พุทธศาสนาในอินเดีย

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย Kamen rider, 8 เมษายน 2005.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,776
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thaidetail vAlign=top align=left>
    <TABLE borderColor=#ff6600 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left bgColor=#ffffff>

    [size=+3]พุทธศาสนาในอินเดีย[/size]
    อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์
    <HR>
    ต้องการดาว์โหลดเป็นเอกสาร word [​IMG] กดที่นี่




    เมื่อพุทธศาสนาปลาสนาการไปจากชมพูทวีป แต่ประมาณคริสตศตวรรษที่ ๑๒ หรือ ๑๓ เพราะพวกมุสลิมกรีฑาทัพเข้ามายึดครองประเทศ และทำลายพุทธศาสนาเกือบหมดสิ้นเท่านั้นยังไม่พอ พวกพราหมณ์ก็ช่วยทำลายล้างพระธรรมคำสั่งสอน โดยเฉพาะก็สังการาจารย์ ที่สามารถทำให้พระพุทธเจ้าเป็นองค์อวตารที่ ๙ ของพระนารายณ์ ที่มาชี้ทางผิดๆ ให้ศาสนิกนิกรอีกด้วย แต่ก็นำคำสอนดีๆ ในทางอหิงสธรรมเข้าไปไว้ในสินธูธรรม หากยึดครองพุทธศาสนสถานให้กลายไปเป็นศาสนสถานของพราหมณ์อีกด้วย มิใยต้องเอ่ยถึงประเด็นสำคัญที่ว่า พุทธศาสนิกชั้นนำเป็นจำนวนไม่น้อยที่ห่างเหินพระสัทธรรม โดยเฉพาะก็บรรพชิต ที่ติดลาภติดยศและเครื่องสักการะต่างๆ แทบไม่ต่างไปจากเจ้ากูที่ทรงสมณศักดิ์สูงๆ กันในบัดนี้เอาเลยก็ว่าได้ แม้พระดีจะมีมิใช่น้อย แต่ท่านเหล่านั้นก็ถูกสังหาร และถูกทรมานจน ต้องอพยพโยกย้ายไปต่างประเทศ หรือหลบซ่อนกันไปตามๆ รวมทั้งฆราวาสจำนวนไม่น้อยอีกเช่นกัน

    ที่ว่ากันว่า พระพุทธศาสนายุกาลจะมีอายุครบ ๕๐๐๐ พระวษาแล้วก็จะเสื่อมจนศูนย์ไปนั้น นั่นเป็นคำทำนาย ซึ่งไม่จำต้องเป็นจริง เพราะในปี ๒๕๐๐ หรือที่เรียกว่ากึ่งพุทธกาลนั้น (ทางประเทศอื่นๆ เขานับเร็วกว่าเรา ๑ ปี เพราะเรานับหนึ่งปีแต่มหาปรินิพพานล่วงไปแล้ว เป็น พ.ศ. ๑ พวกเขานับปีที่เสด็จดับขันธ์เป็น พ.ศ. ๑ เอาเลยทีเดียว) นายอัมเบดก้า ซึ่งเป็นนักปราชญ์ นักนิติศาสตร์ และนักการเมืองคนสำคัญของอินเดีย ที่มีบทบาทอย่างโดดเด่นในการร่างรัฐธรรมนูญให้ประเทศตอนได้รับเอกราช ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ เพราะท่านเกิดมาเป็นจัณฑาล อันถือว่านอกวรรณะหรือต่ำช้าที่สุดในระบบของพราหมณ์ ท่านว่าท่านเกิดมาเป็นฮินดู แต่จะไม่ตายอย่างคนฮินดู คือท่านต้องการเปลี่ยนศาสนา เป็นเหตุให้ขัดกันกับมหาตมะ คานธี ซึ่งถือตามคติของพราหมณ์ ว่าทำดีในชาตินี้ แล้วย่อมไปเกิดในสถานะที่ดีขึ้นในชาติหน้า

