูบุคคลอื่น ให้วัดตัวตัดความโกรธ-โลภ-หลงของตนเองทุกวัน อย่าไปวัดของคนอื่น

    ๓. การพิจารณาให้เข้าสู่อริยสัจอยู่เสมอ เห็นทุกอย่างในโลกไม่เที่ยง เป็นอนิจจังยึดถือเมื่อไหร่ เป็นทุกข์เมื่อนั้น ให้พิจารณาอย่างจริง ๆ จัง ๆ จึงจักตัดความเกาะติดได้ ถ้าไม่ขยันพิจารณาหรือขาดความเพียร กิเลสก็จักพอกหนาขึ้นทุกวัน ๆ จนในที่สุดเมื่อขันธ์ ๕ จะพังลง ก็ไม่สามารถจักแก้ไขอารมณ์กิเลสเหล่านั้นได้ ก็ไปไม่ถึงพระนิพพาน ก็ต้องโทษตนเองที่ประมาท ขาดความเพียรไม่ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ตั้งแต่ตอนนั้น บารมี ๑๐, สังโยชน์ ๑๐ จึงต้องพร้อมวัด - ตรวจ - สอบอารมณ์จิตอยู่เสมอ มี มรณาและอุปสมา นุสสติคล่องตัวคล่องจิต ด้วยความไม่ประมาทในชีวิต หากต้องการความเจริญของจิต ให้หมั่นสำรวจความบกพร่องของศีล - สมาธิ - ปัญญา ของตนเองอยู่เสมอ ไม่ต้องดูความดี ให้ดูแต่ความชั่ว หากละความชั่วได้หมดก็ถึงซึ่งความดีได้เอง ความดีที่สุดคือพระนิพพาน อย่าลืมตั้งอารมณ์ให้ถึงที่สุดของความดีในพระพุทธศาสนาให้ได้เสมอ จักได้มีจุดหมายปลายทางไว้เตือนสติไม่ให้บกพร่องในศีล - สมาธิ - ปัญญา อยู่เสมอ

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๑๐ เดือนตุลาคม ๒๕๔๐

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่าน

    -----------------------
     
  8. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    ควรนึกถึงความตายทุกอิริยาบถ สมเด็จพระพุทธกัสสป

    ----------------------------

    ควรนึกถึงความตายทุกอิริยาบถ

    เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ ๓๐ พ.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จพระพุทธกัสสป ได้มีพระเมตตามาตรัสสอนเรื่อง ควรนึกถึงความตายทุกอิริยาบถ มีความสำคัญดังนี้

    ๑. ควรจักระลึกถึงความตายเป็นนิจ ถ้าควบคู่กับลมหายใจเข้า - ออกได้ก็ควรทำ เพราะขาดมรณานุสสติกรรมฐาน อารมณ์ประมาทจึงเกิดขึ้นได้ง่าย

    ๒. ความไหวไปในอารมณ์โมหะ โทสะ ราคะ ก็เกิดขึ้นง่าย เพราะจิตลืมคิดไปว่าร่างกายนี้มันกำลังจักตาย จึงไหวไปกับอายตนะกระทบทั้งปวง ทำอารมณ์ร้อนรุ่มไปให้เกิดกับอารมณ์ของจิตอยู่เสมอ แต่ถ้าหากยึดมรณานุสสติกรรมฐานไว้เป็นแม่บท ควบคู่กับอานาปานุสสติกรรมฐานแล้ว อารมณ์หลงไปในโทสะ ราคะก็จักเบาลง

    ๓. ร่างกายมันกำลังจักตาย ร่างกายคนอื่นก็ก้าวสู่ความตายเช่นกัน จักโกรธ โลภ หลง ก็ไม่มีประโยชน์อันใด อารมณ์ของจิตจักเยือกเย็น มีกำลังตัดกิเลสอันเป็นอกุศลได้ทั้งปวง

    ๔. ขอให้โชคดี ขยันหาผลของการปฏิบัติเข้าไว้

    พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ผู้รวบรวม

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๕ เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๖

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่าน

    ---------------------------
     
  9. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    รำลึกถึงหลวงปู่บุดดา ถาวโร พระอริยเจ้าผู้ไม่เกิด ไม่ตายตลอดกาล ตอน ๒

    โดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

    -----------------------

    : เรื่องที่ ๓

    “กายสังขารเคลื่อนได้ แต่จิตสังขารอย่าเคลื่อน”

    (๒๙ ม.ค.๓๖ ตอนเช้ามืด)

