พ ร ะ เ กี ย ร ติ คุ ณ ข อ ง พ ร ะ พุ ท ธ เ จ้ า

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 29 กันยายน 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    พ ร ะ เ กี ย ร ติ คุ ณ ข อ ง พ ร ะ พุ ท ธ เ จ้ า
    พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ)
    วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร กรุงเทพฯ



    ๑. พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระอรหันต์อย่างไร

    พระพุทธเจ้าทรงได้ชื่อว่า เป็นพระอรหํ เพราะหักกำแห่งสังสารจักร
    คือ อวิชชา ตัณหา อุปทาน กรรม ได้เด็ดขาด ทำให้ทรงไกลจากกิเลสและวาสนา

    ทรงกำจัดกิเลสทั้งหลาย ทรงเป็นผู้ควรแก่การไหว้บูชา
    ไม่ทรงกระทำความชั่วแม้ในที่ลับ


    พระมหาฎีกาจารย์ ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระอรหันต์
    เพราะทรงเป็นผู้ไกลจากอสัตบุรุษทรงใกล้กับสัตบุรุษ ผู้ไม่มีธรรมที่จะต้องละ
    ทรงเป็นผู้ที่คนดีไม่ละทิ้ง และพระองค์ก็ไม่ทรงละทิ้งคนดี
    เป็นผู้ไม่มีการไปสู่คติภพ เป็นผู้ที่ควรแก่การสรรเสริญไม่มีที่สิ้นสุด

    ๒. ทรงตรัสรู้ดีตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองอย่างไร

    พระพุทธเจ้าได้ชื่อว่าเป็นผู้ตรัสรู้ดีตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง
    เพราะทรงรู้ธรรมทั้งหลายที่เป็นปริญไญยธรรมว่า
    เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ คือ ทุกขสัจ

    ทรงรู้ธรรมทั้งหลายที่เป็นปหาตัพพะว่า เป็นธรรมที่ควรละ
    ทรงรู้ธรรมทั้งหลายที่เป็นสัจฉิกาตัพพะว่า เป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
    ทรงรู้ธรรมทั้งหลายที่เป็นภาเวตัพพะว่า เป็นธรรมที่ควรแก่การกระทำ บำเพ็ญ

    ดังที่ทรงรับสั่งแก่เสลพราหมณ์ว่า

    "พราหมณ์สิ่งที่ควรกำหนดรู้เราได้กำหนดรู้แล้ว
    สิ่งที่ควรละเราได้ละแล้ว สิ่งที่ควรรู้ยิ่งเราได้รู้ยิ่งแล้ว
    สิ่งที่ควรเจริญเราได้เจริญแล้ว เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นพุทธะ"


    ๓. ทรงสมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะอย่างไร

    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ชื่อว่า ทรงสมบูรณ์ด้วยวิชชาคือ ความรู้ จ
    รณะคือความประพฤติ เพราะทรงสมบูรณ์ ด้วยวิชชา ๘ ประการ
    และจรณะ ๑๕ ประการ คือทรงสมบูรณ์ด้วยวิชชาคือ ความรู้ ๘ ประการ ได้แก่

    ๑. วิปัสสนาญาณ

    ญาณคือความรู้ในวิปัสสนา คือ ความรู้เห็นที่แจ่มแจ้งตามความเป็นจริง

    ๒. มโนมยิทธิ

    ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ หรือฤทธิ์ทางใจสามารถนิรมิตกายอื่นจากกายนี้
    หรือแยกกายออกเป็นหลายๆ คน

    ๓. อิทธิวิธิ

    แสดงฤทธิ์คือ ทำในสิ่งผิดธรรมชาติธรรมดา
    เช่น ลอยไปในอากาศ ดำลงไปในดิน เดินไปบนน้ำ เป็นต้น

    ๔. ทิพพโสต

    หูทิพย์ สามารถน้อมพระทัยไปเพื่อจะฟังเสียงทิพย์ หรือเสียงมนุษย์
    ไม่ว่าจะอยู่ในที่ไกลอย่างไรได้ตามปรารถนา

