"พระอานนท์พุทธอนุชา" จินตนิยายสมัยพุทธกาลอิงหลักธรรมพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย :-), 15 มิถุนายน 2005.

  1. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <CENTER>[size=+1]จินตนิยายสมัยพุทธกาลอิงหลักธรรมพระพุทธศาสนา[/size] </CENTER><CENTER>[size=+2]"พระอานนท์พุทธอนุชา"[/size][size=+1]</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">[​IMG]</CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">โดยท่านอาจารย์วศิน อินทสระ</CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">เรื่องพระอานนท์พุทธอนุชานี้ ได้รับความเมตตาเป็นอย่างยิ่งจากท่าน "สิริสทฺโธ ภิกฺขุ" ในการพิมพ์เนื้อหา และนอกจากนี้ท่านยังได้เมตตาเป็นธุระให้ในการติดต่อกับท่านอาจารย์วศินโดยตรงเพื่อขออนุญาตนำเรื่องพระอานนท์พุทธอนุชามาเผยแพร่ในเวปปลาทองธรรมแห่งนี้ และรวมถึงเรื่องลีลากรรมของสตรีสมัยพุทธกาลอีกด้วย ด้วยความเคารพเป็นอย่างสูง ข้าพเจ้าขอกราบขอบพระคุณท่าน "สิริสทฺโธ ภิกขุ" และขอขอบพระคุณท่าน "อาจารย์วศิน อินทสระ" ไว้ ณ โอกาสนี้ ท้ายนี้ข้าพเจ้าขอกราบอนุโมทนาบุญในครั้งนี้ด้วย และหากมีความผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าต้องขออภัยท่านอาจารย์วศิน และท่านผู้อ่านไว้ ณ โอกาสนี้เช่นกัน ขอเชิญท่านผู้อ่านติดตามเรื่องพระอานนท์พุทธอนุชาได้ในบัดนี้ค่ะ </CENTER>
    ปลาทอง


    ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๔
    คำนำ





    [/size]เนื้อเรื่อง

    <CENTER><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="80%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๑</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>ในที่ประชุมสงฆ์ ณ เชตวันมหาวิหาร</BIG></TD><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๒</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>ณ สัณฐาคารแห่งนครกบิลพัสดุ์</BIG></TD></TR><TR><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๓</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>พุทธุปฐากผู้เป็นบัณฑิต</BIG></TD><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๔</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>มหามิตร</BIG></TD></TR><TR><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๕</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>กับพระนางมหาปชาบดี</BIG></TD><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๖</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>ความรัก - ความร้าย</BIG></TD></TR><TR><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๗</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>กับโกกิลาภิกษุณี</BIG></TD><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๘</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>โกกิลาผู้ประหารกิเลส</BIG></TD></TR><TR><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๙</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>พันธุละกับพระราชา</BIG></TD><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๑๐</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>ณ ป่าประดู่ลาย</BIG></TD></TR><TR><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๑๑</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>บนกองกระดูกแห่งตัณหานุสัย</BIG></TD><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๑๒</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>สุทัตตะสร้างอารามเชตวัน</BIG></TD></TR><TR><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๑๓</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>เบญจกัลยาณีนางวิสาขา</BIG></TD><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๑๔</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>มหาอุบาสิกานามวิสาขา</BIG></TD></TR><TR><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๑๕</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>พุทธานุภาพ</BIG></TD><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๑๖</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>นางบุญและนางบาป</BIG></TD></TR><TR><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๑๗</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>นางบาปและนางบุญ</BIG></TD><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๑๘</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>ปฏิกิริยาแห่งธัมโมชปัญญา</BIG></TD></TR><TR><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๑๙</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>น้ำใจและจริยา</BIG></TD><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๒๐</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>ปุพพูปการของพระพุทธอนุชา</BIG></TD></TR><TR><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๒๑</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>ความอัศจรรย์แห่งธรรมวินัย</BIG></TD><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๒๒</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>ปัจฉิมทัสนา ณ เวสาล</BIG></TD></TR><TR><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๒๓</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>คราเมื่อทรงปลงพระชนมายุสังขาร</BIG></TD><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๒๔</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>พระอานนท์ร้องไห้</BIG></TD></TR><TR><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๒๕</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>ปัจฉิมสาวกอรหันต์และพวงดอกไม้มาร</BIG></TD><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๒๖</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>อุปกาชีวกกับพวงดอกไม้มาร</BIG></TD></TR><TR><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๒๗</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>อุปกาชีวกกับพระอนันตชิน</BIG></TD><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๒๘</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>เมื่อสาลวโนทยานขาวด้วยมหาวิโยค</BIG></TD></TR><TR><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๒๙</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>วันหนึ่งก่อนวันประชุมสังคายนา</BIG></TD><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๓๐</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>พรหมทัณฑ์และ ณ ชาตสระบนเส้นทางจาริก</BIG></TD></TR><TR><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๓๑</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>จุตรงคพลและวิมลมาน</BIG></TD><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๓๒</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>หญิงงามกับบิดา</BIG></TD></TR><TR><TD align=middle width="5%" bgColor=#ffe8e8>๓๓</TD><TD align=middle width="45%" bgColor=#ffffe8><BIG>ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบ</BIG></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px"></CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">[​IMG] </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px"><BIG>อัพโหลดครั้งแรก ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๔</BIG></CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px"><BIG></BIG></CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px"><BIG>ที่มา : http://se-ed.net/platongdham/pra_anon/</CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px"></CENTER><NOSCRIPT><table bgcolor="#ffffff"><td><font color="#ffffff"></div></div>
    &ampampampampampampampampampampampampampampampnbsp
    &ampampampampampampampampampampampnbsp
    &ampampampampampampampampampampampnbsp
    &ampampampampampampampampampampnbsp
    &ampampampampampampampampampampnbsp
    &ampampampampampampampampampnbsp
    &ampampampampampampampampampnbsp
    &ampampampampampampampampnbsp
    &ampampampampampampampampnbsp
    &ampampampampampampampnbsp
    &ampampampampampampampnbsp
    &ampampampampampampnbsp
    &ampampampampampampnbsp
    &ampampampampampnbsp
    &ampampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampampnbsp
    &ampnbsp
    &ampnbsp
    &nbsp
    &nbsp


    </html></NOSCRIPT></BIG><!--EndFragment--></NOSCRIPT></BIG>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มิถุนายน 2005
  2. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151


    <CENTER>๑. ในที่ประชุมสงฆ์ ณ เชตวันมหาวิหาร</CENTER><DD>สมณะทั้งสองเดินดุ่มผ่านทุ่งกว้างเข้าสู่เขตป่าโปร่ง มีทางพอเดินได้สะดวก สมณะซึ่งเดินนำหน้ามีอินทรีย์ผ่องใส มีสายตาทอดลงต่ำ ผิวขาวละเอียดอ่อนลักษณะแสดงว่ามาจากวรรณะสูง อากัปกิริยาและท่าที่เยื้องย่างน่าทัศนา นำมาซึ่งความเลื่อมใสปีติปราโมชแก่ผู้พบเห็นยิ่งนัก ผ้าสีเหลืองหม่นที่คลุมกาย แม้จะทำขึ้นอย่างง่ายๆ ไม่มีรูปทรงอะไร แต่ก็มองดูสะอาดเรียบร้อยดี <DD>ส่วนสมณะผู้เดินอยู่เบื้องหลัง แม้จะมีส่วนสูงไม่เท่าองค์หน้า แต่ก็มีรูปร่างอยู่ในขนาดเดียวกัน ท่านเดินได้ระยะพองามไม่ห่างกันและไม่ชิดจนเกินไป <DD>ทั้งสองเดินมาถึงทางสองแพร่ง เมื่อสมณะผู้เดินหน้ามีอาการว่าจะเลี้ยวไปทางขวา สมณะผู้เดินหลังก็กล่าวขึ้นว่า <DD>"ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์ต้องการไปทางซ้าย พระเจ้าข้าฯ" <DD>"อย่าเลย - นาคสมาละ! ตถาคตต้องการไปทางขวา เรามีเรื่องสำคัญที่จะต้องไปโปรดสัตว์ทางนี้" <DD>"ข้าพระองค์ต้องการไปทางซ้าย พระเจ้าข้าฯ" พระนาคสมาละยืนยัน <DD>"อย่าเลย - นาคสมาละ! มากับตถาคตทางขวานี่เถิด" พระผู้มีพระภาคขอร้อง <DD>พระพุทธองค์ทรงห้ามถึงสามครั้งแต่พระนาคสมาละก็หายอมไม่ ในที่สุดท่านก็วางบาตรของพระผู้มีพระภาคไว้ในทางสองแพร่ง แล้วเดินหลีกไปทางซ้ายตามความปรารถนาของท่าน พระจอมมุนีศากบุตรต้องนำบาตรของพระองค์ไปเองและเสด็จไปโดดเดี่ยว <DD>อีกครั้งหนึ่ง พระเมฆิยะเป็นพระอุปฐากพระผู้มีพระภาค พระองค์เสด็จไปยังชันตุคาม เขตปาจีนวังสะมีพระเมฆิยะตามเสด็จ เวลาเช้าพระเมฆิยะไปบิณฑบาตในชันตุคาม กลับจากบิณฑบาตแล้วท่านเดินผ่านสวนมะม่วงอันน่ารื่นรมย์แห่งหนึ่ง ปรารถนาจะไปบำเพ็ญสมณธรรมที่นั่น จึงกราบทูลขออนุญาตพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงห้ามถึงสามครั้งว่า <DD>"อย่าเพิ่งไปเลย - เมฆิยะ เวลานี้เราอยู่คนเดียว ขอให้ภิกษุอื่นมาแทนเสียก่อนแล้วเธอจึงค่อยไป" <DD>ความจริงพระพุทธองค์ทรงเห็นอุปนิสัยของพระเมฆิยะว่ายังไม่สมควรที่จะไป จึงไม่ทรงอนุญาต หาใช่เพราะทรงคำนึงถึงความลำบากไม่ และไม่ใช่พระองค์จะไม่ทรงเห็นความจำเป็นในการบำเพ็ญสมณธรรม เกี่ยวกับเรื่องสมณธรรมนั้น พระพุทธองค์ทรงส่งเสริมให้ภิกษุกระทำอยู่เสมอ <DD>พระเมฆิยะไม่ยอมฟังคำท้วงติงของพระพุทธองค์ละทิ้งพระองค์ไว้แล้วไปสู่สวนมะม่วงอันร่มรื่น บำเพ็ญสมณธรรมทำจิตให้สงบ แต่ก็หาสงบไม่ ถูกวิตกทั้งสามรบกวนจนไม่อาจให้จิตสงบได้เลย วิตกทั้งสามนั้นคือกามวิตก - ความตรึกเรื่องกาม พยาบาทวิตก - ความตรึกในทางปองร้าย และวิหิงสาวิตก - ความตรึกในทางเบียดเบียน ในที่สุดจึงกลับมาเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์ทรงเตือนว่า <DD>"เมฆิยะเอย! จิตนี้เป็นสิ่งที่ดิ้นรนกวัดแกว่งรักษายาก ห้ามได้ยาก ผู้มีปัญญาจึงพยายามทำจิตนี้ให้หายดิ้นรน และเป็นจิตตรงเหมือนช่างศรดัดลูกศรให้ตรง <DD>เมฆิยะเอย! จิตนี้คอยแต่จะกลิ้งเกลือกลงไปคลุกเคล้ากับกามคุณ เหมือนปลาซึ่งเกิดในน้ำถูกนายพรานเบ็ดยกขึ้นจากน้ำแล้ว คอยแต่จะดิ้นลงไปในน้ำอยู่เสมอ ผู้มีปัญญาจึงพยายามยกจิตขึ้นจากอาศัยในกามคุณ ให้ละบ่วงมารเสีย" <DD>ภายใน ๒๐ ปีแรก จำเดิมแต่การตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาค คือระหว่างพระชนมายุ ๓๕ ถึง ๕๔ พรรษา พระพุทธองค์ ไม่มีพระสาวกผู้อยู่อุปฐากประจำ บางคราวก็เป็นพระอุปวาณะ บางคราวพระนาคิตะ บางคราวพระสุนักขัตตะ บางคราวพระสาคตะ บางคราวพระราธะ บางคราวพระนาคสมาละ และบางคราวพระเมฆิยะที่กล่าวแล้ว บางคราวก็เป็นสามเณรจุนทะ น้องชายพระสารีบุตร <DD>พระผู้มีพระภาคได้รับความลำบากด้วยการที่ภิกษุผู้อุปฐากไม่รู้พระทัยของพระองค์ ต้องเปลี่ยนอยู่บ่อยๆ ถ้าจะมีผู้สงสัยว่า เหตุไฉนพระพุทธเจ้าจึงต้องมีพระอุปฐากประจำด้วย ดูๆ จะมิเป็นการยังถือยศศักดิ์ถือฐานะอยู่หรือ? เรื่องนี้ถ้าพิจารณาด้วยดี จะเห็นความจำเป็นที่พระองค์จะต้องมีพระอุปฐากประจำ หรือผู้รับใช้ใกล้ชิด เพราะพระองค์ต้องทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า ต้องมีการประชุมสงฆ์เป็นคราวๆ และต้องต้อนรับคฤหัสถ์บรรพชิตมากหลาย ที่มาเฝ้าเพื่อถวายปัจจัยบ้าง เพื่อทูลถามปัญหาข้อข้องใจบ้าง ในบรรดาผู้มาเฝ้าเหล่านั้น ที่เป็นมาตุคามก็มีมาก จะเห็นว่าพระองค์ไม่ควรประทับอยู่แต่ลำพัง แต่ก็มีนานๆ ครั้งที่พระศาสดาทรงปลีกพระองค์ไปประทับแต่ลำพัง ในระยะนั้นเป็นที่ทราบกันว่าพระองค์ไม่ทรงต้อนรับผู้ใด ทรงหลีกเร้นอยู่เพื่อแสวงหาความสุขในปัจจุบัน ที่เรียกว่า "ทิฏฐธรรมสุขวิหาร" <DD>ด้วยประการดังกล่าวมานี้ จึงคราวหนึ่ง เมื่อพระองค์ประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ใกล้กรุงสาวัตถีราชธานีแห่งแคว้นโกศล พระเถระชั้นผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก มีพระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ เป็นต้น มาประชุมกันพร้อม พระผู้มีพระภาคทรงปรารภในท่ามกลางสงฆ์ว่า บัดนี้พระองค์ทรงพระชราแล้ว ภิกษุผู้อุปฐากพระองค์ บางรูปก็ทอดทิ้งพระองค์ไปเสียเฉยๆ บางรูปวางบาตร และจีวรของพระองค์ไว้บนพื้นดินแล้วเดินจากไป จึงขอให้สงฆ์เลือกภิกษุรูปใดรูปหนึ่งขึ้นรับตำแหน่งอุปฐากพระองค์เป็นประจำ <DD>ภิกษุทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสนี้แล้ว มีความสังเวชสลดจิตอย่างยิ่ง พระสารีบุตรกราบบังคมทูลขึ้นก่อนว่า <DD>"ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นดวงตาของโลก! ข้าพระพุทธเจ้าขออาสา รับเป็นอุปฐากปฏิบัติพระองค์เป็นประจำ ขอพระผู้มีพระภาคอาศัยความอนุเคราะห์รับข้าพระองค์เป็นอุปฐากเถิด" <DD>พระผู้มีพระภาคตรัสตอบขอบใจพระสารีบุตร แล้วตรัสว่า "สารีบุตร! อย่าเลย - เธออย่าทำหน้าที่อุปฐากเราเลย เธออยู่ ณ ที่ใดที่นั้นก็มีประโยชน์มาก โอวาทคำสั่งสอนของเธอเป็นเหมือนโอวาทของพระพุทธเจ้า เธอสามารถหมุนธรรมจักรให้เป็นประโยชน์สุขแก่ปวงชนเช่นกับด้วยเรา ผู้ได้เข้าใกล้เธอเหมือนได้เข้าใกล้เรา ผู้ที่สนทนากับเธอเหมือนได้สนทนากับเรา" <DD>ต่อจากนั้นพระมหาเถระรูปอื่นๆ ต่างก็แสดงความจำนงจะเป็นอุปฐากปฏิบัติพระพุทธองค์เป็นประจำ แต่พระองค์ทรงห้ามเสียทั้งสิ้น เหลือแต่พระอานนท์เท่านั้นที่ยังคงนั่งเฉยอยู่ พระสารีบุตรจึงกล่าวเตือนพระอานนท์ขึ้นว่า <DD>"อานนท์! เธอไม่เสนอเพื่อรับเป็นอุปฐากพระผู้มีพระภาคหรือ ทำไมจึงนั่งเฉยอยู่" <DD>"ข้าแต่ท่านธรรมเสนาบดี" พระอานนท์ตอบ "อันตำแหน่งที่ขอได้มานั้นจะประเสริฐอะไร อีกประการหนึ่งเล่า พระผู้มีพระภาคก็ทรงทราบอัธยาศัยของข้าพเจ้าอยู่ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์ก็คงจะตรัสให้ข้าพเจ้าเป็นอุปฐากของพระองค์เอง ความรู้สึกของข้าพเจ้าที่มีต่อพระผู้มีพระภาคเป็นอย่างไร พระองค์ก็ทรงทราบอยู่แล้ว" <DD>ที่ประชุมเงียบไปครู่หนึ่ง ไม่มีผู้ใดไหวกายหรือวาจาเลย เงียบสงบเหมือนไม่มีพระภิกษุอาศัยอยู่ ณ ที่นั้นเลย ภิกษุทุกรูปนั่งสงบ ไม่มีแม้แต่เพียงไอหรือจามหรืออาการกระดุกกระดิก พระผู้มีพระภาคตรัสขึ้นท่ามกลางความเงียบขึ้นว่า <DD>"ภิกษุทั้งหลาย! อานนท์มีความประสงค์ที่จะอุปฐากเราอยู่แล้ว เป็นเพียงขอให้สงฆ์รับทราบเท่านั้น เพราะฉะนั้นตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป อานนท์จักอุปฐากเรา" <DD>เป็นความรอบคอบสุขุมของพระผู้มีพระภาคที่ตรัสเช่นนั้น ความจริงหากพระองค์จะไม่ตรัสในที่ประชุมสงฆ์ แต่ตรัสเฉพาะพระอานนท์เอง พระอานนท์ก็พอใจที่จะอุปฐากอยู่ใกล้ชิดพระองค์ตลอดเวลา แต่เพื่อจะยกย่องพระอานนท์ และให้สงฆ์รับทราบในอัธยาศัยของพระอานนท์ พระองค์จึงปรารภเรื่องนี้ท่ามกลางสงฆ์ ความเป็นจริงพระอานนท์ได้สั่งสมบารมีมาเป็นเวลาหลายร้อยชาติ เพื่อตำแหน่งอันมีเกียรตินี้ <DD>พระอานนท์เป็นผู้รอบคอบ มองเห็นกาลไกล เมื่อพระผู้มีพระภาคและสงฆ์มอบตำแหน่งนี้ไว้แล้ว จึงทูลของเงื่อนไขบางประการดังนี้ <DD>"ข้าแต่พระผู้เป็นนาถาของโลก! เมื่อข้าพระองค์รับเป็นพุทธอุปฐากแล้ว ข้าพระองค์ทูลขอพระกรุณาบางประการ คือ <DD>๑. ขอพระองค์อย่าได้ประทานจีวรอันประณีตที่มีผู้นำมาถวายแก่ข้าพระองค์เลย <DD>๒. ขอพระองค์อย่าได้ประทานบิณฑบาต อันประณีตที่พระองค์ได้แล้วแก่ข้าพระองค์ <DD>๓. ขอพระองค์อย่าได้ให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ๆ เดียวกันกับที่พระองค์ประทับ <DD>๔. ขออย่าได้พาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์ ซึ่งพระองค์รับไว้ <DD>"ดูก่อนอานนท์! เธอเห็นประโยชน์อย่างไรจึงขอเงื่อนไข ๔ ประการนี้" <DD>"ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทูลขอพร ๔ ประการนี้ เพื่อป้องกันมิให้คนทั้งหลายตำหนิได้ ว่าข้อพระองค์รับตำแหน่งพุทธอุปฐาก เพราะเห็นแก่ลาภสักการะ" <DD>พระอานนท์ยังได้ทูลขึ้นอีกในบัดนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษสูงสุด! ข้ออื่นยังมีอีกคือ <DD>๕. ขอพระองค์โปรดกรุณา เสด็จไปสู่ที่นิมนต์ ซึ่งข้าพระองค์รับไว้เพื่อพระองค์ไม่อยู่ <DD>๖. ขอให้ข้าพระองค์ได้พาพุทธบริษัทเข้าเฝ้าพระองค์ได้ในขณะที่เขามาเพื่อจะเฝ้า <DD>๗. ถ้าข้าพระองค์มีความสงสัยเรื่องใด เมื่อใดขอให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามได้ทุกโอกาส" <DD>"อานนท์! เธอเห็นประโยชน์อย่างไร จึงขอพร ๓ ประการนี้!" <DD>"ข้าพระองค์ทูลขอ เพื่อป้องกันมิให้คนทั้งหลายตำหนิได้ว่า ข้าพระองค์บำรุงพระองค์อยู่ทำไมกัน เรื่องเพียงเท่านี้พระองค์ก็ไม่ทรงสงเคราะห์ ข้าแต่พระจอมมุนี ข้ออื่นยังมีอีก คือ <DD>๘. ถ้าพระองค์แสดงพระธรรมเทศนา ในที่ใดแก่ผู้ใด ซึ่งข้าพระองค์มิได้อยู่ด้วย ขอได้โปรดเล่าพระธรรมเทศนานั้นแก่ข้าพระองค์อีกครั้งหนึ่ง" <DD>"อานนท์! เธอเห็นประโยชน์อย่างไร จึงขอพรข้อนี้?" <DD>"ข้าแต่พระจอมมุนี! ข้าพระองค์ทูลขอพรข้อนี้เพื่อป้องกันมิให้คนทั้งหลายตำหนิได้ว่า ดูเถิด พระอานนท์เฝ้าติดตามพระศาสดาอยู่เหมือนเงาตามตัว แต่เมื่อถามถึงพระสูตร หรือชาดก หรือคาถา ว่าสูตรนี้ ชาดกนี้ คาถานี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ใคร ที่ไหนก็หารู้ไม่ เรื่องเพียงเท่านี้ยังไม่รู้ จะมัวติดตามพระศาสดาอยู่ทำไม เหมือนกบอยู่ในสระบัว แต่หารู้ถึงเกสรบัวไม่" <DD>พระพุทธองค์ ประทานพรทั้ง ๘ ประการ แก่พระอานนท์พุทธอนุชาตามปรารถนาและพระอานนท์ก็รับตำแหน่งพุทธอุปฐากตั้งแต่บัดนั้นมา พระผู้มีพระภาคมีพระชนมายุได้ ๕๕ พรรษา เป็นปีที่ ๒๐ จำเดิมแต่ตรัสรู้ ส่วนพระอานนท์มีอายุได้ ๕๕ ปีเช่นกัน แต่มีพรรษาได้ ๑๙ จำเดิมแต่อุปสมบท </DD>​
     
