เรื่องเด่น พุทธพจน์เกี่ยวกับไตรลักษณ์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 23 พฤษภาคม 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    พุทธพจน์เกี่ยวกับไตรลักษณ์

    033_i.jpg


    ศัพท์และความหมายก่อน

    อนิจจัง ไม่เที่ยง, ไม่คงที่, สภาพที่เกิดมีขึ้นแล้วกดับล่วงไป


    อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง, ภาวะที่สังขารทั้งปวงเป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่คงที่


    อนิจจลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนิจจะ, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ได้แก่
    ๑. เป็นไปโดยการเกิดขึ้น และสลายไป คือ เกิดดับๆ มีแล้วก็ไม่มี

    ๒. เป็นของแปรปรวน คือ เปลี่ยนแปลงแปรสภาพไปเรื่อยๆ

    ๓. เป็นของชั่วคราว อยู่ได้ชั่วขณะๆ

    ๔. แย้งต่อความเที่ยง คือ โดยสภาวะของมันเอง ก็ปฏิเสธความเที่ยงอยู่ในตัว


    อนิจจสัญญา กำหนดหมายถึงความไม่เที่ยงแห่งสังขาร


    ทุกข์ 1. สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง 2. อาการแห่งทุกข์ที่ปรากฏขึ้นหรืออาจปรากฏขึ้น ได้แก่ คน (ได้ในคำว่า ทุกขสัจจะ หรือทุกขอริยสัจจ์ ซึ่งเป็นข้อที่ ๑ ในอริยสัจจ์ ๔) 3. สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา, ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา ๕ ) ทุกข์หมายถึงความไม่สบายกาย คือ ทุกข์กาย (โทมนัส คือไม่สบายใจ) ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา ๓) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ


    ทุกขตา ความเป็นทุกข์, ภาวะที่คงทนอยู่ไม่ได้


    ทุกขสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ หมายถึงตัณหาสาม คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา


    ทุกขนิโรธ ความดับทุกข์ หมายถึงพระนิพพาน


    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์


    ทุกขลักษณะ เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์ คือ

    ๑. ถูกการเกิดขึ้นและการดังสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา

    ๒. ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

    ๓. เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์

    ๔. แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข


    ทุกขสัญญา ความหมายรู้ว่าเป็นทุกข์, การกำหนดหมายให้มองเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์


    ทุกขเวทนา ความรู้สึกลำบาก, ความรู้สึกเจ็บปวด, ความรู้สึกเป็นทุกข์, การเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย


    อนัตตา ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวใช่ตน (อนัตตา ไม่ใช่ไม่มีอะไรนะ )


    อนัตตตา ความเป็นอนัตตา คือมิใช่ตัวมิใช่ตน


    อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตนโดยอรรถต่างๆ เช่น
    ๑ เป็นของสูญ คือ ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ (ในแง่ของสังตธรรม คือ สังขาร ก็เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย)

    ๒.
    เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง

    ๓.
    ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ

    ๔. เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นไปตามธรรมดาของมัน (ในแง่สังขตธรรม คือ สังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไมมีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่ กับ สิ่งอื่นๆ)

    ๕. โดยสภาวะของมันเองก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา

    อนัตตสัญญา กำหนดหมายถึงความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งหลาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 มิถุนายน 2017
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    กล่าวโดยย่อ จริยธรรมหรือการรู้จักถือเอาประโยชน์จากหลักอนิจจตา มี ๒ ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่หนึ่ง เมื่อประสบความเปลี่ยนแปลงที่ไม่น่าปรารถนา ก็บรรเทาหรือกำจัดทุกข์โศกได้ เมื่อประสบความเปลี่ยนแปลงที่พึงใจ ก็ไม่หลงใหลเมามัว เพราะรู้เท่าทันกฎธรรมดา

    ขั้นตอนที่สอง เร่งขวนขวายทำกิจ ที่ควรทำต่อไปให้ดีที่สุด และทำจิตใจที่เป็นอิสระ เพราะรู้ว่าความเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่เป็นไปเอง หรือ เลื่อนลอย หรือ ตามความปรารถนาของเรา

