พระราชปุจฉาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่มีแก่สมเด็จพระสังฆราช

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย Hma, 16 กรกฎาคม 2007.

  1. Hma

    Hma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,315
    ค่าพลัง:
    +6,426
    [​IMG]

    พระราชปุจฉาที่ 1
    ความว่า สิ่งซึ่งมีผู้อุทิศเป็นกัลปนาในอารามนั้น ๆ
    แต่กาลก่อนเป็นต้น ซึ่งบัดนี้ยับเยินสาปสูญแล้ว จะควรทำประการใด จึงไม่มีโทษ ?

    แก้พระราชปุจฉาที่ 1 (ความย่อ) สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะ 2 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    สิ่งซึ่งอุทิศเป็นกัลปนาของอารามใด มิควรนำไปอุทิศบูชาในอารามอื่น แต่ถ้าอารามเดิมไม่มีผู้รักษา จะนำมารักษาและปฏิสังขรณ์ในพระอารามอื่นก็ควร ถ้าเป็นพระพุทธรูปใหญ่โตนักนำมามิได้ จะเอาทรัพย์นี้เป็น
    กัลปนาไปจำหน่ายเป็นสัมภาระ ทำเป็นร่มขึ้นก็ได้ตามสมควร ส่วนทรัพย์ที่เหลือจะนำไปสร้างพระไตรปิฎก แล้วจารึกอุทิศเฉพาะอารามนั้น แต่นำไปรักษาไว้ในอารามอื่นไปพรางก่อน จนกว่าจะมีผู้รักษาในอารามนั้น แล้วจึงส่งคืนก็ควร สิ่งอื่นเป็นกุฎี และเตียงตั่งของสงฆ์ หรือของเจดีย์ก็เช่นเดียวกัน แต่ทั้งนี้เป็นแต่สิกขาบท ห้ามพระภิกษุฝ่ายเดียว ฝ่ายฆราวาสหากล่าวว่ามีโทษไม่








    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 2</CENTER><DD>ข้อ 1 ที่ว่าสรรพสัตว์ทั้งปวงที่เกิดมาในวัฏสงสาร ล้วนเป็นญาติกัน ก็ในศาสนาพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ที่ล่วงมาแล้ว ปรทัตตูปชีวีเปรตที่เป็นญาติของพระเจ้าพิมพิสารนั้น มิได้เป็นญาติกับคนที่เกิดในศาสนา พระเจ้าทั้ง 3 พระองค์นั้นบ้างหรือ จึงได้ทนทุกข์ทรมานรอพระเจ้าพิมพิสารอยู่ถึง 3 ชั่วพุทธันดร






    <DD>ข้อ 2 อายุของปรทัตตูปชีวีเปรต อันเป็นเศษบาปจากนรก เหตุไรจึงยืนกว่าสัตว์ในมหาอเวจีนรก ?






    <DD>ข้อ 3 อายุสัตว์ในอเวจีมหานรกนั้น กำหนดด้วยกัลป์แผ่นดินหรืออันตรกัลป์






    <DD>ข้อ 4 พระปัจเจกโพธิและพระยาจักรพรรดิ์ จะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นศาสนาพระเจ้าแห่งเราหรือไม่?






    <DD>ข้อ 5 พระอินทร์และเทวดาองค์ใหม่ จะได้วิมานและบริวารขององค์เก่า หรือได้เป็นส่วนบุญของตนเอง?







    <CENTER>แก้พระราชปุจฉาที่ 2 (ความย่อ)</CENTER>พระสงฆ์ 16 รูป มีพระสังฆราชเป็นประธาน ถวายวิสัชนาว่า
    ข้อ 1 เมื่อครั้งศาสนาพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์นั้น หมู่ญาติมิได้ระลึกถึง หรือระลึกถึงและได้อุทิศไป หากแต่เปรตมิได้อนุโมทนา เพราะหมู่เปรตจะพ้นทุกข์ได้ด้วยเหตุ 3 ประการคือ ญาติได้บำเพ็ญกุศลและอุทิศไปให้เปรตเหล่านั้นได้อนุโมทนา 1 ปฏิคาหกผู้รับทานเป็นผู้ควรแก่ทักษิณา 1 ผลทานจึงสำเร็จแด่หมู่เปรต จนมาถึงผลทานแห่งพระเจ้าพิมพิสาร
    ข้อ 2 ข้อนี้เป็นด้วยโทษที่ตนเบียดเบียนของที่ท่านอุทิศให้แก่สงฆ์ประมาณเก้าหมื่น และของที่อุทิศถวายพระเจ้า และโทษเผาโรงทานเป็นโทษอันใหญ่หลวง
    ข้อ 3 กำหนดด้วยอันตรกัลป์ คือ นับอายุมนุษย์ตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไปถึง 100 ปี ๆ ทวีขึ้นปีหนึ่ง จนถึงอสงไขยแล้วลดลง 100 ปี ถอยปีหนึ่งลงมาจนคงอยู่ 20 ปี ดั่งนี้ชื่ออันตรกัลป์
    ข้อ 4 เมื่อสิ้นศาสนาพระเจ้าแห่งเราแล้ว อายุสัตว์น้อยกว่า 100 ปี ลงไปจน 10 ปีนั้น พระปัจเจกโพธิและพระยาจักรพรรดิ์มิได้บังเกิดขึ้น ถ้าอายุสัตว์เจริญขึ้นตั้งแต่ 100 ปีจนถึงอสงไขย พระปัจเจกโพธิและพระยาจักรพรรดิ์จึงจักบังเกิด
    ข้อ 5 เทวบุตรองค์ใดองค์หนึ่งมีพระอินทร์เป็นต้น ที่มีทิพยวิมาน และบริวารเป็นอันมากนั้น เมื่อจุติแล้ววิมานและบริวารยังคงอยู่ ถ้าเทวบุตรเกิดใหม่มีบุญควรจะได้ทิพยวิมานและบริวารด้วยบุญแห่งตนเอง แต่ถ้าเป็นอากาศวิมานแล้ว เมื่อเจ้าของจุติ วิมานและบริวารก็จุติสูญไป เหตุว่าสมบัตินั้นหาควรแก่เทวบุตรองค์อื่นไม่





    </DD>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • pic03.jpg
      pic03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      39.3 KB
      เปิดดู:
      76
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2007
  2. Hma

    Hma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,315
    ค่าพลัง:
    +6,426
    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 3
    ว่าด้วยมาฆมานพเป็นพระอินทร์ มีช้างเอราวรรณแลอื่น ๆ เกิดด้วยบุญ
    แต่เมื่อผู้อื่นได้เป็นพระอินทร์จะมีช้างเอราวรรณแลอื่น ๆ เหมือนมาฆมานพฤๅไม่


    แก้พระราชปุจฉาที่ 3 (ความย่อ)
    </CENTER> สมเด็จพระสัฆราช พร้อมด้วยพระราชาคณะ 15 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    ถ้าบุคคลบำเพ็ญกุศล สมควรจะได้เป็นพระอินทร์แล้ว ก็ย่อมจะได้บังเกิดเป็นพระอินทร์ ส่วนการสร้างกุศลนั้น ก็มีต่าง ๆ กัน แต่หลักสำคัญ บุคคลจะได้เป็นพระอินทร์ ต้องบำเพ็ญวัตตบท 7 ประการ ส่วนสมบัติของพระอินทร์ก็ย่อมต่าง ๆ กัน แต่สมบัติอันเป็นหลักฐาน เช่น บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ไม้ปาริชาติ นันทนอุทยานเป็นต้นนั้น ย่อมตั้งอยู่ตราบเท่าสิ้นภัททกัลป์ และช้างเอราวัณนั้นก็เกิดขึ้นด้วยอานุภาพ เทวบุตรนิรมิต แม้ถึงเทวบุตรองค์นั้นจุติแล้ว ก็ย่อมมีเทวบุตรอื่นนิรมิตเป็นช้างเอราวัณถวายพระอินทร์ ตามประเวณีมาแต่ก่อน


    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 4</CENTER><DD>ข้อ 1 ว่าซึ่งกำหนดอายุสัตวในอเวจีมหานรกด้วยอันตรกัลป เปนด้วยเหตุใด <DD>ข้อ 2 ว่าโทษปัญจานันตริยกรรมกับโทษกินของสงฆ์ เผาโรงทาน ข้างไหนจะหนักเบากว่ากัน <DD>ข้อ 3 ว่าถ้ากัลปใดฉิบหายวันใด สัตวในอเวจีมหานรกพ้นทุกข์ในวันนั้น แลสัตวนรกนั้นพ้นทุกข์ไปทีเดียวฤๅ ฤๅกรรมให้ผลสืบไปในกัลปอื่นอีก <DD>ข้อ 4 ว่าญาติพระยาพิมพิสาร ต้องทรมานในนรกช้านานถึง 92 แผ่นดิน ด้วยเหตุใด