    ลูกสาวในอดีตของท่านกำลังกวาดวัดตอนเช้ามืด แต่จิตก็พิจารณาธรรมะไปด้วย โดยยกเอาการปฏิบัติธรรมของตน (นั่งทำกรรมฐาน) ในคืนวันนั้นมาพิจารณา แล้วนึกชมตัวเองว่า วันนี้เราสามารถปฏิบัติธรรมได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่เคยทำได้มาก่อน กายนั่งอยู่กับที่แต่ต้องขยับหลายครั้ง คิดถึงจุดนี้หลวงปู่ท่านก็มาสอน มีความว่า

    ๑. “เมื่อยก็เมื่อยซี กายสังขารมันมีอยู่ จะไม่ขยับได้อย่างไร จิตสังขารซีอย่าเคลื่อน เพลิดเพลินในธรรมเข้าไว้ กายสังขารปวดเมื่อย-ขบก็ต้องเคลื่อนเป็นธรรมดา อย่าฝืนทุกข์ของกายสังขาร นั่งนาน ๆ ง่อยมันจะกินเอา ยืนนาน ๆ ตะคริวมันก็กินขา เดินนาน ๆ ก็เมื่อยหมดกำลัง นอนนาน ๆ อัมพาตจะกินเอา”

    ๒. อย่าทำกรรมฐานแบบโง่ ๆ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ฝืนกายสังขาร เพราะเป็นการเบียดเบียนตนเอง บรรลุมรรคผลได้ยาก สู้ครบอิริยาบถ ๔ ไม่ได้ แล้วมิใช่ครบอิริยาบถ ๔ อย่างโง่ ๆ นะ ถ้าครบ ๔ แบบโง่ ๆ มรรคผลนิพพานก็ไม่ได้เหมือนกัน มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางเท่านั้นที่จะบรรลุได้ บรรลุพอดีในทางสายกลาง บรรลุธรรมที่ปัจจุบัน จะบรรลุระดับไหน ก็ต้องใช้ทางสายกลางในธรรมปัจจุบันพอดี ๆ เอาความดีเป็นที่ตั้ง”

    ๓. “การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน ขณะปัจจุบันได้เท่านี้ก็พอดีเท่านี้ ปฏิบัติแล้วปฏิบัติอีกก็ได้ในธรรมปัจจุบันนั้นแหละ บริโภคธรรมอย่างพอดี บริโภคแล้วบริโภคอีกในธรรมปัจจุบันไปจนกว่าจะอิ่ม คือ เต็มขั้น กายสังขารแตกดับ จิตก็เข้า แดนอมตะนฤพาน เอ็งเข้าใจนะ อย่าทำกรรมฐานโง่ ๆพระพุทธเจ้าท่านไม่ชอบให้ลูก ๆ ท่านเดินทางผิด ทำกรรมฐานอย่างไร้ปัญญา เข้าใจไหม

    ๔. เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด ขอให้จิตอยู่ในความสงบ อยู่ในอารมณ์พระกรรมฐานก็แล้วกัน แยกกายสังขารให้เป็น แยกจิตสังขารให้เป็น วางเฉยให้อยู่ในอารมณ์สังขารุเบกขาญาณ คือ ทุกข์กายต้องระงับ แต่จิตไม่เกาะติดอยู่กับมัน ยอมรับสภาวะทุกข์ของกายโดยดุษฏี บอกมันไว้เสมอ ๆ ว่า “มึงตายเมื่อไหร่ กูสบายเมื่อนั้น”

    “สำหรับจิตสังขาร เรามีเอาไว้ปฏิบัติธรรมคนฉลาดที่เจริญพระกรรมฐานเป็น เจริญแบบพระพุทธเจ้า แบบพระธรรม แบบพระอริยสงฆ์ คือ จิตสังขารจะกระทบเข้ากับอะไรตลอด ๒๔ ช.ม. หรือทุก ๆ ขณะจิตที่กระทบ จะเป็นสัตว์ คน วัตถุธาตุใด ๆ หรือ พรหม เทวดา นิพพาน โลกธรรม ๘ อบายภูมิ ๔ เขาจะนำมาพิจารณา หรือเอาสิ่งสัมผัสนั้น ๆ มาเป็นพระกรรมฐานหมด แล้วใช้ปัญญาแยกออกได้ว่า สาระที่กระทบนี้เป็นธรรมใด เช่น มนุษยธรรม เทวธรรม พรหมธรรม โลกียธรรม หรือโลกุตรธรรมตลอดเวลา คนฉลาดเจริญกรรมฐานเป็น เขาเห็นทุกสิ่งทุกอย่างที่กระทบจิตทั้งหมดนั้นเป็นธรรม นี่แหละเอ็งจงจำไว้ นักเจริญกรรมฐานจะต้องอยู่ในธรรมอย่างนี้ตลอดเวลา และต้องทำให้ชินจนแยกแยะออกได้ว่า สาระธรรมใดควรเก็บ สาระธรรมใดควรละ อันนี้ทำแล้วจิตติดสมมุติ อันนี้ทำแล้วจิตพ้นสมมุติ เขาทำกรรมฐานกันอย่างไม่หลงลืมสติว่าทำเพื่อจุดประสงค์อะไร”

