เรื่องเด่น พุทธพจน์เกี่ยวกับไตรลักษณ์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 23 พฤษภาคม 2017.

  1. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ท่านผู้เจริญ ผมชี้ทางให้แล้ว ท่านผู้เจริญก็ช่วยขยายความตามน้ัน นั่นที่สุดของทางธรรมและทางโลกแล้ว
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    แล้วมันอะไรเล่า
     
  3. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    เอาแบบง่ายกว่านี้อีกคือ สัตว์โลกเป็นไปตามกรรมดีกว่าสบายใจ จบ
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    "ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีใครรู้ ทั้งยาก ทั้งน้อย และระคนด้วยทุกข์ ความเพียรพยายามที่จะช่วยให้สัตว์ที่เกิดมาแล้ว ไม่ต้องตายได้นั้น ไม่มีเลย แม้อยู่ได้ถึงชรา ก็ต้องตาย เพราะสัตว์ทั้งหลายมีธรรมดาอย่างนี้เอง


    “ผลไม้สุกแล้ว ก็มีภัยอยู่ตลอดเวลาจากการที่จะต้องร่วงหล่นไป ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็มีภัยอยู่ตลอดเวลาจากการที่จะต้องตาย ฉันนั้น ภาชนะดินที่ช่างหม้อทำแล้วทั้งหมด ล้วนมีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็มีความตายเป็นที่สุด ฉันนั้น


    “ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนเขลา ทั้งคนฉลาด ล้วนไปสู่อำนาจของมฤตยู มีมฤตยูเป็นที่ไปเบื้องหน้าด้วยกันทั้งหมด


    “เมื่อเขาเหล่านั้น ถูกมฤตยูครอบงำแล้ว ต้องไปปรโลก บิดาจะป้องกันบุตรไว้ก็ไม่ได้ ญาติทั้งหลายจะป้องกันเหล่าญาติไว้ก็ไม่ได้ ดูเถิด ทั้งที่หมู่ญาติกำลังมองดูพร่ำรำพันอยู่ด้วยประการต่างๆ ผู้จะต้องตายก็ถูกพาไปแต่ลำพังคนเดียว เหมือนโคที่เขาเอาไปฆ่า


    "โลกถูกความแก่ และความตายบดขยี้อย่างนี้เอง ปราชญ์ทั้งหลายรู้เท่าทันกระบวนความเป็นไปของโลกแล้ว จึงไม่เศร้าโศก


    “ท่านไม่รู้ทาง ไม่ว่าของผู้มาหรือผู้ไป เมื่อมองไม่เห็นปลายสุดทั้งสองด้านจะคร่ำครวญไปก็ไร้ประโยชน์ ถ้าคนหลงใหลคร่ำครวญเบียดเบียนตนเองแล้ว จะทำประโยชน์อะไรให้เกิดขึ้นมาได้บ้างแล้วไซร้ ท่านผู้มีวิจารณญาณก็คงทำอย่างนั้นบ้าง


    “การร้องไห้หรือโศกเศร้า จะช่วยให้จิตใจสงบสบาย ก็หาไม่ มีแต่จะเกิดทุกข์ทบทวี ทั้งร่างกายก็จะพลอยทรุดโทรม จะเบียดเบียนตัวของตัวเอง จนกลายเป็นคนซูบผอม หมดผิวพรรณ ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะอาศัยการร้องไห้คร่ำครวญนั้น เป็นเครื่องช่วยตัวเขา ก็ไม่ได้ การคร่ำครวญร่ำไห้จึงไร้ประโยชน์ คนที่สลัดความโศกเศร้าไม่ได้ มัวทอดถอนใจถึงคนที่ตายไปแล้ว ตกอยู่ในอำนาจความโศกเศร้า ก็มีแต่จะทุกข์หนักยิ่งขึ้น


    “ดูสิ ถึงคนอื่นๆ ก็กำลังเตรียมตัวจะเดินทางกันไปตามกรรม ที่นี่ ประดาสัตว์ผู้เผชิญกับอำนาจของพญามัจจุราชเข้าแล้ว ต่างก็กำลังดิ้นรนกันอยู่ทั้งนั้น


