พระสมเด็จ แท้ หรือเก๊...

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Tanyadol, 25 กุมภาพันธ์ 2017.

  1. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    ลองมาช่วยกันหาคำจำกัดความของคำว่า " อะไรคือความเก่า ของพระสมเด็จ " แบบง่ายๆไม่ต้องวิชาการเกินไป ลองลงความเห็นกันได้ครับ
     
  2. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ความเก่าของพระสมเด็จ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างอธิบายยากมาก เพราะว่า สูตรการสร้างไม่เหมือนกัน แต่โดยรวม พระที่ผ่านกาลเวลา น้ำในองค์พระจะค่อยๆแห้งลง มวลสารจะเกิดการยุบตัวเป็นหลุมพระจันทร์ เกิดเนื้อแน่น ๆ แกร่ง และแห้งอย่างมีน้ำหนัก ต่อมาจะเกิดการลานภายในองค์พระ องค์พระจะเริ่มโค้งงอ(อาจไม่มีก้อได้หากไม่ได้นำมาใช้) ต่อไปก้อจะเกิดการแตกบริเวณผิวด้านหน้าองค์พระ ต่อด้วยด้านข้าง และเข้าสู่ด้านหลังองค์พระ เศษมวลสารเริมหลุดร่อน เและในที่สุดก้อหักไปเลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมวลสารที่ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดกับพระช่างหลวง ส่วนพระสูตรปูนเปลือกดิบ ที่สร้างไว้สำหรับการบรรจุกรุ พระอายุแค่ร้อยกว่าปี อย่างเก่งก้อเกิดการยุบตัว และลานภายในองค์พระเท่านั้น ดูจากสมเด็จพิมพ์ทรงเทวดาก้อได้ว่าเป็นอย่างไร
     
  3. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    ความเก่าของพระสมเด็จ ในความคิดของผมนั้น จะต้องมีการพัฒนาการของ เนื้อพระ คือ มีการปริ แยก ราน ยุบ ย่น เหี่ยว พรุน กร่อน ฉ่ำ นวล ใส มัน แกร่ง ซึ่งเป็นไปตามลักษณะของเนื้อ ตามธรรมชาติในแต่ละชนิดที่มีส่วนผสม ที่แตกต่างกัน เช่น แก่ปูน แก่น้ำมัน แก่มวลสาร แต่ละชนิดเนื้อ มีจุดเด่นในสิ่งที่แตกต่างกันนี้ ซึ่งผมใช้เป็นจุดที่บงบอกให้เห็นถึงอายุ ความเก่า ของพระสมเด็จองค์นั้น
    เพราะในความเป็นจริง ผมเห็นว่าในพระสมเด็จองค์เดียวกัน มีเนื้อหลายชนิดและรวมอยู่ด้วยกันอยู่แล้ว...
    เพราะเวลาใช้กล้องส่องดูเนื้อ
    ในบางจุด ไม่มีมวลสารมีแต่ปูน ก็จะดูการพัฒนาการด้านอายุของปูน เช่น การกร่อนของผิว ที่เกิดจากการยุบตัว รอยปริ แยก การเหี่ยวของผิว ไม่เรียบตึง การงอกของเม็ดปูนผดขาวๆ(เม็ดปูนสุก)ที่ทับถมกันหลายอายุ ไล่โทนสีกันไป มีความนวล และจะหาเม็ดผดที่เกิดขึ้นใหม่ คือมีความใหม่ในความเก่า

    ในบางจุดมีมวลสารหนาแน่น ผมก็จะดูการผุดตัวของมวลสาร ที่เกิดการยุบตัวของเนื้อปูน ดูความกร่อนของมวลสาร เช่นเศษเนื้อพระซุ้มกอ หินเทา เป็นต้นจะต้องไม่มีเหลี่ยม คม และดูการย่อยสลายของมวลสารเบาเช่น เกสรดอกไม้ เม็ดข้าว เป็นต้น

