ฟังธรรมอาบน้ำแร่ที่..วัดตโปทาราม จ.ระนอง

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 30 มีนาคม 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    'ฟังธรรมอาบน้ำแร่'ที่..วัดตโปทาราม จ.ระนอง

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>"ฟังธรรมอาบน้ำแร่"ที่...วัดตโปทาราม จ.ระนอง</TD></TR><TR><TD vAlign=top>29 มีนาคม 2550 23:42 น.</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] [​IMG] "เมืองนอง" หรือที่เรียกเต็มๆ ว่า "เมืองระนอง" โด่งดังมานาน ควบคู่กับคำว่า "น้ำแร่เมืองนอง" ขณะเดียวกัน น้ำแร่เมืองนองก็โด่งดังมานานคู่กับ โรงแรมจันทร์สม แทบจะเป็นส่วนควบซึ่งกันและกัน

    ที่นี่คือเมืองที่ตั้งอยู่บนฝั่งอันดามันตอนบนสุด มีเกาะสน และเกาะสอง ของพม่าชวนให้เพิ่มสีสันได้มากขึ้น แต่ที่ไม่มีใครพูดถึงกันเลยก็คือ ลำธารห้วยหาดส้มแป้น ที่เป็นจุดกำเนิดของบ่อน้ำแร่ร้อนๆ ทอดขวางอยู่หน้า วัดตโปทาราม ไปเที่ยววัดฟังธรรมที่วัดนี้ จะได้อาบน้ำแร่ แช่น้ำร้อน อย่างสุโขสโมสร
    วัดตโปทาราม ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของห้วยหาดส้มแป้น ฝั่งตรงข้ามกันเป็นสวนรุกขชาติรักษะวาริน มีสะพานแขวนทอดขวางลำห้วย เพิ่มเสน่ห์ให้บ่อน้ำร้อนเมืองนองมากยิ่งขึ้น
    ปัจจุบัน มีสะพานแขวนเพิ่มขึ้นอีก ๑ สะพาน เพื่อให้การเดินทางท่องเที่ยวเป็นวงรอบ วัดนี้ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗/๑ หมู่ ๒ ต.หาดส้มแป้น อ.เมือง จ.ระนอง ๘๕๐๐๐ โทร.๐-๗๗๘๒-๒๓๘๑ พื้นที่วัด ๒๐ ไร่เศษ แต่เฝ้าระวังป่าอนุรักษ์รอบวัดเป็นพื้นที่ ๔๐๐ ไร่
    สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ ตั้งเป็นวัดตามกฎหมายเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ แต่ได้รับพระราชทานวิสุงคามวาสี พ.ศ.๒๕๒๖ เป็นวัดพัฒนาดีเด่น พ.ศ.๒๕๓๓ แต่สอนปริยัติธรรม-บาลีมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๐ มีการบวชภาคฤดูร้อน สอนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
    ปัจจุบันมีพระจำพรรษา ๑๐ รูป สามเณร ๔๒ รูป แม่ชี ๔ คน คนอาศัยวัด ๑ คน ท่านพระรณังคธรรมคณี เป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะจังหวัดระนองตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๐
    กุฏิตั้งเรียงรายไต่ไปตามลาดเขา อุโบสถขนาดเล็กตั้งอยู่สูงสุด สิ่งก่อสร้างเรียบง่าย ไม่ฟุ่มเฟือยเงินก่อสร้าง อาคารอเนกประสงค์หลังใหม่กำลังก่อสร้างเพื่อให้ญาติโยมที่เดินทางไกลมาทำบุญจักได้มีที่พักค้างอ้างแรมได้สะดวก พร้อมกับมีน้ำแร่ร้อนๆ ที่ต่อท่อขึ้นมาให้อาบและแช่ได้อย่างสบายอารมณ์