    ๕. เจโตปริยญาณ

    รู้ใจคน ทายใจคนได้ และรู้ว่าขณะใดใจเขามีกุศล อกุศลข้อใดอยู่
    ควรจะพูดกับเขาอย่างไร จึงจะเกิดความเข้าใจได้ เป็นต้น

    ๖. ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ

    สามารถระลึกชาติอดีตของตนเอง คนอื่นได้ตามประสงค์
    ไม่ว่าชาตินั้นจะห่างไกลจากชาติปัจจุบันอย่างไรก็ตาม

    ๗. ทิพพจักษุ

    ตาทิพย์ คือสามารถมองเห็นภาพในที่ไกลอย่างไรก็ตามได้ตามประสงค์
    และสามารถรู้สาเหตุความแตกต่างของคนสัตว์ว่า
    เกิดมาจากสาเหตุอะไร เพราะเขาทำกรรมอะไรไว้

    ถ้าใช้ในกรณีนี้ท่านเรียกว่า จตูปปาตญาณ
    คือ พระญาณที่ทรงรู้ การเกิด การตายของคนว่า เป็นไปตามกรรม

    ๘. อาสวักขยญาณ

    พระญาณที่ทำให้รู้เห็นว่า อาสวะ
    คือสรรพกิเลสทั้งหลายได้หมดไปจากพระทัยด้วยการตรัสรู้อริยสัจอย่างสมบูรณ์ นั่นเอง
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    ทรงประกอบด้วยจรณะ
    คือ คุณธรรมหรือความประพฤติที่ประกอบด้วยธรรม ๑๕ ประการคือ

    ๑. เป็นผู้มีศีล

    สำรวมระวังในพระปาติโมกข์
    สมบูรณ์ด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
    สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

    ๒. คุ้มครองอินทรีย์ทั้งหลาย

    เห็นรูปด้วยตา ได้ยินเสียงด้วยหู
    สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น จับต้องเย็นร้อนอ่อนแข็งด้วยกาย
    รู้อารมณ์ทั้งหลายด้วยใจแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ
    อันเป็นเหตุให้เกิดอกุศลธรรมอันลามกคือ ความยินดีและความยินร้าย

    ๓. เป็นผู้รู้ประมาณในอาหาร

    พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงกลืนอาหารเหล่านั้น
    ด้วยความรู้สึกว่า ไม่บริโภคอาหารเพื่อเมา
    เพื่อความผ่องใสของร่างกาย เพื่อความงาม แต่เป็นการบริโภค
    เพื่อหวังให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้ บำบัดความหิว

    เพื่ออนุเคราะห์ต่อการประพฤติพรหมจรรย์
    ขจัดความหิวเก่า ป้องกันความหิวใหม่
    ให้อิริยาบถทั้งหลายดำเนินไปได้ด้วยดี ไม่มีโทษ ร่างกายมีความผาสุก

    ๔. ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่น

    พยายามชำระจิตทั้งกลางคืนและกลางวัน
    ให้อิริยาบถทั้งหลายเสมอกันพักผ่อนในยามกลาง
    และทำความเพียรต่อไปในยามสุดท้าย

    ๕. มีศรัทธาเชื่อมั่นในพระพุทธคุณทั้ง ๙ ประการ

    ๖. มีหิริ คือความละอายต่อบาปทุจริตทางกาย วาจา ใจ

    และการเพิ่มขึ้นของบาปอกุศล


    [​IMG]


    ๘. เป็นพหุสูต มีการสดับตรับฟังมาก

    ทรงจำไว้ได้ ท่องได้คล่องปาก นำมาคิดด้วยใจ
    มีความเข้าใจแตกฉานในธรรมเหล่านั้น

    ๙. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละบาป บำเพ็ญบุญ

    มีความเข้มแข็ง บากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในการบำเพ็ญความดีทั้งหลาย

    ๑๐. เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญา

    เป็นเครื่องรักษาตัว ระลึก ตามระลึก สิ่งที่เคยทำ คำที่เคยพูดแม้นานแล้วได้

    ๑๑. มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิด ดับ อันเป็นอริยะ

    ทำลายกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

    ๑๒. ปฐมฌาน

    อันมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และ เอกัคคตา

    ๑๓. ทุติยฌาน

    อันมีองค์ ๓ คือ ละวิตก วิจารได้ คงอยู่แต่ปีติ สุข และเอกัคคตา

    ๑๔. ตติยฌาน

    อันมีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงเหลือเฉพาะ สุข และเอกัคคตา