    ในบางจุดที่มี น้ำมันตั้งอิ๊วแผ่กระจาย ส่วนใหญ่จะอยู่ที่บริเวญ ส่วนที่สูงของพิมพ์ จะมีความฉ่ำในเนื้อ ใส มีความเหี่ยว มีโทนสี จากเข้มไปอ่อนในรอบนอก มองเห็นรอยแตกราน ในเนื้อ เห็นมวลสาร รอบมวลสารจะเห็นเส้นน้ำมันตั้งอิ๊วล้อมรอบ ผิวด้านบนจะมีเม็ดปูนงอกขึ้นมา เล็กๆใสๆ ทับถมกัน หลายอายุเป็นปื้นใสๆ (เม็ดปูนดิบ)ที่ผุดงอกขึ้นมาใหม่ และจะหาเม็ดปูนที่เกิดขึ้นใหม่ คือมีความใหม่ในความเก่าตามหลักการพัฒนาการ ของธรรมชาติ

    ส่วนพระที่ผ่านการลงรัก และล้างรักออกนั้น การพัฒนาการของเนื้อ เกิดขึ้นน้อยกว่า พระที่ไม่ได้ลงรัก
    ซึ่งต้องใช้วิธีการดูอายุ ความเก่าที่แตกต่างกันไป

    ซึ่งยังมีรายละเอียดอีกมากมาย อยากให้เพื่อนสมาชิกท่านอื่น แชร์ประสพการณ์กันครับ
    IMG_3204.JPG IMG_3206.JPG IMG_3130.PNG IMG_3127.PNG IMG_2278.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2017
  4. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    พระสมเด็จ พิมพ์เส้นด้าย ( เซียนไม่นิยม แต่เอาเนื้อหาความเก่า ธรรมชาติ มาเทียบกันดู ว่าของใครทันยุค กว่ากัน )
    IMG_3348.JPG IMG_3349.JPG IMG_3350.JPG IMG_3345.JPG
     
  5. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    รอยหยิกแผลยังสดอยู่ เกิดขึ้นเมื่อ 5 วันที่ผ่านมา
    เพื่อนผมมือบอน ชอบหยิกดูเนื้อใน ด้วยความสงสัย
    ผมเลยขอพระสมเด็จ เก๊ มาหักดูเนื้อในกันเลย
    ภาพพระเก๊ เนื้อในครับ
    IMG_3339.JPG IMG_3340.JPG
    ภาพด้านล่างพระแท้ เนื้อใน
    IMG_3345.JPG IMG_3346.JPG
     
  6. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่ กรุเก่า เจ้าของเดิมล้างคราบกรุออก ครับ
    IMG_3433.JPG IMG_3434.JPG
     
  7. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    พระสมเด็จบางขุนพรหมของเดิม เป็นปูนขาวฉาบโบสถ์ ไม่มันแล้วครับ
     
  8. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    เป็นความรู้ใหม่ครับ " ปูนขาวฉาบโบสถ์ " เหมือนกันกับปูนเปลือกหอยหรือปล่าวครับท่าน นักชก ผมจะได้ค้นหาต่อครับ ...
    พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุใหม่ ที่มีคราบกรุจับบนผิว ดูยังงัยก็เป็นปูนเปลือกหอย"สุก" และแห้งมัน ครับ
    คราบกรุแบบนี้ ไม่ปลอมนะครับ

    IMG_3125.PNG IMG_3126.PNG IMG_3127.PNG

    ส่วนเนื้อพระสมเด็จ กรุเก่า ผมก็เห็นว่า มัน ใส นวล ตามธรรมชาติ ปูนเปลือกหอย นะครับ ยืมภาพจาก web มาดูกัน...

    IMG_3441.JPG IMG_3442.JPG
     
  9. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    อีกเนื้อครับ จากเวปที่เชื่อถือได้ เอก มณเฑียร
    Centralemulet.com

    IMG_3445.jpg IMG_3446.jpg IMG_3443.jpg IMG_3447.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2017
  10. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    ขอดูเนื้อตัวอย่าง " ปูนขาวฉาบโบสถ์ " ที่ท่านให้คำแนะนำไว้เป็นวิทยาทาน ด้วยครับ
    เพราะผมยังไม่เคยเห็นเนื้อที่ว่านี้ ในกรุบางขุนพรหม เป็น ความรู้ใหม่ ครับ
    ถ่ายใหม่

