((พระเครื่องพระบูชาพระเกจิ....จังหวดอุบลราชธานี))

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย namayti, 15 มกราคม 2017.

  1. namayti

    namayti เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2013
    โพสต์:
    17,435
    ค่าพลัง:
    +4,932
    upload_2017-1-15_13-10-42.jpeg
    [​IMG]
    เงื่อนไข
    1.พิมพ์"จอง-ปิด"รายการต่างๆได้เลยครับ
    2.โอนเงินภายใน 7 วันหลังจากวันที่โพสต์จอง-ปิด
    3.แจ้งรายละเอียดการโอนทางกล่องข้อความ(ด้านบนขวามือ)พร้อมที่อยู่จัดส่ง
    4.จัดส่ง EMS ในวันถัดไปและจะแจ้งเลขส่งทางข้อความให้ทราบ
    5.รับประกันพระแท้ตามกฏ-กติกาสากลทุกประการ
    [​IMG]

    รายการที่ 1 พระผง"ปิดจัมโบ้"ลป.พรหมา เขมจาโร สำนักวิปัสสนาหินผานางคอย จ.อุบลราชธานี สุดยอดมวลสาร 108 และผงบางขุนพรหม"รุ่นก้าวหน้า"หลังฝังเม็ดข้าวสารหิน มากประสบการณ์ ขึ้นชื่อติดอันมงคลยอดฮิตของเมืองอุบลฯครับ เก็บได้เก็บเด้อ สำหรับท่านที่ศรัทธาพระควัมปติ-ปิดตา ไม่ควรผลาด องค์ขึ้นคราบไขผุดๆขึ้น สวยจริงครับ พร้อมกรอบสแตนเลส ขอที่ 300.-ฟรีส่ง EMS
    [​IMG]
    [​IMG]
    ประวัติหลวงปู่พรหมมา เขมจาโร
    สำนักวิปัสสนาหินผานางคอย จ.อุบลราชธานี



    [​IMG]
    ……….พระเกจิอาจารย์แห่งแดนอีสานท่านมีครูบาอาจารย์เป็นฤาษีตาไฟ เป็นผู้มีวิชาอาคมศักดิ์สิทธิ์และเข้มขลัง วัตถุมงคลของท่านเป็นที่นิยมและสร้างประสบการณ์ให้กับผู้ใช้บูชามากมาย บูชาไว้เป็นเมตตามหานิยม เสริมดวงบารมี ดลบันดาลโชคลาภความเจริญรุ่งเรืองบูชาด้วยความศรัทธาเถิดดียิ่งนัก รมีประสบการณ์สูง ใครศรัทธาบูชาปู่ฤาษีไม่ควรพลาดครับ สุดยอดของดีที่ควรมีไว้บูชา

    ชาติภูมิและอุปสมบท

    ……..หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร นามเดิมว่า แก้ว เป็นบุตรของพ่อแก้ว อ่อนจันทึก กับ แม่สีดา อ่อนจันทึก เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2440 ที่บ้านกุศกร อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี

    ในปี พ.ศ. 2452 อายุได้ 11 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่กับหลวงปู่สมเด็จลุน เป็นลูกศิษย์หลวงปู่สมเด็จลุน ศึกษาวิชาอาคมต่างๆอยู่ 6 พรรษาเมื่อปี 2458 หลวงปู่สมเด็จลนถึงแก่มรณภาพหลังจากได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลเก็บอัฐิหลวงปู่สมเด็จลุนเรียบร้อยแล้ว ได้ออกเดินทางไปยัง จ.สกลนคร

    พ.ศ. 2460 อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่พระบาโพนสัน อ.ท่าพระบาท บริคำไชย ประเทศลาว และได้สร้างวัดอยู่ที่นั่น