    <CENTER>แก้พระราชปุจฉาที่ 4 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราช พร้อมด้วยพระราชาคณะ 15 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    ข้อ 1 วิธีนับอันตรกัลป์นั้นมี 2 ประการ คือ ถ้านับอายุแผ่นดินว่านาน 64 อันตรกัลป์ ให้นับแต่อสงไขยลงมาถึง 10 ปี แล้วนับ 10 ปีขึ้นไปถึงอสงไขย เป็นอันตรกัลป์ 1 ถ้านับอายุอเวจี ให้นับอายุมนุษย์ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปถึงอสงไขย แต่อสงไขยลงมาถึง 10 ปี เป็นอันตรกัลป์ 1
    ข้อ 2 โทษอนันตริยกรรมทั้ง 5 เป็นครุกรรมโทษหนัก แต่มีกำหนดสิ้นโทษเร็ว โทษเปรตญาติพระยาพิมพิสารกินของสงฆ์ เผาโรงทาน เป็นพหลกรรมโทษมากยืดยาว กว่าจะสิ้นโทษนั้นช้านาน
    ข้อ 3 ถ้ากัลป์ฉิบหายวันใด สัตว์ในอเวจีนรกก็พ้นทุกข์ในวันนั้นทีเดียว กรรมหาให้ผลสืบไปในกัลป์อื่นอีกมิได้
    ข้อ 4 โทษกินของสงฆ์ เผาโรงทานเช่นเปรตผู้เป็นญาติพระยาพิมพิสารนั้น ชื่อว่า พหุลกรรม เป็นโทษช้านานยืดยาว แม้จะได้เสวยทุกข์เวทนาไม่สาหัสเหมือนอนันตริยกรรมก็จริง แต่เป็นอปราปรเวทนียกรรม ให้ผลยืดยาวช้านาน เมื่อไฟบรรลัยกัลป์ไหม้แผ่นดินให้สูญสิ้น และสัตว์อื่นไปเกิดในสวรรค์แล้ว อกุศลกรรมจึงยกเปรตพวกนี้ไปทนทุกขทรมาน อยู่ในจักรวาลอื่นอีกช้านานถึง 92 แผ่นดิน

    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 5</CENTER><DD>ข้อ1 ว่าพระบรมโพธิสัตวแห่งเรา เป็นพระเจ้าสมมุติวงศ์ฤๅเป็นพระอินทร์ ความเถียงกันอยู่ <DD>ข้อ 2 ว่ามาฆมานพ ซึ่งได้เป็นพระอินทร์นั้น ได้บำเพ็ญกุศลในภัทกัลป์นี้ ฤๅกัลป์อื่น

    <CENTER>แก้พระราชปุจฉาที่ 5 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะ 15 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    เมื่อแรกตั้งปฐมกัลป์ พระโพธิสัตว์เป็นพระยามหาสมมติวงศ์นั้น หาได้มีพระบาลีกำหนดวันเดือนปีว่าเท่าใดมิได้ แต่ที่มีพระบาลีว่า พระโพธิสัตว์ได้เป็นพระอินทร์ในต้นภัททกัลป์ เป็นภายหลังพระเจ้ามหาสมมติวงศ์มาช้านาน แต่ทว่าในระยะกาลที่พระอรรถกถาจารย์เรียกปฐมกัลป์ด้วยกัน ฉะนั้นการทีมาฆมานพได้เป็นพระอินทร์ ก็บำเพ็ญกุศลในภัททกัลป์นี้
    </DD>
     
  3. Hma

    Hma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,315
    ค่าพลัง:
    +6,426
    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 6</CENTER><DD>ข้อ 1 ว่ามีพระบาฬีว่า อสูรคิดถึงต้นปาริกชาติ จึงขึ้นไปทำสงครามกับพระอินทร์ดังนี้ เห็นเปนหนึ่งว่าต้นปาริกชาติเกิดอยู่ก่อนพระอินทร์ <DD>ข้อ 2 ว่าต้นปาริกชาติเกิดเพราะบุญของพระอินทร์ แล้วจะเอาเป็นไม้ประจำทวีปได้ฤๅ <DD>ข้อ 3 ว่าเมื่อแรกตั้งปฐมกัลปหามีดาวดึงส์ไม่ ต่อพระอินทร์ชนะเนวาสิกแล้ว จึงได้ชื่อว่าดาวดึงส์ ถ้าดังนั้นเห็นว่าจักรวาฬอื่นไม่มีพระอินทร์ และเรื่องที่พระอินทร์วิวาทกับอสูรนั้น มีทุกขจักรวาฬหรือไม่

    <CENTER>แก้พระราชปุจฉาที่ 6 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะ 15 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    ข้อ 1 พระอินทร์บังเกิดก่อน ต้นปาริกชาติบังเกิดภายหลังด้วยบุญของพระอินทร์ และที่อสูรขึ้นไปทำสงครามกับพระอินทร์ นั้นก็เพราะเห็นต้นแคฝอยอันเป็นไม้ใหญ่ ประจำทวีปของตนเผล็ดดอก จึงชวนให้นึกถึงต้นปาริกชาติและพิภพเดิมของตน
    ข้อ 2 มีพระบาลีกล่าวว่า ต้นปาริกชาติเกิดภายหลังด้วยบุญของพระอินทร์ เป็นไม้ใหญ่ประจำดาวดึงส์ แม้ต้นแคฝอยประจำทวีปในอสูรพิภพก็เกิดขึ้นภายหลังด้วยบุญของพวกอสูร เมื่อพวกอสูรไปอยู่แล้ว ถึงต้นไม้ใหญ่ประจำปวีปอีก 5 แห่งนั้นก็ดี มิได้มีพระบาลีว่าเกิดพร้อมกับตั้งกัลป์ตั้งแผ่นดิน มีพระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม้ประจำทวีปก็เพราะว่าเกิดขึ้นในส่วนเป็นปฐม แล้วมีอายุยืนไปชั่วกัลป์แผ่นดิน
    ข้อ 3 ในจักรวาลอื่น ก็มีพระอินทร์เหมือนกัน แต่พระอินทร์ในจักรวาลอื่น จะวิวาทกับอสูรเหมือนมงคลจักรวาลนี้หรือไม่ ยังมิได้พบพระบาลีกล่าวไว้

    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 7
    ว่าด้วยโทษที่ล่วงเกินในสงฆ์ จะมีวิธีลุกโทษอย่างใด

    แก้พระราชปุจฉาที่ 7 (ความย่อ)
    </CENTER> สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะทั้งปวง ถวายวิสัชนาว่า
    ผู้ใดด่าพระอริยเจ้า พระสงฆ์ ถ้าขอขมาโทษแล้วก็หาย ถ้าท่านไปเสียที่อื่นจะตามไปมิได้ ให้ขมาในสำนักพระเถระหรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ถ้าท่านมรณภาพแล้วให้ขมาในที่เผา ถ้ากินของสงฆ์ ต้องใช้ให้มากกว่าของเดิมหลายร้อยหลายพันเท่าจึงหมดโทษ เว้นไว้แต่ที่เป็นมหันตโทษ ๆ นั้นไม่หาย

    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 8
    ว่าด้วยอานิสงส์ซึ่งยิ่งกว่ากันเป็นชั้น ๆ ตั้งแต่บุคคลิกทาน
    จนถึงจำเริญพระไตรลักษณาญาณกับอานิสงส์บำรุงยกพระศาสนา ใครจะยากกว่ากัน


    แก้พระราชปุจฉาที่ 8 (ความย่อ)
    </CENTER> สมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะ 10 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    ทั้งนี้กล่าวโดยอาศัยไตรสรณาคมน์เป็นโลกีย์ ศีลเป็นโลกุตรและเมตตาภาวนา ซึ่งถึงอัปนาฌานและการเป็นพระไตรลักษณ์อันใกล้มรรคผลอยู่แล้ว ถ้าเป็นปุถุชนและรักษาพระไตรสรณาคมน์ ศีล 5 ศีล 8 อันเป็นโลกีย์จำเริญ เมตตายังมิได้ถึงฌาน จำเริญวิปัสสนา มิได้ถึงมรรคผล จะนับว่ามีผลานิสงส์ ยิ่งกว่าท่านบำรุงยกย่องพระศาสนายังมิได้ เพราะการทำนุบำรุงยกย่องพระศาสนาเป็นปฏิบัติบูชา มีผลานิสงส์มากกว่าสิ่งเหล่านี้

