พระพุทธศาสนาในไทย ตั้งแต่เริ่มเข้ามาจนมี 2 นิกาย

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 12 กรกฎาคม 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี ได้เล่าถึง ท่านพนฺธุโล (ดี) พระมหาเถระผู้แรกตั้งวงศ์ธรรมยุตในภาคอิสาน ดังนี้

    คนเก่าคนแก่เล่าให้ผู้เขียน (หลวงปู่เทสก์) ฟังว่า ท่านเรียนหนังสือเก่งมาก ขนาดเอามะพร้าวแห้งมาหนุนหัว พอหัวตกจากมะพร้าวก็ตื่น และจุดธูปจีนส่องหนังสือ ท่องบ่นหนังสือต่อไปอีก
    เรียนจนไม่มีใครสอนได้ในเมืองอุบลฯ แล้วท่านเสาะแสวงหาเรียนจนกระทั่งถึงกรุงเทพฯ ไปพักวัดคอกหมู หรือ วัดอะไรก็ไม่ทราบ นอกกรุงเทพฯ แล้วเรียนหนังสือ ณ ที่นั้น
    สมัยนั้น พระกรุงเทพฯ ค่ำมาก็เตะตะกร้อสนุกสนานกัน ส่วนท่านมีแต่ตั้งหน้าตั้งตาเรียนถ่ายเดียว เรียนได้เท่าไรก็จารใส่ใบลานไว้ เพื่อจะเอาไปเผยแพร่เมืองอุบลฯ ต่อไป
    พวกพระเหล่านั้นเตะตะกร้อไปๆ มาๆ ตะกร้อไปตกที่หน้าท่าน เขาบอกว่า ไอ้ลาว ส่งตะกร้อให้ซิ ท่านอุตส่าห์เอาตะกร้อไปส่งให้เขาแล้ว ก็กลับมาจารหนังสีออกต่อไป อุตส่าห์ตั้งหน้าหลับหูหลับตาเรียนต่อไป เพราะไม่มีใครฝาก ญาติพี่น้องก็ไม่มีอีกด้วย
    เรียน ณ ที่นั้นจนกระทั่งไม่มีใครสอนได้ ด้วยความวิริยะพากเพียร เขาเห็นดีเห็นชอบจึงได้ส่งเข้าไปเรียนในกรุงเทพฯ..

    ไม่ทราบว่าท่านเรียนได้ประโยคไหน แต่ด้านปฏิบัติท่านเป็นเยี่ยมองค์หนึ่ง เหตุนั้น พระจอมเกล้าฯ จึงได้บัญชาให้ท่านไปเมืองอุบลฯ ตั้งวงศ์ธรรมยุตองค์แรก และการกลับไปเมืองอุบลฯ ครั้งนั้น ได้มีการรับแห่กันเหมือนกับเจ้าเข้าเมือง เห็นจะเป็นเพราะเหตุนี้กระมัง ชาวเมืองอุบลฯ จึงมักกล่าว (เรียกขาน) พระผู้ใหญ่ว่า ท่านเจ้าท่านนาย สืบมาจนกระทั่งบัดนี้”
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เกี่ยวกับข้อวัตรปฏิบัติของท่านพนฺธุโล (ดี) นั้น หลวงปู่เทสก์กรุณาเล่าดังนี้ -

