พระโสดาบันสุขวิปสโกแบบที่ 1

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย mahaasia, 10 มกราคม 2008.

  1. mahaasia

    mahaasia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    1,130
    ค่าพลัง:
    +4,971
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=right><OBJECT id=banner-new codeBase=http://active.macromedia.com/flash4/cabs/swflash.cab#version=4,0,0,0 height=30 width=180 classid=clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000>
























    <embed name="banner-new" src="banner-new.swf" quality="high"" width="70" height="15" type="application/x-shockwave-flash" pluginspage="http://www.macromedia.com/shockwave/download/index.cgi?P1_Prod_Version=ShockwaveFlash"> </embed></OBJECT></TD></TR></TBODY></TABLE></P><CENTER>พระโสดาบันสุกขวิปัสสโก ตอนที่ .. ๑</CENTER>
    [​IMG]ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย สำหรับคืนนี้ก็มาซักซ้อมกันเรื่องของ พระโสดาบัน ต่อไป คือ การที่จะปฏิบัติเข้าถึงความเป็นพระโสดาบันนั้น ก็ได้กล่าวมาแล้วว่า ถ้าหากว่าเป็นวิสัยของท่านพุทธจริต อันนี้เป็นของไม่ยาก เพราะเป็นความเข้าใจง่าย ๆ เป็นแต่เพียงบอกว่า
    ท่านจงมีความพอใจเคารพในพระพุทธเจ้า เคารพในพระธรรม เคารพในพระสงฆ์ด้วยเหตุผล ไม่ใช่สักแต่ว่าจะยอมรับนับถือด้วยอธิโมกขศรัทธา ใครเขาบอกว่าดีก็ดีตามเขา ไม่ได้ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา แบบนี้ใช้ไม่ได้
    แล้วเขาบอกว่าถ้าพระพุทธเจ้าดี ดียังไง เรามานั่งพิจารณาความดีของท่านดู มันดีจริงตามนั้นไหม ถ้าดีจริงตามนั้น เราก็ยอมรับนับถือ สำหรับพระธรรม สำหรับพระสงฆ์ ศีล ก็เช่นเดียวกัน ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
    สำหรับท่านที่มีพุทธจริต จิตประกอบไปด้วยคาวมเฉลียวฉลาด ท่านผู้นี้ไม่ต้องอธิบายมาก นี่สำหรับท่านที่มีจริตอื่น เราก็ต้องคุยกันมากสักหน่อย แต่ว่าทั้งนี้ไม่ได้โทษว่าท่านทั้งหลายจะเป็นคนโง่ ความจริงถ้าหากว่าท่านทั้งหลายโง่จริง ๆ ท่านก็ไม่ยอมเข้ามาปฏิบัติพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความจริงพวกท่านก็เป็นคนฉลาดอยู่แล้ว แต่ทว่าอาจจะฉลาดไม่ละเอียดพอก็ได้ ที่ต้องพูดมากอย่างนี้ก็กันเข้าไว้ ไม่ใช่แต่คิดว่าพอพูดให้ฟัง ท่านทั้งหลายไม่เข้าใจ ที่พูดอย่างนี้เป็นแต่เพียงกันไว้เผื่อว่า ท่านจะไม่เข้าใจ
