พระโสดาบันกับพระอรหันต์นั้น เขาใช้เครื่องวัดอย่างไร?

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย แพร, 24 กันยายน 2005.

  1. แพร

    แพร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +79
    ผู้ถาม : กระผมอยากทราบว่า พระโสดาบันกับพระอรหันต์นั้น เขาใช้เครื่องวัดอย่างไรครับ?
    หลวงพ่อ : เขาใช้หลักกิโลเมตร เป็นเครื่องวัด...อ้าว! จริงๆ คือว่าการปฏิบัติให้เป็นพระอริยะ คือ ตั้งแต่พระโสดาบันถึงพระอรหันต์นี่นะ ถ้าถึงพระโสดาบัน มันยาว ๓ กิโลเมตร ถ้าถึงพระอรหันต์ก็ยาว ๑๐ กิโลเมตร เอ๊ะ! แย่ไหม คุณถามเครื่องวัดนี่ แต่ว่าเครื่องวัดในทีนี้ไม่ได้หมายความว่าจะเอาเชือกไปวัด หรือว่าเอาอะไรเข้าไปวัด ต้องวัดด้วย "คุณธรรมที่ละ" เครื่องวัดมีอย่างนี้ คือว่า พระโสดาบัน กับ พระสกิทาคามี จะต้องละความชั่ว ๓ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส สำหรับ สักกายทิฏฐิ พระโสดาบันกับพระสกิทาคามี จะมีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าเราเกิดมาเพื่อตาย จะไม่มีความประมาทในชีวิต จะคิดทำความดีอยู่เสมอ วิจิกิจฉา ไม่สงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยใช้ปัญญาพิจารณา และประการที่ ๓ มีศีล ๕ บริสุทธิ์ นี่เขาเรียกกันว่า "พระโสดาบัน" หรือ "พระสกิทาคามี" สำหรับ พระอรหันต์ ต้องละกิเลส ๑๐ ข้อ คือต่อไปอีก ๗ ข้อ ได้แก่ ละกามราคะ คือไม่ยินดีในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ ละปฏิฆะ คือ
    ไม่มีความโกรธ
    ไม่มีความพยาบาท
    ละรูปราคะ ไม่ติดอยู่ในรูปฌาน
    ละอรูปราคะ ไม่ติดอยู่ในอรูปฌาน
    ละมานะ ไม่ถือตัวถือตน
    ละอุทธัจจะ ไม่มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน
    ละอวิชชา ตัดความโง่ทิ้งไปให้หมด รวมเป็น ๑๐ อย่าง ถ้าตัดได้ทั้ง ๑๐ อย่างนี้เป็นพระอรหันต์ นี่เป็นเครื่องวัด

    ผู้ถาม : เรื่องพระอริยเจ้าก็มีอยู่นิด คือว่าการปรามาสพระอริยเจ้าด้วยเจตนาก็ตาม ไม่เจตนาก็ตาม โมโหด้วยความตั้งใจก็ตาม อยากเรียนถามว่า จะมีกรรมมากไหมครับ? หลวงพ่อ : ก็ลงนรก! ด้วยเจตนาก็ตาม ไม่ เจตนาก็ตาม ลงเหมือนกัน!

    ผู้ถาม : ไม่ต้องสอบสวนหรือครับ?
    หลวงพ่อ : ไม่ต้องสอบ สบาย...ก็ไม่ยากก็ไปขอขมาต่อพระพุทธเจ้าเสียซิ ถ้าไม่พบพระพุทธเจ้าก็พระพุทธรูป

    ผู้ถาม : ต้องไปพบพระพุทธรูปที่วัดท่าซุง หรือว่า...

    หลวงพ่อ : ไม่จำเป็น...ที่บ้านก็ได้ ให้นึกว่าท่านคือพระพุทธเจ้า เพราะพระอริยเจ้านี่ ขอขมาโดยตรงตัวไม่มีผล อย่างสมมุติยกทรงเป็น "โสดาตะบัน" ใช่ไหม