    “คนทั้งหลายคิดหมายไว้อย่างใด ต่อมาการณ์ก็กลับกลายไปเป็นอย่างอื่น ความพลัดพรากจากกันก็เป็นอย่างนี้แหละ ดูเถิด กระบวนความเป็นไปของโลก แม้จะมีคนอยู่ได้ถึงร้อยปี หรือเกินกว่านั้น เขาก็ต้องพลัดพรากจากหมู่ญาติ ต้องทิ้งชีวิตไว้ในโลกนี้อยู่ดี


    “เพราะฉะนั้น สาธุชน สดับคำสอนของท่านผู้ไกลจากกิเลสแล้ว พึงระงับความคร่ำครวญรำพันเสีย เห็นคนล่วงลับจากไปก็ทำใจได้ว่า ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เราจะขอให้เป็นอยู่อีก ย่อมไม่ได้ ธีรชน คนฉลาด มีปัญญา เป็นบัณฑิต พึงระงับความโศกเศร้าที่เกิดขึ้นแล้วได้โดยฉับพลัน เหมือนเอาน้ำดับไฟที่ลุกลาม และเหมือนลมพัดปุยนุ่น


    “ผู้ปรารถนาสุขแก่ตน พึงระงับความคร่ำครวญรำพัน ความโหยหา และโทมนัสเสีย พึงถอนลูกศรที่เสียบตัวทิ้งไป ผู้ที่ถอนลูกศรได้แล้ว เป็นอิสระ ก็จะพบความสงบใจ จะผ่านพ้นความโศกเศร้าไปได้หมด กลายเป็นผู้ไร้โศก เย็นใจ” (ขุ.สุ.25/380/447)
     
  5. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    รู้ธรรมอันเป็นแดนเกิด และรู้ทำที่เกิดมาแต่เหตุ
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    พูดกันบ่อย (นี่จริงๆนะ) "สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม" กรรมในที่นี้มันหมายถึงอะไร สัตว์โลกถึงเป็นไปตามกรรม
     
  7. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    รู้ธรรมอันเป็นแดนเกิด และรู้ทำที่เกิดมาแต่เหตุ
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    อันที่จริงพระพุทธเจ้าบอกไว้หมดแล้ว เช่น ในมหาสติปัฏฐานสูตร แต่พวกเรามองไม่เห็นเอง หรือมองเห็นแต่ก็มองภาพบิดเบือนไป

    สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ

    สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติบ้าง การที่สติเข้าไปตั้งอยู่ คือมีสติกำกับอยู่บ้าง ฯลฯ ว่าโดยหลักการก็ คือ การใช้สติ หรือวิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิดผลดีที่สุด ดังความแห่งพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นโสกะ และปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรมรรค เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งนิพพาน นี้คือสติปัฏฐาน ๔" (ที.ม.10/273/245...)


    การเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมาก และยกย่องนับถือกันอย่างสูง ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะและวิปัสสนาในตัว ผู้ปฏิบัติอาจเจริญสมถะจนได้ฌานก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐานไปจนถึงที่สุดก็ได้ หรือจะอาศัยสมาธิเพียงขั้นต้นๆ เท่าที่จำเป็นมาประกอบ เจริญวิปัสสนาเป็นตัวนำตามแนวสติปัฏฐานนี้ ไปจนถึงที่สุดก็ได้
     
  9. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ผัสสะคือแดนเกิดแห่งสิ่งทั้งหลาย
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494


    สัมผัส ความกระทบ, การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก, ความประจวบกันแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ มี ๖ เริ่มแต่ จักขุสัมผัส สัมผัสทางตา เป็นต้น จนถึง มโนสัมผัส สัมผัสทางใจ (เรียงตามอายตนะภายใน ๖ ) ผัสสะ ก็เรียก