  3. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    895
    ค่าพลัง:
    +1,936
    โมทนาสาธุ

    ผมมี MP3 ฟังจบไปเกือบ 10 รอบแล้ว
    ยิ่งฟังยิ่งซึ้งพระพุทธเจ้า
     
  4. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    ผมอ่านหนังสือเล่มนี้ตังแต่ 13 ปีที่แล้ว อ่านหลายรอบ ยิ่งอ่านก็ยิ่งซึ้งในคุณของพระพุทธเจ้าและพระสาวกเช่นกันครับ หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในหนังสือที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงโปรดครับ
     
  5. kung

    kung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    247
    ค่าพลัง:
    +770
    ผมเพิ่งอ่านเจอที่เว็บคุณปลาทองธรรม ติดใจก็เลยไปหาซื้อหนังสือมาอ่าน เล่มละ 200.- เพิ่งอ่านจบเมื่อคืนเองครับ ดีมากเลยครับ เพิ่มศรัทธาและความเคารพรักในพระรัตนไตร มากๆยิ่งขึ้น
    ดีมากครับ
     
  6. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <CENTER>๒. ณ สัณฐาคารแห่งนครกบิลพัสดุ์</CENTER><DD>นับถอยหลังจากเวลาที่พระอานนท์รับเป็นพุทธอุปฐากไปเป็นเวลา ๕๕ ปี ในพระราชวังอันโอ่อ่าของกษัตริย์ศากยราช มีการประดับประดาประทีปโคมไฟเป็นระย้าสว่างไสวไปทั่วเขตพระราชวัง พระเจ้าสุทโธทนะอนุชาแห่งสมเด็จพระเจ้ากรุงกบิลพัสดุ์ มีพระพักตร์แจ่มใสตลอดเวลา ทรงทักคนนั้นคนนี้ด้วยความเบิกบานพระทัย พระประยูรญาติและเสนาข้าราชบริพาร มีความปรีดาปราโมชอย่างยิ่งที่มีพระราชกุมารพระองค์หนึ่งอุบัติขึ้นในโลก เขาพร้อมใจกันถวายพระนามราชกุมารว่า "อานันทะ" เพราะนิมิตรที่นำความปรีดาปราโมชและบันเทิงสุขมาให้ เจ้าชายอานันทะอุบัติขึ้นวันเดียวกับพระราชกุมารสิทธัตถะก้าวลงสู่โลกนั่นแล พระราชกุมารทั้งสองจึงเป็นสหชาติกันมาสู่โลกพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย นับว่าเป็นคู่บารมีกันโดยแท้ <DD>เจ้าชายอานันทะ ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีที่สุดเท่าที่พระราชกุมารในราชสกุลจะพึงได้รับ พระองค์เติบโตขึ้นภายใต้ความชื่นชมโสมนัสแห่งพระราชบิดาและพระประยูรญาติ เจ้าชายเป็นผู้ถ่อมตน สุภาพอ่อนโยนแลว่าง่ายมาแต่เล็กแต่น้อย พระฉวีผุดผ่อง พระวรกายงามสง่าสมสกุลกษัตริย์ ทรงได้รับการศึกษาอย่างดีจากสำนักอย่างที่ดีที่สุดเท่าที่หาได้ในแคว้นสักกะจนกระทั่งพระชนมายุสมควรที่จะมีคู่ครอง แต่หามีปรากฏว่าพระองค์ทรงชอบพอสตรีคนใดเป็นพิเศษไม่ <DD>ข่าวการเสด็จออกบรรพชาของเจ้าชายสิทธัตถะมกุฎราชกุมาร แห่งกบิลพัสดุ์นคร ก่อความสะเทือนพระทัยและพิศวงงงงวยแก่เจ้าชายอานันทะยิ่งนัก พระองค์ทรงดำริอยู่เสมอว่า เจ้าพี่คงมองเห็นทางปลอดโปร่งอะไรสักอย่างหนึ่งเป็นแน่ จึงสละรัชสมบัติออกบรรพชา <DD>จนกระทั่ง ๖ ปี ภายหลังจากพระสิทธัตถกุมารออกแสวงหาโมกขธรรมแล้ว มีข่าวแพร่สะพัดจากนครราชคฤห์เข้าสู่นครหลวงแห่งแคว้นสักกะว่า บัดนี้พระมหามุนีโคตมะศากยบุตร ได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เทศนาสั่งสอนปวงชนชาวมคธอยู่ เจ้าชายอานันทะทรงกำหนดพระทัยไว้ว่า เมื่อใดพระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่นครกบิลพัสดุ์ พระองค์จักขอบวชในสำนักของพระพุทธองค์ <DD>วันหนึ่ง ณ สัณฐาคารแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ศากยราชทั้งหลายประชุมกัน มีพระราชกุมารหลายพระองค์เข้าประชุมด้วย พระเจ้าสุทโธทนะซึ่งบัดนี้เป็นพุทธบิดาเป็นประธาน พระองค์ตรัสปรารภว่า <DD>"ท่านทั้งหลาย บัดนี้ท่านคงได้ทราบข่าวการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าแล้ว พระองค์มิใช่ใครอื่น คือสิทธัตถกุมารบุตรแห่งเรานั่นเอง ทราบว่ากำลังประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ราชธานีแห่งพระเจ้าพิมพิสาร ข้าพเจ้าขอปรึกษาท่านทั้งหลายว่า เราควรจะส่งคนของเราไปทูลเสด็จมาเมืองเรา หรือควรจะคอยจนกว่าพระองค์เสด็จมาเอง ผู้ใดมีความเห็นอย่างไรขอให้แสดงความคิดเห็นได้" <DD>มีราชกุมารองค์หนึ่ง ชูพระหัตถ์ขึ้น เมื่อได้รับอนุญาตให้พูดได้แล้วพระองค์จึงแสดงความคิดเห็นว่า <DD>"ข้าแต่ศากยราชทั้งหลาย! ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าเราไม่ควรทูลเชิญเสด็จ ข้าพเจ้ามีเหตุผลว่า เมื่อตอนเสด็จออกบวช พระสิทธัตถะก็มิได้ทูลใครแม้แต่สมเด็จพระราชบิดาเอง อีกประการหนึ่ง กบิลพัสดุ์เป็นนครของพระองค์ เรื่องอะไรเราจะต้องเชิญเจ้าของบ้านให้เข้าบ้าน เมื่อพระสิทธัตถะโอ้อวดว่าเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จะไม่กลับบ้านของตัวเองก็แล้วไป เมื่อพระองค์ไม่คิดถึงพระชนก หรือพระประยูรญาติทั้งหลาย เราจะคิดถึงพระองค์ทำไม ข้าพเจ้าเห็นว่า ถ้าต้องถึงกับทูลเชิญเสด็จก็เป็นเรื่องมากเกินไป" ราชกุมารตรัสจบแล้วก็นั่งลง <DD>ทันใดนั้น พระราชกุมารอีกองค์หนึ่งลุกขึ้นกล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินและศากยวงศ์ทั้งหลาย! ข้อที่เจ้าชายเทวทัตกล่าวมานั้นไม่ชอบด้วยเหตุผล ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย เจ้าชายสิทธัตถะแม้จะเป็นยุพราช มีพระชนมายุยังเยาว์ก็จริง แต่พระองค์บัดนี้เป็นนักพรต และมิใช่นักพรตธรรมดา ยังเป็นถึงพระพุทธเจ้าอีกด้วย แม้แต่นักพรตธรรมดา เราผู้ถือตัวว่าเป็นกษัตริย์ยังต้องให้เกียรติถวายความเคารพ เมื่อเป็นเช่นนี้เหตุไฉนเราจะให้เกียรติแก่พระสิทธัตถะ ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าและพระญาติของเราไม่ได้ เป็นตำแหน่งที่สูงส่งมาก พระมหาจักรพรรดิยังต้องถวายพระเกียรติ ทำไมคนขนาดเราจะถวายพระเกียรติไม่ได้ ข้าพเจ้าเห็นว่าควรจะส่งทูตไปเชิญเสด็จพระองค์เข้าสู่กบิลพัสดุ์" พระราชกุมารนั่นลง <DD>"การที่เจ้าชายอานันทะเสนอมานั้น" เจ้าชายเทวทัตค้าน "โดยอ้างตำแหน่งพระพุทธเจ้าขึ้นเป็นที่ตั้ง ก็ความเป็นพระพุทธเจ้านั้น ใครๆ ก็อาจเป็นได้ ถ้ากล้าโกหกชาวโลกว่าตัวเป็น พูดเอาเอง ใคร ๆ ก็พูดได้" <DD>"เทวทัต!" เจ้าศากยะสูงอายุผู้หนึ่งลุกขึ้นพูด "ถ้าเจ้าชายสิทธัตถะลวงโลกว่าเป็นพระพุทธเจ้า อย่างที่เธอเข้าใจ เราก็ยิ่งจำเป็นที่จะต้องเชิญเสด็จยิ่งขึ้น เพื่อจะได้รู้ให้แน่นอนว่า พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าจริงหรือพระพุทธเจ้าปลอม" สัณฐาคารเงียบกริบ ไม่มีใครพูดขึ้นอีกเลย พระเจ้าสุทโธทนะจึงตรัสขึ้นว่า <DD>"ท่านทั้งหลาย! ถ้าเราเถียงกันแบบนี้สักกี่วันก็ไม่อาจตกลงกันได้ ต่างคนต่างก็มีเหตุผลน่าฟังด้วยกันทั้งสิ้น ข้าพเจ้าอยากจะให้เรื่องจบลงโดยการฟังเสียงข้างมาก เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าขอถามที่ประชุมว่า ผู้ใดเห็นว่าสมควรเชิญเสด็จลูกของเรามาสู่เมือง ขอให้ยกพระหัตถ์ขึ้น" <DD>จบพระสุรเสียงของพระเจ้าสุทโธทนะ มีพระหัตถ์ของศากยวงศ์ยกขึ้นสลอนมากมาย แต่ไม่ได้นับ เพราะเห็นว่ายังเหลืออยู่เป็นส่วนน้อยเหลือเกิน <DD>"คราวนี้ ท่านผู้ใดเห็นว่าไม่สมควรจะเชิญเสด็จ ขอให้ยกพระหัตถ์ขึ้น" ปรากฏว่ามีสองพระหัตถ์เท่านั้น คือเจ้าชายเทวทัตและพระสหายคู่พระทัย เป็นอันว่ามีสองพระหัตถ์เท่านั้น คือเจ้าชายเทวทัตและพระสหายคู่พระทัย <DD>เป็นอันว่าเสียงในที่ประชุมเรียกร้องให้ทูลเสด็จพระผู้มีพระภาคเข้าสู่กบิลพัสดุ์ เจ้าชายอานนท์พอพระทัยเหลือเกิน ทูลอาสาไปรับเสด็จพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง แต่พระเจ้าสุทโธทนะทรงห้ามเสีย เจ้าชายเทวทัตคั่งแค้นพระทัยยิ่งนัก ตั้งแต่เป็นพระราชกุมารน้อยๆ ด้วยกันมาไม่เคยมีชัยชนะเจ้าชายสิทธัตถะเลย <DD>เวลานั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจากอุรุเวลาเสนานิคม ตำบลที่ตรัสรู้ไปสู่อิสิปตนมฤคทายะเพื่อโปรดปัญจวัคคีย์ แล้วโปรดพระยสะและชฏิลสามพี่น้องพร้อมด้วยบริวาร แล้วเสด็จเข้าสู่กรุงราชคฤห์ เพื่อโปรดพระเจ้าพิมพิสารตามปฏิญาณที่ทรงให้ไว้ เมื่อเสด็จผ่านมาทางราชคฤห์สมัยเมื่อแสวงหาโมกขธรรม ได้รับวัดเวฬุวันสวนไม้ไผ่ เป็นอารามสงฆ์แห่งแรกในพระพุทธศาสนาแล้ว ข่าวกระฉ่อนทั่วไปทั้งพระนครราชคฤห์และเมืองใกล้เคียง ทรงได้อัครสาวกซ้ายขวา คือพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะเป็นกำลังสำคัญ <DD>ในเวลาเย็นชาวนครราชคฤห์มีมือถือดอกไม้ธูปเทียนและน้ำปานะ มีน้ำอ้อยเป็นต้น ไปสู่อารามเวฬุวันเพื่อฟังพระธรรมเทศนา และถวายน้ำปานะแก่พระภิกษุสงฆ์ <DD>พระเจ้าสุทโธทนะทรงส่งทูตมาทูลเชิญพระผู้มีพระภาค เพื่อเสด็จกลับพระนคร แต่ปรากฏว่าทูต ๙ คณะแรกไปถึงแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาเลื่อมใสศรัทธาขอบรรพชาอุปสมบท และมิได้ทูลเสด็จพระพุทธองค์ ต่อมาถึงทูตคณะที่ ๑๐ ซึ่งมีกาฬุทายีมหาอำมาตย์เป็นหัวหน้าไปถึงวัดเวฬุวัน ขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระผู้มีพระภาค แล้วจึงทูลอาราธนาพระพุทธองค์ตามพระดำรัสของพระพุทธบิดา <DD>พระผู้มีพระภาค มีพระอรหันตขีณาสพจำนวนประมาณสองหมื่นเป็นบริวาร เสด็จจากกรุงราชคฤห์สู่นครกบิลพัสดุ์วันละโยชน์ๆ รวม ๖๐ วัน ในระหว่างทางได้ประทานพระธรรมเทศนาโปรดประชาชนให้ดำรงอยู่ในคุณวิเศษต่างๆ ตามอุปนิสัย จนกระทั่งถึงนครกบิลพัสดุ์ <DD>พระพุทธบิดาเตรียมรับเสด็จพระพุทธองค์ โดยสร้างวัดนิโครธารามถวายเป็นพุทธนิวาส การเสด็จมาของพระพุทธองค์ครั้งนี้ เป็นที่ชื่อชมโสมนัสของพระประยูรญาติยิ่งนัก เพราะเป็นเวลา ๗ ปีแล้วที่พระองค์จากไป โดยพระญาติมิได้เห็นเลยแม้แต่เงาของพระองค์ <DD>วันรุ่งขึ้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกบิณฑบาตผ่านมาทางปราสาทของพระบิดา พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นแล้วรีบเสด็จลงไป จับชายจีวรของพระองค์ แล้วกล่าวว่า <DD>"สิทธัตถะ ทำไมเจ้าจึงทำอย่างนี้ ตระกูลของเจ้าเป็นคนขอทานหรือ ศากยวงศ์ไม่เคยทำเลย เจ้าทำให้วงศ์ของพ่อเสีย บ้านของเจ้าก็มี ทำไมจึงไม่ไปรับอาหารที่บ้าน เที่ยวเดินขอทานชาวบ้านอยู่ พ่อจะเอาหน้าไปไว้ไหน พ่อเป็นจอมคนในแผ่นดิน เป็นกษัตริย์ ลูกมาทำตนเป็นขอทาน" <DD>"มหาบพิตร!" เสียงนุ่มนวลกังวานจากพระโอษฐ์พระผู้มีพระภาค "บัดนี้อาตมภาพมิใช่ศากยวงศ์แล้ว อาตมภาพเป็นอริยวงศ์ เป็นพุทธวงศ์ พระพุทธเจ้าในอดีตทุกๆ พระองค์ทรงกระทำอย่างนี้ทั้งนั้น อาตมภาพทำเพื่อรักษาวงศ์ของอาตมภาพ มิให้สูญหาย สำหรับบ้านอาตมภาพก็ไม่มี อาตมภาพเป็นอนาคาริกมุนี - ผู้ไม่มีเรือน" <DD>"ช่างเถิดสิทธัตถะ เจ้าจะเป็นวงศ์อะไร จะมีเรือน หรือไม่มีเรือนพ่อไม่เข้าใจ แต่เจ้าเป็นลูกของพ่อ เจ้าจากไป ๗ ปีเศษ พ่อคิดถึงเจ้าสุดประมาณ พิมพาหรือก็คร่ำครวญถึงแต่เจ้า ราหุลเล่ามีบิดาเหมือนไม่มีเวลานี้เจ้าจะต้องไปบ้าน ไปพบลูก พบชายาและพระญาติที่แก่เฒ่า" <DD>ว่าแล้วพระเจ้าสุทโธทนะก็นำเสด็จพระพุทธองค์ไปสู่พระราชวัง ถวายขาทนียโภชนียาหารอันประณีตสมควรแก่กษัตริย์ พระผู้มีพระภาคแสดงพระธรรมเทศนาโปรดให้พระบิดาเป็นพระสกทาคามี และพระนางมหาปชาบดีโคตมีพระน้านางเป็นพระโสดาบัน แล้วเสด็จกลับสู่นิโครธาราม </DD>​
     
