เรื่องเด่น พุทธพจน์เกี่ยวกับไตรลักษณ์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 23 พฤษภาคม 2017.

  1. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,410
    ค่าพลัง:
    +12,662
    ฝนตกอากาศดีกี่ป๋องแล้ว
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    หนังสือพุทธธรรมเป็นอรรถกถา สมควรไหมที่จะยกมาข่มพระไตรปิฎก


    (แก้ตัวแทนท่านหน่อย) ตย. คัมภีร์อ้างอิงคร่าวๆ จากหนังสือพุทธธรรม (ให้สังเกตดู)

    เกี่ยวกับหลักฐานที่มา มีข้อควรรู้บางอย่าง คือ

    ก. สำหรับผู้คุ้นกับคัมภีร์พุทธศาสนาอยู่แล้ว เมื่อเห็นอักษรย่อคัมภีร์ ก็รู้ได้ทันทีว่า อันใดเป็นคัมภีร์ในพระไตรปิฎก อันใดเป็นคัมภีร์รุ่นหลัง
    แต่สำหรับผู้ไม่คุ้น อาจสังเกตง่ายๆจากเลขบอกที่มาคือคัมภีร์ในพระไตรปิฎก เรียงเลข ๓ ช่อง เป็น เล่ม/ข้อ/หน้า ส่วนคัมภีร์รุ่นหลังเรียงเลขเพียง ๒ ช่อง เป็น เล่ม/หน้า นอกจากนั้น คัมภีร์ที่เป็นอรรถกถา อักษรย่อจะลงท้ายด้วย อ. ที่เป็นฎีกา จะลงท้ายด้วย ฎีกา

    ข. ตามปกติ เรื่องใดอ้างหลักฐานที่มาในคัมภีร์ชั้นต้นที่สำคัญกว่าแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องอ้างหลักฐานที่มาในคัมภีร์ชั้นรองลงไป ที่สำคัญน้อยกว่า เช่น อ้างพระไตรปิฎกแล้ว ก็ไม่ต้องอ้างอรรถกถาอีก เว้นแต่มีเหตุผลพิเศษ เช่น มีคำอธิบายเพิ่มเติม เป็นต้น

    ค. เมื่ออ้างที่มาหลายแห่ง จะเรียงตามลำดับประเภท หมวด และรุ่นของคัมภีร์ เช่น เรียงพระไตรปิฎกก่อนอรรถกถา อรรถกถาก่อนฎีกา หรือในจำพวกพระไตรปิฎกด้วยกัน ก็เรียงพระวินัยก่อนพระสูตร พระสูตรก่อนพระอภิธรรม ในพระสูตรด้วยกัน ก็เรียงตามลำดับนิกาย ในนิกายเดียวกัน ก็เรียงตามลำดับคัมภีร์ เป็น วินย. ที.สี. ที.ม. ที.ปา. ม.มู. ม.ม. ฯลฯ อภิ.สํ. อภิ.วิ. ฯลฯ วินย.อ. ที.อ. ม.อ. ฯลฯ วิภงฺค.อ. ฯลฯ วินย.ฎีกา. ฯลฯ เว้นแต่มีเหตุผลพิเศษ เช่น เป็นคัมภีร์ลำดับหลัง แต่กล่าวถึงเรื่องนั้นไว้มาก เป็นหลักฐานใหญ่เฉพาะกรณีนั้น ก็เรียงไว้ข้างต้น หรือคัมภีร์ที่กล่าวถึงเรื่องนั้นไว้คล้ายกัน ก็เรียงไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เป็นต้น

    หนังสือทางพระพุทธศาสนาที่แต่งกันทั่วไปจำนวนมาก ที่ไม่ได้แสดงหลักฐานที่มา บางครั้งก็ทำให้ผู้อ่านสับสนหรือถึงกับเข้าใจผิด จับเอาเรื่องในคัมภีร์รุ่นหลัง หรือมติของพระอรรถกถาจารย์ เป็นต้น ว่าเป็นคำสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า