    แต่ว่าท่านทั้งหลายผู้รับฟังเข้าใจกันแล้ว ก็ต้องขออภัยด้วย คิดว่าเป็นการช่วยสงเคราะห์บุคคลที่ยังไม่เข้าใจ ต่อนี้มาในด้านการปฏิบัติถึงความดีของจิต เพื่อจะเข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน ก็มีจุดหนึ่งที่เรียกว่า มรรค ๘
    มรรค แปลว่า หนทาง
    มรรค ท่านบอกว่ามีองค์ ๘ คือ องค์เป็นเครื่องตรัสรู้เข้าถึงความดี หรือ ทางที่เป็นการเข้าถึงความดี มี ๘ อย่าง ได้แก่
    ๑. สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นชอบ คำว่า เห็นชอบ ในที่นี้เรียกว่าเห็นอริยสัจ ๔ ได้แก่ เห็นว่าการเกิดมันเป็นทุกข์ แล้วสิ่งที่จะทำให้เราเป็นทุกข์ ก็ได้แก่
    ตัณหา คือ ความทะยานอยาก
    ถ้าเราจะดับทุกข์เสียได้ เราก็ต้องดับตัณหา เมื่อดับทุกข์ได้แล้ว กิริยาที่จะพึงเข้าดับทุกข์ให้ได้ ก็ได้แก่ มรรค ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่ท่านว่าไว้อย่างนี้ รู้สึกว่าจะสูงเกินไปสำหรับท่านที่ปฏิบัติเพื่อพระโสดาปัตติมรรค และ โสดาปัตติผล
    สำหรับพระโสดาบันปัตติผล ผมมีความเข้าใจว่า สัมมาทิฏฐิตัวนี้จะเป็นปัญญา ที่เรียกว่าปัญญาเห็นชอบ ก็หมายความว่า ใชัปัญญาพิจารณาคุณพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการ พิจารณาความดีของพระพุทธเจ้า พิจารณาความดีของพระธรรม พิจารณาความดีของพระอริยสงฆ์ว่าท่านดีจริงไหม แล้วก็มาพิจารณาคำสอนตอนหนึ่งที่เรียกกันว่า สักกายทิฏฐิ ที่พระโสดาบันเข้าถึงจุดก่อน
    แล้วก็นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ คิดไว้ว่าที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า
    <CENTER>"ความตายเป็นของเที่ยง ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง"</CENTER>
    อันนี้จริงไหม สัมมาทิฏฐิ ใช้ตัวปัญญาตัวนี้เข้าพิจารณาแล้วก็เห็นว่าความตายมันเป็นของเที่ยงจริง ๆ ชีวิตของคนไม่เที่ยง เพราะมันมีความเสื่อม แล้วก็มีการสลายตัวไปในที่สุด ถ้าชีวิตมันเที่ยง ความตายมันก็ต้องไม่เที่ยง แล้วคนเกิดมาแล้วไม่รู้จักตายเสียอย่างเดียว จะเอาความตายมาจากไหน
    แต่ทว่าที่พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า
    "คนและสัตว์เกิดเท่าไร ตายหมดเท่านั้น"