    พ.ศ. 2461 ไป สร้างวัดป่า สอนวิปัสสนากรรมฐานอยู่ที่บ้านหินบักเปงร่วมสำนักเดียวกันกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์วิโจน์ รันโนบล และพ่อแม่ศรีทัศ ท่าอุเทน หลังจากนั้นได้ออกธุดงค์ไปประเทศลาว ไปธุดงค์ตามป่าตามภูเขาและพำนักอยู่ที่ภูเขาควาย ได้ศึกษาศาสตร์และศิลป์ กับปู่ฤาษีอาจารย์ใหญ่ที่นั่น เป็นเวลา 45 พรรษา จึงได้ออกวิเวกรุกขมูลเพียงลำพังไปจำพรรษาอยู่ที่ภูเห็ดละโงก ประเทศกัมพูชา ซึ่งบริเวณนั้นเรียกว่า สามเหลี่ยมนกแขก จำพรรษาอยู่ที่นั่นประมาณ 9 พรรษา ก็ออกธุดงค์ไปตามเขตชายแดนประเทศไทย-ลาว เข้าไปจนถึงประเทศพม่า ไปจำพรรษาอยู่ภูเขาพนมฉัฐ(สามเหลี่ยมทองคำ) เป็นเวลา 3 พรรษา จากนั้นออกธุดงค์ไปทั่วประเทศไทย ลาว พม่า กัมพูชา และประเทศอินเดีย

    พ.ศ. 2518 ได้มาปักกลดชั่วคราวอยู่ที่วัดบุปผาวัลย์ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ได้สร้างเหรียญรุ่นแรก ชื่อเหรียญ สำเร็จพรหมมา

    พ.ศ. 2519 ได้เดินทางจาก อ.โขงเจยมไปตั้งสำนักสงฆ์อยู่ที่เวินเพาะ ปากห้วยไร่ บ้านสำโรง ได้ออกโปรดสัตว์แผ่เมตตาให้แก่พวกลาวอพยพที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น

    พ.ศ. 2526 เดินทางออกจากเวินเพาะ ปากห้วยไร่ ออกธุดงค์ไปปักกลดที่บ้านม่วง ช่วยสร้างโบสถ์

    พ.ศ.2529 เมื่อช่วยสร้างโบสถ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้ออกวิเวกรุกขมูลไปอยู่ที่วัดถ้ำแสงธรมพรหมมาวาส บ้านแก้งปลาปก อ.ปากชม จ.เลย

    พ.ศ. 2531 ออกเดินทางจาก จ.เลย มาจำพรรษาที่บ้านดงนา อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี ได้สร้างวัดถ้ำสวนหินผานางคอย และบำเพ็ญธรรมอยู่ที่นั่นมาจนถึงทุกวันนี้ ด้วยกุศลแห่งธรรมแผ่ไพศาลไปทั่ว มีพุทธศาสนิกชนให้ความเชื่อถือและศรัทธา จนมีศิษยานุศิษย์มากมาย เป็นมี่รู้จักไปทั่วประเทศ

    หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร เดินธุดงควัตรมาอยู่ถ้ำสวนหินภูกระเจียว บ้านดงนา อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี เมื่อต้นปี 2531 หลวงปู่บอกว่าเป็นคืนเดือนหงายคืนพระจันทร์เต็มดวง คืนวันนั้น สัตว์ป่านานาชนิดออกวิ่งขวักไขว่ประหนึ่งว่า “เจ้าที่ต้อนรบหรือขับไส” เพราะ ชาวบ้านบอกว่าเจ้าที่ของเขาลูกนี้แรงมาก ไม่มีพระธุดงค์รูปใดหรือใครมาอยู่ได้ แต่หลวงปู่บอกว่าเขาออกมาแสดงความชื่นชมยินดี ท่านยังนั่งสมาธิพบว่า เจ้าที่ อาราธนา “ให้พักที่เขาลูกนี้เถิด ท่านต้องการอะไร ท่านจะได้ พวกเขาจะจัดหามาถวาย” จาก นั้นหลวงปู่ก็ออกบิณฑบาต แผ่ส่วนกุศลให้แก่เจ้าที่เจ้าทาง และได้นำความผาสุกมาสู่ประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง มีความรมเยนเป็นสุขกว่าแต่ก่อน แม้แต่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ก็ทรงเสด็จเพื่อนมัสการหลวงปู่พรหมมา เขมจาโร มาแล้วถึง 2 ครั้ง ในขณะนั้นหลวงปู่พรหมมา เขมจาโร มีสุขภาแข็งแรง ปฎิบัติธรรมเป็นนิจ โปรดญาติโยมสม่ำเสมอ และช่วยดูแลชาวบ้านดงนาและหมู่บ้านใกล้เคียง