    บางที แม้แต่ผู้แต่งหนังสือเหล่านั้นเอง ก็สับสนหรือเข้าใจผิดอยู่ก่อนแล้ว จึงเป็นข้อที่พึงระวังในเรื่องความสับสนเกี่ยวกับหลักฐานที่มานี้

    ในการแสดงพุทธธรรม ผู้แสดงถือว่าได้พยายามที่จะแสดงตัวพุทธธรรมแท้ อย่างที่องค์พระบรมศาสดาทรงสอนและทรงมุ่งหมาย ในการนี้ ได้ตัดความหมายอย่างที่ประชาชนเข้าใจออกโดยสิ้นเชิง ไม่นำมาพิจารณาเลย เพราะถือว่าเป็นเรื่องข้างปลาย ไม่จำเป็นต่อการเข้าใจตัวพุทธธรรมที่แท้แต่ประการใด
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สมควรไหมที่จะยกมาข่มคนสนใจธรรมะแต่ไม่ชำนาญด้านศัพท์ธรรมะ

    คนละประเด็นกัน สนใจก็สนใจ ดีออก ด้านศัพท์ธรรมะ กับ ความหมายส่วนหนึ่ง

    ขอแจง คือ เราพูดถ้อยคำหรือศัพท์ธรรมะใดๆก็ตาม ที่ถูกที่ควร ผู้พูดควรเข้าใจความหมายด้วย ว่าตัวนี้ (ที่ตนพูดนี้) มีความหมายว่า อย่างไร เช่น สติ (พูดกันบ่อยๆ) หมายความว่าอย่างไร สมาธิ มีความหมายว่าอย่างไร สมถะ หมายถึงยังไง เป็นต้น

    แต่ถ้าพูดแล้ว ผู้พูดเอง ก็ไม่รู้ว่าหมายถึงอะไรยังไง คิดดูจะต่างอะไรกับนกพูดภาษาคนได้ แต่ตัวเองก็ไม่รู้คนเขาใช้สื่อสารอะไรกัน

    มจด. ไม่มีเจตนายกมาข่มคน แต่เพื่อให้รู้ว่า เขาหมายถึงยังงี้ๆ แบบดั่งเดิม หมายถึงยังงี้ ไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    มีแต่ความน่ารังเกียจว่าคนพุทธต่างค่าย
    ต่างสำนักยังขี่คอข่มกันเองอัปรีย์ไหม


    เห็นด้วย เห็นด้วยสุดลิ่มทิ่มประตูเลย คนพุทธควรสามัคคีกันไว้ สถานการณ์ปัจจุบัน พระพุทธศาสนากำลังมีภัย คือ ทั้งภัยภายใน ทั้งภัยภายนอก

    ภัยภายนอก คือ จากผู้ถือลัทธิต่างกันรุกคืบทุกวันๆ ลุงแมวดูภาคเหนือ ภาคอิสาน .... ดูตัวอย่าง ประเทศอินเดียซึ่งเป็นแดนพุทธภูมิ พระพุทธศาสนายังสูญสิ้นได้ จะกล่าวไปใยถึงพุทธในประเทศไทยเล่า

    ไฟภายใน ก็คือชาวพุทธด้วยกันเอง จับหลักพุทธธรรมไม่ติด ถึงติดก็ติดบางแง่บางด้าน แล้วก็เน้นหนักในแง่ที่ตนพอๆเข้าใจ จนบางครั้ง เหมือนเป็นลัทธิอื่นไป บ้างก็ขัดแย้งกันเอง อย่างในนี้ อิอิ หรือที่อื่นๆ ลองถามดิ พระพุทธศาสนาคืออะไร ฯลฯ ลุงแมวเอง ยังเข้าใจพระรัตนตรัยผิดเลย
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ลงตอน >

    คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณะ (ด้านการทำจิตเป็นอิสระ และด้านทำกิจโดยไม่ประมาท)
    - อนิจจตาแห่งชีวิต และการเห็นคุณค่าของกาลเวลา

    ที่ยังค้างอยู่ให้จบ (ตัดชื่อคัมภีร์ที่อ้างอิงออกบ้าง)



    GraphicFlower36.gif
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    “ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการเหล่านี้ เป็นสิ่งสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ก็ตามในโลก ไม่อาจจะได้ ๕ ประการ อะไรบ้าง ?