    เราก็จะเห็นได้ว่า คนที่เกิดมาก่อนหน้าเราเท่าไ ตายไปไม่เหลือแล้ว ปู่ ย่า ตา ทวด ญาติผู้ใหญ่ของเรา และบุคคลที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ เราได้ยินกันแต่ชื่อ แล้วก็มีส่วนใหญ่แม้แต่ชื่อก็ไม่ปรากฎ เป็นอันว่าท่านทั้งหลายเหล่านั้น ตายหมด ตายแม้แต่ร่างกายก็ตาย ชื่อก็ตาย
    นี่ถ้าเราใช้ปัญญาตัวนี้ เราก็จะเห็นว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวจริง เราก็มีความไม่ประมาทในชีวิต มีจิตคิดเพียงว่า ถ้าเราจะตายก็ต้องตายอย่างคนดี เมื่อยู่ อยู่อย่างคนดี คือ คนมีศีล มีธรรม เป็นคนมีพรหมวิหาร ๔ ย่อมเป็นที่รักของบุคคลและสัตว์ทั่วไป
    เมื่อเวลาเราอยู่เราก็มีความสบายใจ เพราะเรามีมิตรมาก มีเพื่อนมาก เมื่อความสุขใจในสมัยที่มีชีวิตมีอยู่ ตายไปแล้ว เราก็มีความสุข เพราะจิตใจเมื่อเป็นมนุษย์มันเป็นความสุข ไปไหนมีแต่คนรัก คนเมตตา คนสงสาร มีแต่เพื่อน หาศัตรูไม่ได้ จิตใจก็มีแต่ความสุข แต่นี่เมื่อถ้าหากว่าตายไปแล้ว ไอ้ใจดวงนี้มันไปสู่ภพสู่ชาติ ถ้ามันสุขไปจากโลกนี้ ตายไปแล้ว ไปอยู่ที่ไหนมันก็สุข มันก็แบกความสุขไปด้วย
    นี่สัมมาทิฏฐิตัวนี้ จึงมีปัญญาเข้าประหัตประหารโลภะ ความโลภ เห็นว่าความโลภ การยื้อแย่งทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่น เป็นปัจจัยให้เกิดโทษ คือ มีศัตรู ละตัวนี้เสีย หันหน้ามาให้ทานแทน ให้ทานการสงเคราะห์เป็นปัจจัยให้เกิดความสุข คือ มีเพื่อนมาก มีคนรักมาก และเราก็เห็นโทษของความโกรธ ความพยาบาท ว่ามันเป็นของไม่ดี สู้เราเจริญพรหมวิหาร ๔ จิตใจชุ่มชื่นไม่ได้ เรามีความสุข และเราก็ไม่เมาในชีวิต
    โดยที่เราจะคิดว่าทรพัย์สมบัติทั้งหลายทั้งหมดที่มันมีอยู่ มันจะต้องอยู่กับเราตลอดกาลตลอดสมัย ไม่เป็นเช่นนั้น ความจริงเรากับมันต้องพลัดพรากจากกันแน่ ถ้ามันไม่พลัดกับเราในสมัยที่มีชีวิตอยู่ มันก็พลัดกับเราในสมัยที่เราตายไปแล้ว ยังไง ๆ มันกับเราก็ต้องตายจากกัน ต้องพลัดพรากจากกัน
    นี่จัดว่าเป็น สัมมาทิฏฐิ ตัวต้น ที่องค์สมเด็จพระทศพลกล่าวว่า ท่านที่เข้าถึงความเป็นพระโสดาบันได้ ต้องทรงอารมณ์นี้เป็นอันดับแรกหนึ่ง
    ประการที่ ๒. สัมมาสังกัปปะ ท่านกล่าวว่า ดำริชอบ คือ ท่านอธิบายไว้ว่า
    - ดำริจะออกจากกามคุณ ๑
    - ดำริในอันที่จะไม่พยาบาท ๑
    - ดำริในอันที่จะไม่เบียดเบียน ๑