    เมื่อนายอัมเบดก้าสมาทานพุทธศาสนา ณ วันขึ้นสิบค่ำเดือนสิบ พ.ศ. ๒๔๙๙ (ทางอินเดียคือ พ.ศ. ๒๕๐๐) ณ เมืองนาคปุระนั้น (ซึ่งเป็นวันที่พระเจ้าอโศกมหาราชประกาศตนเป็นพุทธมามกะ เมื่อ พ.ศ. ๓๐๐) คนจัณฑาลเรือนล้านหันมาเป็นพุทธศาสนิกด้วย การเพิ่มปริมาณพุทธศาสนิกจากชนชั้นที่ต่ำสุดนั้นขยายตัวออกไปเรื่อยๆ ยังเมืองต่างๆ แทบทั่วประเทศ น่าเสียดายที่นามอัมเบดก้าเสียชีวิตลงหลังจากเป็นพุทธมามกะได้ไม่นาน แม้ท่านจะมีงานเขียนเกี่ยวกับพุทธธรรมมาก่อนหน้านั้นยิ่งๆ ขึ้นทุกทีแล้วก็ตาม

    ท่านเห็นคุณค่าของพุทธศาสนาที่เน้นในเรื่องความเสมอภาค อย่างปราศจากการแบ่งชั้นวรรณะและภราดรภาพ โดยเฉพาะก็จากคณะสงฆ์ ผู้ซึ่งเป็นแบบอย่างให้อุบาสกอุบาสิกา และพุทธศาสนาเน้นที่เสรีภาพจากความโลภ โกรธ หลง ซึ่งท่านถือว่ายิ่งใหญ่กว่าคำประกาศในทำนองเดียวกันนี้ของพวกนักปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส ณ ปี ค.ศ. ๑๗๘๙ เพราะนั่นเต็มไปด้วยความรุนแรง และไม่สำเร็จได้ เพราะปราศจากอหิงสธรรมและศาสนธรรม

    นายอัมเบดก้าเองออกจะดูแคลนพระภิกษุในลังกาและพม่าที่ท่านพบ ว่าขาดศีลาจารวัตรและขาดสมาธิภาวนา อย่างเข้าไม่ถึงปัญญาอันเป็นไตรสิกขาที่พระศาสดาทรงสั่งสอน เสียดายที่ท่านไม่ได้พบพระเถระที่มีความเป็นเลิศในทางธรรมปฏิบัติ เพราะท่านนั้นๆ มักไม่รู้ภาษาอังกฤษ และมักเก็บตัวกันตามป่าเขาลำเนาไพร นายอัมเบดก้าเองก็ใช้หัวสมองมากเกินไป โดยเข้าไม่ถึงการภาวนาในทางจิตสิกขาเอาเลยก็ว่าได้

    ยิ่งเมื่อท่านตายจากไปในขณะที่คนซึ่งหันมาสมาทานพุทธศาสนา หาที่มั่นทางใจแทบไม่ได้ โดยที่ในช่วงนั้น มีพระพม่าและพระลังกาอยู่บ้างที่ไปอินเดีย ท่านนั้นๆ ก็ขาดกำลังเพียงพอที่จะสั่งสอนพุทธศาสนิกใหม่ๆ เหล่านี้ ซึ่งมีปัญหาทั้งทางภาษาและทางวัฒนธรรมที่ถูกกดขี่มานาน (พระพม่าและพระลังกา รู้แต่ภาษาอังกฤษ หรือภาษาฮินดี ในขณะที่พวกจัณฑาลส่วนใหญ่ใช้ภาษามารตีตามแถบเมืองมาทราฐและเมืองปูนา ซึ่งเป็นแดนของพุทธศาสนิกใหม่ พวกนี้โดยมาก) ทั้งท่านเหล่านี้ก็มีไม่กี่รูป

    พุทธศาสนิกใหม่เหล่านี้ ยังถูกพวกฮินดูรังแกด้วยประการต่างๆ อีกด้วย แม้จะสมาทานพระรัตนตรัยแล้ว หากขาดครูบาอาจารย์ ย่อมไม่อาจกล่อมเกลาจิตใจไปในทางสันติวิธีและอหิงสธรรมได้ จึงยังคงความเคียดแค้นคนฮินดูอื่นๆ อยู่ และใช้ความรุนแรงอีกด้วย เท่าที่โอกาสจะอำนวย