  7. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <CENTER>๓. พุทธุปฐากผู้เป็นบัณฑิต</CENTER><DD>ขณะที่พระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์นั้น มีเจ้าชายในศากยวงศ์หลายพระองค์ได้เสด็จออกบรรพชา เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ตามทางแห่งพระพุทธองค์ พระโลกนาถสำราญพระอิริยาบถอยู่ ณ นิโครธารามตามพระอัธยาศัยพอสมควรแล้ว ทรงละกบิลพัสดุ์ไว้เบื้องหลัง แล้วสู่แคว้นมัลละ สำราญพระอิริยาบถอยู่ ณ อนุปปิยัมพวัน <DD>เมื่อพระศาสดาจากไปแล้ว เจ้าศากยะทั้งหลายวิพากย์วิจารย์กันว่า เจ้าชายเป็นอันมากได้ออกบวชตามพระศาสดา ยังเหลือแต่เจ้าชายอานนท์ เจ้าชายอนุรุทธ์ เจ้าชายมหานาม และเจ้าชายภัททิยะ เป็นต้น มิได้ออกบวชตาม ความจริงเจ้าชายเหล่านี้ พระญาติได้ถวายให้เป็นเพื่อนเล่น เป็นบริวารของพระสิทธัตถะในวันขนานพระนาม เจ้าชายเหล่านี้คงมิใช่พระญาติของพระพุทธองค์กระมัง จึงเฉยอยู่มิได้ออกบวชตาม <DD>เจ้าชายมหานาม ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ได้ฟังเสียงวิพากย์วิจารย์ดังนี้ รู้สึกละอายพระทัย จึงปรึกษากับพระอนุชา คือเจ้าชายอนุรุทธ์ ว่าเราสองคนพี่น้องควรจะออกบวชเสียคนหนึ่ง ในที่สุดตกลงกันว่าให้พระอนุชาออกบวช แต่พระมารดาไม่ทรงอนุญาต <DD>"ลูกรัก!" พระนางตรัส "เจ้าจะบวชได้อย่างไร การบวชมิใช่เป็นเรื่องง่าย เจ้าต้องเสวยวันละครั้ง ต้องเสด็จด้วยพระบาทเปล่า ต้องบรรทมอย่างง่ายๆ ปราศจากฟูกหมอนอันอ่อนนุ่ม ใช้ไม้เป็นเขนย ต้องอยู่ตามโคนไม้หรือท้องถ้ำ เมื่อต้องการของร้อนก็ได้ของเย็น เมื่อต้องการของเย็นก็ได้ของร้อน ด้วยเหตุนี้แม่จึงไม่ต้องการให้เจ้าบวช" <DD>"ข้าแต่พระบาท!" เจ้าชายอนุรุทธ์ทูล "หม่อมฉันทราบว่าการบวชเป็นความลำบาก และมิใช่เป็นเรื่องง่าย แต่เมื่อพระญาติหลวงพระองค์ซึ่งเคยมีความสุขสบายอย่างหม่อมฉันนี่แหละยังสามารถบวชได้ ทำไมหม่อมฉันจะบวชบ้างไม่ได้ อีกประการหนึ่ง พูดถึงความสะดวกสบาย พระศาสดาเคยสะดวกสบายกว่าหม่อมฉันมากนัก พระองค์ยังสามารถอยู่ได้โดยไม่เดือนร้อน ทำไมหม่อมฉันจะอยู่ไม่ได้ น่าจะมีความสุขอะไรสักอย่างหนึ่งมาทดแทนความสะดวกสบายที่เสียไป และเป็นความสุขที่ดีกว่าประณีตกว่า หม่อมฉันคิดว่าหม่อมฉันทนได้" <DD>"ลูกรัก! ถึงแม้เจ้าจะทนอยู่ในเพศบรรพชิตได้แต่แม่ทนไม่ได้ แม่ไม่เคยเห็นลูกลำบาก และแม่ไม่ต้องการให้ลูกลำบาก ลูกเป็นที่รักสุดหัวใจของแม่ แม่ไม่อยากจะอยู่ห่างลูกแม้เพียงวันเดียว จะกล่าวไยถึงจะยอมให้ลูกไปบวช ซึ่งจะต้องอยู่ห่างแม่เป็นแรมปี อนึ่งเล่าแม่ไม่เห็นว่าจำเป็นอย่างไร ที่จะต้องบวช ถ้าลูกต้องการจะทำความดีเป็นอยู่อย่างคฤหัสถ์ก็ทำได้ และก็ดูเหมือนจะทำได้สะดวกกว่าด้วยซ้ำไป อย่าบวชเลย - ลูกรัก เชื่อแม่เถอะ" ว่าแล้วพระนางก็เอาพระหัตถ์ลูบเส้นพระเกศาเจ้าชายด้วยความกรุณา <DD>"ข้าแต่มารดา! พูดถึงความลำบาก ยังมีคนเป็นอันมากในโลกนี้ที่ลำบากกว่าเรา หรืออย่างน้อยก็ลำบากกว่าบรรพชิต พูดถึงเรื่องการต้องจากกันระหว่างแม่กับลูกยังมีการจากกันอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งร้ายแรงยิ่งกว่าการจากไปบวช นั่นคือการต้องจากเพราะความตายมาถึงเข้า และทุกคนจะต้องตาย หลีกไม่พ้น ถูกแล้วที่มารดาบอกว่าการทำความดีนั้นอยู่ที่ไหนก็ทำได้ แต่การบวชอาจจะทำความดีได้มากกว่า เพราะมีโอกาสมากกว่า ถ้าเปรียบด้วยภาชนะสำหรับรองรับน้ำ ภาชนะใหญ่ย่อมรองรับน้ำได้มากกว่าภาชนะเล็ก และภาชนะที่สะอาดย่อมไม่ทำให้น้ำสกปรก เพราะฉะนั้นลูกจึงเห็นว่าการบวชเป็นเสมือนภาชนะใหญ่ที่สะอาด เหมาะสำหรับรองรับน้ำ คือความดี" <DD>"ลูกรู้ได้อย่าง ในเมื่อลูกยังมิได้บวช ความคิดอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริงก็ได้" พระนางมีเสียงแข็งขึ้นเล็กน้อย <DD>"ลูกยังไม่รู้ แต่ลูกอยากจะลอง" <DD>"เอาอย่างนี้ดีไหม คือถ้าเจ้าชายภัททิยะ พระสหายของเจ้าบวช แม่ก็อนุญาตให้เจ้าบวชได้" พระนางเข้าพระทัยว่า อย่างไรเสียเจ้าชายภัททิยะคงไม่บวชแน่ <DD>เจ้าชายอนุรุทธ์ดีพระทัยมาก ที่พระมารดาตรัสคำนี้ พระองค์รีบเสด็จไปหาพระสหาย ตรัสว่า <DD>"ภัททิยะ! ข้าพเจ้าปรารถนาจะบวชตามสมเด็จพระศาสดา แต่การบวชของข้าพเจ้าเนื่องอยู่ด้วยท่าน คือพระมารดาตรัสว่า ถ้าท่านบวช จึงจะอนุญาตให้ข้าพเจ้าบวช" <DD>"สหาย!" เจ้าชายภัททิยะตรัสตอบ ข้าพเจ้าก็คิดจะบวชอยู่เหมือนกัน ได้ยินคนเขาวิพากย์วิจารณ์กันแล้วรู้สึกไม่ค่อยจะสบายใจ พระศาสดายังบวชอยู่ได้ทำไมพวกเราจะบวชไม่ได้" <DD>เจ้าชายอนุรุทธ์ดีพระทัยเป็นที่สุด เมื่อทูลพระมารดาแล้ว ทั้งสองสหายก็ได้ชักชวนเจ้าชายอีกสี่พระองค์ คือ เจ้าชายอานนท์ เจ้าชายภคุ เจ้าชายกิมพิละ และเจ้าชายเทวทัตเป็น ๖ องค์ เสด็จออกจากพระนครกบิลพัสดุ์ มุ่งสู่อนุปปิยัมพวันแคว้นมัลละ เมื่อเสด็จถึงพรมแดนระหว่างแคว้นสักกะและแคว้นมัลละ พระราชกุมารทั้งหกก็รับสั่งให้นายอุบาลี ภูษามาลา ซึ่งตามเสด็จมาส่ง กลับไปสู่นครกบิลพัสดุ์ พร้อมด้วยเปลื้องพระภูษาซึ่งมีราคามาก มอบให้อุบาลีนำกลับไป <DD>ในขณะที่ ๖ พระราชกุมารและนายอุบาลี ภูษามาลาจะแยกกันนั้น ราวป่าประหนึ่งว่าจะถึงซึ่งอาการร้องไห้ มหาปฐพีมีอาการสะท้อนสะเทือนเหมือนจะแยกออกจากกัน อุบาลีจำใจจากพระราชกุมารกลับมาทางเดิมได้หน่อยหนึ่งจึงคิดว่า การที่จะนำเครื่องประดับอันมีค่าซึ่งเจ้าของสละแล้วโดยปราศจากความไยดีไปขายเลี้ยงชีพตามคำของพระราชกุมารนั้น ปานประหนึ่งผู้กลืนน้ำลายซึ่งเจ้าของถ่มแล้ว จะประโยชน์อะไรที่จะทำอย่างนั้น เกิดสังเวชสลดจิต จึงเอาเครื่องประดับเหล่านั้นแขวนไว้กับกิ่งไม้แห่งหนึ่ง แล้ววิ่งกลับไปแจ้งความประสงค์กับพระราชกุมารว่า <DD>"ข้าแต่นาย! ข้าพเจ้าขอตามเสด็จไปด้วย เพื่อจะได้รับใช้พระองค์ต่อไป" <DD>พระราชกุมารทั้งหก ทรงปรึกษากันอยู่ครู่หนึ่ง จึงยินยอมให้อุบาลีตามเสด็จด้วย <DD>พระกุมารทั้งหกพระองค์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลขอบรรพชาอุปสมบท และทูลว่า <DD>"ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์ทั้งหลายมีทิฏฐิมานะมาก เมื่อบวชพร้อมด้วยอุบาลีซึ่งเป็นคนรับใช้มาก่อน ถ้าข้าพระองค์ทั้งหลายบวชก่อนก็จะพึงใช้อำนาจกับเขาอีก เพราะฉะนั้นขอให้พระผู้มีพระภาคให้การอุปสมบทแก่อุบาลีก่อนเถิด เพื่อข้าพระองค์ทั้งหลายจักได้อภิวาทลุกรับเขาเมื่ออุปสมบทแล้ว เป็นการทำลายทิฏฐิมานะไปในตัว เพื่อประโยชน์แก่การประพฤติพรหมจรรย์" <DD>เมื่อบวชแล้วไม่นาน พระภัททิยะ พระภคุ พระกิมพิละ และพระอนุรุทธ์ ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ พระเทวทัตได้สำเร็จฌานแห่งปุถุชน ส่วนพระอานนท์ซึ่งมีพระเพลัฏฐสีสะเป็นอุปฌายะ และมีพระปุณณะ มันตานีบุตร เป็นพระอาจารย์ ได้สำเร็จเป็นโสดาบัน หลังจากอุปสมบทแล้ว ๑๙ พรรษา พระอานนท์ได้รับตำแหน่งเป็นพุทธอุปฐากดังกล่าวแล้วแต่หนหลัง <DD>หน้าที่ประจำของพระอานนท์ คือ <DD>๑. ถวายน้ำ ๒ ชนิด คือทั้งน้ำเย็นและน้ำร้อน <DD>๒. ถวายไม้สีฟัน ๓ ขนาด (ขนาดเล็ก กลาง และใหญ่) <DD>๓. นวดพระหัสถ์และพระบาท <DD>๔. นวดพระปฤษฎางค์ <DD>๕. ปัดกวาดพระคันธกุฏี และบริเวณพระคันธกุฎี <DD>ในราตรีกาล ท่านกำหนดในใจว่า เวลานี้พระผู้มีพระภาคคงจะทรงต้องการสิ่งนั้นสิ่งนี้หรือรับสั่งนั้นรับสั่งนี้ แล้วท่านก็เข้าไปเฝ้าเป็นระยะๆ เมื่อเสร็จกิจแล้วจึงออกมาอยู่ยามหน้าพระคันธกุฎี กล่าวกันว่าท่านถือประทีปด้ามใหญ่เดินวนเวียนพระคันธกุฎีของพระผู้มีพระภาคถึงคืนละ ๘ ครั้ง <DD>อันว่าท่านอานนท์นี้ สามารถทำงานที่ได้มอบหมายดียิ่งนัก เมื่อได้รับมอบหมายดียิ่งนัก เมื่อได้รับมอบหมายสิ่งใดจากพระพุทธองค์แล้ว ท่านทำไม่เคยบกพร่อง <DD>เช่น ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงศรัทธาปรารถนาจะถวายอาหารแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นประจำ และทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้เสด็จเข้าวังทุกๆ วัน พระจอมมุนี ทรงปฏิเสธอย่างละมุนละม่อมว่า <DD>"มหาบพิตร! ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้านั้นย่อมเป็นที่ต้องการของคนทั้งหลายเป็นอันมาก ผู้จำนงหวังเพื่อทำบุญกับพระพุทธเจ้าเป็นจำนวนมากอยู่ อนึ่งพระพุทธเจ้าไม่ควรไปในที่นิมนต์เพียงแห่งเดียว ควรสงเคราะห์แก่คนทั่วไป" <DD>"ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์จงมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเป็นประมุข นำพระสงฆ์มารับโภชนาหาร ในนิเวศน์ของข้าพระองค์เป็นประจำเถิด" พระเจ้าปเสนทิโกศลทูล <DD>พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมอบหมายให้เป็นหน้าที่ของพระอานนท์ นำภิกษุจำนวนมากไปสู่ราชนิเวศน์เป็นประจำ <DD>ในสองสามวันแรกพระเจ้าปเสนทิทรงอังคาสภิกษุด้วยโภชนาหารอันประณีตด้วยพระองค์เอง แต่ระยะหลังๆ มาพระองค์ทรงลืม ภิกษุทั้งหลายคอยจนสายพระองค์ก็ยังไม่ทรงตื่นบรรทม ภิกษุทั้งหลายจึงกลับไปเสียเป็นส่วนมาก และเมื่อเป็นเช่นนี้บ่อยเข้าภิกษุทั้งหลายก็ไม่มา คงเหลือแต่พระอานนท์องค์เดียวเท่านั้น <DD>เป็นธรรมเนียมในพระราชวัง ถ้าพระราชาไม่สั่งใครจะทำอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นราชบริพารจึงไม่สามารถจัดอาหารถวายพระสงฆ์ได้ <DD>วันหนึ่งพระราชาตื่นบรรทมแต่เช้า สั่งจัดอาหารถวายพระเป็นจำนวนร้อย เมื่อถึงเวลาพระองค์เสด็จออกเพื่อถวายพระกระยาหาร ไม่ทอดพระเนตรเห็นพระอื่นเลย นอกจากพระอานนท์ซึ่งอดทนมาทุกวัน <DD>พระเจ้าปเสนทิทรงพิโรธยิ่งนัก เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคทันที กราบทูลว่า <DD>"พระองค์ผู้เจริญ สาวกของพระองค์ไม่เห็นว่าการนิมนต์ของข้าพระองค์เป็นเรื่องสำคัญเลย ข้าพระองค์นิมนต์พระไว้เป็นจำนวนร้อย แต่มีพระอานนท์องค์เดียวเท่านั้นที่ไปรับอาหารจากพระราชวัง ข้าวของจัดไว้เสียหายหมด" <DD>"พระมหาบพิตร! พระสงฆ์คงจะไม่คุ้นเคยกับราชตระกูลกระมังจึงกระทำอย่างนั้น มหาบพิตร! สำหรับอานนท์นั้นเป็นบัณฑิต เป็นผู้เข้าใจเหตุการณ์ และมีความอดทนอย่างเยี่ยม เป็นบุคคลที่หาได้โดยยาก" <DD>อีกครั้งหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศล มีพระประสงค์ให้พระนางมัลลิกาอัครมเหสี และพระนางวาสภขัตติยาราชเทวีศึกษาธรรม พระพุทธองค์ทรงมอบหมายให้พระอานนท์เป็นผู้ถวายความรู้ พระนางวาสภขัตติยา พระญาติของพระผู้มีพระภาคเรียนโดยไม่เคารพ คือศึกษาอย่างขัดไม่ได้ ส่วนพระนางมัลลิกาทรงตั้งพระทัยศึกษาด้วยดี พระอานนท์นำเรื่องนี้ขึ้นกราบทูลพระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์จึงตรัสว่า <DD>"อานนท์ - วาจาสุภาษิตย่อมไม่มีประโยชน์แก่ผู้ไม่ทำตาม เหมือนดอกไม้ที่มีสีสวย สัณฐานดี แต่หากลิ่นมิได้ แต่วาจาสุภาษิต จะมีประโยชน์อย่างมากแก่ผู้ทำตาม เหมือนดอกไม้ซึ่งมีสีสวย มีสัณฐานงาม และมีกลิ่นหอม <DD>อานนท์เอย! ธรรมที่เรากล่าวดีแล้วนั้น ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มากแก่ผู้ไม่ทำตามโดยเคารพ ไม่สาธยายโดยเคารพ และไม่แสดงโดยเคารพ แต่จะมีผลมาก มีอานิสงส์ไพศาลแก่ผู้ซึ่งกระทำโดยนัยตรงกันข้าม มีการฟังโดยเคารพเป็นต้น" </DD>​
     