    ๑๕. จตุตถฌาน

    มีองค์ ๒ คือ ละสุขเสียได้ ยังคงอยู่เฉพาะอุเบกขากับเอกัคคตา

    วิชชา ๘ ประการนี้ สำหรับ ๗ ประการแรก
    แม้ท่านที่เป็นสามัญชนที่บำเพ็ญเพียรทางจิตมาตามลำดับ
    ก็สามารถบรรลุได้ระดับหนึ่ง

    จรณะทั้ง ๑๕ และวิชชา ๘ ท่าน เรียกว่า เสขปฏิปทา
    คือเป็นหลักปฏิบัติของท่านที่ยังต้องศึกษาเพื่อคุณธรรมเบื้องสูงขึ้นไป

    พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้น
    จึงจะสมบูรณ์ด้วยวิชชา และจรณะเหล่านี้ ตามสมควรแก่ฐานะของท่าน
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    ๔. สุคโต เสด็จไปดีแล้วอย่างไร

    พระพุทธเจ้าได้เฉลิมพระนามว่า เสด็จไปดีแล้ว
    เพราะทางที่ทรงเสด็จไปของพระผู้มีพระภาคเป็นทางอันสะอาด ไม่มีโทษ
    คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ทรงเสด็จไปสู่พระนิพพานโดยไม่ขัดข้อง

    พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปสู่ทางอันดี คือ พระนิพพาน

    พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วโดยชอบ
    คือ จะไม่ย้อนกลับมาสู่อำนาจของกิเลสที่ทรงละได้แล้ว

    อีกประการหนึ่ง เสด็จไปโดยชอบเพื่อทำสิ่งที่เป็นประโยชน์
    อันมีลักษณะเกื้อกูล และอำนวยความสุขให้แก่สัตว์ทั้งหลายด้วยหลักสัมมาปฏิบัติ

    พระทัยของพระองค์ไม่เกี่ยวเกาะด้วยความเห็นว่าเที่ยง
    ความเห็นว่าขาดสูญ กามสุข และการทรมานตน
    และทรงดำเนินไปสู่ความเป็นพระพุทธเจ้า ด้วยการบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์

    เหล่านี้เป็นเหตุให้ได้รับการเฉลิมพระนามว่า สุคโต คือเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว

    พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า สุคโต เพราะตรัสโดยชอบ

    คือ ทรงกล่าววาจาอันสมควร ในฐานะอันสมควร
    แม้วาจาที่คนกล่าวกันจะมีอยู่หลายประเภท
    แต่พระพุทธเจ้าจะตรัสพระวาจาเพียง ๒ ประเภทเท่านั้นคือ

    - วาจาใดตถาคตรู้ว่าเป็นวาจาจริง เป็นธรรมประกอบด้วยประโยชน์
    แม้จะไม่เป็นที่พอใจของคนอื่น ตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจาเช่นนั้น

    - วาจาใดตถาคตรู้ว่าเป็นวาจาจริง เป็นธรรมประกอบด้วยประโยชน์
    ทั้งเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของคนอื่นๆ ด้วย ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะกล่าววาจาเช่นนั้น

    ที่สำคัญคือ พระพุทธเจ้าทรงทำเช่นไร ทรงรับสั่งเช่นนั้น รับสั่งเช่นไร ทรงทำเช่นนั้น
    เหตุนั้นจึงได้เฉลิมพระนามว่า สุคโต เพราะทรงมีพระวาจาชอบ

    ๕. โลกวิทู ทรงเป็นผู้รู้โลกอย่างไร

    พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งซึ่งโลกทั้งปวง เช่น โลกคือหมู่สัตว์ โลกคือสังขาร
    โลกคือดวงดาวทั้งหลาย ทรงรับรู้ความเป็นไปในมนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก เปตโลก

    ทรงรู้แจ้งสภาวะของโลก ความเกิดของโลก ความดับของโลก
    และอุบายวิธีที่จะให้เข้าถึงความดับของโลก