    ผู้ถาม : เดี๋ยวๆ ครับ ตามศัพท์พระไตรปิฎกเขาเรียก "โสดาบัน" ครับ

    หลวงพ่อ : ไอ้นี่มันหนักแน่น "โสดาตะบัน" นี่ขั้นเอกพิชีนะ เพราะตะบันจนกระทั่งแน่นปั๋งไม่คลายตัว สมมุติว่ายกทรงเป็นพระโสดาบัน เขาไปด่าไปว่าเข้านินทาเข้าก็บาป ใช่ไหม..ไปขอโทษโดยตรงกับยกทรงนี่ไม่มีผล ต้องขอโทษโดยตรงกับพระพุทธเจ้า เพราะว่าความเป็นพระโสดาบัน ไม่ใช่เกิดจากยกทรง เกิดจากพระพุทธเจ้าท่านสงเคราะห์

    ผู้ถาม : แล้วอย่างพระโสดาบันที่บวชเป็นพระ กับโสดาบันที่เป็นฆราวาส ถ้าเราปรามาสโทษจะเป็นอย่างไรครับ?

    หลวงพ่อ : ครือกัน..! ผู้ถาม : เพราะฉะนั้นพวกเราจำไว้นะ... ฆราวาสที่เป็นพระอริยเจ้ามีเยอะแยะ

    หลวงพ่อ : เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน พระโสดาบันไปตันแค่ศีล ๑. เคารพพระพุทธเจ้า ๒. เคารพพระธรรม ๓. เคารพพระอริยสงฆ์ ๔. มีศีล ๕ บริสุทธิ์ องค์พระโสดาบันมีแค่นี้...

    ผู้ถาม : อุ้ยตายแล้ว! หลวงพ่อนี่เทศน์ไม่เหมือนกับโทรทัศน์ เดี๋ยวนี้ยังออกอากาศปาวๆ อยู่นะครับ ว่าพระโสดาบัน ๑.สักกายทิฏฐิ ต้องตัดขันธ์ ๕ โดยเด็ดขาด

    หลวงพ่อ : เอาเลื่อยที่ไหนมาตัด เดี๋ยวก่อน พระโสดาบันถ้าตัดขันธ์ ๕ เด็ดขาด ลองคิดดู นางวิสาขา ท่านเป็นพระโสดาบันตั้งแต่อายุ ๗ ปี ขันธ์ ๕ นะคนเดียวนะ พออายุ ๑๖ ได้อีก ๕ ขันธ์ มีผัว! ต่อไปก็ลูกชาย ๑๐ คน มีผู้หญิง ๑๐ คน ลูกทั้งหมด ๒๐ คน ตัดหรือไม่ตัด ตัดหรือต่อ..พระโสดาบันกับสกิทาคามี สองอย่างยังแต่งงานได้ ไม่แต่งงานก็อนาคามีขึ้นไปเท่านั้นเอง ไอ้เทศน์อย่างนั้น ท่านเทศน์ถูกของท่าน แต่ไม่ถูกตามพระไตรปิฎก

    ผู้ถาม : อย่างนี้ฆราวาสที่จะเป็นพระโสดาบัน แค่ศีล ๕ ก็...

    หลวงพ่อ : แค่นั้นแหละ! เขาเรียก ...."สัตตักขัตตุง"

    ผู้ถาม : อย่างนี้เป็นฆราวาสก็ดีกว่าเป็นพระซิครับ? หลวงพ่อ : โอ้ย! ดีกว่าเยอะ..ความจริงแล้ว ฆราวาสถ้าพูดตามส่วน เขาได้เปรียบกว่าพระมาก ๑. เจี๊ยะไม่เลือกเวลา ประการที่ ๒ เข้าวิกได้

    ผู้ถาม : หลวงพ่อรู้ด้วยหรือครับ?

    หลวงพ่อ : อ้าว! เคยเป็นฆราวาสมาก่อนนี่ ประการที่ ๓ มีผัวมีเมียได้ ประการที่ ๔ หลับตื่นสายได้ พระตื่นสายไม่ได้ใช่ไหม..เช้ามืดต้องทำวัตรสวดมนต์ ต้องเจริญกรรมฐาน ถ้าพลาดหน่อยเดียวพระลงนรก สมมุติว่ามีปลาหนึ่งตัวนะ พระมีปลาหนึ่งตัว ฆราวาสมีปลา ๑๐๐ ตัว ตัวขนาดเดียวกัน พระฆ่าปลาหนึ่งตัว ฆราวาสฆ่าปลา ๑๐๐ ตัว พระโทษมากกว่า ก็เพราะว่าทรงศีล เป็นบุคคลที่ชาวบ้านเขาต้องบูชา นี่ละบาปมาก พระไม่ใช่เรื่องเล็กนะ...

