พระโมคคัลลานะทัวร์นรกสวรรค์ ถาม "ทำบุญ-กรรมอย่างไรจึงได้ผลอย่างนี้?"

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย วิมลเกียรติ์, 30 สิงหาคม 2007.

  1. วิมลเกียรติ์

    วิมลเกียรติ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    588
    ค่าพลัง:
    +2,123
    จูฬวรรคที่ ๓

    ๑. อภิชชมานเปตวัตถุ ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตเปลือย

    โกสิยมหาอำมาตย์ของพระเจ้าพิมพิสาร ถามเปรตตนหนึ่งว่า
    [๑๑๑] ดูกรเปรต ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มีร่างกายเป็นเปรตกึ่งหนึ่งทัดทรง
    ดอกไม้ ตกแต่งร่างกาย เดินไปในน้ำอันไม่ขาดสายในแม่น้ำคงคานี้
    ท่านจักไปไหน ที่อยู่ของท่านอยู่ที่ไหน?
    เพื่อจะแสดงเนื้อความที่เปรตนั้น และโกสิยมหาอำมาตย์กล่าวแล้ว พระสังคีติกาจารย์
    จึงกล่าวคาถาความว่า
    เปรตนั้นกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักไปยังบ้านจุนทัฏฐิละ อันอยู่ในระหว่าง
    แห่งวาสภคามกับเมืองพาราณสี แต่บ้านนั้นอยู่ใกล้เมืองพาราณสี ก็มหา
    อำมาตย์อันปรากฏชื่อว่าโกลิยะเห็นเปรตนั้นแล้ว ได้ให้ข้าวสัตตูและคู่
    ผ้าสีเหลืองแก่เปรตนั้น เมื่อเรือหยุดเดิน ได้ให้ข้าวสัตตูและคู่ผ้าแก่
    อุบาสกเมื่อคู่ผ้าอันโกลิยะอำมาตย์ให้ช่างกัลบกแล้ว ผ้านุ่งผ้าห่มก็ปรากฏ
    แก่เปรตทันที ภายหลัง เปรตนั้นนุ่งห่มผ้าดีแล้ว ทัดทรงดอกไม้ตบแต่ง
    ร่างกายด้วยอาภรณ์ ทักษิณาย่อมเข้าไปสำเร็จแก่เปรตนั้น ผู้อยู่แล้วใน
    ที่นั้น เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้มีปัญญา พึงให้ทักษิณาบ่อยๆ เพื่อ
    อนุเคราะห์แก่เปรตทั้งหลาย เปรตเหล่าอื่น บางพวกนุ่งผ้าขี้ริ้วขาดรุ่งริ่ง
    บางพวกนุ่งผม หลีกไปสู่ทิศน้อยใหญ่เพื่อหาอาหาร บางพวกวิ่งไปแม้
    ในที่ไกลไม่ได้แล้วกลับมา บางพวกสลบแล้วเพราะความหิวกระหาย
    นอนกลิ้งไปบนพื้นดิน บางพวกล้มลงที่แผ่นดินในที่ตนวิ่งไปนั้นร้อง
    ไห้ร่ำไรว่า เมื่อก่อน เราทั้งหลายไม่ได้ทำกุศลไว้จึงได้ถูกไฟคือความหิว
    และความกระหายเผาอยู่ ดุจถูกไฟเผาแล้วในที่ร้อน เมื่อก่อน พวก
    เรามีธรรมอันลามก เป็นหญิงแม่เรือนมารดาทารกในตระกูล เมื่อ
    ไทยธรรมทั้งหลายมีอยู่ไม่กระทำพึงแก่ตน เออ ก็ข้าวและน้ำมีมาก แต่
    เราไม่กระทำการแจกจ่ายให้ทาน และไม่ได้ให้อะไรในบรรพชิตทั้งหลาย
    ผู้ปฏิบัติชอบ อยากทำแต่กรรมที่คนดีไม่พึงทำ เป็นคนเกียจคร้านใคร่แต่
    ความสำราญและของที่อร่อย กินมาก ให้แต่เพียงโภชนะก้อนหนึ่ง
    ด่าตัดพ้อปฏิคาหกผู้รับอาหาร เรือน พวกทาสีทาสาและผ้าอาภรณ์ของ
    เราเหล่านั้น ไม่สำเร็จประโยชน์แก่พวกเรา กลายเป็นของคนอื่นไป
    หมด เรามีแต่ส่วนแห่งทุกข์ เราจุติจากเปรตนี้แล้ว จักไปเกิดในตระกูล
    อันต่ำช้าเลวทราม คือ ตระกูลจักสาน ตระกูลช่างรถ ตระกูลนายพราน
    ตระกูลคนจัณฑาล ตระกูลคนกำพร้า ตระกูลช่างกัลบก นี้เป็นคติแห่ง
    ความตระหนี่ ส่วนทายกทั้งหลายผู้มีกุศลอันทำไว้แล้วในชาติก่อน
    ปราศจากความตระหนี่ ย่อมยังสวรรค์ให้บริบูรณ์ และย่อมยังนันทนวัน
    ให้สว่างไสวรื่นรมย์แล้วในเวชยันตปราสาทสำเร็จความปรารถนา ครั้น
    จุติจากเทวโลกแล้ว ย่อมเกิดในตระกูลสูง มีโภคะมาก คือ ในตระกูล
    แห่งบุคคลมีเรือนยอดและปราสาทราชมนเทียรมีบัลลังก์อันลาดแล้วด้วย
    ผ้าโกเชาว์ มีเหล่าบุรุษและสตรีถือพัดอันประดับแล้วด้วยแววหางนกยูง
    คอยพัดอยู่ ในเวลาเป็นทารกก็ทัดทรงดอกไม้ ตบแต่งร่างกาย หมู่
    ญาติและพี่เลี้ยงนางนมผลัดกันอุ้ม ไม่ต้องลงสู่พื้นดิน อันชนทั้งหลาย
    ผู้ปรารถนาความสุขเข้าไปบำรุงอยู่ทั้งเช้าและเย็นตลอดชาติ สวนใหญ่
    แห่งเทวดาชาวไตรทศเทพชื่อว่านันทนวัน อันเป็นสถานไม่เศร้าโศก
    น่ารื่นรมย์นี้ย่อมไม่มีแก่ชนทั้งหลายผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ ย่อมมีแต่เฉพาะ
    เหล่าชนผู้มีบุญอันทำไว้แล้วเท่านั้น ความสุขในโลกนี้และในปรโลก
    ย่อมไม่มีแก่เหล่าชนผู้ไม่ทำบุญ ความสุขในโลกนี้และโลกหน้า ย่อมมี
    เฉพาะแก่เหล่าชนผู้ทำบุญไว้ ผู้ปรารถนาความเป็นสหายแห่งเทวดาชาว
    ไตรทศเทพ พึงทำบุญกุศลไว้ให้มาก เพราะว่าบุคคลผู้ทำบุญไว้แล้ว
    ย่อมบันเทิงใจอยู่ในสวรรค์เพรียบพร้อมไปด้วยโภคสมบัติ.
    จบ อภิชชมานเปตวัตถุที่ ๑
     
  2. วิมลเกียรติ์

    วิมลเกียรติ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    588
    ค่าพลัง:
    +2,123
    ๒. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ ว่าด้วยเปรตญาติพระสานุวาสีเถระ

    [๑๑๒] พระเถระชาวกุณฑินครรูปหนึ่ง อยู่ที่ภูเขาสานุวาสี มีนามว่า โปฏฐ
    ปาทะ เป็นสมณะผู้มีอินทรีย์ อันอบรมดีแล้ว มารดาบิดาและพี่ชายของ
    ท่านเกิดในยมโลก เสวยทุกขเวทนาเพราะทำกรรมลามก จึงไปจาก
    โลกนี้สู่เปตโลก เปรตเหล่านั้นถึงทุคติ มีช่องปากเท่ารูเข็ม ลำบากยิ่ง
    นัก เปลือยกายซูบผอม มีความเกรงกลัวสะดุ้งหวาดเสียวมาก มีการ
    งานทารุณ ไม่อาจแสดงตนแก่พระเถระได้ เปรตผู้เป็นพี่ชายของท่าน
    ตนเดียว เปลือยกายรีบไปนั่งคุกเข่าประนมมือแสดงตนแก่พระเถระ
    พระเถระไม่ใส่ใจถึง เป็นผู้นิ่งเดินเลยไป เปรตนั้นจึงบอกให้พระเถระ
    รู้ว่า ข้าพเจ้าพี่ชายของท่านไปแล้วสู่เปตโลก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มารดา
    บิดาของท่านเกิดในยมโลกเสวยทุกข์ เพราะทำบาปกรรม จึงไปจาก
    โลกนี้สู่เปตโลก เปรตผู้เป็นมารดาบิดาของท่านทั้งสองนั้น มีช่องปาก
    เท่ารูเข็ม ลำบากมาก เปลือยกาย ซูบผอม มีความเกรงกลัวสะดุ้ง
    หวาดเสียวมาก มีการงานทารุณ ไม่อาจแสดงตนแก่ท่าน ขอท่านจง
    เป็นผู้มีความกรุณา อนุเคราะห์แก่มารดาบิดา จงให้ทานแล้วอุทิศส่วน
    กุศลไปให้พวกเรา พวกเราผู้มีการงานอันทารุณ จักยังอัตภาพให้
    เป็นไปได้เพราะทานอันท่านให้แล้ว พระเถระกับภิกษุอื่นอีก ๑๒ รูป
    เที่ยวไปบิณฑบาตแล้ว กลับมาประชุมในที่เดียวกัน เพราะเหตุแห่ง
    ภัตกิจ พระเถระจึงกล่าวกะภิกษุทั้งหมดนั้นว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้
    ภัตตาหารที่ท่านได้แล้วแก่ผมเถิด ผมจักทำสังฆทานเพื่ออนุเคราะห์ญาติ
    ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นจึงมอบถวายพระเถระ พระเถระนิมนต์สงฆ์
    ถวายสังฆทานแล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศ
    เจตนาว่า ขอทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของเรา ขอญาติทั้งหลาย
    จงมีความสุขเถิด ในลำดับที่อุทิศให้นั่นเอง โภชนะอันประณีต สมบูรณ์
    มีแกงและกับหลายอย่าง เกิดขึ้นแก่เปรตเหล่านั้น ภายหลัง เปรต
    ผู้เป็นพี่ชายมีผิวพรรณดี มีกำลัง มีความสุข ได้ไปแสดงตนแก่พระเถระ
    แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โภชนะอันมากมายที่พวกข้าพเจ้าได้แล้ว
    แต่ขอท่านจงดูข้าพเจ้าทั้งหลายยังเป็นคนเปลือยกายอยู่ ขอท่านจง
    พยายามให้ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ผ้านุ่งผ้าห่มด้วยเถิด พระเถระเลือกเก็บ
    ผ้าจากกองหยากเยื่อเอามาทำจีวรแล้ว ถวายสงฆ์อันมาแล้วจากจาตุรทิศ
    ครั้นถวายแล้วได้อุทิศส่วนกุศลให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนา
    ว่า ขอทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลาย ขอพวกญาติของเราจงมีความ
    สุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง ผ้าทั้งหลายได้เกิดขึ้นแก่เปรตเหล่า
    นั้น ภายหลัง เปรตเหล่านั้นนุ่งห่มผ้าเรียบร้อยแล้วได้มาแสดงตนแก่
    พระเถระกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายมีผิวพรรณดี มีกำลัง
    มีความสุข มีผ้านุ่งผ้าห่มมากกว่าผ้าที่มีในแคว้นของพระเจ้านันทราช
    ผ้านุ่งผ้าห่มทั้งหลายของพวกเรา ไพบูลย์และมีค่ามาก คือ ผ้าไหม ผ้า
    ขนสัตว์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าป่าน ผ้าด้ายแกมไหม ผ้าเหล่านั้น
    แขวนอยู่ในอากาศ ข้าพเจ้าทั้งหลายเลือกนุ่งห่มแต่ผืนที่พอใจ (แต่ว่า
    พวกข้าพเจ้ายังไม่มีบ้านเรือนอยู่) ขอท่านจงพยายามให้พวกข้าพเจ้าได้
    บ้านเรือนเถิด พระเถระสร้างกุฎีอันมุงด้วยใบไม้ แล้วได้ถวายสงฆ์ซึ่ง
    มาแต่จาตุรทิศครั้นแล้วได้อุทิศส่วนกุศลให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วย
    อุทิศเจตนาว่า ขอผลแห่งการถวายกุฎีนี้ จงสำเร็จแก่พวกญาติของเรา
    ขอพวกญาติของเราจงมีความสุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง เรือน
    ทั้งหลาย คือ ปราสาทและเรือนอย่างอื่นๆ อันบุญกรรมกำหนด
    แบ่งไว้เป็นส่วนๆ เกิดขึ้นแล้วแก่เปรตเหล่านั้น เรือนของพวกเรา
    ในเปตโลกนี้ ไม่เป็นเช่นกับเรือนในมนุษยโลก เรือนของพวกเราใน
    เปตโลกนี้งามรุ่งเรืองสว่างไสวไปทั่วทั้ง ๘ ทิศ เหมือนเรือนในเทว
    โลกแต่พวกเรายังไม่มีน้ำดื่ม ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงพยายามให้
    พวกข้าพเจ้าได้ดื่มน้ำด้วยเถิด พระเถระจึงตักน้ำเต็มธรรมกรก แล้ว
    ถวายสงฆ์ซึ่งมาแต่จาตุรทิศ ครั้นแล้วได้อุทิศส่วนกุศลให้มารดาบิดาและ
    พี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอผลทานนี้จงสำเร็จแก่พวกญาติของเรา
    ขอพวกญาติของเราจงมีความสุขเถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง น้ำ
    ดื่มคือสระโบกขรณี กว้าง ๔ เหลี่ยม ลึก มีน้ำเย็น มีท่าราบเรียบดี
    น้ำเย็นมีกลิ่นหอมหาที่เปรียบมิได้ ดารดาษด้วยกอปทุมและอุบล เต็ม
    ด้วยละอองเกสรบัวอันล่วงบนวารี ได้เกิดขึ้น เปรตเหล่านั้นอาบและ
    ดื่มกินในสระนั้นแล้ว ไปแสดงตนแก่พระเถระแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน
    ผู้เจริญ น้ำดื่มของพวกข้าพเจ้ามากเพียงพอแล้ว บาปย่อมเผล็ดผลเป็น
    ทุกข์แก่พวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าพากันเที่ยวไปลำบากในภูมิภาคอันมี
    ก้อนกรวดและหน่อหญ้าคา ขอท่านพยายามให้พวกข้าพเจ้าได้ยานอย่าง
    ใดอย่างหนึ่งเถิด พระเถระได้รองเท้าแล้ว ถวายสงฆ์ซึ่งมาแต่จาตุรทิศ
    ครั้นแล้วอุทิศส่วนกุศลให้มารดาบิดาและพี่ชาย ด้วยอุทิศเจตนาว่า ขอ
    ผลทานนี้จงสำเร็จแก่พวกญาติของเรา ขอพวกญาติของเราจงมีความสุข
    เถิด ในลำดับแห่งการอุทิศนั่นเอง เปรตทั้งหลายได้พากันมาแสดงตน
    ให้ปรากฏด้วยรถ แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นผู้อัน
    ท่านอนุเคราะห์แล้ว ด้วยการให้ข้าว ผ้านุ่งผ้าห่ม เรือน น้ำดื่ม และ
    ยาน เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายจึงมาเพื่อจะไหว้ท่านผู้เป็นมุนีมี
    ความกรุณาในโลก.
    จบ สานุวาสีเถรเปตวัตถุที่ ๒
     