    ผัสสะ การถูกต้อง, การกระทบ, ผัสสะ ๖


    การรับรู้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีองค์ประกอบเกิดขึ้นครบทั้งสามอย่าง คือ อายตนะ + อารมณ์ + และวิญญาณ ภาวะนี้ ในภาษาธรรมมีคำเรียกโดยเฉพาะว่า “ผัสสะ” หรือ “สัมผัส” ตามรูปศัพท์แปลว่า การกระทบ แต่มีความหมายทางธรรมว่า การประจวบหรือบรรจบพร้อมกันแห่งอายตนะ อารมณ์ และวิญญาณ พูดอย่างเข้าใจง่ายๆ ผัสสะ ก็คือการรับรู้นั่นเอง ผัสสะหรือสัมผัส หรือการรับรู้นี้ มีชื่อเรียกแยกเป็นอย่างๆไปตามทางรับรู้ คืออายตนะนั้นๆ ครบจำนวน ๖ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส

    (ดูตัวอย่างกระบวนธรรมคร่าวๆพอเห็นภาพดังกล่าว )

    “อาศัยตาและรูป เกิดจักขุวิญญาณ ความประจวบแห่งธรรมทั้งสามนั้น เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ฯลฯ…
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ

    “ชาวโลก ถูกมัจจุราชคอยประหัตประหาร ถูกชราปิดล้อมไว้ ถูกลูกศรแห่งตัณหาทิ่มแทง พล่านไปด้วยความปรารถนาตลอดทุกเวลา

    “ชาวโลก ถูกมัจจุราชห้ำหั่น ถูกชราล้อมไว้ ไม่มีอะไรต้านทานได้ จึงเดือดร้อนอยู่ร่ำไป ราวกะเป็นคนร้ายที่ถูกลงโทษ

    “ความตาย ความเจ็บไข้ และความแก่ เป็นเหมือนไฟ ๓ กอง ที่คอยไล่ตาม กำลังที่จะรับมือได้ ก็ไม่มี แรงเร็วที่จะวิ่งหนีก็ไม่พอ

    “เพราะฉะนั้น เวลาแต่ละวันอย่าให้ผ่านไปเปล่า จะน้อยหรือมากก็ให้ได้อะไรบ้าง เพราะวันคืนล่วงไป ชีวิตของคนก็พร่องลงไปจากประโยชน์ที่จะทำ จะเดินอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นั่งหรือนอนอยู่ก็ตาม วาระสุดท้ายก็ใกล้เข้ามาๆ ท่านจึงไม่ควรประมาทเวลา” (ขุ.เถร. 26/359/335) ภาษิตของพระสิริมัณฑเถระ)

    “แท้จริง ชายหรือหญิงก็ตาม ถึงยังหนุ่มยังสาวก็ตายได้ ใครเล่าจะพึงวางใจ ในชีวิตว่า เรายังหนุ่มยังสาวอยู่. วันคืนเคลื่อนคล้อย อายุก็น้อยเข้าไปทุกที เหมือนอายุของฝูงปลาในที่น้ำงวด. ความเป็นหนุ่มเป็นสาวจะเป็นหลักอะไรได้ ฯลฯ ชาวโลกถูกมัจจุราชประหัตประหาร ถูกชราปิดล้อมไว้ คืนวันไม่ผ่านไปเปล่า


    “ตอนเช้า ยังเห็นกันอยู่มากคน พอตกเย็น บางคนก็ไม่เห็น เมื่อเย็น ยังเห็นกันอยู่มากคน ถึงรุ่งเช้า บางคนก็ไม่เห็น ควรรีบทำความเพียรเสียแต่วันนี้ ใครเล่าจะรู้ว่าจะตายในวันพรุ่ง เพราะความผัดเพี้ยนกับพญามัจจุราชเจ้าทัพใหญ่นั้น ไม่มีเลย” (ขุ.ชา.28/437-441/163-5) เลือกแปลบางคาถา

    “ผู้ที่เศร้าโศกถึงคนตาย ก็เหมือนเด็กที่ร้องไห้ขอพระจันทร์ ซึ่งโคจรไปในอากาศ คนตายถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้ว่าญาติคร่ำครวญถึง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศก เขาไปแล้วตามวิถีทางของเขา” (ขุ.ชา.27/717-720/167-8)


