พระอิสระมุณี

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย lotte, 29 พฤศจิกายน 2004.

  1. lotte

    lotte เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    726
    ค่าพลัง:
    +4,545
    พระอิสระมุณี




    ความตาย กับ ความไม่ตาย
    อิสระมุนี

    โพสท์ในลานธรรมเสวนา กระทู้ที่ 000507 -โดยคุณ : deedi [ 11 ต.ค. 2542 ]

    เนื้อความ :

    ความตาย ๒ ชนิด

    ความตายชนิดแรก

    เพราะไม่รู้จึงกลัว ความตายชนิดแรก คือ ความตายของร่างกาย เพราะเราไม่รู้จักความตาย เราจึงกลัวตาย แต่ถ้าเรารู้จักความตาย เราก็จะไม่กลัวตาย

    ความตายคืออะไร ความตายนี้แปลว่า "ความเกิด" และความเกิดก็แปลว่าความตาย เปรียบเหมือนไม้หนึ่งท่อน ครึ่งหนึ่งพ่นด้วยสีขาวอีกครึ่งพ่นด้วยสีแดง ไม้ทั้งท่อนก็ยังคงเป็นไม้ท่อนเดียวกัน ไม่สามารถพูดได้ว่าเป็นคนละท่อนหรือไม่ใช่ท่อนเดียวกัน เพียงแต่เราพ่นสีคนละสีเท่านั้น

    ผู้มีปั__าจะพิจารณาเห็นความตายแต่ยังเป็น ผู้มีปั__านั้น พิจารณาเห็นความตายตั้งแต่เขายังเป็นๆ อยู่นี้ แล้วเขาก็จะรีบสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่โลกและสังคมและครอบครัวให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เขาย่อมจะไม่กลัวตายและไม่เป็นทุกข์เพราะไม่อยากจะตายอย่างสิ้นเชิงผิดกับคนที่ไม่เคยเรียนรู้ธรรมะและไม่เคยพิจารณาเรื่องความตายสักที

    ความตายชนิดที่ ๒

    ความตายชนิดที่ ๒ ได้แก่ความตายของเวทนาล้วนๆ หมายถึงความตายของความสุข ความทุกข์และความไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เรียกว่า เวทนา นั่นเอง

    เวทนานี้เป็นสิ่งที่ทำให้คนเราหลงยึดติดผูกพันอยู่กับ เวทนาจึงมีความสำคั_ต่อจิตใจของเรา ถ้าหากเราโง่ไม่รู้ธรรมะที่จะเป็นเครื่องมือให้เราเข้าไปเกี่ยวข้องกับเวทนาได้อย่างถูกต้องแล้ว เราก็จะตกเป็นทาสของเวทนาอย่างถอนตัวไม่ขึ้น เหมือนคนส่วนมากในโลก ที่กำลังตกเป็นทาสของความสุขอย่างชนิดที่เรียกว่าลืมตาไม่ขึ้นและเป็นทาสของความทุกข์อย่างที่เรียกว่าอยากผูกคอตายไปเสียให้รู้แล้วรู้รอดนั่นเอง

    แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเรารู้จักธรรมะ เราก็จะไม่ตกเป็นทาสของความสุขและความทุกข์อย่างที่คนอื่นเขาเป็นกัน ที่ว่าเวทนาตาย หมายความว่าเราหมดสุขหมดทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ไปครั้งหนึ่งๆ นั่นเอง

    ที่เวทนาจะตายได้ ก็เพราะเวทนาเกิดเหมือนกับชีวิตเรานั่นแหละที่เราจะตายได้ก็เพราะเราเกิดมา เมื่อเกิดมาแล้วเราก็จะต้องตาย เวทนาก็เหมือนกัน เมื่อเวทนาเกิด เวทนาก็ต้องตาย

    การเกิดทางร่างกายนั้น มันเกิดได้ชาติละครั้ง อย่างชาตินี้ เราเกิดมาเพียงครั้งเดียวเท่านั้น พอถึงเวลาตายเราก็ตายไปเพียงครั้งเดียวก็สิ้นสุดแล้วเรียกว่าการเกิดตายทางร่างกายนี้ เกิดตายเพียงครั้งเดียวในแต่ละครั้งของการเกิด อย่างนี้ทุกทีไป

