พุทธศิลป์กับพรพุทธาเวทย์ ตอน พระคันธารราฐ พระพุทธรูปศิลาเขียวหนึ่งเดียวในโลกที่อยุธยา

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 15 กันยายน 2015.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438

    พุทธศิลป์กับพรพุทธาเวทย์ ตอน พระคันธารราฐ พระพุทธรูปศิลาเขียวหนึ่งเดียวในโลกที่อยุธยา
    พระคันธารราฐ
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    พระพุทธรูปศิลาเขียว พระประธานในพระวิหารสรรเพชญ์
    หรือพระวิหารคันธารราฐ, พระวิหารเขียน, พระวิหารน้อย
    วัดหน้าพระเมรุราชิการาม หรือวัดหน้าพระเมรุ (พระอารามหลวง)
    ต.ท่าวาสุกรี อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

    :b46: :b45: :b46:

    “พระคันธารราฐ” วัดหน้าพระเมรุราชิการาม หรือวัดหน้าพระเมรุ จ.พระนครศรีอยุธยา พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ประทับนั่งห้อยพระบาท ศิลปะแบบทวารวดี ปางประทานปฐมเทศนา มีขนาดหน้าตักกว้าง 1.70 เมตร สูง 5.20 เมตร สร้างขึ้นจากวัสดุหินปูนสีเขียวแก่หรือศิลาเขียว (Bluish Limestone) พระหัตถ์ทั้งสองข้างวางคว่ำอยู่บนพระชานุ (เข่า) เบื้องพระปฤษฎางค์ (เบื้องหลัง) มีพนัก และเหนือขึ้นไปหลังพระเศียรมีประภามณฑลหรือรัศมี สลักลายที่ขอบ ปัจจุบันประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในพระวิหารสรรเพชญ์ หรือพระวิหารคันธารราฐ หรือพระวิหารเขียน หรือพระวิหารน้อย

    พระวิหารสรรเพชญ์ ประชาชนเรียกชื่อว่า “พระวิหารคันธารราฐ” หรือเรียกชื่อว่า “พระวิหารเขียน” เนื่องจากมีลายเขียนภายในพระวิหาร หรือมีชื่อเรียกกันอีกว่า “พระวิหารน้อย” เนื่องจากเป็นพระวิหารขนาดเล็ก มีขนาดกว้างประมาณ 6 เมตร ยาวประมาณ 16 เมตรเท่านั้น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระอุโบสถ ห่างจากพระอุโบสถประมาณ 2 เมตรเศษ หันหน้าออกไปทางทิศใต้หรือไปทางแม่น้ำลพบุรี พระยาไชยวิชิต (เผือก) ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2381 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระวิหารมีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หลังคามุงกระเบื้องดินเผา ประดับช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ ปิดทองประดับกระจกเช่นเดียวกับพระอุโบสถ หน้าบันสลักลายดอกไม้และนก มีประตูเข้าสู่ภายในพระวิหารเฉพาะด้านหน้าประตูเดียว เป็นประตูไม้แกะสลักลายก้านขดเคล้าภาพเป็นภาพเทพนม ครุฑ นาค และนก ตอนล่างแกะลายฐานสิงห์ ตอนบนเป็นวิมานและลายเปลว (ฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอนปลาย อาจเป็นสมัยพระเจ้าปราสาททอง) ซุ้มประตูเป็นลายปูนปั้นปิดทอง ตรงกลางทำเป็นรูปอาคารแบบยุโรป ล้อมด้วยลายดอกไม้มีลายเครือเถาอยู่ที่กรอบ เป็นลายแบบฝรั่งปนจีนฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 4 ผนังด้านข้างของพระวิหารมีหน้าต่างด้านละ 1 บาน ผนังด้านในมีจิตรกรรมฝาผนังเขียนภาพเล่าเรื่องชาดกโดยรอบ ปัจจุบันภาพเขียนจิตรกรรมยังคงอยู่แม้จะลบเลือนไปมากตามกาลเวลา

    พระคันธารราฐ สันนิษฐานว่าเคยประดิษฐานอยู่ ณ วัดมหาธาตุ ในเกาะเมือง ข้างวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา มาก่อน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่มีมาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา และเป็นวัดร้างในยุคนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาไชยวิชิต (เผือก) ผู้รักษาการกรุงศรีอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นแม่กองบูรณปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุ จึงได้ขุดค้นพบ “พระคันธารราฐ” พระพุทธรูปศิลาเขียวสมัยทวารวดีองค์นี้ แล้วได้มีการเคลื่อนย้ายอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในพระวิหารน้อย ที่พึ่งสร้างขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.2381 นี้ ณ วัดหน้าพระเมรุราชิการาม จวบจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ พระยาไชยวิชิต (เผือก) ได้จารึกไว้ในศิลาซึ่งติดตั้งไว้ที่ฝาผนังเมื่อปี พ.ศ. ที่สร้าง มีข้อความว่า “พระคันธารราฐ” นี้ พระอุบาลีมหาเถระ ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดธรรมาราม จ.พระนครศรีอยุธยา นำมาจากประเทศลังกา ในคราวที่ท่านเป็นสมณฑูตพร้อมด้วยพระสงฆ์สยามวงศ์นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในประเทศลังกา

    แต่ทว่านักโบราณคดีมีความเห็นว่า “พระคันธารราฐ” เป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี สร้างขึ้นในระหว่างปี พ.ศ.1000-1200 และสันนิษฐานว่าก่อนที่จะนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดมหาธาตุ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่เดิมเคยประดิษฐานอยู่ ณ วัดทุ่งพระเมรุ หรือวัดพระเมรุ จ.นครปฐม เนื่องจากทางราชการขุดพบเรือนแก้วที่ชำรุด สันนิษฐานว่าเป็นเรือนแก้วของพระพุทธรูปองค์นี้ ดังนั้น ความเก่าแก่ของ “พระคันธารราฐ” จึงเก่าแก่กว่าในสมัยกรุงสุโขทัย ไล่เลี่ยกับยุคสมัยของบุโรพุทโธ (Borobudur) บนเกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย

    พระคันธารราฐ กล่าวกันว่าเดิมเป็นพระพุทธรูปศิลาเขียว แต่เนื่องจากผ่านกาลเวลามานานจึงทำให้กลายเป็นสีเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งปัจจุบันดูคล้ายเป็นสีดำ แต่ถ้ามองดูในระยะใกล้ๆ แล้วจะเห็นเม็ดเล็กๆ สีเขียวเพราะทำจากหินทรายแกะสลัก เชื่อกันว่าหากบูชาสักการะแล้วจะอายุยืนมั่นคงดั่งศิลา

    พระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ประทับนั่งห้อยพระบาท ศิลปะแบบทวารวดี
    ปางประทานปฐมเทศนา ปรากฏในโลกเพียง ๖ องค์เท่านั้น
    (ตามที่มีหลักฐานเหลืออยู่ในปัจจุบัน) ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนน้อยอย่างยิ่ง
    โดยในประเทศไทยพบ ๕ องค์ และในประเทศอินโดนีเซียพบ ๑ องค์ ดังนี้

    :b47: วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จ.นครปฐม มี 2 องค์ คือ
    พระพุทธรูปศิลาขาว หรือ “หลวงพ่อประทานพร” พระประธานในพระอุโบสถ
    และพระพุทธนรเชษฐ์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวารวดีปูชนียบพิตร
    หรือเรียกพระนามสั้นๆ ว่า “พระพุทธนรเชษฐ์ฯ” หรือ “หลวงพ่อขาว”
    ประดิษฐาน ณ ลานชั้นลด (กะเปาะ) ด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์

    :b47: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร
    ประดิษฐาน ณ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ มี 1 องค์ เป็นพระพุทธรูปศิลาขาว

    :b47: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา
    มี 1 องค์ เป็นพระพุทธรูปศิลาขาว

    :b47: วัดหน้าพระเมรุราชิการาม หรือวัดหน้าพระเมรุ จ.พระนครศรีอยุธยา
    มี 1 องค์ คือ พระคันธารราฐ พระพุทธรูปศิลาเขียว
    พระประธานในพระวิหารสรรเพชญ์หรือพระวิหารน้อย

    :b47: ประเทศอินโดนีเซีย มี 1 องค์ คือ พระพุทธรูปศิลาขาวขนาดใหญ่
    ประทับนั่งห้อยพระบาท วางฝ่าพระบาทบนดอกบัว ปางประทานปฐมเทศนา
    ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารเมนดุต จันทิเมนดุต (Candi Mendut)
    หรือวัดเมนดุต (Mendut Temple) พุทธสถานขนาดเล็กที่เก่าแก่ที่สุด
    ในเมืองยอกยาการ์ตา (Yogyakarta) ประเทศอินโดนีเซีย
    ซึ่งเป็นอาคารทรงปราสาทยอดสถูปที่สร้างครอบศาสนสถานเดิมที่ก่อด้วยอิฐ
    มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทำจากหินภูเขาไฟเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13
    ตั้งอยู่ห่างจากบุโรพุทโธ (Borobudur) ไปทางทิศตะวันออก 3 กิโลเมตร
    ทั้งนี้ จันทิเมนดุตหรือวัดเมนดุตเป็นวัดในพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน

    พระพุทธรูปศิลาขาวในประเทศอินโดนีเซียองค์นี้ มีขนาดใหญ่กว่าตัวคนจริง
    คือ มีขนาดสูง 3 เมตร แกะสลักจากหินลาวาภูเขาไฟอายุ 1,200 กว่าปี
    หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก ซึ่งนับว่าแปลกกว่าองค์พระพุทธรูป
    ในจันทิ (วัด, เจดีย์) อื่นๆ ที่ล้วนหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกทั้งสิ้น

    และเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2503
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    ได้เสด็จฯ ทรงทอดพระเนตรพระวิหารบุโรพุทโธ และพระวิหารเมนดุต
    โดยสมาคมพุทธศาสนาแห่งอินโดนีเซียได้ทูลเกล้าฯ ถวาย
    พระพุทธรูปองค์หนึ่ง พร้อมด้วยธงฉัพพรรณรังสี
    ซึ่งเป็นธงสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา

    ในจำนวนพระพุทธรูปศิลา 6 องค์นี้ มีเพียงองค์เดียวที่สร้างขึ้นจากศิลาเขียว
    อยู่ที่วัดหน้าพระเมรุราชิการาม หรือวัดหน้าพระเมรุ จ.พระนครศรีอยุธยา
    ส่วนที่เหลือทั้งหมดสร้างขึ้นจากศิลาขาวทั้งสิ้น ถึงกระนั้นก็ยังเกิดความสับสนกันอยู่เนืองๆ
    ที่มา http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมบุญสร้างกำแพงแก้ววิหารหลวงพ่อโต-วัดกุฎีทอง-อยุธยา.553352/
     
  2. modpong

    modpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,609
    ค่าพลัง:
    +17,933
    .....
    ..หวัดดี..Joni..น้องรัก..
    .....นึกไม่ถึง..มาโผล่ที่นี่กับเขาเหมือนกัน....
     
  3. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
    ผมตอนนี้สนใจเรื่องประวัติพระพุทธรูปเลยมาจัดให้ที่นี่ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...