    ผู้ที่เห็นว่า สิ่งทั้งหลายไม่ยั่งยืน ย่อมเปลี่ยนแปลงไป จะทำอะไรไปทำไม แล้วปล่อยชีวิตให้เลื่อนลอย ปล่อยอะไร ไปตามเรื่อง แสดงถึงความเข้าใจผิด และปฏิบัติผิดต่อหลักอนิจจตา ขัดกับพุทธโอวาทที่เป็นปัจฉิมวาจาว่า “สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลาย จงทำกิจให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาทเถิด”
    ที.ม. 10/143/180
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    พุทธพจน์เกี่ยวกับไตรลักษณ์

    - ความรู้เท่าทันสภาวะของไตรลักษณ์

    "ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราอาศัยอะไร เพราะยึดถืออะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตา/ตัวตนของเรา"

    "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูป...เมื่อเวทนา...เมื่อสัญญา...เมื่อสังขาร...เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัย (รูป..เวทนา...สัญญา...สังขาร...) วิญญาณ เพราะยึดมั่น (รูป..เวทนา...สัญญา...สังขาร...) วิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตา/ตัวตนของเรา"

    "ภิกษุทั้งหลาย สมณะทั้งหลายก็ดี พราหมณ์ทั้งหลายก็ดี เหล่าหนึ่งเหล่าใด ก็ตาม ที่มองเห็นอัตา/ตัวตน แบบต่างๆ หลากหลายเป็นอเนก ย่อมมองเห็นอุปาทานขันธ์เหล่านั้นทั้งหมด หรือไม่ก็มองเห็นขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง ในบรรดาอุปาทานขันธ์เหล่านั้นว่าเป็นอัตตา กล่าวคือ

    "ภิกษุทั้งหลาย ปุุถุชนในโลกนี้ ผู้มิได้สดับ...ย่อมมองเห็นรูปว่าเป็นอัตตาบ้าง ย่อมเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ย่อมมองเห็นรูปในอัตตาบ้าง ย่อมมองเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมมองเห็นเวทนา...สัญญา...สังขารทั้งหลาย...วิญญาณ (ทำนองเดียวกัน) โดยนัยดังกล่าวนั้น การมองเห็นนี้แล ก็กลายเป็นความปักใจยึดถือของเขาว่า "ตัวเรามี/ตัวเราเป็น" (สํ.ข.17/94/57)

    "ภิกษุทั้งหลาย รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา

    สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น พึงเห็นด้วยสัมมาปัญญา ตามที่มันเป็นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา มิใช่เราเป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา" (สํ.ข.17/42/28)

    "ภิกษุทั้งหลาย รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ ไม่เที่ยง...เป็นทุกข์ ...เป็นอนัตตา

    แม้สภาวะที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยในรูป ฯลฯ วิญญาณเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง...เป็นทุกข์ ...เป็นอนัตตา

    รูป ฯลฯ วิญญาณ ซึ่งเกิดจากสภาวะที่ไม่เที่ยง...เป็นทุกข์ ...เป็นอนัตตา จักเป็นของเที่ยง...เป็นสุข...เป็นอัตตา ได้จากที่ไหน" (สํ.ข.17/45-47/29-30 - แปลรวบความ ในบาลีท่านแยกพูดทีละอย่าง)
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    "ท่านเอย อริยสาวก ผู้ได้เรียนสดับแล้ว ได้พบเห็นอริยชนทั้งหลาย ฉลาดในอริยธรรม ฝึกอบรมดีแล้วในอริยธรรม ได้พบเห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ฉลาดในสัปปุริสธรรม ฝึกอบรมดีแล้วในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่มองเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอัตตา ไม่มองเห็นอัตตามีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ ไม่มองเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในอัตตา ไม่มองเห็นอัตตา ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ


    "อริยสาวกนั้น รู้ชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นสิ่งปรุงแต่ง บั่นรอนกันเอง ตามที่มันเป็นว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นสิ่งปรุงแต่ง บั่นรอนกันเอง"