    ได้แก่ ข้อว่า ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา จงอย่าแก่
    ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จงอย่าเจ็บไข้
    ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา จงอย่าตาย
    ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา จงอย่าสิ้นไป
    ขอสิ่งที่มีความพินาศเป็นธรรมดา จงอย่าพินาศ


    “สำหรับปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ก็ย่อมแก่ สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ก็ย่อมเจ็บไข้ สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ก็ย่อมตาย สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ก็ย่อมสิ้นไป


    ปุถุชนนั้น...(เมื่อสภาพเช่นนั้นเกิดขึ้น) ย่อมไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิใช่เฉพาะแต่ของเราผู้เดียวเท่านั้น...(ที่เป็นเช่นนั้น) แท้จริงแล้ว ตราบใด สัตว์ทั้งหลายยังมีการมา การไป การจุติ การอุบัติกันอยู่
    ตราบนั้น สำหรับสัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้นทีเดียว สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ก็ย่อมแก่ ... สิ่งที่มีความพินาศเป็นธรรมดา ก็ย่อมพินาศด้วยกันทั้งนั้น ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา มาแก่ไป ... เมื่อสิ่งที่มีความพินาศเป็นธรรมดา มาพินาศไป
    ถ้าเราจะโศกเศร้า หม่นหมอง ร้องไห้ ตีอก คร่ำครวญ หลงใหลฟั่นเฟือนไป แม้อาหารก็จะไม่เป็นอันกิน ร่างกายก็จะซูบโทรม การงานก็จะไม่เป็นอันทำ พวกศัตรูก็จะพากันชอบใจ ฝ่ายมิตรสหายก็จะพลอยเสียใจ...

    (ครั้นสภาพเช่นนั้น เกิดขึ้นจริง) เขาย่อมโศกเศร้า หม่นหมอง ร้องไห้ ตีอก คร่ำครวญ หลงใหลฟั่นเฟือนไป นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ถูกลูกศรคือความเศร้าโศกอันมีพิษ เสียบแทงแล้ว ทำตัวเองให้เดือดร้อน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2017
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    “แต่สำหรับอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ก็ย่อมแก่ ... สิ่งที่มีความพินาศเป็นธรรมดา ก็ย่อมพินาศไป


    “อริยสาวกนั้น (เมื่อสภาพเช่นนั้นเกิดขึ้น) ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า มิใช่เฉพาะแต่ของเราผู้เดียวเท่านั้น...(ที่เป็นเช่นนั้น) แท้จริงแล้ว ตราบใด สัตว์ทั้งหลายยังมีการมา การไป การจุติ การอุบัติกันอยู่
    ตราบนั้น สำหรับสัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้นทีเดียว สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ก็ย่อมแก่ ... สิ่งที่มีความพินาศเป็นธรรมดา ก็ย่อมพินาศด้วยกันทั้งนั้น ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา มาแก่ไป ... เมื่อสิ่งที่มีความพินาศเป็นธรรมดา มาพินาศไป
    ถ้าเราจะโศกเศร้า หม่นหมอง ร้องไห้ ตีอก คร่ำครวญ หลงใหลฟั่นเฟือนไป แม้อาหารก็จะไม่เป็นอันกิน ร่างกายก็จะซูบโทรม การงานก็จะไม่เป็นอันทำ พวกศัตรูก็จะพากันชอบใจ ฝ่ายมิตรสหายก็จะพลอยเสียใจ...