    อันนี้ตรงชัด คำว่า "ดำริ" หมายถึง ความคิด
    เราคิดไว้เสมอว่า กามคุณเป็นโทษ คำว่า "กามคุณ" นี้ไม่ได้หมายถึงว่า การเสพกามในฐานะระหว่างสตรีกับผู้ชาย บุรุษกับสตรีเสมอไป
    คำว่า กาม แปลว่า ความใคร่ อยากจะได้โน่น อยากจะได้นี่ อยากจะได้นั่น อยากจะมีสามี อยากจะมีภรรยา อยากจะมีบุตร ไอ้ตัวอยาก ๆ แบบนี้นี่มันสร้างความทุกข์ อยากมากเท่าไร เหนื่อยมากเท่านั้น เพราะจะต้องตะเกียกตะกายหาสิ่งที่เราอยากมาให้ได้ ท่านก็เลยคิดว่า ถ้าเราจะปล่อยให้มันอยากอยู่แบบนี้ตลอดไป เราก็จะมีแต่ความทุกข์ เราก็ลดความอยาก คือ อยากจำกัด อยากหามาได้ด้วยสัมมาอาชีวะ หรือตามกำลัง ไม่ทะเยอทะยานก้าวไกลเกินไป
    มีทุนอยุ่ ๑๐๐ บาท เอาไปเริ่มดำริกิจการงานแสนบาทมันก็หนักอยู่ เราก็พิจารณาก่อนว่าสิ่งใดถ้ามันไม่เกินวิสัยของเรา ไม่ทำใจของเราให้ลำบาก ไม่ตะเกียกตะกายมากเกินไป เราปฏิบัติตามนั้น ได้น้อยใช้น้อย แต่ก็มีความสุขใจ ไม่ต้องไปห่วงใยว่าเจ้าหนี้จะมาทวงมาถาม จะถูกฟ้องร้องล้มละลาย ใจก็เป็นสุข
    อีกอันหนึ่ง ท่านบอกว่า ดำริในอันที่จะไม่พยาบาท คือ ไม่จองล้างจองผลาญ คิดว่าการพยาบาท การจองล้างจองผลาญ มันเป็นภัยสร้างความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่จิต เพราะอะไร เพราะคนที่เราคิดจะฆ่าจะทำร้ายเขา เขายังไม่ทันจะรู้ตัว เมื่อขณะที่เราคิดอยากจะฆ่าเขา อยากจะทำร้ายเขา ใจเริ่มไม่สบายแล้ว
    บางทีกินไม่ค่อยได้ นอนไม่ค่อยหลับ เพราะความโกรธ ความพยาบาทมันเผาใจ คิดว่าเราจะวางแผนแบบไหนจึงจะทำร้ายเขาได้ หรือ กลั่นแกล้งให้เขาพินาศไปได้ ใจมันไม่เป็นสุข กินไม่ได้ นอนไม่หลับ
    แต่ความจริงบุคคลที่เขากำลังถูกเราคิดว่าจะทำร้าย เขายังไม่รู้ เขายังมีความอุ่นหนาฝาคั่ง เขายังมีความสุขกายสุขใจ รื่นเริงบันเทิงใจ แต่เราเองกลับเกิดความไม่สบายใจ เกิดความร้อนใจ ไม่สบายใจขึ้นมา ความเร่าร้อนมันก็เผาใจ ถ้าหากว่าเราไปทำร้ายเขได้จริง ๆ เราจะปลอดภัยหรือ มันก็ไม่แน่ เมื่อบุคคลนั้นเขาถูกฆ่าตาย ญาติของเขายังมี เพื่อนของเขายังมี เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายยังมี คงจะไม่ปล่อยให้เราลอยนวลไปอย่างมีความสุข
    นี่เป็นอันว่า ความโกรธความพยาบาทเป็นปัจจัยให้เกิดศัตรู เป็นแนวทางนำมาซึ่งความเร่าร้อน เราไม่ต้องการ เมื่อเราไม่ต้องการเราก็หันเข้าไปใช้พรหมวิหาร ๔ แทน เป็นการบรรเทาความพยาบาท
    นี่ข้อต่อไปท่านบอกว่า ดำริในอันที่จะไม่เบียดเบียน เราคิดไว้เสมอว่าขึ้นชื่อว่าการเบียดเบียนเขามันเป็นของไม่ดี สู้เรามาคิดการช่วยสงเคราะห์ดีกว่า เบียดเบียนเขาเป็นการสร้างศัตรู สร้างความเร่าร้อน ถ้าเราสงเคราะห์เขา เราก็มีความสุข เราเป็นที่รักของบุคคลผู้รับการสงเคราะห์ เราก็มีความสบายกายแสนสบายใจ จะไปที่ไหนก็มีความสุข มีเพื่อนมากหาศัตรูมิได้ นี่เป็นอันว่า ความดีอันนี้เราต้องทำ
    ข้อที่ ๓. ท่านกล่าวว่า สัมมาวาจา เจรจาชอบ เว้นจากวจีทุจริต ๔ ประการ คือ : -
    ๑. คือ ไม่กล่าวคำมุสาวาท ได้แก่ วาจาที่ไม่จริง
    ๒. ไม่ใช้วาจาส่อเสียดยุยง ส่งเสริมให้เขาแตกร้าวกัน
    ๓. ไม่ใช่วาจาหยาบคายที่เป็นเครื่องสะเทือนใจ
    ๔. ไม่ใช้วาจาที่ไร้ประโยชน์ คือ พูดแล้วไม่มีประโยชน์ ที่เรียกว่า เพ้อเจ้อเหลวไหล