    ญาติโยมมาทำบุญที่วัดตโปทาราม จึงได้กุศลผลบุญ พ่วงด้วยสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีงามกลับไป
    บริเวณกลางลำห้วยหน้าวัดน้ำ ที่ไหลเนืองนองผ่านก้อนหินน้อยใหญ่ เป็นน้ำแร่ร้อนๆ ที่ไหลมาจากบ่อน้ำแร่ที่ผุดไปทั้งลำน้ำ ส่วนน้ำเย็นก็ไหลมาจากป่าต้นน้ำซึ่งเป็นป่าดงดิบชื้นที่เหลืออยู่อย่างมีคุณค่า
    บ่อน้ำแร่ร้อนเดิมทีเดียวมีอยู่สองบ่อ คือ บ่อพ่อ-บ่อแม่ ให้แช่เท้า แช่ทั้งตัว เป็นการบำบัดด้วยวารี แต่เป็นวารีที่เป็นน้ำแร่ร้อนๆ ขนาด ๓๘-๔๑ องศาเซลเซียส
    ต่อมาเทศบาลเมืองระนอง ได้เข้ามาพัฒนาบ่อน้ำแร่ร้อน ด้วยการเพิ่มจุดแช่พร้อมที่อาบน้ำล้างตัว ดูสะอาดและน่าใช้ มีร่มไม้ใบบังให้ร่มเงาประปราย เพื่อให้พอเพียงกับปริมาณนักท่องเที่ยว หรือญาติโยมที่เดินทางมาจากต่างถิ่น
    การแช่เท้าและแช่ตัว ก็ดูดีแบบธรรมดา แต่ทีนี่เพิ่มสปาหรูหราบนฝั่งใต้วัดขึ้นมารองรับนักท่องเที่ยวอีกกลุ่มหนึ่ง บ่อน้ำแร่เมืองนองจึงดูมีราคาและสีสันมากขึ้น
    แต่ที่พิสดารมากๆ ก็คือ อาคารหลังหนึ่ง ที่สร้างคร่อมบนบ่อน้ำร้อนที่เหลืออยู่ พื้นฉาบเรียบดี เส้นเป็นช่องๆ จุดนี้เมื่อมองเห็นผาดๆ ก็ไม่เข้าใจว่า สร้างทำไม มีคนไปนอนหงายบ้าง นอนตะแคงบ้าง นอนคว่ำบ้าง บางคนก็มีผ้าคลุมโปง นึกว่านักท่องเที่ยวไม่มีที่นอน เพราะว่าโรงแรมเต็ม
    แต่ที่ไหนได้ พวกที่มานอนคว่ำนอนหงายเหล่านั้น คือ นักกายภาพบำบัดด้วยไอร้อนจากใต้ถุนอาคาร เป็นอีกมิติหนึ่ง ที่ใช้ประโยชน์จากบ่อน้ำแร่ร้อนอย่างประณีต
    ข้างๆ อาคารหลังนี้ มีถังขนาดใหญ่ เหมือนถังปั๊มน้ำร้อนขึ้นไปใช้ มีนักกายภาพบำบัดเอาหน้าบ้าง แก้มบ้าง สะโพกบ้าง หลังและไหล่บ้าง แตะอังกับถังสแตนเลสร้อนๆ
    จะเห็นได้ว่า กิจกรรมการอาบน้ำแร่เมืองนองที่หน้าวัดตโปทารามคึกคักมากทีเดียว เป็นบ่อน้ำแร่ที่ต่อท่อลงไปใช้ตามโรงแรม (จันทร์สมฮอทสปา) โรงพยาบาล (เจ้าเรือนสปา) ฯลฯ
    ตั้งแต่เช้าตรู่ของแต่ละวัน ผู้คนที่ชื่นชอบน้ำแร่ร้อนบำบัด จะมาด้วยความหวัง สามีขับรถพาภรรยามาถึงก็หิ้วภรรยาให้นั่งรถเข็นๆ ลงมาแช่น้ำแร่ ตัวสามีใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำแร่ร้อนๆ นวดไหล่และหลังให้ภรรยาที่แช่เท้าในบ่อร่วมกับเพื่อนร่วมชะตากรรม
    เล่ากันว่า ต่อมาสามีขับรถมาจอด ภรรยาสามารถเดินลงไปที่บ่อได้เอง โดยไม่ต้องนั่งรถเข็น คนเมืองนองจึงเป็นคนที่โชคดี มีบ่อบำบัดโรคภัยได้อย่างดีเยี่ยม เป็นบุญและกุศล ที่คนเมืองนองคงสร้างสมร่วมกันมาแต่ชาติปางก่อนเป็นแน่