    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 9</CENTER><DD>ข้อ 1 ว่าในจักรวาฬอื่นรักษาศีลหรือไม่ ถ้ารักษาศีล ผู้ใดสั่งสอน เมื่อมิรู้จักองค์แห่งศีล จะจัดเอาเป็นศีลได้ฤๅไม่ <DD>ข้อ 2 ว่านิยตมิจฉาทิษฐิประพฤติพอต้องเข้าในศีล 5 ศีล 8 จะจัดเอาเป็นศีลได้ฤๅไม่ ถ้าเปนศีลได้แล้วจะไปนรกฤๅไม่

    <CENTER>แก้พระราชปุจฉา (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะทั้งปวง ถวายวิสัชนาว่า
    ข้อ 1 ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 เป็นโลกบัญญัติ นักปราชญ์ปฏิบัติสืบ ๆ กันมา เห็นว่ามีรักษาทั่วไปในจักรวาลอื่น เช่น ดาบสฤๅษีอันเป็นธรรมวาที ย่อมอธิษฐาน ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 นี้ด้วยตัวเอง แล้วสั่งสอนผู้อื่นให้รักษาชาวอุตตรกุรูก็รักษาศีล 5 เป็นปกติ ดังนี้ เป็นต้น
    ข้อ 2 ถ้าประพฤติต้องเข้าไปในศีล 5 ศีล 8 ก็เห็นว่าเป็นศีลได้ ชื่อว่าสัมปัตตวิรัติศีล แต่ถึงมาตรว่าปฏิบัติต้องเข้าในสัมปัตตวิรัติศีลก็ดี ถ้านิยตมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้นยังมิได้ละทิฏฐิอันผิดแล้ว ยังถือว่าทำบุญไม่ได้บุญทำบาปไม่ได้บาป และมิได้นับถือคุณพระรัตนตรัย ครั้นตายไปก็ต้องไปตกในโลกันตนรก อานิสงส์สัมปัตตวิรัติศีลหาอาจช่วยได้ไม่
    </DD>
     
  4. Hma

    Hma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,315
    ค่าพลัง:
    +6,426
    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 10</CENTER><DD>ข้อ 1 ว่าด้วยอานิสงส์บุญแห่งสัมปัตตวิรัติศีล นิยตมิจฉาทิฐิปฏิบัติพอต้องเข้าแล้ว พลอยสิ้นสูญไปด้วย ฤๅจะให้ผลสืบไป <DD>ข้อ 2 ว่าด้วยธรรมดาศีล แห่งประพุทธมารดานั้น เกิดด้วยบุญพระพุทธมารดา ฤๅเกิดด้วยอานุภาพบุญแห่งพระโพธิสัตว <DD>ข้อ 3 ว่าด้วยนิยติมิจฉาทิฐิ จะพ้นจากสังสารทุกข์ได้ฤาไม่
    <CENTER>แก้พระราชปุจฉาที่ 10 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราช พระพุฒาจารย์ พระธรรมไตรโลก พระธรรมเจดีย์ พระเทพมุนี พระโพธิวงศ์ พระพุทธโฆษา พระเทพกวี 9 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    ข้อ 1 อานิสงส์แห่งสัมปัตตวิรัติศีลนั้น เป็นอปราปรเวทนียกรรม ซึ่งโทษนิยตมิจฉาทิฏฐิกำหนดที่สุดแห่งทุกข์ ถ้าโทษนั้นเคลื่อนคลายเมื่อใด สัมปัตตวิรัติศีลจะให้สำเร็จเมื่อนั้น หาสูญไม่
    ข้อ 2 ธรรมดาศีลแห่งพระพุทธมารดานั้น เกิดด้วยบารมีของพระพุทธมารดา และอานุภาพบุญแห่งพระโพธิสัตว์ อันเป็นปัจฉิมภวิกชาติประกอบกัน
    ข้อ 3 นิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคลนั้น จะพ้นมาจากโลกันตนรกได้ด้วยกุศลอันเป็นอปราปรเวทนียกรรม และเมื่อได้มาเกิดในมนุษยโลกแล้ว ถ้าได้บำเพ็ญกุศลเป็นวิวัฏฏคามีกุศล ปราถนาพระนิพพาน ก็จะได้พ้นจากทุกข์ได้สำเร็จแก่พระนิพพาน แต่ทว่าเนิ่นนานหนักหนา จะกำหนดด้วยพุทธญาณนั้นมิได้

    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 11
    ว่าด้วยของสงฆ์ซึ่งโจรลักฤๅมีผู้ขุดร่อนได้
    <DD>ผู้ได้ของนั้นมาไม่รังเกียจ สงสัย นำมาใช้สรอยเอง ฤๅให้ปันผู้อื่น จะมีโทษฤๅไม่

    แก้พระราชปุจฉาที่ 11 (ความย่อ)
    </CENTER> สมเด็จพระสังฆราช และ พระราชาคณะทั้งปวง ถวายวิสัชนาว่า
    แก้วแหวนเงินทองเหล่านั้น เมื่อตกเป็นของบุคคลแล้ว มีผู้ซื้อหาแลกเปลี่ยนบริโภคใช้สอย ด้วยเจ้าตัวมิได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจสงสัย เข้าใจว่าเป็นของบริสุทธิ์แล้ว ก็หาโทษมิได้ เพราะกรรมทั้งหลายมีเจตนาเป็นของสำคัญ เช่นเดียวกับภิกษุฉันเนื้ออันบริสุทธิ์ สามประการ

    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 12
    ว่าด้วยท้าวสุทธาวาศมหาพรหม มาดูดอกบัวเป็นบุพนิมิตร
    <DD>ถ้าแผ่นดินเปนสูญกัลปก็ดี อสงไขยกัลปก็ดี ท้าวสุทธาวาศมหาพรหมองค์ใด จะมาดูดอกบัวนั้นเล่า

    แก้พระราชปุจฉาที่ 12 (ความย่อ)
    </CENTER> สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะ 8 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    เมื่อสิ้นพระอริยเจ้าในชั้นสุทธาวาสแล้ว ยังแต่ท้าวมหาพรหมอันเป็นปุถุชน ก็พากันลงมาดูปทุมนิมิต ตามประเพณี เช่นเดียวกับพระอริยเจ้าในชั้นสุทธาวาส แต่ทว่าต่อนาน ๆ จึงจะมีสักครั้ง
    </DD>
     
  5. Hma

    Hma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,315
    ค่าพลัง:
    +6,426
    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 13
    ว่าด้วยพระพุทธโฆษาจารย์ถวายเทศนา เรื่องพระโพธิสัตว
    เสวยพระชาติเปนพระยากระต่าย เนื้อความไม่ต้องกับพระพุทธฎีกา

    แก้พระราชปุจฉาที่ 13 (ความย่อ)
    </CENTER> พระพุทธโฆษาจารย์ ถวายวิสัชนาว่า
    ถวายพระพรรับสารภาพว่า อาตมภาพถวายพระธรรมเทศนาเป็นสติสัมโมหะ ปราศจากปัญหา ถือแต่วาระพระบาลี มิได้ทันพิจารณาในอรรถาธิบาย จึงเข้าใจโดยอรรถอันผิด ขอพระราชทานอภัยโทษ


    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 14
    ว่าด้วยสาวกภูมิ เมื่อยังสร้างบารมี จะบังเกิดในจักรวาฬอื่นบ้างหรือไม่

    แก้พระราชปุจฉาที่ 14 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะทั้งปวง ถวายวิสัชนาว่า
    พระสาวกที่บำเพ็ญบารมีจนได้ลัทธยาเทศแล้ว มิได้ไปเกิดในจักรวาลอื่น ด้วยเหตุ 2 ประการคือ อธิการมีทานบริจาค เป็นฉันทาธิการอันยิ่งนัก 1 ฉันทตา คือ มีความปรารถนา เป็นฉันทาธิปดี มั่นในอรหัตภูมิ มิได้จลาจลหวั่นไหว 1


    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 15
    ว่าด้วยผู้สมาทานศีล 5 แล้วไปประมาทขาดศีล
    กับผู้ที่ไม่ได้สมาทาน แลไปกระทำปาณาติบาต อทินนาทาน เปนต้น
    ใครจะมีโทษมากกว่ากัน แลผู้ที่ประมาทขาดศีล ฤๅลาศีล ฤๅมีศีลด่างพร้อย เหล่านี้ จะมีโทษประการใด

