พระพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ตอน ทรงมีวิธี “รุก” ข้าศึกให้แพ้ภัยตัว

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 28 กรกฎาคม 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
    พระพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ตอน ทรงมีวิธี “รุก” ข้าศึกให้แพ้ภัยตัว
    20375654_10213852579898351_8413630006165261132_n.jpg
    (เรื่องในชั้นแรกมีอยู่ว่า ปริพพาชกชื่อสรภะ เคยบวชอยู่ในธรรมวินัยนี้ แล้วละทิ้งไปบวชเป็นปริพพาชก เที่ยวร้องประกาศอยู่ว่า คนรู้ถึงธรรมวินัยของพวกสมณสากยบุตรทั่วถึงแล้ว ไม่เห็นดีอะไรจึงหลีกมาเสีย. ครั้นความนี้ทราบถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จไปสู่อารามของปริพพาชกพวกนั้น และสนทนากันในกลางที่ประชุมปริพพาชก. ทรงถามเฉพาะสรภะปริพพาชก ให้บรรยายออกไปว่า ธรรมวินัยของพวกสมณสากยบุตรนั้นเป็นอย่างไร). ตรัสว่า :-
    ดูก่อนสรภะ ! ได้ยินว่าท่านกล่าวดังนี้จริงหรือว่า “ธรรมของพวกสมณสากยบุตรนั้น เรารู้ทั่วถึงแล้ว เพราะรู้ทั่วถึงนั่นเอง จึงหลีกมาเสียจากธรรมวินัยนั้น” ดังนี้. (ไม่มีคำตอบ, จึงตรัสถามเป็นครั้งที่สอง :)
    ดูก่อนสรภะ ! ท่านจงพูดไปเถิดว่า ท่านรู้ทั่วถึงธรรมของพวกสมณสากยบุตรอย่างไร. ถ้าท่านพูดไม่ครบถ้วน เราจะช่วยพูดเติมให้ครบถ้วน. ถ้าคำของท่านครบถ้วนถูกต้องดีแล้ว เราจักอนุโมทนา. (นิ่งไม่มีคำตอบอีก จึงตรัสถามเป็นครั้งที่สาม :)
    ดูก่อนสรภะ ! ท่านจงพูดเถิด. ธรรมวินัยของพวกสมณสากยบุตรนั้นเราเป็นผู้บัญญัติเอง เราย่อมรู้ดี. ถ้าท่านพูดไม่บริบูรณ์ เราจะช่วยพูดเติมให้บริบูรณ์, ถ้าท่านพูดได้บริบูรณ์ เราก็จักอนุโมทนา. (นิ่งไม่มีคำตอบ, ในที่สุดพวกปริพพาชกด้วยกัน ช่วยกันรุมขอร้องให้สรภะปริพพาชกพูด. สรภะก็ยังคงนิ่งตามเดิม. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสข้อความนี้
    ดูก่อนปริพพาชกทั้งหลาย ! ถ้าผู้ใดกล่าวหาเราว่า “ท่านอวดว่าท่านเป็นสัมมาสัมพุทธะ แต่ธรรมเหล่านั้น ท่านยังไม่รู้เลย” ดังนี้. เราก็จักซักไซ้สอบถามไล่เลียงเขาให้เป็นอย่างดี (ถึงข้อธรรมที่เขาว่าเราไม่รู้ แต่เขารู้). เขานั้น ครั้นถูกเราซักไซ้สอบถามไล่เลียงเป็นอย่างดีแล้ว ย่อมหมดหนทาง ย่อมเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากจะตกอยู่ในฐานะลำบาก ๓ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือตอบถลากไถลนอกลู่นอกทางบ้าง, แสดงความขุ่นเคืองโกรธแค้น น้อยอกน้อยใจออกมาให้ปรากฏบ้าง, หรือต้องนิ่งอั้น หมดเสียง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่มีคำพูด หลุดออกมาได้ เหมือนอย่างสรภะปริพพาชกนี้บ้าง.
    ดูก่อนปริพพาชกทั้งหลาย ! ถ้าผู้ใดกล่าวหาเราว่า “ท่านอวดว่าท่านสิ้นอาสวะ. แต่อาสวะเหล่านี้ๆ ของท่านยังมีอยู่” ดังนี้. เราก็จักซักไซ้สอบถามไล่เลียงเขาให้เป็นอย่างดี (ถึงอาสวะที่เขาว่ายังไม่สิ้น). เขานั้น ครั้นถูกเราซักไซ้สอบถามไล่เลียงเป็นอย่างดีแล้ว ย่อมหมดหนทาง ย่อมเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากจะตกอยู่ในฐานะลำบาก ๓ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือตอบถลากไถลนอกลู่นอกทางบ้าง, แสดงความขุ่นเคือง โกรธแค้น น้อยอกน้อยใจ ออกมาให้ปรากฏบ้าง, หรือต้องนิ่งอั้น หมดเสียง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่มีคำพูด หลุดออกมาได้ เหมือนอย่างสรภะปริพพาชกนี้บ้าง.ดูก่อนปริพพาชกทั้งหลาย ! ถ้าผู้ใดกล่าวหาเราว่า “ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนั้น ไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ประพฤติตาม” ดังนี้. เราก็จักซักไซ้สอบถามไล่ เลียงเขาให้เป็นอย่างดี (ถึงประโยชน์ที่เขาว่าจะเป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ประพฤติตาม). เขานั้น ครั้นถูกเราซักไซ้สอบถามไล่เลียงเป็นอย่างดีแล้ว ย่อมหมดหนทาง ย่อมเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากจะตกอยู่ในฐานะลำบาก ๓ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือตอบถลากไถลนอกลู่นอกทางบ้าง, แสดงความขุ่นเคือง โกรธแค้น น้อยอกน้อยใจ ออกมาให้ปรากฏบ้าง, หรือต้องนิ่งอั้น หมดเสียง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่มีคำพูดหลุดออกมาได้ เหมือนอย่างสรภะปริพพาชกนี้บ้าง ดังนี้.

    ________________________________
    ที่มา. บาลี ติก. อํ. ๒๐/๒๓๘/๕๐๔. ตรัสแก่ปริพพาชกทั้งหลาย ริมฝั่งแม่น้ำสัปปินี.
     

แชร์หน้านี้

Loading...