    นอกจากบ่อน้ำแร่ร้อน ที่หน้าวัดตโปทารามแล้ว ที่ขอบ อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว ช่วงที่อยู่เหนือบ้านพรรั้ง ก็มีบ่อน้ำแร่ร้อนๆ ผุดขึ้นตลอดลำธารเหมือนกัน จังหวัดระนองจึงใช้งบซีอีโอ สร้างบ้านพัก ๑๐ หลัง มอบให้ อบจ.บริหาร ต่อท่อน้ำแร่ร้อนผสมน้ำเย็นเข้าไปใช้ในบ้านพักทุกหลัง
    นอนที่นี่จึงเท่ากับอาบน้ำล้างหน้าแปรงฟันด้วยน้ำแร่ทีเดียว ทิวทัศน์ก็สวยงาม และอากาศสดชื่นสุดๆ มีป่าผลัดใบและผลิใบหลากสีสันให้ได้ยลทุกยาม ไม่ต้องเปิดแอร์ก็เย็นชื่นใจหายห่วง
    ถ้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว ของบประมาณมาสร้างเพิ่ม ในเขตอุทยาน ก็คงจะดีมีประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพไม่น้อย
    บ่อน้ำแร่สร้างเป็นที่สาธารณประโยชน์ มีนักท่องเที่ยวเข้าไปใช้บริการเสมอ หนุ่มคนหนึ่งอายุ ๔๐ ต้นๆ มาแช่น้ำร้อนที่นี่ พร้อมกับภรรยา สัปดาห์ละครั้ง ถามว่าเจ็บป่วยอะไรหรือ
    คำตอบคือ ไม่ แต่ปรารถนาที่จะผ่อนคลาย และเพิ่มศักยภาพร่างกายให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน อยากตายช้า อายุยาวนาน สามีภรรยาคู่นี้ช่วยกันนวดช่วยกันบีบระหว่างแช่น้ำแร่ ช่างน่าอิจฉาจริงๆ เลยเชียว0 เรื่อง / ภาพ ธงชัย เปาอินทร์ 0

    -->[​IMG]
    "เมืองนอง" หรือที่เรียกเต็มๆ ว่า "เมืองระนอง" โด่งดังมานาน ควบคู่กับคำว่า "น้ำแร่เมืองนอง" ขณะเดียวกัน น้ำแร่เมืองนองก็โด่งดังมานานคู่กับ โรงแรมจันทร์สม แทบจะเป็นส่วนควบซึ่งกันและกัน
    ที่นี่คือเมืองที่ตั้งอยู่บนฝั่งอันดามันตอนบนสุด มีเกาะสน และเกาะสอง ของพม่าชวนให้เพิ่มสีสันได้มากขึ้น แต่ที่ไม่มีใครพูดถึงกันเลยก็คือ ลำธารห้วยหาดส้มแป้น ที่เป็นจุดกำเนิดของบ่อน้ำแร่ร้อนๆ ทอดขวางอยู่หน้า วัดตโปทาราม ไปเที่ยววัดฟังธรรมที่วัดนี้ จะได้อาบน้ำแร่ แช่น้ำร้อน อย่างสุโขสโมสร
    วัดตโปทาราม ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของห้วยหาดส้มแป้น ฝั่งตรงข้ามกันเป็นสวนรุกขชาติรักษะวาริน มีสะพานแขวนทอดขวางลำห้วย เพิ่มเสน่ห์ให้บ่อน้ำร้อนเมืองนองมากยิ่งขึ้น [​IMG]
    ปัจจุบัน มีสะพานแขวนเพิ่มขึ้นอีก ๑ สะพาน เพื่อให้การเดินทางท่องเที่ยวเป็นวงรอบ วัดนี้ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗/๑ หมู่ ๒ ต.หาดส้มแป้น อ.เมือง จ.ระนอง ๘๕๐๐๐ โทร.๐-๗๗๘๒-๒๓๘๑ พื้นที่วัด ๒๐ ไร่เศษ แต่เฝ้าระวังป่าอนุรักษ์รอบวัดเป็นพื้นที่ ๔๐๐ ไร่
    สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ ตั้งเป็นวัดตามกฎหมายเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ แต่ได้รับพระราชทานวิสุงคามวาสี พ.ศ.๒๕๒๖ เป็นวัดพัฒนาดีเด่น พ.ศ.๒๕๓๓ แต่สอนปริยัติธรรม-บาลีมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๐ มีการบวชภาคฤดูร้อน สอนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
    ปัจจุบันมีพระจำพรรษา ๑๐ รูป สามเณร ๔๒ รูป แม่ชี ๔ คน คนอาศัยวัด ๑ คน ท่านพระรณังคธรรมคณี เป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าคณะจังหวัดระนองตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๐
    กุฏิตั้งเรียงรายไต่ไปตามลาดเขา อุโบสถขนาดเล็กตั้งอยู่สูงสุด สิ่งก่อสร้างเรียบง่าย ไม่ฟุ่มเฟือยเงินก่อสร้าง อาคารอเนกประสงค์หลังใหม่กำลังก่อสร้างเพื่อให้ญาติโยมที่เดินทางไกลมาทำบุญจักได้มีที่พักค้างอ้างแรมได้สะดวก พร้อมกับมีน้ำแร่ร้อนๆ ที่ต่อท่อขึ้นมาให้อาบและแช่ได้อย่างสบายอารมณ์
    ญาติโยมมาทำบุญที่วัดตโปทาราม จึงได้กุศลผลบุญ พ่วงด้วยสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีงามกลับไป
    บริเวณกลางลำห้วยหน้าวัดน้ำ ที่ไหลเนืองนองผ่านก้อนหินน้อยใหญ่ เป็นน้ำแร่ร้อนๆ ที่ไหลมาจากบ่อน้ำแร่ที่ผุดไปทั้งลำน้ำ ส่วนน้ำเย็นก็ไหลมาจากป่าต้นน้ำซึ่งเป็นป่าดงดิบชื้นที่เหลืออยู่อย่างมีคุณค่า
    บ่อน้ำแร่ร้อนเดิมทีเดียวมีอยู่สองบ่อ คือ บ่อพ่อ-บ่อแม่ ให้แช่เท้า แช่ทั้งตัว เป็นการบำบัดด้วยวารี แต่เป็นวารีที่เป็นน้ำแร่ร้อนๆ ขนาด ๓๘-๔๑ องศาเซลเซียส
    ต่อมาเทศบาลเมืองระนอง ได้เข้ามาพัฒนาบ่อน้ำแร่ร้อน ด้วยการเพิ่มจุดแช่พร้อมที่อาบน้ำล้างตัว ดูสะอาดและน่าใช้ มีร่มไม้ใบบังให้ร่มเงาประปราย เพื่อให้พอเพียงกับปริมาณนักท่องเที่ยว หรือญาติโยมที่เดินทางมาจากต่างถิ่น
    การแช่เท้าและแช่ตัว ก็ดูดีแบบธรรมดา แต่ทีนี่เพิ่มสปาหรูหราบนฝั่งใต้วัดขึ้นมารองรับนักท่องเที่ยวอีกกลุ่มหนึ่ง บ่อน้ำแร่เมืองนองจึงดูมีราคาและสีสันมากขึ้น
    แต่ที่พิสดารมากๆ ก็คือ อาคารหลังหนึ่ง ที่สร้างคร่อมบนบ่อน้ำร้อนที่เหลืออยู่ พื้นฉาบเรียบดี เส้นเป็นช่องๆ จุดนี้เมื่อมองเห็นผาดๆ ก็ไม่เข้าใจว่า สร้างทำไม มีคนไปนอนหงายบ้าง นอนตะแคงบ้าง นอนคว่ำบ้าง บางคนก็มีผ้าคลุมโปง นึกว่านักท่องเที่ยวไม่มีที่นอน เพราะว่าโรงแรมเต็ม
    แต่ที่ไหนได้ พวกที่มานอนคว่ำนอนหงายเหล่านั้น คือ นักกายภาพบำบัดด้วยไอร้อนจากใต้ถุนอาคาร เป็นอีกมิติหนึ่ง ที่ใช้ประโยชน์จากบ่อน้ำแร่ร้อนอย่างประณีต