    [​IMG]

    ซึ่งเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว สิ่งใดย่อมแตกสลายไป สิ่งนั้นได้ชื่อว่า โลก

    จุดเน้นที่สำคัญทรงแสดงความเกิดของโลก
    เหตุเกิดขึ้นของโลก ความดับของโลก และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับของโลก


    ที่สกลกายอันมีความยาวประมาณวาหนึ่ง
    มีความกว้างประมาณกำมือหนึ่ง มีความหนาประมาณคืบหนึ่ง
    ซึ่งมีใจครอง คือชีวิตแต่ละชีวิตนี้เองเป็นหลัก

    จากความรู้โลกของพระองค์ทำให้พระองค์ไม่ทรงข้องติดอยู่ในโลก
    ไม่ทรงทะเลาะกับชาวโลก จะมีแต่ชาวโลกทะเลาะกับพระองค์เท่านั้น

    สิ่งที่ทำให้ทรงรู้โลกนั้นท่านเรียกว่า อนันตพุทธญาณ
    อันเป็นเหตุให้ทรงรู้โลกด้วยประการทั้งปวง โดยมีพระทัยเป็นโลกุตตระ
    คือพ้นจากความเกี่ยวเกาะในทางโลก


    ๖. พระพุทธเจ้าทรงเป็น อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ อย่างไร

    พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ที่ไม่มีคนอื่นจะยิ่งกว่าพระองค์
    ในด้านความสมบูรณ์พร้อมแห่งคุณทั้งหลาย
    คือ สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

    เมื่อกล่าวโดยสรุปก็คือ ไม่มีใครจะยิ่งกว่าพระองค์ในด้าน
    พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระกรุณาคุณ


    ทั้งนี้หมายความว่าไม่มีใครเสมอพระองค์ ไม่มีใครคล้ายพระองค์
    ไม่มีใครเปรียบเทียบกับพระองค์ หรือทัดเทียมกับพระองค์

    ดังนั้น จึงได้ชื่อว่า ทรงเป็น อนุตตโร
    คนที่ทรงฝึกจนสามารถบรรลุมรรคผลในทางพระพุทธศาสนามีเป็นอันมาก
    แม้คนที่คนอื่นไม่อาจฝึกได้แล้ว
    แต่พระพุทธเจ้ากลับทรงฝึกคนเหล่านั้นได้อย่างอัศจรรย์

    พุทธสาวกในพระพุทธศาสนาจึงมีระดับมหาโจร
    เช่น พระองคุลิมาล อดีตพระราชา พระราชินี อดีตพราหมณ์มหาศาล
    เศรษฐีมหาศาล นักปราชญ์ ขอทาน โสเภณี

    ข้อนี้ทรงแสดงหลักการในการฝึกคนของพระองค์แก่นายเกสี
    ซึ่งเป็นสารถีฝึกม้าชั้นยอดว่า

    ดูกรเกสี เราก็นำบุรุษที่พึงฝึกได้ทั้งหลายไปด้วยวิธีละม่อมบ้าง
    วิธีหยาบบ้าง วิธีทั้งหยาบและละม่อมระคนกันบ้าง


    อนึ่ง ทรงสามารถนำคนทั้งหลายให้ได้สัมผัสรสแห่งพระธรรม
    ตามกำลังความสามารถของเขา
    จนเป็นพุทธสาวกมีคุณสมบัติลดหลั่นกันขึ้นไปจนถึงเป็นพระอรหันต์ในที่สุด
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellSpacing=20 width="85%"><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>[​IMG]

    ๗. ทรงเป็นพระศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายอย่างไร

    การที่พระพุทธเจ้าทรงกอปรด้วยพระมหากรุณา
    ทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเป็นอันมาก
    เพื่อความสุขแก่คนเป็นอันมาก เพื่อเป็นการอนุเคราะห์ต่อชาวโลกนั้น ​

    ช่วยให้คนเหล่านั้นสมบูรณ์ด้วย
    มนุษยสมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ
    ตามกำลังความสามารถของตน