  3. วิมลเกียรติ์

    วิมลเกียรติ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    588
    ค่าพลัง:
    +2,123
    ๓. รถการีเปตวัตถุ ว่าด้วยผลกรรมทำให้ได้อยู่ร่วมกับนางเวมานิกเปรต

    มาณพคนหนึ่งถามนางเวมานิกเปรตตนหนึ่งว่า
    [๑๑๓] ดูกรนางเทวีผู้มีอานุภาพมาก ท่านขึ้นสู่วิมานมีเสาเป็นวิการแก้วไพฑูรย์
    งามผุดผ่อง มีรูปภาพอันวิจิตรต่างๆ อยู่ในวิมานนั้น ดุจพระจันทร์
    ในวันเพ็ญ งามโชติช่วงในท้องฟ้า ฉะนั้น อนึ่ง รัศมีของท่านมีสีดัง
    ทองคำ ท่านมีรูปร่างอันอุดมน่าดูน่าชมยิ่งนัก นั่งอยู่แต่ผู้เดียวบนบัลลังก์
    อันประเสริฐมีค่ามาก สามีของท่านไม่มีหรือ ก็สระโบกขรณีของท่าน
    เหล่านี้มีอยู่โดยรอบ มีกอบัวต่างๆ เป็นอันมาก มีบัวขาวมาก เกลื่อน
    กล่นด้วยทรายทองโดยรอบ ในสระโบกขรณีนั้น หาเปือกตมและ
    จอกแหนมิได้ มีหงส์น่าดูน่าชมน่ารื่นรมย์ใจเที่ยวเลาะเวียนไปในน้ำ
    ทุกเมื่อ หงส์ทั้งปวงนั้นมีเสียงไพเราะพากันมาประชุมร่ำร้องอยู่ เสียง
    ร่ำร้องแห่งหงส์ในสระโบกขรณีของท่าน มิได้ขาดเสียง ดุจเสียง
    กลอง ท่านมียศงามรุ่งเรือง ลงนั่งอยู่ในเรือ ท่านมีคิ้วโก่งดำดี มีหน้า
    ยิ้มแย้มพูดจาน่ารักใคร่ มีอวัยวะทั้งปวงงามรุ่งเรืองยิ่งนัก วิมานของ
    ท่านนี้ปราศจากละอองธุลี ตั้งอยู่ที่ภาคพื้นอันราบเรียบ มีสวนนันทวัน
    อันให้เกิดความยินดีเพลิดเพลินเจริญใจ ดูกรนารีผู้มีรูปร่างน่าดูน่าชม
    เราปรารถนาเพื่อจะอยู่บันเทิงกับท่านในสวนนันทวันของท่านนี้.
    นางเวมานิกาเปรตกล่าวว่า
    ท่านจงทำกรรมอันจะให้ท่านได้เสวยผลในวิมานของเรานี้ และจิตของ
    ท่านจงน้อมมาในวิมานนี้ด้วย ท่านทำกรรมอันบันเทิงในที่นี้แล้วจักได้
    อยู่รวมกับเราสมความประสงค์ มาณพนั้นรับคำนางเวมานิกเปรตนั้นแล้ว
    จึงได้ทำกรรมอันเป็นกุศล อันส่งผลให้เกิดในวิมานนั้น ครั้นแล้วได้
    เข้าถึงความเป็นสหายของนางเวมานิกเปรตนั้น.
    จบ รถการีเปตวัตถุที่ ๓.

    จบ ภาณวารที่ ๒
     
  4. วิมลเกียรติ์

    วิมลเกียรติ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    588
    ค่าพลัง:
    +2,123
    ๔. ภุสเปตวัตถุ ว่าด้วยบุพกรรมของเปรต ๔ ตน

    พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามบุพกรรมของเปรตทั้ง ๔ ด้วยคาถานี้ความว่า
    [๑๑๔] ท่านทั้ง ๔ นี้ คนหนึ่งกอบเอาแกลบข้าวสาลีที่ไฟลุกโชนโปรยใส่
    ศีรษะของตนเอง อีกคนหนึ่งทุบศีรษะของตนด้วยฆ้อนเหล็ก ส่วน
    คนที่เป็นหญิงเอาเล็บจิกหลังกินเนื้อและเลือดของตนเอง ส่วนท่านกิน
    คูถอันเป็นของไม่สะอาดไม่น่าปรารถนา นี้เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร?
    ภรรยาของพ่อค้าโกงตอบว่า
    เมื่อชาติก่อน ผู้นี้เป็นบุตรของดิฉัน ได้ตีศีรษะของฉันผู้เป็นมารดา
    ผู้นี้เป็นสามีของดิฉัน เป็นพ่อค้าโกงข้าวเปลือกปนแกลบ ผู้นี้เป็นลูก
    สะใภ้ของดิฉัน ลักกินเนื้อแล้วกลับหลอกลวงด้วยมุสาวาท ดิฉันเมื่อ
    เกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก เป็นหญิงแม่เรือน เป็นใหญ่กว่าสกุล
    ทั้งปวง เมื่อสิ่งของมีอยู่ เหล่ายาจกขอแล้ว เก็บซ่อนไว้เสีย ไม่ได้ให้
    อะไรจากของที่มีอยู่ ปกปิดไว้ด้วยมุสาวาทว่า ของนี้ไม่มีในเรือนของเรา
    ถ้าเราปกปิดของที่มีไว้ ขอคูถจงเป็นอาหารของเรา ภัตแห่งข้าวสาลีอัน
    มีกลิ่นหอม ย่อมกลับกลายเป็นคูถเพราะวิบากแห่งกรรม คือ มุสาวาท
    ของดิฉัน ก็กรรมทั้งหลายไม่ไร้ผล กรรมนั้นย่อมไม่สาบสูญ เพราะ
    ฉะนั้นดิฉันจึงกินและดื่มแต่มูตรคูถอันมีกลิ่นเหม็น มีหนอน.
    จบ ภุสเปตวัตถุที่ ๔
     
  5. วิมลเกียรติ์

    วิมลเกียรติ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    588
    ค่าพลัง:
    +2,123
    ๕. กุมารเปตวัตถุ ว่าด้วยบุพกรรมของกุมารเปรต

    เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น พระสังคีติกาจารย์ได้กล่าวคาถา ๗ คาถา ความว่า
    [๑๑๕] พระญาณของพระสุคตศาสดาน่าอัศจรรย์ เป็นเหตุให้พระองค์ทรง
    พยากรณ์บุคคลว่า บุคคลบางคนมีบุญมาก บางคนมีบุญน้อย ได้ถูก
    ต้องคฤหบดีผู้นี้เมื่อยังเป็นเด็ก ถูกเขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นอยู่ได้ด้วยน้ำ
    นมจากนิ้วมือตลอดราตรี ยักษ์และภูตปีศาจ หรืองูเล็กงูใหญ่ ก็ไม่
    เบียดเบียนเด็กผู้มีบุญอันได้ทำไว้แล้ว แม้สุนัขทั้งหลายก็พากันมาเลีย
    เท้าทั้งสองของเด็กนี้ ฝูงกาและสุนัขจิ้งจอก ก็พากันมาเดินเวียนรักษา
    ฝูงนกก็พากันมาคาบเอามลทินครรภ์ไปทิ้ง ส่วนฝูงกาพากันมานำเอาขี้ตา
    ไปทิ้ง มนุษย์และอมนุษย์ไรๆ มิได้จัดแจงรักษาเด็กนี้ หรือใครๆ ที่
    จะทำเมล็ดพรรณผักกาดให้เป็นยามิได้มี และไม่ได้ถือเอาการประกอบ
    ฤกษ์ยามทั้งไม่ได้เรี่ยรายซึ่งข้าวเปลือกทั้งปวง พระผู้มีพระภาคผู้อันเทวดา
    และมนุษย์บูชาแล้ว มีพระปัญญากว้างขวาง ได้ทอดพระเนตรเห็นเด็ก
    อันบุคคลนำมาทิ้งไว้ในป่าช้าในราตรี ผู้ถึงแล้วซึ่งความทุกข์อย่างยิ่งเช่น
    นี้ เหมือนก้อนแห่งเนยใสหวั่นไหวอยู่ มีความสงสัยว่ารอดหรือไม่รอด
    หนอ เหลืออยู่แต่สักว่าชีวิต ครั้นแล้วได้ทรงพยากรณ์ว่า เด็กคนนี้จัก
    เป็นผู้มีตระกูลสูง มีโภคสมบัติในพระนครนี้.
    พวกอุบาสกผู้ยืนอยู่ในที่ใกล้พระศาสดาทูลถามว่า
    อะไรเป็นวัตรเป็นพรหมจรรย์ของเขา นี้เป็นวิบากแห่งวัตร
    หรือพรหมจรรย์ที่เขาประพฤติแล้วเช่นไร เขาถึงความพินาศเช่นนี้แล้ว
    จักเสวยความสำเร็จเช่นนั้น เพราะกรรมอะไร?
    พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า
    เมื่อก่อน มหาชนทำการบูชาอย่างโอฬารแก่ภิกษุสงฆ์ผู้มีพระพุทธเจ้าเป็น
    เป็นประธาน เด็กนั้นมิได้มีจิตเอื้อเฟื้อในการบูชา ได้กล่าววาจาหยาบ
    คายอันมิใช่สัตบุรุษ ภายหลังเด็กนั้นถามมารดาตักเตือนให้กลับความวิตก
    อันลามกนั้นแล้ว กลับได้ปีติและความเลื่อมใส ได้บำรุงพระตถาคตซึ่ง
    ประทับอยู่ ณ วิหารเชตวัน ด้วยข้าวยาคู ๗ วัน ข้อนั้นเป็นวัตรเป็น
    พรหมจรรย์ของเขา นี้เป็นวิบากแห่งวัตรและพรหมจรรย์ที่เขาประพฤติ
    แล้วนั้น เขาถึงความพินาศเช่นนั้นแล้ว จักได้ความสำเร็จเช่นนั้น เขา
    ตั้งอยู่ในมนุษย์โลกนี้สิ้นร้อยปี เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยกามคุณทั้งปวง
    เมื่อตายไปจักเข้าถึงความเป็นสหายแห่งท้าววาสวะ ในสัมปรายภพ.
    จบ กุมารเปตวัตถุที่ ๕
     