    อันนี้ถ้าเราทำได้ก็เป็นปัจจัยของความสุขใจ เพราะย่อมเป็นที่รักของบุคคลผู้สดับ
    ข้อที่ ๔. ท่านกล่าวว่า สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ คือ เว้นจากการทุจริต ได้แก่ การทุจริตทางกายว่า โกงงานเขา เขาใช้ให้ทำงาน ๑ วัน ให้ใช้แรงงานว่าเธอต้องทำวันละ ๓ ก.ก. ทำน้ำหนักให้ได้ เราก็โกงแรงงาน หรือทำไม่ถึงบ้าง คือ ทุจริตทางกาย แต่ก่อนที่กายจะทุจริต ใจมันก็ทุจริตก่อน เพราะใจมันสั่งและก็ไม่กล่าววาจาที่ไร้ความจริง คือ ทุจริตทางวาจา
    ถ้าจะพูดกันจริง ๆ ก็เรียกว่าการงานที่เราทำทุกอย่าง จงเป็นการงานที่ไม่มีโทษ
    ถ้าเป็นลูกจ้างเขาก็ทำงานตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่ง นายจ้างสั่งให้ทำงานอย่างไหน ถ้าไม่เกินความสามารถ เราทำตามนั้น ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเงินเดือนที่เราจะรับเขาให้เต็ม งานเราก็ทำงานของเราให้เต็ม ก็ต้องถือว่างานชิ้นนั้นเป็นงานของเรา ไม่ใช่งานของนายจ้าง ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเราจะได้เงินค่าจ้าง เพราะการทำงาน
    และอีกประการหนึ่ง การงานที่ชอบก็หมายความว่า กิจการงานทุกอย่างที่เราจะสร้างมันขึ้น ก็ต้องทำประเภทที่เรียกว่า ไม่เป็นการเบียดเบียนตน และเบียดเบียนบุคคลอื่น การเบียดเบียนตนมองยาก เอาเบียดเบียนคนอื่นก็แล้วกัน คือ อย่ารุกที่ อย่ารุกทาง อย่าโกงเงินอย่าโกงทองเขา อย่าทำการทุจริตคิดมิชอบ การงานที่เราทำ จงอย่าเอาชีวิตของบุคคลอื่นเข้ามาเลี้ยงชีวิตเรา อย่าขโมยทรัพย์สินของบุคคลอื่นมา เอามาเป็นทรัพย์สินของเรา
    และก็จงอย่าใช้ความรักนอกประเภทที่เรียกว่า ยื้อแย่งทำลายความรักของบุคคลอื่น คนรักของบุคคลอื่น อย่าใช้วาจาเป็นเหตุทำลายความสุขของบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ส่วนตัว อย่างนี้เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่า การงานชอบ มันก็ไปลงกับ สัมมาวายามะ เข้าอีก มันก็ต้องเนื่องถึงกัน
    ต่อนี้มา มรรคที่ ๕. ท่านบอกว่า สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือ ท่านบอกว่า เว้นจากการเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด แบบไหนล่ะมันถึงจะผิด ก็แบบที่เราหาความสุขใส่ตัวเรา แต่ว่าเอาความทุกข์ไปให้คนอื่น แบบไหนก็ได้ แบบฆ่าสัตว์มาเลี้ยงตัว ตัวโมเมบอกว่าสัตว์เกิดมาเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์ นี่ตั้งกันขึ้นมาเองทั้งนั้น
    ถ้าสัตว์ทุกตัวมันต้องการเกิดมาเป็นอาหารของมนุษย์ เวลาเห็นมนุษย์เข้า มันก็ต้องวิ่งมาให้กินมัน นี่ความจริง สัตว์ทุกประเภทก็มีความรักชีวิต ขณะที่เราจะเข้าไปจับมัน มันวิ่งหนี ถ้าเราคิดอย่างนั้นว่าสัตว์เป็นอาหารของบุคคลก็ผิด อย่างนี้เรียกว่า เลี้ยงชีวิตในทางที่ไม่ชอบ