    (ครั้นสภาพเช่นนั้น เกิดขึ้นจริง) อริยสาวกนั้น ย่อมไม่โศกเศร้า ไม่หม่นหมอง ไม่ร้องไห้ ไม่ตีอก ไม่คร่ำครวญ ไม่หลงใหลฟั่นเฟือน นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ เขาถอนลูกศรคือความเศร้าโศก อันมีพิษ ที่เป็นเครื่องเสียบแทงปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ซึ่งได้ทำตัวเองให้เดือดร้อนออกได้แล้ว
    อริยสาวกนั้น เป็นผู้ไม่มีความเศร้าโศก ปราศจากลูกศรที่เสียบแทง ย่อมดับทุกข์ร้อน ทำตนให้สุขเย็น

    “การโศกเศร้า การพิไรรำพัน จะช่วยให้ได้ประโยชน์อะไรสักนิดหน่อย ก็หาไม่ เหล่าคนที่มุ่งร้ายรู้ว่า เขาโศกเศร้า มีความทุกข์ ย่อมจะดีใจ
    ส่วนบัณฑิต ผู้ฉลาดในการวินิจฉัยเหตุผล ย่อมไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ร้ายทั้งหลาย เมื่อมองเห็นหน้าของบัณฑิตนั้น เป็นเหมือนเดิมไม่ผิดแปลกไป พวกอมิตรทั้งหลายกลับกลายเป็นฝ่ายทุกข์


    ประโยชน์ที่มุ่งหมาย ตนจะได้ในที่ใด ด้วยวิธีใด จะด้วยการเข้าไปพูดกันเฉพาะตัว ด้วยการปรึกษาท่านผู้รู้ ด้วยการรู้จักเจรจา ด้วยการจ่ายทรัพย์ หรือด้วยขนบธรรมเนียมอย่างใดก็ตาม ก็พึงพากเพียร ในที่นั้นๆ ด้วยวิธีนั้นๆ

    หากรู้ชัดว่า ผลที่หมายนั้น เป็นสิ่งที่เราก็ตาม ผู้อื่นก็ตาม ไม่อาจจะได้ ก็ไม่พึงเศร้าโศก พึงยับยั้งตั้งใจอย่างมั่นคงว่า ทีนี้ เราจะทำอย่างไรต่อไป (องฺ.ปญฺจก.22/48/59)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2017
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    “จะตายก็ไปคนเดียว จะเกิดก็มาคนเดียว ความสัมพันธ์ของสัตว์ทั้งหลาย ก็แค่ได้มาพบปะเกี่ยวข้อกัน เพราะฉะนั้น สำหรับท่านผู้ได้เรียนรู้มามาก เป็นปราชญ์ มองเห็นโลกนี้โลกหน้า รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ความเศร้าโศกทั้งหลาย แม้ใหญ่หลวง ก็ไม่ทำให้ท่านเร่าร้อน

    “เรานั้น จะบริหารยศ ฐานะ และโภคทรัพย์ จะบำรุงเลี้ยงภรรยาและหมู่ญาติกับทั้งประดาชาวประชานอกนั้น นี่คือกิจหน้าที่ของท่านผู้รู้” (ขุ.ชา.27/1573-5/318)
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    “คนเขลา ย่อมคิดการแต่ว่า ฤดูฝน เราจะอยู่ที่นี้ ฤดูหนาว ฤดูร้อน เราจะอยู่ที่นี้ หาตระหนักถึงอันตรายไม่ เมื่อเขาหลงใหลอยู่กับลูกหลาน และสัตว์เลี้ยง มีจิตติดข้องอยู่ในทรัพย์สินสิ่งของต่างๆ มัจจุราชก็มาพาเอาเขาไป เหมือนห้วงน้ำใหญ่พัดพาชาวบ้านที่หลับใหลไป ฉะนั้น


    “เมื่อถูกพญามัจจุราชครอบงำ ไม่ว่าบุตร ไม่ว่าบิดา ไม่ว่าญาติพวกพ้อง ถึงจะมี ก็ช่วยต้านทานไม่ได้ จะหาที่ปกป้องในหมู่ญาติ เป็นอันไม่มี


    “บัณฑิตสำรวมตนด้วยศีล ทราบเหตุผลดังนี้แล้ว พึงรีบชำระทางดำเนินสู่นิพพานโดยเร็วพลัน” (ขุ.ธ.25/30/53)