    IMG_3450.JPG IMG_3451.JPG IMG_3454.JPG IMG_3453.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2017
  11. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    น้ำมันตังอิ๊ว รอบปากรู ไล่โทนสี เข้ม ไปอ่อน ลองดูครับ เม็ดปูนฝ่อ ใกล้จะหลุด ธรรมชาติ ดีเลย

    IMG_3460.PNG
     
  12. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    พระวัดนี้ผมทำหาย เลยก๊อบรูปเขามา ที่จริงดูง่ายที่สุดเลย เป็นปูนเก่า ๆ ของเก๊มักทำจากปูนพลาสเตอร์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    ครับเนื้อหาก็ประมาณนี้ ก็เป็นปูนเปลือกหอย เช่นกัน
    แต่จะแก่ปูนมากกว่า มวลสารมีให้เห็นน้อยกว่า ไม่เหมือนวัดระฆัง ที่มีมวลสารมากกว่าหลากหลาย เช่นเนื้อกล้วย ข้าวก้นบาตร และอื่นๆ
    เนื้อจะดูแกร่งแห้ง กว่าเนื้อของพระสมเด็จวัดระฆัง แต่ที่เหมือนกันก็คือ ธรรมชาติที่เกิดขึ้น เหี่ยว ที่เกิดจากการกร่อน ฉ่ำ ที่เกิดจากความแห้งของเนื้อและการลอยตัวของน้ำมันตั้งอิ๊ว นวล ที่เกิดจากการขับน้ำปูนออกมาที่ผิวภายนอก ที่เกิดจากการพัฒนาการ เชิงวิทย์
    และมีคราบกรุ ที่เป็นเอกลักษณ์ ตามอัตลักษณ์ของกรุ
    คือ ตามสภาวะของกรุ อันเป็นที่ตั้ง

    ด้านพิมพ์ทรง จะด้อยกว่าวัดระฆัง เรื่องความสวยงาม ในรายละเอียด พิมพ์จะดูตื้นกว่า แต่จะมีเสน่ห์ตรงธรรมชาติ ของผิวเนื้อ ที่มีพัฒนาการหลากหลาย เพราะอากาศที่แปรปรวนภายในกรุ เป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาการ นั่นเอง
    พระกรุเดียวกัน แต่มีส่วนผสมที่ไม่เหมือนกัน อาจจะเหลวไป ข้นไป หรือ พอดี จึงทำให้พระมีเนื้อที่ไม่เหมือนกัน เกิดพัฒนาการที่ แตกต่างกัน บางองค์กร่อนมาก บางองค์กร่อนน้อย บางองค์ผิวดูนุ่มฟู ซึ่งเกิดจากการผสมมวลสารที่ไม่ได้มาตรฐาน ตามแบบโบราญ และรีบเร่ง ให้ครบตามจำนวน ที่จะนำเอาไปเข้ากรุ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
    ไม่เหมือนพระสมเด็จวัดระฆัง ที่ทำไปแจกไป ไม่กำหนดจำนวน มีเวลาจัดเตรียมวัตถุดิบ มวลสารต่างๆ และมีความปราณีตสวยงามในด้านพิมพ์ทรง

    IMG_3480.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มีนาคม 2017
  14. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    พอดีวันนี้คล้ององค์นี้ เลยเอามาถ่ายรูป ลงให้ดูกัน
    บางขุนพรหม ปรกโพธิ์ 7ใบ กรุเก่า

    IMG_3482.JPG IMG_3484.JPG IMG_3490.JPG IMG_3495.PNG IMG_3491.JPG IMG_3496.JPG
     
  15. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    ปูนขาวเป็นปูนที่เขาใช้ทำเป็นปูนซีเมนต์โบราณ ได้มาจากการเผาหินปูน ไม่ใช่เปลือกหอย องค์ที่นำมาแสดง เจ้าของน่าจะล้างมาไม่นาน เนื้อพระเลยออกขาว ถ้าอยากเห็นพระแบบไม่ค่อยเพี้ยน ให้ไปดูปูนที่เขาฉาบเจดีย์เก่า หรือโบสถ์เก่าๆ จะได้เห็นเสมือนของจริง องค์พระวัดนี้จะแก่ปูนมาก และเนื้อแห้งแกร่ง ไม่มีส่วนผสมอื่น นอกจากมวลสารสมเด็จโต จึงไม่หนึก ไม่มีตั้งอิ๋ว และะของวัดนี้มีให้เห็นไม่มาก และน่าจะสูญหายจากสงครามปราบฮ่อ (เฉพาะของแท้ดั้งเดิม)
     