    แก้พระราชปุจฉาที่ 15 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะทั้งปวง ถวายวิสัชนาว่า
    ผู้ได้รับศีล 5 หรือมิได้นับก็ดี เมื่อล่วงศีลพร้อมด้วยองค์แล้ว ก็ชื่อว่าขาดศีลเหมือนกัน แต่ผู้รับศีลโทษน้อย เพราะมีเมตตาจิต และหิริโอตัปปะ ส่วนผู้มิได้รับศีลมีโทษมาก เพราะปราศจากหิริโอตัปปะ ส่วนผู้สมาทานศีล 8 แล้วประมาทขาดอพรหมจริยา เป็นโทษให้เดือดร้อน กินแหนง เศร้าหมอง เป็นคลองอกุศลกรรมบท จะให้ไปสู่อบายภูมิ ส่วนอีก 3 ข้อ ไม่เป็นคลองแห่งอกุศลกรรมบท แต่เป็นโทษในบัญญัติ ทำให้ศีลทั้งปวงเศร้าหมอง ส่วนผู้รับศีล 8 แล้วรักษาไปไม่ได้ ลาเสีย ก็เป็นโทษตามตำแหน่งศีล แต่ทว่าเบากว่ามิได้ลา (นอกนั้นมิได้แก้โดยตรง)


    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 16
    ว่าด้วยเมื่อพระพุทธศาสนา ครบ 5000 ปี แล้ว
    มีผู้ประทุษร้ายต่อเจดียฐาน คือพระพุทธรูปเปนต้น จะมีโทษฤๅไม่

    แก้พระราชปุจฉาที 16 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราช พระพิมลธรรม พระพุทธโฆษา พระโพธิวงศ์ พระปรากรม พระญาณสิทธิ พระธรรมโฆษา 7 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    เมื่อพระพุทธศาสนาครบ 5000 ปีแล้ว ถ้าบุคคลมีเจตนาเป็นอกุศล ไปกระทำประทุษร้ายในเจดีย์ฐานนั้น ๆ ผู้นั้นก็ได้บาปมาก


    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 17
    ว่าด้วยปลาว่ายน้ำตามสำเภาฟังธรรม
    แลนกแขกเต้าซึ่งภาวนาอัฏฐิกรรมมัฏฐาน กลับชาติมาเปนมนุษย์ ได้สำเร็จมรรคผล
    แก้พระราชปุจฉาที่ 17 (ความย่อ)</CENTER>
    สมเด็จพระสังฆราช ถวายวิสัชนาว่า
    ปลาและนกแขกเต้านั้น จะได้พระอรหัตต์เพราะฟังธรรม และบริกรรมอัฏฐิกรรมฐานเท่านั้นหามิได้ อาศัยบารมีได้สร้างสมอบรมมามากแก่บริบูรณ์แล้ว จึงได้บรรลุพระอรหัตต์ แต่ที่กล่าวเพียงเท่านั้น ว่าเป็นสังเขปคาถา
     
  6. Hma

    Hma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,315
    ค่าพลัง:
    +6,426
    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 18
    ว่าด้วยพระธรรมเจดีย์ถวายเทศนา ว่าด้วยเกิดในอขณะอสมัย ไม่ควรรักษาพรหมจรรย์

    แก้พระราชปุจฉาที่ 18 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราช พระพุฒาจารย์ พระพิมลธรรม พระธรรมโคดม พระพุทธิโฆษา พระเทพมุนี 6 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    ซึ่งพระธรรมเจดีย์ถวายพระธรรมเทศนาว่า สัตว์อันเกิดในอขณะอสมัย 8 จำพวก ไม่ควรรักษาพรหมจรรย์นั้น ว่าแต่โดยย่อตามพระบาลี อขณะอสมัยศัพท์นั้นมิได้แปลว่า ไม่ควรจะรักษาพรหมจรรย์ อขณะศัพท์แปลว่าใช่ขณะจะเกิด ๆ แล้วเปล่าเสียมรรคผล อสมัยแปลว่าใช่กาลจะตรัสรู้มรรคและผล และคำว่าพรหมจรรย์นั้นมีอรรถาธิบายได้ถึง 12 ประการ สัตว์ที่เกิดในอขณะอสมัยนั้นถึงแม้จะรักษาพรหมจรรย์ก็ไม่ได้ครบทั้ง 32 ประการ หรือบางพวกก็ไม่ได้เลย คำที่กล่าวว่าอขณะอสมัยนั้นเป็นเยภุยยนัย ตามที่เป็นไปโดยมาก


    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 19</CENTER><DD>ข้อ 1 ว่าด้วยทรัพย์ซึ่งปรับไหมจากผู้ลักของสงฆ์ ทรัพย์นั้นจะควรทำประการใดจึงจะพ้นโทษ <DD>ข้อ 2 ว่าด้วยสัตวนรกที่กำหนดอายุด้วยพุทธันดร ถ้าพุทธันดรยาวออกไป สัตว์นั้นจะมิต้องทนทุกข์มากไปฤๅ
    <CENTER>แก้พระราชปุจฉาที่ 19 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะ 10 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    ข้อ 1 ทรัพย์ที่ปรับไหมได้นั้น แล้วแต่เจตนาของพระเจ้าแผ่นดิน จะเอาไปบูชาพระรัตนตรัยก็ควร
    ข้อ 2 พุทธันดรนั้นหาได้เท่ากันหมดไม่ สัตว์เสวยทุกขเวทนา มีกำหนดช้าบ้างเร็วบ้างตามผลกรรม

    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 20
    ว่าด้วยนาคทั้งปวงกลัวมนต์อาลัมภายน์ แต่เจ้าสุทัสน์แลนางอัจจมุขีนั้นไม่กลัวฤๅ

    แก้พระราชปุจฉาที่ 20 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะ 7 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    ทิพยมนต์ของอาลัมภายน์นั้นเป็นทิพยมนต์ครุฑ ได้มาแต่สำนักดาบส แต่นาคทั้งหลายที่เกิดในสกุลทั้ง 7 มีสกุลธตรฐ เป็นต้น หากลัวครุฑทำอันตรายไม่ นาคที่กลัวครุฑจำเพาะแต่ที่เกิดในสกุลต่ำกว่าสกุลทั้ง 7 นั้น พระภูริทัตเกิดในสกุลธตรฐ จึงไม่กลัวทิพยมนต์ แต่เพราะเหตุที่จำศีล จึงไม่ทำอันตรายแก่อาลัมพายน์ ๆ จึงทำได้ตามปราถนา เพราะกลัวศีลขาด และพระสุทัศน์กับนางอัจจมุขีก็เกิดสกุลเดียวกับพระภูริทัตจึงมิได้กลัว

    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 21
    ว่าด้วยเรื่องสึกภิกษุลาวเสียแล้วบวชใหม่
    ปฤกษาว่ามีบรรพชาโทษเพราะอักขรวิบัตินั้น มีพระพุทธบัญญัติว่า อักขระภาษาอื่นผิดเพี้ยนไม่เป็นบรรพชาอุปสมบท ฤๅมีพระพุทธบัญญัติไว้ว่า เหตุที่จะเปนบรรพชาอุปสมบทได้กี่ประการ ไม่เปนบรรพชาอุปสมบทกี่ประการ
    แก้พระราชปุจฉาที่ 21 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะ 7 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    ซึ่งกุลบุตรในประเทศเมืองลาว มอญ พม่า เขมร บรรพชาอุปสมบทในภาษาของตนนั้น ย่อมสวดกรรมตามพระบาลีมคธภาษาอย่างเดียว และนักปราชญ์ต่าง ๆ ในประเทศเหล่านั้น ย่อมรู้มคธภาษา มิได้สวดให้ผิดอักขระบรรพชาอุปสมบทนั้นก็สมบูรณ์ นานมากุลบุตรในภายหลังมิได้รู้บาลี ว่าอักขระให้ผิดไป บรรพชาอุปสมบทก็ไม่สมบูรณ์ จึงให้สึกเสียแล้วบวชใหม่

