พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชา..และเทศกาลเข้าพรรษา

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 7 กรกฎาคม 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    <TABLE cellSpacing=2 width="100%"><TBODY><TR class=udf><TD>
    พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล

    เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและเทศกาลเข้าพรรษา




    <O:p




    [​IMG]

    แสงจากเปลวเทียนเบื้องหน้าพระพุทธปฏิมาที่สว่างไสว ณ พระอารามต่าง ๆ ตลอดสามเดือนแห่งเทศกาลเข้าพรรษานี้ เปรียบได้กับแสงแห่งธรรมที่ยังคงสว่างอยู่กลางใจพุทธศาสนิกชนชาวไทยมานานวัน

    <O:p



    การถวายเทียนพรรษาในเทศกาลเข้าพรรษาเป็นบุญประเพณีที่ชาวไทยปฏิบัติบูชามาแต่โบราณทั้งในส่วนของราษฎรและองค์พระประมุขผู้ทรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภก ดังที่มีหลักฐานว่า ราชประเพณีการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในการเข้าพรรษานับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา นอกจากการทรงผนวชเจ้านายแล้ว ได้มีการพระราชกุศลทรงหล่อเทียนพรรษา ฉลองเทียนพรรษา และการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงจุดเทียนพรรษาถวาย ณ พระอารามหลวง สำคัญ ในสมัยรัตนโกสินทร์มีราชประเพณีเพิ่มเติม คือ การถวายต้นไม้เงินทอง พุ่มต้นไม้ ธูปเทียนแพ และดอกไม้บูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายพุ่มพรรษาพร้อมเทียนพรรษา ณ พระอารามหลวงสำคัญตามพระราชอัธยาศัย ซึ่งมักเป็นพระอารามที่สมเด็จพระสังฆราชประทับ

    <O:p



    การพระราชกุศลทรงหล่อเทียนพรรษา แต่ก่อนได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้บอกบุญ นำสีผึ้งมาช่วยหล่อ ปัจจุบันสำนักพระราชวังจะแจ้งให้พระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ นำสีผึ้งมาร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลได้เช่นกัน

    <O:p



    เทียนพรรษาของหลวงนี้นอกจากทรงพระราชศรัทธาให้หล่อถวาย ณ พระอารามสำคัญในกรุงเทพมหานคร และในต่างจังหวัดแล้ว ยังมีส่วนที่จังหวัดขอพระราชทานไปถวายยังวัดต่าง ๆ เพิ่มขึ้นทุกปี จึงได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาสร้างโรงหล่อเทียนหลวงทำเทียนพรรษาสะดวกขึ้นกว่าแต่ก่อน

    <O:p



    เทียนพรรษาที่หล่อและตกแต่งลวดลายสวยงามแล้ว เจ้าพนักงานพระราชพิธีจะอัญเชิญไปให้ทรงพระสุหร่ายและทรงเจิม เพื่อเชิญไปยังพระอารามทั้งหลายตามที่ทรงอุทิศพระราชทานไปจุดบูชา




    และธรรมเนียมโบราณเนื่องในการพระราชกุศลเทศกาลเข้าพรรษาที่ยังโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สืบทอดไว้อีกส่วนหนึ่ง คือการสวดมหาชาติคำหลวงในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และการจัดนักเรียนมาสวดตามศาลารายที่เรียกว่า สวดโอ้เอ้วิหารรายในวันพระหรือวันอุโบสถศีลตลอดช่วงเข้าพรรษา

    <O:p



    ในพุทธศักราช ๒๕๐๑ เมื่อสำนักสังฆนายก <?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>กำหนดให้วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพื่อรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เนื่องในวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ทำให้เกิดมีปฐมสาวกและเกิดสังฆรัตนะครบองค์แห่งรัตนตรัย ประจักษ์แก่ตาโลก ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกอบการพระราชพิธีนี้ รวมไว้ในการพระราชกุศลเข้าพรรษา เรียกว่า พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและเทศกาลเข้าพรรษา