    ผู้ถาม : โอ้ย! ไม่บวชดีกว่า

    หลวงพ่อ : ใช่! ยกทรงก็เคยเสียท่ามา ๑๘ ปีแล้วซิ

    ผู้ถาม : มีคนเขาถามผมมาอย่างนี้ครับหลวงพ่อ แต่ผมไม่รู้จะตอบเขาว่าอย่างไร เขาถามว่าท่าน (ขอสงวนนาม) เป็นพระอริยะหรือเปล่าครับ...?

    หลวงพ่อ : ก็ตอบไม่ยากนี่คุณ ให้ไปถามท่านเองซิ คนอื่นจะไปรู้เรื่องของตัวเองได้อย่างไรล่ะ มันเป็น ปัจจัตตัง แล้วพระอริยะองค์ไหนท่านจะบอกเป็นพระอริยะ ไม่มีพระอริยะองค์ไหนบอกตนเองว่าเป็นพระอริยะ และก็ไม่มีพระที่ไม่ใช่พระอริยะองค์ไหนที่ไม่บอกตัวเองว่าเป็นพระอริยะ ใช่ไหม..ไอ้คนมีสตางค์มากๆ ทำจ๋อง ไอ้คนไม่ค่อยจะพอค่าก๋วยเตี๋ยวละเบ่ง อันนี้ไปพยากรณ์ไม่ได้หรอก เราจะพยากรณ์เขาได้ยังไง เราไม่รู้จิตใจเขานี่ ใช่ไหม... พระอริยะน่ะเขาดูจริยาไม่ได้ พระอริยะนี่ถ้าดูที่จริยาภายนอกผิดหมด เพราะพระอริยนี่เป็นคนใจเปิด ถ้าเป็นพระอรหันต์เมื่อใดก็ดูเหมือนเด็กๆ ตอนเด็กๆ หรือก่อนบวชเป็นยังไงท่านจะใช้จริยานั้น เพราะเป็นพระไม่มีการผูกต่อไป จึงไม่มีมายา นิสัยเดิมๆ เป็นยังไงพระอริยะก็ใช้นิสัยนั้น ท่านปล่อยตามสบาย เพราะจิตท่านไม่มีอะไร... อย่าง พระสารีบุตร ท่านไปกับพระพุทธเจ้ากับพระสงฆ์ พอถึงลำราง พระองค์อื่นๆ ค่อยๆ ย่องไป พระสารีบุตรขัดเขมรโดดแพล้บ นั่นพระอัครสาวกเบื้องขวานะ ภายหลังมีพระถามพระพุทธเจ้าว่า "ทำไมพระอัครสาวกเบื้องขวาจึงขัดเขมรโดด?!?..." พระพุทธเจ้าบอก "อย่าไปว่าท่านเลย ลูกตถาคตไม่มีอะไรหรอก ก็มาจากลิง..." ทีนี้ที่คุณถามว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพระองค์นั้นองค์นี้เป็นพระอริยะ ถามคนอื่นมันจะถูกรึ ถ้าหากว่าคุณกินแกง แล้วถามคนอื่นว่า เค็มไหม?...เขาจะรู้ไหม?... เรื่องของความเป็นอริยะ เรื่องของฌานสมาบัติก็เหมือนกัน มันเป็นเรื่องของจิตใจ ในเมื่อท่านไม่บอก เราก็รู้ไม่ได้ ไอ้เรื่องที่จะรู้ได้ต้องเป็นเรื่องของ "สัพพัญญู" แปลว่ารู้ทั้งหมด รู้ทุกอย่าง ก็มีพระพุทธเจ้าองค์เดียว พระสาวกไม่มีสิทธิ์จะตอบ..

    ผู้ถาม : แล้วอย่างมีคนเขาถามว่า ควรจะไปไหว้พระองค์ไหนดี เราควรจะแนะนำเขาว่าอย่างไรครับ...?

    หลวงพ่อ : ก็ต้องเป็นไปตามศรัทธา... เขาศรัทธาที่ไหนไปที่นั่น ปล่อยให้เป็นเรื่องจิตใจของเขา ถ้าคุณไปขัดคอเขา ดีไม่ดีปากคอเยิน

    ผู้ถาม : ถ้าเขาถามถึงสำนักปฏิบัติ แล้วให้เลือกเล่าครับ...?