    ข้างๆ อาคารหลังนี้ มีถังขนาดใหญ่ เหมือนถังปั๊มน้ำร้อนขึ้นไปใช้ มีนักกายภาพบำบัดเอาหน้าบ้าง แก้มบ้าง สะโพกบ้าง หลังและไหล่บ้าง แตะอังกับถังสแตนเลสร้อนๆ
    จะเห็นได้ว่า กิจกรรมการอาบน้ำแร่เมืองนองที่หน้าวัดตโปทารามคึกคักมากทีเดียว เป็นบ่อน้ำแร่ที่ต่อท่อลงไปใช้ตามโรงแรม (จันทร์สมฮอทสปา) โรงพยาบาล (เจ้าเรือนสปา) ฯลฯ
    ตั้งแต่เช้าตรู่ของแต่ละวัน ผู้คนที่ชื่นชอบน้ำแร่ร้อนบำบัด จะมาด้วยความหวัง สามีขับรถพาภรรยามาถึงก็หิ้วภรรยาให้นั่งรถเข็นๆ ลงมาแช่น้ำแร่ ตัวสามีใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำแร่ร้อนๆ นวดไหล่และหลังให้ภรรยาที่แช่เท้าในบ่อร่วมกับเพื่อนร่วมชะตากรรม
    เล่ากันว่า ต่อมาสามีขับรถมาจอด ภรรยาสามารถเดินลงไปที่บ่อได้เอง โดยไม่ต้องนั่งรถเข็น คนเมืองนองจึงเป็นคนที่โชคดี มีบ่อบำบัดโรคภัยได้อย่างดีเยี่ยม เป็นบุญและกุศล ที่คนเมืองนองคงสร้างสมร่วมกันมาแต่ชาติปางก่อนเป็นแน่
    นอกจากบ่อน้ำแร่ร้อน ที่หน้าวัดตโปทารามแล้ว ที่ขอบ อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว ช่วงที่อยู่เหนือบ้านพรรั้ง ก็มีบ่อน้ำแร่ร้อนๆ ผุดขึ้นตลอดลำธารเหมือนกัน จังหวัดระนองจึงใช้งบซีอีโอ สร้างบ้านพัก ๑๐ หลัง มอบให้ อบจ.บริหาร ต่อท่อน้ำแร่ร้อนผสมน้ำเย็นเข้าไปใช้ในบ้านพักทุกหลัง
    นอนที่นี่จึงเท่ากับอาบน้ำล้างหน้าแปรงฟันด้วยน้ำแร่ทีเดียว ทิวทัศน์ก็สวยงาม และอากาศสดชื่นสุดๆ มีป่าผลัดใบและผลิใบหลากสีสันให้ได้ยลทุกยาม ไม่ต้องเปิดแอร์ก็เย็นชื่นใจหายห่วง
    ถ้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว ของบประมาณมาสร้างเพิ่ม ในเขตอุทยาน ก็คงจะดีมีประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพไม่น้อย
    บ่อน้ำแร่สร้างเป็นที่สาธารณประโยชน์ มีนักท่องเที่ยวเข้าไปใช้บริการเสมอ หนุ่มคนหนึ่งอายุ ๔๐ ต้นๆ มาแช่น้ำร้อนที่นี่ พร้อมกับภรรยา สัปดาห์ละครั้ง ถามว่าเจ็บป่วยอะไรหรือ
    คำตอบคือ ไม่ แต่ปรารถนาที่จะผ่อนคลาย และเพิ่มศักยภาพร่างกายให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน อยากตายช้า อายุยาวนาน สามีภรรยาคู่นี้ช่วยกันนวดช่วยกันบีบระหว่างแช่น้ำแร่ ช่างน่าอิจฉาจริงๆ เลยเชียว

    0 เรื่อง / ภาพ ธงชัย เปาอินทร์ 0
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ----------
    Ref.
    http://www.komchadluek.net/2007/03/30/j001_103105.php?news_id=103105
     

แชร์หน้านี้

Loading...