  16. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    อ้อ ครับ คุณ นักชก ได้ให้คำอธิบายไว้ ในเรื่องปูนที่บดมาจากหิน นี้เป็นมวลสารหลักในการทำพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม และไม่ใช้น้ำมันตังอิ๊ว เป็นตัวประสาน ในการกดพิมพ์ เพื่อการยึดเกาะของปูนในช่วง ที่ยังไม่แห้ง จริงๆแล้ว เป็นความรู้ใหม่สำหรับผม แต่ก็มีคำถาม หลายๆข้อในเรื่องการประสานของเนื้อและ การจัดเตรียมมวลสารต่างๆ
    ก็ขอขอบคุณนะครับ ในเกร็ดความรู้ ที่ให้ไว้ และต้องพิสูจน์หากันต่อไป
     
  17. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    ตามความรู้ที่ผมมี ผมคิดว่ามวลสารหลักของพระสมเด็จบางขุนพรหม นั้นยังคงใช้ปูนเปลือกหอย เป็นมวลสารหลัก เพราะหาง่าย ไม่ต้องซื้อ และมีกำลังคนในการจัดทำ ทั้งเป็นสูตรเดิมที่ทำไว้ใช้กับ พระสมเด็จวัดระฆัง และวัดเกศไชโย

    การจัดเตรียมวัตถุดิบ
    โดยนำเอาเปลือกหอยมาผ่านกระบวนการเผาเพื่อง่ายในการตำให้เป็นผงปูน (ปูนสุก) ใช้เวลาน้อย ได้เนื้อปูนละเอียด ละลายน้ำได้ง่าย มีน้ำหนักน้อย และได้ปริมาณมาก เพื่อเร่งรีบในการจัดหาสวัสดุ เพื่อทำพระให้ได้ตามจำนวน 84,000 องค์ แต่สุดท้ายก็ไม่ทันอยู่ดี

    ไม่เหมือนกับของวัดระฆัง เป็นปูนเปลือกหอยดิบที่ไม่ได้ผ่านการเผา เอามาตำเป็นผงปูน (ปูนดิบ) ได้ปริมาณน้อยทำไปเรื่อยๆ ไม่รีบเร่ง

    มวลสารที่ใช้เป็นตัวประสาน ในช่วงแรกๆหลังจากกดพิมพ์พระเสร็จ ซึ่งเนื้อยังเปียกอยู่ ปูนไม่มีแรงยึดเกาะให้เนื้อติดกันได้ดี จะต้องใช้ตัวประสานยึดเกาะ ผมเชื่อว่า เป็นน้ำมันตังอิ้ว ไม่ใช่ น้ำผึ้ง หรือ น้ำอ้อยเขี้ยว หรือ กล้วย เพราะไม่ปรากฏเม็ดกล้วย ในเนื้อพระสมเด็จบางขุนพรหม อีกทั้งต้องใช้เวลาในการจัดเตรียม
    และหลวงวิจารณ์ น่าจะแนะนำให้ใช้ น้ำมันตังอิ้ว เป็นตัวประสาน เนื้อพระเช่นเดียวกับ พระสมเด็จ ยุคสาม ครับ จากนั้นก็นำไปผึ่งแดด ผึ่งลม ไม่ได้ผ่านกรรมวิธีการเผาหรืออบแห้ง ถ้าเป็นปูนฉาบโบสถ์ก็จะต้องมีไม้แบบ มาประกบจนกว่าปูนจะแห้ง เพื่อให้คงรูป และรอให้น้ำปูนแห้งตัวเพื่อเกิดการยึดเกาะประสาน และปูนหินนั้น มีการละลายตัวกับน้ำได้ช้า และมีมวลน้ำหนักมากกว่า ปูนเปลือกหอยซึ่งไม่น่าจะใช่