    น่าเสียดายที่ประเทศพุทธศาสนาต่างๆ ไม่ได้ช่วยอุดหนุนคนพวกนี้อย่างจริงจังเอาเลย แม้เราจะไปสร้างวัดกันในอินเดีย แต่เราส่งธรรมทูตไปเมืองฝรั่งกันมากกว่าส่วนทางไต้หวันและเกาหลีใต้ รวมทั้งญี่ปุ่นได้ไปช่วยเกื้อกูลพุทธศาสนิกพวกนี้บ้างในทางวัตถุ แต่พวกนี้เขาขาดศาสนธรรมและครูบาอาจารย์ ที่พร้อมจะเป็นกัลยาณมิตรกับเขา

    น่ายินดีที่คนอังกฤษคนหนึ่ง ซึ่งไปบวชที่อินเดียในราว พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้รับสมณฉายาว่า สังฆรักขิต (เขียนอย่างสันสกฤตว่า สังฆรักษิตะ) ท่านได้อุทิศตนให้คนจัณฑาลเหล่านี้ที่มาเป็นพุทธศาสนิก ได้ช่วยเขียนแนะนำพุทธศาสนิกในอังกฤษ และเมืองฝรั่งอื่นๆ ซึ่งเริ่มเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ให้รู้จักชีวิตและผลงานของนายอัมเบดก้าและขบวนการพุทธศาสนารุ่นใหม่เหล่านี้

    พอถึงปี ๒๕๑๐ ท่านกลับไปอังกฤษ แม้จะลาสิกขาแล้ว แต่ก็ยังใช้สมณฉายาเดิมแทนชื่ออังกฤษ (Denis Lingwood) และตั้งคณะสงฆ์อย่างใหม่ในทำนองของมหายาน หากเรียกว่าไตรโลกพุทธมหาสงฆ์ โดยตั้งตนเป็นศาสดากลายๆ (คล้ายๆ กับที่พระจอมเกล้าฯ กับคณะธรรมยุติของไทย หากกรณีของไทย องค์ต้นนิกายทรงลาสิกขา และหมดภิกขุสภาวะไป หรืออย่างที่สมณะโพธิรักษ์กับคณะสันติอโศกในเวลานี้) เรียกชื่อนิกายนี้ในอินเดียเป็นภาษาอังกฤษว่า Western Buddhist Orders และในอังกฤษใช้คำว่า Friends of the Western Buddhist Order มีนักบวชเป็นอนาคาริก ที่ถือพรหมจรรย์ ซึ่งก็นุ่งห่มแบบพระของเรา หาไม่ก็แต่งชุดขาว และทำพิธีคล้ายๆ พวกนักพรตทางญี่ปุ่น หากเคร่งกว่านักพรตญี่ปุ่น อย่างน้อยก็ถือศีลห้า และมีเวลาเจริญสมาธิภาวนา อย่างหลังนี้เรียกว่า ธรรมจารี

    แม้ว่าตัวสังฆรักขิตเองจะเป็นบุคคลซึ่งหลายคนรังเกียจ แต่ลูกศิษย์ลูกหาก็เคารพรัก และขยายขอบเขตของเครือข่ายออกไปในยุโรปหลายประเทศ ที่ในอินเดียก็มีหน่วยงานต่างๆ ที่ทำการเคียงบ่าเคียงไหล่กับชนชั้นจัณฑาลเดิมอย่างเท่าเทียมกัน นับว่าน่าชื่นชม คนที่ทำการแทนสังฆรักขิตะในบัดนี้ ที่เป็นสมณะมีชื่อว่า สุภูติ ที่เป็นฆราวาสมีชื่อว่า โลกมิตร

    คนหลังนี้ชอบพอกับข้าพเจ้า เราเคยร่วมงานกันทางพุทธศาสนิกสัมพันธ์เพื่อสังคมนานาชาติ เขาเคยมาพบปะพุทธศาสนิกชนคนไทยที่เมืองไทย และเขาเคยเชิญข้าพเจ้าไปเยี่ยมพุทธศาสนิกชนคนจัณฑาลเหล่านี้ ทั้งที่บอมเบย์และปูนา