    </DD>
     
  7. Hma

    Hma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,315
    ค่าพลัง:
    +6,426
    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 22</CENTER><DD>ข้อ 1 ว่าด้วยคนใบ้หนวกจะอุปสมบทได้ฤๅไม่ <DD>ข้อ 2 ว่าด้วยบุคคลกล่าวอักขระวิปลาศจะอุปสมบทได้ฤๅ ไม่ <DD>ข้อ 3 ว่าด้วยบุคคลกล่าวอักขระเสียงเบาดังเสียงกา จะสวดปาติโมกข์ รับไตรสรณาคมน์ บรรพชาควรฤๅไม่ <DD>ข้อ 4 ว่าด้วยคนพูดไม่ชัด จะดีกว่าคนใบ้ บอด หนวก ฤๅไม่ แลจะบรรพชาอุปสมบทได้ฤๅไม่ <DD>ข้อ 5 ว่าด้วยบุคคลกล่าวอักขระวิปลาศ แลเจ้านาคมีอาพาธ 5 ประการ แล้วกล่าวปฏิเสธว่าไม่มี จะมิเปนมุสาฤๅ จะอุปสมบทเปนภิกขุได้ฤๅไม่ <DD>ข้อ 6 จะสำคัญสิ่งไรจึงจะรู้ว่าอักขระบริบูรณ์
    <CENTER>แก้พระราชปุจฉาที่ 22 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะ 22 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    ข้อ 1 คนใบ้หนวก มิควรให้บรรพชาอุปสมบท แต่เมื่อให้บรรพชาอุปสมบทแล้ว ก็ย่อมเป็นภิกษุ หากพระแต่พระอุปฌาย์ และคณะสงฆ์ผู้ให้บวชเป็นโทษทั้งสิ้น
    ข้อ 2 ถ้าสงฆ์จะให้อุปสมบท อย่าให้ผิดเพี้ยนบทอักขระ พยัญชนะ และกรรมจึงเป็นธรรม ให้บรรพชาเป็นสามเณร พึงกล่าวพระไตรสรณาคมน์ให้ถูกต้องทั้งศิษย์และอาจารย์จึงจะควร อนึ่ง ถ้าอนุญาตให้อาเทศได้ตามสูตรโทธสฺสจ ในคัมภีร์มูลนั้นแล้ว ภายหลังจะมีผู้อาเทศอักขระในพระไตรสรณาคมน์ต่าง ๆ กันได้ตามชอบใจ เห็นไม่สมควร
    ข้อ 3 เรื่องพระอุทายีนั้น ก่อนจะสวดปาติโมกข์ก็ได้บอกให้รู้แล้วว่า เสียงของตนเป็นดังนั้น แต่ก็ได้พยายามจะสวดให้ดีอยู่ เมื่อพยายามด้วยเจตนาอันดีแล้ว แม้จะสวดไม่คล่องเบาไป ก็หาโทษมิได้ และพระอุทายีนั้น สวดปาติโมกข์ก็ดี ว่าพระไตรสรณาคมน์บรรพชาก็ดี จะได้ผิดอักขระหามิได้ หากแต่เสียงดุจเสียงกา ไม่สละสลวยเท่านั้น
    ข้อ 4 คนพูดไม่ชัด เพี้ยนอักขระนั้น ดีกว่าคนใบ้ บอด หนวก เพราะยังจะสอนได้อยู่ บรรพชาอุปสมบทได้
    ข้อ 5 ที่มิได้ถามถึงการกล่าวอักขระวิปลาสในเวลาอุปสมบท ก็เพราะว่าการบรรพชาเป็นสามเณรนั้น มีอาจารย์ผู้ให้พระไตรสรณาคมน์ชำระมาก่อนแล้ว จึงมิได้ถามซ้ำด้วยเรื่องพระไตรสรณาคมน์ ถามถึงอันตรายิกธรรมอันเป็นกิจอุปสมบทต่อไปทีเดียว
    คนมีอาพาธ 5 ประการ เมื่อพระกรรมวาจาถามก็ปฏิเสธนั้น หาเป็นมุสาวาสไม่ เพราะเป็นคำว่าตามพระพุทธบัญญติ เช่นเดียวกับถามว่า "มารดาบิดาอนุญาตแล้วหรือ?" ถ้ามารดาบิดาตายแล้ว ก็จะได้อนุญาติที่ไหน แต่ก็คงรับว่า "อามภนฺเต" เหมือนกัน ฉะนั้นการที่ผู้นั้นอุปสมบทก็เป็นภิกษุ แต่ว่าสงฆ์รู้ว่าผู้นั้นมีอาพาธ 5 ประการ แล้วให้อุปสมบทก็เป็นโทษ แต่ถ้าไม่รู้ก็หาโทษมิได้
    ข้อ 6 คนใบ้ บอด หนวก นั้น มีพุทธบัญญติห้ามมิให้บวชเลย

    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 23
    ว่าด้วยพระ ฯ โปรดแต่คนใบ้ บอด หนวก แลคนเป็นอันตรายิกธรรมดอกฤๅ
    แลคนที่ว่าอักขระวิปลาศนั้น โทษมีประการใดจึงไม่โปรด ถ้าดัดแปลงสั่งสอนมิได้
    แล้วจะสวดญัตติให้เป็นภิกษุทีเดียวเหมือนคนใบ้ บอด หนวก นั้นจะได้ฤๅไม่

    แก้พระราชปุจฉาที่ 23 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะทั้งปวง ถวายวิสัชนาว่า
    การบรรพชาอุปสมบท ต้องอาศัยพระไตรสรณาคมน์เป็นมูล อาจารย์ผู้จะให้และศิษย์ผู้จะรับ ต้องว่าให้ถูกอักขระ พยัญชนะ ฐานกรณ์ การบรรพชาอุปสมบทจึงจะบริบูรณ์ และคนว่าอักขระวิปลาส จะพิพากษาว่า มีศรัทธาอุตสาหะอยู่ แต่หากว่าวิปลาสไป ให้บรรพชาอุปสมบทเกิดเช่นนี้ เห็นว่ายังเบาไป ไม่ต้องด้วยหลักในพระวินัย จะเป็นทิฏฐานุคติฟั่นเฟือนสืบไป

    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 24</CENTER><DD>ข้อ 1 ว่าด้วยบุคคลรับพระไตรสรณาคมน์แลศีล 10 บวชเป็นสามเณร จะกำหนดเอาวาจาภาษาเปนประมาณฤๅ ๆ จะกำหนดเอาศรัทธาเจตนาเปนประมาณ ข้างไหนจะดีกว่ากัน <DD>ข้อ 2 ว่าสมเด็จพระพุทธเจ้าตรัสเทศนาโปรดสัตว กำหนดเอาอักขระเปนประมาณ ฤๅกำหนดเอาจิตรศรัทธาเปนประมาณ
    <CENTER>แก้พระราชปุจฉาที่ 24 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะทั้งปวง ถวายวิสัชนาว่า
    ข้อ 1 ตามพระวินัย ภิกษุจะให้บรรพชาต้องว่าไตรสรณาคมน์ให้ถูกต้อง ทั้งอาจารย์และศิษย์ จึงจะเป็นสามเณรทรงไตรสรณาคมน์และศีล 10 หาได้ถือเอาศรัทธาอุตสาหเป็นประมาณไม่ เพราะพระพุทธเจ้าบัญญัติวินัยสิกขาบท หาได้บัญญัติเอาแต่จิตสิ่งเดียวเป็นประมาณไม่ ต้องพร้อมด้วย กาย วาจา จิต ส่วนผู้มีศรัทธาจิต แต่ว่าอักขระไม่ชัดไม่ถูกก็บรรพชาไม่ขึ้น ดีแต่ฝ่ายปฏิบัติ แต่ฝ่ายใดจะดีกว่ากันนั้น ยังไม่พบพระบาลี
    ข้อ 2 พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาในพระไตรปิฎก กำหนดเอาวาสนา ศีล ศรัทธา สติ วิริยะ สมาธิ ปัญญาของสัตว์เป็นประมาณ แต่การบรรพชาอุปสมบท เป็นพุทธประเวณี เป็นกิจเฉพาะในพระวินัย
    </DD>
     
  8. Hma

    Hma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,315
    ค่าพลัง:
    +6,426
    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 25</CENTER><DD>ข้อ 1 ในพระบาฬีว่า คนกระทำบาปในชาติก่อน ครั้นมาเกิดชาตินี้จึงบรรดาลให้กายวิปริตไปต่าง ๆ คือ มือด้วน เท้ากุด เป็นต้น ก็ผู้ที่มีศรัทธาจะบวชในศาสนา แต่มีกายวิปริต เช่นลิ้นคับปาก ไม่สามารถจะว่าอักขระให้ชัดได้ พระสงฆ์ไม่ยอมให้บวชนั้น จะว่าเพราะบาปอันใด <DD>ข้อ 2 ว่าคนแก่ฟันหัก ก็คงจะว่าอักขระไม่ชัด เหตุไฉนจึงบรรพชาอุปสมบทไม่ได้ <DD>ข้อ 3 ว่าด้วยทารกซึ่งพอจะเปิบข้าวแลขับกาได้ ก็คงจะยังพูดไม่ชัด เหตุไฉนจึงว่าบรรพชาเป็นสามเณรได้ <DD>ข้อ 4 ว่าด้วยสามเณรภิกษุ ลาว เขมร จีน ญวณ ชาวเหนือ บรรดาที่ว่าอักขระไม่ชัด ว่าไม่เปนภิกษุสามเณรนั้น จะเรียกว่าเปนอันใด แลเธอเหล่านั้นจะมีโทษบาปกรรมอันใด
    <CENTER>แก้พระราชปุจฉาที่ 25 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะทั้งปวง ถวายวิสัชนาว่า
    ข้อ 1 คนลิ้นคับปากพูดไม่ชัดนั้น เกิดแต่อกุศลกรรมที่ตนกล่าววจีทุจริต 4 เป็นเศษบาปติดมา พระพุทธเจ้าก็โปรดเหมือนกัน แต่โปรดตามวาสนาบารมี แต่ในการบรรพชาอุปสมบท เฉพาะให้ว่าอักขระถูกจึงให้บวชได้
    ข้อ 2 คนชราฟันหักว่าอักขระ อันเป็นฐานกรณ์เกิดแต่ฟันไม่ชัด บวชเป็นภิกษุได้ แต่เป็นโทษแก่อุปัชฌาย์ และคณะสงฆ์ผู้ให้บวช
    ข้อ 3 ซึ่งว่าอนุญาตให้ทารกซึ่งพอจะเปิบข้าวและขับกาได้ ให้บรรพชาเป็นสามเณรได้นั้น เฉพาะทารกที่ขับกาได้เองโดยไม่มีผู้สอน และพอจะสอนให้ว่าไตรสรณาคมน์ได้ชัด จึงจะอนุญาติให้บวชเป็นสามเณรได้ ทารกอ่อนที่ว่าไม่ชัดก็หาอนุญาติไม่
    ข้อ 4 ภิกษุสามเณร ลาว จีน ญวน เขมร ประเทศเหนือต่าง ๆ นั้น เป็นบรรพชาอุปสมบทที่สมมุติกันตามประเทศภาษา มิได้พิพากษาว่าเป็นหรือมิเป็น และจะเรียกชื่อว่าอันใด ก็เหลือสติปัญญาพ้นวิสัย จะได้มีโทษในเถยยสังวาสลักเพศหามิได้ เพราะมีเจตนาจะบวช และมีผู้สมมุติให้ไม่ได้นุ่งห่มกาสาวพัสตร์เอาเอง หามีโทษอาจินกรรมอันใดไม่