  8. หนูจ๋อย

    หนูจ๋อย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +22
    สาธุค่ะ

    หนูจ๋อย เคยมาโพสต์ ความร้าย ความรัก ที่นี่ จากเล่มเดียวกันนี้
    วันนี้ มาเห็นอีกที่นี่ ดีใจค่ะ

    อ่านไปหลายตอน ด้วยความซาบซึ้ง
    :)

    โอ เจ้าของกระทู้ อ่านไปตั้งแต่ 13 ปีมาแล้ว
    โอ๊ะ โอ
     
  9. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <CENTER>๔. มหามิตร</CENTER><DD>พูดถึงความจงรักภักดี และความเคารพรักในพระผู้มีพระภาค พระอานนท์มีอยู่อย่างสุดพรรณนา ยอมสละแม้แต่ชีวิตของท่านเพื่อพระพุทธเจ้าได้ อย่างเช่นครั้งหนึ่ง พระเทวทัตร่วมกับพระเจ้าอชาตศัตรู วางแผนสังหารพระจอมมุนี โดยการปล่อยนาฬาคิรีซึ่งกำลังตกมันและมอมเหล้าเสีย ๑๖ หม้อ ช้างนาฬาคิรียิ่งคะนองมากขึ้น <DD>วันนั้นเวลาเช้า พระพุทธองค์มีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เข้าสู่นครราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต ในขณะที่พระองค์กำลังรับอาหารจากสตรีผู้หนึ่งอยู่นั้น เสียงแปร๋นแปร๋นของนาฬาคิรีดังขึ้น ประชาชนที่คอยดักถวายอาหารแด่พระผู้มีพระภาค แตกกระจายวิ่งเอาตัวรอด ทิ้งภาชนะอาหารเกลื่อนกลาด พระพุทธองค์เหลียวมาทางซึ่งช้างใหญ่กำลังวิ่งมาด้วยอาการสงบ พระอานนท์พุทธอนุชาเดินล้ำมายืนเบื้องหน้าของพระผู้มีพระภาค ด้วยคิดจะป้องกันชีวิตของพระศาสดาด้วยชีวิตของท่านเอง <DD>"หลีกไปเถิด - อานนท์ อย่าป้องกันเราเลย" พระศาสดาตรัสอย่างปกติ <DD>"พระองค์ผู้เจริญ!" พระอานนท์ทูล "ชีวิตของพระองค์มีค่ายิ่งนัก พระองค์อยู่เพื่อเป็นประโยชน์แก่โลก เป็นดวงประทีปของโลก เป็นที่พึ่งของโลก ประดุจโพธิ์และไทรเป็นที่พึ่งของหมู่นก เหมือนน้ำเป็นที่พึ่งของหมู่ปลา และป่าเป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์จตุบททวิบาท พระองค์อย่าเสี่ยงกับอันตรายครั้งนี้เลย ชีวิตของข้าพระองค์มีค่าน้อย ขอให้ข้าพระองค์ได้สละสิ่งซึ่งมีค่าน้อยเพื่อรักษาสิ่งซึ่งมีค่ามาก เหมือนสละกระเบื้อง เพื่อรักษาไว้ซึ่งแก้วมณีเถิดพระเจ้าข้าฯ" <DD>"อย่าเลย อานนท์! บารมีเราได้สร้างมาดีแล้ว ไม่มีใครสามารถปลงตถาคตลงจากชีวิตได้ ไม่ว่าสัตว์ดิรัจฉาน หรือมนุษย์ หรือเทวดา มาร พรหมใดๆ" <DD>ขณะนั้นนาฬาคิรี วิ่งมาจวนจะถึงองค์พระจอมมุนีอยู่แล้ว เสียงร้องกรีดของหมู่สตรีดังขึ้นเป็นเสียงเดียวกัน ทุกคนอกสั่นขวัญหนี นึกว่าครั้งนี้แล้วเป็นวาระสุดท้ายที่เขาจะได้เห็นพระศาสดา ผู้บริสุทธิ์ดุจดวงตะวัน พระพุทธองค์ทรงแผ่เมตตาซึ่งทรงอบรมมาเป็นเวลายืดยาวนานหลายแสนชาติสร้านออกจากพระหฤทัยกระทบเข้ากับใจอันคลุกอยู่ด้วยความมึนเมาของนาฬาคิรี ช้างใหญ่หยุดชะงักเหมือนกระทบกับเหล็กท่อนใหญ่ ใจซึ่งเร่าร้อนกระวนกระวาย เพราะโมหะของมันสงบเย็นลง เหมือนไฟน้อยกระทบกับอุทกธารา พลันก็ดับวูบลง มันหมอบลงแทบพระมงคลบาทของพระศาสดา พระพุทธองค์ทรงใช้ฝ่าพระหัตถ์อันวิจิตร ซึ่งกำลังมาด้วยบุญญาธิการลูบศีรษะของพญาช้าง พร้อมด้วยตรัสว่า <DD>"นาฬาคิรีเอย! เธอถือกำเนิดเป็นดิรัจฉานในชาตินี้ เพราะกรรมอันไม่ดีของเธอในชาติก่อนแต่งให้ เธออย่าประกอบกรรมหนัก คือทำร้ายพระพุทธเจ้าเช่นเราอีกเลย เพราะจะมีผลเป็นทุกข์แก่เธอตลอดกาลนาน" <DD>นาฬาคิรีสงบนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง แล้วใช้งวงเคล้าเคลียพระชงฆ์ของพระผู้มีพระภาค เหมือนสารภาพผิด ความมึนเมาและตกมันปลาสนาการไปสิ้น <DD>นี่แล พุทธานุภาพ !! <DD>ประชาชนเห็นเป็นอัศจรรย์ พากันสักการบูชาพระศาสดาด้วยดอกไม้และของหอมจำนวนมาก <DD>ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงพระประชวรด้วยโรคลมในพระอุทร พระอานนท์เป็นห่วงยิ่งนัก จึงได้ปรุงยาคู (ข้าวต้ม ต้มจนเหลว) ด้วยมือของท่านเอง แล้วน้อมนำเข้าไปถวาย เพราะพระพุทธองค์เคยตรัสว่า ยาคูเป็นยาไล่ลมในท้องในลำไส้ได้ดี พระพุทธองค์ตรัสถามว่า <DD>"อานนท์! เธอได้ยาคูมาจากไหน?" <DD>"ข้าพระองค์ปรุงเอง พระเจ้าข้าฯ" <DD>"อานนท์! ทำไมเธอจึงทำอย่างนี้ เธอทำสิ่งที่ไม่สมควร ไม่ใช่กิจของสมณะ เธอทราบมิใช่หรือว่าสมณะไม่ควรปรุงอาหารเอง ทำไมเธอจึงมักมากถึงปานนี้ เอาไปเทเสียเถิดอานนท์ เราไม่รับยาคูของเธอดอก พระอานนท์คงก้มหน้านิ่ง ท่านมิได้ปริปากโต้แย้งเลยแม้แต่น้อย ท่านเป็นผู้น่าสงสารอะไรเช่นนั้น! <DD>ครั้งหนึ่งพระกายของพระผู้มีพระภาคหมักหมมด้วยสิ่งเป็นโทษ เป็นเหตุให้ทรงอึดอัด มีพุทธประสงค์จะเสวยยาระบาย พระอานนท์ทราบแล้วจึงไปหาหมอชีวกโกมารภัจแจ้งเรื่องนี้ให้ทราบ หมอเรียนท่านว่า ขอให้ท่านกราบทูลให้พระองค์ทรงพักผ่อน เพื่อให้พระกายชุ่มชื่นสัก ๒-๓ วัน พระอานนท์ก็กระทำตามนั้นได้เวลาแล้วท่านก็ไปหาหมออีก หมอชีวกได้ปรุงยาระบายพิเศษอบด้วยก้านอุบลสามก้านถวายให้พระผู้มีพระภาคสูดดมมิใช่เสวย ปรากฏว่าทรงระบายถึงสามสี่ครั้ง <DD>อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธองค์ประทับ ณ นครเวสาลี ทรงประชวรหนัก และทรงใช้ความเพียรขับไล่อาพาธนั้นจนหาย พระอานนท์ทูลความในใจของท่านแด่พระผู้มีพระภาคว่า <DD>พระองค์ผู้ทรงเจริญ! เมื่อพระองค์ทรงประชวรอยู่นั้น ข้าพระองค์กลุ้มใจเป็นที่สุด กายของข้าพระองค์เหมือนงอมระงมไปด้วยความรู้สึกเหมือนว่า ทิศทั้งมืดมน แต่ข้าพระองค์ก็เบาใจอยู่หน่อยหนึ่ง ว่าพระองค์คงจักไม่ปรินิพพาน จนกว่าจะได้ประชุมสงฆ์แล้วตรัสพระพุทธพจน์อย่างใดอย่างหนึ่ง <DD>พระอานนท์นี้เอง เป็นผู้ออกแบบจีวรของพระสงฆ์ ซึ่งใช้มาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าดำรงชีวิตอยู่มาจนบัดนี้ นับว่าเป็นแบบเครื่องแต่งกายเก่าแก่ที่สุดในโลกและยังทันสมัยอยู่เสมอ เข้าได้ทุกการทุกงาน <DD>ครั้งหนึ่งท่านตามเสด็จพระผู้มีพระภาคไปสู่ทักขิณาคีรีชนบท พระพุทธองค์ทอดพระเนตรเห็นคันนาของชาวมคธเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคันนาสั้นๆ คั่นในระหว่าง แล้วตรัสถามพระอานนท์ว่า <DD>"อานนท์! เธอจะทำจีวรแบบนาของชาวมคธนี้ได้หรือไม่?" <DD>"ลองทำดูก่อน พระเจ้าข้าฯ" ท่านทูลตอบ <DD>ต่อมา ท่านได้ทำการตัดเย็บจีวรแบบคันนาของชาวมคธนั้น แล้วนำขึ้นทูลให้พระผู้มีพระภาคทรงพิจารณา พระพุทธองค์ทรงทอดพระเนตรแล้วเห็นชอบด้วย รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายใช้จีวรที่ตัดและเย็บแบบที่ท่านอานนท์ออกแบบนั้น พร้อมกันนั้นได้ตรัสชมเชยท่านอานนท์ท่ามกลางสงฆ์ว่า <DD>"ภิกษุทั้งหลาย! อานนท์เป็นคนฉลาดมีปัญญาสามารถเข้าใจในคำที่เราพูดแต่โดยย่อได้โดยทั่วถึง" <DD>พูดถึงเรื่องประหยัด หรือใช้สิ่งของให้คุ้มค่า พระอานนท์ก็เป็นผู้ประหยัดและฉลาดในเรื่องนี้มาก ดังครั้งหนึ่งหลังพุทธปรินิพพาน ท่านเดินทางโดยทางเรือไปสู่นครโกสัมพี เพื่อประกาศลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ พระหัวดื้อตามรับสั่งของพระผู้มีพระภาค ขึ้นจากเรือแล้วท่านเข้าอาศัยพัก ณ อุทยานของพระเจ้าอุเทนราชาแห่งนครนั้น <DD>ขณะนั้นพระเจ้าอุเทนและพระมเหสีประทับอยู่ ณ พระราชอุทยาน พระมเหสีทรงทราบว่าพระอานนท์มาก็ทรงโสมนัส ทูลลาพระสวามีไปเยี่ยมพระอานนท์ สนทนาพอเป็นสัมโมทนียกถาแล้ว พระอานนท์แสดงธรรมเป็นที่เสื่อมใสจับจิตยิ่งนัก พระนางได้ถวายจีวรจำนวน ๕๐๐ ผืน ในเวลาต่อมาแด่อานนท์ พระเจ้าอุเทนทรงทราบเรื่องนี้แทนที่จะทรงพิโรธพระมเหสีกลับทรงตำหนิท่านอานนท์ว่ารับจีวรไปทำไมมากมายหลายร้อยผืน จะไปตั้งร้านขายจีวรหรืออย่างไร เมื่อมีโอกาสได้พบพระอานนท์ พระองค์จึงเรียนถามว่า <DD>"พระคุณเจ้า! ทราบว่า พระมเหสีถวายจีวรพระคุณเจ้า ๕๐๐ ผืน พระคุณเจ้ารับไว้ทั้งหมดหรือ?" <DD>"ขอถวายพระพร อาตมาภาพรับไว้ทั้งหมด" พระอานนท์ทูล <DD>"พระคุณเจ้ารับไว้ทำไมมากมายนัก?" <DD>"เพื่อแบ่งถวายภิกษุทั้งหลายผู้มีจีวรเก่าคร่ำคร่า" <DD>"จะเอาจีวรเก่าคร่ำคร่าไปทำอะไร?" <DD>"เอาไปทำเพดาน" <DD>"จะเอาผ้าเพดานเก่าไปทำอะไร?" <DD>"เอาไปทำผ้าปูที่นอน" <DD>"จะเอาผ้าปูที่นอนเก่าไปทำอะไร?" <DD>"เอาไปทำผ้าปูพื้น" <DD>"จะเอาผ้าปูพื้นเก่าไปทำอะไร?" <DD>"เอาไปทำผ้าเช็ดเท้า" <DD>"จะเอาผ้าเช็ดเท้าเก่าไปทำอะไร?" <DD>"เอาไปทำผ้าเช็ดธุลี" <DD>"จะเอาผ้าเช็ดธุลีเก่าไปทำอะไร?" <DD>"เอาไปโขลกขยำกับโคลนแล้วฉาบทาฝา?" <DD>พระเจ้าอุเทนทรงเลื่อมใสว่า สมณศากยบุตรเป็นผู้ประหยัด ใช้ของไม่ให้เสียเปล่า จึงถวายจีวรแก่พระอานนท์อีก ๕๐๐ ผืน <DD>พระอานนท์นอกจากเป็นผู้กตัญญูต่อผู้ใหญ่แล้วยังสำนึกแม้ในอุปการะของผู้น้อยด้วย ศิษย์ของท่านเองที่กระทำดีต่อท่านเป็นพิเศษ ท่านก็อนุเคราะห์เป็นพิเศษ เช่น คราวหนึ่งท่านได้จีวรมาเป็นจำนวนร้อยๆ ผืน ซึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลถวาย ท่านระลึกถึงศิษย์รูปหนึ่งของท่านซึ่งทำอุปการะปฏิบัติต่อท่านดี มีการถวายน้ำล้างหน้าไม้ชำระฟัน ปัดถวายเสนาสนะ ที่อาศัย เวจจกุฎี เรือนไฟ นวดมือนวดเท้า เป็นต้น แปลว่าศิษย์ผู้นี้ปฏิบัติดีต่อท่านมากกว่าศิษย์อื่นๆ และปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ท่านจึงมอบจีวรที่ได้มาทั้งหมดแด่ศิษย์รูปดังกล่าวนี้ <DD>เนื่องจากพระภิกษุรูปนี้เป็นพระดีจริงๆ จึงนำจีวรที่อุปฌายะมอบให้ไปแจกภิกษุผู้ร่วมอุปฌายะเดียวกันจนหมดสิ้น ดูเหมือนจะเป็นความประสงค์ของพระอานนท์ที่จะให้เป็นเช่นนั้นด้วย ภิกษุทั้งหลายไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคทูลถาม <DD>"มีเรื่องอะไรหรือ - ภิกษุ?" <DD>เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบแล้วพระพุทธองค์จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย! การทำเพราะเห็นแก่หน้าคืออคติ หามีแต่อานนท์ไม่ แต่ที่อานนท์ทำเช่นนั้น ก็เพราะระลึกถึงอุปการะของศิษย์ผู้นั้นซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบต่อเธอเหลือเกิน ภิกษุทั้งหลาย! ขึ้นชื่อว่าอุปการะผู้อื่นแม้แต่น้อย อันบัณฑิตพึงระลึกถึงและหาทางตอบแทนในโอกาสอันควร" </DD>
     