    ขณะนั้นบนลานยอดเขาภูกระเจียวได้ก่อสร้างโบสถ์กึ่งศาลาการเปรียญมูลค่ากว่า 40 ล้าน บาท ซึ่งหลวงปู่พรหมมาเจริญพรว่า ฟ้าประทานให้ และยังบอกด้วยว่า เรื่องประวัติส่วนตัวแม้จะมีคนมาจ่ายห้าแสนก็ไม่เปิดเผย หรือใครจะจ่ายสักล้านก็จะไม่บอกว่าตัวเองเก่งหรือมีอภินิหารอะไร ใครอยากรู้อยากให้ไปดูเองที่ ถ้ำสวนหินผานางคอย ภูกระเจียว

     
  2. namayti

    namayti เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2013
    โพสต์:
    17,435
    ค่าพลัง:
    +4,932
    รายการที่ 2 พระผง"รุ่นแรก"ลป.กิ ธมฺมฺตตโม วัดป่าสนามชัย อ.พิบูลย์มังสาหาร จ.อุบลราชธานี เนื้อว่ายา-ชานหมาก-เกศา-เพชรหน้าทั่ง ออกปี 2533 เพื่อสร้างพระอุโบสถและศาสนสถานภายในวัด ไม่ค่อยเจอดอกครับ ศิษย์ ลป.เสาร์ กนฺตสีโล ธรรมดาซ่ะที่ไหน แบ่งปันราคาเบาๆจ้า ขอที่ 350.-ฟรีส่ง EMS
    20170303_170007-horz.jpg
    องค์สวยงามจริงๆ
    20170303_170049.jpg 20170303_170121.jpg
    14469675_1076020845800754_7477111345202496487_n.jpg
    ประวัติหลวงปู่กิ ธัมมุตฺตโม วัดป่าสนามชัย จ.อุบลราชธานี