  6. วิมลเกียรติ์

    วิมลเกียรติ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    588
    ค่าพลัง:
    +2,123
    ๖. เสรินีเปตวัตถุ ว่าด้วยบุพกรรมของเสรินีเปรต

    อุบาสกคนหนึ่งถามนางเปรตเสรินีว่า
    [๑๑๖] ท่านเปลือยกาย มีผิวพรรณน่าเกลียด ซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น
    ผอมยิ่งนักจนเห็นแต่ซี่โครง ท่านเป็นใครมายืนอยู่ที่นี้?
    นางเปรตเสรินีตอบว่า
    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเปรต ตกทุกข์ เกิดในยมโลก ทำกรรม
    อันลามกไว้ จึงไปจากโลกนี้สู่เปตโลก.
    อุบาสกถามว่า
    ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ หรือเพราะวิบากแห่งกรรม
    อะไร ท่านจึงไปจากโลกนี้สู่เปตโลก?
    นางเปรตเสรินีตอบว่า
    เมื่อสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นที่พึ่งอันหาโทษมิได้ มีอยู่ ดิฉันถูกความ
    ตระหนี่ครอบงำ จึงไม่สั่งสมบุญแม้เพียงกึ่งมาสก เมื่อไทยธรรมมีอยู่
    ไม่ทำที่พึ่งแก่ตน ดิฉันหิวน้ำเข้าไปใกล้แม่น้ำ แม่น้ำกลับว่างเปล่าไป
    ในเวลาร้อน ดิฉันเข้าไปสู่ร่มไม้ ร่มไม้กลับกลายเป็นแดดไป ทั้งลมก็
    กลับกลายเป็นเปลวไฟเผาร่างกายของดิฉันฟุ้งไป ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
    ดิฉันควรจะเสวยทุกข์มีความกระหายเป็นต้น ตามที่กล่าวมาแล้วนี้ และ
    ทุกข์อย่างอื่นอันชั่วช้าทารุณกว่านั้น ท่านไปถึงหัตถินีนครแล้ว ขอช่วย
    บอกแก่มารดาของดิฉันว่า เราเห็นธิดาของท่านตกทุกข์ เกิดในยมโลก
    เขาไปจากโลกนี้สู่เปตโลก เพราะทำบาปกรรมไว้ ทรัพย์ของดิฉันมีอยู่
    ๔ แสน ดิฉันซ่อนไว้ภายใต้เตียง ไม่ได้บอกใครๆ ขอมารดาของดิฉัน
    จงถือเอาทรัพย์จากที่ซ่อนไว้นั้น ให้ทานบ้าง เลี้ยงชีวิตบ้าง ครั้นให้ทาน
    แล้ว ขอจงอุทิศส่วนบุญมาให้แก่ดิฉันบ้าง เมื่อนั้นจะมีความสุข สำเร็จ
    ความประสงค์ทั้งปวง อุบาสกนั้นรับคำของนางเปรตเสรินีแล้วกลับไปสู่
    หัตถินีนคร บอกแก่มารดาของนางว่า ข้าพเจ้าเห็นนางเสรินีธิดาของ
    ท่าน เขาตกทุกข์ เกิดในยมโลก เพราะได้ทำกรรมชั่วไว้ จึงไปจากโลกนี้
    สู่เปตโลก นางได้สั่งฉันในที่นั้นว่า ท่านไปถึงหัตถินีนครแล้ว จงบอก
    แก่มารดาของดิฉันด้วยว่า ธิดาของท่านเราเห็นแล้ว ตกทุกข์ เกิดอยู่
    ในยมโลก เพราะทำกรรมชั่วไว้จึงไปจากโลกนี้สู่เปตโลก ทรัพย์ของดิฉัน
    มีอยู่ ๔ แสน ดิฉันซ่อนไว้ภายในใต้เตียงไม่ได้บอกแก่ใครๆ ขอมารดา
    ของดิฉัน จงถือเอาทรัพย์จากที่ซ่อนนั้นมาให้ทานบ้าง เลี้ยงชีวิตบ้าง
    ครั้นให้ทานแล้ว ขอจงอุทิศส่วนบุญไปให้แก่ดิฉัน เมื่อนั้น ดิฉันจักมี
    ความสุขสำเร็จความประสงค์ทั้งปวง ก็มารดาของนางเปรตเสรินีนั้น ถือ
    เอาทรัพย์ที่นางเปรตเสรินีซ่อนไว้นั้นมาให้ทาน ครั้นแล้วอุทิศส่วนบุญ
    ไปให้นางเปรตเสรินี นางเปรตเสรินีเป็นผู้มีความสุข แม้มารดาของนาง
    ก็เป็นอยู่สบาย.
    จบ เสรินีเปตวัตถุที่ ๖
     
  7. วิมลเกียรติ์

    วิมลเกียรติ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    588
    ค่าพลัง:
    +2,123
    ๗. มิคลุททกเปตวัตถุที่ ๑ ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตพรานเนื้อที่ ๑

    พระนารทเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า
    [๑๑๗] ท่านเป็นคนหนุ่มแน่น ห้อมล้อมด้วยเทพบุตรและเทพธิดารุ่งเรืองอยู่ด้วย
    กามคุณ อันให้เกิดความกำหนัดยินดีในราตรี เสวยทุกข์ในกลางวัน
    ท่านได้ทำกรรมอะไรไว้ในชาติก่อน?
    เปรตนั้นตอบว่า
    เมื่อก่อน กระผมเป็นพรานเนื้อ อยู่ที่ภูเขาวงกตอันเป็นที่รื่นรมย์ ใกล้
    กรุงราชคฤห์ เป็นผู้มีฝ่ามือเปื้อนโลหิต เป็นคนหยาบช้าทารุณมีใจประ
    ทุษร้ายในสัตว์เป็นอันมาก ผู้ไม่กระทำความโกรธเคือง ยินดีแต่ในการ
    เบียดเบียนสัตว์อื่น เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยกาย วาจา ใจ เป็นนิตย์
    อุบาสกคนหนึ่งผู้เป็นสหายของกระผม เป็นคนใจดีมีศรัทธา ก็อุบาสก
    คนนั้น เป็นคนเอ็นดูกระผม ห้ามกระผมอยู่เนืองๆ ว่า อย่าทำบาปกรรม
    เลย พ่อเอ๋ย อย่าไปทุคติเลย ถ้าท่านปรารถนาความสุขในโลกหน้า
    จงงดเว้นการฆ่าสัตว์ อันเป็นการไม่สำรวมเสียเถิด กระผมฟังคำของ
    สหายผู้หวังดีมีความอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์นั้นแล้ว ไม่ทำตามคำ
    สั่งสอนทั้งสิ้น เพราะกระผมเป็นคนไม่มีปัญญา ยินดีแล้วในบาปตลอด
    กาลนาน สหายผู้มีปัญญาดีนั้น แนะนำกระผมให้ตั้งอยู่ในความสำรวม
    ด้วยความอนุเคราะห์ว่า ถ้าท่านฆ่าสัตว์ในกลางวันส่วนกลางคืนจงงดเว้น
    เสียกระผมจึงฆ่าสัตว์แต่เฉพาะกลางวัน กลางคืนเป็นผู้สำรวมงดเว้น
    เพราะฉะนั้นกลางคืนกระผมจึงได้รับความสุข กลางวันได้เสวยทุกข์ ถูก
    สุนัขรุมกัดกิน คือ กลางคืนได้เสวยทิพยสมบัติ ด้วยผลแห่งกุศลกรรม
    นั้น ส่วนกลางวันฝูงสุนัขมีจิตเดือดดาล พากันห้อมล้อมกัดกินกระผม
    รอบด้าน ก็ชนเหล่าใดผุ้มีความเพียรเนืองๆ บากบั่นมั่นในศาสนาของ
    พระสุคต กระผมเข้าใจว่าชนเหล่านั้นจักได้บรรลุอมตบทอันปัจจัยอะไรๆ
    ปรุงแต่งไม่ได้อย่างแน่นอน.
    จบ มิคลุททกเปตวัตถุที่ ๗​
     
  8. วิมลเกียรติ์

    วิมลเกียรติ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    588
    ค่าพลัง:
    +2,123
    ๘. มิคลุททกเปตวัตถุที่ ๒ ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตพรานเนื้อที่ ๒

    พระนารทเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า
    [๑๑๘] ท่านรื่นรมย์อยู่ในเรือนยอดและปราสาท บนบัลลังก์อันปูลาดด้วยผ้าขน
    สัตว์ ด้วยดนตรีเครื่อง ๕ อันบุคคลประโคมแล้ว ภายหลังเมื่อสิ้นราตรี
    พระอาทิตย์ขึ้นแล้ว ท่านเข้าไปเสวยทุกข์เป็นอันมากอยู่ในป่าช้า ท่านทำ
    กรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจหรือ เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร
    ท่านจึงได้เสวยทุกข์เช่นนี้?
    เปรตนั้นตอบว่า
    เมื่อก่อน กระผมเป็นพรานเนื้อ อยู่ที่ภูเขาวงกตอันเป็นที่รื่นรมย์ ใกล้
    กรุงราชคฤห์เป็นคนหยาบช้าทารุณ ไม่สำรวมกาย วาจา ใจ อุบาสก
    คนหนึ่งผู้เป็นสหายของกระผมเป็นคนใจดีมีศรัทธา มีภิกษุผู้คุ้นเคยของ
    เขาเป็นสาวกของพระโคดม ก็อุบาสกนั้นเอ็นดูกระผม ห้ามกระผม
    เนืองๆ ว่าอย่าทำบาปกรรมเลย พ่อเอ๋ย อย่าไปทุคติเลย ถ้าสหาย
    ปรารถนาความสุขในโลกหน้า จงงดเว้นการฆ่าสัตว์อันเป็นการไม่สำรวม
    เสียเถิด ... กระผมเข้าใจว่า ชนเหล่านั้นจักได้บรรลุอมตบทอันปัจจัย
    อะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้เป็นแน่.
    จบ มิคลุททกเปตวัตถุที่ ๘
     
  9. วิมลเกียรติ์

    วิมลเกียรติ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    588
    ค่าพลัง:
    +2,123
    ๙. กูฏวินิจฉยกเปตวัตถุ ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตผู้พิพากษาโกง

    พระนารทเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า
    [๑๑๙] ตัวท่านทัดทรงดอกไม้ ใส่ชฎา สวมกำไลทอง ลูบไล้ด้วยจุรณจันทร์
    มีสีหน้าผ่องใส งดงามดุจสีพระอาทิตย์อุทัยขึ้นมาบนอากาศ มีนางฟ้า
    หมื่นหนึ่งเป็นบริวารบำรุงบำเรอท่าน นางฟ้าเหล่านั้นล้วนสวมกำไลทอง
    นุ่งห่มผ้าอันขลิบด้วยทองคำ ท่านเป็นผู้มีอานุภาพมาก มีรูปเป็นที่ให้
    เกิดขนชูชันแก่ผู้พบเห็น แต่ท่านจิกเนื้อที่หลังของตนกินเป็นอาหาร
    ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ หรือเพราะวิบากแห่งกรรม
    อะไร ท่านจึงจิกเนื้อหลังของตนเองกินเป็นอาหาร?
    เปรตนั้นตอบว่า
    กระผมได้ประพฤติทุจริตด้วยการส่อเสียด พูดเท็จและหลอกลวง เพื่อ
    ความฉิบหายแก่ตนในมนุษยโลก กระผมไปแล้วสู่บริษัทในมนุษยโลกนั้น
    เมื่อเวลาควรจะพูดความจริงปรากฏแล้ว ละเหตุละผลเสีย ประพฤติ
    คล้อยตามอธรรม ผู้ใดประพฤติทุจริตมีคำส่อเสียดเป็นต้น ผู้นั้นต้อง
    จิกเนื้อหลังของตนกิน เหมือนกระผมจิกเนื้อหลังของตนกินในวันนี้
    ฉะนั้น ข้าแต่พระนารทะ ทุกข์ที่กระผมได้รับอยู่นี้ท่านได้เห็นเอง
    แล้ว ชนใดเป็นคนฉลาด มีความอนุเคราะห์ ชนเหล่านั้นพึงกล่าว
    ตักเตือนว่า ท่านอย่าพูดส่อเสียด อย่าพูดเท็จ อย่าเป็นผู้มีเนื้อหลัง
    ของตนเป็นอาหารเลย.
    จบ กูฏวินิจฉยกเปตวัตถุที่ ๙
     
  10. วิมลเกียรติ์

    วิมลเกียรติ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    588
    ค่าพลัง:
    +2,123
    ๑๐. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ ว่าด้วยบุพกรรมของธาตุวิวัณณเปรต

    พระมหากัสสปเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า
    [๑๒๐] ท่านยืนอยู่ในอากาศ มีกลิ่นเน่าเหม็นฟุ้งไปและหมู่หนอนพากันบ่อน
    ฟอนกินปาก อันมีกลิ่นเหม็นเน่าของท่าน เมื่อก่อนท่านทำกรรมอะไร
    ไว้ เพราะการฟุ้งไปแห่งกลิ่นเหม็นนั้นนายนิรยบาลถือเอาศาตรามาเฉือน
    ปากของท่านเนืองๆ รดท่านด้วยน้ำแสบแล้วเชื่อดเนื้อไปพลาง ท่านทำ
    กรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจหรือ เพราะวิบากแห่งกรรมอะไร
    ท่านจึงได้ประสบความทุกข์อย่างนี้?
    เปรตนั้นตอบว่า
    ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ เมื่อก่อน กระผมเป็นอิสรชนอยู่ที่ภูเขาวงกตอัน
    เป็นที่รื่นรมย์ ใกล้กรุงราชคฤห์ เป็นผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก
    มากมาย แต่กระผมได้ห้ามปรามภรรยาธิดา และลูกสะใภ้ของกระผม
    ซึ่งพากันนำพวงมาลาดอกอุบลและเครื่องลูบไล้อันหาค่ามิได้ ไปสู่สถูป
    เพื่อบูชา บาปนั้นกระผมได้ทำไว้แล้ว จึงได้เสวยทุกขเวทนาเห็นประจักษ์
    และจักหมกไหม้อยู่ในนรกอันหยาบช้าทารุณ ๘๖,๐๐๐ ปี เพราะติเตียน
    การบูชาพระสถูป ก็เมื่อการบูชาและการฉลองพระสถูปของพระอรหันต
    สัมมาสัมพุทธเจ้า อันมหาชนให้เป็นไปอยู่ ชนเหล่าใดมาประกาศโทษ
    แห่งการบูชาพระสถูปนั้น เหมือนกระผม ชนเหล่านั้นพึงห่างเหินจากบุญ
    ขอท่านจงดู ชนทั้งหลายซึ่งทัดทรงดอกไม้ตบแต่งร่างกายเหาะมาทาง
    อากาศเหล่านี้เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นผู้มั่งคั่งมียศเสวยอยู่ซึ่งวิบาก
    แห่งการบูชาด้วยดอกไม้ ชนทั้งหลายผู้มีปัญญา ได้เห็นผลอันน่าอัศจรรย์
    น่าขนพองสยองเกล้าอันไม่เคยมีนั้นแล้ว ย่อมทำการนอบน้อมวันทาพระ
    มหามุนีนั้น กระผมไปจากเปตโลกนี้แล้ว ได้กำเนิดเป็นมนุษย์จักเป็นผู้
    ไม่ประมาท ทำการบูชาพระสถูปเนืองๆ เป็นแน่แท้.
    จบ ธาตุวิวัณณเปตวัตถุที่ ๑๐
     
  11. วิมลเกียรติ์

    วิมลเกียรติ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    588
    ค่าพลัง:
    +2,123
    รวมเรื่องที่มีในวรรคนี้ คือ
    ๑. อภิชชมานเปตวัตถุ ๒. สานุวาสีเถรเปตวัตถุ ๓. รถการีเปตวัตถุ ๔. ภุสเปตวัตถุ
    ๕. กุมารเปตวัตถุ ๖. เสรินีเปตวัตถุ ๗. มิคลุททกเปตวัตถุที่ ๑ ๘. มิคลุททกเปตวัตถุที่ ๒
    ๙. กูฏวินิจฉยกเปตวัตถุ ๑๐. ธาตุวิวัณณเปตวัตถุ.
    จบ จูฬวรรคที่ ๓.
    ----------------​
     
  12. วิมลเกียรติ์

    วิมลเกียรติ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    588
    ค่าพลัง:
    +2,123
    มหาวรรคที่ ๔