    <O:p


    ตราบใดที่ยังมีเสียงสวดมนต์ก้องกังวานและมีแสงสว่างจากเทียนพรรษา ทั้งของหลวงและของราษฎรจุดถวายเป็นพุทธบูชา ณ พระอารามทั่วแผ่นดินไทย ย่อมมั่นใจได้ว่าพระพุทธศาสนาจะยังคงได้รับการทนุบำรุงสืบทอดไว้ ส่องหนทางชีวิตแก่มวลมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย <O:p</O:p



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ----------
    ที่มาของข้อมูล:สำนักงานส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ
    http://www.identity.opm.go.th/identity/king/show_content.asp?type_qry=09&king_code_qry=01&king_type_qry=1&lang=thai&cont_type=cere&menu_code=00000016
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • nis01939-1.jpg
      nis01939-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      88.8 KB
      เปิดดู:
      1,090
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2009
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    <TABLE cellSpacing=2 width="100%"><TBODY><TR class=udf><TD>พระราชพิธีทรงบำเพ็ญราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน


    [​IMG]




    พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในเทศกาลทอดกฐิน เริ่มตั้งแต่วันออกพรรษาตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จนถึงวันสิ้นสุดกาลกฐิน คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ รวมเวลาได้ ๑ เดือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินตามพระอารามหลวงเป็นราชประเพณีเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่วันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปจนถึงวันแรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยเสด็จพระราชดำเนินทั้งทางบกและทางเรือ


    กฐิน ตามศัพท์บาลี แปลว่า กรอบไม้สำหรับขึงผ้า กรอบไม้ขึงผ้าเพื่อเย็บนี้ไทยเรียกว่า สะดึง การใช้กรอบไม้ก็เพื่อขึงผ้าที่ต้องเย็บต่อกันเป็นผืนใหญ่สำหรับพระภิกษุใช้ห่มพันกายที่เรียกว่าจีวร การเย็บผ้าดังกล่าวทำให้เกิดศัพท์ ผ้ากฐิน ขึ้น



    มูลเหตุที่เกิดการทอดกฐิน ในบาลีกล่าวว่า เมื่อครั้งพุทธกาลพระภิกษุเมืองปาไถยรัฐ ๓๐ รูป จะเดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ ที่ประทับเชตวันมหาวิหาร แต่มาไม่ทันเพราะจะถึงเวลาเข้าพรรษาจึงพักเข้าพรรษาเสียก่อนทีเมืองสาเกต เมื่อออกพรรษาแล้ว ก็รีบเดินทางไปเฝ้าพระพุทธองค์ การเดินทางของพระภิกษุเหล่านี้ ถูกฝนเปรอะเปื้อนโคลนตมในระหว่างเดินทาง พระพุทธองค์ทรงทราบถึงความยากลำบากจึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุอยู่รับผ้ากฐินที่จะมีผู้นำมาถวายเมื่อออกพรรษาเสียก่อน กำหนดตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปจนถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒



    ต่อมาเมื่อมีพระภิกษุจำนวนมากขึ้นผ้ากฐินที่พุทธศาสนิกชนทำขึ้นไม่พอจะถวายทั่วทุกองค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติว่า ภิกษุรูปใดมีจีวรครองเก่ากว่าภิกษุอื่นในอาวาสที่จำพรรษาด้วยกันรอบรู้พระธรรมวินัยแลหะปฏิบัติศาสนกิจเป็นที่ยกย่องสรรเสริญของหมู่พระสงฆ์ และไม่ต้องอธิกรณ์ใดๆ อันเป็นการเสื่อมเสียพระภิกษุในอาวาสที่จำพรรษาลาอุโบสถร่วมสังฆกรรมเห็นชอบพร้อมกันอนุโมทนาให้เป็นผู้รับครองผ้ากฐิน ส่วนผู้ถวายจะเจาะจงถวายแด่พระภิกษุรูปหนึ่งไม่ได้ จะต้องวางลงแล้วกล่าววำถวายโดยไม่เจาะจงจึงเรียกกันว่า ทอดผ้ากฐิน หรือ ทอดกฐิน



    การทอดกฐินเป็นประเพณีสำคัญของพุทธศาสนิกชน เป็นงานบุญใหญ่ของทั้งหลวงและราษฎร์ เป็นประเพณีสำคัญมาแต่โบราณตั้งแต่ไทยได้ยอมรับให้ศาสนาบุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ไม่มีการกุศลใดๆ ที่พุทธศาสนิกชนจะร่วมกันทำมากเท่าการทอดกฐิน ดังปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัยว่า คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทานมักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ ชาวเจ้า ท่วยปั่ว ท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง ฝูงท่วย มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐินเดือนหนึ่งจึงแล้ว...