    นี่การประกอบกิจการงานเพื่อทรงชีวิตอยู่ให้เป็นไปด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดกฎหมาย
    รวมทั้ง ๔ ประการนี้ต้องปฏิบัติให้ครบถ้วน
    ถ้าจะหากิน ดูก่อนว่านี่ละเมิดศีลหรือเปล่า ถ้าเป็นการละเมิดศีลเราไม่ทำ ถ้าไม่ละเมิดศีล เป็นการละเมิดกฎหมายหรือเปล่า
    ถ้าเป็นการละเมิดกฎหมายเราไม่ทำ ถ้าหากว่าไม่ละเมิดกฎหมายแต่ว่าละเมิดประเพณีหรือเปล่า
    ถ้าละเมิดประเพณีเราก็ไม่ทำ ถ้าไม่ละเมิดประเพณี ขัดต่อพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเปล่า
    ถ้าขัดกับพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็ไม่ประกอบ ทำแบบชนิดที่เรียกว่า ไม่ขัดต่อศีล ไม่ขัดต่อธรรม ไม่ขัดต่อกฎหมายของบ้านเมือง และก็ไม่ขัดต่อประเพณีนิยม อย่างนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ
    นี่สำหรับมรรคข้อที่ ๖. ก็ได้แก่ สัมมาวายามะ มีความเพียรชอบ นี่รวมความว่า เพียรละความชั่ว ประพฤติความดี ก็ได้แก่เพียรคิดไว้เสมอว่า เราจะต้องตาย ก่อนจะตาย เมื่อเราเป็นคนก็ต้องเป็นคนดี เมื่อเป็นผีเราก็จะต้องเป็นผีดี
    คนดีก็คือ มีความเคารพในคุณพระรัตนตรัย มีศีล ๕ บริสุทธิ์ และมีการให้ทานเป็นปกติ ไม่เบียดเบียนบุคคลอื่น ไม่เมาในชีวิตเกินไป อย่างนี้เรียกว่ามีความเพียรชอบ เพียรต่อสู้อุปสรรคทุกอย่างที่จะขัดขวางในระหว่างที่เราทำความดี แล้วเพียรแบบไหน
    เป็นพระเป็นเณร ก็ดูพระธรรมวินัยให้ครบถ้วน รักษาสัทธรรม คือ คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ :-
    มีอธิศีลสิกขา มีศีลบริสุทธิ์ยิ่ง
    อธิจิตสิกขา ทรงสมาธิให้ทรงตัว
    อธิปัญญาสิกขา ใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้เท่าตามความเป็นจริงของขันธ์ ๕ ไม่มัวแมาในขันธ์ ๕ เป็นสำคัญ อย่างนี้เรียกว่า มีความเพียรชอบ
    นี่มรรคที่ ๗. สัมมาสติ ท่านกล่าวว่า ระลึกชอบ ในแบบท่านบอกว่า ระลึกถึงมหาสติปัฏฐาน ๔ แต่นี่เราพูดกันเรื่องพระโสดาบัน แล้วก็นึกไว้เสมอว่า
    ๑. เราจะต้องมีความตายแน่ ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงความตายไปได้
    ๒. เราคิดถึงความดีของพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการ คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และ พระสังฆรัตนะ หรือว่า พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ เป็นอนุสสติทั้ง ๓ ประการ
    ๓. เรานึกถึงศีลทุกสิกขาบท กำหนดไว้ว่า เราจะไม่ยอมละเมิดศีลเด็ดขาด ตามหลักการของพระโสดาบัน