    จากที่ได้ส่องดูเนื้อพระสมเด็จบางขุนพรหม บนผิวมีการพัฒนาการทับซ้อนกันหลายอายุ มีการงอกของปูน ตรงไหนกร่อนตรงนั้นก็มีการงอก ....ซึ่งไม่เหมือนกันกับปูนหินฉาบโบสถ์ เพราะไม่งอก มีแต่ผุกร่อน ครับ
    จากความเข้าใจของผม....

    IMG_3125.PNG IMG_3127.PNG

    ภาพด้านล่างเป็นภาพเปลือกหอย

    IMG_3121.PNG IMG_3123.PNG

    ลองมาวิเคราะห์กันดู สนุกๆแต่ได้ประโยชน์ครับ...
    เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในสมัยโบราณ...

    ไม่ต้องเชื่อผมนะครับ เป็นแค่ความเข้าใจส่วนตัว ครับ
    หากท่านใดมีข้อเสนอแนะ ก็ให้ร่วมกันวิเคราะห์ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2017
  18. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    วันนี้ได้ลอง search หาข้อมูลเรื่องปูน ที่ใช้ในงานปั้น มาครับ

    งานปั้นปูน
    ปูน เป็นวัสดุได้มาจากหินปูน หรือ เปลือกหอยทะเล เผาไหม้ทำให้เป็นผง ถ้าปูนทำขึ้นจากหินปูน เรียกว่า ปูนหิน ถ้าทำขึ้นจากเปลือกหอยเรียกว่า ปูนหอย ปูนทั้งสองชนิดนี้สีขาวจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ปูนขาว”
    ปูนหิน ปูนหอย หรือปูนขาวนี้ ลักษณะเป็นผงสีขาว เมื่อนำมาแช่น้ำไว้สักพักหนึ่งแล้วนำมานวด หรือตำให้เนื้อปูนจับตัวเข้าด้วยกัน เนื้อปูนจะเหนียวเกาะกันแน่นพอสมควร ขณะที่เนื้อปูนยังอ่อนตัวอยู่นี้ เหมาะเป็นวัสดุดิบนำมาใช้ปั้น ทำเป็นรูปภาพ หรือ ทำเป็นลวดลายต่างๆ ใช้ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่ต้องการ ภายหลังที่เนื้อปูนแห้งสนิทจะจับตัวแข็งคงรูป ดั่งที่ปั้นแต่งขึ้นไว้แต่แรก ไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นวัสดุดิบที่มีคุณภาพแข็งถาวรอยู่ได้นานๆ ปี ดังนี้ ปูนขาว ซึ่งได้จากหินปูนก็ดี เปลือกหอยทะเลก็ดี จึงเป็นวัสดุดิบที่ช่างปั้น ได้นำมาใช้สร้างทำงานปั้นแต่โบราณกาลมากระทั่งปัจจุบัน
    งานปั้นปูน ซึ่งได้รับการสร้างขึ้น เป็นงานปั้นแบบไทยประเพณี เป็นความรู้ และ วิธีการเฉพาะงานของช่างปั้น แต่โบราณนั้น อาจลำดับวิธี และ กระบวนการปั้นงานปูนปั้นให้ทราบดังต่อไปนี้
    ปูนปั้นและการเตรียมปูน
    ปูน ที่เป็นวัสดุดิบนำมาใช้ทำงานปั้นปูน คือ ปูนขาว จะต้องได้รับการเตรียมการให้มีคุณภาพเหนียว และ จับตัวแข็งแกร่ง เมื่อภายหลังปูนปั้นนั้นแห้งสนิทแล้ว ด้วยการประสมน้ำยา และ วัสดุบางชนิด เพื่อเพิ่มคุณภาพ คือ น้ำกาว อย่างหนึ่ง กับน้ำมันพืชอย่างหนึ่ง ปูนขาวซึ่งเนื้อปูนพร้อมจะใช้ทำงานปั้น ได้เรียกว่า ปูนน้ำกาว ส่วนปูนขาว ซึ่งเนื้อปูนผสมด้วนน้ำมันขึ้นเป็นเนื้อปูนเรียกว่า ปูนน้ำมัน
    ปูนน้ำกาว ประกอบด้วย ปูนขาว ทรายแม่น้ำ กาวหนังสัตว์ น้ำตาลอ้อย และ กระดาษฟางเล็กน้อย เหตุที่ต้องใช้ กระดาษฟาง และ น้ำตาลอ้อยผสมร่วมกับเนื้อปูน เพราะกระดาษฟาง นั้นเป็นสิ่งช่วยเสริมโครงสร้าง ในเนื้อปูนให้ยึดกันมั่นคง และ ช่วยให้ปูนไม่แตกร้าว เมื่อเกิดการหด หรือ ขยายตัว ส่วนน้ำตาลอ้อย ที่นำมาใช้ผสมปูนก็เพื่ออาศัยเป็นตัวเร่งให้ปูนจับตัวแข็งแรงเร็วขึ้น อาจทรงตัวอยู่ได้ ในขณะที่ยังทำการปั้นไม่แล้วเสร็จ
    ปูนน้ำมันประกอบด้วย ปูนขาว ชัน น้ำมันตั้งอิ้ว ซึ่งเป็นน้ำมันพืช ที่สกัดมาจากเมล็ดในของผลไม้จากต้น “ทั้ง” หรือ “ทั่ง” (Aleurites Fordii) น้ำมันชนิดนี้ทำมาแต่เมืองจีน เรียกว่า ทั้งอิ้ว แปลว่า น้ำมันจากต้นทั้ง คนไทยเรียกตาม ถนัดปากว่า “ตั้งอิ้ว” และ กระดาษฟางเล็กน้อย