    ทรงเป็นเหมือนนายกองเกวียน
    ที่สามารถนำบริวารของตนให้ผ่านพ้นกันดารทั้งหลาย
    ไปมาค้าขายโดยสวัสดีมีกำไร ​

    แต่พระพุทธเจ้าทรงนำเทวดาและมนุษย์ให้ข้ามกันดารที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ ​

    ผ่านพ้นชาติกันดาร การหมุนวนในสังสารวัฏ
    แม้ท่านที่ยังต้องหมุนวนอยู่ ก็สามารถตบแต่งภพชาติของตนให้ประณีตขึ้น
    ด้วยกุศลกรรมที่คนเหล่านั้นประพฤติกระทำตามคำสอนของพระองค์ ​

    ผลประโยชน์จากการเป็นศาสดาของพระองค์แพร่กระจายไปแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
    ทั้งที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ และสัตว์ดิรัจฉาน ​

    ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้รับเฉลิมพระนามว่า
    ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จนได้พระนามว่า โลกนาถ

    ทรงเป็นที่พึ่งของชาวโลก โลกเชษฐ
    ทรงเป็นพี่คนโตของชาวโลก โลกนายก ผู้นำชาวโลก เป็นต้น ​

    ๘. พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พุทโธ คือ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อย่างไร

    เพราะทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งหมด
    ด้วยอำนาจพระญาณอันเกิดขึ้นในที่สุดแห่งวิโมกข์
    หรือพระสัพพัญญุตญาณ ทำให้ทรงเป็น ผู้รู้ทุกอย่าง
    ที่เราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระสัพพัญญู ​

    ทรงตื่นจากความหลับด้วยอำนาจของกิเลส จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้ตื่น
    ทรงเบิกบานด้วยพระมหากรุณาต่อสรรพสัตว์
    ทำให้ทรงสอนให้คนเหล่าอื่นได้ตรัสรู้ตามพระองค์ ​

    ๙. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ภควา อย่างไร

    คำว่า ภควา นั้น มีความหมายหลายนัยเช่น เป็นผู้มีโชค
    ทรงจำแนกแจกจ่ายธรรม เป็นผู้ประกอบด้วยภคธรรม
    ทรงยินดีในที่สงัด ทรงมีส่วนแห่งปัจจัย มีส่วนแห่งธรรม ทรงจำแนกธรรม ​

    ทรงหักกิเลสบาปธรรม ทรงเป็นครู
    ทรงมีภาคยะคือบุญบารมี ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว
    ทรงถึงที่สุดแห่งภพคือยุติการเวียนว่ายตายเกิดทุกรูปแบบ
    เพราะทรงสลัดความเป็นไปในภพทั้งหลายได้เด็ดขาดแล้วเป็นต้น

    พระพุทธคุณทั้ง ๙ ประการนี้
    อาจกล่าวได้โดยสรุปลงที่พระปัญญาคุณ
    ที่ทำหน้าที่ขจัดสรรพกิเลสได้เด็ดขาด ทำให้เข้าถึงพระบริสุทธิคุณ
    คือความบริสุทธิ์หมดจดจากสรรพกิเลสทั้งปวง
    ทำให้พระทัยเต็มเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาต่สรรพสัตว์ ​

    การแสดงตนถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    จนสามารถสัมผัสพระพุทธคุณได้ระดับใดระดับหนึ่ง
    จึงเป็นเหตุให้เข้าถึงความสมบูรณ์
    แห่งมนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ และนิพพานสมบัติ
    ตามกำลังแห่งพระพุทธคุณที่ตนสัมผัสได้เสมอ

    อนาคามีพรหมท่านหนึ่งได้กราบทูลต่อพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค
    ยืนยันจากประสบการณ์ตรงของตนรับรองความจริงส่วนนี้ว่า ​

    "คนทั้งหลายพวกใดพวกหนึ่งถึงซึ่งพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกเถิด
    คนเหล่านั้นจักไม่ไปสู่อบายเลย เขาละกายที่เป็นมนุษย์แล้ว
    จะยังกายที่เป็นเทวดาให้ปรากฏ คือจะบังเกิดเป็นเทพบุตร เทพธิดา"