    ส่วนการเกิดตายของเวทนานี้ เกิดวันละหลายๆ ครั้ง เวทนานี้เกิดแล้วตายเกิดแล้วตาย เกิดแล้วตาย วันหนึ่งไม่รู้กี่ครั้ง เกิดมาบีบคั้นจิตใจของเราวันหนึ่งไม่รู้กี่ครั้ง คอยแต่จะมาทำให้เราเป็นบ้าไปกับเวทนาด้วย วันละไม่รู้กี่ครั้ง

    เวทนาหลอกลวงเราอยู่บ่อยๆ สุขเวทนาก็หลอกให้เราอยากได้ พออยากได้ก็อยู่ไม่ติดที่ ต้องวิ่งพล่านหา นี่คือเวทนาหลอก และพอทุกขเวทนามาหลอกทีนี้ยิ่งไปกันให_่ ความทุกข์หลอกเราจนร้องไห้ได้ หลอกจนคนฆ่าฟันกันได้ ยิ่งกว่าละครทีวี

    ไม่เหมือนละครทีวี เพราะเวทนานี้หลอกเราได้จริงๆ ไม่หลอกเล่นๆ และเราก็จะหลงใหลคลั่งไคล้ไปกับเวทนาไม่มีที่สิ้นสุด จนชีวิตจิตใจของเราเศร้าหมองโดยไม่รู้ตัว หลีกความตายได้พ้นไหม ความตายเพราะร่างกายแตกดับนั้น พระพุทธเจ้าและพระอริยสาวกทั้งหลายท่านก็หลีกไม่พ้นและท่านก็ต้องตายเหมือนกับเราทุกคนนี่เองแต่ความตายของเวทนา คือ สุขทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์นี้ พระพุทธเจ้าและพระอริยสาวกท่านหลีกพ้น ส่วนคนปุถุชนนั้นความตายทางร่างกายก็หลีกไม่พ้น และความตายของเวทนานี่ก็หลีกไม่พ้นเหมือนกัน

    กล่าวคือ ท่านจะไม่มีอุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่นในเวทนาทั้งหลายเพราะฉะนั้น เวทนาเหล่านั้นจึงไม่มีตัวของพระอรหันต์เข้าไปติดพันอยู่เมื่อเวทนาตายก็ตายเฉพาะเวทนา แต่ไม่มีตัวพระอรหันต์ที่จะต้องตายไปกับเวทนานั้น

    เปรียบเหมือนว่า มีบ้านหลังหนึ่งเก่าแก่เต็มทีแล้ว ไม่รู้ว่าจะพังลงมาเมื่อไหร่ ทีนี้พระอรหันต์ท่านเดินทางผ่านมาจึงแวะเข้าไปพักร่มเงาของบ้านหลังนั้น แต่ท่านพักอยู่ข้างนอก ตะวันบ่ายเอนเงาของบ้านหลังนั้นให้ท่านพักและท่านก็พักอยู่นอกบ้าน อีกไม่นานนัก มีชาวบ้านธรรมดาๆ คนหนึ่งเดินทางมาถึง ชาวบ้านคนนั้นเข้าไปพักที่บ้านหลังนั้นเหมือนกันแต่เข้าไปพักอยู่ในบ้านนั้นเลยทีเดียว ขณะกำลังนอนพักผ่อนกันเพลินๆอยู่นั้น พระอรหันต์ท่านนอนอยู่ข้างนอก ปุถุชนนอนอยู่ข้างใน พอดีบ้านหลังนั้นพังทลายลงมากองราบอยู่กับพื้นเสียงดังโครมให_่ ปรากฏว่าคนปุถุชนที่นอนอยู่ในบ้านนั้นตายเรียบร้อย แต่พระอรหันต์ท่านไม่ตายเพราะท่านอยู่ข้างนอก เรื่องเป็นอย่างนี้

    เรื่องนี้หมายความว่า บ้านหลังนั้นก็คือเวทนา คือ สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ นั่นเอง ตามปกติไม่ใช่ว่าพระอรหันต์ท่านจะไม่รู้จักสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์พระอรหันต์ท่านก็รู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์และไม่สุขไม่ทุกข์อยู่เหมือนกับคนปุถุชนนั่นเอง ท่านยังอาศัยร่างกายที่ย่อมจะรับรู้เวทนาเหล่านี้อยู่ตลอดชีวิตของท่าน แต่ท่านไม่มีอุปาทานความยึดมั่นที่จะไปยึดมั่นติดพันอยู่กับเวทนานั้น เมื่อเกิดเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา ท่านรู้สึกแล้วก็วางเวทนาเสียแล้ว ไม่มีกิเลสตัณหาที่จะหลงเข้าไปดีใจหรือเสียใจกับเวทนาด้วย

