เรื่องเด่น พสล.แต่งตั้ง พระ ดร.อนิล ศากยะ เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยพุทธโลก

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 24 กันยายน 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    88e0b887e0b895e0b8b1e0b989e0b887-e0b89ee0b8a3e0b8b0-e0b894e0b8a3-e0b8ade0b899e0b8b4e0b8a5-e0b8a8.jpg

    โดย สมาน สุดโต

    องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ประกาศแต่งตั้งเจ้าคุณพระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (ดร.พระอนิลมาน ศากยะ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก (ม.พ.ล.) (World Buddhist Universitiy) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2560 ณ สำนักงานใหญ่ พ.ส.ล. ซอยสุขุมวิท 24 กรุงเทพมหานคร

    e0b887e0b895e0b8b1e0b989e0b887-e0b89ee0b8a3e0b8b0-e0b894e0b8a3-e0b8ade0b899e0b8b4e0b8a5-e0b8a8-1.jpg

    ประกาศดังกล่าวลงนาม โดย แผน วรรณเมธี ประธาน พ.ส.ล.

    มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก ก่อตั้งโดย พ.ส.ล.เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอธิการบดีคนล่าสุด ได้แก่ ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร

    พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ เป็นพระภิกษุชาวเนปาล บวชเป็นสามเณรในประเทศเนปาล และมาศึกษาพระธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วทรงให้การอุปถัมภ์มาตั้งแต่เป็นสามเณร ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช และเคยดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร)

    ท่านขอแปลงสัญชาติเป็นไทย และได้รับอนุญาตเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2558การศึกษา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก มมร ปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยตรีภูวันประเทศเนปาล และปริญญาโทอีกใบจากวิทยาลัยไครสต์ คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ และปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยบรูเนล ประเทศอังกฤษ ในการศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอกนั้นได้รับทุนพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

    บทบาทนานาชาติ เป็นหนึ่งในคลังสมองของ Sustainable Development Goal หรือ SGDs ขององค์การสหประชาชาติ นิวยอร์ก ได้เคยตั้งกระทู้ถามกลุ่มคลังสมอง เรื่อง นโยบายกำจัดความยากจนมีความจำเป็นเพียงไร ในที่ประชุมขององค์การสหประชาชาติ สำนักงานใหญ่ ที่มหานครนิวยอร์ก ถ้าบรรลุเป้าหมายที่สามารถกำจัดคามยากจนได้อย่างสิ้นเชิงจริงๆ แล้วไซร้ พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาและนักบวชในศาสนาอื่นๆ อีกมาก จะให้ยืนที่ตรงส่วนไหนของสังคม เพราะพระสงฆ์และนักบวชถือวิถีชีวิตที่อยู่ด้วยความยากจนเป็นหลักปฏิบัติทางศาสนา (Take vow of poverty)

    ในการประชุมเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เรื่อง International Peace Conference 2017 จัดโดย พ.ส.ล. สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส และสำนักงานผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การยูเนสโก ระหว่างวันที่ 26-28 ก.ย. 2560 จะพูดเรื่อง พระธรรมิกราช : พระราชาแห่งมั่นพัฒนา “Dharmikaraja : The Buddhist King – The King of Sustainability” โดยเน้นพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็นต้นแบบของพระมหากษัตริย์ทางพระพุทธศาสนาในโลกปัจจุบัน พร้อมทั้งแสดงให้เห็นความเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกและความเป็นพระโพธิสัตว์ของพระองค์จากหลากหลายมิติ เช่น วิเคราะห์ที่มาและพัฒนาการของพระราชดำรัส เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงและหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความที่ทรงเป็นพระธรรมิกราช ในนัยแห่งพระราชาแห่งมั่นพัฒนาหนึ่งเดียวของโลก เป็นต้น ท่านเป็นพระสงฆ์ที่บุคคลสำคัญในองค์การสหประชาชาติคุ้นเคยมาก เพราะเป็นผู้แทนไทยไปกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมสำคัญติดต่อกัน เช่นต้นปีนี้ (2560) ท่านเป็นผู้แทนประเทศไทย กล่าวสุนทรพจน์นำ เรื่อง Sixth Happiness Day ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ก เป็นต้น และเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2560 เป็นผู้แทน พ.ส.ล.ประชุมสภาผู้นำศาสนาโลกและศาสนาท้องถิ่น ครั้งที่ 16 ร่วมกับผู้นำศาสนาต่างๆ ที่เมืองอัสตานา คาซัคสถาน

    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.posttoday.com/dhamma/516549
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กันยายน 2017

แชร์หน้านี้

Loading...