    มรรคที่ ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ นี่หมายความว่า ตั้งใจไว้ว่า อารมณ์ใดที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน ในแนวทางที่บุคคลจะเข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน อารมณ์นั้นจะไม่ยอมให้คลาดจากจิตของเรา ใช้จิตคิดพิจารณาไว้เสมอ ระมัดระวังไว้เสมอ มีอะไรบ้างล่ะ
    ๑. นึกถึงความตายเป็นอารมณ์
    ๒. นึกถึงพระพุทธเจ้า นึกถึงพระธรรม นึกถึงพระสงฆ์
    ๓. นึกถึงศีลให้บริสุทธิ์ แล้วก็
    ๔. นึกถึงอุปสมานุสสติ นึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์

    ว่าความเกิดเป็นทุกข์อย่างนี้ เราไม่มีความต้องการความเกิดมันอีก ถือว่าคาวมเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายสำหรับเรา ต่อไปขึ้นชื่อว่าความเกิดเพื่อความแก่ ความเกิดเพื่อความป่วยไข้ไม่สบาย ความเกิดเพื่อการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ เกิดมาเพื่อตายจะไม่มีสำหรับเรา อารมณ์ของเราตั้งไว้โดยเฉพาะอย่างเดียว คือ พระนิพพาน
    นี่แหละ บรรดาท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย คำอธิบายเพื่อพระโสดาบัน ก็ว่ากันไปว่ากันมาก็เลี้ยวลงจุด ๗ จุด คือ
    มรณานุสสติกรรมฐาน
    พุทธานุสสติกรรมฐาน
    ธัมมานุสสติกรรมฐาน
    สังฆานุสสติกรรมฐาน
    สีลานุสสติกรรมฐาน
    จาคานุสสติกรรมฐาน
    อุปสมานุสสติกรรมฐาน
    เพียงเท่านี้
    ถ้าหากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททรงได้ ท่านก็เป็นพระโสดาบัน[​IMG]
    สำหรับวันนี้มองดูเวลา บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน เวลาหมดเสียอีกแล้ว การที่จะพูดกัน แต่ความจริง พูดมากเกินไปก็ไร้ประโยชน์ จำไม่ได้ ขอให้บรรดาพระโยคาวจรทั้งหลาย พยายามทรงกำลังใจไว้ในลักษณะของมรรค ๘ ประการ ให้ทรงอยู่ในกำลังจิตของท่านตลอดกาลตลอดสมัย ผลที่ท่านจะพึงได้นั่นก็คือ อริยมรรค อริยผล ตามที่องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาทรงแนะนำไว้ เอาละต่อแต่นี้ไป ขอบรรดาทุกท่านทรงกำลังใจให้เป็นปกติ จะนั่งอยู่ในลักษณะไหนก็ได้ จะนอนอยู่ในลักษณะไหนก็ได้ หรือจะเดินจงกรมก็ได้ เดินจงกรมก็คิดไปตามนี้ หรือว่าจะยืนเฉย ๆ ก็ได้ ตามอัธยาศัย จนกว่าจะถึงเวลาที่ท่านเห็นว่าสมควร สวัสดี
     
  2. ปกาสัย

    ปกาสัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +257
    สาธุ, นิพพานัง ปรมัง สุญญัง


    พระพุทธเจ้า, ทุกๆ พระองค์ทรงสอนทางอันนำไปสู่พระนิพพาน
    พระธรรม, คำสั่งสอนแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นบทเรียนอันนำไปสู่พระนิพพาน
    พระอริยสงฆ์, ผู้ปฏิบัติชอบตามพระธรรมแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกท่าน ก็ล้วนแต่สอนทางไปสู่พระนิพาน


    สาธุ, นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
     

แชร์หน้านี้

Loading...