    “ถ้าจะเศร้าโศกถึงคนที่ไม่มีอยู่แก่ตน คือคนที่ตายไปแล้ว ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตนเอง ซึ่งตกอยู่ในอำนาจของพญามัจจุราชตลอดเวลา


    “อายุสังขารใช่จะประมาทไปตามสัตว์ ผู้ยืน นั่ง นอน หรือเดินอยู่ ก็หาไม่ วัยย่อมเสื่อมลงเรื่อยไป ทุกหลับตา ทุกลืมตา


    “เมื่อวัยเสื่อมสิ้นไปอย่างนี้ ความพลัดพรากจากกัน ก็ต้องมี โดยไม่ต้องสงสัย หมู่สัตว์ที่ยังเหลืออยู่ ควรเมตตาเอื้อเอ็นดูต่อกัน ไม่ควรจะมัวเศร้าโศกถึงผู้ที่ตายไปแล้ว” (ขุ.ชา.27/611-3/416-7)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2017
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    “มนุษย์นี้ ตั้งแต่เริ่มเกิดอยู่ในครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน เมื่อเริ่มชีวิตขึ้นมาแล้ว ก็มีแต่จะบ่ายหน้าไป ไม่หวนหลังกลับคืน คนทั้งหลาย ถึงจะพรั่งพร้อมด้วยกำลังพล จะต่อสู้ให้ไม่แก่ไม่ตาย ก็ไม่ได้ ปวงสัตว์ล้วนถูกชาติและชราย่ำยี เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่า จะบำเพ็ญธรรม


    “ราชาผู้เป็นรัฎฐาธิบดี อาจเอาชนะกองทัพ ซึ่งมีพลทั้งสี่เหล่า (ช้าง ม้า รถ ราบ) ที่น่าสะพรึงกลัวได้ แต่ไม่สามารถเอาชนะพญามัจจุราช


    “ราชาบางพวก แวดล้อมแวดล้อมด้วยพลช้าง พลม้า พลรถ และพลราบแล้ว หลุดพ้นเงื้อมมือข้าศึกไปได้ แต่ไม่อาจตีหักให้พ้นพญามัจจุราช ฯลฯ


    “มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมบวงสรวง ทำให้ยักษ์ ปีศาจ หรือเปรตทั้งหลาย แม้ที่เกรี้ยวกราดแล้ว ยอมสงบพิโรธได้ แต่จะทำให้พญามัจจุราชยินยอมหาได้ไม่ ฯลฯ ผู้ต้องหาทำผิดฐานประทุษร้ายต่อองค์ราชา หรือต่อราชสมบัติ ก็ดี ผู้ร้ายที่เบียดเบียนประชาชน ก็ดี ยังมีทางขอให้พระราชาทรงผ่อนปรนพระราชทานอภัยโทษได้ แต่จะทำให้พญามัจจุราชผ่อนผันยอมตามหาได้ไม่


    “จะเป็นกษัตริย์ ก็ตาม พราหมณ์ ก็ตาม จะร่ำรวย มีกำลังอิทธิพล หรือมีเดชศักดาแค่ไหน พญามัจจุราชก็ไม่เห็นแก่ใครเลย เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงมีความคิดว่า จะบำเพ็ญธรรม ฯลฯ


    “ธรรมนั่นแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้ประพฤติธรรม ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ ธรรมกับอธรรม สองอย่างนี้ จะมีผลเสมอกันก็หาไม่ อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมให้ถึงสุคติ” (ขุ.ชา. 27/2261-2284/469-473 ...(เลือกแปลบางคาถา)
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    “เปรียบเหมือนว่า ภูเขาใหญ่ศิลาล้วน สูงจดขอบฟ้า กลิ้งเข้ามารอบด้าน ทั้งสี่ทิศ บดขยี้สัตว์ทั้งหลายเสีย ฉันใด ความแก่และความตาย ก็ครอบงำสัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้น ทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทร ตลอดจนจัณฑาล และคนเก็บกวาดขยะ ชราและมรณะย่อมย่ำยีทั้งหมด ไม่ละเว้นใครเลย ณ ที่นั้น ไม่มียุทธภูมิสำหรับพลช้าง สำหรับพลรถ หรือสำหรับพลราบ จะใช้เวทมนต์ต่อสู้ หรือเอาทรัพย์สินจ้าง ก็ไม่อาจเอาชนะได้