    “ชีวิตนี้ น้อยจริงหนอ คนย่อมตาย ทั้งที่อายุยังไม่ถึงร้อยปี ถึงแม้อยู่ได้เกินกว่านั้น ก็ต้องตาย เพราะชราอย่างแน่นอน


    “ชนทั้งหลาย ย่อมเศร้าโศก เพราะสิ่งที่ตนยึดถือว่าเป็นของเรา แต่แท้จริงแล้ว สิ่งที่หวงแหนไว้ไม่มีอะไรเที่ยงแท้เลย ผู้ที่มองเห็นว่า ความพลัดพรากกันจะต้องมีแน่นอนดั่งนี้แล้ว ไม่ควรอยู่ครองเรือน คนสำคัญหมายสิ่งใดว่า นี้ของเรา ก็ต้องละสิ่งนั้นไปเพราะความตาย บัณฑิตพุทธมามกะทราบความข้อนี้แล้ว ไม่พึงโน้มเอียงไปในการที่จะยึดถืออะไรๆ ว่าเป็นของเรา


    “คนที่รักใคร่ ตายจากไปแล้ว ย่อมไม่ได้พบเห็นอีก เหมือนคนตื่นขึ้น ไม่เห็นสิ่งที่ได้พบในฝัน คนที่เขาเรียกว่าชื่อนี้ๆ นั้น ก็แค่ได้พบเห็นกันบ้าง ได้ยินถึงบ้าง คนที่ตายจากไปแล้ว ก็เหลือแต่ชื่อเท่านั้น ที่จะพึงกล่าวขวัญถึงได้ ผู้ที่ติดใคร่ในสิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมละความโศกเศร้าความคร่ำครวญและความตระหนี่ไม่ได้ เพราะฉะนั้น มุนีทั้งหลาย ผู้มองเห็นความเกษม จึงละสิ่งที่เคยหวงแหนเที่ยวไป.


    “มุนี ไม่ติดในสิ่งทั้งปวง ไม่ทำใครๆอะไรๆ ให้เป็นที่รัก ให้เป็นที่ชัง ความร่ำไห้ และความตระหนี่จึงไม่แปดเปื้อนมุนีนั้น เหมือนดังน้ำไม่เปียกใบบัว”


    “หยาดน้ำไม่ติดใบบัว วารีไม่ติดปทุม ฉันใด มุนี ก็ไม่ติดในสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน ได้สบทราบ ฉันนั้น”


    “ท่านผู้ทรงปัญญา (พระอรหันต์) ย่อมไม่สำคัญมั่นหมายด้วยสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน หรือสบทราบ ย่อมไม่ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยวิธีการอย่างอื่น ท่านไม่ติดใคร่ (อย่างพาลปุถุชน) และก็ไม่หน่ายแหนง (อย่างกัลยาณปุถุชน และพระเสขะ)” (ขุ.สุ.25/413/492)
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    “ทรัพย์สมบัติละทิ้งคนไปก่อน ก็มี คนละทิ้งทรัพย์สมบัติไปก่อน ก็มี ท่านผู้ใคร่กามารมณ์เอย ผู้ครองทรัพย์สมบัติทั้งหลาย ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืนเลย เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศก ในยามที่คนทั้งหลายพากันโศกเศร้า


    “ดวงจันทร์อุทัยขึ้น เต็มดวง แล้วก็แรมลับ ดวงอาทิตย์ ฉายแสงส่องโลก แล้วก็อัสดง โลกธรรมทั้งหลายนั้น ข้าพเจ้ารู้เท่าทันแล้ว เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศก ในยามที่คนทั้งหลายพากันโศกเศร้า” (ขุ.ชา. 27/703-4/164 ขุ.ม. 29/192/149)


    “ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ เหล่านี้ เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์ เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา


    “ผู้มีปัญญาดี มีสติ รู้จักสิ่งเหล่านี้แล้ว พิจารณาเห็นว่าเป็นของผันแปรไปได้เป็นธรรมดา สิ่งน่าปรารถนา ก็ย่ำยีจิตของท่านไม่ได้ ถึงสิ่งไม่น่าปรารถนา ก็ไม่ทำให้ท่านคับแค้น ความยินดี ก็ตาม ความยินร้าย ก็ตาม ท่านกำจัดได้หมด หายลับ ไม่มีเหลือ ท่านทราบสภาวะที่ไรโศก ไร้ธุลี มีสัมมาปัญญา เป็นผู้ลุถึงฟากฝั่งภพ” (องฺ.อฏฺฐก.23/95-968/158-162)


    “รูปกายของสัตว์ ย่อมร่วงโรยไป แต่ชื่อและโคตรไม่เสื่อมสลาย” (สํ.ส.15/210/59)


    “กาลเวลา ย่อมกลืนกินสัตว์ทั้งหลาย พร้อมกันไปกับตัวมันเอง” (ขุ.ชา.27/340/95)


    “วัยสิ้นไป ตามคืนและวัน” (สํ.ส.15/173/52; 210/59)

    “กาลเวลาล่วงไป คืนวันผ่านพ้นไป วัยก็หมดไปทีละตอนตามลำดับ ผู้เล็งเห็นภัยในความตายดังนี้ หวังความสงบ พึงละเหยื่อล่อในโลกเสีย” (สํ.ส.15/300/90)

    “ข้าพเจ้าไม่มีความชั่วซึ่งได้ทำไว้ ณ ที่ไหนๆเลย เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่หวั่นกลัวความตายที่จะมาถึง” (ขุ.ชา.28/1000/350)

    “ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวปรโลก” (สํ.ส.15/208/59)

    “สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับไป ความสงบวางแห่งสังขารเหล่านั้น เป็นสุข” (ที.ม.10/185-6/225-8)
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    “อานนท์ จงดูเถิด สังขารเหล่านั้นทั้งหมด ล้วนเป็นอดีต ดับสิ้นไปแล้ว ผันแปรไปแล้ว สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้แล สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืนอย่างนี้แล สังขารทั้งหลาย ให้ความโปร่งโล่งมั่นใจไม่ได้ อย่างนี้แล อานนท์ เพียงเท่านี้ ก็เพียงพอแล้วที่จะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลายทั้งปวง เพียงพอที่จะเลิกติดใคร่ เพียงพอที่จะหลุดพ้นไปเสีย ฯลฯ.


    “สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับไป ความสงบวางแห่งสังขารเหล่านั้น เป็นสุข” (ที.ม.10/185-6/225-8)

    นครของเราชื่อว่ากบิลพัสดุ์ พระราชา พุทธบิดา พระนามว่าสุทโธทนะ พระมารดา ผู้ชนนี มีพระนามว่ามายาเทวี เราครองอาคาริยวิสัยอยู่ ๒๙ พรรษา มีปราสาทเลิศ ๓ หลัง ชื่อว่า สุจันทะ โกกนุท และโกญจะ พร้อมด้วยสตรีสี่หมื่นนาง เฝ้าแหนอลังการ ยอดนารีมีนามว่า ยโสธรา โอรสนามว่า ราหุล

    “เราเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงออกบวชอัศวราชยาน ได้บำเพ็ญเพียรประพฤติทุกรกิริยาอยู่ ๖ พรรษา เราประกาศธรรมจักรที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพราณสี

    “เราคือพระสัมพุทธเจ้า นามว่าโคตรมะ เป็นสรณะของสรรพสัตว์ ฯลฯ อายุของเราในยุคสมัยบัดนี้ น้อยเพียงชั่วร้อยปี ถึงจะดำรงอยู่เพียงเท่านั้น เราก็ช่วยหมู่ชนให้ข้ามพันวัฏฏะไปได้จำนวนมากมาย และได้ตั้งคบเพลิงธรรมไว้ปลุกประชาชนภายหลังให้เกิดปัญญาตื่นขึ้นมาตรัสรู้ต่อไป