    “ท่านเป็นองค์แรกที่มาตั้งวงศ์ธรรมยุตที่เมืองอุบลฯ ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตรงตามธรรมวินัยโดยแท้ ท่านไม่ได้เที่ยวรุกขมูล แต่ธุดงควัตรท่านก็รักษาไว้ได้ตามสมควรแก่ภาวะสถานที่ คืออยู่วัดเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ไหว้พระสวดมนต์ แล้วนั่งสมาธิกันอีกที นั้นเป็นวิธีนั่งหมู่ แต่อยู่กุฏิแล้วก็ทำเฉพาะตนเอง ท่านบริหารหมู่คณะพร้อมทั้งการปฏิบัติไปด้วย
    การตีระฆังของวัดธรรมยุต ซึ่งตี ๔ แล้วจะต้องตีทุกวันเป็นระเบียบของท่านที่ตั้งไว้แต่โน้น ธรรมยุตภาคอีสานจึงต้องรักษาสืบมาจนกระทั่ง ทุกวันนี้
    หมายความว่า ตี ๔ จะต้องลุกขึ้นมาทำวัตรสวดมนต์พร้อมๆ กันทุกองค์ พอหลังจากนั้นแล้วก็นั่งสมาธิภาวนา ต่อนั้นไปใครจะท่องบ่นสวดมนต์อะไรก็ตามใจ
    การตั้งวงศ์ธรรมยุตเมืองอุบลฯ นี้ มีอุปสรรคมาก เพราะพระท้องถิ่นไม่เคยปฏิบัติตามธรรมวินัย เห็นธรรมยุตปฏิบัติเข้าก็หาว่าเป็นป่าเถื่อนและเป็นสัตว์จำพวกหนึ่งเท่านั้น
    แต่อาศัยท่านวางอุเบกขา เห็นว่าทำหน้าที่พุทธศาสนาที่ดีแล้วสิ่งภายนอกก็วางเฉยลงได้ ใครจะว่าอะไร ทำอะไร ก็ตามใจ นานหนักเข้าก็ค่อยดีขึ้น เพราะคนด้วยกัน พูดภาษาปรับปรุงความเข้าใจกันได้
    ท่านพนฺธุโลนี้ เมื่อขึ้นไปเมืองอุบลฯ แล้วได้เผยแพร่วงศ์ธรรมยุตแต่เฉพาะในเมืองได้ไม่กี่วัด พอหมดอายุ ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) สืบต่อมา”

    (หมายเหตุ : คัดลอกจากพระครูวิเวกพุทธกิจ(หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล) พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๕ เรียบเรียงโดย รศ.ดร.ปฐม - ภัทรา นิคมานนท์ )
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การตั้งวัดธรรมยุตครั้งแรกในจังหวัดอุบลราชธานี หรือวัดธรรมยุตวัดแรกของภาคอิสานนี้ เป็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะตั้งรากฐานของคณะธรรมยุตในภาคอิสาน
    ในปีแรกที่พระองค์ทรงครองราชย์ คือ ปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๘๘-๒๔๐๙) อาราธนา ท่านพนฺธุโล (ดี) ซึ่งเป็นชาวอุบลและเป็นปูราณสหธรรมิก ในพระองค์พร้อมด้วยท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ให้มาสร้างวัดธรรมยุตขึ้นในอุบลฯ
    ท่านพนฺธุโล (ดี) และคณะ จึงได้ทำการก่อสร้างวัดขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๓๙๕ ที่ริมฝั่งแม่น้ำมูลด้านเหนือ อยู่ระหว่างตัวเมืองกับ บุ่งกาแซว
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดพระราชทานทุนทรัพย์เป็นเงิน ๑๐ ชั่ง (๘๐๐ บาท) พระราชทานเลกวัด (ผู้ปฏิบัติรับใช้วัด) ๑๐ คน และพระราชทานนิตยภัต แก่เจ้าอาวาส เดือนละ ๘ บาท
    การก่อสร้างวัดเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๙๖ ตรงกับ ร.ศ. ๗๒ พระราชทานนามว่า วัดสุปัตน์ แปลว่า วัดหรืออาศรมของพระฤๅษีที่ชื่อ “ดี” ภายหลังพระราชทานเปลี่ยนชื่อเป็น วัดสุปัฏนาราม แปลว่าท่าน้ำดี เพราะวัดตั้งอยู่ในทำเลจอดหรือที่ดี
    วัดสุปัฏนาราม จึงเป็นวัดธรรมยุตแห่งแรกของภาคอิสานมีท่านพนฺธุโล (ดี) เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก
    ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ โปรดให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงวรวิหาร ชั้นตรี มีนามว่า วัดสุปัฏนารามวรวิหาร มีพื้นที่ตามโฉนด ๒๐ ไร่ ๓๘.๓ ตารางวา

    (หมายเหตุ : อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ)