    เมื่อบ้านหลังนั้นพัง พระอรหันต์ท่านจึงไม่ตาย เมื่อเวทนาเค้าสุข ท่านจึงไม่ติดในความสุข เมื่อเวทนาเค้าทุกข์ท่านก็ไม่ติดในความทุกข์ เมื่อไม่สุขไม่ทุกข์พระอรหันต์ท่านก็เต็มเปี่ยมอยู่ด้วยสมาธิอันมั่นคง ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน ไม่ฟุ้งซ่านรำคา_ใจ เพราะใจของท่านมีสมาธิ เรียกว่า ไม่ว่าจะเกิดเวทนาอย่างใดขึ้น ท่านก็จะมีสติอยู่ ไม่หวั่นไหวโยกคลอนไปพอใจหรือไม่พอใจในเวทนาเหล่านั้น เวทนาเหล่านั้นจึงกลายเป็นสิ่งที่ไร้ค่าสำหรับท่าน เป็นของโมฆะสำหรับท่าน เพราะว่าไม่สามารถทำให้จิตใจของท่านเร่าร้อนกลุ้มรุมหรือเศร้าหมองได้เลย

    ส่วนคนปุถุชนย่อมจะมีความยึดติดผูกพันกับเวทนา เขาย่อมจะเอาเวทนามาเป็นของเขา เอาเขาเข้าไปเป็นตัวของเวทนา เอาตัวของเขาฝังเข้าไปหรือมุดเข้าไปอาศัยอยู่ในเวทนา เหมือนที่เปรียบว่าเขาเข้าไปนอนพักในบ้านหลังนั้นนั่นเอง

    เมื่อเวทนาเป็นสุข ปุถุชนจึงติดอยู่ในความสุข เมื่อเวทนาเป็นทุกข์เขาก็ติดในความทุกข์ เมื่อไม่สุขไม่ทุกข์เขาก็ไม่มีสมาธิอันมั่นคง จิตใจจึงง่อนแง่นคลอนแคลน ฟุ้งซ่าน รำคา_ใจ เพราะใจขาดสมาธิ เรียกว่าไม่ว่าจะเกิดเวทนาอย่างใดขึ้น เขาก็จะหวั่นไหวโยกคลอนไปพอใจหรือไม่พอใจในเวทนาเหล่านั้นเสมอ เวทนาเหล่านั้นจึงเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับเขา จึงทำให้เขาตกอยู่ในอำนาจ จนต้องดิ้นรนกระเสือกกระสนอย่างไม่รู้หยุดหย่อน

    ***********************

    ความตายกับความไม่ตาย

    เมื่ออธิบายมาได้ ๒ ความตาย "ความไม่ตาย" ก็เผยโฉมหน้าออกมาให้เห็น ความตายของร่างกายนั้นหลีกกันไม่ได้ ต้องตายกันทุกคน เป็นกฏของสังขารเมื่อเป็นอย่างนี้พระพุทธองค์จึงทรงค้นหาวิธีที่จะทำให้ไม่ตาย และก็ค้นได้ความจริงว่า ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่นในเวทนาทั้งหลายนี่แหละ เราจะไม่ต้องตายถ้าเราฉลาดและมีสติปั__าจนไม่ยึดมั่นถือมั่นในเวทนาเหล่านั้น ความตายของเวทนาก็คือความหลุดรอดของเราเอง เวทนาตายแต่เราเลยไม่ตาย เวทนาจมแต่เราฟูฟ่อง เพราะปั__าความรู้เห็นธรรมอันเป็นเหตุให้ละความยึดมั่นถือมั่นเสียได้นั่นเอง

    ดังนั้น ความตายชนิดที่ ๒ คือ ความตายของเวทนาล้วนๆ นี้ จึงเป็นสิ่งมีค่าแก่การเรียนรู้ของท่านทั้งหลายผู้กำลังมองหาหนทางที่จะพ้นจากความตายกันอยู่