    “ไม่นานเลย เราพร้อมทั้งหมู่สาวก ก็จักปรินิพพาน เหมือนไฟดับไปเพราะสิ้นเชื้อ เรือนกายร่างนี้ที่ทรงซึ่งคุณสมบัติ วิจิตรด้วยวรลักษณ์ทั้ง ๓๒ ประการ มีเดชหาที่เทียบเทียมมิได้ กับทั้งทศพลและประดาฤทธิ์ ฉายประภาฉัพพรรณรังสี สว่างไสวทั่วทศทิศ ดุจดังดวงอาทิตย์ศตรังสี ก็จักลับดับหาย สังขารทั้งหมดทั้งหลายไร้แก่นสาร ล้วนว่างเปล่าดังนี้แหละหนอ” (ขุ.พุทฺธ.33/26/544)


    “ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนพาล ทั้งบัณฑิต ทั้งคนมี ทั้งคนจน ล้วนเดินหน้าไปหาความตาย ทั้งนั้น ภาชนะดินที่ช่างหม้อทำแล้ว ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ทั้งสุกทั้งดิบ ล้วนมีความแตกทำลายเป็นที่สุด ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็มีความตายเป็นที่สุด ฉันนั้น


    “วัยของเราหง่อมแล้ว ชีวิตของเรายังอยู่เพียงเล็กน้อย เราจะจากพวกเธอไป เราได้ทำสรณะให้แก่ตนแล้ว ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีความประพฤติดีงาม มีความดำริมั่นคง จงตามรักษาจิตของตน ผู้ใดในธรรมวินัยนี้ จักเป็นอยู่อย่างไม่ประมาท ผู้นั้น จะละชาติสงสาร กระทำความจบสิ้นทุกข์ได้” (ที.ม.10/108/141)

    “ภิกษุทั้งหลาย ปัจจุบันนี้ เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวว่า ชีวิตของมนุษย์นั้นน้อย เป็นของนิดหน่อย พลันลับหาย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก พึงตริตรองการด้วยความรู้คิด พึงทำความดีงาม (กุศล) พึงครองชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์) ผู้เกิดมาแล้ว ที่จะไม่ตาย เป็นไม่มี

    “ภิกษุทั้งหลาย กิจใดที่ศาสดาผู้อนุเคราะห์ ผู้แสวงประโยชน์แก่สาวกทั้งหลาย จะพึงทำด้วยอาศัยน้ำใจเกื้อกูล กิจนั้น เราได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย

    “ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลาย จงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าต้องเป็นผู้มีความเดือดร้อนใจในหลังเลย นี่คืออนุศาสนีของเรา สำหรับเธอทั้งหลาย” (องฺ.สตฺตก. 23/71/140)

    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ตน (อัตตัตถะ) ก็ควรทีเดียว ที่จะยังประโยชน์ตนให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาท เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ผู้อื่น (ปรัตถะ) ก็ควรทีเดียว ที่จะยังประโยชน์ผู้อื่นนั้นให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาท เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย (อุภยัตถะ) ก็ควรทีเดียว ที่จะยังประโยชน์ทั้งสองฝ่ายนั้นให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาท” (สํ.นิ. 16/67/35...)
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    คาถาจากธรรมบท

    17021832_389448218101860_2270668614576215691_n.jpg

    มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา - มโนเสฏฺฐา มโนมยา
    มนสา เจ ปทุฏฺเฐน - ภาสตี วา กโรติ วา
    ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ - จกฺกํว วหโต ปทํ.


    ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ
    ถ้าบุคคลมีใจชั่วร้ายแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี
    ความทุกข์ย่อมตามเขาไป เพราะทุจริต ๓ อย่างนั้น เหมือนล้อหมุนไปตามรอยตีนโค ตัวเทียมแอกไปอยู่ ฉะนั้น .


    มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา - มโนเสฏฺฐา มโนมยา
    มนสา เจ ปสนฺเนน - ภาสตี วา กโรติ วา
    ตโต นํ สุขมเนฺวติ - ฉายาว อนุปายินี.


    ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ
    ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี
    ความสุขย่อมตามเขาไป เพราะสุจริต ๓ อย่างนั้น เหมือนเงาไปตามตัว ฉะนั้น .
     

แชร์หน้านี้

Loading...