พลิกปูมประเพณีคลายเศร้างานศพไทย กับการแสดงชวนขำตามแบบ...การสวดคฤหัสถ์

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 14 มีนาคม 2008.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" border=0><TBODY><TR><TD class=blue22blod vAlign=top>พลิกปูมประเพณีคลายเศร้างานศพไทย กับการแสดงชวนขำตามแบบ...การสวดคฤหัสถ์


    </TD></TR><TR><TD class=default12 vAlign=top> [​IMG]

    คนโดยทั่วไปจะเข้าใจว่า
    การสวดคฤหัสถ์ เป็นการเล่นที่เคยมีมาแต่ในงานศพ ที่คิดเช่นนี้ก็เนื่องมาแต่ความเคยชิน เช่นเดียวกับแลเห็นปี่พาทย์มอญ ก็ต้องคิดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในงานศพทั้งสิ้น แท้จริงปี่พาทย์มอญนั้น ในประเพณีของชาวรามัญ เขาบรรเลงได้ไม่ว่างานอย่างไร จะเป็นทำบุญบ้าน แต่งงาน หรืองานใดๆ เขาก็ใช้ปี่พาทย์เช่นนั้นบรรเลง แต่ไทยเราเท่านั้นที่นำมาใช้แต่ในงานศพ จึงเห็นเป็นของประจำงานศพไป สวดคฤหัสถ์ก็มีนัยอันเดียวกัน
    การแสดงสวดคฤหัสถ์มีบทสวดที่เรียกว่า "พื้น" อยู่ 4 อย่าง คือ พื้นพระอภิธรรม 1 พื้นโพชฌงค์มอญหรือหับเผย 1 พื้นพระมาลัย 1 และพื้นมหาชัย 1 แต่ที่นิยมใช้สวดกันอย่างแพร่หลาย ก็คือพื้นพระอภิธรรม มีบทขึ้นต้นว่า "กุสลา ธมฺมา อกสุลา ธมฺมา ฯลฯ" ซึ่งเราได้ยินพระภิกษุสวดประจำในงานศพอยู่เสมอ แต่ธรรมทั้งหลายที่เป็นพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้า ย่อมเป็นธรรมคำสั่งสอนที่ดี มีมงคลอยู่ในตัวทั้งสิ้น หามีบทใดตอนหนึ่ง ที่จะเป็นสิ่งอัปมงคลไม่ ยิ่งพระอภิธรรมซึ่งแปลว่า ธรรมอย่างยิ่งหรืออย่างสูง จะถือว่าเป็นอัปมงคลได้อย่างไร
    บทกุสลา ธมฺมา อกสุลา ธมฺมา นี้เป็นหลักแห่งหมวด 3 ในคัมภีร์พระอภิธรรมที่เรียกว่า 1 กุสลติก" กล่าวถึงเรื่องธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ตลอดไปตนสังขารวิญญาณ ล้วนแต่เป็นคำสั่งสอนให้รู้จักพิจารณาทั้งสิ้น แต่การที่มีประเพณีนำบทพระอภิธรรม มาสวดในงานศพ ก็น่าจะเนื่องมาจากดำเนินรอยตามรอย พระยุคลบาทของพระพุทธเจ้า ที่พระองค์ได้นำพระอภิธรรม ไปเทศนาโปรดพระพุทธมารดา เมื่อชาวพุทธศาสนิกชน จะบำเพ็ญกุศลอุทิศแทนคุณบิดามารดา และบุพการี โดยเฉพาะงานศพของท่านเหล่านั้น จึงนำบทพระอภิธรรมมาใช้เป็นบทสวดหน้าศพ เสมือนหนึ่งสวดให้ท่านผู้นั้นฟัง และก็ได้ใช้สืบต่อกันมาจนเป็นประเพณี แต่แท้ที่จริงแล้ว พระอภิธรรมย่อมเป็นธรรมอย่างสูง อันควรฟังได้ทุกเวลาสถานที่