    พรรษาที่ ๓๐ ปี ๒๕๒๐ ถึงพรรษาที่ ๕๑ ปี ๒๕๔๑ ปลายปี ๒๕๑๙ พระอาจารย์กิเดินทางออกจากวัดราชสัมพันธวงศ์มาถึง อ.บุณฑริก จ.อุบลราชธานี ด้วยความอนุเคราะห์จากพระครูพินิจสังฆภาณ เจ้าอาวาสวัดศรีนวล ต.อ่างศิลา อ.พิบูลมังสาหาร ท่านให้มาพักที่วัดบุณฑริการาม ซึ่งเป็นวัดสาขาของท่าน เดือนธันวาคม ๒๕๑๙ พระครูพิบูลธรรมภาณ วัดภูเขาแก้วในครั้งนั้นท่านเป็นเจ้าคณะอำเภอพิบูลมังสาหาร ท่านไปนิมนต์พระอาจารย์กิ มาอยู่วัดภูเขาแก้ว
    ฤดูแล้งปี ๒๕๒๐ อุบาสก อุบาสิกา บ้านสนามชัย ต.โพธิ์ไทร อ.พิบูลมังสาหาร ได้ไปอาราธนานิมนต์ท่านมาอยู่วัดสนามชัย พระครูพิบูลธรรมภาณปรึกษากับพระอาจารย์กิ เห็นสมควรที่จะบูรณะวัดสนามชัย เพราะว่างเว้นจากพระมาจำพรรษา ทั้งเป็นวัดที่สมเด็จมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) สร้างด้วย ท่านจึงได้มาอยู่วัดสนามชัย (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดป่าสนามชัย) ตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา เดิมวัดสนามชัยเป็นสำนักสงฆ์ มีเนื้อที่ ๒๗ ไร่ ๑ งาน มีกุฏิเก่าแก่ ๓ หลัง เมื่อท่านมาอยู่ได้อบรมแนะนำศิษยานุศิษย์ให้ประพฤติปฏิบัติบำเพ็ญเพียรด้านกรรมฐานและได้เริ่มดำเนินการบูรณะวัด ในระยะเริ่มแรกได้รับการสนับสนุนจากพระครูพิบูลธรรมภาณ ท่านได้เสนอแนวความคิดเห็นและให้การปรึกษาพร้อมทั้งพระครูกมลภาวนากร มาช่วยกำกับดูแลการบูรณะวัด ต่อมาท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดสนามชัย ส่วนพระอาจารย์กิเป็นประธานสงฆ์วัดสนามชัย ได้เริ่มสร้างกุฏิเริ่มแรก ๓ หลัง และนำพระประธานมาประดิษฐานไว้ที่ศาลาโรงธรรม จนถึงปัจจุบันนี้มีกุฏิที่สร้างขึ้นใหม่ ๑๙ หลังแต่ละหลังมีห้องน้ำพร้อม สร้างห้องน้ำสำหรับอุบาสก อุบาสิกา ๒๒ ห้อง ศาลาบ้านแม่ชี ๑ หลัง กุฏิแม่ชี ๖ หลัง โรงครัวบ้านแม่ชี ๑ หลัง ขุดสระ ๕ สระ มีสระใหญ่เนื้อที่ ๓ ไร่ ลึก ๓ เมตร พัฒนาแหล่งน้ำโดยทำฝายกั้นน้ำจนมีน้ำบริบูรณ์สมบูรณ์ เพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมอันสงบและสงัดวิเวกของพระภิกษุสามเณร พระครูพิบูลธรรมภาณได้ซื้อที่ดินเพิ่มเติมเนื้อที่วัด ๑๔ ไร่ และพระอาจารย์กิได้รับปัจจัยจากญาติโยมซื้อเพิ่มเติมอีก ๖ ไร่ ปัจจุบันที่ดินวัดมีเนื้อที่ ๔๗ ไร่ ๑ งาน
    ปี ๒๕๒๗ ท่านได้สร้างกำแพงคอนกรีตรอบวัดยาว ๑,๒๐๐ เมตร สูง ๒ เมตร สร้างเสร็จในปีนั้น โดยปัจจัยได้จากศรัทธาญาติโยมชาวบ้านสนามชัย ชาวพิบูลมังสาหาร ชาวจังหวัดอุบลราชธานี พุทธศาสนิกชนทั่วไปพร้อมทั้งคุณสมชาย – คุณลัดดาวัลย์ คนิวรานนท์ เป็นผู้บริจาคปัจจัยเป็นส่วนมาก ผู้มีศรัทธาในการบูรณะวัดในระยะเริ่มแรกคือคุณแก้ว – คุณมะลิ โพธิภิณ คุณสุไทย – คุณบุบผา พิณรัตน์ พร้อมคณะพนักงานรถไฟแห่งประเทศไทย นำผ้าป่ามาทอดหลายครั้ง เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๒๑ ไวยาวัจกรที่เป็นเรี่ยวแรงในการบูรณะวัดคือ คุณตาหวน พละพงศ์ คุณตาสัมฤทธิ์ ปรัสพันธ์ คุณตาจันทา ชมจันทร์ ฯลฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการวัด ทุกคนร่วมใจกันมีศรัทธาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อวัด ตามคำแนะนำของพระอาจารย์
    ๑๔ มีนาคม ๒๕๒๙ ได้รับอนุญาตสร้างวัด
    ๕ ธันวาคม ๒๕๓๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นวัดสนามชัย
    ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๔ ท่านได้สร้างถาวรวัตถุพระอุโบสถเพื่อทำสังฆกรรมพระภิกษุสงฆ์
    ๔ กันยายน ๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