    หลวงพ่อ : เราก็เล่าเรื่องประวัติต่างๆ เท่าที่เราพอใจให้เลือกเอาจะเอาวัดไหน การปฏิบัตินี่ต้องเป็นไปตามภูมิเดิมหรือภูมิเก่า คือต้องเป็นไปตามสาย สายของใครของมัน และต้องบำเพ็ญบารมีร่วมกันมานับเป็นอสงไขยกัปนะ เขาถึงจะพอใจกัน ถ้าไม่งั้นมีอารมณ์สะกิดหน่อยเดียว เดี๋ยวก็สะดุด เพราะฉะนั้นให้เขาย่องๆ ไปดูก่อน เขาชอบที่ไหนก็เลือกที่นั่น อันนี้เป็นความจริงนะ อย่างคุณพอใจสำนักใด คุณไปชวนคนอื่น ถ้าคนอื่นเขาไม่มา คุณไปว่าเขาไม่ดีไม่ได้ เพราะพูดให้เขาฟังรู้เรื่องไม่ได้ คุณฟังอย่างนี้รู้เรื่องแต่เขาไม่รู้ แต่ถ้าเขาไปหาอีกองค์หนึ่งเขาจะพอใจมาก เพราะว่าเป็นสายเดียวกัน

    อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา บางครั้งเราอาจคิดว่า แหม..ไอ้หมอนี่ เดี๋ยวไปที่นี่ เดี๋ยวไปที่โน่น เดี๋ยวไปที่นั่น ที่เขายังต้องไปหลายจุด เพราะยังหาพวกไม่พบ ถ้าเขาหาพวกของเขาพบเมื่อไรก็จอด ดีไม่ดีบางคนไปหาพระไม่สบายใจไม่สนุก ไปเจอะเจ้าของเหล้า ร้องฮ้อ!...ใช้ได้...

    ผู้ถาม : ถ้ามีคนเขาบอกว่า หลวงพ่อเป็นอรหันต์ หลวงพ่อเป็นพระปฏิสัมภิทาญาณ อย่างนี้คนพูดจะบาปไหมคะ?

    หลวงพ่อ : จะบาปยังไงล่ะ เป็นเรื่องของเขา เขาคิดในแง่ดีไม่บาป เขาจะเข้าใจว่าเป็นสุกขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทาญาณ ไม่ใช่ของชั่วนี่ อารมณ์จิตเป็นกุศลต่างหาก ถ้ามาถามฉัน ฉันบอกเป็น "พระหลวงตา" เอาที่ไหนมาเป็นอรหันต์ หน้าก็ย่น ตาก็สั้น ไม่เป็นเรื่อง ถ้าหันซ้ายหันขวาล่ะก็ได้ อย่าไปคิดยังงั้นเลยนะ ถ้านึกอย่างนั้น ถ้าผิดเข้าลำบาก ที่ว่าลำบากน่ะ ไม่ใช่ตกนรกนะ เรานึกว่าเราพบพระสงฆ์เพื่อต้องการธรรมะดีกว่า คือว่าเราศึกษานี่เราศึกษาธรรมะตรงต่อพระพุทธเจ้า ไม่ใช่อาตมาเป็นพระพุทธเจ้านะ ในเมื่อเรานึกถึงธรรมะเมื่อใด ก็ได้ชื่อว่าเรานึกถึงพระพุทธเจ้าเมื่อนั้น ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะพระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ในวัน ปรินิพพานว่า "อานนท์! จะเสียใจไปทำไม เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว คำสอนหรือพระธรรมวินัยนี่แหละ จะเป็นศาสดาสอนเธอ..."

    ผู้ถาม : หลวงพ่อคะ คนที่ไม่เคยปฏิบัติธรรม แต่ว่ามีความรู้สึกเบื่อโลก อย่างนี้เป็นนิพพิทาญาณหรือเปล่าคะ?

    หลวงพ่อ : เบื่อนิพพิทาญาณหรือเบื่อหนัก หนี้หรือเบื่อกลุ้มใจนิพพิทาญาณเขาแปลว่า เบื่อ ญาณเขาแปลว่ารู้สึกเบื่อ เราก็ต้องดูว่า ถ้าเขาเบื่อโลกไม่หวังเกิดอีก ไม่หวังเป็นเทวดา หรือพรหม หวังนิพพาน นี่เป็นนิพพิทาญาณ ถ้าเบื่อเฉยๆ ไม่อยากอยู่ในโลกนี้ อันนี้เรียกมีจิตกังวล จิตเศร้าหมอง นิพพิทาญาณนี่เขาไม่ซึม

    ผู้ถาม : อย่างนี้จะแก้โดยการเจริญสมาธิได้ไหมคะ?