    การทอดกฐินที่ตั้งเป็นการพระราชพิธีประจำ มีในสมัยรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเริ่มเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินตามพระอารามหลวงในวันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ เสด็จพระราชดำเนินทั้งทางบก ทางเรือ วันละ ๒ วัด ๓ วัดบ้าง ในสมัยก่อนๆ เป็นงานใหญ่เสด็จฯ โดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค คือพระราชยาน มีกระบวนแห่ราชอิสริยยศ เครื่องสูง แตร กลองชนะ คู่เคียงอินทร์พรหมถือหอก ถือทวน ถือดาบ เชิญพระแสงต่างๆ เป็นกระบวนอิสริยยศแต่งกายอย่างทหารโบราณ สมัยต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งกองทหารแบบยุโรปแล้ว จึงจัดให้มีกองทหารแบบใหม่เป็นกระบวนหน้าและกระบวนหลังตาม บางปีเสด็จถวายผ้าพระกฐินทางเรือเป็นกระบวนพยุหยาตราชลมารคด้วย ผ้าไตรองค์กฐินตั้งในบุษบกเรือพระที่นั่งอนันตนาคราชหรือเรือพระที่นั่งลำอื่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับในเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ พลเรือแต่งกายด้วยเครื่องแบบทหารโบราณ มีการเห่เรือตามบทประพันธ์กาพย์เรือ สำหรับปี พ.ศ. ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับในเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ พรรษา ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเจริญมากขึ้นจึงเปลี่ยนเป็นเสด็จพระราชดำเนินโดยรถม้าพระที่นั่ง รถยนต์พระที่นั่ง เรือยนต์พระที่นั่ง ไปถวายผ้าพระกฐิน แต่บางปีก็โปรดเกล้าฯ ให้กำหนดเป็นเสด็จพระราชดำเนิน กระบวนพยุหยาตราสถลมารคตามโบราณราชประเพณี เช่น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน


    เมื่อถึงกำหนดเทศกาลทอดกฐินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน พระอารามหลวงที่ตั้งอยู่ใกล้พระนครเป็นส่วนมาก เริ่มพระกฐินหลวงตั้งแต่แรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นวันแรกกำหนดเสร็จฯ ถวายผ้าพระกฐิน ๒ หรือ ๓ วัด ส่วนการเสด็จโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค มักจะกำหนดให้วันแรม ๙ ค่ำ เพราะวันนี้ทางจันทรคติน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนพระนครขึ้นมากและนิ่งไม่ไหลขึ้นลง สะดวกในการที่จะจัดเป็นกระบวนพยุหยาตรา


    [​IMG]


    พระอารามหลวงที่ทางราชการกำหนดเป็นวัดที่จะต้องเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินเป็นประจำปีในปัจจุบันมี ๑๖ วัด คือ