    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 26
    ว่าด้วยผู้ที่ไม่เปนอุปสัมบันแลปาราชิก
    บุคคลให้อุปสมบทกุลบุตรแลทำสังฆกรรมต่าง ๆ จะเป็นสังฆกรรมฤๅไม่

    แก้พระราชปุจฉาที่ 26 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะ 12 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    ถ้าพระสงฆ์ไม่รู้ และผู้อุปสมบทไม่ขึ้นเป็นการเกินกว่าองค์ คณะสงฆ์ที่มีบัญญัติให้ทำกรรมนั้น ๆ ได้แล้ว จะเป็นอุปัชฌาย์ กรรมวาจา หรือทำสังฆกรรมใด ๆ ก็ดี ก็เป็นอันกระทำและสำเร็จได้ด้วยดีทั้งนั้น

    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 27
    ว่าด้วยปาราชิกเปนคู่สวด
    บวชกุลบุตรเปนภิกษุได้แล้ว จะหัดสวดให้ถูกฐานกรณ์ไป ต้องการอะไร

    แก้พระราชปุจฉาที่ 27 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะ 22 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    มีบาลีว่า ถ้าภิกษุจะกล่าวกรรมวาจามิได้บริบูรณ์ กรรมวาจาและอนุสาวนะนั้นดีอยู่ มิได้เป็นปาราชิกกุลบุตรผู้บวชนั้นมิเป็นภิกษุ ถ้ากรรมวาจาอนุสาวนะเป็นปาราชิก กล่าวกรรมวาจาบริบูรณ์ กุลบุตรผู้บวชนั้นก็เป็นภิกษุอันดี เพราะกรรมวาจามีคนทุศีลสวดนั้น ได้ชื่อว่าสงฆ์สวด สวดด้วยอาณัติของสงฆ์ และสงฆ์ก็สำคัญกว่า คนทุศีลนั้นเป็นภิกษุดีอยู่

    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 28
    ว่าด้วยผู้ร้ายลอกทองพระพุทธรูป จะบรรพชาอุปสมบทขึ้นหรือไม่
    แก้พระราชปุจฉาที่ 28 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะ 22 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    บุคคลอันลอกทองพระ และหล่อหลอมพระพุทธรูปเงินทองนั้น ไม่มีบาลีห้ามบรรพชาอุปสมบท แต่เห็นว่าสันดานแห่งคนพวกนี้หยาบช้ายิ่งนัก พระปฏิมากรเป็นที่ควรเคารพบูชาของสัตว์โลกยังทำลายได้ กรรมของคนพวกนี้เป็นกรรมหนัก มีโทษมากเช่นเดียวกับอนันตริยกรรม ถ้าจะให้เข้าบวชในศาสนา สันดานเคยหยาบช้าอยู่แล้ว เกรงจะทำกรรมหยาบช้าต่อไปอีก ไม่รักที่จะสงเคราะห์ให้บุคคลจำพวกนี้ ได้บรรพชาอุปสมบทในศาสนาเป็นอันขาดทีเดียว

    </DD>
     
  9. Hma

    Hma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,315
    ค่าพลัง:
    +6,426
    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 29
    ว่าด้วยเศวตฉัตรมีกี่ชั้น

    แก้พระราชปุจฉาที่ 29 (ความย่อ)</CENTER> พระธรรมอุดม พระพุทธโฆษาจารย์ ถวายวิสัชนาว่า
    ในพระบาลีอรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์ศาสนาหลายแห่ง กล่าวได้ต่าง ๆ กัน บางแห่งก็ว่า เศวตฉัตร 7 ชั้น บางแห่งก็ว่า เศวตฉัตรมีชั้นเป็นอันมาก บางแห่งก็ว่าฉัตรชั้นน้อยซ้อนฉัตรชั้นใหญ่ต่อ ๆ กันขึ้นไปตามลำดับ ที่เรียกว่า "ฉัตตาธิฉัตร" บางแห่งก็ว่าเศวตฉัตรประดับด้วยดอกไม้ทอง มีคัมภีร์ต่าง ๆ กันดังนี้ จึงเห็นว่าเศวตฉัตรสำหรับราชาภิเษกนั้นมี 7 ชั้น


    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 30
    ว่าด้วยอานิสงส์ซึ่งถวายไตรจีวรนั้น จะได้ไตรจีวรลอยมาต่อเมื่อ
    ชาติที่จะได้พระนิพพาน ฤๅจะได้ในชาติที่ยังไม่ได้พระนิพพานบ้าง

    แก้พระราชปุจฉาที่ 30 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราช และ พระราชาคณะทั้งปวง ถวายวิสัชนาว่า
    บุคคลได้ถวายไตรจีวรนั้น จะได้บาตรไตรจีวรลอยมาในระหว่างชาติที่ยังไม่ได้พระนิพพานนั้น
    มิได้พบพระบาลี พบแต่ว่าได้เสวยมนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ มีคลังผ้าและไม้กัลปพฤกษ์เป็นต้น ครั้งชาติที่สุดถึงได้บาตร และไตรจีวรอันลอยมาแต่อากาศ เป็น เอหิภิกษุ สำเร็จอรหันต์ในชาตินั้นทีเดียว