    หลวงพ่อ : จะไหวเรอะ ไม่ไหวนะ ใจเขาเป็นแบบนั้น ต้องใช้พระสูตรง่าย ๆ จะเป็นเทปพระสูตรหรือหนังสือพระ สูตรก็ได้ เอาของที่ยากไปก็ไม่ไหว ถ้าพระสูตร หรือชาดกก็ดี ตอนที่ท่านประชุมชาดกดีมาก

    ผู้ถาม : คนที่เขาเบื่อโลก เบื่อนรก สวรรค์ พรหม ถ้าเขาตายแล้วจะได้ไปนิพพานไหมคะ?

    หลวงพ่อ : ถ้าเบื่อก็ไปนิพพาน ถ้าเบื่อร่างกายอย่างเดียวก็ไปนิพพานได้ การเบื่อที่สำคัญที่สุดคือเบื่อร่างกายตนเองนะ เป็นการตัดสักกายทิฏฐิเด็ดขาด ผู้ถาม : หลวงพ่อเจ้าขา ลูกมีความเป็นอยู่ดีทุกอย่าง การเงินก็ดี ครอบครัวก็ดี อะไร ๆ ดีหมดทุกอย่าง แต่ทำไมหนอลูก มีความอยากตายอยู่ทุกขณะจิต ทุกขณะลม หายใจเข้าและออก ไม่ทราบว่าจะแก้ไขอย่างไรดี ขอหลวงพ่อได้โปรดชี้แนะเถิดเจ้าค่ะ

    หลวงพ่อ : ไอ้นั่นเป็นความดีนะ

    ผู้ถาม : อยากตายนี่เป็นความดีหรือครับ?

    หลวงพ่อ : ดี จะได้ไม่เปลืองข้าว อยากตายเหรอ?

    ผู้ถาม : ครับ อยากตาย คงจะเป็นพวกนิพพิทาญาณนะครับ

    หลวงพ่อ : ใช่ พวกนิพพิทาญาณ ถ้าหากไม่ยับยั้งมันอยากตาย อย่างกับพระ ๖๐ องค์ ท่านอยากตาย ท่านฆ่าตัวตายเอง ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงสอนว่า อันดับแรกให้กระจายออกแล้วรวมเข้า นั่นหมายความว่า พิจารณาร่างกายเป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบเข้ามาเป็นร่างกาย แล้วก็ไม่มีการทรง ตัว มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แก่ลงในท่ามกลาง แล้วก็สลายตัวไปในที่สุด เกิดเบื่อหน่าย ต่อไปรวมเข้าคือรักษาร่างกายไว้ก่อน ใช้ สังขารุเปกขาญาณ ในเมื่อชีวิตมันยังไม่ตาย ก็เป็นเรื่องของมัน แต่เราไม่ต้องการมันอีก ถ้ามันตาย ถ้าตายเมื่อไรขึ้นชื่อว่าร่างกายอย่างนี้ ไม่มีสำหรับเราอีก เราต้องการนิพพานอย่างเดียว ต้องรวมไว้ตอนนี้นะ ท่านยังไม่ได้รวมไว้กระจายอย่างเดียว พลาดท่าไปหน่อย

    ผู้ถาม : โดยปกติหนูต้องถวายอาหารรูปเหมือนหลวงพ่อเป็นประจำ บางครั้งต้องไปค้างที่อื่น จึงบอกกับรูปเหมือนหลวงพ่อว่า พรุ่งนี้ไม่อยู่นิมนต์หลวงพ่อไปฉัน ที่บ้านอื่นก่อนนะ ขอถามว่าที่หนูพูดอย่างนี้ จะผิดหรือเปล่าเจ้าคะ?

    หลวงพ่อ : มิน่าเล่าบางวันท้องกิ่วหิว ไม่ผิดล่ะ ถูก ก็มีอะไรผิดบ้าง ก็พูดตัวเอง ได้ยินฟังรู้เรื่องก็ถูกฃ

    ผู้ถาม : หลวงพ่อได้ยินหรือเปล่าไม่รู้?