    การแสดงสวดคฤหัสถ์ ได้สืบต่อเปลี่ยนแปลงมาจาก การสวดพระอภิธรรมของพระภิกษุ สิ่งประกอบที่ยังแสดงให้เห็นประจักษ์อยู่ก็คือ มีนักสวด 4 คน เรียกว่า "สำรับ" ที่นั่งสำหรับสวดเรียกว่า "ร้าน" ผู้ที่สวดทุกคนถือตาลปัตร ตั้งตู้พระธรรมข้างหน้า บทขึ้นต้นใช้พระธรรมที่พระภิกษุสวด และการแสดงนี้ยังเรียกกันว่า "สวด" สวดคฤหัสถ์เป็นการแสดงที่นำความสนุกสนานครึกครื้น มาสู่ท่านผู้ชมเป็นอันมากอย่างหนึ่ง ซึ่งมีมาแต่ในสมัยโบราณ ผู้ที่สวดทั้ง 4 คน มีหน้าที่ปฏิบัติต่างกัน คอยรับคอยสอดประสมประสานกันตลอดไป ตำแหน่งของนักสวดทั้ง 4 ซึ่งนั่งเรียงกันนับจากซ้ายไปขวา ของผู้ชมมีดังนี้
    1. ตัวตุ๊ย คือตัวตลก มีหน้าที่ทำความขบขันให้แก่ผู้ชม สิ่งใดที่จะนำความขบขันมาสู่ จะเป็นการขัดแย้งหรือโลดโผนใดๆ ก็ได้ทั้งสิ้น แต่จะต้องอยู่ในแบบแผนรักษาแนวทาง มิให้ออกนอกลู่นอกทางไป
    2. แม่คู่(หรือคอหนึ่ง) มีหน้าที่ขึ้นต้นบท และนำทางที่จะแยกการแสดงออก ไปเล่นในชุดใด ทั้งต้องเป็นหลักซักไซ้ นำให้เกิดข้อขบขันจากตัวตลกด้วย ซึ่งนับว่าเป็นหลักสำคัญของสำรับนั่นเอง
    3. คอสอง มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยแม่คู่ คอยซักสอดเพิ่มเติม และเป็นหลักในการร้อง เมื่อแม่คู่ได้ขึ้นต้นบทมาแล้ว
    4. ตัวภาษา มีหน้าที่เป็นตัวเอกในทางสวยงาม เช่น เป็นตัวภาษาต่างๆ และตัวนาง เป็นต้น ผู้มีตำแหน่งนี้จะต้องร้องเพลงได้ดี พูดเลียนสำเนียงภาษาต่างๆ ได้ชัดเจน
    วิธีการแสดงของสวดคฤหัสถ์ เฉพาะพื้นพระอภิธรรม เริ่มต้นด้วยการลองเสียง เป็นทำนองแต่ไม่มีถ้อยคำ มีแต่ร้องว่า "เออเฮอะ เออๆๆๆ" หลายๆ ครั้ง ต่อจากนี้จึงขึ้นบท "เอ๋ย กุ...สลา ฯลฯ" แล้วก็หาทางสวดแยกออกร้องเพลง ตัวตุ๊ยกับตัวภาษาก็ขึ้นรำแสดงท่าทาง มีการตี และตบกันด้วยตาลปัตรบ้างตามสมควร แล้วหันเข้าบทพระธรรมอีกนิดหน่อย ตัวภาษาตีกลองเข้าจังหวะเพลง ตัวตุ๊ยเข้าแทรกประกอบ มีติดตลกเล็กๆ น้อยๆ แล้วจึงร้องลำจีนกำกับท้ายกราว เพื่อให้ตัวตุ๊ยกับตัวภาษาออกรำทำบทประกอบ ต่อจากนี้ จึงแยกออกชุดจีน และชุดอื่นๆ ต่อไป
    การแสดงชุดต่างๆ ของสวดคฤหัสถ์นี้ มีมากมายหลายอย่าง เช่น ชุดภาษาญวน, มอญ, แขก, ลาว, พม่า, เขมร, ฝรั่ง, เพลงฉ่อย และละคร เป็นต้น แต่ก็มิได้วางไว้ตายตัวว่าจะต้องเรียงลำดับอย่างไร แล้วแต่ความพอใจของคณะ ซึ่งแต่ละชุดก็มีวิธีการนำความขบขันมาสู่ผู้ชมต่างๆ กัน และชุดหนึ่งก็กินเวลามิใช่น้อย โดยปกติที่เล่นกันตามวัดหรือบ้าน จะลงมือเล่นกันแต่ตอนค่ำ บางทีก็ไปเลิกจนรุ่งสว่าง

    ขอขอบคุณข้อมูลข่าว : http://www.anurakthai.com/

    อัพเดทโดย : ศศิวิมล
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    __________
    ref.
    http://variety.mcot.net/inside.php?docid=2018&doctype=11
     
  2. รากแห่งธรรม

    รากแห่งธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    667
    ค่าพลัง:
    +3,173
    เด๋วนี้ม่ะมีแล้วละครับ บ้านนอกยังหาไม่ได้เลยอ่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...