    “เพราะฉะนั้น คนฉลาด (บัณฑิต) เมื่อมองเห็นประโยชน์ที่แท้ แก่ตน พึงปลูกฝังศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ผู้ใดประพฤติธรรมด้วย กาย วาจา ใจ ผู้นั้น ย่อมเป็นที่สรรเสริญในโลกนี้ จากไปแล้ว ก็บันเทิงในสวรรค์” (สํ.ส. 15/415/148)
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เร่งทำกิจ และการเตรียมการเพื่ออนาคต

    "ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย คนประมาทเหมือนคนตายแล้ว ฯลฯ ผู้ไม่ประมาท เพ่งพินิจอยู่ ย่อมประสบความสุขอันไพบูลย์" (ขุ.ธ.25/12/18)

    "เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ ทุกคนควรกระทำกิจหน้าที่ และไม่พึงประมาท " (ขุ.สุ.24/387/465)

    "บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆว่า วันคืนล่วงไป บัดนี้เราทำอะไรอยู่" (องฺ.ทสก.24/48/92)

    "อย่าปล่อยโอกาสให้ผ่านเลยไปเสีย พังถอนลูกศรที่เสียบตัวออกเสีย ด้วยความไม่ประมาท และด้วยวิชชา" (ขุ.สุ.25/327/389)

    "รู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์แก่ชีวิตตน ก็ควรรีบลงมือทำ" (สํ.ส.15/281/81)

    "ในเวลาที่ควรลุกขึ้นทำงาน ไม่ลุกขึ้นทำ ทั้งที่ยังหนุ่มแน่นมีกำลัง กลับเฉื่อยชา ปล่อยความคิด ให้จมปลัก เกียจคร้าน มัวซึมเซาอยู่ ย่อมไม่ประสบทางแห่งปัญญา" (ขุ.ธ.25/30/52)

    "คนที่สุตะคือเรียนรู้น้อยนี้ ย่อมแก่เหมือนโคถึก เนื้อของเขาย่อมเจริญ แต่ปัญญาของเขาหาเจริญไม่" (ขุ.ธ.25/21/35)

    "เมื่อยังหนุ่มสาว พรหมจรรย์ก็ไม่บำเพ็ญ ทรัพย์ก็ไม่หาเอาไว้ ครั้นแก่เฒ่าลง ก็ต้องนิ่งซบเซา เหมือนนกกระเรียนแก่ จับหงอยอยู่กับเปือกตมที่ไร้ปลา"

    "เมื่อยังหนุ่มสาว พรหมจรรย์ก็ไม่บำเพ็ญ ทรัพย์ก็ไม่หาเอาไว้ ครั้นแก่เฒ่า ก็ได้แต่นอนทอดถอนถึงความหลัง เหมือนดังลูกศรที่เขายิงตกไปแล้ว หมดพิษสง"
    (ขุ.ธ.25/21/36)

    "ผลประโยชน์ทั้งปวง ตั้งอยู่ที่หลัก ๒ ประการ คือ การได้สิ่งที่ยังไม่ได้ และการรักษาสิ่งที่ได้แล้ว"
    (ขุ.ชา.27/2442/531 (ไม่ประมาท ๒ ด้านคือ ในการสร้างสรรค์ และในการรักษา)
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    "ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลเหล่าหนึ่งเหล่าใดก็ตาม ที่ถึงความเป็นใหญ่ในโภคสมบัติ จะดำรงอยู่ได้ยืนนาน ด้วยเหตุ ๔ สถาน หรือสถานใดสถานหนึ่ง กล่าวคือ รู้จักแสวงหาสิ่งที่พินาศสูญหาย ปฏิสังขรณ์สิ่งที่ชำรุดทรุดโทรม รู้จักประมาณในการกินการใช้ และตั้งสตรีหรือบุรุษผู้มีศีลให้เป็นใหญ่" (องฺ.จตุกฺก.21/258/336)