    "อริยสาวกนั้น ไม่ยึดติด ไม่ถือค้างไว้ ไม่มั่นหมายปักใจ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เป็นตัวของเรา อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ที่อริยสาวกนั้น ไม่ยึดติด ไม่ถือมั่นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน" * (สํ.ข.17/207/139)
    ……

    * แปลรวบความ เป็นภาษิตของพระสารีบุตร

    * ข้อความว่า ไม่เห็นรูปเป็นตน ไม่เห็นตนมีรูป ไม่เห็นรูปในตน ไม่เห็นตนในรูปนั้น ถ้าจะใช้เป็นคำศัพท์สั้นๆ ก็ตรงกับคำในวิสุทธิมรรคว่า
    น อตฺตา ไม่เป็นตน
    น อตฺตโน ไม่ใช่ของตน
    น อตฺตนิ ไม่ใช่ในตน
    น อตฺตวตี ไม่ใช่มีตน (วิสุทธิ.3/194 )
    วิสุทธิมรรคแสดงวิธีพิจารณาให้เห็นความว่างจากตัวตนโดยใช้คำพิจารณามากมาย หลายแง่ เช่น กำหนดพิจารณารูปว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ ไม่ใช่นระ ไม่ใช่มาณวะ ไม่ใช่สตรี ไม่ใช่บุรุษ ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่อัตตนิยะ (เนื่องในตน) ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของผู้อื่น ไม่ใช่ของใครๆ (วิสุทธิ.3/293-6)
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    มองภาพกว้าง ความคิดเปลี่ยนไปตามวัย

    f16949da178751e624a12ebb239c2d96.jpg

    ยามเยาว์เห็นโลกล้วน แสนสนุก
    เป็นหนุ่มสาวก็หลงสุข ค่ำเช้า
    กลางคนเริ่มเห็นทุกข์ สุขคู่ กันนอ
    ตกแก่จึงรู้เค้า โลกล้วนอนิจจัง

    สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    "แนะท่านคหบดี อย่างไร จึงชื่อว่าป่วยทั้งกาย ป่วยทั้งใจ ?
    ในข้อนี้ ปุถุชนผู้มิได้เรียนสดับ ไม่ได้พบเห็นอริยชนทั้งหลาย ไม่ฉลาดในอริยธรรม ไม่ได้ฝึกอบรมในอริยธรรม...ย่อมมองเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตน (อัตตา) มองเห็นตน มีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ มองเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในตน มองเห็นตน ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ, อยู่ด้วยความรู้สึกรุมเร้าว่า รูปเป็นเรา รูปของเรา เวทนาเป็นเรา เวทนาของเรา สัญญาเป็นเรา สัญญาของเรา สังขารเป็นเรา สังขารของเรา วิญญาณเป็นเรา วิญญาณของเรา

    "เมื่อเขาอยู่ด้วยความรู้สึกรุมเร้าว่า รูปเป็นเรา รูปของเรา ฯลฯ วิญญาณเป็นเรา วิญญาณของเรา, รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมแปรปรวนไป กลายเป็นอย่างอื่น เขาย่อมเกิดความโศกเศร้า ความคร่ำครวญ ความทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นผิดหวัง เพราะการที่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนไป กลายเป็นอย่างอื่น"



    "แนะท่านคหบดี อย่างไร จะชื่อว่า ป่วยแต่กาย ไม่ป่วยใจ ?
    ในข้อนี้ อริยสาวกผู้ได้เรียนสดับแล้ว...ย่อมไม่มองเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตน (อัตตา) ไม่มองเห็นตน มีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ ไม่มองเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในตน ไม่มองเห็นตน ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ไม่อยู่ด้วยความรู้สึกรุมเร้าว่า รูปเป็นเรา รูปของเรา เวทนาเป็นเรา เวทนาของเรา สัญญาเป็นเรา สัญญาของเรา สังขารเป็นเรา สังขารของเรา วิญญาณเป็นเรา วิญญาณของเรา