    ๑. วัดบวรนิเวศวิหาร


    ๒. วัดสุทัศนเทพวราราม


    ๓. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม


    ๔. วัดเบญจมบพิตรสถิตมหาสีมาราม


    ๕. วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม


    ๖. วัดมกุฏกษัตริยาราม


    ๗. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม


    ๘. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์


    ๙. วัดราชาธิวาส


    ๑๐. วัดราชโอรสาราม


    ๑๑. วัดอรุณราชวราราม


    ๑๒. วัดเทพศิรินทราวาส


    ๑๓. วัดสุวรรณดาราราม


    ๑๔. วัดนิเวศธรรมประวัติ


    ๑๕. วัดพระปฐมเจดีย์


    ๑๖. วัดพระศรีรัตน์มหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก


    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินวันละ ๒ วัด หรือ ๓ วัด ประมาณ ๓ วัน วัดที่เหลือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์ องคมนตรี หรือบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดเสด็จไปหรือไปถวายแทนพระองค์ส่วนพระอารามหลวงอื่นๆ นอกจาก ๑๖ วัดนี้ ซึ่งมีทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กระทรวง ทบวง กรม สถาบัน คณะบุคคล นำเครื่องพระกฐินพระราชทานไปทอดยังพระอารามหลวงต่างๆ แต่มีบางปีโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดเสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐินเป็นบางวัด นอกจากนี้ถ้าสมเด็จพระสังฆราชประทับที่วัดนอกจากจะได้รับกฐินหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วย

    การพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินในรัชกาลปัจจุบันได้เสด็จพระราชดำเนินและโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมวงศ์เสด็จไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ โดยออกเป็นหมายกำหนดการ การแต่งกายของข้าราชการผู้เฝ้าฯ ในพระราชพิธีนี้มีข้อกำหนดเป็นการพิเศษ ดังนี้

    แต่งกายเครื่องแบบเต็มยศ สวมสายสะพายขัตติยราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์หรือจุลจอมเกล้าและช้างเผือกถ้าปีใดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามด้วย ต้องกำหนดสายสะพายขัตติยราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทยเป็นสายสำคัญในกรณีที่โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมวงศ์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์นั้น หมายกำหนดการจะได้กำหนดแต่งกายเต็มยศสายสะพายขัตติยราชอิสริยาภรณ์มหาจักรี และทุกวัดที่ออกหมายกำหนดการต้องมีทหารเหล่ารักษาพระองค์ จัดเป็นกองเกียรติยศ พร้อม แตรวง ธงประจำกองไปตั้งรับ-ส่งเสด็จฯ ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี



    พระกฐินหลวงที่ทอด ณ วัดฝ่ายธรรมยุต ที่ไตรองค์กฐินจะมีผ้าขาวพับซ้อนอยู่ข้างบน เมื่อทอดถวายและพระสงฆ์ทำกฐินกรรมเสร็จแล้ว เสด็จฯ กลับ เจ้าพนักงานช่างเย็บซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายในสังกัดสำนัก พระราชวัง จะช่วยฝ่ายสงฆ์ตัดเย็บผ้าขาว ที่ทรงทอดถวายรวมกับไตรองค์กฐิน เอาไปเย็บเข้ากระทงเป็นจีวรแล้วย้อมใหม่ด้วยสีกรัก (สีเปลือกไม้) ถวายพระสงฆ์ไปทำพิธีกรรมในการครองผ้าพระกฐินต่อไป ซึ่งต้องทำแล้วเสร็จในวันนั้น



    การพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวคำถวายผ้าพระกฐินเป็นคำบาลีสำหรับพระอารามหลวงฝ่ายธรรมยุตแบบหนึ่ง ฝ่ายมหานิกายแบบหนึ่ง ส่วนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์และวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ทรงกล่าวคำถวายเป็นภาษาไทย



    ในกรณีวัดที่เสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินนั้น มีการสดับปกรณ์พระอัฐิสมเด็จพระมหาสมณเจ้า เช่น วัดบวรนิเวศวิหารและวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เมื่อพระผู้ครองผ้าพระกฐินออกไปครองผ้าไตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายสักการะแล้วทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์ ๑๐ รูปสดับปกรณ์ ออกไปครองผ้ากลับเข้านั่งที่เดิมพร้อมกับพระผู้ครองผ้าพระกฐินแล้วจึงถวายเครื่องบริขารพระกฐิน