    ๑. อัมพสักขรเปตวัตถุ ว่าด้วยพระเจ้าอัมพสักขระทรงสนทนากับเปรตเปลือย

    [๑๒๑] มีนครของชาววัชชีนครหนึ่งนามว่าเวสาลี ในนครเวสาลีนั้นมีกษัตริย์
    ลิจฉวีทรงพระนามว่าอัมพสักขระ ได้ทอดพระเนตรเห็นเปรตตนหนึ่ง
    ที่ภายนอกพระนคร มีพระประสงค์จะทรงทราบเหตุ จึงตรัสถามเปรต
    นั้นในที่นั้นนั่นเองว่า การนอน การนั่ง การเดินไปเดินมา การลิ้ม
    การดื่ม การเคี้ยว การนุ่งห่ม แม้หญิงบำเรอของบุคคลผู้ถูกเสียบไว้บน
    หลาวนี้ ย่อมไม่มี ชนเหล่าใดผู้เป็นญาติ เป็นมิตรสหาย เคยเห็น
    เคยฟังร่วมกันมา เคยมีความเอ็นดูกรุณา ของบุคคลใดมีอยู่ในกาลก่อน
    เดี๋ยวนี้ชนเหล่านั้นแม้จะเยี่ยมเยียนบุคคลนั้นก็ไม่ได้ บุรุษนี้มีตนอันญาติ
    เป็นต้นสละแล้ว มิตรสหายย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ตกยาก พวกมิตรสหาย
    ทราบว่าผู้ใดขาดแคลน ย่อมละทิ้งผู้นั้น และเห็นใครมั่งคั่งบริบูรณ์ก็พา
    กันไปห้อมล้อม คนที่มั่งคั่งด้วยสมบัติ ย่อมมีมิตรสหายมาก ส่วน
    บุคคลผู้เสื่อมจากทรัพย์สมบัติ เป็นผู้ฝืดเคืองด้วยโภคะ ย่อมหามิตร
    สหายยาก [นี้เป็นธรรมดาของโลก] บุรุษผู้ถูกหลาวเสียบนี้ มีร่างกาย
    เปื้อนด้วยเลือดตัวทะลุเป็นช่องๆ ชีวิตของบุรุษนี้จักดับไปในวันนี้พรุ่งนี้
    เหมือนหยาดน้ำค้างอันติดอยู่บนปลายหญ้า ฉะนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้
    เพราะเหตุไร ท่านจึงพูดกะบุรุษผู้ถึงความลำบากอย่างยิ่ง นอนหงายอยู่
    บนหลาวไม้สะเดาเช่นนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ขอท่านจงมีชีวิตอยู่เถิด การ
    ที่มีชีวิตอยู่เท่านั้นเป็นของประเสริฐ.
    เปรตนั้นกราบทูลว่า
    ข้าแต่พระราชา บุรุษนี้เป็นสายโลหิตของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ระลึกชาติ
    ก่อนข้าพระองค์เห็นแล้วมีความกรุณาแก่เขาว่าขออย่าให้บุรุษผู้เลวทรามนี้
    ไปตกนรกเลย ข้าแต่กษัตริย์ลิจฉวี บุรุษผู้ทำกรรมชั่วนี้ จุติจากอัตภาพนี้
    แล้ว จักเข้าถึงนรกอันยัดเยียดไปด้วยสัตว์ผู้ทำบาป เป็นสถานร้ายกาจ
    มีความเร่าร้อนมาก เผ็ดร้อนให้เกิดความน่ากลัว หลาวนี้ประเสริฐกว่า
    นรกนั้นตั้งหลายพันเท่า ขออย่าให้บุรุษนี้ไปตกนรกอันมีแต่ความทุกข์
    โดยส่วนเดียว เผ็ดร้อน ให้เกิดความน่ากลัวมีความทุกข์กล้าแข็งอย่าง
    เดียว บุรุษนี้ฟังคำของข้าพระองค์อย่างนี้แล้ว ประหนึ่งว่าข้าพระองค์
    น้อมเข้าไปสู่ทุกข์ในนรกนั้น จะพึงสละชีวิตของตนเสีย เพราะฉะนั้น
    ข้าพระองค์จะไม่พูดในที่ใกล้เขา ด้วยหวังว่า ชีวิตของบุรุษนี้อย่าได้ดับ
    ไปเสียเพราะคำของข้าพระองค์เลย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงพูดว่า
    ขอท่านจงมีชีวิตอยู่เถิด การมีชีวิตอยู่เป็นของประเสริฐ.
    เมื่อเปรตแสดงความประสงค์ของตนอย่างนี้แล้ว พระราชาทรงขอโอกาสเพื่อจะ
    ตรัสถามความเป็นไปของนางเปรตนั้นอีก จึงได้ตรัสพระคาถานี้ความว่า
    เรื่องของบุรุษนี้เรารู้แล้ว แต่เราปรารถนาจะถามท่านถึงเรื่องอื่น ถ้าท่าน
    ให้โอกาสแก่เรา เราจะขอถามท่าน และท่านไม่ควรโกรธเรา.
    เปรตนั้นกราบทูลว่า
    ข้าพระองค์ได้ให้ปฏิญาณไว้ในกาลนั้นแน่นอนแล้ว การไม่บอกย่อมมีแก่
    ผู้ไม่เลื่อมใส บัดนี้ข้าพระองค์มีวาจาที่ควรเชื่อถือได้ แม้โดยพระองค์
    จะไม่ทรงเลื่อมใส เพราะเหตุนั้น ขอเชิญพระองค์ตรัสถามข้าพระองค์
    ตามพระประสงค์เถิด ข้าพระองค์จะกราบทูลตามที่สามารถจะกราบทูล
    ได้.
    เมื่อเปรตให้โอกาสเช่นนั้นแล้ว พระเจ้าอัมพสักขระจึงตรัสถามว่า เราเห็น
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยจักษุ เราควรเชื่อสิ่งนั้นแม้ทั้งสิ้น ถ้าเราเห็นสิ่งนั้น
    แล้วไม่เชื่อ ก็ขอให้ลงโทษถอดยศเราเถิดท่าน.
    เปรตนั้นทูลว่า
    ขอสัจจปฏิญาณของพระองค์นี้จงมีแก่ข้าพระองค์ พระองค์ได้ทรงฟังธรรม
    ที่ข้าพระองค์กล่าวแล้ว จงทรงได้ความเลื่อมใส ข้าพระองค์มีความ
    ต้องการอย่างอื่น ไม่ได้มีจิตประทุษร้ายข้าพระองค์จะกราบทูลธรรมทั้งหมด
    ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้วบ้าง หรือไม่สดับแล้วบ้าง แก่พระองค์ ตามที่
    ข้าพระองค์รู้.
    พระเจ้าอัมพสักขระตรัสว่า
    ท่านขี่ม้าขาวอันประดับประดาแล้ว เข้าไปยังสำนักของบุรุษที่ถูกเสียบ
    หลาว ม้าขาวตัวนี้เป็นม้าน่าอัศจรรย์ น่าดูน่าชม นี้เป็นผลแห่งกรรม
    อะไร?
    เปรตนั้นกราบทูลว่า
    ที่กลางเมืองเวสาลีนั้น มีหลุมที่หนทางลื่น ข้าพระองค์มีจิตเลื่อมใส
    เอาศีรษะโคศีรษะหนึ่งวางทอดที่หลุมให้เป็นสะพาน ข้าพระองค์และ
    บุคคลอื่นเหยียบบนศีรษะโคนั้นเดินไปได้สะดวก ม้านี้เป็นม้าน่าอัศจรรย์
    น่าดูน่าชม นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้น.
    พระเจ้าอัมพสักขระตรัสถามว่า
    ท่านมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ และมีกลิ่นหอมฟุ้งไป ท่านได้สำเร็จฤทธิ์
    แห่งเทวดาเป็นผู้มีอานุภาพมาก แต่ท่านเปลือยกาย นี้เป็นผลแห่งกรรม
    อะไร?
    เปรตนั้นกราบทูลว่า
    เมื่อก่อน ข้าพระองค์เป็นคนมักโกรธ แต่มีใจเลื่อมใสเป็นนิตย์ พูดกับ
    คนทั้งหลายด้วยวาจาอ่อนหวาน ข้าพระองค์มีรัศมีทิพย์สว่างไสวอยู่เนือง
    นิตย์ นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้น ข้าพระองค์เห็นยศ และชื่อเสียงของบุคคล
    ผู้ตั้งอยู่ในธรรมมีจิตเลื่อมใสกล่าวสรรเสริญ ข้าพระองค์มีกลิ่นทิพย์หอม
    ฟุ้งไปเนืองนิตย์ นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้น เมื่อพวกสหายของข้าพระองค์
    อาบน้ำที่ท่าน้ำ ข้าพระองค์ลักเอาผ้าซ่อนไว้บนบกไม่มีความประสงค์จะ
    ลักขโมยและไม่มีจิตคิดประทุษร้าย เพราะกรรมนั้น ข้าพระองค์จึงเป็นคน
    เปลือยกายเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง.
    พระเจ้าอัมพสักขระตรัสถามว่า
    ผู้ใดทำบาปเล่นๆ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ผู้นั้นได้รับผลกรรมเช่นนี้
    ส่วนผู้ใดตั้งใจทำบาปจริงๆ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวผลกรรมของผู้นั้นว่า
    เป็นอย่างไร?
    เปรตนั้นกราบทูลว่า
    มนุษย์เหล่าใดมีความดำริชั่วร้าย เป็นผู้เศร้าหมองด้วยกายและวาจา เมื่อ
    ตายไป มนุษย์เหล่านั้นย่อมเข้าถึงนรกในสัมปรายภพโดยไม่ต้องสงสัย
    ส่วนชนเหล่าอื่นปรารถนาสุคติยินดียิ่งในทาน มีอัตภาพอันสงเคราะห์
    แล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติในสัมปรายภพโดยไม่ต้องสงสัย.
    เมื่อเปรตนั้น ชี้แจงจำแนกผลกรรมแต่โดยย่ออย่างนี้ พระราชาไม่ทรงเชื่อ จึง
    ตรัสถามเปรตนั้นว่า
    เราจะพึงรู้เรื่องนั้นได้อย่างไรว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่ว หรือ
    เราจะพึงเห็นอย่างไร จึงจะเชื่อถือได้ หรือแม้ใครจะพึงทำให้เราเชื่อถือ
    เรื่องนั้นได้?
    เปรตนั้นกราบทูลว่า
    พระองค์ได้ทรงเห็นแล้วและได้ทรงสดับมาแล้ว ก็จงทรงเชื่อเถิดว่า นี้
    เป็นผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่ว เมื่อมีกรรมดีและกรรมชั่วทั้งสอง
    ก็พึงมีสัตว์ไปสู่สุคติและทุคติ ถ้าสัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลกนี้ ไม่พึงทำ
    กรรมดีและกรรมชั่ว สัตว์ผู้ไปสู่สุคติ ทุคติ เลว และประณีต ก็ไม่มี
    ในมนุษยโลกนี้ แต่เพราะสัตว์ทั้งหลาย ในมนุษยโลกทำกรรมดีและ
    กรรมชั่วไว้ ฉะนั้น จึงไปสู่สุคติ ไปสู่ทุคติ เลวบ้าง ประณีตบ้าง
    นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าววิบากแห่งกรรมทั้งสองนั้นว่า เป็นที่ตั้งแห่งการ
    เสวยสุขและทุกข์ เทวดาย่อมพากันห้อมล้อมพวกชน ผู้ได้เสวยผล
    อันเป็นสุข คนพาลผู้ไม่เห็นบาปและบุญทั้งสอง ย่อมเดือดร้อน
    กรรมที่ข้าพระองค์เองทำไว้ในชาติก่อน ซึ่งจะเป็นเหตุให้ได้เครื่องนุ่งห่ม
    เป็นต้นในบัดนี้ มิได้มีแก่ข้าพระองค์ และบุคคลผู้ที่ให้ผ้านุ่งผ้าห่ม
    ที่นอนที่นั่งข้าวและน้ำ แก่สมณพราหมณ์ทั้งหลายแล้วพึงอุทิศส่วนบุญมา
    ให้ข้าพระองค์มิได้มี เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงเป็นคนเปลือยกาย
    มีความเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง.
    พระเจ้าอัมพสักขระตรัสถามว่า
    ดูกรยักษ์ เหตุอะไรๆ ที่จะให้ท่านได้เครื่องนุ่งห่มพึงมีอยู่หรือ ถ้าเหตุ
    ที่ควรเชื่อพอจะฟังเป็นเหตุได้มีอยู่ ขอท่านจงบอกเหตุนั้นแก่เรา?
    เปรตนั้นกราบทูลว่า
    ในเมืองเวสาลีนี้ มีภิกษุรูปหนึ่งนามว่ากัปปิตกะเป็นผู้ได้ฌานมีศีลบริสุทธิ์
    เป็นพระอรหันต์ผู้หลุดพ้น มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว สำรวมในพระ
    ปาติโมกข์ เยือกเย็น บรรลุผลอันสูงสุด มีวาจาสละสลวย รู้ความ
    ประสงค์ของผู้ขอ ว่าง่าย มีหน้าเบิกบาน เป็นผู้มาดีไปดี พูดจาโต้ตอบดี
    เป็นเนื้อนาบุญของโลก มีปกติอยู่ด้วยเมตตา เป็นทักขิไณยบุคคลของ
    เทวดาและมนุษย์ สงบระงับ กำจัดมิจฉาวิตกได้ ไม่มีทุกข์ ไม่มีตัณหา
    หลุดพ้นแล้ว ปราศจากลูกศร ไม่ถือเราถือเขา ไม่คดกายวาจาใจ
    ไม่มีอุปธิ สิ้นกิเลสเป็นเครื่องเนิ่นช้าทั้งปวง ได้บรรลุวิชชา ๓ มีความ
    รุ่งเรือง ไม่มีชื่อเสียงปรากฏเพราะความเป็นผู้มีคุณวิเศษอันปกปิดไว้
    แม้ใครๆ เห็นก็ไม่รู้ว่าเป็นคนดีในหมู่ชนชาววัชชี เขาพากันเรียกท่านว่า
    มุนี รู้กันว่าท่านเป็นผู้ประเสริฐ หนักแน่น ไม่หวั่นไหว มีธรรมอันดีงาม
    เที่ยวไปในโลก ถ้าพระองค์ทรงถวายผ้าคู่หนึ่งหรือสองคู่แก่ภิกษุนั้น
    แล้วทรงอุทิศส่วนกุศลให้ข้าพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงถวายแล้ว และ
    ท่านรับผ้านั้นแล้ว พระองค์ก็จะทรงเห็นข้าพระองค์นุ่งห่มผ้าเรียบร้อย.
    พระเจ้าอัมพสักขระตรัสถามว่า
    บัดนี้ สมณะนั้นอยู่ที่ประเทศไหน เราจักไปพบท่านที่ไหนใครจะพึง
    แก้ไขความสงสัยสนเท่ห์ อันเป็นเสี้ยนหนามแห่งความเห็นของเราได้
    ในวันนี้?
    เปรตนั้นกราบทูลว่า
    ท่านอยู่ที่เมืองกปินัจจนา มีหมู่เทวดาเป็นอันมากห้อมล้อม เป็นผู้มีนาม
    จริงแท้ และเป็นผู้ไม่ประมาท แสดงธรรมีกถาอยู่ในหมู่ของตน.
    พระเจ้าอัมพสักขระตรัสว่า
    เราจักไปแล้วจักทำตามที่ท่านสั่งนั้นเดี๋ยวนี้ จักให้สมณะนั้นนุ่งห่มผ้า
    ขอท่านจงดูคู่ผ้าเหล่านั้น อันสมณะนั้นรับประเคนแล้ว และเราจักคอย
    ดูท่านนุ่งห่มผ้าเป็นอันดี.
    เปรตนั้นกราบทูลว่า
    ขอรับประทานพระวโรกาส ขอพระองค์อย่าเสด็จเข้าไปหาบรรพชิตใน