    ๖. พระพุทธเจ้าท่านต้องการสอนนักเจริญกรรมฐาน เพื่อวิมุติ คือ หลุดพ้นจากกิเลส เพื่อเข้าถึงแดนอมตะนฤพานจุดเดียวนะจำไว้”

    : เรื่องที่ ๔

    “อย่าเอาอดีตมาเป็นปัจจุบันให้อยู่ในธรรมปัจจุบัน”

    (๒๙ ม.ค. ๓๖ ตอนเย็น)

    ขณะที่ลูกสาวในอดีตของท่านกำลังหั่นผัก เพื่อจะใส่ในปลา เห็นผักเหี่ยว ๆ ตอนปลาย ๆ ใบ จะหั่นทิ้งก็เสียดาย จึงคิดว่าสมัยก่อนเราเคยเป็นเป็ด ก็กินผักเน่า ๆ ที่เขาทิ้งไว้ คิดเท่านี้ หลวงปู่ท่านก็มาสอน มีความว่า...

    ๑. “อย่าคิดโง่ ๆ ต้องอยู่ในตัวธรรมปัจจุบัน ชาติก่อนน่ะ เป็นเป็ดก็กินอย่างเป็ดซิ ชาตินี้เป็นคนก็ต้องกินแบบคน เบียดเบียนตนเองได้อย่างไร อีกหน่อยมิคิดว่าชาติก่อนเป็นควาย มิกินหญ้าได้เรอะ หรืออดเข้ามาก ๆ เห็นขี้กองอยู่ จะคิดว่าตัวเองเคยเกิดเป็นหมากินขี้ แล้วมันกินได้หรือเปล่าล่ะ มันต้องอยู่ในธรรมปัจจุบัน ทำอะไร คิดอะไร ต้องอยู่ในตัวธรรมปัจจุบันหมด ต้องใช้ปัญญาด้วย กินก็ต้องกินอย่างคนอยู่อย่างคน จะไปกินอย่างสัตว์ได้อย่างไร อย่าไปติดอดีตซิ สภาวะธรรมนั้นมันผ่านมาแล้ว มันเป็นอดีต ก็ต้องให้มันเลยไป จะไปยึดมันไว้ ทำไม ดูปัจจุบันเข้าไว้จะได้อยู่เป็นสุข กินก็เป็นสุข แล้วอย่าไปคิดตำหนิพระรัฐปาละเถระ ท่านเข้าล่ะ

    ๒. พระรัฐปาละท่านเป็นพระอรหันต์ การไปบ้านที่ชนบท เป็นพระแล้วใช่ว่าหิวแล้วจะหยิบจะซื้อของเขากินได้ตามใจได้ที่ไหน ร้านค้าอาหารก็ไม่มี ได้เวลาแล้วกายสังขารท่านเกิดเวทนา ไม่ให้กินก็เบียดเบียนตนเองซิ จะไปบิณฑบาตที่ไหนก็ไม่ทันกาล จะไปขอเขาหรือ ก็เขาไม่ใช่โยมอุปัฎฐาก สุดท้ายก็เห็นคนใช้ในบ้านโยมบิดา-มารดาของตน ถือเศษอาหารจะมาเททิ้ง นี่บ้านโยมพ่อ-โยมแม่ขอได้ ขอเศษอาหารนั้นมาบริโภค เรื่องติดรูปติดรสท่านไม่มี การฉันอาหารของท่านเพื่อบริหารกายสังขารไม่ให้ทุกข์เท่านั้น นี่คือปัญญาพระอรหันต์นะ ท่านพิจารณาแล้วไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น เอากับท่านซิ

    ๓. “เพราะฉะนั้นเอ็งต้องเข้าใจ อยู่กับธรรมปัจจุบันให้มาก ๆ จึงจะอยู่ในทางสายกลางหรือทางพอดี ๆ ของพระพุทธเจ้าท่าน เมตตาตัวเองให้มาก ๆ นะลูก”


    รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๒ ตอนรำลึกถึงหลวงปู่บุดดา ถาวโร

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่าน

    ----------------------
     
  10. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    อย่าต่อกรรม ให้ตัดกรรม ถ้าอยากจะไปนิพพานในชาตินี้

    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

    .............................

    สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนไว้ มีความสำคัญดังนี้



    ๑๖. กายทำงานตามหน้าที่เท่านั้น จิตใจไม่ต้องไปมีอารมณ์ด้วย สังขารหยุดปรุงแต่งธรรม มองทุกอย่างให้เห็นว่า มันเป็นไปของมันอยู่อย่างนั้นเอง ทำใจให้สบาย ร่างกายที่เห็นอยู่ไม่ช้าก็จักสลายไป จักสนใจทำไมกับเรื่องต่างๆ ในโลก โลกนี้ไม่เที่ยง-โลกนี้เป็นทุกข์-โลกนี้เป็นอนัตตา จงวางใจให้ล่วงออกจากโลกนี้เสีย อย่าไปขัดข้องขุ่นเคืองกับเรื่องใดๆ ทั้งหมด วางภาระทุกสิ่งทุกอย่างในโลกลงเสียในจิต กายทำงานตามหน้าที่เท่านั้น จิตใจไม่ต้องไปมีอารมณ์ด้วย

    ๑๗. จงอย่าปรุงแต่งธรรม จงระงับจิตสังขารด้วยอานาปานุสสติกรรมฐาน จิตจักสะอาด-สงบ-ปราศจากการปรุงแต่งธรรม จิตจักมีอารมณ์เหมาะแก่การใคร่ครวญพิจารณาธรรมทุกอย่างได้ถูกต้องตามความเป็นจริง จิตจุดนี้แหละจักมีความเข้าใจในธรรมล้วนๆ ปราศจากกิเลสปรุงแต่ง จิตจุดนี้แหละมีความสุข-สงบ-เยือกเย็น เป็นจิตที่ชนะกิเลสได้และเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้ในชาติปัจจุบันนี้ จงชำระความอยากได้ใคร่ดี ให้ออกไปจากจิตก่อนที่จักเจริญพระกรรมฐาน ให้สังเกตและสอบจิตของตนเองเอาไว้เสมอๆ ว่า อะไรเป็นเหตุให้จิตสงบ อะไรเป็นเหตุให้จิตฟุ้งซ่าน ต้องหมั่นดูจิตอยู่อย่างนี้ จึงจักแก้ไขกิเลสที่เข้ามารบกวนจิตได้

    ๑๘. รักษากำลังใจให้ดี เห็นทุกอย่างเป็นของธรรมดา ไม่มีอะไรที่ควรจักสะเทือนใจ ทุกอย่างลงธรรมดาให้หมด แล้วความสุขของจิตก็จักบังเกิดขึ้นได้ ให้เห็นธรรมดาในกฎของกรรมของตนเองก่อน และยอมรับ-ไม่ดิ้นรน-เห็นเป็นธรรมดาเมื่อถูกกระทบ หากทำได้จัดเป็นธรรมดาภายใน แล้วจึงจักเห็นกฎของกรรม หรือกฎธรรมดาภายนอก หรือของบุคคลอื่นได้อย่างเด่นชัด เห็นทุกสิ่ง-ทุกอย่างที่เข้ามากระทบ ล้วนไม่พ้นกฎของธรรมดาไปได้

    ๑๙. อย่าต่อกรรม ให้ตัดกรรม ถ้าอยากจะไปนิพพานในชาตินี้ เห็นทุกอย่างให้เป็นเรื่องธรรมดา เรื่องการมีเจ้ากรรมนายเวร ก็เป็นเรื่องธรรมดา ทุกชีวิตต้องมีเจ้ากรรมนายเวร จักมากหรือน้อยก็เป็นธรรมดา เรื่องนี้จึงไม่แปลก ถ้าหากเจ้ากรรมนายเวรตามมาเอาเรื่อง คือราวีให้เป็นทุกข์ จงทำจิตให้สงบ เจริญเมตตาให้ถึงที่สุด แล้วกำหนดจิตว่า จักไม่เป็นศัตรูกับใคร ใครจักมุ่งมาเป็นศัตรูก็เรื่องของเขา เราไม่เป็นศัตรูกับเขาก็แล้วกัน จำไว้ว่า จงตัดกรรมเอาไว้เสมอ อย่าไปต่อกรรมกับใครเขาอีก ถ้าอยากจะไปพระนิพพานในชาตินี้

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    .............................

    ที่มาของข้อมูล

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๑๖ เดือนธันวาคม ๒๕๔๖

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่าน

    --------------------------
     

แชร์หน้านี้

Loading...