    "เมื่ออริยสาวกนั้น ไม่อยู่ด้วยความรู้สึกรุมเร้าว่า รูปเป็นเรา รูปของเรา ฯลฯ วิญญาณเป็นเรา วิญญาณของเรา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมแปรปรวนไป กลายเป็นอย่างอื่น เธอก็ไม่เกิดความโศกเศร้า ความคร่ำครวญ ความทุกข์ โทมนัส และความคับแค้น ผิดหวัง เพราะการที่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แปรปรวนไป กลายเป็นอย่างอื่น" *

    ......
    * สํ.ข.17/4-5/3-7 (แปลรวบความ ภาษิตของพระสารีบุตร)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2017
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    "ภิกษุทั้งหลาย อย่างไร จึงจะมีความไม่กระวนกระวายที่เกิดจากความไม่ถือมั่น ? ในข้อนี้ อริยสาวกผู้ได้เรียนสดับแล้ว...ย่อมไม่มองเห็นรูปเป็นตน ไม่มองเห็นตนมีรูป ไม่มองเห็นตนในรูป ไม่มองเห็นรูปในตน ถึงรูปของเธอนั้น จะแปรปรวนไป กลายเป็นอย่างอื่น เธอก็ไม่มีวิญญาณที่หมุนคล้อยไปตามความแปรปรวนของรูป เพราะการที่รูปแปรปรวนไปกลายเป็นอย่างอื่นนั้นด้วย ความกระวนกระวาย และประดาความรู้สึกนึกคิด (ธรรมสมุปบาท) ที่เกิดจากการหมุนคล้อยไปตามความแปรปรวนของรูป ก็ครอบงำจิตของเธอไม่ได้

    "เพราะการที่จิตไม่ถูกครอบงำ เธอย่อมไม่มีความหวั่นหวาด ไม่มีความคับแค้นใจ ไม่มีความห่วงหาอาลัย เพราะไม่ถือมั่น จึงไม่กระวนกระวาย" (สํ.ข.17/33/22) (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ทำนองเดียวกัน)

    "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้แล้วซึ่งความเป็นอนิจจัง ความแปรปรวนไป จางคลายไป ดับไปของรูป มองเห็นอยู่ด้วยสัมมาปัญญา ตามที่มันเป็นว่า รูปในกาลก่อนก็ดี รูปทั้งปวงในบัดนี้ก็ดี ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดังนั้น ก็ย่อมละความโศกเศร้า ความคร่ำครวญ ความทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นผิดหวังได้ เพราะละความโศก ฯลฯ ได้ก็ไม่กระวนกระวาย เมื่อไม่กระวนกระวาย ก็อยู่เป็นสุข ภิกษุผู้อยู่เป็นสุข เราเรียกว่า ผู้นิพพานเฉพาะกรณีนั้นๆ (ตทังคนิพพุตะ)" (สํ.ข.17/88/54) (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ทำนองเดียวกัน)
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    "ปุถุชนผู้มิได้เรียนสดับนั้น ย่อมมนสิการโดยไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) อย่างนี้ว่า ในอดีตกาลอันยาวนาน เราได้มีแล้วหรือหนอ ...หรือว่าเรามิได้มี...เราได้เป็นอะไรหนอ...เราได้เป็นอย่างไรหนอ...เราเป็นอะไรแล้วจึงได้เป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลอันยาวนาน เราจักมีหรือหนอ ...หรือว่าเราจักไม่มี...เราจักเป็นอะไรหนอ...เราจักเป็นอย่างไรหนอ...เราจักเป็นอะไรแล้วจึงจะเป็นอะไรหนอ หรือปรารภกาลปัจจุบันในบัดนี้ มีความสงสัยขึ้นภายในว่า เรามีอยู่หรือ หรือว่าเราไม่มี เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้มาจากไหนหนอ สัตว์นั้นจักไป ณ ที่ใดหนอ ?