    เวลาไม่ควร การเสด็จเข้าไปหาบรรพชิตในเวลาไม่ควรนี้ ไม่เป็นธรรม
    เนียมที่ดีของกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย ก็เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปหาในเวลา
    สมควร ก็จักทรงเห็นภิกษุนั้นนั่งอยู่ในที่สงัดในที่นั้นเอง.
    พระเจ้าลิจฉวีตรัสอย่างนั้นแล้ว ก็แวดล้อมด้วยหมู่ข้าราชบริพาร เสด็จ
    ไปในนครนั้น ครั้นเสด็จเข้าไปยังนครนั้นแล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังที่ประทับ
    ในนิเวสน์ของพระองค์ ทรงกระทำกิจของคฤหัสถ์ทั้งหลาย ทรงสรง
    สนาน และทรงดื่มน้ำแล้วได้เวลาอันควร จึงทรงเลือกผ้า ๘ คู่จากหีบ
    รับสั่งให้หมู่ข้าราชบริพารถือไป พระราชาครั้นเสด็จเข้าไปในประเทศนั้น
    แล้ว ได้ทอดพระเนตรเห็นสมณะรูปหนึ่งผู้มีจิตสงบระงับกลับจากที่โคจร
    เป็นผู้เยือกเย็นนั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามสมณะนั้นถึงความ
    เป็นผู้มีอาพาธน้อย การอยู่สำราญและตรัสบอกนามของพระองค์ให้
    ทรงทราบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โยมเป็นกษัตริย์ลิจฉวีอยู่ในเมืองเวสาลี
    ชาวลิจฉวีเรียกโยมว่าอัมพสักขระ ขอท่านจงรับผ้า ๘ คู่นี้ของดิฉัน
    โยมขอถวายท่าน โยมมาในที่นี้ด้วยความประสงค์เพียงเท่านี้ โยมมีความ
    ปลื้มใจนัก.
    พระเถระทูลถามว่า
    สมณพราหมณ์ทั้งหลาย พากันละเว้นพระราชนิเวสน์ของมหาบพิตรแต่ที่
    ไกลทีเดียว เพราะในพระราชนิเวสน์ของมหาบพิตร บาตรย่อมแตก
    แม้สังฆาฏิก็ถูกเขาฉีก เมื่อก่อนสมณะทั้งหลายมีศีรษะห้อยลง ตกลงไป
    จากเขียงเท้า มหาบพิตรได้เบียดเบียนบรรพชิตเช่นนี้ สมณะทั้งหลายเคย
    ถูกมหาบพิตรทำการเบียดเบียนแล้ว มหาบพิตรไม่เคยพระราชทานแม้แต่
    น้ำมันสักหยดหนึ่งเลย ไม่ตรัสบอกทางให้คนหลงทาง ชิงเอาไม้เท้า
    จากมือคนตาบอดเสียเอง มหาบพิตรเป็นคนตระหนี่ ไม่สำรวมเช่นนี้
    แต่บัดนี้ เพราะเหตุอะไร มหาบพิตรทรงเห็นผลอะไร จึงทรงจำแนกแจก
    จ่ายกับอาตมภาพทั้งหลายเล่า?
    พระราชาตรัสว่า
    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โยมขอรับผิด โยมได้เบียดเบียนสมณะทั้งหลาย ดังคำ
    ที่ท่านพูด ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โยมมีความประสงค์จะล้อเล่น ไม่ได้มีจิต
    ประทุษร้าย แต่กรรมอันชั่วช้านั้นโยมทำแล้ว เด็กหนุ่มเปลือยกาย มีโภคะ
    น้อย ได้สั่งสมบาปเพื่อจะล้อเล่น จึงต้องเสวยทุกข์ ก็ทุกข์อะไรเล่าที่
    เป็นทุกข์กว่าความเปลือยกาย ย่อมมีแก่เปรตนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
    โยมเห็นเหตุอันน่าสังเวชและเศร้าหมองนั้นแล้วจึงให้ทาน เพราะเหตุ
    นั้นเป็นปัจจัย ขอท่านจงรับผ้า ๘ คู่นี้ ทักษิณาที่โยมถวายนี้ จงสำเร็จผล
    แก่เปรตนั้น เพราะการให้ทาน นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
    สรรเสริญแล้วโดยมากแน่แท้.
    พระเถระทูลว่า
    อาตมภาพจะรับผ้า ๘ คู่ของมหาบพิตร ขอทักษิณาทานเหล่านี้ จงสำเร็จ
    ผลแก่เปรตนั้น ลำดับนั้น พระเจ้าลิจฉวีทรงชำระพระหัตถ์และพระบาท
    แล้ว ทรงถวายผ้า ๘ คู่แก่พระเถระ พอพระเถระรับประเคนผ้าเหล่านั้น
    แล้ว พระราชาทรงเห็นเปรตนุ่งห่มผ้าเรียบร้อย ลูบไล้ด้วยจรุณจันทน์
    แดง มีผิวพรรณเปล่งปลั่งประดับประดา นุ่งผ้าดี ขี่ม้าอาชาไนย มีบริวาร
    ห้อมล้อม สำเร็จมหิทธิฤทธิ์ของเทวดา ครั้นทรงเห็นเช่นนั้นแล้ว ทรง
    ปลื้มพระทัย เกิดปีติปราโมทย์ มีพระทัยร่าเริงเบิกบาน พระเจ้าลิจฉวี
    ได้ทรงเห็นกรรมและวิบากแห่งกรรม แจ้งประจักษ์ด้วยพระองค์เองแล้ว
    จึงเสด็จเข้าไปใกล้ แล้วตรัสกะเปรตนั้นว่า เราจักให้ทานแก่สมณ-
    พราหมณ์ทั้งหลาย เราควรให้ทานทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ ดูกรเปรตท่านมี
    อุปการะแก่เรามาก.
    เปรตนั้นกราบทูลว่า
    ข้าแต่กษัตริย์ลิจฉวี ก็พระองค์ได้พระราชทานเพื่อข้าพระองค์ส่วนหนึ่ง
    แต่การพระราชทานนั้นมิได้ไร้ผล ข้าพระองค์เป็นเทวดา จักทำความเป็น
    สหายกับพระองค์ผู้เป็นมนุษย์.
    พระราชาตรัสว่า
    ท่านเป็นคติ เป็นเผ่าพันธุ์ เป็นที่ยึดเหนี่ยว เป็นมิตร และเป็นเทวดา
    ของเรา ดูกรเปรต เราขอทำอัญชลีท่าน ปรารถนาเพื่อจะเห็นท่านแม้อีก
    เปรตกราบทูลว่า
    ถ้าพระองค์จักเป็นผู้ไม่มีศรัทธา มีความตระหนี่ มีจิตไม่เลื่อมใส
    พระองค์จักไม่ได้เห็นข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็จักไม่ได้เห็นไม่ได้
    เจรจากะพระองค์อีก ถ้าพระองค์จะทรงเคารพธรรม ทรงยินดีในการ
    บริจาคทาน ทรงสงเคราะห์ ทรงเป็นดังบ่อน้ำของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย
    ด้วยอาการอย่างนี้พระองค์ก็จักได้ทรงเห็นข้าพระองค์ และข้าพระองค์จัก
    ได้เห็น ได้เจรจากะพระองค์ ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยบุรุษนี้จากหลาว
    โดยเร็วเถิด เพราะการปล่อยบุรุษนี้ เราทั้งสองจักได้เป็นสหายกัน
    ข้าพระองค์เข้าใจว่า เราทั้งสองจักได้เป็นสหายกันและกัน เพราะเหตุ
    แห่งบุรุษถูกหลาวเสียบ ก็บุรุษถูกหลาวเสียบนี้ อันพระองค์ทรงรีบ
    ปล่อยแล้ว พึงเป็นผู้ประพฤติธรรมโดยเคารพ พึงพ้นจากนรกนั้นแน่นอน
    พึงพ้นจากกรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา พระองค์เสด็จเข้าไปหากัปปิตก-
    ภิกษุแล้ว ทรงจำแนกทานกับท่าน ในเวลาที่ควร จงเสด็จเข้าไปหาแล้ว
    ตรัสถามด้วยพระองค์เอง ท่านจักกราบทูลเนื้อความนั้นแก่พระองค์
    ก็พระองค์ทรงประสงค์บุญ มีจิตไม่ประทุษร้ายก็เชิญเสด็จเข้าไปหาภิกษุ
    นั้นเถิด ท่านจักแสดงธรรมทั้งปวงที่ทรงสดับแล้ว และยังไม่ได้ทรงสดับ
    แก่พระองค์ ตามความรู้เห็น พระองค์ได้ทรงฟังธรรมนั้นแล้วจักทรงเห็น
    สุคติ.
    พระเจ้ารหัส ทรงเจรจาทำความเป็นสหายกับเทวดานั้นแล้วเสด็จไป
    ส่วนเปรตนั้นได้กล่าวกะบริษัทแห่งกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย พร้อมกับบุตร
    ของตน ซึ่งนั่งประชุมกันอยู่ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอจงฟังคำอย่างหนึ่ง
    ของเรา เราจักเลือกพร จักได้ประโยชน์ บุรุษที่ถูกเสียบหลาว มีกรรม
    อันหยาบช้า มีอาชญาอันตั้งไว้แล้ว ถูกหลาวร้อยจะตายหรือไม่ตาย
    ประมาณ ๒๐ ราตรีเท่านี้ เดี๋ยวนี้ เราจักปล่อยเขาตามความชอบใจของเรา
    ขอหมู่ท่านจงอนุญาต จงรีบปล่อยบุรุษนั้นและบุรุษอื่นที่พระราชารับสั่ง
    ให้ลงอาชญาโดยเร็วเถิด ใครพึงบอกท่านผู้ทำกรรมอย่างนั้น ท่านรู้อย่างไร
    จึงทำอย่างนั้น หมู่ท่านย่อมอนุญาตตามชอบใจ พระเจ้าลิจฉวีเสด็จเข้า
    ไปสู่ประเทศนั้นแล้ว รีบปล่อยบุรุษที่ถูกเสียบหลาวโดยเร็วและได้ตรัส
    กะบุรุษนั้นว่า อย่ากลัวเลยเพื่อนและรับสั่งให้หมอพยาบาล แล้วเสด็จ
    เข้าไปหากัปปิตกภิกษุ แล้วทรงถวายทานกับท่านในเวลาอันควร มีพระ
    ประสงค์จะทรงทราบเหตุ จึงเสด็จเข้าไปใกล้แล้วตรัสถามด้วยพระองค์
    เองว่า บุรุษผุ้ถูกเสียบหลาว มีกรรมอันหยาบช้า มีอาชญาอันตั้งไว้แล้ว
    ถูกหลาวร้อยจะตายหรือไม่ตายประมาณ ๒๐ ราตรีเท่านี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
    เดี๋ยวนี้ ดิฉันปล่อยเขาไปแล้ว เขาไปบอกเปรตนั้น เหตุอะไรๆ ที่จะ
    ไม่ต้องไปสู่นรกนั้น พึงมีหรือหนอ ถ้ามี ขอท่านโปรดบอกแก่ดิฉัน
    ดิฉันรอฟังเหตุที่ควรเชื่อถือจากท่าน.
    กัปปิตกภิกษุทูลว่า
    ความพินาศแห่งกรรมเหล่านั้นย่อมไม่มี ความพินาศในโลกนี้เกิดขึ้น
    เพราะความไม่รู้แจ้ง ถ้าเขาพึงเป็นผู้ไม่ประมาท ประพฤติธรรมทั้งหลาย
    โดยเคารพตลอดคืนและวัน เขาพึงพ้นจากนรกนั้นได้แน่ กรรมอันเว้น
    จากการให้ผลพึงมี.
    พระราชาตรัสว่า
    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ผู้มีปัญญากว้างขวาง ประโยชน์ของบุรุษผู้นี้ดิฉันรู้ทั่วถึง
    แล้ว บัดนี้ ขอท่านอนุเคราะห์ดิฉันบ้าง ขอท่านได้กล่าวตักเตือนพร่ำสอน
    ดิฉัน โดยวิธีที่ดิฉันจะไม่พึงไปสู่นรกด้วยเถิด.
    กัปปิตกภิกษุทูลว่า
    วันนี้ ขอมหาบพิตรทรงมีพระทัยเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและ
    สงฆ์ เป็นสรณะ จงทรงสิกขาบท ๕ อย่าให้ขาดและด่างพร้อย จงทรง
    งดเว้นจาการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ทรงยินดีด้วยพระมเหสีของพระองค์
    ไม่ทรงพูดเท็จ ไม่ทรงดื่มน้ำจัณฑ์ และทรงสมาทานอุโบสถศีลอันประ-
    กอบด้วยองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร จงทรง
    พระราชทานจีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง คิลานปัจจัย ข้าว น้ำ ของกิน
    ของเคี้ยว ผ้า เสนาสนะ ในภิกษุผู้มีจิตซื่อตรงทั้งหลาย บุญย่อมเจริญ
    ทุกเมื่อ ทรงอังคาสภิกษุทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจากราคะ เป็น
    พหูสูต ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ บุญย่อมเพิ่มพูนทุกเมื่อ เมื่อบุคคล
    เป็นผู้ไม่ประมาท ประพฤติธรรมโดยเคารพตลอดคืนและวันอย่างนี้
    พึงพ้นจากนรกนั้น กรรมที่เว้นจากการให้ผลพึงมี.
    พระราชาตรัสว่า
    วันนี้ ดิฉันมีจิตเลื่อมใส ขอถึงพระพุทธเจ้าพระธรรมและพระสงฆ์
    ว่าเป็นสรณะ ขอสมาทานสิกขาบท ๕ ไม่ให้ขาดและด่างพร้อย ของด
    เว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ยินดีด้วยภรรยาของตน ไม่กล่าวเท็จ
    ไม่ดื่มน้ำเมา และจักสมาทานอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
    อันประเสริฐ เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร จักถวายจีวร บิณฑบาต ที่นอน
    ที่นั่ง คิลานปัจจัย ข้าว น้ำ ของกิน ของเคี้ยว ผ้า และเสนาสนะ
    แก่ภิกษุทั้งหลายผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจากราคะ เป็นพหูสูต จักไม่
    กำหนัด ยินดีแล้วในศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
    พระเจ้าลิจฉวีทรงพระนามว่าอัมพสักขระ ได้เป็นอุบาสกคนหนึ่งในเมือง
    เวสาลี ทรงมีศรัทธามีพระหฤทัยอ่อนโยนทรงทำอุปการะแก่ภิกษุ ทรงบำรุง
    สงฆ์โดยความเคารพ ในกาลนั้นบุรุษผู้ถูกเสียบหลาว หายโรค เป็นสุข
    สบายดี ได้เข้าถึงบรรพชา แม้ชนทั้งสองอาศัยกัปปีตกภิกษุผู้ประเสริฐ
    ได้บรรลุสามัญผล การคบหาสัปบุรุษเช่นนี้ย่อมมีผลมากตั้งร้อยแก่วิญญูชน
    ผู้รู้แจ้ง บุรุษผู้ถูกเสียบหลาวได้บรรลุผลอันยอดเยี่ยม ส่วนพระเจ้า
    อัมพสักขระได้บรรลุโสดาปัตติผล.
    จบอัมพสักขรเปตวัตถุที่ ๑
     