    วัดสุปัฏนารามวรวิหาร

    วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนวัดสุปัฏน์ อ. เมือง จ.อุบลราชธานี ( ริมฝั่งแม่น้ำมูล ซึ่งไหลผ่านทางทิศใต้ของตัวเมืองอุบลราชธานี ) มีเนื้อที่ 21 ไร่ 38 ตารางวา เป็นวัดธรรมยุติวัดแรกของจังหวัดอุบลราชธานี มีสถานะเป็นวัดอารามหลวงชั้นตรี
    วัดสุปัฏนาราม สร้างในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยได้เริ่มสร้างวัดในปี พ.ศ.2393 และสร้างเสร็จ พ.ศ.2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "วัดสุปัฏนาราม อันหมายถึง วัดที่มีสถานที่ตั้งเหมาะสมเป็น ท่าเรือที่ดี " ซึ่งสภาพของที่ตั้งวัดขณะนั้นเป็นที่เงียบสงัด เหมาะที่จะบำเพ็ญศาสนกิจ สะดวกในการออกบิณฑบาต ที่ไม่ไกลอยู่ติดกับฝั่งลำน้ำมูล และเมื่อสร้างวัดเสร็จแล้ว จงไปอาธนา ท่านพนฺธุโล (ดี) มาครองวัดสุปัฏนาราม และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน ทรัพย์ส่วนพระองค์ ดังนี้
    1. พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ 10 ชั่ง ( 800 ) บาท
    2. ตั้งนิตยภัตแก่เจ้าอาวาส เดือนละ 8 บาท
    3. จัดให้มีเลกวัด ( คนทำงานประจำวัด 60 คน)

    สิ่งสำคัญภายในวัดสุปัฎนารามวรวิหาร

    พระอุโบสถวัดสุปัฏรารามวรวิหาร ตัวพระอุโบสถที่สร้างขึ้นแต่ดั่งเดิม สร้างขึ้นด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) ซึ่งพระอุโบสถหลังเดิมนั้น มีความยาว 11 วา 2 ศอก กว้าง 8 ในขณะนั้น เสาไม้แก่นก่ออิฐโอกเสา หลังคาลดเป็น 2 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องไม้ มีช่อฟ้าใบระกาประดับกระจก หน้าบันด้านตะวันออกสลักลายเครือ ตะวันตกสลักลายดอกไม้ พื้นถมดินปูด้วยกระเบื้องดินเผา และต่อมาพระอุโบสถหลังนี้ก็ได้ผุพังลง อีกทั้งบริเวณด้านหน้านั้นแคบ ไม่พอแก่กองทหาร กองตำรวจ กองลุกเสือ ที่ตั้งแถวในการทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาประจำปี

    (หมายเหตุ : สามารถเข้าไปอ่าน ประวัติวัดสุปัฏนารามวรวิหารได้ที่นี้ )
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตำนานวัดสุปัฏนาราม

    ตำนานวัดสุปัฏนาราม นับเป็นตำนานที่สำคัญที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการก่อตั้ง วัดธรรมยุตินิกายและการพระศาสนา ในสมัยเริ่มแรกที่มีการตั้งวัดธรรมยุตินิกายที่เมือง อุบลราชธานีและดินแดนภาคอีสาน
    ตำนานวัดสุปัฏนาราม แต่งโดยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) เมื่อครั้งยังเป็น พระพรหมมุณี เจ้าคณะรองหนกลาง บัญชาคณะมณฑลนครราชสีมา ตำนานฉบับนี้ถูกพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2479 ในงานที่ระลึกผูกพัทสีมาและฉลองพระอุโบสถ วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี
    เนื้อหาในตำนานวัดสุปัฏนาราม ประกอบไปด้วย 4 ส่วนคือ
    - ส่วนที่ 1 ว่าด้วยภูมิศาสตร์ของภาคอีสาน
    - ส่วนที่ 2 เป็นเรื่องว่าด้วยที่มาของคนที่มาตั้งบ้านเรือนในจังหวัดอุบลราชธานี
    - ส่วนที่ 3 เป็นส่วนที่ว่าด้วยประวัติของเมืองอุบลราชธานี ตั้งแต่เหตุการณ์ยก
    บ้าน แจละแมขึ้นเป็นเมืองอุบลราชธานี ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระ
    พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 จนกระทั่งถึงเหตุการณ์ในสมัยรัชกาลที่ 5
    - ส่วนที่ 4 เป็นส่วนที่ว่าด้วยการตั้งวัดธรรมยุติในภาคอีสานซึ่งตั้งครั้งแรกที่
    วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2393 การขยายตัวของการ
    ตั้งวัดธรรมยุตินิการในภาคอีสาน ในจังหวัดต่างๆ รวมทั้งเรื่องราวเกี่ยว
    กับการพระศาสนาในภาคอีสานตั้งแต่รัชกาลที่ 4 จนกระทั้งปี พ.ศ. 2478
    ส่วนที่ 4 นับเป็นส่วนที่มีเนื้อหามากที่สุดและเป็นหัวใจสำคัญ ของตำนาน
    ฉบับนี้