    ความตายนั้นเป็นสิ่งที่คนเขากลัวกันนัก ต่อไปนี้เราไม่ต้องกลัวความตายอีกแล้ว ร่างกายจะตายก็ไม่กลัว ปล่อยให้ตายไปตามเหตุปัจจัยเมื่อเราประคับประคองรักษาดีที่สุดแล้ว ถ้าเขาจะไม่อยู่ก็ให้ตายไปตามธรรมชาติเสียเลย อย่าไปเป็นก้างขวางคอธรรมชาติเขา เดี๋ยวเราจะเป็นทุกข์ใจเปล่าๆ

    ส่วนความตายของเวทนาล้วนๆ นี้ เรายิ่งไม่ต้องกลัว ถ้าเราจะกล้าสละละวางไม่ยึดติดกับเขาจริงๆ แล้ว ก็ไม่ต้องกลัว เพราะเราย่อมจะได้รับผลคือความไม่ตายนั่นแหละเป็นเครื่องตอบแทน แต่ถ้าเรายังพอใจรักใคร่ในเวทนาทั้งหลายอยู่ นั่นอันตรายมาก อันตรายมากกว่าความตายทางร่างกายเสียอีกหลายร้อยหลายพันเท่าฝึกปฏิบัติเพื่อละอุปาทานในเวทนาต่อไปนี้ เมื่อรู้โทษของความตาย ของเวทนาอย่างนี้แล้ว จึงขอให้ท่านทั้งหลายลงมือฝึกปฏิบัติเพื่อละอุปทานความยึดมั่นถือมั่นในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้นเสีย อย่าไปหลงรักหลงเกลียดเขาเลย เมื่อเวทนาอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นมา ก็อย่าไปถือมั่นในเขา เมื่อสุขเวทนาเกิดก็อย่าติด เมื่อมีทุกขเวทนาก็อย่าติด เมื่อไม่สุขไม่ทุกข์ก็อย่าเหม่อลอยฟุ้งซ่านและอย่าติดในสมาธิอันเป็นเครื่องละความเหม่อลอยฟุ้งซ่านนั้น

    เมื่อพบกับเรื่องดี ก็อย่าดีจนตัวลอย หรือถ้าพบเรื่องไม่ดีก็อย่าตีอกชกลมหรือเป็นทุกข์ไปด้วย ให้รู้เสียว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเกิดได้แล้วก็ดับได้ เหตุการณ์ทุกอย่างในชีวิตของเราเกิดมาให้เรารับรู้เพียงชั่วคราวเท่านั้น

    ***********************

    ความตายชนิดที่ ๓

    ความตายชนิดที่ ๓ คือความตายของกิเลส ความตายของกิเลสนี้เป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุด เพราะถ้ากิเลสตาย ย่อมหมายความว่าเราจะไม่ต้องมีความทุกข์ทรมานในจิตใจอีกต่อไป ตั้งแต่ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่นี้ ความตายของกิเลสนี้พระพุทธเจ้าท่านสอนให้เราชิงตายกันเสียโดยเร็ว เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องทำให้กิเลสตายก่อนที่ชีวิต ร่างกายของเราจะตาย ถ้ากิเลสของเราตาย ความทุกข์ของเราก็จะตาย เพราะกิเลสคือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ และความจริง กิเลสทั้งหลายนั้นเรานั่นแหละเป็นคนสร้างขึ้นมาเองแต่กลับไม่รู้จักวิธีฆ่าให้กิเลสนั้นตาย

    หมายความว่า กิเลสคือความเห็นผิดที่ทำให้เราทำผิด พูดผิด ก็เพราะเรา"คิดผิด"

    ความคิดผิด ภาษาธรรมะเรียกว่า "มิจฉาทิฏฐิ" เมื่อเราคิดผิด เราจึงไปหลงสร้างความโลภขึ้นมา เมื่อเราคิดไม่ถูกเราจึงมีความโกรธเกิดขึ้นมา และเมื่อเราโง่ไม่รู้ความจริง เราจึงหลง

