พระศรีศาสดา "น้องสุดท้อง" พระพุทธชินราช

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย MonYP, 1 ธันวาคม 2017.

  1. MonYP

    MonYP เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,320
    กระทู้เรื่องเด่น:
    32
    ค่าพลัง:
    +682
    พระศรีศาสดา
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    พระศรีศาสดา หรือ พระศาสดา เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วิหารด้านทิศใต้ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลกปัจจุบันประดิษฐานอยู ณ มุขหน้าวิหารพระศาสดาคู่กับพระพุทธไสยา ที่ประดิษฐานอยู่ ณ มุขหลัง วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เขตพระนครกรุงเทพมหานคร สันนิษฐานกันว่าน่าจะสร้างขึ้นสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) พร้อมกับ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์และพระเหลือ

    ประวัติ
    ประวัติการสร้าง
    พระศรีศาสดา ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด คงมีแต่พงศาวดารเหนือ ซึ่งเป็นเอกสารที่เล่าถึงตำนานเมืองเหนือเรื่องต่างๆ สมัยกรุงศรีอยุธยา ถูกเรียบเรียงขึ้นใหม่โดยพระวิเชียรปรีชา (น้อย) ในปีพุทธศักราช ๒๓๕๐ ที่อ้างถึงกษัตริย์เชียงแสนพระนามพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกเป็นผู้สร้าง พร้อมกับการสร้างเมืองพิษณุโลกและพระพุทธรูปอีก ๒ องค์คือพระพุทธชินสีห์และพระพุทธชินราช

    พุทธศักราช ๒๔๐๙ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชนิพนธ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ในชื่อ "ตำนานพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดา" ในหนังสือวชิรญาณวิเศษ โดยใช้พงศาวดารเหนือในการอ้างอิงจึงทำให้มีเนื้อหาหลักคล้ายคลึงกัน แต่เพิ่มเติมการสร้างพระเหลือเข้าไป และมีการระบุศักราชในการสร้างพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ไว้ดังนี้ พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาหล่อในปีพุทธศักราช ๑๔๙๘ และพระพุทธชินราชหล่อขึ้นในปีพุทธศักราช ๑๕๐๐ (หย่อนอยู่ ๗ วัน)

    พุทธศักราช ๒๔๒๓ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ได้ทรงแต่งตำนานการสร้างพระศรีศาสดาขึ้นอีกสำนวนหนึ่ง ชื่อ "พงษาวดารเหนือ : เป็นลิลิตเรื่องนิทานพระร่วง แลนิทานพระเจ้าธรรมไตรปิฎก นิทานพระชินศรี พระชินราช พระศาสดา" ซึงมีเนื้อเรื่องเช่นเดียวกับพงศาวดารเหนือและพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างพระบรมราชจักรีวงศ์กับพระพุทธชินราชเข้าไปด้วย

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้มีพระดำริเกี่ยวกับประวัติการสร้างพระศรีศาสดาจากหลักฐานทางพุทธศิลป์นำมาเปรียบเทียบกับพงศาวดารเหนือว่าพระศรีศาสดา ถูกสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย เนื่องจากพุทธศิลป์อย่างพระพุทธรูปสุโขทัยระคนกับพุทธศิลป์เชียงแสนแต่มีพัฒนาการไปกว่าพระพุทธรูปที่มีอยู่เดิม และช่างผู้สร้างพระพุทธชินราชกับพระพุทธชินสีห์นั้นเป็นช่างเดียวกัน หากแต่พระศรีศาสดาเป็นช่างอื่นจากลักษณะประติมากรรมของพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ที่ปรากฏ แต่จะสร้างพร้อมกันทั้ง ๓ องค์หรือไม่นั้นไม่ทราบแน่ชัด และเมื่อพิจารณาช่วงเวลาการสร้างแล้วทรงคาดว่าพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์น่าจะสร้างในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ในปีพุทธศักราช ๑๙๐๐ มิใช่พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก โดยประทานเหตุผลว่า "พระเจ้าแผ่นดินซึ่งปรากฏพระเกียรติในเรื่องพระไตรปิฎกนั้นมีแต่พระองค์เดียวคือพระมหาธรรมราชาลิไทย...พระมหาธรรมราชานี้เองที่พงศาวดารเหนือเรียกว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก"

    อย่างไรก็ตามความเห็นที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด ณ ขณะนี้คือความเห็นในแนวทางเดียวกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่เชื่อว่าพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์นี้ถูกสร้างขึ้นในราวพุทธศักราช ๑๙๐๐ ในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย)

    การเคลื่อนย้ายที่ประดิษฐาน
    ในสมัยรัตนโกสินทร์ เจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ให้อัญเชิญพระศาสดาจากเมืองพิษณุโลกมาไว้ที่วัด เนื่องจากเห็นว่าวิหารที่ประดิษฐานพระศรีศาสดาอยู่เดิมนั้นชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก และไม่มีผู้ใดดูแลพระศรีศาสดา เพราะผลพวงจากสงครามอะแซหวุ่นกี้ในปีพุทธศักราช ๒๓๑๘ คราวเมืองพิษณุโลกถูกเผา ประกอบกับพระศรีศาสดานี้มีลักษณะดีและมีความงดงาม ครั้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)ทราบเรื่อง จึงให้อัญเชิญพระศาสดาจากวัดบางอ้อยช้างมาไว้ที่วัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งเป็นวัดที่ท่านสร้างขึ้น


    ต่อมาพุทธศักราช ๒๓๙๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบว่ามีการชะลอพระศรีศาสดามายังกรุงเทพมหานคร จึงมีพระราชดำริว่าพระศาสดานั้นสร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ ซึ่งเมื่อครั้งอยู่ ณ เมืองพิษณุโลกก็เคยประดิษฐานอยู่ ณ วัดเดียวกันมาก่อน ต่อมาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพทรงให้อัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร พระศาสดาก็ควรประดิษฐานอยู่ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหารเช่นเดียวกับพระพุทธชินสีห์ เสมือนเป็นพระพุทธรูปผู้พิทักษ์พระพุทธชินสีห์ แต่ยังมิได้สร้างสถานที่ประดิษฐานจึงโปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานยังมุขหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามไปพลางก่อน ครั้นสร้างพระวิหารพระศาสดาจวนแล้วเสร็จจึงโปรดให้อัญเชิญพระศาสดามาประดิษฐาน เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๗

    ลักษณะทางพุทธศิลป์และการจัดหมวดหมู่
    ลักษณะทางพุทธศิลป์
    พระเกศรัศมียาวเป็นเปลวเพลิง พระเกศาขดเป็นก้นหอยขนาดใหญ่ วงพระพักตร์ค่อนข้างกลมไม่ยาวรีเหมือนผลมะตูมเช่นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยหมวดใหญ่ พระวรกายอวบอ้วนมีสังฆายาวปลายหยักเป็นเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน (ทีฆงคุลี) ฝ่าพระบาทแบนราบค่อนข้างแคบเมื่อเทียบกับพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยหมวดใหญ่ ส้นพระบาทยาว

    การจัดหมวดหมู่
    พระศรีศาสดา ถูกจัดให้อยู่ในพระพุทธรูปหมวดพระพุทธชินราช (พระพุทธรูปสกุลช่างเมืองพิษณุโลก ซึ่งมีลักษณะต่างจากหมวดใหญ่เล็กน้อย คือพระพักตร์ที่อวบอ้วนมากกว่าและที่สำคัญคือการทำปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ ยาวเสมอกัน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปหมวดนี้) ถือเป็น ๑ ใน ๔ หมวดของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย

    0%B8%B0%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B2_Phra_Sri_Sassada.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...