    ที่น่ายินดีก็ตรงที่เขาจัดตั้งศูนย์ภาวนาให้พุทธศาสนิกเหล่านี้ มีเวลาหลีกเร้นไปเจริญจิตสิกขา และเน้นในศีลสิกขา โดยให้เข้าใจโครงสร้างทางสังคมอันรุนแรงและอยุติธรรมอีกด้วย เขาฝึกปรือคนรุ่นใหม่ให้ทันสมัย คือรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ และลัทธิบริโภคนิยมอย่างน่าชมเชย

    ยังคนอังกฤษที่ออกไปอยู่กับจัณฑาลพวกนี้ก็มีเพิ่มขึ้น โดยหาทางโยงให้คนเหล่านี้คบหาสมาคมกับชาวพุทธอินเดียอื่นๆ อีกด้วย

    จำเดิมแต่ทะไลลามะและพวกธิเบตลี้ภัยจากจีนไปอยู่อินเดียในรอบ ๔๐ ปีมานี้ ได้ตั้งพุทธศาสนศึกษาสถานสำหรับชาวธิเบตแพร่หลายไปเรื่อยๆ คนอินเดียรุ่นใหม่ที่สนใจใคร่ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อพยพเหล่านี้ ได้ตั้งตัวกันเป็นชมรมเพื่อนของธิเบต Friends of Tibet คนเหล่านี้เริ่มสนใจพุทธธรรมและวัฒนธรรมอย่างธิเบต แล้วพลอยมาถือพุทธยิ่งๆ ขึ้นทุกที

    ยิ่งผู้ใหญ่ที่ได้รับธรรมะจากองค์ทะไลลามะก็ประกาศตนเป็นพุทธศาสนิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างมีคุณภาพ คือไม่ได้สักแต่ถือพุทธ หากถือการภาวนาเป็นประการสำคัญ และมีเวลาไปเรียนธรรมะจากพระอาจารย์เจ้าชาวธิเบต ให้สูงส่งขึ้นไปเรื่อยๆ อีกด้วย

    ยังนายโคเองก้า ก็สอนวิปัสสนาแบบพม่าในอินเดียอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง จนเป็นที่รู้จักกัน แม้ในหมู่คนฮินดูและมุสลิมก็ให้ความเคารพนับถือ จำนวนคนปฏิบัติธรรม แม้จะไม่เรียกตนว่าเป็นพุทธศาสนิกก็เพิ่มปริมาณขึ้น ทั้งยังมีคุณภาพอย่างน่าพอใจอีกด้วย

    นอกไปจากนี้แล้วคนอินเดียที่ไปถือพุทธในต่างประเทศ จากสายท่าน นัท ฮันห์ ทางฝรั่งเศส สายท่านอาจารย์ชา ทางอังกฤษ และสหรัฐ ฯลฯ ก็กลับมาปฏิบัติธรรมในบ้านเกิดเมืองนอน นับว่าเพิ่มพูลความเป็นพุทธอย่างน่านิยมยกย่อง

    ข้าพเจ้าเสนอให้ชาวพุทธเหล่านี้หันหน้าเข้าหากัน อย่าแยกแยะออกจากพวกจัณฑาล และเสนอให้พวกจัณฑาลเดิมสมัครสมานกับพุทธศาสนิกทั้งหลายเหล่านี้ แม้จะมีพุทธวิธีที่แตกต่างกัน แต่โดยเนื้อหาแล้ว การเป็นพุทธก็เพื่อความตื่นจากความเห็นแก่ตัว โดยยึดมั่นตามทางของพระอริยมรรค ที่พระศาสดาทรงประกาศนั่นแล เป็นประการสำคัญ

    ปีหน้าพุทธศาสนิกสัมพันธ์เพื่อสังคมนานาชาติ กำหนดจะไปประชุมที่เมืองนาคปุระ ที่ที่นายอัมเบดก้าประกาศตนเป็นพุทธศาศนิกในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ (หรือ ๒๕๐๐ ตามการนับของแขก) ระหว่างวันที่ ๑๕
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...