  10. ปราณยาม

    ปราณยาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    371
    ค่าพลัง:
    +2,638
    สาธุครับ อีกเรื่องนึงที่น่าอ่านครับ เรื่อง นันทะ-ปชาบดี ครับ เนื้อหาเขียนได้ดีและซาบซึ้งมากครับ
     
  11. NaCl

    NaCl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +289
  12. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    ขอบคุณครับ คุณปราณยาม
    ขอบคุณคุณ NaCl ด้วยครับ ตามไปLoad มา กำลังฟังครับ

    "โอ เจ้าของกระทู้ อ่านไปตั้งแต่ 13 ปีมาแล้ว
    โอ๊ะ โอ" อ่านตั้งแต่เด็กน่ะครับ อิอิ
     
  13. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=331 height=1 rowSpan=6>
    [​IMG]
    </TD><TD vAlign=center align=middle width=183 height=2>ชื่อหนังสือ</TD><TD vAlign=center align=middle width=7 height=2></TD><TD vAlign=center align=middle width=395 height=2>นันทะ-ปชาบดี</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=183 height=1>ผู้แต่ง</TD><TD vAlign=center align=middle width=7 height=1></TD><TD vAlign=center align=middle width=395 height=1>สุชีพ ปุญญานุภาพ</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=183 height=1>ขนาดหนังสือ/หน้า</TD><TD vAlign=center align=middle width=7 height=1></TD><TD vAlign=center align=middle width=395 height=1>342 หน้า</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=183 height=1>ราคา</TD><TD vAlign=center align=middle width=7 height=1></TD><TD vAlign=center align=middle width=395 height=1>100 บาท</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=183 height=1>พิมพ์ครั้งที่</TD><TD vAlign=center align=middle width=7 height=1></TD><TD vAlign=center align=middle width=395 height=1>1/2542</TD></TR><TR><TD vAlign=center width=597 colSpan=3 height=34></TD></TR></TBODY></TABLE>



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%">
    นันทะ-ปชาบดี
    อมตวรรณกรรม อิงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่อง "นันทะ-ปชาบดี" นี้ เป็นจินตนิยายอีกเรื่องหนึ่งที่อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ประพันธ์ขึ้นเพื่อให้ธรรมะซึ่งเป็นประหนึ่งดวงประทีปได้ส่องทางเดินให้สว่างไสว เพื่อประโยชน์แก่การประพฤติปฏิบัติของผู้ต้องการดำเนินชีวิตตามครรลองแห่งพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นปฐม และเพื่อดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิงเป็นปริโยสาน

    สารบาญ

    ปฐมพจน์
    • เจ้าชายเสด็จ
    • เพลิงชั้นใน
    • บุปผาชีวิต
    • พลังรัก
    • มารดาที่ดี
    • เงามืดแห่งชีวิต
    • ขอเจ้าชายจงทรงชนะ
    • ผู้ไม่เห็นแก่ตัวดูก่อนความจน
    • โรคเรื้อนทางจิต
      ฯลฯ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <HR width="80%" color=#0000ff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#000000 border=0><TBODY><TR><TD align=middle width="100%"></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <BIG><BIG>books@mahamakuta.inet.co.th</BIG></BIG><SMALL>
    </SMALL>มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
    241 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    โทร. (66) 02-6291417 ต่อ (106) , 2811085 Fax. (66) 02-6294015


    [​IMG]

    http://mahamakuta.inet.co.th/T-BOOK/P-170.html
     
  14. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <CENTER>๕. กับพระนางมหาปชาบดี</CENTER><DD>พระอานนท์เป็นผู้มีจิตเมตตากรุณา ทนเห็นความทุกข์ความเดือดร้อนของผู้อื่นไม่ได้ คอยเป็นธุระช่วยเหลือเท่าที่สามารถ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร ดังเช่นเรื่องเกี่ยวกับพระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นต้น <DD>พระนางทรงเลื่อมใส และรักใคร่ในพระผู้มีพระภาคยิ่งนัก คราวหนึ่งทรงปรารภว่า ศากยวงศ์อื่นๆ ได้ถวายสิ่งของแด่พระผู้มีพระภาคบ้าง ได้ออกบวชตามบ้าง แต่ส่วนพระนางเองยังมิได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเพื่อพระพุทธองค์เลย จึงตัดสินพระทัยจะถวายจีวรแด่พระผู้มีพระภาค พระนางเริ่มตั้งแต่ปั่นฝ้ายเอง ทอเอง ตัดและเย็บเองย้อมเอง เสร็จเรียบร้อยแล้วนำไปถวายพระศาสดา <DD>"ข้าแต่พระผู้มีพระภาค หม่อมฉันทำจีวรผืนนี้ด้วยมือของตนเองโดยตลอดตั้งแต่เริ่มต้น ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับเพื่ออนุเคราะห์หม่อมฉันด้วยเถิด" <DD>"อย่าเลย อย่าถวายตถาคตเลย ขอพระนางได้นำไปถวายพระภิกษุรูปอื่นเถิด ตถาคตมีจีวรใช้อยู่แล้ว" พระศาสดาทรงปฏิเสธอย่างอ่อนโยน <DD>พระนางอ้อนวอนถึงสามครั้ง แต่พระศาสดาก็หาทรงรับไม่ คงยืนยันอย่างเดิม พระนางถึงแก่โทมนัสเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจจะทรงกลั้นอัสสุชลไว้ได้ ทรงน้อยพระทัยที่อุตส่าห์ตั้งพระทัยทำเองโดยตลอด ยิ่งระลึกถึงความหลังครั้งอดีต ที่เคยโอบอุ้มเลี้ยงดูพระพุทธองค์มาตั้งแต่เยาว์วัยด้วยแล้ว ยิ่งน้อยพระทัยหนักขึ้น พระนางทรงกันแสง นำจีวรผืนนั้นไปสู่สำนักพระสารีบุตร เล่าเรื่องให้ท่านทราบและกล่าวว่า "ขอพระคุณเจ้าได้โปรดรับจีวรผืนนี้ไว้ด้วยเถิด เพื่ออนุเคราะห์ข้าพเจ้า" <DD>พระสารีบุตรทราบเรื่องแล้วก็หารับไม่ แนะนำให้นำไปถวายพระภิกษุรูปอื่น และปรากฏว่าไม่มีใครรับจีวรผืนนั้นเลย พระนางยิ่งเสียพระทัยเป็นพันทวี <DD>ในที่สุดพระพุทธองค์รับสั่งให้ประชุมสงฆ์ แล้วให้พระนางถวายแก่ภิกษุบวชใหม่รูปหนึ่ง แล้วทรงปลอบให้พระนางคลายจากความเศร้าโศก และให้ร่าเริงบันเทิงด้วยบุญกิริยาอันยิ่งใหญ่นั้นว่า <DD>"ดูก่อนโคตมี! ผ้าที่ท่านถวายแล้วนี้ ได้ชื่อว่าถวายสงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ผลานิสงส์มีมากกว่าการถวายเป็นส่วนบุคคล แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง หรือกว่าการถวายแก่พระพุทธเจ้าเอง โคตมีเอย! การที่ตถาคตไม่รับจีวรของท่านนั้น มิใช่เพราะใจไม้ไส้ระกำอะไร แต่เพราะมุ่งประโยชน์อันสูงสุดที่จะพึงมีแก่ท่านเอง ปาฏิบุคคลิกทานใดๆ จะมีผลเท่าสังฆทานหาได้ไม่" <DD>"อานนท์เอย!" พระพุทธองค์ผันพระพักตร์ตรัสแก่พระอานนท์ "ข้อที่เธออ้อนวอนเราเพื่อรับจีวรของพระนางโคตมี โดยอ้างว่าพระนางมีอุปการะมากแก่เรา เคยเลี้ยงดู เคยให้น้ำนม และถือว่าเป็นผู้มีอุปการะมากนั้น เราก็เห็นอยู่ แต่เพราะเห็นอย่างนั้นนั่นเอง เราจึงต้องการให้พระนางได้รับประโยชน์อันไพศาล โดยการนำจีวรถวายแก่สงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข <DD>อานนท์เอย! การที่บุคคลได้อาศัยผู้ใดแล้ว ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ได้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ลักทรัพย์เป็นต้น การที่จะตอบแทนผู้นั้นมิใช่เป็นสิ่งที่ทำได้โดยง่ายเลย การทำตอบแทนด้วยการถวายข้าวน้ำและเครื่องใช้ต่างๆ และการเคารพกราบไหว้เป็นต้น ยังเป็นสิ่งเล็กน้อย คือไม่สามารถตอบแทนคุณความดีของท่านผู้นั้นได้ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ <DD>"อานนท์! ปาฏิปุคคลิกทานมีอยู่ ๑๔ ชนิด คือ <DD>๑. ของที่ถวายแก่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า <DD>๒. ของที่ถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า <DD>๓. ของที่ถวายแก่พระอรหันตสาวก <DD>๔. ของที่ถวายแก่ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตตผล <DD>๕. ของที่ถวายแก่พระอนาคามี <DD>๖. ของที่ถวายแก่ผู้ปฏิบัติ เพื่อบรรลุอนาคามิผล <DD>๗. ของที่ถวายแก่พระสกทาคามี <DD>๘. ของที่ถวายแก่ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุสกทาคามิผล <DD>๙. ของที่ถวายแก่พระโสดาบัน <DD>๑๐. ของที่ถวายแก่ผู้ปฏิบัติ เพื่อบรรลุโสดาปัตติผล <DD>๑๑. ของที่ให้แก่คนภายนอกพุทธศาสนา ซึ่งปราศจากกามราคะ <DD>๑๒. ของที่ให้แก่ปุถุชนผู้มีศีล <DD>๑๓. ของที่ให้แก่ปุถุชนผู้ทุศีล <DD>๑๔. ของที่ให้แก่สัตว์ดิรัจฉาน <DD>"อานนท์! ของที่ให้แก่สัตว์ดิรัจฉานยังมีผลมาก ผลไพศาล อานนท์! คราวหนึ่งเราเคยกล่าวแก่ปริพพาชกผู้หนึ่งว่า บุคคลเทน้ำล้างภาชนะลงในดินด้วยตั้งใจว่า ขอให้สัตว์ในดินได้อาศัยอาหารที่ติดน้ำล้างภาชนะนี้ได้ดื่มกินเถิด แม้เพียงเท่านี้เรายังกล่าวว่าผู้กระทำได้ประสบบุญแล้วเป็นอันมาก เพราะฉะนั้นจะกล่าวไปไย ในทานที่บุคคลให้แล้วแก่ปุถุชนผู้มีศีล หรือผู้ทุศีล จนถึงแก่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จะไม่มีผลมากเล่า แต่ทั้งหมดนี้เป็นปาฏิปุคคลิกทาน คือทานที่ให้เจาะจงบุคคล เรากล่าวว่า ปาฏิปุคคลิกทานใดๆ จะมีผลเท่าสังฆทานมิได้เลย <DD>"อานนท์! ต่อไปเบื้องหน้าจักมีแต่โคตรภูสงฆ์ คือสงฆ์ผู้ทุศีล มีธรรมทราม สักแต่ว่ามีกาสาวพัสตร์พันคอ การให้ทานแก่ภิกษุผู้ทุศีลเห็นปานนั้นแต่อุทิศสงฆ์ ยังเป็นทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์ไพศาลประมาณมิได้" <DD>แล้วทรงหันไปตรัสแก่พระนางผู้มีจีวรอันจักถวายว่า <DD>"ดูก่อนโคตมี! เพราะฉะนั้นการที่ท่านได้ถวายจีวรแก่สงฆ์ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขในครั้งนี้ จึงจัดเป็นโชคลาภอันประเสริฐยิ่งแล้ว" <DD>พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงเลื่อมใสศรัทธาปรารถนาจะบวชในสำนักของพระผู้มีพระภาค เคยทูลอ้อนวอนขออนุญาตบวชเป็นภิกษุณี ตั้งแต่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาต ทรงอ้อนวอนครั้งแล้วครั้งเล่า พระพุทธองค์ก็หาทรงอนุญาตไม่ จนกระทั้งพระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากนครกบิลพัสดุ์ไปประทับ ณ กรุงเวสาลี ประทับอยู่ที่กูฎาคารศาลา ป่ามหาวัน <DD>พระนางโคตมีพร้อมด้วยสตรีศากวงศ์หลายพระองค์ ทรงตัดสินพระทัยอย่างเด็ดเดี่ยวที่จะบวชเป็นภิกษุณี จึงพร้อมกันปลงพระเกศา นุ่งห่มผ้ากาสายะ เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ด้วยพระบาทเปล่าไปสู่นครเวสาลีที่ประทับของพระศาสดา ทูลขอบรรพชาอุปสมบท แต่พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงอนุญาตตามเคย พระนางเสียพระทัยและขมขื่นยิ่งนัก มาประทับยืนร้องไห้อยู่ประตูป่ามหาวัน <DD>พระอานนท์มาพบพระนางเข้า ทราบเรื่องโดยตลอดแล้วมีใจกรุณาปรารถนาจะช่วยเหลือ จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคทูลอ้อนวอนเพื่อประทานอุปสมบทแก่พระนางโคตมี <DD>"พระองค์ผู้เจริญ!" ตอนหนึ่งพระอานนท์ทูล "พระนางโคตมี พระน้านางของพระองค์ บัดนี้ปลงพระเกศาแล้วนุ่งห่มผ้ากาสายะ มีพระวรกายขะมุกขะมอมเพราะเสด็จโดยพระบาทจากนครกบิลพัสดุ์ พระวรกายแปดเปื้อนได้ด้วยธุลี แต่ก็หาคำนึงถึงความลำบากเรื่องนี้ ไม่มุ่งประทัยแต่ในเรื่องบรรพชาอุปสมบท พระนางเป็นผู้มีอุปการะมากต่อพระองค์ เป็นผู้ประทานขีรธาราแทนพระมารดา ขอพระองค์ได้ทรงอนุเคราะห์พระนางเถิด ขอให้พระนางได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีตามพระประสงค์เถิด" <DD>พระผู้มีพระภาคประทับนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง แล้วตรัสว่า "อานนท์! เรื่องที่พระนางมีอุปการะมากต่อเรานั้น เราสำนึกอยู่ แต่เธอต้องไม่ลืมว่า เราเป็นธรรมราชาต้องรับผิดชอบในสังฆมณฑล จะเอาเรื่องส่วนตัวมาปะปนกับเรื่องความเสื่อมความเจริญของส่วนรวม ก็ต้องตรองให้ดีก่อน อานนท์! ถ้าเปรียบสังฆมณฑลของเราเป็นนาข้าว การที่ยอมให้สตรีมาบวชในธรรมวินัยนี้ ก็เหมือนปล่อยตัวเพลี้ยตัวแมลงลงในนาข้าวนั้น รังแต่จะทำความพินาศวอดวายให้แก่นาข้าวอย่างไม่ต้องสงสัย <DD>อานนท์! เราเคยพูดเสมอมิใช่หรือว่า สตรีที่บุรุษเอาใจเข้าไปข้องนั้น เป็นมลทินอย่างยิ่งของพรหมจรรย์ อานนท์เอย! ถ้าศาสนาของเราจะพึงอยู่ได้ ๑,๐๐๐ ปี แต่หากมีสตรีมาบวชด้วยจะอยู่ได้ ๕๐๐ ปีเท่านั้น หรือสมมติว่า ศาสนาของเราจะพึงดำรงอยู่ได้ ๕๐๐ ปี เมื่อมีสตรีมาบวชในธรรมวินัยด้วยก็จะทอนลงเหลือเพียงครึ่งเดียว คือ ๒๕๐ ปี อย่าเลย อานนท์! เธอย่อมพอใจขวนขวายให้มีภิกษุณีขึ้นในศาสนาเลย จะเป็นเรื่องลำบากในภายหลัง" <DD>พระอานนท์ ผู้อันเมตตา กรุณา เตือนอยู่เสมอ กระทำความพยายามต่อ ได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า <DD>"พระองค์ผู้เจริญ! ถ้าสตรีได้บวชในธรรมวินัยของพระองค์ นางจะสามารถหรือไม่ ที่จะบรรลุคุณวิเศษมีโสดาปัตติผลเป็นต้น" <DD>"อาจทีเดียว - พระอานนท์! นางสามารถจะทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ มีโสดาปัตติผลเป็นต้น" <DD>"ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถ้าอย่างนั้นขอพระองค์โปรดประทานอนุญาตให้พระนางโคตมีบวชเถิด พระเจ้าข้าฯ" <DD>พระพุทธองค์ ประทับนิ่งอยู่อีกครู่หนึ่ง แล้วตรัสว่า "อานนท์ ถ้าพระนางโคตมีสามารถรับครุธรรม ๘ ประการได้ ก็เป็นอันว่าพระนางได้บรรพชาอุปสมบทสมปรารถนา ครุธรรม ๘ ประการนั้นดังนี้ <DD>๑. ภิกษุณีแม้บวชแล้วตั้ง ๑๐๐ ปี ก็ต้องทำการอภิวาท การลุกขึ้นต้อนรับ อัญชลีกรรมและสามีจิกรรม แก่ภิกษุแม้ผู้บวชแล้วในวัยนั้น <DD>๒. ภิกษุณีต้องไม่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ <DD>๓. ภิกษุณีต้องถามวันอุโบสถและเข้าไปรับโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน <DD>๔. ภิกษุณีจำพรรษาแล้วต้องปรารณา คือเปิดโอกาสให้ตักเตือนสั่งสอนจากสำนักทั้งสอง คือทั้งจากภิกษุณีสงฆ์และจากภิกษุสงฆ์ <DD>๕. ภิกษุณีต้องอาบัติหนัก เช่น สังฆาทิเสสแล้ว ต้องประพฤติมานัตต์ตลอด ๑๕ วันในสงฆ์ทั้งสองฝ่าย คือทั้งในภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ <DD>๖. นางสิกขมานา คือสตรีที่เตรียมจะบวชเป็นภิกษุณี จะต้องประพฤติปฏิบัติศีล ๖ ข้อ คือตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๖ ให้ครบบริบูรณ์ตลอดเวลา ๒ ปี ขาดไม่ได้ ถ้าขาดลงจะต้องตั้งต้นใหม่ เมื่อทำได้ครบแล้วต้องอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย <DD>๗. ภิกษุณีต้องไม่ด่าว่าเปรียบเปรย หรือบริภาษภิกษุไม่ว่ากรณีใดๆ <DD>๘. ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีว่ากล่าวสั่งสอนภิกษุ ให้ภิกษุว่ากล่าวสั่งสอนภิกษุณีได้ฝ่ายเดียว <DD>"ดูก่อนอานนท์! นี่แลครุธรรมทั้ง ๘ ประการ ซึ่งภิกษุณีจะต้องสักการะเคารพนับถือ บูชาตลอดชีวิตจะล่วงละเมิดมิได้" <DD>พระอานนท์จำครุธรรม ๘ ประการได้แล้วทูลลาพระผู้มีพระภาคไปเฝ้าพระนางโคตมี เล่าบอกถึงเงื่อนไข ๘ ประการตามพุทธดำรัส แล้วกล่าวว่า <DD>"โคตมี ท่านพอจะรับครุธรรม ๘ ประการนี้ได้อยู่หรือ? ถ้าท่านรับได้อันนี้แหละเป็นบรรพชาอุปสมบทของท่าน พระผู้มีพระภาคตรัสมาอย่างนี้" <DD>พระนางโคตมีปลื้มพระทัยยิ่งนัก พระนางเป็นเหมือนสุภาพสตรีซึ่งอาบน้ำชำระกายอย่างดีแล้ว นุ่งห่มด้วยผ้าใหม่มีราคาแพง ประพรมน้ำหอมเรียบร้อย แล้วมีพวงมาลัยซึ่งทำด้วยดอกไม้หอมลองลงสวมศีรษะ สตรีนั้นหรือจะไม่พอใจ ฉันใดก็ฉันนั้น พระนางทรงรับครุธรรม ๘ ประการทันที และปฏิญาณว่าจะประพฤติปฏิบัติให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ตลอดชีวิต <DD>ทำไมพระพุทธองค์ จึงไม่ทรงประสงค์ให้สตรีได้บวชเป็นภิกษุณี? เหตุผลแจ่มแจ้งอยู่แล้วในพระดำรัสของพระองค์ น่าจะทรงเกรงความยุ่งเหยิงอันจะพึงเกิดขึ้นในภายหลัง ในครุธรรม ๘ ก็มีอยู่ข้อหนึ่งซึ่งบัญญัติว่าภิกษุณีจะต้องอยู่อาวาสเดียวกับพระสงฆ์ แยกสำนักไปตั้งเป็นอิสระอยู่ต่างหากไม่ได้ แต่คงจะให้แบ่งเขตกันมิใช่อยู่ปะปนกัน เรื่องที่ทรงห้ามมิให้ภิกษุณีแยกไปตั้งสำนักต่างหากนั้น เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย คือภิกษุณีคุ้มครองรักษาตัวเองไม่ได้ พวกอันธพาลอาจจะบุ่มบ่ามเข้าไปก่อกวน ให้ได้รับความเดือดร้อน <DD>คราวนี้มาถึงปัญหาอีกข้อหนึ่งว่า ทีแรกดูเหมือนจะเป็นความประสงค์ของพระพุทธองค์จริงๆ ที่จะไม่ยอมให้ภิกษุณีมีขึ้นในศาสนา แต่มายอมจำนนต่อเหตุผลของพระอานนท์หรืออย่างไร จึงยอมในภายหลัง <DD>เรื่องนี้กล่าวแก้กันว่า พระพุทธองค์จะยอมจำนนต่อเหตุผลของพระอานนท์ก็หามิได้ แต่พระองค์ต้องการให้เป็นเรื่องยาก คือให้บวชได้โดยยาก เพื่อภิกษุณีจะได้ถนอมสิ่งที่ตนได้มาโดยยากนั้น และต้องการพิสูจน์ความแน่วแน่เด็ดเดี่ยวของพระนางโคตมีด้วยว่าจะจริงแค่ไหน <DD>อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ พระพุทธองค์น่าจะไม่ประสงค์ให้ภิกษุณีมีขึ้นในศาสนาจริงๆ แต่ที่ยอมนั้นยอมอย่างขัดไม่ได้ และจะเห็นว่า เมื่อยอมโดยขัดไม่ได้แล้วพระองค์ก็ทรงวางระเบียบไว้อย่างถี่ยิบ เพื่อบีบคั้นให้ภิกษุณีหมดไปโดยเร็ว สิกขาบทที่มาในพระปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์ก็เพียง ๑๕๐ ข้อหรือที่เรารู้ๆ กันว่า พระสงฆ์มีศีล ๒๒๗ ข้อ แต่ภิกษุณีมีถึง ๓๑๑ อาบัติเบาๆ ของพระ แต่เมื่อภิกษุณีทำเข้ากลายเป็นเรื่องหนัก แปลว่าพระพุทธองค์ประสงค์ให้ภิกษุณีหมดไปโดยเร็ว และความประสงค์ของพระองค์ก็สัมฤทธิ์ผล ปรากฏว่าในสมัยที่พระองค์นิพพานนั้น มิได้มีเรื่องกล่าวถึงภิกษุณีเลย สันนิษฐานกันว่าภิกษุณีอาจจะหมดแล้วก็ได้ มาโผล่ขึ้นอย่างไรในสมัยพระเจ้าอโศกอีกไม่ทราบ ข้อน่าคิดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ปวัตตินี (หมายถึงอุปฌายะผู้ให้ภิกษุณีบวช) องค์หนึ่งบวชภิกษุณีได้ ๑ รูปต่อ ๑ ปีและต้องเว้นไป ๑ ปี จึงจะบวชได้อีกรูปหนึ่งแบบนี้หมดแน่ บางท่านให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การที่พระพุทธเจ้าไม่ประสงค์ให้มีภิกษุณีนั้น เพราะต้องการให้สตรีเป็นกองเสบียง การบวชเหมือนการออกรบ กองทัพถ้าไม่มีเสบียงก็ไปไม่ไหว ให้ผู้หญิงไว้เป็นกองเสบียงบำรุงศาสนจักรซึ่งมีพระเป็นทหารและพระพุทธองค์นั้นเป็นธรรมราชา <DD>อีกอย่างหนึ่งที่ไม่ทรงยอมให้บวช ก็เพราะมีพระกรุณาต่อสตรีไม่ต้องการให้สตรีต้องลำบาก การบวชเป็นเรื่องยาก เป็นเรื่องผจญภัยนานาประการ ผู้บวชอยู่ได้ต้องเป็นคนเข้มแข็งมิใช่คนอ่อนแอ สตรีเป็นเพศอ่อนแอ พระพุทธองค์ไม่ต้องการให้ลำบาก <DD>เรื่องที่มีสิกขาบทบัญญัติมากสำหรับภิกษุณีนั้นบางท่านให้เหตุผลว่า เพราะภิกษุณีเป็นลูกหญิงของพระพุทธเจ้า ธรรมดาลูกหญิงพ่อต้องเป็นห่วงมากกว่าลูกชาย และมีข้อห้ามมากกว่า จะปล่อยเหมือนลูกชายไม่ได้ ทั้งนี้ก็ด้วยความหวังดี หวังความสุข ความเจริญนั่นเอง </DD>
     