  13. วิมลเกียรติ์

    วิมลเกียรติ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    588
    ค่าพลัง:
    +2,123
    ๒. เสริสสกเปตวัตถุ

    [๑๒๒] ขอท่านทั้งหลายจงฟังคำเจรจาของเทวดา และพวกพ่อค้า ฯลฯ
    (พึงดูในเรื่องที่ ๑๐ แห่งสุนิกขิตตวรรคที่ ๗ ในวิมานวัตถุ)
    จบ เสริสสกเปตวัตถุที่ ๒
     
  14. วิมลเกียรติ์

    วิมลเกียรติ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    588
    ค่าพลัง:
    +2,123
    ๓. นันทิกาเปตวัตถุ ว่าด้วยบุพกรรมของนางนันทิกาเปรต

    [๑๒๓] มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าปิงคละเป็นใหญ่ในสุรัฏฐประเทศ
    เสด็จไปเฝ้าเจ้าพระโมริยะแล้ว กลับมาสู่สุรัฏฐประเทศ เสด็จมาถึงที่มี
    เปือกตม ในเวลาเที่ยงซึ่งเป็นเวลาร้อนทอดพระเนตรเห็นทางอันรื่นรมย์
    เป็นทางที่เปรตเนรมิตไว้ จึงตรัสบอกนายสารถีว่า ทางนี้น่ารื่นรมย์ เป็น
    ทางปลอดภัย มีความสวัสดี ไม่มีอุปัทวันตราย ดูกรนายสารถี ท่านจง
    ตรงไปทางนี้แหละ เมื่อเราไปโดยทางนี้ จักถึงเขตเมืองสุรัฏฐะเร็วทีเดียว
    พระเจ้าสุรัฏฐะได้เสด็จไปโดยทางนั้น พร้อมด้วยจตุรงคเสนา บุรุษคน
    หนึ่งสะดุ้งตกใจกลัวได้กราบทูลพระเจ้าสุรัฏฐ์ว่า พวกเราเดินทางผิด
    เป็นทางน่ากลัวขนพองสยองเกล้า เพราะทางปรากฏเฉพาะข้างหน้า
    แต่ข้างหลังไม่ปรากฏ พวกเราเดินทางผิดเสียแล้ว พวกเราเห็นจะเดิน
    มาใกล้สำนักพวกอมนุษย์ กลิ่นอมนุษย์ฟุ้งไป ข้าพระองค์ได้ยินเสียงอัน
    พิลึกน่าสะพึงกลัว พระเจ้าสุรัฏฐ์ทรงสะดุ้งพระทัย ตรัสกะนายสารถีว่า
    พวกเราเดินทางผิดเสียแล้ว เป็นทางน่ากลัวขนพองสยองเกล้า เพราะทาง
    ปรากฏเฉพาะข้างหน้า แต่ข้างหลังไม่ปรากฏ พวกเราเดินทางผิด พวก
    เราเห็นจะเดินมาใกล้สำนักพวกอมนุษย์ กลิ่นอมนุษย์ย่อมฟุ้งไป เราได้
    ยินเสียงอันน่าสะพึงกลัว แล้วเสด็จขึ้นสู่คอช้าง ทอดพระเนตรไปใน
    ทิศทั้ง ๔ ได้ทรงเห็นต้นไทรต้นหนึ่ง มีร่มเงาชิดสนิทดี เขียวชอุ่มดุจสี
    เมฆมีสีและสัณฐานคล้ายเมฆรับสั่งกะนายสารถีว่า ป่าใหญ่เขียวชอุ่มดุจ
    สีเมฆ มีสีและสัณฐาณคล้ายเมฆปรากฏอยู่นั่นใช่ไหม?
    นายสารถีกราบทูลว่า
    ข้าแต่พระมหาราชา นั่นเป็นต้นไทร มีร่มเงาชิดสนิทดี เขียวชอุ่ม มีสีและ
    สัณฐานคล้ายเมฆ.
    พระเจ้าสุรัฏฐเสด็จเข้าไปจนถึงต้นไทรใหญ่ที่ปรากฏอยู่ แล้วเสด็จลง
    จากคอช้าง เสด็จเข้าไปสู่ต้นไทร ประทับนั่งที่โคนต้น พร้อมด้วยหมู่
    อำมาตย์ราชบริพาร ได้ทอดพระเนตรเห็นขันน้ำมีน้ำเต็ม และขนมอัน
    หวานอร่อย บุรุษมีเพศดังเทวดา ประดับด้วยสรรพาภรณ์ เข้าไปเฝ้า
    พระเจ้าสุรัฏฐแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา พระองค์เสด็จมา
    ดีแล้วและพระองค์ไม่ได้เสด็จมาร้าย ข้าแต่พระองค์ผู้กำจัดศัตรู เชิญ
    พระองค์เสวยน้ำและขนมเถิด พระเจ้าข้า.
    พระเจ้าสุรัฏฐพร้อมด้วยอำมาตย์และข้าราชบริพาร พากันดื่มน้ำและกิน
    ขนมแล้ว จึงถามว่า ท่านเป็นเทวดา เป็นคนธรรพ์ หรือเป็นท้าว
    สักกปุรินททะ พวกเราไม่รู้จักท่าน จึงถามว่า พวกเราพึงรู้จักท่าน
    อย่างไร?
    นันทิกาเปรตกราบทูลว่า
    ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองค์ไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าว
    สักกปุรินททะ ข้าพระองค์เป็นเปรต จากประเทศสุรัฏฐ์มาอยู่ที่นี้.
    พระราชาตรัสถามว่า
    เมื่อก่อน ท่านอยู่ในประเทศสุรัฏฐ์ มีปกติอย่างไร มีความประพฤติ
    อย่างไร ท่านมีอานุภาพอย่างนี้ เพราะพรหมจรรย์อะไร?
    นันทิกาเปรตตอบว่า
    ข้าแต่พระมหาราชาผู้กำจัดหมู่ศัตรู ผู้ผดุงรัฐให้เจริญ ขอพระองค์อำมาตย์
    ราชบริพารและพราหมณ์ปุโรหิต จงสดับฟัง ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ
    เมื่อก่อน ข้าแต่พระองค์เป็นบุรุษอยู่ในเมืองสุรัฏฐ์ เป็นคนใจบาป เป็น
    มิจฉาทิฏฐิ เป็นคนทุศีลตระหนี่ บริภาษสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ห้าม
    ปรามมหาชน ซึ่งพากันทำบุญให้ทาน ทำอันตรายแก่หมู่ชนเหล่าอื่นผู้กำลัง
    ให้ทานได้ห้ามว่า ผลแห่งทานไม่มีผล ผลแห่งการสำรวม จักมีแต่ที่ไหน
    ใครๆ ผู้ชื่อว่า เป็นอาจารย์ไม่มี ใครจักฝึกฝนบุคคลผู้ไม่เคยฝึกฝนแล้วเล่า
    สัตว์ทั้งหลายเป็นสัตว์เสมอกันทั้งสิ้น การเคารพอ่อนน้อมต่อผู้เจริญใน
    ตระกูล จักมีแต่ที่ไหน กำลังหรือความเพียรไม่มี ความพากเพียรของบุรุษ
    จักมีแต่ที่ไหน ผลทานไม่มี ทานและศีลไม่ทำบุคคลผู้มีเวรให้หมดจดได้
    สัตว์ย่อมได้ของที่ควรได้ สัตว์เมื่อจะได้สุขหรือทุกข์ ย่อมได้สุขหรือทุกข์
    อันเกิดแต่ที่น้อมมาเอง มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย ไม่มี โลกอื่น
    จากโลกนี้ ก็ไม่มี ทานอันบุคคลให้แล้วย่อมไม่มีผล พลีกรรมไม่มีผล
    แม้ทานอันบุคคลตั้งไว้ดีแล้วก็ไม่มีผล บุรุษใดฆ่าบุรุษอื่นและตัดศีรษะ
    บุรุษอื่น จะจัดว่าบุรุษนั้นทำลายชีวิตของผู้อื่นหาไม่ได้ ไม่มีใครฆ่าใคร
    เป็นแต่ศาตราย่อมเข้าไปในระหว่างอันเป็นช่องกาย ๗ ช่องเท่านั้น ชีพ
    ของสัตว์ทั้งหลายไม่ขาดสูญ ไม่แตกทำลาย บางคราวมี ๘ เหลี่ยม
    บางคราวกลมเหมือนงบน้ำอ้อย บางคราวสูงตั้ง ๕๐๐ โยชน์ ใครเล่า
    สามารถตัดชีพให้ขาดได้ เหมือนหลอดด้ายอันบุคคลซัดไปแล้ว หลอด
    ด้ายนั้นอันด้ายพันอยู่ ย่อมกลิ้งไปได้ ฉันใด ชีพนั้นก็ฉันนั้น ย่อม
    แหวกหนีไปจากร่างได้ บุคคลผู้ออกจากบ้านนี้ไปเข้าบ้านอื่น ฉันใด
    ชีพนั้นก็ออกจากร่างนี้แล้วไปเข้าร่างอื่นฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลออกจาก
    เรือนหลังนี้แล้วไปเข้าเรือนหลังอื่น ฉันใด แม้ชีพนั้นก็ออกจากร่างนี้
    แล้วเข้าไปอาศัยร่างอื่นฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสิ้นกำหนด ๘ ล้าน ๔ แสน
    มหากัป สัตว์ทั้งหลายทั้งที่เป็นพาล ทั้งที่เป็นบัณฑิตจักยังสงสารให้สิ้น
    ไป แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เอง สุขทุกข์เหมือนตักตวงได้ด้วย
    ทะนานและกะเช้า พระชินเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงสุขทุกข์ทั้งปวง สัตว์นอกนี้
    ล้วนเป็นผู้ลุ่มหลง เมื่อชาติก่อน ข้าพระองค์มีความเห็นอย่างนี้จึงได้
    เป็นคนหลงถูกโมหะครอบงำ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ทุศีล ตระหนี่ บริภาษ
    สมณพราหมณ์ภายใน ๖ เดือน ข้าพระองค์จักทำกาลกิริยา จักตกไป
    นรกอันเผ็ดร้อน ร้ายกาจโดยส่วนเดียว นรกนั้นมี ๔ เหลี่ยม ๔ ประตู
    จำแนกออกเป็นส่วนๆ ล้อมด้วยกำแพงเหล็กครอบด้วยแผ่นเหล็ก พื้น
    นรกนั้นเป็นเหล็กแดงลุกเป็นเปลวเพลิงโชติช่วง แผ่ไปร้อยโยชน์โดย
    รอบตั้งอยู่ทุกเมื่อ ล่วงไปแสนปี ในกาลนั้นข้าพระองค์จึงจะได้ยินเสียง
    ในนรกนั้นว่า แน่ะเพื่อนยาก เมื่อพวกเราไหม้อยู่ในนรกนี้ กาล
    ประมาณแสนปีล่วงไปแล้ว ข้าแต่พระมหาราชา แสนโกฏิปีเป็นกำหนด
    อายุของสัตว์ผู้หมกไหม้อยู่ในนรก ชนทั้งหลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นคน
    ทุศีล ติเตียนพระอริยเจ้า ย่อมหมกไหม้อยู่ในนรกแสนโกฏิปี ข้าพระ-
    องค์จักเสวยทุกขเวทนาอยู่ในนรกนั้นตลอดกาลนาน นี้เป็นผลแห่ง
    กรรมชั่วของข้าพระองค์ เพราะฉะนั้นข้าพระองค์จึงเศร้าโศกนัก ข้าแต่
    พระมหาราชาผู้กำจัดศัตรู เป็นที่เจริญใจของชาวแว่นแคว้น ขอพระองค์
    จงทรงสดับคำของข้าพระองค์ ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์ ธิดาของ
    ข้าพระองค์ชื่ออุตตราทำแต่กรรมดี ยินดีแล้วในนิจศีลและอุโบสถศีล
    ยินดีในทานจำแนกแจกทาน รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความ
    ตระหนี่ มีปกติทำไม่ให้ขาดในสิกขา เป็นสะใภ้อยู่ในตระกูลอื่น
    เป็นอุบาสิกาของพระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงศิริ ข้าแต่พระมหา
    ราชา ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์ นางอุตตราได้เห็นภิกษุผู้สมบูรณ์
    ด้วยศีล เข้าไปบิณฑบาตในบ้าน มีจักษุอันทอดลงแล้ว มีสติคุ้มครอง
    ทวาร สำรวมดีแล้ว เที่ยวไปตามลำดับตรอก เข้าไปสู่บ้านนั้น นายได้
    ถวายน้ำขันหนึ่งและขนมมีรสหวานอร่อย แล้วอุทิศส่วนกุศลให้ข้าพระ
    องค์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอผลทานที่ดิฉันถวายนี้ จงพลันสำเร็จแก่
    บิดาของดิฉันที่ตายไปแล้วเถิด ในทันใดนั้น ผลแห่งทานก็บังเกิดมีแก่
    ข้าพระองค์ ข้าพระองค์มีความประสงค์สำเร็จได้ดังความปรารถนา บริโภค
    กามสุขเหมือนดังท้าวเวสสวรรณมหาราช ข้าแต่พระมหาราชาผู้กำจัดศัตรู
    เป็นที่เจริญใจของชาวแว่นแคว้น ขอพระองค์จงทรงสดับคำของข้าพระ-
    องค์ พระพุทธเจ้าบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เลิศกว่าโลกพร้อมทั้งเทวโลก
    ขอพระองค์พร้อมทั้งพระโอรสและพระอัครมเหสี จงถึงพระพุทธเจ้า
    พระองค์นั้นเป็นสรณะเถิด ชนทั้งหลายย่อมบรรลุอมตบทด้วยมรรคอัน
    ประกอบด้วยองค์ ๘ ขอพระองค์พร้อมด้วยพระโอรสและพระอัครมเหสี
    จงถึงมรรคมีองค์ ๘ และอมตบทเป็นสรณะเถิด พระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติ
    อยู่ในมรรค ๔ จำพวก และผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวกนี้เป็นพระสงฆ์
    ผู้ปฏิบัติซื่อตรง ประกอบด้วยปัญญาและศีล ขอพระองค์พร้อมทั้ง
    พระโอรสและพระอัครมเหสี จงถึงพระสงฆ์นั้นเป็นสรณะเถิด ขอพระ-
    องค์จงรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ทรงยินดีด้วยพระมเหสีของ
    พระองค์ ไม่ตรัสเท็จ ไม่ทรงดื่มน้ำจัณฑ์เถิด.
    พระราชาตรัสว่า
    ดูกรเทวดา ท่านเป็นผู้ปรารถนาความเจริญแก่เรา ปรารถนาเกื้อกูลเรา
    เราจะทำตามคำของท่าน ท่านเป็นอาจารย์ของเรา เราจักเข้าถึงพระพุทธ-
    เจ้า พระธรรมและพระสงฆ์อันยอดเยี่ยมกว่าเทวดาและมนุษย์ว่าเป็น
    สรณะ เราจะรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ จะยินดีด้วยพระมเหสี
    ของตน จะไม่พูดเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมา เราจะคลายความเห็นอันชั่วช้า
    เหมือนโปรยแกรบลอยไปในลมอันแรง เหมือนทิ้งหญ้าและใบไม้ลอย
    ไปในแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว จักเป็นผู้ยินดีแล้วในพระพุทธศาสนา
    พระเจ้าสุรัฏฐ์ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงงดความเห็นอันชั่วช้า ทรงนอบน้อม
    ต่อพระผู้มีพระภาค เสด็จขึ้นทรงรถพระที่นั่ง บ่ายพระพักตร์ไปทางทิศ
    ปราจีน กลับคืนสู่พระนคร.
    จบ นันทิกาเปตวัตถุที่ ๓
     
  15. วิมลเกียรติ์

    วิมลเกียรติ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    588
    ค่าพลัง:
    +2,123
    ๔. เรวดีเปตวัตถุ ว่าด้วยบุพกรรมของนางเรวดีเปรต