    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 31</CENTER><DD>ข้อ 1 ว่าด้วยพระอรหันต์บางพวก ที่ได้เป็นเอหิภิกษุ ทรงบาตรไตรจีวรเปนทิพก็มี ที่ไม่ได้ก็มี ที่แสวงหาไม่ได้ จนนิพพานก็มี ท่านทั้ง 3 จำพวกนี้ ได้ทำกุศลไว้แต่ปางก่อนอย่างไร <DD>ข้อ 2 มีในพระบาฬีว่า ถ้าบุรุษถวายไตรจีวร อนาสงส์จะเปนเอหิภิกษุ ถ้าสตรีจะได้มหาลดาประสาธน์ แลในศาสนานี้ บางนางก็ได้มหาลดาประสาธน์ บางนางก็ไม่ได้ ส่วนนางที่ไม่ได้นั้น ไม่ได้ถวายไตรจีวรไว้แต่ก่อนฤๅ <DD>ข้อ 3 ว่าด้วยนางภิกษุณี ได้เปนเอหิภิกษุณีมีบ้างฤๅไม่ <DD>ข้อ 4 ว่าด้วยนางภิกษุณี จะมีพรรษาถึงร้อยก็ดี ถึงเปนพระอรหันต์แล้วก็ดี ยังต้องไหว้ภิกษุที่บวชใหม่ เพราะเหตุไร
    <CENTER>แก้พระราชปุจฉาที่ 31 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะทั้งปวง ถวายวิสัชนาว่า
    ข้อ 1 ผู้ปรารถนาเป็นอริยสาวกแล้วในระหว่างบำเพ็ญบารมี ย่อมจะได้ถวายไตรจีวร แต่ที่ได้เป็นเอหิภิกษุ ได้ทรงไตรจีวรทิพย์ก็ดี ที่ไม่ได้ก็ดี ที่ต้องแสวงเอาเองก็ดี ทั้งนี้เป็นด้วยเคยปรารถนาไว้เช่นนั้นจึงได้ ถ้ามิได้ปรารถนาไว้ก็ไม่ได้ ส่วนที่แสวงหาไม่ได้จนนิพพานนั้น เป็นด้วยกำลังอกุศลที่ตนได้ทำไว้
    ข้อ 2 สตรีที่ถวายไตรจีวรแล้ว บางนางก็ได้เครื่องประดับมหาลดาประสาธน์ บางนางก็ไม่ได้นั้น ข้อนี้เป็นด้วยความปรารถนา คือตั้งความปรารถนาไว้จึงได้ ถ้ามิได้ตั้งไว้ไม่ได้
    ข้อ 3 สตรีที่เป็นภิกษุ ได้เอหิภิกขุบรรพชา ไม่มีอย่างธรรมเนียมในพระศาสนา
    ข้อ 4 นางภิกษุณี แม้ถึงจะมีอายุร้อยพรรษา และเป็นพระอรหันต์ ก็ยังต้องไหว้ภิกษุบุถุชนที่บวชใหม่นั้น ข้อนี้เป็นครุธรรมที่นางมหาปชาบดีได้รับไว้ต่อพระพุทธเจ้า แต่คราวขออนุญาตให้สตรีบวชในศาสนาได้ อีกประการหนึ่ง เหตุว่าภูมิธรรมของบุรุษเป็นใหญ่มีคุณมาก เป็นที่ตั้งแห่งพระศาสนา พระพุทธเจ้าจึงมิได้อนุญาตให้ภิกษุณีให้โอวาทแก่ภิกษุ แต่อนุญาตให้ภิกษุให้โอวาทแก่ภิกษุณีได้ และการบวชของนางภิกษุณีต้องสำเร็จด้วย อุภโตสงฆ์ ต้องอาศัยภิกษุด้วย แต่การบวชของภิกษุหาได้สำเร็จ เพราะภิกษุณีด้วยไม่ ทั้งนี้เป็นกิจในพระวินัย มิได้เอาโลกุตรเป็นใหญ่แต่ถือพระวินัยสิกขาบทเป็นใหญ่ เพราะวินัยเป็นอายุพระศาสนา

    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 32</CENTER><DD><CENTER>ว่าด้วยพระอัครสาวก และพระอสีติสาวก พระปกติสาวก สร้างพระบารมีมาจนสำเร็จพระอรหัตผล ช้าเร็จต่างกัน ตามกาลกำหนด พระกิริยาอารมณ์ก็เป็นปรกติ มิได้ปรากฏหยาบช้าประการใด แต่พระองคุลิมาลนั้นได้เปนยักษ์ เปนมาร เปนท้าวพระยา ก็ล้วนแต่ใจบาปหยาบช้าทำปาณาติบาตโดยมาก จนมาในปัจฉิมชาติ จะได้พระอรหัตในชาตินั้นแล้ว ก็ยังเปนโจรฆ่ามนุษย์เปนอันมาก ซึ่งว่าพระองคุลิมาลสร้างพระบารมีแสนกัลป์นั้น จะนับว่าสร้างบารมีอย่างไร</CENTER>
    <CENTER>แก้พระราชปุจจฉาที่ 32 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะ 8 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    พระองคุลิมาลนี้ จำเดิมแต่สร้างบารมีมา ใช่ว่าชาติใด ปรากฏว่า ได้กระทำกรรมอันเป็นบาปหยาบช้าฆ่ามนุษย์ ทำปาณาติบาตก็จริง แต่กรรมอันเป็นบาปนั้น ก็ให้ผลไปทนทุกข์ในอบายภูมิจนสิ้นบาปกรรม และที่ทำบาปหยาบช้าในชาติใด ชาตินั้นจะไม่นับจัดเอาเป็นขาดบารมีหามิได้ อนึ่งพระอังคุลิมาลจะได้หยาบช้าไปทั้งชาตินั้นหามิได้ ย่อมได้พบพระโพธิสัตว์ ได้ฟังเทศนา ได้ละพยศร้าย ตั้งอยู่ในศีล 5-8 เป็นสุจริตธรรมอันดี นับเป็นบารมีสืบมา และการจะกำหนดบารมีแสนกัลป นั้น ไม่ได้นับเอาการที่คนทำบุญ ทำบาปมากกว่ากันในชาตินั้นเป็นประมาณ นับเอากาลอันนานได้แสนกัลป์เป็นประมาณ ถ้าสร้างบารมีครบแสนกัลป์แล้ว ก็ได้สำเร็จอรหัตต์นิพพานทุกองค์ และผู้สร้างบารมีที่จะสำเร็จนั้น ประกอบด้วยองค์ 2 คือ ฉันทตา ปรารภความรักใคร่พอใจในอรหัตตภูมิ 1 อธิถาโร กระทำบุญให้ทานการกุศล ในสำนักพระอริยเจ้า 1 เมื่อพร้อมด้วยองค์ 2 นี้แล้ว หากจะประมาทหยาบช้า เมื่อมีผู้ให้สติอารมณ์แล้วก็ย่อมกลับตัวได้ ดีกว่าสามัญชน

    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 33</CENTER><DD>ข้อ 1 มีในพระบาฬีว่า พระโพธิสัตว์สร้างพระบารมีบำเพ็ญเบญจมหาบริจาค <DD>มีให้พระเศียรเป็นทานมากกว่าผลมะพร้าวในแผ่นดิน เปนต้น เมื่อค้นหาเรื่องในชาดกนิทาน ไฉนจึงมีน้อยนัก ไม่สมกับอุประมาไว้นั้น <DD>ข้อ 2 ว่าด้วยพระเจ้าอชาตศัตรู กระทำปิตุฆาตแล้ว ไฉนยังจะได้ตรัสเปนพระปัจเจกโพธิเจ้าอีกเล่า
    <CENTER>แก้พระราชปุจฉาที่ 33 (ความย่อ)</CENTER> สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะ 15 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    ข้อ 1 การที่กล่าวว่า พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีมากมายหนักหนา แต่มีชาดกกล่าวไว้เพียง 550 ชาติ นั้น พระพุทธเจ้านำมาตรัสนั้นน้อย ต่อมีเหตุมีผู้อาราธนา พระองค์จึงนำมาตรัส ที่หาเหตุมิได้ และไม่มีผู้อาราธนาพระองค์ก็มิได้นำมาตรัสไว้ และที่ไม่นำมาตรัสนั้นมากมายหนักหนา เหตุนี้จึงมีแต่เพียง 550 ชาติเท่านั้น
    ข้อ 2 ที่ตรัสว่าพระยาอชาตศัตรู ได้ฟังสามัญญผลสูตรจบลงควรจะได้พระโสดาในขณะนั้น เช่นนี้ ด้วยสรรเสริญ พระบวรพุทธศาสนา และธรรมานุภาพแห่งสามัญญผลสูตร ทั้งพระยาอชาตศัตรูก็ได้บำเพ็ญบารมี ปรารถนาพระปัจเจกโพธิภูมิไว้แต่ก่อน แต่มิได้เป็นพุทธเวไนย เช่น พระอังคุลิมาลจึงได้ประมาท กระทำปิตุมาต ห้ามมรรคห้ามผลเสีย จึงต้องรับวิบากกรรมไปทนทุกข์ในโลหกุมภี สิ้นโทษแล้วต้องสร้างบารมีไปใหม่ มิใช่จะเป็นปัจเจกโพธิ เพราะการทำปิตุฆาต มาตุฆาตนั้นมีโทษมาก จนถึงห้ามมรรคห้ามผลปรากฏอยู่แล้ว
    </DD>
     