  15. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <CENTER>๖. ความรัก - ความร้าย</CENTER><DD>นอกจากมีเมตตากรุณา หวั่นไหวในความทุกข์ยากของผู้อื่นแล้ว พระอานนท์ยังเป็นผู้สุภาพอ่อนโยนอย่างยิ่งอีกด้วย ความสุภาพอ่อนโยน และลักษณะอันน่ารัก มีรูปงาม ผิวพรรณดีนี่เอง ได้เคยคล้องเอาดวงใจน้อยๆ ของสตรีผู้หนึ่งให้หลงใหลใฝ่ฝัน โดยที่ท่านมิได้มีเจตนาเลย เรื่องนี้เป็นดังนี้ <DD>ความหนึ่ง ท่านเดินทางจากที่ไกล มาสู่วัดเชตวัน อากาศซึ่งร้อนอบอ้าวในเวลาเที่ยงวันทำให้ท่านมีเหงื่อโทรมกาย และรู้สึกกระหายน้ำ พอดีเดินมาใกล้บ่อน้ำแห่งหนึ่ง เห็นนางทาสีกำลังตักน้ำ ท่านจึงกล่าวขึ้นว่า <DD>"น้องหญิง! อาตมาเดินทางมาจากที่ไกล รู้สึกกระหายน้ำ ถ้าไม่เป็นการรบกวน อาตมาขอบิณฑบาตน้ำจากท่านดื่มพอแก้กระหายด้วยเถิด" <DD>นางทาสีได้ยินเสียงอันสุภาพอ่อนโยน จึงเงยหน้าขึ้นดู นางตะลึงอยู่ครู่หนึ่งแล้วถอยออกห่างท่านสองสามก้าวพลางกล่าวว่า <DD>"พระคุณเจ้า! ข้าพเจ้าถวายน้ำแก่ท่านมิได้ดอก ท่านไม่ควรดื่มน้ำจากมืออันต่ำช้าของข้าพเจ้า ท่านเป็นวรรณกษัตริย์ ข้าพเจ้าเป็นเพียงนางทาสี" <DD>"อย่าคิดอย่างนั้นเลย น้องหญิง! อาตมาไม่มีวรรณะแล้ว อาตมาเป็นสมณศากยบุตร อาตมามิได้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ ไวศยะ สูทร หรือจัณฑาล อย่างใดอย่างหนึ่งเลย อาตมาเป็นมนุษย์เหมือนน้องหญิงนี่แหละ" <DD>"ข้าพเจ้าเกรงแต่จะเป็นมลทินแก่พระคุณเจ้า และเป็นบาปแก่ข้าพเจ้าที่ถวายน้ำ การที่ท่านจะรับของจากมือของคนต่างวรรณะ และโดยเฉพาะวรรณะที่ต่ำอย่างข้าพเจ้าด้วยแล้ว ข้าพเจ้าไม่สบายใจเลย ความจริงข้าพเจ้ามิได้หวงน้ำดอก" นางยังคงยืนกรานอยู่อย่างเดิม นางพูดมีเสียงสั่นน้อยๆ <DD>"น้องหญิง! มลทินและบาปจะมีแก่ผู้มีเมตตากรุณาไม่ได้ มลทินย่อมมีแก่ผู้ประกอบกรรมชั่ว บาปจะมีแก่ผู้ไม่สุจริต การที่อาตมาขอน้ำ และน้องหญิงจะให้น้ำนั้นเป็นธรรมะ ธรรมย่อมปลดเปลื้องบาปและมลทินเหมือนน้ำสะอาดชำระสิ่งสกปรกฉะนั้น น้องหญิง! บัญญัติของพราหมณ์เรื่องบาปและมลทิน อันเกี่ยวกับวรรณะนั้นเป็นบัญญัติที่ไม่ยุติธรรม เป็นการแบ่งแยกมนุษย์ให้เหินห่างจากมนุษย์ เป็นการเหยียดหยามมนุษย์ด้วยกัน เรื่องนี้อาตมาไม่มีแล้ว อาตมาเป็นสมณศากยบุตร สาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ไม่มีวรรณะ เพราะฉะนั้นถ้าน้องหญิงต้องการจะให้น้ำก็จงเทลงในบาตรนี้เถิด" <DD>นางรู้สึกจับใจในคำพูดของพระอานนท์ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกในชีวิตของนางที่ได้ยินคำอันระรื่นหู จากชนซึ่งสมมติเรียกกันว่า "ชั้นสูง" มืออันเรียวงามสั่นน้อยๆ ของนางค่อยๆ ประจงเทน้ำในหม้อลงในบาตรของท่านอานนท์ ในขณะนั้นนางนั่งคุกเข่า พระอานนท์ยืนโน้มตัวลงรับน้ำจากนาง แล้วดื่มด้วยความกระหาย นางช้อนสายตาขึ้นมองดูพระอานนท์ซึ่งกำลังดื่มน้ำ ด้วยความรู้สึกปีติซาบซ่าน แล้วยิ้มอย่างเอียงอาย <DD>"ขอให้มีความสุขเถิด น้องหญิง!" เสียงอันไพเราะจากพระอานนท์ หน้าของท่านยิ่งแจ่มใสขึ้นเมื่อได้ดื่มน้ำระงับความกระหายแล้ว <DD>"พระคุณเจ้าดื่มอีกหน่อยเถิด" นางพูดพลางเอียงหม้อน้ำในท่าจะถวาย <DD>"พอแล้วน้องหญิง! ขอให้มีความสุขเถิด" <DD>"พระคุณเจ้า! ทำอย่างไร ข้าพเจ้าจึงจะทราบนามของพระคุณเจ้าพอเป็นมงคลแก่โสตร และความรู้สึกของข้าพเจ้าบ้าง" นางพูดแล้วก้มหน้าด้วยความขวยอาย <DD>"น้องหญิง! ไม่เป็นไรดอก น้องหญิงเคยได้ยินชื่อพระอานนท์ อนุชาของพระพุทธเจ้าหรือไม่?" <DD>"เคยได้ยิน พระคุณเจ้า" <DD>"เคยเห็นท่านไหม?" <DD>"ไม่เคยเลย พระคุณเจ้า เพราะข้าพเจ้าทำงานอยู่เฉพาะในบ้าน และมาตักน้ำที่นี่ ไม่มีโอกาสไปที่ใดเลย" <DD>"เวลานี้ น้องหญิงกำลังสนทนากับพระอานนท์อยู่แล้ว" <DD>นางมีอาการตะลึงอยู่ครู่หนึ่ง แล้วแววแห่งปีติค่อยๆ ฉายออกมาทางดวงหน้าและแววตา <DD>"พระคุณเจ้า" นางพูดด้วยเสียงสั่นน้อยๆ "เป็นมงคลแก่โสตร และดวงตาของข้าพเจ้ายิ่งนักที่ได้ฟังเสียงของท่าน และได้เห็นท่านผู้มีศีล ผู้มีเกียรติศัพท์ระบือไปไกล ข้าพเจ้าเพิ่งได้เห็นและได้สนทนากับท่านโดยมิรู้มาก่อน นับเป็นบุญอันประเสริฐของข้าพเจ้ายิ่งแล้ว" <DD>และแล้วพระอานนท์ ก็ลานางทาสีเดินมุ่งหน้าสู่วัดเชตวัน อันเป็นที่ประทับของพระศาสดา เมื่อท่านเดินมาได้หน่อยหนึ่ง ได้ยินเสียงเหมือนมีคนเดินตามมาข้างหลัง ท่านเหลียวดูปรากฏว่าเป็นนางทาสีที่ถวายน้ำนั่นเองเดินตามมา ท่านเข้าใจว่าบ้านของนางคงจะอยู่ทางเดียวกับที่ท่านเดินมา จึงมิได้สงสัยอะไรและเดินมาเรื่อยๆ จนจวนจะถึงซุ้มประตูไม่มีทางแยกไปที่อื่นอีกแล้ว นอกจากทางเข้าสู่วัด ท่านเหลียวมาเห็นนางทาสีเดินตามมาอย่างกระชั้นชิด นัยน์ตาก็จ้องมองดูท่านตลอดเวลา ท่านหยุดอยู่ครู่หนึ่ง พอนางเข้ามาใกล้ท่านจึงกล่าวว่า <DD>"น้องหญิง! เธอจะไปไหน?" <DD>"จะเข้าไปในวัดเชตวันนี่แหละ" นางตอบ <DD>"เธอจะเข้าไปทำไม?" <DD>"ไปหาพระคุณเจ้า สนทนากับพระคุณเจ้า" <DD>"อย่าเลยน้องหญิง เธอไม่ควรจะเข้าไป ที่นี่เป็นที่อาศัยอยู่ของพระสงฆ์ เธอไม่มีธุระอะไร อย่าเข้าไปเลย เธอกลับบ้านเสียเถิด" <DD>"ข้าพเจ้าไม่กลับ ข้าพเจ้ารักท่าน ข้าพเจ้าไม่เคยพบใครดีเท่าพระคุณเจ้าเลย" <DD>น้องหญิง! พระศาสดาตรัสว่าปกติของคนเราอาจจะรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน และต้องอยู่ร่วมกันนานๆ ต้องมีโยนิโสมนสิการ และต้องมีปัญญา จึงจะรู้ว่าคนนั้นคนนี้มีปกติอย่าง คือดีหรือไม่ดี ที่น้องหญิงพบเราเพียงครู่เดียวจะตัดสินได้อย่างไรว่าอาตมาเป็นคนดี อาตมาอาจจะเอาชื่อท่านอานนท์มาหลอกเธอก็ได้ อย่าเข้ามาเลยกลับเสียเถิด" <DD>"พระคุณเจ้าจะเป็นใครก็ช่างเถิด" นางคงพร่ำต่อไป มือหนึ่งถือหม้อน้ำซึ่งบัดนี้นางได้เทน้ำออกหมดแล้ว "ข้าพเจ้ารักท่านซึ่งข้าพเจ้าสนทนาอยู่ด้วยเวลานี้" <DD>"น้องหญิง! ความรักเป็นเรื่องร้ายมิใช่เป็นเรื่องดี พระศาสดาตรัสว่าความเป็นรักเป็นเหตุให้เกิดทุกข์โศก และทรมานใจ เธอชอบความทุกข์หรือ?" <DD>"ข้าพเจ้าไม่ชอบความทุกข์เลยพระคุณเจ้า และความทุกข์นั้นใครๆ ก็ไม่ชอบ แต่ข้าพเจ้าชอบมีความรัก โดยเฉพาะรักพระคุณเจ้า" <DD>"จะเป็นไปได้อย่างไร น้องหญิง! ในเมื่อทำเหตุก็ต้องได้รับผล การที่จะให้มีรักแล้วมิให้มีทุกข์ติดตามมานั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เป็นไปไม่ได้เลย" <DD>"แต่ข้าพเจ้ามีความสุข เมื่อได้เห็นพระคุณเจ้า ได้สนทนากับพระคุณเจ้า ผู้เป็นที่รักอย่างยิ่งของข้าพเจ้า รักอย่างสุดหัวใจเลยทีเดียว" <DD>"ถ้าไม่ได้เห็นอาตมา ไม่ได้สนทนากับอาตมา น้องหญิงจะมีความทุกข์ไหม?" <DD>"แน่นอนทีเดียว ข้าพเจ้าจะต้องมีความทุกข์อย่างมาก" <DD>"นั่นแปลว่า ความรักเป็นเหตุให้เกิดทุกข์แล้วใช่ไหม?" <DD>"ไม่ใช่พระคุณเจ้า นั่นเป็นเพราะการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักต่างหากเล่า มิใช่เพราะความรัก" <DD>"ถ้าไม่มีรัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักจะมีได้หรือไม่" <DD>"มีไม่ได้เลย พระคุณเจ้า" <DD>"นี่แปลว่าน้องหญิงยอมรับแล้วใช่ไหมว่าความรักเป็นสาเหตุชั้นที่หนึ่งที่จะให้เกิดทุกข์" พระอานนท์พูดจบแล้วยิ้มน้อยๆ ด้วยรู้สึกว่ามีชัย แต่ใครเล่าจะเอาชนะความปรารถนาของหญิงได้ง่ายๆ ลงจะเอาอะไรก็จะเอาให้ได้ เพราะธรรมชาติของเธอมักจะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล ถ้าผู้หญิงคนใดใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาชีวิต หรือในการดำเนินชีวิต หญิงคนนั้นจะเป็นสตรีที่ดีที่สุดและน่ารักที่สุด เหตุผลที่กล่าวนี้ มิใช่มากมายอะไรเลย เพียงไม่ถึงกึ่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้แม้นางจะมองเห็นเหตุผลของพระอานนท์ว่าคมคายอยู่ แต่นางก็หายอมไม่ นางกล่าวต่อไปว่า <DD>"พระคุณเจ้า! ความรักที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ดังที่พระคุณเจ้ากล่าวมานั้น เห็นจะเป็นความรักของคนที่รักไม่เป็นเสียละกระมัง คนที่รักเป็น ย่อมรักได้โดยมิให้เป็นทุกข์" <DD>"น้องหญิงเคยรักหรือ หมายถึงเคยรักใครคนใดคนหนึ่งมาบ้างหรือไม่ในชีวิตที่ผ่านมา" <DD>"ไม่เคยมาก่อนเลย ครั้งนี้เป็นครั้งแรก และคงจะเป็นครั้งสุดท้ายอีกด้วย" <DD>"เมื่อไม่เคยมาเลย ทำไมเธอจึงจะรักให้เป็นโดยมิต้องเป็นทุกข์เล่าน้องหญิง! คนที่จับไฟนั้นจะจับเป็นหรือจับไม่เป็น จะรู้หรือไม่รู้ ถ้าลงได้จับไฟด้วยมือแล้วย่อมร้อนเหมือนกัน ใช่ไหม?" <DD>"ใช่ - พระคุณเจ้า" <DD>"ความรักก็เหมือนการจับไฟนั่นแหละ ทางที่จะไม่ให้มือพองเพราะไฟเผามีอยู่ทางเดียว คืออย่าจับไฟอย่าเล่นกับไฟ ทางที่จะปลอดภัยจากรักก็ฉันนั้น มีอยู่ทางเดียวคืออย่ารัก" <DD>"พระคุณเจ้าจะว่าอย่างไรก็ตามเถิด แต่ข้าพเจ้าหักรักจากพระคุณเจ้ามิได้เสียแล้ว แม้พระคุณเจ้าจะไม่ปราณีข้าพเจ้าเยี่ยงคนรัก ก็ขอให้พระคุณเจ้ารับข้าพเจ้าไว้ในฐานะทาสผู้ซื่อสัตย์ ข้าพเจ้าจักปฏิบัติพระคุณเจ้า บำรุงพระคุณเจ้าเพื่อความสุขของท่านและของข้าพเจ้าด้วย" <DD>"น้องหญิง! ประโยชน์อะไรที่เธอจะมารักคนอย่างอาตมา อาตมารักพระศาสดาและพรหมจรรย์หมดหัวใจเสียแล้ว ไม่มีหัวใจไว้รักอะไรได้อีก แม้เธอจะขอสมัครอยู่ในฐานะเป็นทาสก็ไม่ได้ พระศาสดาทรงห้ามมิให้ภิกษุในพระศาสนามีทาสไว้ใช้ ยิ่งเธอเป็นทาสหญิงด้วยแล้วยิ่งเป็นการผิดมากขึ้น แม้จะเป็นศิษย์คอยปฏิบัติก็ไม่ควร จะเป็นที่ตำหนิของวิญญูชน เป็นทาสแห่งความเสื่อมเสีย อาตมาเห็นใจน้องหญิง แต่จะรับไว้ในฐานะใดฐานะหนึ่งไม่ได้ทั้งนั้น กลับเสียเถิดน้องหญิง พระศาสดาหรือภิกษุสามเณรเห็นเข้าจะตำหนิอาตมาได้ นี่ก็จวนจะถึงพระคันธกุฎีแล้ว อย่าเข้ามานะ" พระอานนท์ยกมือขึ้นห้ามในขณะที่นางทาสีจะก้าวตามท่านเข้าไป <DD>พระผู้มีพระภาค ทรงสดับเสียงเถียงกันระหว่างพระอานนท์ กับสตรี จึงตรัสถามมาจากภายในพระคันธกุฎีว่า "อะไรกันอานนท์?" <DD>"ผู้หญิงพระเจ้าข้า เขาจะตามข้าพระองค์เข้ามายังวิหาร" <DD>"ให้เขาเข้ามาเถอะ พามานี่ มาหาตถาคต" พระศาสดาตรัส <DD>พระอานนท์พานางทาสีเข้าเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคมีพระวาจาว่า "อานนท์! เรื่องราวเป็นมาอย่าง ทำไมเขาจึงตามเธอมาถึงนี่?" เมื่อพระอานนท์ทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า <DD>"ภคินี! เธอรักใคร่พอใจในอานนท์หรือ?" <DD>"พระเจ้าข้า" นางทาสียกมือแค่อกรับตามเป็นจริง <DD>"เธอรักอะไรในอานนท์?" <DD>"ข้าพระพุทธเจ้า รักนัยน์ตาพระอานนท์ พระเจ้าข้า" <DD>"นัยน์ตานั้น ประกอบขึ้นด้วยเส้นประสาทและเนื้ออ่อน ต้องหมั่นเช็ดสิ่งสกปรกในดวงตาอยู่เป็นนิตย์มีขี้ตาไหลออกจากนัยน์ตาอยู่เสมอ ครั้นแก่คงก็จักฝ้าฝางขุ่นมัวไม่แจ่มใส อย่างนี้เธอจักรักนัยน์ตาของพระอานนท์อยู่หรือ?" <DD>"ถ้าอย่างนั้น ข้าพระองค์รักหูของพระอานนท์ พระเจ้าข้าฯ" <DD>ภคินี! หูนั้นประกอบด้วยเส้นเอ็นและเนื้อ ภายในช่องหูมีของโสโครกเป็นอันมาก มีกลิ่นเหม็น ต้องแคะไค้อยู่เสมอ ครั้งชราลงก็หนวก จะฟังเสียงอะไรก็ไม่ถนัดหรืออาจไม่ได้ยินเลย ดังนี้แล้ว เธอยังจะรักอยู่หรือ?" <DD>นางเอียงอายเล็กน้อย แล้วตอบเลี่ยงต่อไปว่า "ถ้าอย่างนั้น ข้าพระองค์รักจมูกอันโด่งงามของพระอานนท์พระเจ้าข้า" <DD>"ภคินี! จมูกนั้นประกอบขึ้นด้วยกระดูกอ่อนที่มีโพรง ภายในมีน้ำมูกและเส้นขน กับของโสโครกมีกลิ่นเหม็นเป็นก้อนๆ อย่างนี้เธอยังจะรักอยู่อีกหรือ" <DD>ไม่ว่านางจะตอบเลี่ยงไปอย่างไร พระพุทธองค์ก็ทรงชี้แจงให้พิจารณาเห็นความเป็นจริงของร่างกายอันสกปรกเปื่อยเน่านี้ ในที่สุดนางก็นั่งก้มหน้านิ่ง พระพุทธองค์ตรัสว่า <DD>"ภคินีเอย! อันร่างกายนี้สะสมไว้แต่ของสกปรกโสโครก มีสิ่งปฏิกูลไหลออกจากทวารทั้ง ๙ มีช่องหู ช่องจมูก เป็นต้น เป็นที่อาศัยแห่งสัตว์เล็กน้อยเป็นป่าช้าแห่งซากสัตว์นานาชนิด เป็นรังแห่งโรค เป็นที่เก็บมูตรและกรีส อุปมาเหมือนถุงหนังซึ่งบรรจุเอาสิ่งโสโครกต่างๆ เข้าไว้ และซึมออกมาเสมอๆ เจ้าของกายจึงต้องชำระล้างขัดถูวันละหลายๆ ครั้ง เมื่อเว้นจากการชำระล้างแม้เพียงวันเดียวหรือสองวัน กลิ่นเหม็นก็ปรากฏเป็นที่รังเกียจ เป็นของน่าขยะแขยง <DD>"ภคินี - ร่างกายนี้เป็นเหมือนเรือนซึ่งสร้างด้วยโครงกระดูก มีหนังและเลือดเป็นเครื่องฉาบทา ที่มองเห็นเปล่งปลั่งผุดผาดนั้นเป็นเพียงผิวหนังเท่านั้น เหมือนมองเห็นความงามแห่งหีบศพ อันวิจิตรตระการตา ผู้ไม่รู้ก็ติดในหีบศพนั้น แต่ผู้รู้ เมื่อทราบว่าเป็นหีบศพ แม้ภายนอกจะวิจิตรตระการตาเพียงไรก็หาพอใจยินดีไม่เพราะทราบชัดว่า ภายในแห่งหีบอันสวยงามนั้นมีสิ่งปฏิกูลพึงรังเกียจ" <DD>แม้พระศาสดาตรัสอยู่อย่างนี้ ความรักของเธอที่มีต่อพระอานนท์ก็หาลดลงไม่ บางคราวแสงสว่างฉายวูบเข้ามาสู่หทัยของนางจะทำให้นางมองเห็นความเป็นจริงตามพระศาสดาตรัสก็ตาม แต่มันมีน้อยเกินไป ไม่สามารถจะข่มความเสน่หา ที่เธอมีต่อพระอานนท์เสียได้ เหมือนน้ำน้อย ไม่พอที่จะดับไฟโดยสิ้นเชิง ไฟคือราคะในจิตใจของนางก็ฉันนั้น คุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา นางคิดว่าจะทำไฉนหนอจักสามารถอยู่ใกล้พระอานนท์ได้ เมื่อไม่ทราบจะทำประการใด จึงทูลลาพระศาสดาและพระอานนท์กลับบ้าน ก่อนกลับนางไม่ลืมที่จะชำเลืองมองพระอานนท์ด้วยความเสน่หา <DD>เนื่องจากมาเสียเวลาในวัดเชตวันเสียนาน นางจึงกลับไปถึงบ้านเอาจวนค่ำ นางรู้สึกตะครั่นตะครอทั้งกายและใจ เกรงว่าระหว่างที่นางหายไปนานนั้นนายอาจจะเรียกใช้ เมื่อไม่พบนางคงถูกลงโทษอย่างหนักอย่างที่เคยถูกมาแล้ว อนิจจา! ชีวิตของคนทาส ช่างไม่มีอิสระและความสุขเสียเลย <DD>เป็นการบังเอิญอย่างยิ่งปรากฏว่า ตลอดเวลาที่นางหายไปนั้นนายมิได้เรียกใช้เลย ผิดจากวันก่อนๆ นี่ เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากพุทธานุภาพ โอ! พุทธานุภาพ ช่างน่าอัศจรรย์อะไรเช่นนั้น! <DD>คืนนั้นนางนอนกระวนกระวายอยู่ตลอดคืน จะข่มตาให้หลับสักเท่าใดก็หาสำเร็จไม่ พอเคลิ้มๆ นางต้องผวาตื่นขึ้นด้วยภาพแห่งพระอานนท์ ปรากฏทางประสาทที่ ๖ หรือมโนทวาร นางนอนภาวนาชื่อของพระอานนท์เหมือนนามเทพเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธคุณก็คอยไหลวนเวียนเข้ามาสู่ความสำนึกอันลึกซึ้ง นางคิดว่าภายใต้พุทธฉายาน่าจะมีความสงบเย็นและบริสุทธิ์น่าพึงใจเป็นแน่แท้ แต่จะทำอย่างไรหนอจึงจะประสบความสงบเย็นเช่นนั้น <DD>เสียงไก่โห่อยู่ไม่นาน ท้องฟ้าก็เริ่มสาง ลมเย็นตอนรุ่งอรุณพัดแผ่วเข้ามาทางช่องหน้าต่าง นางสลัดผ้าห่มออกจากกาย ลุกขึ้นเพื่อเตรียมอาหารไว้สำหรับนาย นางภาวนาอยู่ในใจว่าเช้านี้ขอให้พระอานนท์บิณฑบาตผ่านมาทางนี้เถิด <DD>แสงแดดในเวลาเช้าให้ความชุ่มชื่นพอสบาย นางเสร็จธุระอย่างอื่นแล้ว ออกมายืนเหม่ออยู่หน้าบ้าน มองไปเบื้องหน้าเห็นภิกษุณีรูปหนึ่ง มีบาตรในมือ เดินผ่านบ้านของนางไป ทันใดนั้นความคิดก็แวบเข้ามา ทำให้นางดีใจจนเนื้อเต้น ภิกษุณี! โอ! ภิกษุณี เราบวชเป็นภิกษุณีซิ จะได้อยู่ในบริเวณวัดเชตวันกับภิกษุณีทั้งหลายและคงมีโอกาสได้อยู่ใกล้ และพบเห็นพระคุณเจ้าอันเป็นที่รักของเราเป็นแน่แท้ <DD>นางลานายไปเฝ้าพระศาสดา และทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยแห่งนางแล้ว ประทานอนุญาตให้อุปสมบทอยู่ ณ สำนักแห่งภิกษุณีในวัดเชตวันนั่นเอง <DD>เมื่อบวชแล้วภิกษุณีรูปใหม่ก็ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนท่องบ่นพระธรรมวินัย ตั้งใจประพฤติปฏิบัติด้วยดี สำรวมอยู่ในสิกขาบทปาฏิโมกข์ มีสิกขาและอาชีพเสมอด้วยภิกษุณีทั้งหลาย เป็นที่รักใคร่ชอบพอของภิกษุณีอื่นๆ ทั้งนี้เพราะนางเป็นผู้เสงี่ยมเจียมตนและพอใจในวิเวกอีกด้วย <DD>ถึงกระนั้นก็ตาม ทุกเวลาบ่ายเมื่อนางได้เห็นพระอานนท์ ขณะให้โอวาทแก่ภิกษุณีบริษัท ความรัญจวนใจก็ยังเกิดขึ้นรบกวนนางอยู่มิเว้นวาย จะพยายามข่มด้วยอสุภกัมมัฏฐานสักเท่าใด ก็หาสงบราบคาบอย่างภิกษุณีอื่นๆ ไม่ <DD>คราวหนึ่งนางได้ฟังโอวาทจากพระศาสดาเรื่องกิเลส ๓ ประการคือ ราคะ โทสะ และโมหะ พระพุทธองค์ตรัสว่า <DD>"กิเลสทั้งสามประการนี้ย่อมเผาบุคคลผู้ยอมอยู่ใต้อำนาจของมัน ให้รุ่มร้อนกระวนกระวายเหมือนไฟเผาไหม้ท่อนไม้และแกลบให้แห้งเกรียม ข้อแตกต่างแห่งกิเลสทั้งสามประการนี้ก็คือ ราคะนั้นมีโทษน้อยแต่คลายช้า โทสะมีโทษมากแต่คลายเร็ว โมหะมีโทษมากด้วยคลายช้าด้วย บุคคลซึ่งออกบวชแล้วประพฤติตนเป็นผู้ไม่มีเรือนเรียกว่า ได้ชักกายออกห่างจากกามราคะ แต่ถ้าใจยังหมกมุ่นพัวพันอยู่ในกามก็หาสำเร็จประโยชน์แห่งการบวชไม่ คือเขาไม่สามารถจะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้ อุปมาเหมือนไม้สดชุ่มอยู่ด้วยยาง แม้จะวางอยู่บนบก บุคคลผู้ต้องการไฟก็ไม่อาจนำมาสีให้เกิดไฟได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุ ภิกษุณีผู้ชักกายออกจากกามแล้วพยายามชักใจออกจากกามความเพลิดเพลินหลงใหลเสียด้วย" <DD>นางได้ฟังพระพุทธภาษิตนี้แล้วให้รู้สึกละอายใจตนเองสุดประมาณ ที่นางเข้ามาบวชก็มิได้มุ่งหมายเพื่อกำจัดทุกข์ให้สูญสิ้น หรือเพื่อทำลายกองตัณหาอะไรเลย แต่เพื่อให้มาอยู่ใกล้คนอันเป็นที่รัก คิดดูแล้วเหมือนนำน้ำมันมาวางไว้ใกล้เพลิง มันมีแต่จะลุกเป็นไฟกองมหึมาขึ้นสักวันหนึ่ง <DD>เมื่อปรารภดังนี้ นางยิ่งกระวนกระวายใจมากขึ้น พระอานนท์หรือก็ไม่เคยทักทายปราศรัยเป็นส่วนตัวเลย การได้เห็นคนอันเป็นที่รักเป็นความสุขก็จริง แต่มันเล็กน้อยเกินไป เมื่อนำมาเทียบกับความทรมานในขณะนี่ต้องจากอยู่โดดเดี่ยวและว้าเหว่ กาสาวพัสตร์เป็นกำแพงเหลืองมหึมาที่คอยกั้นมิให้ความรักเดินถึงกัน ถึงกระนั้นก็ยังมีภิกษุ และภิกษุณีบางท่านกระโดดข้ามกำแพงนี้ล่วงละเมิดสิกขาบทวินัยของพระพุทธองค์จนได้ นางคิดมาถึงเรื่องนี้แล้วเสียวสันหลังวาบเหมือนถูกก้อนหิมะอันเยือกเย็นโดยไม่รู้สึกตัวมาก่อน <DD>นางพยายามสะกดใจมิให้คิดถึงพระอานนท์ พยายามท่องบ่นสาธยายพระธรรมวินัย แต่ทุกขณะจิตที่ว่างลง ดวงใจของนางก็จะคร่ำครวญรำพันถึงพระอานนท์อีก นางรู้สึกปวดศีรษะและวิงเวียนเพราะความคิดหมกมุ่นสับสน นี่เองกระมังที่พระอานนท์พูดไว้แต่วันแรกที่พบกันว่า ความรักเป็นความร้าย <DD>วันหนึ่ง นางชวนเพื่อนภิกษุณีรูปหนึ่งไปหาพระอานนท์ พระอานนท์เป็นผู้มีอัธยาศัยงาม จึงต้อนรับนางด้วยเมตตาธรรม นางรู้สึกชุ่มชื่นขึ้นบ้างเหมือนข้าวกล้าที่จวนจะแห้งเกรียมเพราะขาดน้ำ ชุ่มชื่นขึ้น เพราะฝนผิดฤดูกาลหลั่งลงมา แต่เมื่อนางจะลากลับนั่นเอง พระอานนท์พูดว่า <DD>"น้องหญิง! ต่อไปเมื่อไม่มีธุระอะไรก็อย่ามาอีก ถ้ามีความสงสัยเกี่ยวกับข้อธรรมวินัยอันใด ก็ให้ถามเมื่ออาตมาไปสู่สำนักภิกษุณีเพื่อให้โอวาท" <DD>คืนนั้นนางนอนร้องไห้ตลอดคืน น้อยใจเสียใจและเจ็บใจตนเอง "พระอานนท์หรือก็ช่างใจไม้ไส้ระกำเสียเต็มประดา จะเห็นแก่ความรักของเราบ้างก็ไม่มีเลย" นางยิ่งคิดยิ่งช้ำและน้อยใจ <DD>ภิกษุณีผู้พักอยู่ ณ ที่ใกล้ ได้ยินเสียงสะอื้นในยามดึก จึงลุกขึ้นมาหาด้วยความเป็นห่วง ถามนางว่า "โกกิลา! มีเรื่องอะไรหรือ?" <DD>"อ้อ ไม่มีอะไรดอกสุมิตรา ข้าพเจ้าฝันร้ายไป รู้สึกตกใจมากเลยร้องไห้ออกมา ขอบใจมาก ที่ท่านเป็นห่วงข้าพเจ้า" นางตอบฝืนสีหน้าให้ชุ่มชื่นขึ้น <DD>"พระศาสดาสอนว่าให้เจริญเมตตา แล้วจะไม่ฝันร้าย ท่านเจริญเมตตาหรือเปล่าก่อนนอนน่ะ" ภิกษุณีสุมิตราถามอย่างกันเอง <DD>"อ้อ! เมื่อเจริญเมตตาแล้วจะไม่ฝันร้ายอย่างนั้นหรือ?" <DD>"ใช่" <DD>"ก่อนนอนคืนนี้ ข้าพเจ้าลืมไป ท่านกลับไปนอนเถิด ข้าพเจ้าขออภัยด้วยที่ร้องไห้ดังไปจนท่านตื่น" <DD>เมื่อภิกษุณีสุมิตรากลับไปแล้ว ภิกษุณีโกกิลาก็คิดถึงชีวิตของตัว ชีวิตของนางเต็มไปด้วยความเป็นทาส เมื่อก่อนบวชก็เป็นทาสทางกาย พอปลีกจากทาสทางกายมาได้ก็มาตกเป็นทาสทางใจเข้าอีก แน่นอนทีเดียว ผู้ใดตกอยู่ในความรัก ดวงใจของผู้นั้นย่อมเป็นทาส ทาสของความรัก ทาสรักนั้นจะไม่มีใครสามารถช่วยปลดปล่อยได้ นอกจากเจ้าของดวงใจจะปลดปล่อยเอง นางหลับไปด้วยความอ่อนเพลียเมื่อจวนจะรุ่งสางอยู่แล้ว </DD>
     