    "เมื่อปุถุชนนั้น มนสิการโดยไม่แยบคายอย่างนี้ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ในทิฏฐิ ๖ อย่าง ย่อมเกิดขึ้น คือ เขาย่อมเกิดทิฏฐิ (ยึดถือ) เอาเป็นจริงเป็นแท้ว่า เรามีอัตตา ...เราไม่มีอัตตา ...เรากำหนดรู้อัตตาด้วยอัตตา ...เรากำหนดรู้สภาวะที่มิใช่อัตตาด้วยอัตตา ...เรากำหนดรู้อัตตาด้วยสภาวะที่มิใช่อัตตา หรือมิฉะนั้น ก็จะมีทิฏฐิว่า อัตตาของเรานี้แหละที่เป็นตัวบงการ เป็นผู้เสวย ประสบวิบากแห่งกรรมที่ดีและชั่ว ณ ที่นั้นๆ เป็นสภาวะที่เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป มีความไม่ผันแปรเป็นธรรมดา จักยังคงอยู่อย่างนั้นเสมอตลอดไป ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกทิฏฐิ รกชัฏแห่งทิฏฐิ กันดารแห่งทิฏฐิ เสี้ยนหนามทิฏฐิ ความดิ้นรนแห่งทิฏฐิ ทิฏฐิเครื่องผูกมัดสัตว์ ปุถุชนผู้มิได้เรียนสดับ ซึ่งถูกทิฏฐิเครื่องผูกมัดรัดตัวไว้ ย่อมไม่พ้นจาก ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมไม่พ้นจากทุกข์
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ปุถุชน คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส, คนที่ยังมีกิเลสมาก หมายถึงคนธรรมดาทั่วๆไป ซึ่งยังไม่เป็นอริยบุคคลหรือพระอริยะ บุถุชน ก็เขียน

    สัตว์ "ผู้ติดข้องอยู่ในรูปารมณ์ เป็นต้น" สิ่งที่มีความรู้สึก และเคลื่อนไหวไปได้เอง รวมตลอดทั้งเทพ มาร พรหม มนุษย์ เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรก ในบาลีเพ่งเอามนุษย์ก่อนอย่างอื่น ไทยมักเพ่งเอาดิรัจฉาน

    (รูปารมณ์ = รูป+อารมณ์ = อารมรณ์คือรูป)


    กิเลส สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์ ่ และเป็นเครื่องปรุงแต่งความคิดให้ทำกรรม ซึ่งนำไปสู่ปัญหา ความยุ่งยากเดือดร้อนและความทุกข์

    มนสิการ การทำในใจ, ใส่ใจ, พิจารณา
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    "ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวก ผู้ได้เรียนสดับแล้ว ฯลฯ ย่อมรู้ชัดธรรมที่ควรมนสิการ ย่อมรู้ชัดธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ


    "ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ซึ่งอริยสาวกไม่มนสิการ เป็นไฉน ? กล่าวคือ เมื่ออริยสาวกมนสิการธรรมเหล่าใด กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญ เหล่านี้คือ ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ซึ่งอริยสาวกไม่มนสิการ


    "ธรรมที่ควรมนสิการ ซึ่งอริยสาวกมนสิการ เป็นไฉน ? กล่าวคือ เมื่ออริยสาวกมนสิการธรรมเหล่าใด กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถูกละเสียได้ เหล่านี้ คือ ธรรมที่ควรมนสิการ ซึ่งอริยสาวกย่อมมนสิการ

    "เพราะอริยสาวกนั้น ไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ อาสวะทั้งหลาย ที่ยังไม่เกิด ก็จะไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จะถูกละเสียได้


    "อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ว่านี้ทุกข์...นี้เหตุให้เกิดทุกข์...นี้ความดับทุกข์...นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ เมื่ออริยสาวกนั้น มนสิการโดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ ๓ ย่อมถูกละเสียได้ กล่าวคือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส"
    (ม.มู.12/12/14)
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อริยสาวก 1. สาวกผู้เป็นพระอริยะ, สาวกผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น 2. สาวกของพระอริยะ (คือของพระพุทธเจ้าผู้เป็นอริยะ)


    โยนิโส โดยแยบคาย, โดยถ่องแท้, โดยวิธีที่ถูกต้อง, ตั้งแต่ต้นตลอดสาย, โดยตลอด


    โยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยแยบคาย, การทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย คือพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริงโดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย หรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา, ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี เทียบอโยนิโสมนสิการ


    อโยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยไม่แยบคาย, การไม่ใช้ปัญญาพิจารณา, ความไม่รู้จักคิด, การปล่อยให้อวิชชาตัณหาครอบงำนำความคิด, เทียบ โยนิโสมนสิการ
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    18e8fd13b330e44b53cbbfd4fd6ea87d.jpg
    ความสัมพันธ์ระหว่างขันธ์ต่างๆ (คร่าวๆพอเห็นภาพ)


    ขันธ์ทั้ง ๕ อาศัยซึ่งกันและกัน รูปขันธ์ เป็นส่วนกาย นามขันธ์ทั้งสี่ เป็นส่วนใจ มีทั้งกายและใจ จึงจะเป็นชีวิต กาย กับ ใจ ทำหน้าที่เป็นปกติ และประสานสอดคล้องกัน ชีวิตจึงจะดำรงอยู่ได้ด้วยดี ตัวอย่าง เช่น กิจกรรมของจิตใจ ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับโลก ซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยอาศัยอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งต้องกาย ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย อารมณ์ทั้งห้าก็ดี ตา หู จมูก ลิ้น กายก็ดี ต่างก็เป็นรูปธรรมอยู่ในรูปขันธ์ คือ เป็นฝ่ายกาย

    นามขันธ์ ๔ มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และส่งอิทธิพลเป็นปัจจัยแก่กัน
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ชีวิตประกอบด้วยขันธ์ ๕ เท่านั้น ไม่มีสิ่งใดอื่นนอกเหนือจากขันธ์ ๕ ไม่ว่าจะแฝงอยู่ในขันธ์ ๕ หรือยู่ต่างหากจากขันธ์ ๕ ที่จะมาเป็นเจ้าของหรือควบคุมขันธ์ ๕ ให้ชีวิตดำเนินไป ในการพิจารณาเรื่องชีวิต เมื่อยกเอาขันธ์ ๕ ขึ้นเป็นตัวตั้งแล้ว ก็เป็นอันครบถ้วนเพียงพอ


    ขันธ์ ๕ เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาท คือมีอยู่ในรูปเป็นกระแสแห่งเหตุปัจจัยต่างๆ ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยสืบต่อกัน ไม่มีส่วนใดในกระแสคงที่อยู่ได้ มีแต่การเกิดขึ้นแล้วสลายตัวไป พร้อมกับที่เป็นปัจจัยให้มีการเกิดขึ้นแล้วสลายตัวต่อๆไปอีก

    ส่วนต่างๆสัมพันธ์กัน เนื่องอาศัยกัน เป็นปัจจัยแก่กัน จึงทำให้กระแสหรือกระบวนการนี้ดำเนินไปอย่างมีเหตุผล และคุมเป็นรูปร่างต่อเนื่องกัน


    ในภาวะเช่นนี้ ชีวิต หรือขันธ์ ๕ จึงเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ คือ อยู่ในภาวะแห่ง อนิจจตา ไม่เที่ยง ไม่คงที่ เกิดดับเสื่อมสลายอยู่ตลอดเวลา อนัตตตา ไม่มีส่วนใดที่มีที่เป็นตัวตนแท้จริง และไม่อาจยึดถือเอาเป็นตัว จะเข้ายึดครองเป็นเจ้าของ บังคับบัญชาให้เป็นไปตามปรารถนาของตนจริงจังไม่ได้ ทุกขตา ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้น และสลายตัวอยู่ทุกขณะ และพร้อมที่จะก่อให้เกิดทุกข์ได้เสมอ ในกรณีที่มีการเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยความไม่รู้ และยึดติดถือมั่น

    กระบวนการแห่งชีวิต หรือขันธ์ ๕ ซึ่งดำเนินไปพร้อมด้วยการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดทุกขณะ โดยไม่มีส่วนที่เป็นตัวเป็นตนคงที่อยู่นี้ ย่อมเป็นไปตามกระแสแห่งเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์แก่กันล้วนๆ ตามวิถีทางแห่งธรรมชาติของมัน