    "ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย คนประมาทเหมือนคนตายแล้ว

    "จากความมัวเมา ก็เกิดความประมาท จากความประมาท ก็เกิดความเสื่อม จากความเสื่อม ก็เกิดโทษประดัง ผู้มีภาระปกครองรัฐ จงอย่าได้ประมาทเลย"

    "กษัตริย์จำนวนมาก มีความประมาท ต้องสูญเสียประโยชน์ สูญเสียรัฐ แม้แต่ชาวบ้าน ประมาท ก็สูญเสียบ้าน อนาคาริกประมาท ก็สูญเสียความเป็นอนาคาริก เมื่อผู้ครองแผ่นดินประมาท โภคทรัพย์ในรัฐย่อมพินาศทั้งหมด นี่แลเรียกว่า ทุกข์ภัยของผู้ครองแผ่นดิน

    "ความประมาทนี้ เป็นหลักอะไรไม่ได้ ผู้ครองแผ่นดินประมาทเกินขอบเขต โจรทั้งหลายก็กำจัดชนบทที่มั่งคั่งบริบูรณ์เสีย โอรสทั้งหลายก็จะไม่มีเหลือ เงินทองทรัพย์สินก็จะไม่มีเหลือ เมื่อรัฐถูกปล้น ก็จะเสื่อมจากโภคสมบัติทุกอย่าง ถึงจะเป็นขัตติยราช เมื่อโภคสมบัติย่อยยับหมดแล้ว ญาติมิตรสหายทั้งหลาย ก็ไม่นับถือในความคิดอ่าน พลช้าง พลม้า พลรถ พลราบ ทั้งหลาย ที่อาศัยเลี้ยงชีพอยู่ ก็ไม่นับถือในความคิดอ่าน.

    "ผู้นำที่จัดการงานไม่ดี เขลา ด้อยความคิดอ่าน ทรามปัญญา ย่อมหมดศรีสง่า เหมือนคราบเก่าที่งูทั้งไปเสีย ส่วนผู้นำที่จัดแจงการงานเป็นอย่างดี หมั่นขยันถูกกาล ไม่เฉื่อยชา ย่อมมีโภคสมบัติที่เจริญยิ่งขึ้นๆทุกด้าน เหมือนฝูงวัวที่มีวัวผู้นำ.

    "ฉะนั้น พระองค์จงเสด็จเที่ยวสดับดูความเป็นอยู่เป็นไปในแว่นแคว้นแดนชนบท ครั้นได้เห็นได้สดับแล้ว จึงดำเนินราชกิจนั้นๆ" (ขุ.ชา.27/2419/524...)

    "เกิดเป็นคนควรหวังเรื่อยไป บัณฑิตไม่ควรท้อแท้ เราเห็นประจักษ์มากับตนเอง เราปรารถนาอย่างใด ก็ได้สมตามนั้น" (ขุ.ชา.27/51/17; 1854/362; 28/450/167 ...)

    "ภิกษุทั้งหลาย เราประจักษ์คุณค่าของธรรม ๒ ประการ คือ ความไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย และความไม่ระย่อในการบำเพ็ญเพียร ฯลฯ โพธิอันเรานั้นได้บรรลุด้วยความไม่ประมาท ความลุโล่งโปร่งใจ (โยคเกษม) อย่างเยี่ยมยอด อันเรานั้นได้บรรลุด้วยความไม่ประมาท" (องฺ.ทุก.20/251/64)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2017
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    "ภิกษุยังไม่ถึงความสิ้นอาสวะ อย่าได้นิ่งนอนใจ เพียงด้วยความมีศีลและวัตร ด้วยความเป็นผู้ได้เล่าเรียนศึกษามาก ด้วยการได้สมาธิ ด้วยการอยู่วิเวก หรือแม้แต่ด้วยการประจักษ์ว่า เราได้สัมผัสเนกขัมมสุขที่พวกปุถุชนไม่เคยได้รู้จัก" (ขุ.ธ.25/29/51- เนกขัมมสุข อรรกถาว่า หมายถึงสุขของพระอนาคามี)