    ๑ เมษายน ๒๕๓๕ ฝังลูกนิมิตฉลองพระอุโบสถ
    ปัจจัยที่เป็นทุนในการก่อสร้างพระอุโบสถนี้ได้รับบริจาคจาก คุณสมชาย – คุณลัดดาวัลย์ คนิวรานนท์ คุณหญิงสมจิตต์ อินทรีย์ คุณประไพ อินทรีย์ คณะรฟท มักกะสัน อาเสี่ยไมตรี – คุณนายวิรัตน์ จันทฤดีและชาวบ้านสนามชัย ชาวพิบูลมังสาหาร ชาวจังหวัดอุบลราชธานีและศรัทธาญาติโยมทั่วไป ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๕ ท่านได้เริ่มก่อสร้างศาลา ๘๐ ปี ธมฺมุตฺตโมนุสรณ์ สร้างแล้วเสร็จ ปี ๒๕๓๘ ทุนในการก่อสร้างได้มาจาก คุณอุษา ประยูรหงส์ คุณนิชา สิมานุรักษ์ คุณสมชาย – คุณลัดดาวัลย์ คนิวรานนท์ ร.อ.ประมุข – คุณศรัญญา ณ อุบล ชาวบ้านสนามชัย ชาวอำเภอพิบูลมังสาหาร ชาวจังหวัดอุบลราชธานีและศรัทธาญาติโยมทั่วไป
    ปี ๒๕๓๙ ได้เริ่มสร้างศาลาบำเพ็ญบุญ แล้วเสร็จกลางปี ๒๕๔๐ ทุนในการก่อสร้างได้มาจาก คุณสัมฤทธิ์ ปรัสพันธ์ คุณนิชา สิมานุรักษ์ ชาวบ้านสนามชัย ชาวอำเภอพิบูลมังสาหาร ชาวจังหวัดอุบลราชธานีและศรัทธาญาติโยมทั่วไป เข้าพรรษาปี ๒๕๓๙ ได้ตอกเสาเข็ม ๖๐ ต้น กลางสระน้ำเพื่อเป็นฐานรองรับการก่อสร้างหอพระไตรปิฎก คุณนิชา สิมานุรักษ์ เป็นผู้บริจาคเสาเข็ม
    เข้าพรรษาปี ๒๕๔๐ ได้เริ่มการก่อสร้างฐานรากและชั้นที่หนึ่ง ปัจจัยที่เป็นทุนในการก่อสร้างได้มาจากการทอดผ้าป่าของคณะ รฟท มักกะสัน นำโดย คุณสุไทย – คุณบุปผา พิณรัตน์ การทอดกฐินสามัคคีของคณะชาวบ้านสนามชัย ชาวอำเภอพิบูลมังสาหาร ชาวจังหวัดอุบลราชธานีและศรัทธาญาติโยม พุทธศาสนิกชนทั่วไป ปัจจุบันยังก่อสร้างไม่เสร็จในเดือนธันวาคม ๒๕๒๗ ท่านเป็นประธานในการบูรณะสถานที่ปฐมสมถ–วิปัสสนาของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดภูหล่น ตำบลสงยาง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
    ปี ๒๕๓๒ คุณสมชาย คุณจงกล คุณลัดดาวัลย์ คนิวรานนท์ มีศรัทธาบริจาคปัจจัยซื้อที่ดิน ๒๒ ไร่ ถวายท่าน เพื่อขยายเนื้อที่วัดห้วยไผ่ ตำบลกุดชมพู อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาพระอาจารย์กิบริจาคปัจจัยซื้อที่ดินเพิ่มอีก ๒ ไร่ พร้อมให้ทุนขุดสระน้ำ
    ปี ๒๕๓๕ ดูแลการบูรณะสำนักสงฆ์ภาวนาพุทธาเจริญ (เนื้อที่กว่า ๙๐ ไร่) บ้านเหล่าคำ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนี้ท่านยังได้รับอาราธนานิมนต์จากคณะศิษยานุศิษย์ของพระครูภาวนานุศาสน์ (พระอาจารย์สาย จารุวัณโณ) เป็นประธานในการประชุมสงฆ์ที่วัดหนองยาว อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ก่อนเข้าพรรษาทุกปี
    ตั้งแต่ท่านมาอยู่วัดป่าสนามชัยปี ๒๕๒๐ จนถึงปัจจุบัน ท่านได้อบรมแนะนำสั่งสอนศิษยานุศิษย์ตามแนวทางการประพฤติปฏิบัติสมถ–วิปัสสนา ตามแนวทางแบบแผนของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโลและหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์กิ ธัมมุตตโม ท่านอยู่ในเพศพรหมจรรย์ทั้งสิ้น ๖๕ ปี คือเป็นสามเณร ๑ ปี เป็นพระภิกษุ ๖๔ พรรษา ท่านบำเพ็ญประโยชน์แก่ตนเองและพระพุทธศาสนาอย่างมากมาย ดังชีวประวัติของท่านที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ แต่ก็เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น คณะศิษยานุศิษย์ยังไม่สามารถที่จะรวบรวมเขียนให้ละเอียด ถ้าผู้ประสงค์อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามกับท่านโดยตรง ท่านจะเมตตาเล่าให้ฟัง เพราะท่านแสวงหาวิเวก บำเพ็ญเพียรเดินธุดงค์ ขึ้นภูเขาเกือบทุกลูกในประเทศลาวและภูเขาหลายลูกในประเทศไทยท่านก็เคยไปบำเพ็ญภาวนามาแล้ว