    หลวงพ่อ : อ้าว...ไอ้นั่นไม่ใช่ทานนะ มันเป็นการบูชา คำว่าบูชาเป็นการยอมรับนับถือ ถวายข้าวกับพระพุทธรูปนี่ไม่ใช่ถวายทาน เป็นการบูชาพระพุทธรูปใช่ไหม ถวายข้าวต่อหน้ารูปพระสงฆ์ ก็เป็นการบูชาพระสงฆ์ บูชา นี่แปลว่า การยอมรับนับถือ เป็นความดีของเขาเป็นอนุสสติ ถ้าประเภทนี้ตายแล้วลงนรกยาก โอกาสลงนรกนี่ยากจริง ๆ เพราะว่าจิตไปจับทุกวันจิตเกาะอยู่ จิตต้องเกาะอยู่ ที่นี่เขาถือว่าเป็นฌาน ถวายข้าวพระพุทธรูปพอถึงเวลา เราจะให้อะไรนะ หาอะไรไปถวายใช่ไหม ถวายข้าวพระพุทธรูป พระสงฆ์ถึงเวลาเราจะถวาย จิตมันคิดเสมอ นึกถึงพระสงฆ์ที่เราจะถวาย เป็นสังฆานุสสติกรรมฐาน นึกถึงพระพุทธรูป เป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน และนึกไว้เป็นประจำ วันนี่ก็เป็นฌานด้วย นี่อย่างเลวที่สุดไปสวรรค์ชั้นสูง ไม่งั้นก็เป็นพรหมเลย ถ้าบังเอิญคนที่ถวายประเภทนั้นเขาเกิดไม่นิยมร่างกาย เมื่อใกล้จะตาย พอป่วยแล้วเจ็บโน่น ปวดนี่รำคาญ ขึ้นมา เอ๊ะ..นี่ร่างกายเลว ๆ อย่างนี้เราไม่ต้องการอีก ไปนิพพานทันทีเหมือนกัน นิพพานนี่ไปไม่ยาก ถ้าฉลาดนี่ไปไม่ยาก

    ผู้ถาม : แค่เบื่อร่างกายตัวเดียวหรือครับ?

    หลวงพ่อ : ก็เขาตัดตัวเดียวคือ สักกายทิฏฐิไง

    ผู้ถาม : อ๋อ...ไม่ต้องไปไล่ตัวอื่นหรือครับ?

    หลวงพ่อ : โอ้ย...ไปไล่นะซวย มันเหนื่อย การบรรลุมรรคผลน่ะเขาไม่ได้ไล่ตามลำดับหรอก พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า พระอริยเจ้านะมี ๔ อันดับ พระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์ ส่วนใหญ่จริงๆ ฟังเทศน์ พระพุทธเจ้าจบเดียวเป็นอรหันต์ทันทีเยอะแยะ เห็นไหมล่ะ ตามพระสูตรที่เรียนมานะ บางท่านก็ติด แหงแก๋แค่พระโสดาบัน อย่างพระอานนท์นี่ ล่อพระโสดาบันซะเกือบ ๔๐ ปี ปี้ดป๊าดทีเดียวไปเป็นปฏิสัมภิทาญาณเลย และเก่งมากด้วย ใช่ไหม ก็มีหลายท่านอยู่ปุ๊บปั๊บเป็นอรหันต์ กันเป็นแถวๆ อย่างลูกศิษย์ของพระสารีบุตร เป็นอรหันต์หมดใช่ไหม ก็เยอะแยะไป ไม่จำเป็นต้องบรรลุตามลำดับ ชื่อของพระอริยะ, ขั้นของพระอริยะมี ๔ ขั้นจริง แต่ไม่จำเป็นต้องบรรลุตามขั้น

    นี่การปฏิบัติพระกรรมฐานขอทุกคน ถ้าหวังตามขั้นก็โง่เต็มที นี่การปฏิบัติจริงเขาไม่หวังตาม ขั้นหรอก อันดับแรกสุด ถ้ากำลังเราไม่มั่นใจแน่นอนต้องยึดอารมณ์พระโสดาบันก่อน ถ้าได้ไอ้นี่แล้วก็จับพระอรหันต์ทันที

    ผู้ถาม : อ๋อ...ตีข้ามกระโดดไปเลย

    หลวงพ่อ : ไม่กระโดด นั่งเฉยๆ ตามแบบจริงๆ ท่านก็แนะนำแบบนั้น อย่างท่านพุทธโฆษาจารย์ ที่รจนาวิสุทธิมรรค ท่านก็บอกไว้ตรงว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2005

แชร์หน้านี้

Loading...