    (หมายเหตุ :
    - สามารถดูรูปหนังสือตำนานวัดสุปัฏนารามได้ที่นี่
    - สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เป็นพระเถระที่อยู่ในสมัยนั้น )
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประวัติพระเถราจารย์เทวธมฺมี(ม้าว)

    ท่านเทวธมมี (ม้าว) เป็นพระอาจารย์สายธรรมยุตองค์แรกของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) เป็นหลานของท่านพนฺธุโล (ดี) ได้รับอาราธนามาเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) วัดธรรมยุตวัดที่ ๒ ของภาคอิสาน
    ท่านเทวธมมี (ม้าว) เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๑ ในเมืองอุบลราชธานี
    ในช่วงที่ท่านพนฺธุโล (ดี) ไปศึกษาเล่าเรียนที่กรุงเทพฯ เมืองหลวง และเป็นสหธรรมิกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ท่านได้กลับมาเยี่ยมบ้านเกิดที่อุบลฯ ขากลับได้นำพระหลานชายคือ ท่านเทวธมมี (ม้าว) เข้ากรุงเทพฯ ด้วย โดยพาเข้าถวายตัวเป็นพระศิษย์หลวง ซึ่งศิษย์หลวงเดิมมีอยู่ ๔๘ รูป
    ดังนั้น ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) จึงได้เป็นสัทธิวิหาริก แห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสมเด็จพระสังฆราช (สา) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อครั้งทำญัตติกรรมเป็นธรรมยุต
    ท่านพนฺธุโล (ดี) องค์ปฐมแห่งพระธรรมยุตสายอิสานนี้ได้ส่งศิษย์เข้าไปศึกษาเล่าเรียนทั้งด้านปริยัติและการอบรมวิปัสสนากรรมฐานในกรุงเทพฯ หลายรุ่น ซึ่งต่อมาพระมหาเถระเหล่านั้นได้มีบทบาทสำคัญในการแผ่ขยายการศึกษาทางพระพุทธศาสนา และการแผ่ขยายของคณะธรรมยุตไปยังที่ต่างๆ ทั่วภาคอิสาน และภาคอื่นๆ ของประเทศ
    พระมหาเถระสายธรรมยุตที่ท่านพนฺธุโล (ดี) ส่งไปศึกษาเล่าเรียนที่กรุงเทพฯ และกลับมาสร้างความเจริญให้พระศาสนา ที่มีชื่อเสียงมาก ได้แก่
    - อาชญาท่านก่ำ คุณสมฺปนฺโน
    - ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)
    - พระอริยกวี (อ่อน ธมฺมรกฺขิโต)
    - ท่านอาจารย์สีทา ชยเสโน
    - พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน)
    - ท่านเจ้าคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี ได้เล่าถึงท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ดังนี้ :-