    แต่ในกรณีของชีวิตมนุษย์ปุถุชน ความฝืนกระแสจะเกิดขึ้น โดยที่จะมีความหลงผิดเกิดขึ้น และยึดถือเอารูปปรากฏของกระแส หรือส่วนใดของกระแส ว่าเป็นตัวตน และปรารถนาให้ตัวตนนั้นมีอยู่ หรือเป็นไปในรูปใดรูปหนึ่ง

    ในเวลาเดียวกัน ความเปลี่ยนแปลงหมุนเวียนที่เกิดขึ้นในกระแส ก็ขัดแย้งต่อความปรารถนา เป็นการบีบคั้นและเร่งเร้าให้เกิดความยึดอยากรุนแรงยิ่งขึ้น ความดิ้นรนหวังให้มีตัวตนในรูปใดรูปหนึ่ง และให้ตัวตนเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ให้คงที่เที่ยงแท้ถาวรอยู่ในรูปที่ต้องการก็ดี ก็ยิ่งรุนแรงขึ้น เมื่อไม่เป็นไปตามที่ยึดอยาก ความบีบคั้นก็ยิ่งแสดงผลเป็นความผิดหวัง ความทุกข์ความคับแค้นรุนแรงขึ้นตามกัน


    พร้อมกันนั้น ความตระหนักรู้ในความจริงอย่างมัวๆ ว่าความเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน และตัวตนที่ตนยึดอยู่ อาจไม่มี หรืออาจสูญสลายไปเสีย ก็ยิ่งฝังความยึดอยากให้เหนียวแน่นยิ่งขึ้น พร้อมกับความกลัว ความประหวั่นพรั่นพรึง ก็เข้าแฝงตัวร่วมอยู่ด้วยอย่างลึกซึ้งและสลับซับซ้อน ภาวะจิตเหล่านี้ ก็คือ อวิชชา (ความไม่รู้ตามเป็นจริงหลงผิดว่ามีตัวตน) ตัณหา (ความอยากให้ตัวตนที่หลงว่ามีนั้นได้เป็น หรือไม่เป็นต่างๆ) อุปาทาน (ความยึดถือผูกตัวตนในความหลงผิดนั้นไว้กับสิ่งต่างๆ) กิเลสเหล่านี้ แฝงลึกซับซ้อนอยู่ในจิตใจ และเป็นตัวคอยบังคับบัญชาพฤติกรรมทั้งหลายของบุคคลให้เป็นไปต่างๆ ตามอำนาจของมัน ทั้งโดยรู้ตัว และไม่รู้ตัว ตลอดจนเป็นตัวหล่อหลอมบุคลิกภาพ และมีบทบาทสำคัญในการชี้ชะตากรรมของบุคคลนั้นๆ กล่าวในวงกว้าง มันเป็นที่มาแห่งความทุกข์ของมนุษย์ปุถุชนทุกคน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2017
  14. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ยกพระสูตรมายาวดีครับ ทั้งหมดทั้งมวลก็เพื่อให้ละความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งมวล วิธีก็คือวางสุขให้ได้ เมื่อวางสุขทุกก็จะถูกวางไปในตัวมันเอง สภาวะนิพพานก็มารองรับ
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    โลกภายนอกกว้างไกลใครใครรู้
    โลกภายในลึกซึ้งอยู่รู้บ้างไหม
    จะดูโลกภายในมองออกไป
    จะดูโลกภายในให้มองตน.

    images?q=tbn:ANd9GcSaV-o45y_XIgVgRraHi2PxTTCqDRlPGNolvuABjCQD4t6ZibOS.jpg
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    คิดว่ามนุษย์ทุกๆคนปรารถนาอย่างว่านั้น แต่ปัญหามีอยู่ว่าเรา/เขา จะทำยังไง ทำอย่างไร ? (ปัญหาอยู่ที่การทำ)

    พูดให้เห็นภาพก็ว่า มนุษย์ทุกๆคนอยากร่ำอยากรวยด้วยกันทั้งนั้น แต่ปัญหาคือไม่รู้จะทำยังไงอย่างไรให้มีเงินมีทองร่ำรวยขึ้นมาได้ อิอิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2017
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ


    * คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์ (ด้านการทำจิตเป็นอิสระ และด้านทำกิจโดยไม่ประมาท)

    - อนิจจตาแห่งชีวิต และการเห็นคุณค่าของกาลเวลา

    "พระอาทิตยพันธุ์ (พระพุทธเจ้า) ได้ตรัสแสดงไว้ว่า รูปอุปมาเหมือนฟูมฟองแม่น้ำ เวทนาอุปมาเหมือนฟองน้ำฝน สัญญาอุปมาเหมือนพยับแดด สังขารอุปมาเหมือนต้นกล้วย วิญญาณอุปมาเหมือนมายากล ภิกษุพินิจดู พิจารณาโดยแยบคาย ซึ่งเบญจขันธ์นั้นด้วยประการใดๆ ก็มีแต่สภาวะที่ว่างเปล่า พระผู้ทรงปัญญาดังผืนแผ่นดิน ทรงปรารภร่างกายนี้แล้ว ทรงแสดงการละธรรม ๓ อย่าง (โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ) ไว้

    [​IMG]

    "ท่านทั้งหลาย จงดูรูปที่เขาทิ้งแล้ว เมื่อใด อายุ ไออุ่น และวิญญาณละกายนี้ เมื่อนั้น ร่างกายก็ถูกทิ้งนอนไร้จิตใจ กลายเป็นอาหารของสัตว์อื่น นี้แหละการสืบต่อ (ชีวิต) ก็อย่างนี้ มันเป็นมายากลหลอกคนโง่ให้เพ้อ ได้บอกแล้วว่า เบญจขันธ์นี้ เป็นผู้ล่าสังหารอยู่ในตัว จะหาแก่นสารในเบญจขันธ์นี้ย่อมไม่มี

    "ภิกษุระดมเพียรแล้ว พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายอย่างนี้ โดยมีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ทั้งวันทั้งคืน พึงละเครื่องผูกมัดเสียให้หมด พึงสร้างที่พึ่งให้แก่ตน เมื่อปรารภอัจจุตบท (นิพพาน) ก็พึงประพฤติเหมือน ดังคนที่ศีรษะถูกไฟไหม้"
    (สํ.ข.17/247/174)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2017
  18. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ก็ลองวางสุขไม่เข้าไปคลุกกามดูซิ ถึงจะรู้ความสุขที่มันอยู่เหนือกาม ถ้าอยากรวยก็ต้องเชื่อพระพุทธเจ้า ทำ5อย่างเท่านั้น มีศรัทธา มีศิล มีสุตตะ มีจาคะ และมีปัญญา
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    "ภิกษุทั้งหลาย อายุของมนุษย์ทั้งหลายนี้น้อย จะต้องไปสู่ภพหน้า พึงวินิจฉัยการด้วยความรู้คิด พึงกระทำการดีงาม (กุศล) พึงครองชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) ผู้ที่เกิดมาแล้ว ที่จะไม่ตายเป็นไม่มี ผู้ใดอยู่ได้นาน ผู้นั้นก็อยู่ได้แค่ร้อยปี จะเกินไปบ้างก็เพียงเล็กน้อย

    "อายุของมนุษย์ทั้งหลายน้อย สัตบุรุษพึงดูหมิ่นอายุที่น้อยนั้น พึงประพฤติเหมือนดังถูกไฟไหม้ศีรษะ การที่มัจจุราชจะไม่มาหานั้น เป็นอันไม่มี วันคืนย่อมล่วงไป ชีวิตก็หดสั้นเข้า อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมหมดสิ้นไป เหมือนดังน้ำในธารน้ำน้อย" (ขุ.ม.29/51; 182/143...)
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วางสุขไม่เข้าไปคลุกกามดูซิ

    กามในที่นี้หมายถึงอะไร

    ศรัทธา มีศิล มีสุตตะ มีจาคะ และมีปัญญา

    แต่ละข้อๆหมายถึงอะไร ถึงจะรวยขึ้นมาได้ ทีนี้ล่ะ ชาวพุทธจะได้รวยกันทั้งเพ :D
     

แชร์หน้านี้

Loading...