    "เตรียมกิจสำหรับอนาคตให้พร้อมไว้ก่อน อย่าให้กิจนั้นบีบคั้นตัวเมื่อถึงเวลาต้องทำเฉพาะหน้า" (ขุ.ชา.27/1636/328)

    "พึงระแวงสิ่งที่ควรระแวง พึงป้องกันภัยที่ยังไม่มาถึง ธีรชนตรวจตราโลกทั้งสอง เพราะคำนึงภัยที่ยังไม่มาถึง" (ขุ.ชา.27/545/136; 1092/231)


    "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมองเห็นภัยที่ยังไม่มาถึง (อนาคตภัย) ๕ ประการต่อไปนี้ (คือ ความชรา ความเจ็บไข้ ความขาดแคลน คราวบ้านเมืองไม่สงบ คราวสงฆ์แตกแยก ที่อาจจะเกิดมีขึ้น) ย่อมควรแท้ ที่ภิกษุจะเป็นอยู่โดยเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศตัวเด็ดเดี่ยวเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อเข้าถึงธรรมที่ยังไม่เข้าถึง เพื่อประจักษ์แจ้งธรรมที่ยังไม่ประจักษ์แจ้ง" (องฺ.ปญฺจก.22/78/117)

    "ภิกษุทั้งหลาย อนาคตภัย ๕ ประการเหล่านี้ (คือ ภิกษุทั้งหลาย ที่มิได้อบรมพัฒนากาย ศีล จิต ปัญญา จะเป็นอุปัชฌาย์ให้อุปสมบท จะเป็นอาจารย์ จะเป็นผู้กล่าวอภิธรรมกถา เวทัลลกถา จะไม่ตั้งใจฟังพระสูตรที่เป็นตถาคตภาษิต จะเป็นพระเถระผู้นำในทางย่อหย่อน) ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป เธอทั้งหลาย พึงตระหนักทันการไว้ ครั้นตระหนักแล้ว พึงพยายามเพื่อป้องกันอนาคตภัยเหล่านั้น" (องฺ.ปญฺจก.22/77/115)


    "ภิกษุทั้งหลาย อนาคตภัย ๕ ประการเหล่านี้ (คือ ภิกษุทั้งหลาย จะมัวหมกมุ่นติดในเรื่องจีวรดีๆ อาหารดีๆ ที่อยู่อาศัยดีๆ แล้วทำการแสวงหาผิดวินัย จะอยู่คลุกคลีกับภิกษุณี สิกขมานาและสามเณร จะอยู่คลุกคลีกับคนวัด และสามเณร) ซึ่ง ยังไม่เกิดขึ้นในบัดนี้ จักเกิดขึ้นในกาลต่อไป เธอทั้งหลาย พึงตระหนักล่วงหน้าไว้ ครั้นตระหนักแล้ว พึงพยายามเพื่อป้องกันอนาคตภัยเหล่านั้น" (องฺ.ปญฺจก.22/79/121)
     
  17. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,301
    ค่าพลัง:
    +12,628
    ยังจะมาปลิ้นได้อีกนะเนอะ เจ้านกหลายหัว
     
  18. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,301
    ค่าพลัง:
    +12,628
    เดนนรกมาสอนธรรมะ
    ไปตอบคำถามกระทู้ที่ป่วนไว้ซะดีดี เจ้านกหลายหัว
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ต่อ


    “แน่ะสารีบุตร พระผู้มีพระภาคกกุสันธะ ก็ดี พระผู้มีพระภาคโกนาคมน์ ก็ดี พระผู้มีพระภาคกัสสปะ ก็ดี ไม่คร้านที่จะแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายโดยพิสดาร และสุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคเหล่านั้น ก็มีมาก สิกขาบท ท่านก็บัญญัติไว้แก่สาวกทั้งหลาย ปาฏิโมกข์ ท่านก็แสดงไว้ เมื่อพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า และเหล่าสาวกที่ตรัสรู้ตาม ลับล่วงไปแล้ว สาวกทั้งหลายรุ่นภายหลัง ซึ่งมีชื่อ โคตร ชาติตระกูลต่างๆ กัน ออกบวชแล้ว ก็ดำรงศาสนาไว้ได้ตลอดกาลยาวนาน”