    “ท่านเทวธมฺมี องค์นี้ ข้าพเจ้าเป็นเณรไปอยู่เมืองอุบลฯ มีคนเฒ่าคนหนึ่ง เขาตั้งให้แกเป็นสังฆการี แต่อาตมาก็จำชื่อแกไม่ได้ แกเล่าให้ฟังว่า ท่านเทวธมฺมี องค์นี้ ปฏิบัติเคร่งครัดในกรรมฐานยิ่งนัก ไปบิณฑบาตก็เอาตาลปัตรกันหน้าไป ท่านเกิดโรคหูเป็นหนอง แมลงวันขี้ใส่เลยเกิดเป็นตัวหนอนขึ้น หนอนไชหูท่าน เขาจะควักออกก็ไม่ให้เอาออก หนอนไชอยู่จนมรณภาพ
    การมรณภาพ ท่านก็นั่งขัดสมาธิสิ้นลมหายใจในอิริยาบถนั้นเอง ท่านมีเมตตามาก กลัวสัตว์อื่นจะเป็นทุกข์เพราะเหตุการกระทำของท่าน บ้านใครมีตัวเรือดมากๆ ไปขอมาเลี้ยงไว้ที่นอนท่านแหละ
    เมตตาธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนของโลก สมทุกประการอย่างท่านเทวธมฺมี แม้กระทั่งถึงสัตว์ที่เป็นสังเสทชะ และอัณฑชะ ซึ่งไม่รู้เดียงสาเลย ท่านก็เมตตาให้เขาได้ความสุข นับประสาอะไรแต่คนที่รู้เดียงสากัน
    จิตที่มีเมตตาแล้วแผ่คลุมไปถึงสัตว์ทุกจำพวก เขาเห็นเป็นมิตรไปในที่ทุกสถาน สัตว์ที่เป็นศัตรูก็เป็นมิตร ถ้าใครคิดอิจฉาในผู้ที่มีเมตตาเช่นนั้นย่อมถึงความวินาศ เรื่องเหล่านี้ย่อมเห็นประจักษ์อยู่ทั่วไป

    ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ได้รับอาราธนามาเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีทอง ก็ได้กลายเป็นวัดธรรมยุตวัดที่สองของภาคอิสาน ชื่อของวัดศรีทอง ตั้งตามนิมิตมงคลที่เห็นเป็นแสงสว่างกระจ่างไปทั่วบริเวณสวนแห่งนี้ในขณะที่ประกอบพิธีถวายที่ดินยกให้เป็นที่สร้างวัดในพระพุทธศาสนา
    หลังจากมาเป็นเจ้าอาวาสได้ ๒ ปี ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ก็ได้สร้างพระอุโบสถขึ้น และผูกพัทธสีมาในปี พ.ศ. ๒๔๐๐ และได้ให้ ญาท่านสีทา ชยเสโน เป็นช่างดำเนินการสร้างหอพระแก้ว เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วบุษราคัม ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถในปัจจุบันนี้
    พระแก้วบุษราคัม องค์นี้ ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอุบลฯ มาแต่โบราณ เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ชาวเมืองอุบลราชธานีต่างพร้อมใจกันประกอบพิธีสมโภชเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ากราบนมัสการ และถวายน้ำสรงขอพร เป็นประจำทุกปี
    หลังจากวัดศรีทอง เป็นวัดธรรมยุตแล้วก็มีการขยายเพิ่มจำนวนวัดและภิกษุสามเณรมากขึ้นโดยลำดับ จนกระทั่งภาคอีสานมีวัดและพระเณรในคณะธรรมยุตมากกว่าทุกภาคในประเทศไทย


    <!--emo&:11:--><!--endemo-->(หมายเหตุ : หลวงปู่เสาร์ได้มาฝากตัวเป็นศิษย์พระมหาเถระเทวธมฺมี (ม้าว) จนกระทั้งต่อมาหลวงปู่มั่นได้เป็นลูกศิษย์หลวงปู่เสาร์ในเวลาต่อมาครับ ซึ่งส่วนนี้ก็สามารถหาอ่านได้จากประวัติของพ่อแม่ครูบาอาจารย์กันได้แล้วตามที่คณะศิษย์หรือ พระมหาเถระรุ่นถัดมาได้เขียนประวัติหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นกันไว้แล้วครับ )
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สุดท้ายนี้ ขอเชิญอ่านความเห็นของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชอีกครั้งกันเรื่องนิกายธรรมยุติกนิกายและมหานิกายครับ

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้ประทานความเห็นในเรื่องนี้ว่า

    การที่ภิกษุสงฆ์แยกออกเป็นนิกายต่างๆ ไม่ใช่เป็นการแปลกมีในทุกๆ ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา และการที่แยกกันออกไปนี้ อาจกล่าวได้ตามประวัติศาสตร์ว่าต้องมีเป็นธรรมดา ถึงพยายามรวมให้เป็นหนึ่งสักเท่าไรก็ไม่สำเร็จ อาจสำเร็จได้ชั่วคราว แต่ต่อมาไม่นานก็กลับแยกกันออกไปอีก ในศาสนาอื่นๆ ก็มีแยกเป็นลัทธินิกายต่างๆ เหมือนกัน

    การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา มิใช่อยู่ที่การพยายามเพื่อรวมนิกายสงฆ์ แต่อยู่ที่การพยายามให้พระสงฆ์ทุกนิกายตั้งอยู่ในพระธรรมวินัย

    ส่วนการรวมกันนั้น เมื่อดีเสมอกัน หรือเสื่อมเสมอกันก็รวมกันเข้าได้เอง

    ในประเทศไทย พระสงฆ์ลังกาวงศ์ได้เข้ามาหลายครั้ง เมื่อกาลล่วงไปนานก็เสื่อมหายไป ท่านผู้ต้องการฟื้นพระพุทธศาสนา คิดหาสมณวงศ์จากต้นเดิม ก็ต้องไปอาราธนามาตั้งใหม่
    จนถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เมื่อทรงผนวชทรงรับศาสนวงศ์ที่พระสงฆ์รามัญรับมาจากต้นเดิม มาประดิษฐานคณะธรรมยุติกนิกายขึ้น
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระนามฉายาเมื่อทรงผนวชว่า วชิรญาโณ ศาสนวงศ์ธรรมยุติกนิกายนี้จึงนับว่าเป็น วชิรญาณวงศ์ เพราะเป็นวงศ์ที่สืบมาจากพระองค์ (เทียบ อุบาลีวงศ์ ในศรีลังกา) และเป็นพุทธศาสนวงศ์ เพราะเป็นศาสนวงศ์ หรือสมณวงศ์ที่สืบมาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฯ.”
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงตามหาบัวกล่าวไว้ว่า หยดน้ำบนใบบัว : ตอนที่ 12 ปฏิปทาสายท่านอาจารย์มั่น

    ความเคารพบูชาอย่างสูงสุดของท่านที่มีต่อท่านอาจารย์มั่นนั้น ท่านเคยกล่าวไว้อย่างจับจิตจับใจผู้ฟังว่า
    "...พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นท่านเป็นทั้งพ่อเราทั้งแม่เรา ทุกอย่างรวมอยู่ในนั้นหมด ให้อรรถให้ธรรม ให้ข้อคิดเห็นที่จะเป็นสิริมงคล สิ่งใดไม่ดีปัดเป่าออกไปด้วยคำแนะนำสั่งสอนทุกแง่ทุกมุม จึงเป็นเหมือนกับพ่อกับแม่ของเรา เหมือนเรามีพ่อมีแม่นี่แหละ...
    เราเคารพท่านสุดขีด ในหัวใจของเรานี้อยู่กับพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นหมดเลย เราพูดจริงๆ ในบรรดาครูบาอาจารย์ทั้งหลาย เราไม่ได้ประมาทท่าน เราไม่ได้คบค้าสมาคมกับท่านสนิทติดจมจริงๆ ฝากเป็นฝากตายเหมือนพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น นี่ทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่ กิ แต่ กา แต่ เอะ แต่ เอ เรื่อยไป ท่านสอนหมดในภาคปฏิบัติธรรมนะ
    ส่วนภาคปริยัติเราก็เรียน เรียนไปแล้วแต่ไม่เป็นท่าเป็นทางอะไร เพียงแค่จดได้มา จำได้มาเฉยๆ ไม่รู้วิธีภาคปฏิบัติเป็นยังไง ท่านต้องบอก อันนี้ทำอย่างนี้ เครื่องมืออันนี้เอาไปทำอย่างนั้น เครื่องมืออันนี้ไปใช้อย่างนี้ๆ ที่เราเรียนมาเราจำได้ แต่ปฏิบัติไม่ถูก ปฏิบัติไม่เป็น อาศัยท่านพาปฏิบัติดำเนินการเรียนมานั้น เราจำได้แต่ไม่รู้จักวิธีปฏิบัติ ท่านก็หยิบออกมา อันนี้ให้ทำประโยชน์อย่างนั้น อันนั้นให้ทำประโยชน์อย่างนั้นๆ เราก็ยึดก็จับเอาได้จากท่านเรื่อยมาจนเป็นภาคปฏิบัติ
    ภาคปฏิบัติก็เอาอีกเหมือนกัน ต้องให้ท่านเป็นแม่เหล็ก เป็นเครื่องดึงดูด เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร เราอยู่ใต้ร่มโพธิ์ร่มไทร เหมือนกับกาจับภูเขาทอง... เหลืองอร่ามไปเลย กิเลสมันกลัวเวลามาอยู่กับท่าน กิเลสมันก็หมอบ อยู่กับท่านสบายๆ นี่ก็เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรอันหนึ่ง เป็นแม่เหล็กเครื่องดึงดูดเราให้มีแก่ใจประกอบความพากเพียรเอาเป็นเอาตายหนักเบาออกมาจากท่าน ได้รับการศึกษาจากท่าน ทุกสิ่งทุกอย่างท่านแนะนำเต็มภูมิ และพาปฏิบัติเต็มกำลังทุกด้าน...อันนี้ท่านสอนละเอียดลออมากทีเดียว..."
    "...พ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ท่านพาดำเนินอย่างถูกต้องแม่นยำ ถือเอาธุดงควัตร 13 นี้เป็นพื้นเพในการดำเนิน และการประพฤติปฏิบัติจิตใจของท่านก็เป็นไปโดยสม่ำเสมอ ไม่นอกลู่นอกทางทำให้ผู้อื่นเสียหาย และริจะทำเพื่อความเด่นความดัง อะไรออกนอกลู่นอกทางนั้นก็ไม่มี เป็นแนวทางที่ราบรื่นดีงามมาก นี่ละเป็นที่นอนใจ เป็นที่ตายใจ ยือถือไว้ได้โดยไม่ต้องสงสัยก็คือปฏิปทาเครื่องดำเนินของท่าน
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    (หลวงตามหาบัวกล่าวต่อในหนังสือครับ)