  10. Hma

    Hma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,315
    ค่าพลัง:
    +6,426
    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 34
    ว่าด้วย พระโพธิสัตว์ และสาวกสร้างบารมีแสนกัลป์นั้นกำหนดอย่างไร
    แก้พระราชปุจฉาที่ 34 (ความย่อ)</CENTER>สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะทั้งปวง ถวายวิสัชนาว่า
    พระอัครสาวก พระอสีติสาวก พระพุทธบิดา พระพุทธมารดา พระพุทธอุปัฏฐาก พระพุทธบุตรทั้ง 5 นี้ เป็นพุทธสหจรจาริก สำหรับประดับพระพุทธเจ้า ถ้าบารมีครบเข้าในอสุญกัลป์ใด และได้พบพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ถ้ามีอุปนิสัยเข้ากันกับพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็สำเร็จความปรารถนา ถ้าหาอุปนิสัยประกอบกับพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมิได้ ก็ยับยังเสวยสุขสมบัติสร้างบารมีไปก่อน เช่น พระพากุลเถระสร้างบารมีมานานเท่าบารมีของพระสารีบุตร อัครสาวก เป็นบารมี อสีติมหาสาวก เกินบารมีของพระปกติสาวกนั้น กำหนดแสนกัลป์ก็มี เกินไปเป็น 2-3 อสงไขยแสนกัลป์ก็มี หย่อนลงสร้างบารมีเพียง 94 กัลป์ ได้สำเร็จนิพพานก็มี เช่น พระสุธาบิณฑิยเถระ การปรารภเป็นพระปัจเจกโพธิ ครั้งแรก ต้องปรารถนาในสำนักพระพุทธเจ้าและอริยสาวก ส่วนพระอัครสาวก อสีติมหาสาวก ปกติสาวก ครั้งแรกจะปรารถนาในสำนักพระพุทธเจ้า ในสำนักพระอริยสาวก พระภิกษุบุถุชนหรือในเจดียสถานแห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้ แต่ต้องเป็นภายในพระศาสนา จะปรารภในสำนักฤาษีมุนีนอกศาสนานั้นมิได้ แต่ความสำเร็จปรารถนานั้น ย่อมเหลื่อมล้ำในสุญกัลป์ อสุญกัลป์มีอยู่ และพระบาลีในอักษรสังขยานั้นผิดจากพระบาลีในพระสูตร พระปรมัตถ์ พระวินัย จะถือตามมิได้


    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 35
    ว่าเหตุไฉนจึงไม่นับพระพิมพาไว้ในพระพุทธสหจร แลเหตุไฉนจึงได้ยกว่า
    ยิ่งฝ่ายมหาอภิญญา เฉภาะมีแต่ 4 องค์ คือพระอรรคสาวกซ้าย พระอรรคสาวกขวา
    พระพิมพา พระพากุลเถระเท่านั้น แลเหตุไฉนจึงจัดพระบารมี พระพุทธบิดา, พระพุทธมารดา
    พระพุทธบุตรว่าแสนกัลป เหมือนพระอสีติสาวกและปกติสาวกเล่า
    แก้พระราชปุจฉาที่ 35 (ความย่อ)</CENTER>สมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะทั้งปวง ถวายวิสัชนาว่า
    พระพิมพานั้นเป็นพุทธสหจรคู่สร้างบารมีดัวยกันมา แต่มิได้ยกพุทธภริยาขึ้นว่า ก็เพราะเหตุว่าได้กล่าวถึงพระพุทธบุตรแล้ว ก็เป็นอันกล่าวไปด้วยกันเพราะไม่มีภรรยาจะมีบุตรได้อย่างไร แต่หากอรรถกถาบาลีมิได้กล่าวไว้ ก็รู้ได้โดยนัยแล้ว
    อนึ่ง การที่สรรเสริญพระสาวกในพระศาสนานี้ว่า ยิ่งด้วยมหาอภิญญานั้น มิได้จำเพราะพระอริยสาวกองค์ใด หากแต่ว่าในศาสนาพระพุทธเจ้าองค์ 1 จะมีได้แต่เพียง 4 องค์เท่านั้น ที่พระพากุลระลึกชาติได้เท่าพระอัครสาวกนั้น เหตุว่ามีปัญญาระลึกชาติได้ถึงอสงไขยแสนกัลป์ แต่ไม่ได้ปรารถนาเป็นอัครสาวก
    พระพุทธบิดา พระพุทธมารดา พระพุทธบุตร พระพุทธภริยา เป็นคู่สร้างกันมาจริง แต่ที่กำหนดเท่ากับพระอสีติมหาสาวก ปกติสาวกนั้น ก็โดยกำหนดมั่นไว้ว่า เพียงแสนกัลป์ก็สำเร็จ ความปรารถนา แต่ถ้าบำเพ็ญให้มากขึ้นไปด้วยประการใด ด้วยอุปนิสัยติดพันรักใคร่กันมา ก็ยิ่งดีมิได้ห้าม


    <CENTER>พระราชุจฉาที่ 36
    ว่าด้วยช้างป่าเลไลยพูดภาษามนุษย์ไม่ได้ การฝึกพูดภาษามนุษย์ได้ จะต่างกันด้วยเหตุอันใด
    แก้พระราชปุจฉาที่ 36 (ความย่อ)</CENTER>สมเด็จพระสังฆราช ถวายวิสัชนาว่า
    ซึ่งจะกำหนดอายุมนุษย์เท่านั้นแล้วสัตว์เดียรัจฉานเจรจาร่วมภาษามนุษย์ได้ไม่ได้นั้น มิได้พบพระบาลี แต่ที่พระยากาเผือกมาเทศนาแก่พระยาอาทิตยราชด้วยภาษามนุษย์นั้น เป็นด้วยพุทธานุภาพของพระพุทธเจ้า รู้แจ้งเหตุด้วยพระสัพพัญญุตญาณ เช่นเดียวกับปลาตะเพียนทอง พูดภาษามนุษย์ได้ในเรื่อง กบิลภิกษุในพระธรรมบท


    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 37
    ว่าด้วยพระปัจเจกพุทธเจ้า แลพระยาบรมจักรพรรดิ์ไม่เกิดในสูญกัลป์นั้น ด้วยเหตุไร
    แก้พระราชปุจฉาที่ 37 (ความย่อ)</CENTER>สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะ 11 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    ข้อที่ว่านายสุมนมาลาการ พระเทวทัต และนกเค้า ได้พุทธทำนายว่าจะได้เป็นพระปรัตเยกโพธิ ในที่สุดแสนกัลป์ แต่ภัททกัลป์นี้ไปนั้น เป็นอันเป็นพระปรัตเยกโพธิในสุญกัลป์ เพราะพระพุทธฎีกาที่ตรัสว่า ในสุญกัลป์หาพระปรัตเยกโพธิ พระยาบรมจักรพรรดิ์บังเกิดมิได้นั้น กล่าวโดยเยภุยนัย ที่เป็นไปโดยมากที่มาเกิดสูญกัลป์ก็มีบ้างแต่เป็นส่วนน้อย เช่น พระปทุมปรัตเยกโพธิ เกิดในสุญกัลป์ระหว่างศาสนาพระพุทธวิปัสสี กับพระพุทธสิขีต่อกันนั้น


    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 38
    ว่าด้วยสัตว์ คือ นก ไก่ เป็ด ห่านตัวเมีย มิได้สัมผัสตัวผู้
    มีฟองไข่ฟักไม่เป็นตัวด้วยเหตุอะไร ถ้าฆ่าฟองไข่นับจะเป็นปาณาติบาตฤาไม่
    แก้พระราชปุจฉาที่ 38 (ความย่อ)</CENTER>สมเด็จพระสังฆราช และพระราชาคณะ 9 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    เพราะเหตุว่าสัตว์ตัวเมียเหล่านั้นมิได้สัมผัสด้วยสัตว์ตัวผู้ตามประเวณีราคจิตยินดีนั้นน้อย เพราะราคจิตอ่อน สัตว์จึงมิได้เกิดเป็นตัว แต่ก็นับว่าเกิดเป็นฟอง มีปฏิสนธิวิญญาณอยู่ ถ้ายังมิเปื่อยเน่า ทุบต่อยก็เป็นปาณาติบาต ถ้าสัตว์นั้นจุติสูญไปแล้ว จึงไม่เป็นปาณาติบาต


    <CENTER>พระราชปุจฉาที่ 39
    ว่าด้วยพระราชประสงค์จะทรงฝังพระวินัยปิฎก จะควรฤาไม่ แก้พระราชปุจฉาที่ 39 (ความย่อ)</CENTER>
    สมเด็จพระสังฆาช และพระราชาคณะฐานานุกรม 18 รูป ถวายวิสัชนาว่า
    ซึ่งอนุปสัมบัน คือ สามเณรและฆราวาสจะฟังพระวินัยมิได้นั้น เป็นบุราณคติไม่พบพระบาลี บัดนี้ได้พบเนื้อความในปฐมสามนต์และคัมภีร์มหาวงศ์ต้องกันว่า พระเจ้าเทวานัมปิยดิส พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ และราชบริษัท ในลังกาทวีป ทรงสดับฟังพระวินัยที่พระมหาอรัฏฐเถระเจ้าสำแดง ในชุมนุมภิกษุมีพระมหินทรเถระเป็นประธานในถูปาราม
    บัดนี้ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภาร ผู้เป็นศาสนูปถัมภ์ ปรารถนาจะฟังพระวินัยปิฎก ก็ควรโดยพุทธจักรอาณาจักรอยู่แล้ว
    ที่มา : http://www.tv5.co.th/service/mod/heritage/king/king.htm
     
  11. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,998
    ค่าพลัง:
    +5,064
    ภูมิธรรมทั้งผู้ถามและผู้ตอบสูงเหนือมิลินทปัญหาเสียอีก...
     

แชร์หน้านี้

Loading...