    “เปรียบเหมือนดอกไม้นานพรรณ ที่เขาวางไว้บนแผ่นไม้ แต่เอาด้ายร้อยไว้แล้วอย่างดี ลมกระพือพัดมา ก็พาให้กระจัดกระจายไม่ได้ ทั้งนี้เพราะถูกร้อยรวมกันไว้เป็นอย่างดี...นี่คือเหตุปัจจัย ให้ศาสนาของพระผู้มีพระภาคกกุสันธะ พระผู้มีพระภาคโกนาคมน์ พระผู้มีพระภาคกัสสปะ ดำรงอยู่ได้ยืนนาน” (วินย.1/7/14)


    “ครั้งนั้นและ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ฯลฯ ท่านทั้งหลาย ธรรมนี้ พระผู้พระภาคเจ้าของเราทั้งหาย ตรัสไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นเครื่องนำสู่ความหลุดพ้น เป็นไปเพื่อสันติ เป็นคำประกาศของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกท่านทีเดียว พึงสังคายนาในธรรมนั้น ไม่พึงวิวาทกัน อันจะช่วยให้พระศาสนา (พรหมจรรย์) ยั่งยืน ดำรงอยู่ตลอดกาลนาน เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่คนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เทวะและมนุษย์ทั้งหลาย” (ที.ป. 11/225/225)


    “ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะ กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ฯลฯ ท่านทั้งหลาย ขอเชิญพวกเรามาสังคายนาธรรม และวินัยกันเถิด ก่อนที่อธรรมจะรุ่งเรือง ธรรมจะถูกขัดขวาง อวินัยจะรุ่งเรือง วินัยจะถูกขัดขวาง ก่อนที่พวกอธรรมวาทีจะมีกำลัง ธรรมวาทีจะอ่อนกำลัง พวกอวินยวาทีจะมีกำลัง วินยวาทีจะอ่อนกำลัง” (วินย.7/614/225)


    “อานนท์ ตราบใดที่เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังจักประชุมกันเนืองนิตย์...ตราบใดที่พวกเจ้าวัชชี ยังจักพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลือกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจการหน้าที่ของสงฆ์ ตราบนั้น ภิกษุทั้งหลาย พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเลย...


    “ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดที่ภิกษุทั้งหลาย จักยังเป็นผู้มีศรัทธา...มีหิริ...มีโอตตัปปะ...เป็นผู้เล่าเรียนศึกษามาก (พหูสูต) เป็นผู้ตั้งหน้าเพียร...เป็นผู้มีสติกำกับตัว... เป็นผู้มีปัญญา ตราบนั้น ภิกษุทั้งหลาย พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเลย” *

    * (ที.ม.10/68,70,72/86 - 92) ในการทำจิต ท่านสอนให้รู้เท่าทันว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง มีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา แต่พุทธพจน์ชุดนี้ กลับสอนว่า ถ้าทำกิจด้วยความไม่ประมาท ก็จะไม่มีความเสื่อมเลย มีแต่ความเจริญอย่างเดียว พึงศึกษาพุทธพจน์สองแบบนี้ให้ชัดเจน จะได้เข้าใจถูกต้อง และปฏิบัติไม่ผิดพลาด นอกจากนี้ พึงสังเกตด้วยว่า ความไม่ประมาทในการปรับปรุงพัฒนาตน ซึ่งเป็นกิจส่วนตัว จะต้องดำเนินเคียงคู่ไปด้วยกันกับความไม่ประมาทในการทำกิจที่เป็นความรับผิดชอบต่อส่วนรวม


    (พุทธธรรมหน้า 136ไป)
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    กระทู้ไหนขอรับ

    ผมไม่ใช่นก คนครับคน อิอิ แม้แต่นกก็มีหัวเดียวนะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...