    มัคคาวรณ์ สัคคาวรณ์ ไม่มี เพศ ก็ตั้งขึ้นแล้ว ทางสังคมยอมรับกันทั้ง ธรรมยุต และมหานิกาย นี่เป็นความยอมรับทั่วหน้ากันแล้วในสังคม ส่วนธรรมวินัยก็เป็นที่เปิดทางให้แล้วสำหรับผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ไม่มีคำว่านิกายนั้นนิกายนี้ ขอให้เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเท่านั้น เป็นศากยบุตรของพระพุทธเจ้าได้เสมอหน้ากันหมด นี่หลวงปู่มั่นท่านแสดง
    "ผมสงสารเพื่อนฝูงของท่าน มีจำนวนมาก ถ้าท่านทั้งหลายญัตติเสียแล้ว หมู่เพื่อนก็จะเข้ากันไม่ติด ไม่ต้องญัตติแหละ"
    คำว่า เพื่อนฝูง ได้แก่ ธรรมยุต มหานิกาย ที่เขาตั้งชื่อกันอย่างนั้น...เพราะโลกเขาถือสมมติ
    "ถ้าญัตติแล้วก็เป็นฝ่านั้นฝ่ายนี้ นี่คณะของท่านมีเป็นจำนวนมาก ควรจะได้รับประโยชน์จากท่านทางด้านอรรถธรรมบ้าง จึงไม่ให้ญัตติ"