    [๑๒๔] บุรุษคนใช้ของพระยายมราช จะจับนางเรวดีโยนลงไปในอุสสทนรก
    จึงได้กล่าวว่า แน่ะแม่เรวดีผู้มีธรรมอันแสนจะชั่วช้า จงลุกขึ้น ฯลฯ
    (พึงดูในเรื่องที่ ๒ แห่งมหารถวรรคที่ ๕ ในวิมานวัตถุ).
    จบ เรวดีเปตวัตถุที่ ๔
     
  16. วิมลเกียรติ์

    วิมลเกียรติ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    588
    ค่าพลัง:
    +2,123
    ๕. อุจฉุเปตวัตถุ ว่าด้วยบุพกรรมของอุจฉุเปรต

    เปรตตนหนึ่งถามพระมหาโมคคัลลานเถระว่า
    [๑๒๕] ไร่อ้อยใหญ่นี้เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า เป็นผลบุญไม่น้อย แต่เดี๋ยวนี้
    ข้าพเจ้ากินอ้อยนั้นไม่ได้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรดบอก นี้เป็น
    ผลแห่งกรรมอะไร ข้าพเจ้าย่อมเดือดร้อนจะกัดกินพยายามตะเกียก
    ตะกายเพื่อจะบริโภคสักหน่อยก็ไม่สมหวัง กำลังก็สิ้นลง บ่นเพ้อนัก
    นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร อนึ่ง ข้าพเจ้าถูกความหิวและความกระหาย
    เบียดเบียน แล้วหมุนล้มไปที่แผ่นดิน กลิ้งเกลือกไปมา ดุจปลาดิ้นรน
    อยู่ในที่ร้อน เมื่อข้าพเจ้าร้องไห้อยู่สัตว์ทั้งหลายย่อมพากันมากินน้ำตา
    ของข้าพเจ้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรดบอก นี้เป็นผลแห่งกรรม
    อะไร ข้าพเจ้าเป็นผู้หิวกระหายลำบาก ดิ้นรนไปว่า ย่อมไม่ประสบ
    ความสุขที่น่ายินดี ข้าแต่ท่านผู้เจริญข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนั้นกะท่าน
    ข้าพเจ้าจะพึงบริโภคอ้อยได้อย่างไร?
    พระมหาโมคคัลลานเถระกล่าวว่า
    เมื่อชาติก่อน ท่านเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำกรรมไว้ด้วยตนเอง เราจะบอก
    เนื้อความนั้นกะท่าน ขอท่านจงฟังแล้วจำเนื้อความข้อนั้นไว้ ท่านเดิน
    กัดกินอ้อยไป และมีบุรุษคนหนึ่งเดินตามหลังท่านไป เขาหวังจะกิน
    อ้อย จึงบอกแก่ท่าน ท่านก็มิได้พูดอะไรๆ แก่เขา เขาจึงได้พูดวิงวอน
    ท่านผู้ไม่พูดตอบว่า ขอท่านพึงให้อ้อยเถิด ท่านได้ให้อ้อยแก่บุรุษนั้น
    โดยข้างหลัง นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้น เชิญท่านพึงไปถือเอาอ้อยข้างหลัง
    ซิ ครั้นถือเอาได้แล้ว จงกินให้อิ่มหนำเถิด เพราะเหตุนั้นแหละ ท่าน
    จักเป็นผู้เบิกบานร่าเริงบันเทิงใจ เปรตนั้นได้ไปถือเอาโดยข้างหลัง
    ครั้นแล้วจึงได้กินอ้อยนั้นจนอิ่มหนำ เพราะเหตุนั้นแล เปรตนั้นได้เป็น
    ผู้เบิกบานร่าเริงบันเทิงใจ.
    จบ อุจฉุเปตวัตถุ ๕
     
  17. วิมลเกียรติ์

    วิมลเกียรติ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    588
    ค่าพลัง:
    +2,123
    ๖. กุมารเปตวัตถุ ว่าด้วยบุพกรรมของกุมารเปรต

    [๑๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า มีพระกุมาร ๒ องค์เป็นพระราชโอรสอยู่ใน
    พระนครสาวัตถี ข้างประเทศหิมพานต์ พระราชกุมารทั้ง ๒ องค์นั้นเป็น
    ผู้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ทรงเพลิดเพลินด้วยอำนาจ
    ความยินดีในกาม ทรงติดอยู่ในความสุขปัจจุบัน ไม่ทรงเห็นสุขใน
    อนาคต ครั้นจุติจากความเป็นมนุษย์ไปจากโลกนี้สู่เปตโลกแล้ว เกิดเป็น
    เปรตไม่แสดงกายให้ปรากฏ ร้องประกาศกรรมชั่วของตนที่ได้กระทำไว้
    ในกาลก่อนว่า เมื่อพระทักขิไณยบุคคลมีอยู่เป็นอันมาก และไทยธรรม
    อันเขาเข้าไปตั้งไว้ก็มีอยู่ พวกเราไม่อาจทำบุญอันนำมาซึ่งความสุขต่อไป
    แม้เล็กน้อย และทำตนให้มีความสวัสดีได้ อะไรจะพึงลามกกว่ากามนั้น
    พวกเราจุติจากราชกุลแล้วไปบังเกิดในเปตวิสัย พรั่งพร้อมไปด้วยความ
    หิวและความกระหาย เมื่อก่อน เคยเป็นเจ้าของในที่ใดในโลก ย่อม
    ไม่ได้เป็นเจ้าของในที่นั้นอีก มนุษย์ทั้งหลายเจริญขึ้นแล้วเสื่อมลง ย่อม
    ตายเพราะความหิวและความกระหาย นรชนรู้โทษอันเกิดด้วยอำนาจ
    ความถือตัวว่าเป็นใหญ่อย่างนี้แล้ว ละความเมาในความเป็นใหญ่ได้แล้ว
    พึงไปสู่สวรรค์ นรชนผู้มีปัญญาเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสวรรค์.
    จบ กุมารเปตวัตถุที่ ๖
     
  18. วิมลเกียรติ์

    วิมลเกียรติ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    588
    ค่าพลัง:
    +2,123
    ๗. ราชปุตตเปตวัตถุ ว่าด้วยบุพกรรมเปรตราชบุตร

    [๑๒๗] ผลแห่งกรรมทั้งหลาย ที่พระราชโอรสทำไว้ในชาติก่อนพึงย่ำยีหัวใจ
    พระราชโอรสได้เสวยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่ารื่นรมย์
    ใจ และการฟ้อนรำขับร้อง ความยินดี ความสนุกสนานเป็นอันมาก
    เสด็จเที่ยวไปในสวนแล้วเข้าไปสู่เมืองราชคฤห์ ได้ทรงเห็นพระปัจเจก-
    พุทธเจ้านามว่าสุเนตตะ ผู้มีตนอันฝึกแล้วมีจิตตั้งมั่น มักน้อย สมบูรณ์
    ด้วยหิริ ยินดีในอาหารเฉพาะที่มีอยู่ในบาตร เสด็จลงจากคอช้างแล้ว
    ตรัสถามว่า ได้อะไรบ้าง พระผู้เป็นเจ้า แล้วทรงจับบาตรของพระปัจเจก-
    พุทธเจ้ายกขึ้นสูง แล้วทุ่มลงที่พื้นดินให้แตก ทรงพระสรวล หลีกไป
    หน่อยหนึ่งได้ตรัสกะพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้แลดูอยู่ด้วยอำนาจความกรุณา
    ว่า เราเป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากิตวัสสะ แน่ะภิกษุ ท่านจักทำอะไร
    เรา พระราชโอรสได้เสวยผลอันเผ็ดร้อนแห่งกรรมอันหยาบช้านั้นเพรียบ
    พร้อมแล้วในนรก พระราชโอรสผู้เป็นพาลทำบาปหยาบช้าไว้ จึงได้
    ประสบทุกข์อันกล้าแข็งอยู่ในนรก ๘๔,๐๐๐ ปี นอนหงายบ้าง นอน
    คว่ำบ้าง นอนตะแคงซ้ายบ้าง นอนตะแคงขวาบ้าง เท้าชี้ขึ้นข้างบนบ้าง
    หมกไหม้อยู่สิ้นกาลนาน ทำบาปหยาบช้าไว้ จึงได้ประสบทุกข์อันกล้า
    แข็งในนรกหลายหมื่นปีเป็นอันมาก บุคคลผู้มีการงานอันลามก พากัน
    ประทุษร้ายฤาษีผู้ไม่ประทุษร้ายต่อผู้ประทุษร้ายมีวัตรอันงาม ย่อมได้เสวย
    ทุกข์อันเผ็ดร้อนอย่างยิ่งเห็นปานนี้แล เปรตผู้เป็นพระราชบุตรเสวยทุกข์
    เป็นอันมากในนรกนั้นสิ้นปีเป็นอันมาก จุติจากนรกแล้วมาเกิดเป็นเปรต
    อดอยากอีก บุคคลรู้โทษอันเกิดเพราะอำนาจแห่งความมัวเมาในความ
    เป็นใหญ่อย่างนี้แล้ว พึงละความมัวเมาในความเป็นใหญ่เสีย แล้วพึง
    ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ควรอ่อนน้อม ผู้ใดมีความเคารพในพระพุทธเจ้า
    พระธรรมและพระสงฆ์ ผู้นั้นอันบุคคลพึงสรรเสริญในปัจจุบัน ผู้นั้น
    เป็นคนมีปัญญา เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสวรรค์.
    จบ ราชปุตตเปตวัตถุที่ ๗
     
  19. วิมลเกียรติ์

    วิมลเกียรติ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    588
    ค่าพลัง:
    +2,123
    ๘. คูถขาทิกเปตวัตถุที่ ๑ ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตกินคูถที่ ๑

    พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเปรตตนหนึ่งว่า
    [๑๒๘] ท่านเป็นใครหนอ โผล่ขึ้นจากหลุมคูถให้เราเห็นเช่นนี้ ท่านร้องครวญ
    ครางอื้ออึงไปทำไมเล่า ท่านมีการงานอันลามกเป็นแน่?
    เปรตนั้นตอบว่า
    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเปรตเสวยทุกข์เกิดในยมโลก เพราะได้
    ทำกรรมอันลามกไว้ จึงไปจากโลกนี้สู่เปตโลก.
    พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
    ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจหรือ เพราะผลแห่งกรรมอะไร
    ท่านจึงได้ประสบทุกข์เช่นนี้?
    เปรตนั้นตอบว่า
    ชาติก่อน มีภิกษุรูปหนึ่งเป็นเจ้าอาวาส อยู่ในอาวาสของข้าพเจ้า ท่านมี
    ปกติริษยา ตระหนี่ตระกูล มีใจกระด้าง มักด่าบริภาษ ได้ยกโทษ
    ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายที่เรือนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังคำของภิกษุนั้นแล้ว
    ได้ด่าพวกภิกษุทั้งหลาย เพราะผลแห่งกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงไปจากโลกนี้
    สู่เปตโลก.
    พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
    ภิกษุที่เข้าไปสู่ตระกูลของท่าน ไม่ใช่มิตรแท้เป็นมิตรเทียม เป็นคน
    ปัญญาทราม ทำลายขันธ์ละไปแล้ว ไปสู่คติไหนหนอ?
    เปรตนั้นตอบว่า
    ข้าพเจ้ายืนอยู่บนศีรษะของภิกษุผู้มีกรรมอันลามกนั้น กุลุปกภิกษุไปเกิด
    เป็นเปรตบริวารของข้าพเจ้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชนเหล่าอื่นถ่ายมูตรคูถ
    ลงในเว็จนี้ มูตรคูถนั้นเป็นอาหารของข้าพเจ้าและข้าพเจ้ากินมูตรคูถ
    นั้นแล้ว ถ่ายมูตรคูถสิ่งใดลงไป กุลุปกเปรตนั้นก็เลี้ยงชีพด้วยมูตรคูถนั้น.
    จบ คูถขาทิกเปตวัตถุที่ ๘
     
  20. วิมลเกียรติ์

    วิมลเกียรติ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    588
    ค่าพลัง:
    +2,123
    ๙. คูถขาทิกเปตวัตถุที่ ๒ ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตกินคูถที่ ๒

    พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเปรตตนหนึ่งว่า
    [๑๒๙] ท่านเป็นใครหนอ โผล่ขึ้นมาจากหลุมคูถให้เราเห็นเช่นนี้ ท่านมาร้อง
    ครวญครางอื้ออึงไปทำไมเล่า ท่านมีกรรมอันลามกเป็นแน่?
    นางเปรตนั้นตอบว่า
    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นนางเปรตได้เสวยทุกข์ เกิดในยมโลก เพราะ
    ได้กรรมชั่วไว้ จึงไปจากโลกนี้สู่เปตโลก.
    (เหมือนข้อ ๑๒๘)
    จบ คูถขาทิกเปตวัตถุที่ ๙​
     

แชร์หน้านี้

Loading...