  16. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <CENTER>๗. กับโกกิลาภิกษุณี</CENTER><DD>ในที่สุดเมื่อเห็นว่าจะสะกดใจไว้ไม่อยู่แน่ นางจึงตัดสินใจลาพระศาสดา และอานนท์ และเพื่อนภิกษุณีอื่นๆ จากวัดเชตวันเมืองสาวัตถี มุ่งหน้าสู่โฆสิตาราม เมืองโกสัมพี ด้วยคิดว่า "การอยู่ห่างอาจจะเป็นยารักษาโรครักได้บ้างกระมัง!" <DD>นางจากเชตวันด้วยความอาลัยอาวรณ์เป็นที่ยิ่ง อุปมาเหมือนมารดาต้องจำใจจากบุตรสุดที่รักของตัวเองฉันใดก็ฉันนั้น นางอยู่จำพรรษา ณ โฆสิตาราม ซึ่งโฆสิตาราม มหาเศรษฐีสร้างถวายพระพุทธองค์ สามเดือนที่อยู่ห่างพระอานนท์ ดวงจิตของนางผ่องแผ้วแจ่มใสขึ้น การท่องบ่นสาธยายและการบำเพ็ญสมณธรรม ก็ดีขึ้นตามไปด้วย นางคิดว่าคราวนี้คงตัดอาลัยในพระอานนท์ได้เป็นแน่แท้ <DD>แต่ความรักต้องมีวงจรของมัน จนกว่ารักนั้นจะสุดสิ้นลง ชีวิตมันจะเป็นอย่างนี้เสมอ เมื่อใครคนหนึ่งพยายามดิ้นรนหาความรัก เขามักจะไม่สมปรารถนา แต่พอเขาทำท่าจะหนีความรักก็ตามหา ความรักจึงมีลักษณะคล้ายเงา เมื่อบุคคลวิ่งตาม มันจะวิ่งหนี แต่เมื่อเขาวิ่งหนี มันจะวิ่งตาม <DD>ด้วยกฏอันนี้กระมัง เมื่อนางหนีรักออกจากเชตวันและสงบอยู่ ณ กรุงโกสัมพีนี้ เมื่อออกพรรษาแล้ว ข่าวการเสด็จสู่กรุงโกสัมพีของพระผู้มีพระภาคก็แพร่สะพัดมา ซึ่งเป็นการแน่นอนว่า พระอานนท์จะต้องตามเสด็จด้วย <DD>ชาวโกสัมพีทราบข่าวนี้ด้วยความชื่นชมโสมนัสภิกษุสงฆ์ต่างจัดแจงปัดกวาดเสนาสนะ เตรียมพระคันธกุฎีที่ประทับของพระศาสดา พระเจ้าอุเทนเองซึ่งไม่ค่อยจะสนพระทัยในทางธรรมนัก ก็อดที่จะทรงปรีดาปราโมชมิได้ เพราะถือกันว่า พระศาสดาเสด็จไป ณ ที่ใด ย่อมนำความสงบสุขและมงคลไปสู่ที่นั้นด้วย การสนทนาเรื่องการเสด็จมาของพระศาสดามีอยู่ทุกหัวระแหงแห่งกรุงโกสัมพี ศาสดาคณาจารย์เจ้าลัทธิต่างๆ ก็เตรียมผูกปัญหาเพื่อถูกถาม บางท่านก็เตรียมถามเพื่อให้พระศาสดาจนในปัญหาของตน บางท่านก็เตรียมถามเพียงเพื่อเทียบเคียงความคิดเห็นเท่านั้น หมู่ภิกษุสงฆ์ปีติปราโมชเป็นอันมาก เพราะการเสด็จมาของพระศาสดาย่อมหมายถึงการได้ยินได้ฟังมธุรภาษิตจากพระองค์ด้วย และบางท่านอาจจะได้บรรลุคุณวิเศษเบื้องสูง เพราะธรรมเทศนานั้น <DD>ใครจะทราบบ้างเล่าว่า ดวงใจของโกกิลาภิกษุณีจะเป็นประการใด เมื่อบ่ายวันหนึ่ง เพื่อนภิกษุณีนำข่าวมาบอกนางว่า "นี่ โกกิลา! ท่านทราบไหมว่าพระศาสดาจะเสด็จมาถึงนี่เร็วๆ นี้?" <DD>"อย่างนั้นหรือ?" นางมีอาการตื่นเต้นเต็มที่ <DD>"เสด็จมาองค์เดียวหรืออย่างไร?" <DD>"ไม่องค์เดียวดอก ใครๆ ก็รู้ว่าเมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาจะต้องมีพระเถระผู้ใหญ่มาด้วย หรืออาจจะมาสมทบทีหลังก็ได้ แต่ท่านที่ต้องตามเสด็จแน่คือพระอานนท์พุทธอนุชา" <DD>"อานนท์!" นางอุทาน พร้อมด้วยเอามือทาบอก <DD>"ทำไมหรือโกกิลา ดูท่านตื่นเต้นมากเหลือเกิน?" ภิกษุณีรูปนั้นถามอย่างสงสัย <DD>"เปล่าดอก ข้าพเจ้าดีใจที่จะเฝ้าพระศาสดา และฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์ ดีใจจนควบคุมตัวไม่ได้" นางตอบเลี่ยง <DD>"ใครๆ เขาก็ดีใจกันทั้งนั้นแหละโกกิลา คราวนี้เราคงได้ฟังธรรมกถาอันลึกซึ้ง และได้ฟังมธุรภาษิตของพระมหาเถระเช่นพระสารีบุตรและพระมหากัสสป หรือพระอานนท์เป็นต้น" ภิกษุณีรูปนั้นกล่าว <DD>วันที่รอคอยก็มาถึง พระศาสดา มีพระภิกษุสงฆ์ อรหันต์หมู่ใหญ่แวดล้อมเสด็จถึงกรุงโกสัมพี พระราชาธิบดีอุเทน และเสนามหาอำมาตย์ พ่อค้าประชาชนสมณพราหมณาจารย์ ถวายการต้อนรับอย่างมโหฬารยิ่ง ก่อนถึงซุ้มประตูโฆสิตารามประมาณกึ่งโยชน์ มีประชาชนจำนวนแสนคอยรับเสด็จ มรรคาดารดาษไปด้วยกลีบดอกไม้นานาพันธุ์หลากสี ที่ประชาชนนำมาโปรยปรายเพื่อเป็นพุทธบูชา <DD>ในบริเวณอารามก่อนเสด็จถึงพระคันธกุฎี มีภิกษุและภิกษุณีจำนวนมากรอรับเสด็จ ทุกท่านมีแววแห่งปีติปราโมช ถวายบังคมพระศาสดาด้วยความเคารพอันสูงสุด พระอานนท์ตามเสด็จพระพุทธองค์ด้วยกิริยาที่งดงามมองดูน่าเลื่อมใส ทุกคนต่างชื่นชมพระศาสดาและพระอานนท์ และผู้ที่ชื่นชมในพระอานนท์เป็นพิเศษ ก็เห็นจะเป็นโกกิลาภิกษุณีนั่นเอง <DD>ทันใดที่นางได้เห็นพระอานนท์ ความรักซึ่งสงบตัวอยู่ก็ฟุ้งขึ้นมาอีก คราวนี้ดูเหมือนจะรุนแรงยิ่งกว่าคราวก่อน เพราะเป็นเวลาสามเดือนแล้วที่นางมิได้เห็นพระอานนท์ ความรักที่ทำท่าจะสงบลงนั้น มันเป็นเหมือนติณชาติซึ่งถูกริดรอน ณ เบื้องปลายเมื่อขึ้นใหม่ ย่อมขึ้นได้สวยกว่า มากกว่า และแผ่ขนาดโตกว่าฉะนั้น <DD>นางรีบกลับสู่ห้องของตน บัดนี้ใจของนางเริ่มปั่นป่วนรวนเรอีกแล้ว จริงทีเดียวในจักรวาลนี้ไม่มีไฟอะไรร้อนแรงและดับยากเท่าไฟรัก ความรักเป็นความเรียกร้องของหัวใจ มนุษย์เราทำอะไรลงไปเพราะเหตุเพียงสองอย่างเท่านั้น คือเพราะหน้าที่อย่างหนึ่ง และเพราะความเรียกร้องของหัวใจอีกอย่างหนึ่ง ประการแรกแม้จะทำสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง มนุษย์ก็ไม่ค่อยจะเดือนร้อนเท่าใดนัก เพราะคนส่วนมากหาได้รักหน้าที่เท่ากับความสุขส่วนตัวไม่ แต่สิ่งที่หัวใจเรียกร้องนี่ซิ ถ้าไม่สำเร็จ หรือไม่สามารถสนองได้ หัวใจจะร่ำร้องอยู่ตลอดเวลา มันจะทรมานไปจนกว่าจะหมดฤทธิ์ของมัน หรือมนุษย์ผู้นั้นตายจากไป <DD>โกกิลาภิกษุณีกำลังต่อสู้กับสิ่งสองอย่างนี้อย่างน่าสงสาร หน้าที่ของนางคือการทำลายความรักความใคร่ บัดนี้นางเป็นภิกษุณี มิใช่หญิงชาวบ้านธรรมดา นางจึงต้องพยายามกำจัดความรักความใคร่ระหว่างเพศให้หมดไป แต่หัวใจของนางกำลังเรียกร้องหาความรักหน้าที่กับความเรียกร้องของหัวใจ อย่างไหนจะแพ้จะชนะก็แล้วแต่ความเข้มแข็งของอำนาจฝ่ายสูงหรือฝ่ายต่ำ ผู้หญิงนั้นลงได้ทุ่มเทความรักให้แก่ใครแล้วก็มั่งคงเหนียวแน่นยิ่งนักยากที่จะถ่ายถอน และความรักที่ไม่มีทางสมปรารถนาเลยนั้นเป็นความปวดร้าวอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิง ดวงใจของเธอจะระบมบ่มหนอง ในที่สุดก็แตกสลายลงด้วยความชอกช้ำนั้น อนิจจา! โกกิลา แม้เธอจะรู้ว่าความรักของเธอไม่มีทางจะสมปรารถนาได้เลย แต่เธอก็ยังรัก สุดที่จะหักห้ามและถ่ายถอนได้ <DD>อีกคืนหนึ่งที่นางต้องกระวนกระวายรัญจวนจิตถึงพระอานนท์ นอนพลิกไปพลิกมา นัยน์ตาเหม่อลอยอย่างไร้จุดหมาย นานๆ จึงจะจับนิ่งอยู่ที่เพดานหรือขอบหน้าต่างนางรู้สึกว้าเหว่ ในเมื่อคืนนั้นเป็นคืนแรกที่พระศาสดาเสด็จมาถึง ราชามหาอำมาตย์และพ่อค้าคหบดีมากหลายมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเหมือนสายน้ำที่หลั่งไหลอยู่มิได้ขาดระยะ มันเป็นเรื่องของผู้หญิงที่ผู้ชายน้อยคนนักจะเข้าใจและเห็นใจ <DD>ภิกษุณีโกกิลาถอนสะอื้นเบาๆ เมื่อเร่าร้อนและกลัดกลุ้มถึงที่สุด น้ำตาเท่านั้นที่จะช่วยบรรเทาความระทมขมขื่นลงได้บ้าง เพื่อนที่ดีในยามทุกข์สำหรับผู้หญิง ก็คือน้ำตา ดูเหมือนจะไม่มีอะไรอีก แล้วจะเป็นเครื่องปลอบประโลมใจได้เท่าน้ำตา แม้มันจะหลั่งไหลจากขั้วหัวใจ แต่มันก็ช่วยบรรเทาความอึดอัดลงได้บ้าง <DD>เนื่องจากผู้หญิงถือว่าชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของความรัก ตรงกันข้ามกับผู้ชายซึ่งมักจะเห็นว่าความรักเป็นเพียงบางส่วนของชีวิตเท่านั้น เมื่อเกิดความรักผู้หญิงจึงทุ่มเททั้งชีวิต และจิตใจให้แก่ความรักนั้นทุ่มเทอย่างยอมเป็นทาส โกกิลาเป็นผู้หญิงคนหนึ่งในโลก เธอจะหลีกเลี่ยงความจริงใจชีวิตหนึ่งไปได้อย่างไร <DD>พระดำรัสของพระศาสดาซึ่งทรงแสดงแก่พุทธบริษัทเมื่อสายัณห์ ยังคงแว่วอยู่ในโสตรของนาง พระองค์ตรัสว่า "ไม่ควรปล่อยตนให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจแห่งความรัก เพราะการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักเป็นเรื่องทรมาน และเรื่องที่จะบังคับมิให้พลัดพรากก็เป็นสิ่งสุดวิสัย ทุกคนจะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง" พระพุทธดำรัสนี้ช่างเป็นความจริงเสียนี่กระไร แต่เธอจะพยายามหักห้ามใจมิให้คิดถึงพระอานนท์สักเท่าใดก็หาสำเร็จไม่ เธอตกเป็นทาสแห่งความรักแล้วอย่างหมดสิ้นหัวใจ <DD>รุ่งขึ้นเวลาบ่ายนางเที่ยวเดินชมโน่นชมนี่ ในบริเวณโฆสิตาราม เพื่อบรรเทาความกระวนกระวายกลัดกลุ้มรุ่มร้อน เธอเดินมาหยุดยืนอยู่ริมสระซึ่งมีบัวบานสะพรั่ง รอบๆ สระมีม้านั่งทำด้วยไม้และมีพนักพิงอย่างสบาย เธอชอบมานั่งเล่นบริเวณสระนี้เสมอๆ ดูดอกบัวดูแมลงซึ่งบินวนไปเวียนมาอยู่กลางสระ ลมพัดเฉื่อยฉิวหอบเอากลิ่นดอกบัวและกลิ่นน้ำคละเคล้ากันมาทำให้นางมีความแช่มชื่นขึ้นบ้าง ธรรมชาติเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อชีวิตเสมอ มันเป็นเพื่อนที่ดีทั้งยามสุขและยามทุกข์ ชีวิตที่อยู่กับธรรมชาติมักจะเป็นชีวิตที่ชื่นสุขเบาสบาย ยิ่งมนุษย์ทอดทิ้งห่างเหินจากธรรมชาติมากเท่าใด เขาก็ยิ่งห่างความสุขออกไปทุกทีมากเท่านั้น <DD>ขณะที่นางกำลังเพลินอยู่กับธรรมชาติอันสวยงามและดูเหมือนความรุ่มร้อนจะลดลงได้บ้างนั้นเอง นางได้ยินเสียงเหมือนมีคนเดินอยู่เบื้องหลังทันทีที่นางเหลียวไปดู
     