    ท่านบอกอย่างเด็ดขาดไปเลย ทางด้านปฏิบัติ สัคคนาวรณ์ มัคคาวรณ์ ไม่มีต่อ ผู้ปฏิบัติดี แต่ผู้ปฏิบัติไม่ดีนี้ไม่มีหวัง ว่างั้นเลยนะ อยู่กับข้อปฏิบัติ...ท่านเล็งผลประโยชน์โน่นนะ ท่านไม่ได้เล็งนิกายนั้นนิกายนี้นะ
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    "พอเวลาญัตติแล้วเขาก็จะถือว่าเป็นคณะนั้นคณะนี้ไปเสีย ผู้ที่ไม่เข้าใจในอรรถในธรรมมันก็เข้าไม่ถึง ผลประโยชน์ก็ขาดไป" ว่างั้น
    "เมื่อพวกท่านได้กระจายออกไปทางด้านธรรมะนี้แล้ว เวลาไปที่ไหน พวกท่านทั้งหลายนี้มีพวกมากเสียด้วย ก็ยิ่งกระจายมาก ผลประโยชน์ก็มาก จึงไม่ต้องญัตติ ดี"
    ท่านว่า "ผลประโยชน์มากกว่าญัตติ"
    ท่านพูดตรงๆ เลยละ ท่านเล่าให้ฟังนะ พูดถึงลูกศิษย์ลูกหาของท่านผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านไม่ได้ว่าธรรมยุตหรือมหานิกาย ใครปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านชมเชยทั้งนั้น นั่นละ ผู้เป็นธรรมเป็นอย่างนั้น...
    เอาหลักธรรมหลักวินัยนั่นละ เป็นหลักของพระ อันนี้เป็นหลักที่แน่ใจ ตัวเองก็อบอุ่น ไปที่ไหนเย็นละ เพราะพระมีธรรม มีวินัยมีเมตตาไปพร้อม เย็นไปหมด ไม่มีธรรมไม่มีวินัยใจดำน้ำขุ่นตีบตันอั๋นตู้ ดูไม่ได้พระใจดำน้ำขุ่นตีบตันอั้นตู้หาเมตตาไม่ได้ เป็นฟืนเป็นไฟในตัวเองก็ไปเผาบ้านเผาเมืองต่อไปอีกละ เนี่ย ไม่ดี

    ไปที่ไหนเย็น ดูจิตเจ้าของตลอด นี่ละผู้ปฏิบัติธรรม ต้องดูจิตเป็นสำคัญ ศีลก็ดีสมาธิปัญญาวิมุตติหลุดพ้นออกไปจากจิต สติปัญญารักษาจิตบำรุงจิตให้ดี...อยู่ไหนเย็นสบายไปหมด นี่ละ มรรคผลนิพพานอยู่ที่นี่ ไม่ได้อยู่ที่คนนั้นคนนี้ ชื่อนั้นชื่อนี้ นิกายนั้นนิกายนี้นะ อันนั้นตั้งไว้โก้ๆ ไปอย่างงั้นแหละ..."

    "ชื่อ" นั้น ไม่สำคัญเท่ากับ "ธรรมวินัย"
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ในเรื่องนี้ แม้ท่านก็ไม่ได้สนใจว่าจะเป็นนิกายใด ขอให้เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเท่านั้น ท่านพอใจและเข้ากันได้อย่างสนิททันที ท่านพูดอย่างเด็ดย้ำกับบรรดาพระเณรคณะดังกล่าวอีกว่า
    "...พระผู้มุ่งธรรมมุ่งวินัยด้วยกันแล้ว ไปที่ไหนสนิทกันหมด ไม่ได้เหมือนโลกนะ ไม่มีนิยมนิกายนั้นนิกายนี้ ขอให้ปฏิบัติดีเข้ากันได้สนิททันทีเลย...สำหรับหลวงตาบัวเอง ใครจะว่าบ้าก็ตาม ไม่มีชื่อ ตั้งไว้อย่างนั้น โก้ๆ ไปอย่างนั้นละ ธรรมยุตมหานิกาย ใครก็ตาม ถ้าปฏิบัติไม่ดีแล้ว จะเป็นเทวดามาจากฟ้าก็ไม่เป็นประโยชน์อะไรแหละ...
    ...แม้จะเป็นนิกายเดียวกัน ชื่อเดียวกันก็ตาม ถ้าปฏิบัติไม่ดีแล้วไม่เข้าหน้านะ ไม่อยากมองดูจนกระทั่งหน้าจะว่าอะไร ธรรมวินัยเป็นเครื่องบังคับหรือเป็นเครื่องยืนยันว่า จะเข้ากันได้สนิทหรือไม่สนิทเพราะอะไร ถ้าธรรมวินัยการปฏิบัติเข้ากันได้แล้ว เป็นศากยบุตรเหมือนกันหมด..."



    จบกระทู้นี้ด้วยความเห็นของสมเด็จสังฆราช สมเด็จญาณสังวร คำเทศน์ของหลวงตามหาบัวเรื่องธรรมยุติ และมหานิกายที่หลวงปู่มั่นกล่าวไว้และความเห็นของหลวงตามหาบัวเองครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...