    อนึ่งพระกฐินหลวงที่โปรดเกล้าฯ ให้แทนพระองค์ตลอดจนพระกฐินพระราชทาน กล่าวคำถวายผ้าพระกฐินเป็นภาษาไทยตามที่กรมศาสนากำหนดนอกจากนี้กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับพระกฐินหลวงและกฐินพระราชทานไว้ด้ว
    พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศถวายผ้าพระกฐิน เป็นราชประเพณีถวายผ้าพระกฐินประจำปี เริ่มตั้งแต่วันออกพรรษาตรงกับ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปจนถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชวงศ์หรือผู้แทนพระองค์ เสด็จไปหรือไปถวายผ้าพระกฐินหลวงตามพระอารามหลวงตั้งแต่วันแรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปจนถึงวันแรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๑ ในสมัยก่อนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ โดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารคและกระบวรพยุหยาตราชลมารค ปัจจุบันเสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งและบางปีเสด็จฯ ทางชลมารคเพื่อพระราชทานผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เพื่อเป็นการรักษาราชประเพณีโบราณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินไปหรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชบรมวงศ์หรือผู้ใดผู้หนึ่งเสด็จไปหรือไปถวายผ้าพระกฐินแด่พระอารามหลวง ๑๖ อาราม และตั้งแต่วันแรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กระทรวง ทบวง กรม สถาบัน คณะบุคคล นำเครื่องพระกฐินพระราชทานไปถวายพระอารามหลวงต่างๆ ทั่วประเทศ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    เมื่อถึงเทศกาลออกพรรษา พุทธศาสนิกชนมีประเพณีสำคัญเนื่องในการบำเพ็ญกุศล ทั้งของหลวงและของราษฎร์ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ รวม ๑ เดือน เรียกว่าประเพณีทอดกฐิน
    <O:p
    พระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ พระอารามหลวงต่าง ๆ ทั้งในพระนครและในหัวเมือง เรียกว่า “พระกฐินหลวง” เสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายเองบ้าง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผู้แทนพระองค์ไปถวายผ้าพระกฐินแทนบ้าง และยังโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ส่วนราชการ คณะบุคคล หรือบุคคลที่สมควร รับพระราชทานผ้าพระกฐินไปทอดตามพระอารามหลวง ทั่วพระราชอาณาจักร เรียกว่า “กฐินพระราชทาน” หากเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศล เสด็จพระราชดำเนิน ไปถวายผ้าพระกฐินเป็นการส่วนพระองค์ เรียกว่า “พระกฐินต้น”
    <O:p

    ในรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินในเทศกาลออกพรรษา ณ พระอารามหลวง ๑๖ พระอาราม ตามราชประเพณี หากเป็นพระอารามหลวงประจำรัชกาลสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช จะทรงถวายราชสักการะพระบรมราชสริรางคาร พระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช พระรูปสมเด็จพระสังฆราชซึ่งประดิษฐาน ณ พระอารามนั้น ๆ ด้วย เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามทรงถวายราชสักการะพระบรมราชสริรางคารพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระอัฐิสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นต้น

    <O:pนอกจากนี้ยังโปรดเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์โดยการถวายพระกฐินต้น ณ วัดในท้องถิ่นต่าง ๆ ตามพระราชอัธยาศัย ที่สำคัญยิ่ง คือการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ฟื้นฟูการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งนอกจากเป็นการฟื้นฟูขนบประเพณี แต่ครั้งโบราณแล้ว เรือพระราชพิธีที่เป็นงานศิลปกรรมล้ำค่าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลายังได้รับการบูรณะซ่อมแซมจัดเข้าในริ้วกระบวนพยุหยาตราที่สวยงาม เป็นความภาคภูมิใจของชาวไทยทั้งชาติ
    <O:p

    การทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินในเทศกาลออกพรรษาในรัชกาลปัจจุบัน นับเป็นการสืบทอดราชประเพณีที่สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ทรงปฏิบัติสืบต่อกันแต่โบราณได้อย่างครบถ้วน อันเป็นการจรรโลงพระพุทธศาสนาและเป็นสวัสดิมงคลยิ่งแก่บ้านเมืองและอาณาประชาราษฎร์
    ---------
    ที่มาของข้อมูล:สำนักงานส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ
    �ӹѡ�ҹ�����������ҧ�͡�ѡɳ��ͧ�ҵ�
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • nis01880-1.jpg
      nis01880-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      180.7 KB
      เปิดดู:
      796
    • nis01879.jpg
      nis01879.jpg
      ขนาดไฟล์:
      29.4 KB
      เปิดดู:
      819
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...