  17. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <CENTER>๘. โกกิลาผู้ประหารกิเลส</CENTER><DD>แลแล้วพระอานนท์ก็กล่าวว่า "น้องหญิง! ชีวิตนี้เริ่มต้นด้วยเรื่องที่น่าละอาย ทรงตัวอยู่ด้วยเรื่องที่ยุ่งยากสับสน และจบลงด้วยเรื่องเศร้า อนึ่งชีวิตนี้เริ่มต้นและจบลงด้วยเสียงคร่ำครวญ เมื่อลืมตาขึ้นดูโลกนี้เป็นครั้งแรกเราก็ร้องไห้ และเมื่อจะหลับตาลาโลกเราก็ร้องไห้อีก หรืออย่างน้อยก็เป็นสาเหตุให้คนอื่นหลั่งน้ำตา เด็กร้องไห้พร้อมด้วยกำมือแน่นเป็นสัญญลักษณ์ว่าเขาเกิดมาเพื่อจะหน่วงเหนี่ยวยึดถือ แต่เมื่อจะหลับตานั้นทุกคนแบมือออก เหมือนจะเตือนให้ผู้อยู่เบื้องหลังสำนึก และเป็นพยานว่าเขามิได้เอาอะไรไปเลย <DD>"น้องหญิง! อาตมาขอเล่าเรื่องส่วนตัวให้ฟังสักเล็กน้อย อาตมาเกิดแล้วในศากยวงศ์อันมีศักดิ์ ซึ่งเป็นที่เลื่องลือว่าบริสุทธิ์ยิ่งในเรื่องตระกูล อาตมาเป็นอนุชาแห่งพระบรมศาสดา และออกบวชติดตามพระองค์เมื่ออายุได้ ๓๖ ปี ราชกุมารผู้มีอายุถึง ๓๖ ปีที่ยังมีดวงใจผ่องแผ้วไม่เคยผ่านเรื่องรักๆ ใคร่ๆ มาเลยนั้นเป็นบุคคลที่หาได้ยากในโลก หรืออาจจะหาไม่ได้เลยก็ได้ น้องหญิงอย่านึกว่า อาตมาจะเป็นคนวิเศษเลิศลอยกว่าราชกุมารทั้งหลาย อาตมาเคยผ่านความรักมาและประจักษ์ว่า ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณและเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน อาตมากลัวต่อความรักนั้น <DD>ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้วจะเป็นพิษแก่จิตใจ ทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้นเหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธออย่าพอใจในเรื่องความรักเลย เมื่อหัวใจถูกลูบไล้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวังความผิดหวังก็จะรอเราอยู่ <DD>น้องหญิง! อย่าหวังอะไรให้มากนัก จงมองดูชีวิตอย่างผู้ช่ำชอง อย่าวิตกกังวลอะไรล่วงหน้า ชีวิตนี้เหมือนเกลียวคลื่นซึ่งก่อตัวขึ้นแล้วม้วนเข้าหาฝั่งและแตกกระจายเป็นฟองฝอย จงยืนมองดูชีวิตเหมือนคนผู้ยืนอยู่บนฝั่งมองดูเกลียวคลื่นในมหาสมุทรฉะนั้น <DD>"โกกิลาเอย! เมื่อความรักเกิดขึ้น ความละอายและความเกรงกลัวในสิ่งที่ควรกลัวก็พลันสิ้นไป เหมือนก้อนเมฆมหึมา เคลื่อนตัวเข้าบดบังดวงจันทร์ให้อับแสง ธรรมดาสตรีนั้นควรจะยอมตายเพราะความละอาย แต่แทนที่จะเป็นเช่นนั้นความละอายมักจะตายไปก่อนเสมอ เมื่อความใคร่เกิดขึ้นความละอายก็หลบหน้า เพราะเหตุนี้พระบรมศาสดาจึงตรัสว่าความใคร่ทำให้คนมืดบอด อนึ่งโลกมนุษย์ของเรานี้ เต็มไปด้วยชีวิตอันประหลาดพิสดารต่างชนิดและต่างรส ชีวิตของแต่ละคนได้ผ่านมาและผ่านไป ด้วยความระกำลำบากทุกข์ทรมาน ถ้าชีวิตมีความสุขก็เป็นความหวาดเสียวที่จะต้องจากชีวิตอันรื่นรมย์นั้นไป <DD>"โกกิลาเอย! มนุษย์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชชาเป็นฝ้าบังปัญญาจักษุนั้น เป็นเสมือนทารกน้อยผู้หลงเข้าไปในป่าใหญ่อันรกทึบซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายอันน่าหวาดเสียวและว้าเหว่เงียบเหงา มนุษย์ส่วนใหญ่แม้จะร่าเริงแจ่มใสอยู่ในหมู่ญาติและเพื่อนฝูง แต่ใครเล่าจะทราบว่าในส่วนลึกแห่งหัวใจเขาจะว้าเหว่ และเงียบเหงาสักปานใดแทบทุกคนว้าเหว่ไม่แน่ใจว่าจะยึดเอาอะไรเป็นหลักของชีวิตที่แน่นอน เธอปรารถนาจะเป็นอย่างนั้นด้วยหรือ? <DD>"น้องหญิง! บัดนี้เธอมีธรรมเป็นเกาะที่พึ่งแล้วจงยึดธรรมเป็นที่พึ่งต่อไปเถิด อย่าหวังอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย โดยเฉพาะความรักความเสน่หาไม่เคยเป็นที่พึ่งจริงจังให้แก่ใครได้ มันเป็นเสมือนตอที่ผุ จะล้มลงทันทีเมื่อถูกคลื่นซัดสาด <DD>"ธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใดภาวะใด การกระทำที่นึกขึ้นภายหลังแล้วต้องเสียใจนั้น พระศาสดาทรงสอนให้เว้นเสีย เพราะฉะนั้นแม้จะประสบปัญหาหัวใจ หรือได้รับความทุกข์ยากลำบากสักปานใด ก็ต้องไม่ทิ้งธรรม มนุษย์ที่ยังมีอาสวะอยู่ในใจนั้น ย่อมจะมีวันพลั้งเผลอประพฤติผิดธรรมไปบ้าง เพราะยังมีสติไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อได้สติในภายหลังแล้ว ก็ควรตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดีกันใหม่ ยิ่งพวกเรานักบวชด้วยแล้วจำเป็นต้องมีอุดมคติ การตายด้วยอุดมคตินั้นมีค่ากว่าการเป็นอยู่โดยไร้อุดมคติ <DD>"น้องหญิง! ธรรมดาว่าไม้จันทร์นั้น แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สงครามก็ไม่ทิ้งลีลา อ้อยแม้เข้าสู่หีบยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน บัณฑิตแม้ประสบทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม พระศาสดาทรงย้ำว่าพึงสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อรักษาธรรม <DD>"โกกิลาเอย! เธอได้สละเพศฆราวาสมาแล้ว ซึ่งเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ยากที่ใครๆ จะสละได้ ขอให้เธอเสียสละต่อไปเถิด และสละให้ลึกกว่านั้น คือไม่สละแต่เพียงเพศอย่างเดียว แต่จงสละความรู้สึกอันจะเป็นข้าศึกต่อเพศเสียด้วย เธอเคยฟังสุภาษิตอันกินใจยิ่งมาแล้วมิใช่หรือ ในคนร้อยคนหาคนกล้าได้หนึ่งคน ในคนพันคนหาคนเป็นบัณฑิตได้หนึ่งคน ในคนแสนคนหาคนพูดจริงได้เพียงหนึ่งคน ส่วนคนที่เสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่รู้ว่าจะมีหรือไม่ คือไม่ทราบจะคำนวณเอาจากคนจำนวนเท่าใดจึงจะเฟ้นได้หนึ่งคน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นนักเสียสละตัวอย่างของโลก เคยมีกษัตริย์องค์ใดบ้างทำได้เหมือนพระพุทธองค์ ยอมเสียสละความสุขความเพลินใจทุกอย่างที่ชาวโลกปองหมายมาอยู่กลางดินกลางทราย ก็เพื่อทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่มนุษยชาติ การเสียสละของพวกเรา เมื่อนำไปเทียบกับการเสียสละของพระบรมศาสดาแล้ว ของเราช่างเล็กน้อยเสียนี่กระไร <DD>"น้องหญิง! พระศาสดาตรัสว่าบุคคลอาจอาศัยตัณหาละตัณหาได้ อาจอาศัยมานะละมานะได้ อาจอาศัยอาหารละอาหารได้ แต่เมถุนธรรมนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอนให้ชักสะพานเสีย คืออย่าทอดสะพานเข้าไปเพราะอาศัยละไม่ได้" <DD>"ข้อว่าอาศัยอาหารละอาหารนั้น คือละความพอใจในรสของอาหาร จริงอยู่สัตว์โลกทั้งมวลดำรงชีพอยู่ได้เพราะอาหาร ข้อนี้พระศาสดาก็ตรัสไว้ แต่มนุษย์และสัตว์เป็นอันมากติดข้องอยู่ในรสแห่งอาหาร จนต้องกระเสือกกระสนกระวนกระวาย และต้องทำชั่วเพราะรสแห่งอาหารนั้น ที่ว่าอาศัยอาหารละอาหารนั้นคืออาศัยอาหารละความพอใจในรสแห่งอาหารนั้น บริโภคเพียงเพื่อยังชีวิตให้ชีวิตนี้เป็นไปได้เท่านั้น เหมือนคนเดินทางข้ามทะเลทราย เสบียงอาหารหมด และบังเอิญลูกน้อยตายลงเพราะหิวโหย เขาจำใจต้องกินเนื้อบุตรเพียงเพื่อให้ข้ามทะเลทรายได้เท่านั้น หาติดในรสแห่งเนื้อบุตรไม่" <DD>"ข้อว่าอาศัยตัณหาละตัณหานั้น คือเมื่อทราบว่า ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ชื่อโน้นได้สำเร็จเป็นโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี หรืออรหันต์ ก็มีความทะยานอยากที่จะเป็นบ้าง เพื่อพยายามจนได้เป็นแล้ว ความทะยานอยากอันนั้นก็หายไป อย่างนี้เรียกว่าอาศัยตัณหาละตัณหา" <DD>"ข้อว่าอาศัยมานะละมานะนั้น คือเมื่อได้ยินได้ฟังภิกษุหรือภิกษุณี หรืออุบาสกอุบาสิกา ชื่อโน้นได้สำเร็จเป็นโสดาบันเป็นต้น ก็มีมานะขึ้นว่าเขาสามารถทำได้ ทำไมเราซึ่งเป็นมนุษย์และมีอวัยวะทุกส่วนเหมือนเขาจะทำไม่ได้บ้าง จึงพยายามทำความเพียร เผากิเลสจนได้บรรลุโสดาปัตติผลบ้าง อรหัตตผลบ้าง อย่างนี้เรียกว่าอาศัยมานะละมานะ เพราะเมื่อบรรลุแล้วมานะนั้นย่อมไม่มีอีก" <DD>"ดูก่อนน้องหญิง! ส่วนเมถุนธรรมนั้น ใครๆ จะอาศัยละมิได้เลย นอกจากจะพิจารณาเห็นโทษของมันแล้วเลิกละเสีย ห้ามใจมิให้เลื่อนไหลไปยินดีในกามสุขเช่นนั้น น้องหญิง! พระศาสดาตรัสว่า กามคุณนั้นเป็นของไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน มีสุขน้อยแต่มีทุกข์มาก มีโทษมากมีความคับแค้นเป็นมูล มีทุกข์เป็นผล" <DD>พระอานนท์พูดจบ คอยจับกิริยาของโกกิลาภิกษุณีว่าจะมีความรู้สึกอย่างไร ธรรมกถาของท่านได้ผลภิกษุณีค่อยๆ ลุกจากเตียงสลัดผ้าห่มออกคลานมาหมอบลงแทบเท้าของพระอานนท์ สะอึกสะอื้นจนสั่นเทิ้มไปทั้งตัว นางพูดอะไรไม่ออก นางเสียใจอย่างสุดซึ้ง อันความเสียใจและละอายนั้น ถ้ามันแยกกันเกิดคนละครั้งก็ดูเหมือนจะไม่รุนแรงเท่าใดนัก แต่เมื่อใดทั้งความเสียใจและความละอายเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน และในกรณีเดียวกันด้วยแล้ว ย่อมเป็นความทรมานสำหรับสตรีอย่างยวดยิ่ง นางเสียใจเหลือเกินที่ความรักของนางมิได้รับสนองเลยแม้แต่น้อย คำพูดของพระอานนท์ล้วนแต่เป็นคำเสียดแทงใจสำหรับนางผู้ยังหวังความรักจากท่านอยู่ ยิ่งกว่านั้นเมื่อนางทราบว่าพระอานนท์มิได้เชื่อในอาการลวงของนางเลย นางจึงรู้สึกเหมือนถูกตบหน้าอย่างแรง ละอายสุดที่จะประมาณได้ นางจึงไม่สามารถพูดคำใดได้เลย นอกจากถอนสะอื้นอยู่ไปมา <DD>ครู่หนึ่งพระอานนท์จึงพูดว่า "น้องหญิง! หยุดร้องไห้เสียเถิด การร้องไห้ไม่มีประโยชน์อะไร ไม่ช่วยเรื่องหนักใจของเธอให้คลายลงได้" อนิจจา! พระอานนท์ช่างพูดอย่างพระอริยะแท้ <DD>"ข้าแต่พระคุณเจ้า" นางพูดทั้งเสียงสะอื้น ภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะของพระอานนท์ต้องเบือนหน้าไปเสียทางหนึ่ง เกรงว่าไม่สามารถจะอดกลั้นน้ำตาได้ "ข้าพเจ้าจะพยายามกล้ำกลืนฝืนใจปฏิบัติตามโอวาทของท่านแม้จะเป็นความทรมานสักป่านใด ข้าพเจ้าก็จะอดทนและขอเทิดทูนบูชาพระพุทธอนุชา ไว้ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง ข้าพเจ้าไม่เจียมตัวเอง จึงต้องทุกข์ทรมานถึงปานนี้ ข้าพเจ้าเป็นเพียงหญิงทาสทูนหม้อน้ำ ข้าพเจ้าเพิ่งสำนึกตนเวลานี้เอง ความรักความอาลัยทำให้ข้าพเจ้าลืมกำเนิดชาติตระกูลและความเหมาะสมใดๆ ทั้งสิ้น มาหลงรักพระพุทธอนุชาผู้ทรงศักดิ์ <DD>"ข้าแต่ท่านผู้สืบอริยวงศ์! กายกรรม วจีกรรม ที่ข้าพเจ้าล่วงเกินท่านและจะพึงขอโทษนั้นไม่มี ส่วนมโนกรรมนั้นมีอยู่ ข้าพเจ้ารักท่าน และรักอย่างสุดหัวใจ ถ้าการที่ข้าพเจ้ารักท่านนั้นเป็นความผิด ขอท่านผู้ประเสริฐโปรดให้อภัยในความผิดพลาดอันนั้นด้วย" นางพูดจบแล้วนั่งก้มหน้า น้ำตาของนางหยดลงบนจีวรผืนบางเสมือนหยาดน้ำค้างถูกสลัดลงจากใบหญ้า เมื่อลมพัดเป็นครั้งคราว <DD>"น้องหญิง! เรื่องชาติเรื่องตระกูลนั้นอย่านำมาปรารมภ์เลย อาตมามิได้เคยคิดถึงมันเป็นเวลานานแล้ว ที่อาตมาไม่รักน้องหญิง มิใช่เพราะอาตมามาเกิดในตระกูลอันสูงศักดิ์ ส่วนเธอเป็นทาสีดอก แต่เป็นเพราะอาตมาเห็นโทษแห่งความรัก ความเสน่หา ตามที่พระศาสดาทรงสอนอยู่เสมอ เวลานี้อาตมามีหน้าที่ต้องบำรุงพระศาสดาผู้เป็นนาถะของโลก และพยายามทำหน้าที่กำจัดอาสวะในจิตใจ มิใช่เพิ่มอาสวะให้มากขึ้น เมื่ออาสวะยังไม่สิ้น ย่อมจะต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสารอีก จะเป็นเวลานานเท่าใดก็สุดจะคำนวณ พระศาสดาตรัสว่าการเกิดบ่อยๆ เป็นความทุกข์ เพราะเมื่อมีการเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความทรมานอื่นๆ ก็ติดตามมาเป็นสาย นอกจากนี้ผู้วนเวียนอยู่ในวัฏฏสงสารอาจจะมีบางชาติที่ประมาทพลาดพลั้งไปแล้ว ต้องตกไปในอบายเป็นการถอยหลังไปอีกมาก กว่าจะตั้งต้นได้ใหม่ก็เป็นการเสียเวลาของชีวิตไปมิใช่น้อย" <DD>"น้องหญิง! เธออย่าน้อยใจในชาติตระกูลอันต่ำต้อยของเธอเลย บุคคลจะเกิดในตระกูลกษัตริย์ พราหมณ์,แพศย์ หรือสูทรก็ตาม ย่อมตกอยู่ภายใต้กฎธรรมดาเหมือนกันหมดคือเมื่อเกิดมาแล้ว ก็ต้องแก่ต้องเจ็บ และในที่สุดก็ต้องตาย ความตายย่อมกวาดล้างสรรพสัตว์ไปโดยมิละเว้นใครไว้เลย และใครๆ ไม่อาจต่อสู่ด้วยวิธีใดๆ ได้" <DD>"นอกจากนี้ มนุษย์ทุกคนล้วนมีเลือดสีแดง รู้จักกลัวภัยและใคร่ความสุขเสมอกัน เหมือนไม้นานาชนิด เมื่อนำมาเผาไฟย่อมมีเปลวสีเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ จะมัวมาแบ่งแยกกันอยู่ทำไมว่า คนนั้นเป็นวรรณะสูง คนนี้เป็นวรรณะต่ำ มาช่วยกันกระพือสันติสุขให้แก่โลกที่ร้อนระอุนี้จะมิดีกว่าหรือ มนุษย์ไม่ว่าจะเกิดในวรรณะใด เมื่อประพฤติดีก็เป็นคนดีเหมือนกันหมด เมื่อประพฤติชั่วก็เป็นคนชั่วเหมือนกันหมด" <DD>"เพราะฉะนั้น ขอให้น้องหญิงเลิกน้อยใจในเรื่องชาติตระกูลของตัว และตั้งหน้าพยายามทำความดีเถิด ขอให้น้องหญิงเชื่อว่าการที่อาตมาไม่สามารถสนองความรักของน้องหญิงได้นั้นมิใช่เป็นเพราะอาตมารังเกียจเรื่องชาติเรื่องตระกูลของเธอเลย แต่มันเป็นเพราะอาตมารังเกียจตัวความรักนั่นต่างหาก" <DD>"ภคินีเอย! อันธรรมดาว่าความรักนั้น มันเป็นธรรมชาติที่เร่าร้อนอยู่แล้ว ถ้ายิ่งมันเกิดขึ้นในฐานะที่ผิดที่ไม่เหมาะสมเข้าอีกมันก็จะยิ่งเพิ่มแรงร้อนมากขึ้น การที่น้องหญิงจะรักอาตมา หรืออาตมาจะรักเธออย่างเสน่หาอาลัยนั่นแล เรียกว่าความรักอันเกิดขึ้นในฐานะที่ผิดหรือไม่เหมาะสม ขอให้เธอตัดความรักความอาลัยเสียเถิด แล้วเธอจะพบความสุขความปลอดโปร่งอีกแบบหนึ่งซึ่งสูงกว่า ประณีตกว่า" <DD>พระอานนท์ละภิกษุนูปัสสยะไว้เบื้องหลัง ด้วยความรู้สึกที่แปลกประหลาด ท่านเดินลัดเลาะมาทางริมสระแล้วนั่งลง ณ ม้ายาวมีพนักตัวหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะก็นั่งลง ณ ริมสุดข้างหนึ่ง พระอานนท์ถอนหายใจยาวและหนักหน่วง เหมือนจะระบายความหนักอกหนักใจออกมาเสียบ้าง ครู่หนึ่งท่านจึงบอกให้ภิกษุรูปนั้นกลับไปก่อน ท่านต้องการจะนั่งพักผ่อนอยู่ที่นั้นสักครู่ ถ้าพระศาสดาเรียกหาก็ให้มาตามที่ริมสระนั้น <DD>ท่านนั่งคิดทบทวนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บางครั้งรู้สึกสงสารภิกษุณีโกกิลาอย่างจับใจ แต่ด้วยอัธยาศัยแห่งมหาบุรุษประดับด้วยบารมีธรรมนั้นต่างหากเล่า จึงสามารถข่มใจและสลัดความรู้สึกสงสารอันนั้นเสีย ท่านปรารภกับตนเองว่า "อานนท์เธอเป็นเพียงโสดาบันเท่านั้น ราคะโทสะและโมหะยังมิได้ละเลย เพราะฉะนั้นอย่าประมาท อย่าเข้าใกล้ หรือยอมพบกับภิกษุณีโกกิลาอีก ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมัน อานนท์! จงเอาสติเป็นขอสำหรับเหนียวรั้งช้าง คือจิตที่ดิ้นรนนี้ให้อยู่ในอำนาจ บุคคลผู้มีอำนาจมากที่สุด และควรแต่การสรรเสริญนั้นคือ ผู้ที่สามารถเอาตนของตนเองไว้ในอำนาจได้ สามารถชนะตนเองได้ พระศาสดาตรัสว่าผู้ชนะตนเองได้ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม เธอจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิด อย่าเป็นผู้แพ้เลย" <DD>พระอานนท์ตรึกตรองและให้โอวาทตนเองอยู่พอสมควรแล้ว ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ท่านไม่มีอะไรปิดบังสำหรับพระผู้มีพระภาค เพราะฉะนั้นท่านจึงกราบทูลเรื่องราวทั้งหมดให้พระจอมมุนีทรงทราบ รวมทั้งที่ท่านปรารภกับตนเอง และให้โอวาทตนเองนั้นด้วย พระมหาสมณะทรงทราบเรื่องนี้แล้ว ทรงประทานสาธุการแก่พระอานนท์แล้วตรัสให้กำลังใจว่า <DD>"อานนท์! เธอเป็นผู้มีบารมีอันได้สั่งสมมาดีแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายแห่งเธอ เรื่องที่เธอจะตกไปสู่ฐานะที่ต่ำกว่านี้นั้นเป็นไม่มีอีก" แล้วพระศากยมุนีก็ทรงแย้มพระโอษฐ์น้อยๆ เมื่อพระอานนท์ทูลถามสาเหตุที่ทรงแย้มพระโอษฐ์นั้น จึงตรัสว่า <DD>"อานนท์! เธอคงลืมไปว่า พระโสดาบันนั้นมีการไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา จะต้องได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันต์อย่างแน่นอนไม่วันใดก็วันหนึ่ง เธออย่าวิตกทุกข์ร้อนไปเลย" <DD>พระอานนท์ก็อาการแช่มชื่นแจ่มใสขึ้น เพราะพระดำรัสประโลมใจของพระศาสดานั้น <DD>เย็นวันนั้นเองพุทธบริษัทแห่งนครโกสัมพีผู้ใคร่ต่อธรรมมีมือถือดอกไม้ธูปเทียนและสุคันธชาติหลากหลายต่างมุ่งหน้าสู่โฆสิตาราม เพื่อฟังธรรมรสจากพระพุทธองค์ เมื่อพุทธบริษัทพรั่งพร้อมนั่งอย่างมีระเบียบแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสก (สบง = ผ้าสำหรับนุ่ง) ซึ่งย้อมไว้ด้วยดีแล้ว ทรงคาดพระกายพันธนะ (ประคตเอว = ผ้ารัดเอว) อันเป็นประดุจสายฟ้า ทรงครองสุคตมหาบังสุกุลจีวร อันเป็นประดุจผ้ากัมพลสีเหลืองหม่น เสด็จออกจาพระคันธกุฎีสู่ธรรมสภาด้วยพุทธลีลาอันงามยิ่งหาที่เปรียบมิได้ ประดุจวิลาสแห่งพระยาช้างตัวประเสริฐ และประดุจอาการเยื้องกรายแห่งไกรสรสีหราช เสด็จขึ้นสู่บวรพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ดีแล้วท่ามกลางมณฑลมาล ซึ่งประทับตกแต่งอย่างวิจิตรตระการตา ทรงเปล่งพระฉัพพัณณรังสีประดุจพระอาทิตย์เปล่งแสงอ่อนๆ บนยอดภูเขายุคันธร เมื่อสมเด็จพระจอมมุนีเสด็จมาถึง พุทธบริษัทก็เงียบกริบ พระพุทธองค์ทรงมองดูพุทธบริษัทด้วยพระหฤทัยอันเปี่ยมไปด้วยเมตตา ทรงดำริว่า "ชุมนุมนี้ ช่างงามน่าดูจริง จะหาคนคะนองมือคะนองเท้า หรือมีเสียงไอเสียงจามไม่ได้เลย ชนทั้งหมดนี้มีคารวะต่อเรายิ่งนัก ถ้าเราไม่พูดขึ้นก่อน แม้จะนั่งอยู่นานสักเท่าใดก็จะไม่มีใครพูดอะไรเลย แต่เวลานี้เป็นเวลาแสดงธรรม" <DD>พระองค์ทรงดำริเช่นนี้แล้วจึงส่งข่ายแห่งพระญาณของพระองค์ไปสำรวจพุทธบริษัทว่า ใครหนอจะสามารถบรรลุธรรมเบื้องสูงได้บ้างในวันนี้ ทรงเล็งเห็นอุปนิสัยแห่งภิกษุณีโกกิลาว่า มีญาณแก่กล้าพอจะบรรลุธรรมได้ พระพุทธองค์จึงทรงประกาศธรรมจักรอันประเสริฐ ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะกังวาน ดังนี้ <DD>"ดูก่อนท่านทั้งหลาย! ทางสองสายคือกามสุขัลลิกานุโยค การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขสายหนึ่ง และอัตตกิลมถานุโยค การทรมานกายให้ลำบากเปล่าสายหนึ่ง อันผู้หวังความเจริญในธรรมพึงละเว้นเสีย ควรเดินทางสายกลาง คือเดินตามอริยมรรคมีองค์ ๘ คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดชอบ การทำชอบ การประกอบอาชีพในทางสุจริต ความพยายามในทางที่ชอบ การตั้งสติชอบ และการทำสมาธิชอบ <DD>"ดูก่อนท่านทั้งหลาย! ความทุกข์เป็นความจริงประการหนึ่งที่ชีวิตทุกชีวิตจะต้องประสบบ้างไม่มากก็น้อย ความทุกข์ที่กล่าวนี้มีอะไรบ้าง? ท่านทั้งหลาย! ความเกิดเป็นความทุกข์ ความแก่ความเจ็บความตายก็เป็นความทุกข์ ความแห้งใจ หรือความโศกความร่ำไรรำพันจนน้ำตานองหน้า ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพรากจากบุคคลหรือสิ่งของอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับบุคคลหรือสิ่งของอันไม่เป็นที่พอใจ ปรารถนาอะไรไม่ได้ดังใจ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความทุกข์ที่บุคคลต้องประสบทั้งสิ้น เมื่อกล่าวโดยสรุปการยึดมั่นในขันธ์ ๕ ด้วยตัณหาอุปาทานนั่นเองเป็นความทุกข์อันยิ่งใหญ่ <DD>"ท่านทั้งหลาย! เราตถาคตกล่าวว่าความทุกข์ทั้งมวลย่อมสืบเนื่องมาจากเหตุ ก็อะไรเล่าเป็นเหตุแห่งทุกข์นั้น เรากล่าวว่าตัณหานั้นเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ตัณหาคือความทะยานอยากดิ้นรน ซึ่งมีลักษณะเป็นสามคือดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนาเรียกกามตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากเป็นนั่นเป็นนี่เรียกภวตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากผลักสิ่งที่มีแล้วเป็นแล้วเรียกวิภวตัณหาอย่างหนึ่ง นี่แลคือสาเหตุแห่งทุกข์ขั้นมูลฐาน <DD>"ท่านทั้งหลาย การสละคืนโดยไม่เหลือซึ่งตัณหาประเภทต่างๆ ดับตัณหาคลายตัณหาโดยสิ้นเชิงนั่นแล เราเรียกว่านิโรธคือความดับทุกข์ได้ <DD>"ทางที่จะดับทุกข์ดับตัณหานั้นเราตถาคตแสดงไว้แล้ว คืออริยมรรคมีองค์ ๘" <DD>"ท่านทั้งหลายจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย เราตถาคตเองเป็นที่พึ่งแก่ท่านทั้งหลายไม่ได้ ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้ชี้ทางบอกทางเท่านั้น ส่วนความเพียรพยายามเพื่อเผาบาปอกุศล ท่านทั้งหลายต้องทำเอง ทางมีอยู่เราชี้แล้วบอกแล้ว ท่านทั้งหลายต้องเดินเอง" <DD>พระธรรมเทศนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าในวันนั้น เหมือนเจาะจงเทศนาแก่ภิกษุณีโกกิลาโดยเฉพาะ นางรู้สึกเหมือนพระองค์ประทับแก้ปัญญาหัวใจของนางให้หลุดร่วง สมแล้วที่ใครๆ พากันชมพระพุทธองค์ ว่าเป็นเหมือนดวงจันทร์ ซึ่งทุกคนรู้สึกเหมือนว่าจงใจจะส่องแสงสีนวลไปให้แก่ตนเพียงคนเดียว <DD>โกกิลาภิกษุณีส่งกระแสจิตไปตามพระธรรมเทศนาปลดเปลื้องสังโยชน์คือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจทีละชั้น จนสามารถประหารกิเลสทั้งมวลได้สำเร็จมรรคผลชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งด้วยประการฉะนี้ </DD>​
     
  18. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,159
    ค่าพลัง:
    +19,883
    ขอบคุณคะ ที่เอาเรื่องดีๆ มาให้อ่าน เคยอ่านหนังสือเล่มนี้ในห้องสมุดวัดคะ เก่ามากคะ มีเล่มเดียวด้วยคะ ดีใจที่ได้อ่านอีกครั้งคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...