    ความไม่รู้เรียกว่า อวิชชา แปลว่า ความไม่รู้ธรรมะตามธรรมชาติ เพราะเรามีอวิชชาเราจึงมีความคิดผิดหรือหลงผิด เมื่อเราคิดผิดเราจึงคิดว่า วิ__าณของเราเป็นตัวตน เมื่อเราตาย วิ__าณของเราก็จะล่องลอยออกไปจากร่าง นี่คือความคิดผิดที่ทำให้วิ__าณของเราเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาแล้ว ก็จะคิดผิดต่อไปเป็นสายว่า ร่างกายก็เป็นตัวตน ตา หู จมูกลิ้น กาย ใจ นี้เป็นของเรา เมื่อตาสัมผัสรูป เราจึงคิดว่า "เรา" เป็นคนเห็นรูปเมื่อหูสัมผัสเสียง เราจึงคิดว่า "เรา" เป็นคนได้ยินเสียง เป็นต้น ซึ่งเรื่องที่ว่านี้ แท้จริงแล้วเราคิดผิดทั้งหมดเลย

    ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราคิดถูก เราก็จะไม่หลงไปสร้างความโลภขึ้นมาเมื่อเราคิดไม่ผิด ความโกรธก็จะไม่เกิดขึ้นมา เมื่อเรามีปั__ารู้ธรรมะตามเป็นจริงจนหมดกิเลสได้ เราก็จะหมดสิ้นความหลง

    ทำอย่างไรจึงจะคิดถูก ก็ต้องตอบว่า ต้องคิดไม่ให้ผิด ทำได้ด้วยการมีความรู้ ความรู้นี้เรียกว่า วิชชา

    ความคิดเห็นที่ถูกต้องเรียกว่า "สัมมาทิฏฐิ"

    วิชชา แปลว่า ความรู้แจ้งธรรมะตามธรรมชาติ

    วิชชาในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๓ อย่างคือ๑. ปุพเพนิวาสานุสติ_าณ คือ _าณรู้จักระลึกชาติหนหลังได้๒. จุตูปปาต_าณ คือ _าณรู้จักกำเนิดจุติคือการตายและปฏิสนธิคือเกิดใหม่ของสัตว์ทั้งหลายได้๓. อาสวักขย_าณ คือ _าณรู้จักทำอาสวะกิเลสให้สิ้น

    เรื่องวิชชานี้ เป็นธรรมที่ไม่ใช่ของง่ายที่จะบรรลุ และในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่ของยากจนคนไม่สามารถจะบรรลุถึงได้ ถ้าผู้ใดมีจิตตั้งมั่นสงัดแล้วจากกามและอกุศลทั้งหลาย ทำสมาธิซึ่งเป็นธรรมอันเอกให้เกิดมีขึ้นตามลำดับ บุคคลผู้นั้นก็ย่อมจะยังวิชชาหรืออภิ__าหรือโลกุตตรปั__าให้เกิดมีขึ้นมาในจิตใจได้

    ***********************

    สรุป

    ความตายชนิดที่ ๑ คือ ความตายของคนตาย ที่ต้องเอาซากศพไปฝังหรือเผา

    ความตายชนิดที่ ๒ คือ ความตายของความสุขความทุกข์ หรือ ไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เรียกว่า เวทนา และ

    ความตายชนิดที่ ๓ ก็คือ ความตายของอวิชชาและกิเลสและความทุกข์ที่เกิดจากกิเลสนั้น ความตายของกิเลสนี้แหละ คือ ความตายที่ไม่ตาย เป็นความตายอมตะ

    เมื่อกิเลสตายเสียแล้ว สิ่งที่ยังเหลืออยู่อย่างไม่ตายก็คือจิต จิตไม่ใช่กิเลสและกิเลสก็ไม่ใช่จิต ความทุกข์ไม่ใช่จิตและจิตก็ไม่ใช่ความทุกข์ ถ้าเราฝึกจิตให้มีปั__า จิตของเราก็จะเป็นจิตที่ไม่ตาย เพราะปั__านี้เป็นสิ่งที่จะฆ่ากิเลสให้ตาย ปั__าหรือวิชชาก็คือสิ่งเดียวกัน เมื่อเรามีปั__าหรือวิชชากิเลสก็จะตายไปทันที

    สรุปและเรียบเรียงจาก ความตาย กับ ความไม่ตาย โดย อิสระมุนี
    http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/monk-preach-index.htm
     
  2. มหาธาตุ (not logged in)

    มหาธาตุ (not logged in) บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    อิสรมุนี อาจารย์นายกทักษิณ ที่มีคดีกับสีกา (นิด) ใช่ไหม?
     

แชร์หน้านี้

Loading...