    http://changsipmu.com/sculpting_p03.html
     
  19. Tanyadol

    Tanyadol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +191
    หินปูนนั้นมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่นักธรณีวิทยาเรียกกัน คือ แร่แคลไซต์ (Calcite) หรือที่เราเห็นสูตรกันบ่อยๆ คือ CaCO3 อ่านว่าแคลเซียมคาร์บอเนต เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนตในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์ และซากสิ่งมีชีวิต ภายใต้แรงกดดันและเกิดการตกผลึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์

    ปูนเปลือกหอย
    ปูนหอย หรือ ปูนเปลือกหอย เป็นปูนที่นำเปลือกหอยมาเผาและบดให้ละเอียด นำมาใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ผงพระเครื่อง นำมาผสมกับน้ำมันตังอิ๊วและน้ำแก้วและส่วนผสมต่าง ๆ อีกทั้งยังนำมาเป็นปูนกินหมากได้ ปูนหอยที่นิยมก็จะเป็นปูนจากหอยแครง และหอยตลับ เพราะให้เนื้อปูนขาวได้มากกว่า ยังนำไปทำเป็นปุ๋ยได้ดี และอาหารสัตว์ได้อีก
     
  20. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    การทำพระวัดบางขุนพรหม ต้องค่อย ๆ ทำ ไม่รีบไม่เร่ง เพราะพระทำจากปูน ทดสอบง่าย ๆ ไปซื้อปูนซีเมนต์มาผสมน้ำ แล้วทำการขึ้นรูป ต้องรอจนปูนแข็งตัว จึงทำการกระเทาะออกมาแม่พิมพ์ หากรีบเร่ง พระที่พิมพ์ได้เส้นสายคงเว้าแหว่ง ดังน้้นแม่พิมพ์ ๑ ตัว จะพิมพ์พระ ได้ไม่เกิน ๓ องค์ต่อวัน วัดนี้จึงมีการสร้างพระบรรจุกรุที่ยาวนาน และต้องมาขอยืมแม่พิมพ์ปรกโพธิ์จากวัดระฆังเพิ่ม เรื่องปูนที่ใช้ทำพระ ๘๔๐๐๐ องค์ คงใช้ปูนไม่ถึง ๒ ลบ.ม. คงไม่ต้องลำบากหาหอยมาเผาหรอกคับ เพราะปูนมีขาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มีนาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...