    14462896_1076020835800755_2843516284615775086_n.jpg
    14485155_1076021052467400_2215615484802401723_n.jpg
     
  3. namayti

    namayti เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2013
    โพสต์:
    17,435
    ค่าพลัง:
    +4,932
    รายการที่ 3 พระผง"รุ่นแรก"ลป.กิ ธมฺมฺตตโม วัดป่าสนามชัย อ.พิบูลย์มังสาหาร จ.อุบลราชธานี เนื้อว่ายา-ชานหมาก-เกศา-เพชรหน้าทั่ง ออกปี 2533 เพื่อสร้างพระอุโบสถและศาสนสถานภายในวัด ไม่ค่อยเจอดอกครับ ศิษย์ ลป.เสาร์ กนฺตสีโล ธรรมดาซ่ะที่ไหน หย่อนสวยไปนิด ขอที่ 150.-ฟรีส่ง EMS
    20170303_165926-horz.jpg
    หลวงปู่กิ ธมฺมุตฺตโม เกิดที่บ้านสนามชัย อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ที่มาเกี่ยวข้องเป็นศิษย์ติดตามหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล นั้น มีในหนังสือของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ดังต่อไปนี้ “ลุ พ.ศ.2478 พระอาจารย๋เสาร์ พำนักที่ วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร ชวนท่านพระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล ศิษย์ทางสายมหานิกายซึ่งเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง ไปจำพรรษาที่วัดธาตุศรีคูร อ.นาแก จ.นครพนม ขณะนั้นประจวบกับเป็นช่วงเวลาที่พระภิกษุหนุ่มใจเด็ดองค์หนึ่งนามว่า พระกิธมฺมุตฺคโม มาจากบ้านหนองผำ นครจำปาสัก แขวงจำปาสัก แดนดินถิ่นประเทศไทยในครั้งกระโน้น
    เมื่อแรกเข้ามาเมืองอุบลราชธานี ก็ได้ติดตามพระอาจารย์บุญมาก ธิติปฺธญ ซึ่งท่านได้นำศิษย์ 10 กว่ารูป ออกเดินทางธุดงค์จากอุบลฯ เพื่อเข้ากราบคารวะพระอาจารย์เสาร์ ระหว่างทางติดตามมาจนถึงอำเภอนาแก ได้พบกับท่านพระอาจารย์ทองรัตน์ กอปรกับย่างเข้า เดือน 8 หน้าพรรษากาลพอดี จึงได้อยู่พักจำพรรษาที่วัดธาตุศรีคูณกับท่านพระอาจารย์ทองรัตน์
    หลวงปู่กิ ธมฺมุตฺตโม แห่งวัดสนามชัยบ้านสนามชัย อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ผู้ทรงศีล สมาธิ พรหมจรรยามีความทรงจำเป็นเลิศรอบรู้เชี่ยวชาญเรื่องภูมิประเทศทั้งภูเขาและเถื่อนถ้ำไนแดนลาวและแถบชายแดนภาคอีสาน ท่านหลวงปู่กิได้เล่าเรื่องราวแต่หนหลังจากความทรงจำอันแม่นยำว่า ครั้งแรกท่านจะไปกราบคารวะท่านพระอาจารย์เสาร์ ปีนั้นหมอกลงหนาทึบแผ่ปกคลุมทั่วเมืองนครพนม ยิ่งตอนเช้าเหยียบน้ำค้างลัดทุ่งไปบิณฑบาตรหนาวเหน็บจนจนเท้าเป็นตะคริว ต้องอาศัยขออังสะฝ่าเท้าด้วยกองไฟจากชาวบ้านที่สุมฟืนอยู่พอค่อยยังชั่วจึงออกเดินบิฑบาตรต่อไปได้ ท่านพระอาจารย์พิศิษฐ์ได้ขมวดลงท้ายว่า นี่คือบันทึกจากปากคำของท่านหลวงปู่กิที่จดจำเหตุการณ์เมื่อ 60 ปีก่อนโน้นได้แม้แต่รายละเอียดเล็กๆน้อยๆก็ไม่ลืมเลือนเลย นับว่าเป็นบุญของเราที่ได้รับรู้เรื่องราวในกาลก่อนเพราหลังจากนั้นไม่นาน องค์ท่านก็มาด่วนละสังขารไปโดยไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
     

แชร์หน้านี้

Loading...