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    (ที่มา : "กาลามสูตรพูดไว้อย่างไร?", หน้า ๒๔-๓๒
    โพสต์ลงในอินเตอร์เนตโดยคุณ mayrin [๑ ต.ค. ๒๕๔๕]
    ใน ลานธรรมเสวนา กระทู้ที่ ๐๐๖๕๙๕)


    ตะมะหัง ภะคะวันตัง อภิปูชะยามิ
    ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่งเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ
    ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD><TABLE border=0 width=350 background=../pics/banner350.gif align=center height=70><TBODY><TR><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE border=0 cellPadding=5 width=290 bgColor=#ffffff align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=1 width=280 bgColor=#dddddd align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff vAlign=top><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#cccccc align=center height=22><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff vAlign=center background=../pics/_top3.gif>
    บทเพลงแผ่เมตตา
    </TD></TR></TBODY></TABLE><EMBED language=-1 height=69 type=audio/x-ms-wma width=280 src=http://www.dhammathai.org/radio/sound/Illimitable.wma bgcolor="CCCCCC" autoplay="true" cache="true" enablejavascript="true" controller="true" filename="" showcontrols="true" showstatusbar="true" rate="1" balance="0" currentposition="0" playcount="1" currentmarker="0" invokeurls="true" volume="0" mute="0" enabled="true" enablecontextmenu="0" audiostream="true" autosize="0" animationatstart="true" allowscan="true" allowchangedisplaysize="true" autorewind="1" baseurl="" bufferingtime="5" clicktoplay="false" cursortype="0" displaybackcolor="50" displayforecolor="16777215" displaymode="0" displaysize="4" enablepositioncontrols="-1" enablefullscreencontrols="0" enabletracker="-1" selectionstart="-1" selectionend="-1" sendopenstatechangeevents="-1" sendwarningevents="-1" senderrorevents="-1" sendplaystatechangeevents="-1" showaudiocontrols="-1" showpositioncontrols="-1" showtracker="-1" autostart="true" border="0"> </EMBED></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2008
  5. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    [​IMG] ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...[​IMG]
     
  6. ทรัพย์พระฤาษี

    ทรัพย์พระฤาษี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +175
    โมทนาด้วยครับ


    <TABLE class=webtitle2 height=76 width="53%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=10>พระนิพพาน ไม่ใช่ภาษาพูด


    </TD></TR><TR><TD height=10>ไม่ใช่ภาษาเขียน แต่เป็นภาษาปฏิบัติ


    </TD></TR><TR><TD height=10>( คำสอนของ พระองค์ที่ 10 )


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​



    [​IMG]




    [​IMG][​IMG][​IMG]ผมมีบทความดีๆเกี่ยวกับในหลวง อยากให้ลองอ่านกันครับ[​IMG][​IMG][​IMG]
    คลิกนี้
    http://palungjit.org//showthread.php?t=150879
     
  7. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,662
    ค่าพลัง:
    +9,236
    ขอพุทธบารมีคุ้มครอง
    ขออนุโมทนาค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PIC_2127.JPG
      PIC_2127.JPG
      ขนาดไฟล์:
      745.7 KB
      เปิดดู:
      52
    • DSC00461.JPG
      DSC00461.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      65
    • DSC01180.JPG
      DSC01180.JPG
      ขนาดไฟล์:
      341 KB
      เปิดดู:
      48
    • P3170226.JPG
      P3170226.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      49
    • DSC01203.JPG
      DSC01203.JPG
      ขนาดไฟล์:
      317.4 KB
      เปิดดู:
      60
  8. TaeyoLySiS

    TaeyoLySiS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +278
    สาธุ สาธุ สาธุ
    อนุโมทามิ

    อิติปิ โส ภะคะวา พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
    1.อะระหัง เป็นผู้ไกลจากกิเลส
    2.สัมมา สัมพุทโธ เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
    3.วิชชาจะระณะสัมปันโน เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ(ความรู้และความประพฤติ)
    4.สุคะโต เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว(คือ ไปที่ใดยังประโยชน์ให้ที่นั้น)
    5.โลกะวิทู เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
    6.อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่า
    7.สัตถา เทวะมะนุสสานัง เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
    8.พุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม
    9.ภะคะวาติ เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์
     

แชร์หน้านี้

Loading...